บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๑. โยธาชีวสูตร
๔. โยธาชีววรรค หมวดว่าด้วยองค์ประกอบของนักรบอาชีพ ๑. โยธาชีวสูตร ว่าด้วยองค์ประกอบของนักรบอาชีพ [๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพผู้ประกอบด้วย องค์ ๔ ประการย่อมคู่ควรแก่พระราชา เหมาะแก่พระราชา ถึงการนับได้ว่าเป็น ราชองครักษ์โดยแท้ องค์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ นักรบอาชีพในโลกนี้ ๑. ฉลาดในฐานะ ๒. ยิงลูกศรได้ไกล ๓. ยิงไม่พลาด ๔. ทำลายกายขนาดใหญ่ได้ ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการนี้แลย่อมคู่ควรแก่ พระราชา เหมาะแก่พระราชา ถึงการนับว่าเป็นราชองครักษ์โดยแท้ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การ ทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ฉลาดในฐานะ ๒. ยิงลูกศรได้ไกล ๓. ยิงไม่พลาด ๔. ทำลายกายขนาดใหญ่ได้ กษุฉลาดในฐานะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ๑- สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าฉลาดในฐานะ เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @๑ ดูข้อความเต็มในข้อ ๓๗ (อปริหานิยสูตร) หน้า ๖๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๕๗}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๒. ปาฏิโภคสูตร
ภิกษุยิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ ใกล้ก็ตาม ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เรา ไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใด อย่างหนึ่ง ... สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ภิกษุชื่อว่ายิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างนี้แล๑- ภิกษุยิงไม่พลาด เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา ภิกษุชื่อว่ายิงไม่พลาด เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทำลายกายขนาดใหญ่ได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้ ภิกษุชื่อว่าทำลายกายขนาด ใหญ่ได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ควรแก่ ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกโยธาชีวสูตรที่ ๑ จบ ๒. ปาฏิโภคสูตร ว่าด้วยธรรมที่ไม่มีใครประกันได้ [๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันธรรม ๔ ประการ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @๑ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๓๔/๓๘๓-๓๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๕๘}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๓. สุตสูตร
๑. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาว่า ไม่แก่ ๒. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความเจ็บเป็นธรรมดาว่า ไม่เจ็บ ๓. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาว่า ไม่ตาย ๔. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันผลแห่งกรรมชั่วที่เศร้าหมอง ให้เกิด ในภพใหม่ มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และ มรณะต่อไปว่า ไม่บังเกิด ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันธรรม ๔ ประการนี้แลปาฏิโภคสูตรที่ ๒ จบ ๓. สุตสูตร ว่าด้วยสิ่งที่ได้ฟัง [๑๘๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้ เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์ แห่งแคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่ บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดม ข้าพเจ้ามีวาทะ๑- อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าว ถึงสิ่งที่ตนเห็นว่า เราได้เห็นอย่างนี้ ย่อมไม่มีโทษเพราะการพูดนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าว @เชิงอรรถ : @๑ วาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ ความเชื่อ เช่น คำว่า นัตถิกวาทะ ลัทธิที่ถือว่า ไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์ @บริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง (ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๕๙}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๓. สุตสูตร
ถึงสิ่งที่ตนได้ฟังว่า เราได้ฟังอย่างนี้ ย่อมไม่มีโทษเพราะการพูดนั้น ผู้ใดผู้หนึ่ง กล่าวถึงสิ่งที่ตนรู้ว่า เราได้รู้อย่างนี้ ย่อมไม่มีโทษเพราะการพูดนั้น ผู้ใดผู้หนึ่ง กล่าวถึงสิ่งที่ตนรู้แจ้งว่า เราได้รู้แจ้งอย่างนี้ ย่อมไม่มีโทษเพราะการพูดนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ เราไม่กล่าวว่า ทุกสิ่งที่ได้เห็นเป็นสิ่ง ควรกล่าว และไม่กล่าวว่า ทุกสิ่งที่ได้เห็นเป็นสิ่งไม่ควรกล่าว เราไม่กล่าวว่า ทุกสิ่งที่ได้ฟังเป็นสิ่งควรกล่าว และไม่กล่าวว่า ทุกสิ่งที่ได้ฟังเป็นสิ่งไม่ควรกล่าว เราไม่กล่าวว่า ทุกสิ่งที่ได้ทราบเป็นสิ่งควรกล่าว และไม่กล่าวว่า ทุกสิ่งที่ได้ทราบ เป็นสิ่งไม่ควรกล่าว เราไม่กล่าวว่า ทุกสิ่งที่รู้แจ้งเป็นสิ่งควรกล่าว และไม่กล่าวว่า ทุกสิ่งที่รู้แจ้งเป็นสิ่งไม่ควรกล่าว พราหมณ์ เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่ได้เห็น อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม เสื่อมไป