บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๓. นิสสัคคิยกัณฑ์ แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านี้มาสู่วาระ ที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับ๑. ปัตตวรรค หมวดว่าด้วยบาตร สิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการสะสมบาตร เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ [๗๓๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทำการ สะสมบาตรไว้เป็นอันมาก พวกชาวบ้านเดินเที่ยวตามวิหารเห็นเข้าจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงทำการสะสมบาตรไว้เป็นอันมาก จะขาย บาตรหรือตั้งร้านขายภาชนะดินเผาหรือ ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึงทำการสะสมบาตรเล่า ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทำการ สะสมบาตรจริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระ ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงทำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๗๗}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์
การสะสมบาตรเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้ เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ [๗๓๔] ก็ภิกษุณีใดทำการสะสมบาตร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์๑-เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ [๗๓๕] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า บาตร ได้แก่ บาตร ๒ ชนิด คือ (๑) บาตรเหล็ก (๒) บาตรดินเผา บาตรมี ๓ ขนาด คือ (๑) บาตรขนาดใหญ่ (๒) บาตรขนาดกลาง (๓) บาตร ขนาดเล็ก ที่ชื่อว่า บาตรขนาดใหญ่ จุข้าวสุกจากข้าวสาร ๒ ทะนาน จุของเคี้ยวเศษ หนึ่งส่วนสี่๒- จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น ที่ชื่อว่า บาตรขนาดกลาง จุข้าวสุกจากข้าวสาร ๑ ทะนาน จุของเคี้ยว เศษหนึ่งส่วนสี่ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น ที่ชื่อว่า บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสุกจากข้าวสาร ครึ่งทะนาน จุของเคี้ยวเศษ หนึ่งส่วนสี่ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น @เชิงอรรถ : @๑ บาตรเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของที่ต้องสละให้ผู้อื่น ภิกษุณีผู้สะสมบาตร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ @๒ คือเศษหนึ่งส่วนสี่ของข้าวสุก (วิ.อ. ๒/๖๐๒/๒๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๗๘}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์
บาตรที่มีขนาดใหญ่กว่านั้นเป็นบาตรที่ใช้ไม่ได้ บาตรมีขนาดเล็กกว่านั้นก็เป็น บาตรที่ใช้ไม่ได้ คำว่า ทำการสะสม คือ บาตรที่ไม่ได้อธิษฐาน ไม่ได้วิกัป คำว่า บาตรเป็นนิสสัคคีย์ ความว่า บาตรเป็นนิสสัคคีย์พร้อมกับอรุณขึ้น คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุณีพึงสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้วิธีสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์ สละแก่สงฆ์ ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า บาตรใบนี้ ของดิฉันเกินกำหนดราตรี เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์ ครั้นสละ แล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนบาตรใบนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้สละแก่คณะ ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า ทั้งหลาย บาตรใบนี้ของดิฉันเกินกำหนดราตรี เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละบาตรใบ นี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า แม่เจ้าทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแล้ว แก่แม่เจ้าทั้งหลาย ถ้าแม่เจ้าทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงคืนบาตรใบนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๗๙}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า บาตรใบนี้ของดิฉันเกินกำหนด ราตรี เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละบาตรนี้แก่แม่เจ้า ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุณีผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติ แล้วคืนบาตรที่เธอสละให้ด้วยการกล่าวว่า ดิฉันคืนบาตรนี้ให้แก่แม่เจ้าบทภาชนีย์ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ [๗๓๖] บาตรที่เกินกำหนดราตรี ภิกษุณีสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้อง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ บาตรที่เกินกำหนดราตรี ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ บาตรที่เกินกำหนดราตรี ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่เกิน ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ บาตรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุณีสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ บาตรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุณีสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ บาตรยังไม่ได้สละ ภิกษุณีสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ บาตรยังไม่ได้สูญหาย ภิกษุณีสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ บาตรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุณีสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ บาตรยังไม่แตก ภิกษุณีสำคัญว่าแตกแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ บาตรยังไม่ถูกโจรชิงเอาไป ภิกษุณีสำคัญว่าถูกชิงเอาไปแล้ว ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๘๐}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ บาตรที่เป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุณียังไม่สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ บาตรที่ยังไม่เกินกำหนดราตรี ภิกษุณีสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้องอาบัติ ทุกกฏ บาตรที่ยังไม่เกินกำหนดราตรี ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ บาตรที่ยังไม่เกินกำหนดราตรี ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ไม่ต้องอาบัติอนาปัตติวาร ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๗๓๗] ๑. ภิกษุณีผู้อธิษฐานภายในอรุณขึ้น ๒. ภิกษุณีผู้วิกัปไว้ภายในอรุณขึ้น ๓. ภิกษุณีผู้สละให้ไปภายในอรุณขึ้น ๔. ภิกษุณีผู้มีบาตรสูญหายภายในอรุณขึ้น ๕. ภิกษุณีผู้มีบาตรฉิบหายภายในอรุณขึ้น ๖. ภิกษุณีผู้มีบาตรแตกภายในอรุณขึ้น ๗. ภิกษุณีผู้มีบาตรถูกโจรชิงเอาไปภายในอรุณขึ้น ๘. ภิกษุณีผู้มีบาตรถูกถือวิสาสะเอาไปภายในอรุณขึ้น ๙. ภิกษุณีผู้วิกลจริต ๑๐. ภิกษุณีผู้ต้นบัญญัติเรื่องไม่ยอมคืนบาตรให้เจ้าของเดิม สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไม่ยอมคืนบาตรที่มีผู้สละให้ ภิกษุทั้งหลายจึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์รับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ภิกษุณีสละให้แล้วจะไม่คืนให้ไม่ได้ ภิกษุณีรูปใดไม่คืน ต้องอาบัติทุกกฏสิกขาบทที่ ๑ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๘๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๗๗-๘๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=16 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=1342&Z=1432 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=93 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=93&items=9 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11125 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=93&items=9 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11125 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.093 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-np1/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-np1/en/horner
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]