เรากล่าวว่า สิ่งที่ได้เห็นเช่นนี้เป็นสิ่งไม่ควรกล่าว แต่เมื่อบุคคลกล่าวถึง สิ่งใดที่ได้เห็น อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวว่า สิ่งที่ได้เห็นเช่นนี้ เป็นสิ่งควรกล่าว เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่ได้ฟัง อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรา กล่าวว่า สิ่งที่ได้ฟังเช่นนี้เป็นสิ่งไม่ควรกล่าว แต่เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่ได้ฟัง อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวว่า สิ่งที่ได้ฟังเช่นนี้เป็นสิ่งควรกล่าว เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่ได้ทราบ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรากล่าวว่า สิ่งที่ได้ทราบเช่นนี้ เป็นสิ่งไม่ควรกล่าว แต่เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใด ที่ได้ทราบ อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวว่า สิ่งที่ได้ทราบเช่นนี้ เป็นสิ่งควรกล่าว เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่รู้แจ้ง อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรา กล่าวว่า สิ่งที่รู้แจ้งเช่นนี้ เป็นสิ่งไม่ควรกล่าว แต่เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่รู้แจ้ง อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวว่า สิ่งที่รู้แจ้งเช่นนี้เป็นสิ่งควรกล่าว ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุกจากที่นั่งจากไปสุตสูตรที่ ๓ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๖๐}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๔. อภยสูตร
๔. อภยสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้กลัวตายและผู้ไม่กลัวความตาย [๑๘๔] ครั้งนั้นแล ชานุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระพุทธเจ้ามีวาทะ๑- อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า สัตว์ ผู้มีความตายเป็นธรรมดาชื่อว่าไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตายย่อมไม่มี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ บุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดากลัว ถึงความสะดุ้งต่อความตายมีอยู่ และบุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตายก็มีอยู่ บุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดากลัว ถึงความสะดุ้งต่อความตาย เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย โรคหนักบางอย่างกระทบเขาเข้า เมื่อเขาถูกโรคหนักบางอย่างกระทบเข้าจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า กามอันเป็นที่รัก จักละเราไปหนอ และเราก็จักละกามอันเป็นที่รักไป เขาย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน นี้แลคือบุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดา กลัว ถึงความสะดุ้งต่อความตาย ยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย โรคหนักบางอย่างกระทบเขาเข้า เมื่อเขาถูกโรคหนักบางอย่างกระทบเข้าจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า กายอันเป็นที่รัก จักละเราไปหนอ และเราก็จักละกายอันเป็นที่รักไป เขาย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน นี้แลคือบุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดากลัว ถึงความสะดุ้งต่อความตาย @เชิงอรรถ : @๑ วาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ คือ คติความเชื่อ หรือความคิดเห็น (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๖/๒๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๖๑}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๔. อภยสูตร
ยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ยังไม่ได้ทำความดีไว้ ยังไม่ได้สร้างกุศลไว้ ไม่ได้ทำที่ป้องกันสิ่งน่ากลัว ทำแต่ความชั่ว ทำแต่กรรมหยาบช้า และทำแต่กรรม เศร้าหมอง โรคหนักบางอย่างกระทบเขาเข้า เมื่อเขาถูกโรคหนักบางอย่างกระทบเข้า จึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้ทำความดีไว้หนอ ยังไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้ทำ ที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้ ทำแต่ความชั่ว ทำแต่กรรมหยาบช้า ทำแต่กรรมเศร้าหมอง เราตายแล้วจะไปสู่คติของผู้ไม่ได้ทำความดีไว้ ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้ทำที่ป้องกันสิ่ง น่ากลัว ทำแต่ความชั่ว ทำแต่กรรมหยาบช้า ทำแต่กรรมเศร้าหมองนั้น เขาย่อม เศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน นี้แลคือบุคคลผู้ มีความตายเป็นธรรมดากลัว ถึงความสะดุ้งต่อความตาย ยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีความสงสัย๑- เคลือบแคลงใจ ไม่ถึง ความตกลงใจในสัทธรรม โรคหนักบางอย่างกระทบเขาเข้า เมื่อเขาถูกโรคหนัก บางอย่างกระทบเข้าจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เรามีความสงสัยเคลือบแคลงใจ ไม่ถึง ความตกลง ใจในสัทธรรมหนอ เขาย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน นี้แลคือบุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดากลัว ถึงความสะดุ้งต่อ ความตาย พราหมณ์ บุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดา ๔ จำพวกนี้แลกลัว ถึงความ สะดุ้งต่อความตาย บุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดาไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจาก ความอยากในกามทั้งหลาย โรคหนักบางอย่างกระทบเขาเข้า เมื่อเขาถูกโรคหนักบาง อย่างกระทบเข้าก็ไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า กามอันเป็นที่รักจักละเราไปหนอ และเรา @เชิงอรรถ : @๑ หมายถึงสงสัยในฐานะ ๘ ประการ คือ พุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ สิกขา เบื้องต้น เบื้องปลาย @ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย และปฏิจจสมุปบาท (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๔/๔๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๖๒}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๔. อภยสูตร
ก็จักละกามอันเป็นที่รักไป เขาย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก คร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน นี้แลคือบุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดาไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย ยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจาก ความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย โรคหนักบางอย่างกระทบเขาเข้า เมื่อเขาถูก โรคหนักบางอย่างกระทบเข้าก็ไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า กายอันเป็นที่รักจักละเราไป หนอ และเราก็จักละกายอันเป็นที่รักไป เขาย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน นี้แลคือบุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย ยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่ได้ทำความชั่วไว้ ไม่ได้ทำกรรมหยาบ ช้าไว้ ไม่ได้ทำกรรมเศร้าหมองไว้ ทำแต่ความดี ทำแต่กุศล และทำที่ป้องกันสิ่ง น่ากลัว โรคหนักบางอย่างกระทบเขาเข้า เมื่อเขาถูกโรคหนักบางอย่างกระทบเข้า จึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ทำความชั่วหนอ ไม่ได้ทำกรรมหยาบช้า ไม่ได้ ทำกรรมเศร้าหมอง ทำแต่ความดี ทำแต่กุศล และทำที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้ เรา ตายแล้วจะไปสู่คติของผู้ไม่ได้ทำความชั่วไว้ ไม่ได้ทำกรรมหยาบช้า ทำแต่ความดี ทำแต่กุศล และทำที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้นั้น เขาย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน นี้แลคือบุคคลผู้มีความตาย เป็นธรรมดาไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย ยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีความสงสัยเคลือบแคลงใจ ถึงความ ตกลงใจในสัทธรรม โรคหนักบางอย่างกระทบเขาเข้า เมื่อเขาถูกโรคหนักบางอย่าง กระทบเข้าจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่มีความสงสัย ไม่เคลือบแคลงใจถึงความ ตกลงใจในสัทธรรม เขาย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน นี้แลคือบุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดาไม่กลัว ไม่ถึงความ สะดุ้งต่อความตาย พราหมณ์ บุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดา ๔ จำพวกนี้แลไม่กลัว ไม่ถึง ความสะดุ้งต่อความตาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๖๓}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๕. สมณสัจจสูตร
ชานุสโสณิพราหมณ์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่าน พระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ๑- ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่าเป็น อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตอภยสูตรที่ ๔ จบ ๕. สมณสัจจสูตร ว่าด้วยสัจจะที่เป็นเหตุให้ไม่สำคัญตนว่าเป็นสมณะ [๑๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง ราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ปริพาชกผู้มีชื่อเสียงหลายท่าน คือ อันนภาระ วรธร สกุลุทายี และปริพาชกที่มีชื่อเสียงอื่นๆ อาศัยอยู่ที่อารามของปริพาชก ริมฝั่ง แม่น้ำสัปปินี ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๒- เข้าไปยังอาราม ของปริพาชก ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินี ขณะนั้นแล ปริพาชกผู้เป็นอัญเดียรถีย์เหล่านั้นกำลังประชุมสนทนาเรื่องนี้ว่า สัจจะของพราหมณ์เป็นอย่างนี้ สัจจะของพราหมณ์เป็นอย่างนี้ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาปริพาชกทั้งหลายถึงที่พำนัก ประทับ นั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้ตรัสถามปริพาชกเหล่านั้นว่า ปริพาชกทั้งหลาย บัดนี้พวกท่านนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เรื่องอะไรที่พวกท่านสนทนา กันค้างไว้ ปริพาชกทั้งหลายทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ณ สถานที่นี้ พวกข้าพเจ้า มาชุมนุมกันตั้งประเด็นสนทนากันเรื่องนี้ว่า สัจจะของพราหมณ์เป็นอย่างนี้ สัจจะ ของพราหมณ์เป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปริพาชกทั้งหลาย สัจจะของพราหมณ์ ๔ ประการนี้ อันเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วจึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม @เชิงอรรถ : @๑ ดูข้อความเต็มในข้อ ๑๐๐ (โปตลิยสูตร) หน้า ๑๕๓ ในเล่มนี้ @๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๐ (ปริพพาชกสูตร) หน้า ๔๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๖๔}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๕. สมณสัจจสูตร
สัจจะของพราหมณ์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พราหมณ์๑- ในธรรมวินัยนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งปวงไม่ควร ถูกฆ่า พราหมณ์เมื่อกล่าวอย่างนี้ ชื่อว่าพูดจริง ไม่ใช่พูดเท็จ เพราะการพูดนั้น เขาจึงไม่สำคัญตนว่า เป็นสมณะ ไม่สำคัญตน ว่า เป็นพราหมณ์ ไม่สำคัญตนว่า เป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา ไม่สำคัญตนว่า เป็นผู้เสมอเขา ไม่สำคัญตนว่า เป็นผู้ด้อย กว่าเขา และเขารู้สัจจะในข้อปฏิบัตินั้น จึงปฏิบัติเพื่อความเอ็นดู อนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ๒. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า กาม๒- ทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มี ความแปรผันไปเป็นธรรมดา พราหมณ์เมื่อพูดอย่างนี้ ชื่อว่าพูด จริง ไม่ใช่พูดเท็จ เพราะการพูดนั้น เขาจึงไม่สำคัญตนว่า เป็น สมณะ ไม่สำคัญตนว่า เป็นพราหมณ์ ไม่สำคัญตนว่า เป็น ผู้ประเสริฐกว่าเขา ไม่สำคัญตนว่า เป็นผู้เสมอเขา ไม่สำคัญตน ว่า เป็นผู้ด้อยกว่าเขา และเขารู้สัจจะในข้อปฏิบัตินั้น จึงปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกามทั้งหลาย ๓. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ภพ๓- ทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มี ความแปรผันไปเป็นธรรมดา พราหมณ์เมื่อพูดอย่างนี้ ชื่อว่าพูด จริง ไม่ใช่พูดเท็จ เพราะการพูดนั้น เขาจึงไม่สำคัญตนว่า เป็น สมณะ ไม่สำคัญตนว่า เป็นพราหมณ์ ไม่สำคัญตนว่า เป็น ผู้ประเสริฐกว่าเขา ไม่สำคัญตนว่า เป็นผู้เสมอเขา ไม่สำคัญตน ว่า เป็นผู้ด้อยกว่าเขา และเขารู้สัจจะในข้อปฏิบัตินั้น จึงปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับภพทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @๑ พราหมณ์ ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๕/๔๐๕) @๒ กาม ในที่นี้หมายถึงวัตถุกามและกิเลสกาม (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๕/๔๐๕) @๓ ภพ หมายถึงกามภพ รูปภพ และอรูปภพ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๕/๔๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๖๕}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๖. อุมมัคคสูตร
๔. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ไม่มีเรา๑- เป็นที่กังวลของใครๆ ในที่ ไหนๆ และไม่มีผู้อื่น๒- เป็นที่กังวลของเราในที่ไหนๆ๓- พราหมณ์ เมื่อพูดอย่างนี้ ชื่อว่าพูดจริง ไม่ใช่พูดเท็จ เพราะการพูดนั้น เขา จึงไม่สำคัญตนว่า เป็นสมณะ ไม่สำคัญตนว่า เป็นพราหมณ์ ไม่สำคัญตนว่า เป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา ไม่สำคัญตนว่า เป็นผู้ เสมอเขา ไม่สำคัญตนว่า เป็นผู้ด้อยกว่าเขา และเขารู้สัจจะ ในข้อปฏิบัตินั้น จึงปฏิบัติปฏิปทาที่ไม่ให้กังวล ปริพาชกทั้งหลาย สัจจะของพราหมณ์ ๔ ประการนี้แล อันเราทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามสมณสัจจสูตรที่ ๕ จบ ๖. อุมมัคคสูตร ว่าด้วยผู้มีปัญญาใฝ่รู้ [๑๘๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ โลกอันอะไรหนอแลนำไป โลกอันอะไรชักนำมา และบุคคลย่อมลุอำนาจ อะไรที่เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ ภิกษุ ปัญญาใฝ่รู้๔- ของเธอดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที เธอถามอย่างนี้ว่า โลกอันอะไรหนอแลนำไป โลกอันอะไรชักนำมา และบุคคลย่อมลุอำนาจอะไรที่เกิดขึ้นหรือ @เชิงอรรถ : @๑ เรา มาจากคำว่า อหํ แปลว่า ตัวเรา ตามนัยอรรถกถาที่แก้ว่า อตฺตโน อตฺตานํ อัตตาของเรา @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๕/๔๐๕) @๒ ผู้อื่น แปลตามอรรถกถาที่แก้ว่า ปรสฺส จ อตฺตานํ อัตตาของผู้อื่น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๕/๔๐๕) @๓ ข้อความนี้ว่า ไม่มีเรา...ในที่ไหนๆ อรรถกถาเรียกข้อความประโยคนี้เป็น สุญญตา ๔ เงื่อน (จตุกฺก- @โกฏิกา สุญฺญตา) คือ (๑) เพราะไม่มีอัตตาของเรา (๒) อัตตาของเราจึงไม่เป็นที่กังวลของผู้อื่น (๓) เพราะ @ไม่มีอัตตาของผู้อื่น (๔) อัตตาของผู้อื่นจึงไม่เป็นที่กังวลของเรา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๕/๔๐๕-๔๐๖) @๔ ปัญญาใฝ่รู้ แปลมาจากคำว่า อุมมัคคะ มีความหมายว่า ความใฝ่รู้ที่โผล่ขึ้นหาคำตอบปัญหา @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๖/๔๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๖๖}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๖. อุมมัคคสูตร
ภิกษุกราบทูลว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุ โลกอันจิตนำไป อันจิตชักนำมา และบุคคล ย่อมลุอำนาจจิตที่เกิดขึ้น ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า สาธุ พระพุทธเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลที่เรียกว่าเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ด้วยเหตุเพียงไรหนอ บุคคลจึงเป็น พหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ ภิกษุ ปัญญาใฝ่รู้ของเธอดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที เธอถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลที่เรียกว่าเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึง เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรมหรือ ภิกษุกราบทูลว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุ เราแสดงธรรมเป็นอันมาก คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ถ้าแม้ภิกษุ รู้อรรถ รู้ธรรมแห่งคาถา ๔ บาทแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม๑- ก็ควรเรียกว่า เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า สาธุ พระพุทธเจ้าข้า แล้ว ได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลที่เรียกว่าผู้สดับ มีปัญญาชำแรกกิเลส ผู้สดับ มีปัญญาชำแรกกิเลส ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล บุคคลจึงเป็นผู้สดับ มีปัญญาชำแรกกิเลส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ ภิกษุ ปัญญาใฝ่รู้ของเธอดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที เธอถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลที่เรียกว่าผู้สดับ มีปัญญาชำแรกกิเลส ผู้สดับ มีปัญญาชำแรกกิเลส ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้สดับ มีปัญญาชำแรกกิเลสหรือ ภิกษุกราบทูลว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า @เชิงอรรถ : @๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๙๗ (ขิปปนิสันติสูตร) หน้า ๑๔๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๖๗}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๗. วัสสการสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปอีกว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า นี้ทุกข์ นี้ ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) และเห็นแจ้งแทงตลอดเนื้อความแห่งคำที่สดับนั้นด้วย ปัญญา บุคคลผู้สดับ มีปัญญาชำแรกกิเลส เป็นอย่างนี้แล ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า สาธุ พระพุทธเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลที่เรียกว่าเป็น บัณทิต มีปัญญามาก เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ ภิกษุ ปัญญาใฝ่รู้ของเธอดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที เธอถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลที่เรียกว่าเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็น บัณฑิต มีปัญญามากหรือ ภิกษุกราบทูลว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุ บุคคลในธรรมวินัยนี้เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียน ๒ ฝ่าย เมื่อคิด ย่อมคิดเกื้อกูลตนเอง เกื้อกูลผู้อื่น เกื้อกูล ๒ ฝ่าย และเกื้อกูล ชาวโลกทั้งหมดทีเดียว บุคคลเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก เป็นอย่างนี้แลอุมมัคคสูตรที่ ๖ จบ ๗. วัสสการสูตร ว่าด้วยวัสสการพราหมณ์ [๑๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์แห่ง แคว้นมคธเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๖๘}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๗. วัสสการสูตร
ข้าแต่ท่านพระโคดม อสัตบุรุษ๑- จะพึงรู้จักอสัตบุรุษได้หรือว่าบุคคลนี้เป็น อสัตบุรุษ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า บุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ วัสสการพราหมณ์ได้ทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อสัตบุรุษจะพึงรู้จัก สัตบุรุษได้หรือว่าบุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ พราหมณ์ แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่าบุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ ก็เป็น เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม สัตบุรุษ๒- พึงรู้จักสัตบุรุษได้หรือว่าบุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ พราหมณ์ ข้อที่สัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษว่าบุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ เป็นเรื่องที่ เป็นไปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม สัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษได้หรือว่าบุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ พราหมณ์ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่าบุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ ก็ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ วัสสการพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ ท่านพระโคดมตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า บุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า บุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า บุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า บุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม สมัยหนึ่ง ในบริษัทของโตเทยยพราหมณ์ พวกบริษัท กล่าวติเตียนผู้อื่นว่า พระเจ้าเอเฬยยะนี้ผู้เลื่อมใสยิ่งนักในสมณรามบุตร ทรงเป็น @เชิงอรรถ : @๑ อสัตบุรุษ หมายถึงคนที่เป็นเหมือนคนตาบอด (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๗/๔๐๗) @๒ สัตบุรุษ หมายถึงคนที่เป็นเหมือนคนตาดี (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๗/๔๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๖๙}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๗. วัสสการสูตร
ผู้โง่เขลา และทรงทำความเคารพอย่างยิ่งเห็นปานนี้ คือ ทรงไหว้ ทรงลุกรับ ทรง ทำอัญชลีกรรมและสามีจิกรรมในสมณรามบุตร แม้พวกข้าราชบริพารของพระเจ้า เอเฬยยะนี้ คือ ยมกะ โมคคัลละ อุคคะ นาวินากี คันธัพพะ และอัคคิเวสสะ ผู้เลื่อมใสยิ่งนักในสมณรามบุตรเป็นผู้โง่เขลา ทำความเคารพอย่างยิ่งเห็นปานนี้ คือ ไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรมและสามีจิกรรมในสมณรามบุตร ส่วนโตเทยยพราหมณ์ แนะนำบริษัทเหล่านั้นโดยนัยนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พระเจ้าเอเฬยยะเป็นบัณฑิต ทรงสามารถพิจารณาเห็นประโยชน์ยิ่งกว่าผู้สามารถ พิจารณาเห็นประโยชน์อย่างยิ่งในกิจที่ควรทำและที่ควรทำอันยิ่ง ในคำที่ควรกล่าว และที่ควรกล่าวอันยิ่ง พวกบริวารรับว่า เป็นอย่างนั้น ท่านผู้เจริญ พระเจ้า เอเฬยยะเป็นบัณฑิต ทรงสามารถพิจารณาเห็นประโยชน์ยิ่งกว่าผู้สามารถพิจารณา เห็นประโยชน์อย่างยิ่งในกิจที่ควรทำและที่ควรทำอันยิ่ง ในคำที่ควรกล่าวและที่ควร กล่าวอันยิ่ง โตเทยยพราหมณ์กล่าวต่อไปว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เพราะสมณรามบุตร เป็นผู้ฉลาดกว่าพระเจ้าเอเฬยยะ เป็นผู้สามารถพิจารณาเห็นประโยชน์ยิ่งกว่า ฉะนั้น พระเจ้าเอเฬยยะจึงเลื่อมใสยิ่งนักในสมณรามบุตรและทรงทำความเคารพอย่างยิ่งเห็น ปานนี้ คือ ทรงไหว้ ทรงลุกรับ ทรงทำอัญชลีกรรมและสามีจิกรรมในสมณรามบุตร ท่านผู้เจริญทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พวกข้าราชบริพารของพระเจ้า เอเฬยยะ คือ ยมกะ โมคคัลละ อุคคะ นาวินากี คันธัพพะ อัคคิเวสสะ เป็นบัณฑิต สามารถพิจารณาเห็นประโยชน์ยิ่งกว่าผู้สามารถพิจารณาเห็นประโยชน์อย่างยิ่งใน กิจที่ควรทำและที่ควรทำอันยิ่ง ในคำที่ควรกล่าวและที่ควรกล่าวอันยิ่ง พวกบริวาร รับว่า เป็นอย่างนั้น ท่านผู้เจริญ พวกข้าราชบริพารของพระเจ้าเอเฬยยะ คือ ยมกะ โมคคัลละ อุคคะ นาวินากี คันธัพพะ อัคคิเวสสะ เป็นบัณฑิตสามารถพิจารณา เห็นประโยชน์ยิ่งกว่าผู้สามารถพิจารณาเห็นประโยชน์อย่างยิ่งในกิจที่ควรทำและที่ ควรทำอันยิ่ง ในคำที่ควรกล่าวและที่ควรกล่าวอันยิ่ง โตเทยยพราหมณ์กล่าวต่อไปว่า เพราะสมณรามบุตรเป็นบัณฑิตยิ่งกว่าพวก ข้าราชบริพารผู้เป็นบัณฑิตของพระเจ้าเอเฬยยะ เป็นผู้สามารถพิจารณาเห็นประโยชน์ ยิ่งกว่าผู้สามารถพิจารณาเห็นประโยชน์อย่างยิ่งในกิจที่ควรทำและที่ควรทำอันยิ่ง ใน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๗๐}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๘. อุปกสูตร
คำที่ควรกล่าวและที่ควรกล่าวอันยิ่ง ฉะนั้น พวกข้าราชบริพารของพระเจ้าเอเฬยยะ จึงเลื่อมใสยิ่งนักในสมณรามบุตรและทำความเคารพอย่างยิ่งเห็นปานนี้ คือ ไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรมและสามีจิกรรมในสมณรามบุตร ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านพระโคดมตรัสเรื่องนี้ ไว้ดียิ่งนักว่า ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่าบุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ เป็นเรื่องที่ เป็นไปไม่ได้ แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่าบุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ ก็เป็นเรื่อง ที่เป็นไปไม่ได้ ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่าบุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ เป็นเรื่องที่เป็น ไปได้ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่าบุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ ก็เป็นเรื่องที่เป็น ไปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม บัดนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ขอท่านจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด พราหมณ์ ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุกจากที่นั่งจากไปวัสสการสูตรที่ ๗ จบ ๘. อุปกสูตร ว่าด้วยอุปกมัณฑิกาบุตร [๑๘๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง ราชคฤห์ ครั้งนั้นแล อุปกมัณฑิกาบุตร๑- เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีวาทะ๒- อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่ง กล่าวติเตียนผู้อื่น เมื่อกล่าวติเตียนผู้อื่น ย่อมไม่ให้กุศลกรรมเกิดขึ้นโดยประการ ทั้งปวง เมื่อไม่ให้กุศลกรรมเกิดขึ้นโดยประการทั้งปวง ย่อมถูกติเตียนกล่าวโทษ @เชิงอรรถ : @๑ ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระเทวทัต (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๘/๔๐๗) @๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๘๓ (สุตสูตร) หน้า ๒๕๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๗๑}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๘. อุปกสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุปกะ ถ้าบุคคลกล่าวติเตียนผู้อื่น เมื่อเขากล่าว ติเตียนผู้อื่น ย่อมไม่ให้กุศลกรรมเกิดขึ้น เมื่อไม่ให้กุศลกรรมเกิดขึ้น ย่อมถูกติเตียน กล่าวโทษ ท่านนั่นแล กล่าวติเตียนผู้อื่น เมื่อท่านกล่าวติเตียนผู้อื่น ย่อมไม่ให้ กุศลกรรมเกิดขึ้น เมื่อไม่ให้กุศลกรรมเกิดขึ้น ย่อมถูกติเตียนกล่าวโทษ อุปกมัณฑิกาบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลพึงจับปลาที่พอ ผุดขึ้นเท่านั้นด้วยแหใหญ่ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พอกล่าวขึ้น เท่านั้น พระผู้มีพระภาคก็ทรงจับด้วยบ่วงคือวาทะอันใหญ่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุปกะ เราบัญญัติไว้ว่า นี้เป็นอกุศล บท พยัญชนะ และธรรมเทศนาของตถาคตในข้อนั้นประมาณมิได้ว่า นี้เป็นอกุศลแม้เพราะเหตุนี้ อนึ่ง เราบัญญัติไว้ว่า อกุศลนี้นั่นแลควรละเสีย บท พยัญชนะ และธรรมเทศนา ของตถาคตในข้อนั้นประมาณมิได้ว่า อกุศลนี้ควรละเสียแม้เพราะเหตุนี้ อนึ่ง เราบัญญัติไว้ว่า นี้เป็นกุศล บท พยัญชนะ และธรรมเทศนาของตถาคต ในข้อนั้นประมาณมิได้ว่า นี้เป็นกุศลแม้เพราะเหตุนี้ อนึ่ง เราบัญญัติไว้ว่า กุศลนี้ นั่นแลควรเจริญ บท พยัญชนะ และธรรมเทศนาของตถาคตในข้อนั้นประมาณมิได้ว่า กุศลนี้ควรเจริญแม้เพราะเหตุนี้ ลำดับนั้นแล อุปกมัณฑิกาบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุก จากที่นั่งถวายอภิวาททำประทักษิณ๑- แล้ว เข้าไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ได้กราบทูลการสนทนากับพระผู้มีพระภาคทั้งหมดแด่พระเจ้า แผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ครั้นเมื่ออุปกมัณฑิกาบุตรกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิบุตรกริ้ว ไม่ทรงพอพระทัย ได้ตรัสกับอุปกมัณฑิกาบุตรว่า เจ้าเด็ก ลูกชาวนาเกลือนี้อวดดี ปากกล้า บังอาจ จักสำคัญพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นว่าควรรุกราน เจ้าอุปกะจงไปเสีย จงพินาศไป อย่ามาให้เรา เห็นหน้าอีกอุปกสูตรที่ ๘ จบ @เชิงอรรถ : @๑ ทำประทักษิณ หมายถึงเดินเวียนขวา โดยการประนมมือเวียนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา ๓ รอบ มีผู้ที่ @ตนเคารพอยู่ทางขวา เสร็จแล้วหันหน้าไปทางผู้ที่ตนเคารพ เดินถอยหลังจนสุดสายตา คือ จนมองไม่เห็น @ผู้ที่ตนเคารพนั้น คุกเข่าลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วลุกขึ้นเดินจากไป (วิ.อ. ๑/๑๕/๑๗๖-๑๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๗๒}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๑๐. อุโปสถสูตร
๙. สัจฉิกรณียสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรทำให้แจ้ง [๑๘๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ๔ ประการนี้ ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ๔ ประการ๑- อะไรบ้าง คือ ๑. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยกาย๒- ๒. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยสติ๓- ๓. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ๔- ๔. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา๕- ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยกาย เป็นอย่างไร คือ วิโมกข์ ๘ ควรทำให้แจ้งด้วยกาย ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยสติ เป็นอย่างไร คือ ปุพเพนิวาส ควรทำให้แจ้งด้วยสติ ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ เป็นอย่างไร คือ การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา เป็นอย่างไร คือ ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา๖- ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ๔ ประการนี้แลสัจฉิกรณียสูตรที่ ๙ จบ ๑๐. อุโปสถสูตร ว่าด้วยทรงสรรเสริญภิกษุในวันอุโบสถ [๑๙๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคาร- มาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ @เชิงอรรถ : @๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๒/๒๐๕ @๒ หมายถึงนามกาย (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๙/๔๐๙) @๓ หมายถึงปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๙/๔๐๙) @๔ หมายถึงทิพพจักขุญาณ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๙/๔๐๙) @๕ หมายถึงฌานปัญญา วิปัสสนาปัญญา มัคคปัญญา ผลปัญญา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๙/๔๐๙) @๖ หมายถึงปัจจเวกขณปัญญาที่พิจารณาอรหัตตผล คือ ความสิ้นอาสวะ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๙/๔๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๗๓}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๑๐. อุโปสถสูตร
แวดล้อม ประทับนั่งในวันอุโบสถนั้น ทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ผู้นิ่งเงียบ รับสั่งเรียก ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เงียบ ปราศจากเสียงสนทนา บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในสาระ๑- ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเหมือนบริษัทหาได้ยากแม้เพื่อจะเห็นในโลก ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้ก็เป็นเหมือนบริษัทผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควร แก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้ก็เป็นเหมือนบริษัทที่เขาถวายของน้อยก็มีผลมาก ที่เขาถวายของมากก็มี ผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้ก็เหมือนบริษัทที่แม้จะต้องเดินทางไปดูเป็น ระยะทางหลายโยชน์ต้องมีเสบียงทางไปด้วยก็ควรไป ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้เห็นปานนี้ คือ ในภิกษุสงฆ์นี้ ๑. มีภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นเทวดาอยู่๒- ๒. มีภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นพรหมอยู่๓- ๓. มีภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นอเนญชาอยู่๔- ๔. มีภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นอริยะอยู่ ภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นเทวดา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะปีติจาง คลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่๕- ภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นเทวดา เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นพรหม เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @๑ ตั้งอยู่ในสาระ หมายถึงตั้งอยู่ในสาระคือศีลเป็นต้น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๐/๔๐๙) @๒ หมายถึงภิกษุผู้ดำรงอยู่ในจตุตถฌานอันเป็นรูปาวจรหมุนจิตกลับแล้วจึงบรรลุอรหัตตผล @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๐/๔๑๐) @๓ หมายถึงภิกษุผู้ดำรงอยู่ในพรหมวิหาร ๔ หมุนจิตกลับแล้วจึงบรรลุอรหัตตผล (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๐/๔๑๐) @๔ หมายถึงภิกษุผู้ดำรงอยู่ในอรูปฌาน ๔ หมุนจิตกลับแล้วจึงบรรลุอรหัตตผล (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๐/๔๑๐) @๕ ดูข้อความเต็มในข้อ ๑๖๓ (อสุภสูตร) หน้า ๒๒๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๗๔}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน๑- ทิศเบื้องล่าง๒- ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ... มีมุทิตาจิต ... มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว ทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นพรหม เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นอเนญชา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนด ว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วง วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญา- นาสัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นอเนญชา เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นอริยะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข- นิโรธคามินีปฏิปทา ภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นอริยะ เป็นอย่างนี้แลอุโปสถสูตรที่ ๑๐ จบ โยธาชีววรรคที่ ๔ จบ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. โยธาชีวสูตร ๒. ปาฏิโภคสูตร ๓. สุตสูตร ๔. อภยสูตร ๕. สมณสัจจสูตร ๖. อุมมัคคสูตร ๗. วัสสการสูตร ๘. อุปกสูตร ๙. สัจฉิกรณียสูตร ๑๐. อุโปสถสูตร @เชิงอรรถ : @๑ หมายถึงเทวโลก (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕) @๒ หมายถึงสัตว์นรกและนาค (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๗๕}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๕๗-๒๗๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=135 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=4617&Z=4990 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=181 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=181&items=10 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=9280 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=181&items=10 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=9280 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i181-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i181-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.181.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.183.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.184.than.html https://suttacentral.net/an4.181/en/sujato https://suttacentral.net/an4.181/en/thanissaro https://suttacentral.net/an4.182/en/sujato https://suttacentral.net/an4.183/en/sujato https://suttacentral.net/an4.183/en/thanissaro https://suttacentral.net/an4.184/en/sujato https://suttacentral.net/an4.184/en/thanissaro https://suttacentral.net/an4.185/en/sujato https://suttacentral.net/an4.186/en/sujato https://suttacentral.net/an4.187/en/sujato https://suttacentral.net/an4.188/en/sujato https://suttacentral.net/an4.189/en/sujato https://suttacentral.net/an4.190/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]