ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการประพฤติตามภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๖๖๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาประพฤติตาม พระอริฏฐะ๑- ผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรม แล้ว บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน แม่เจ้าถุลลนันทาจึงประพฤติตามพระอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งที่ สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาประพฤติตาม ภิกษุชื่ออริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนีย กรรมจริงหรือ” พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงประพฤติตามภิกษุชื่อ อริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสหรือทำคน ที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ @เชิงอรรถ : @ คำว่า “ประพฤติตามพระอริฏฐะ” ในที่นี้หมายถึงประพฤติในทำนองเดียวกัน ประพฤติเลียนแบบ คือ @พระอริฏฐะมีทิฏฐิบาปเกิดขึ้นในใจว่า “ตัวเองรู้ธรรมถึงขนาดที่ว่า ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า @เป็นธรรมทำอันตรายก็หาสามารถทำอันตรายได้จริงไม่...” ภิกษุณีถุลลนันทาก็มีทิฏฐิเช่นนั้นเหมือนกัน @(ดูวินัยปิฎกแปล เล่ม ๒/๔๑๗/๕๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๔}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๖๖๙] ก็ภิกษุณีใดประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนีย กรรมโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์นั้น ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ สงฆ์ยังไม่รับรอง ยังไม่ได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย๑- ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลาย พึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ภิกษุนั่นถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันลง อุกเขปนียกรรมโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์๒- เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ สงฆ์ยัง ไม่รับรอง ยังไม่ได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้าอย่าประพฤติ ตามภิกษุนั่น” ภิกษุณีนั้นผู้อันภิกษุณีทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่ อย่างนั้น ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ ๓ ครั้งเพื่อให้ สละเรื่องนั้น ถ้านางกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้งสละเรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้านางไม่สละ แม้ภิกษุณีนี้ก็เป็นปาราชิกชื่ออุกขิตตานุวัตติกา๓- หาสังวาสมิได้
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๗๐] คำว่า ก็ ... ใด คือผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ @เชิงอรรถ : @ สมานสํวาสกา ภิกฺขู สหายา นาม, ยสฺส ปน โส สํวาโส เตหิ สทฺธึ นตฺถิ น เตน เต สหายา @กตา โหนฺติ, อิติ โส อกตสหาโย นาม. ภิกษุทั้งหลายผู้มีสังวาสเสมอกันชื่อว่า สหาย ก็ภิกษุใดไม่มี @สังวาสนั้นกับสหายเหล่านั้น (และ)ภิกษุนั้นไม่ได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันนั้นให้เป็นสหายของตน @เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า ยังไม่ได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย (กงฺขา.อ. ๓๔๔) @ “โดยธรรม” คือเรื่องจริง,โดยเรื่องที่เป็นจริง “โดยวินัย” คือโจทแล้วให้จำเลยให้การ “โดยสัตถุศาสน์” คือ @ด้วยความถึงพร้อมแห่งญัตติและอนุสาวนาหรือโดยศาสนาของพระพุทธเจ้า (วิ.อ. ๒/๖๖๙-๖๗๐/๔๖๖) @ คำว่า “อุกขิตตานุวัตติกา” แปลว่า ประพฤติตามผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ถูกสงฆ์ลงโทษโดยการไล่ออกจากหมู่ @หมายถึงถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมนั่นเอง คำนี้เป็นชื่อเรียกภิกษุณีผู้ต้องอาบัติปาราชิกสิกขาบทนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๕}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์

สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสมานสังวาสสีมา ที่ชื่อว่า ถูก ... ลงอุกเขปนียกรรม คือ ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็น เพราะไม่ทำคืน หรือเพราะไม่สละคืนอาบัติ คำว่า โดยธรรม โดยวินัย คือ โดยธรรมใด โดยวินัยใด คำว่า โดยสัตถุศาสน์ คือ โดยคำสั่งสอนของพระชินเจ้า โดยคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า ที่ชื่อว่า ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ คือ ไม่ยอมรับสงฆ์ คณะ บุคคล หรือกรรม ที่ชื่อว่า สงฆ์ยังไม่รับรอง คือ ถูกสงฆ์ขับไล่แล้วยังไม่เรียกกลับเข้าหมู่ ที่ชื่อว่า ยังไม่ได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย คือ ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสังวาสเสมอกัน๑- พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ผู้เป็นสหาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ไม่มีสังวาสนั้นกับภิกษุเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง ตรัสว่า “ยังไม่ได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย” คำว่า ประพฤติตามภิกษุ ... นั้น ความว่า ภิกษุนั้นมีความเห็นเช่นใด มี ความชอบใจเช่นใด มีความพอใจเช่นใด แม้ภิกษุณีนั้นก็เป็นผู้มีความเห็นเช่นนั้น มีความชอบใจเช่นนั้น มีความพอใจเช่นนั้น คำว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม คำว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุณีเหล่าอื่น ภิกษุณีทั้งหลายที่ได้เห็นได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนเธอว่า “แม่เจ้า ภิกษุนั่นถูก สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ เป็นผู้ ไม่เอื้อเฟื้อ สงฆ์ยังไม่รับรอง ยังไม่ได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้า อย่าประพฤติตามภิกษุนั่น” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือน เธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณี @เชิงอรรถ : @ มีสังวาสเสมอกัน คือมีกรรมที่ทำร่วมกันมีอุทเทสที่สวดร่วมกันและมีสิกขาเสมอกัน @(ดูข้อ ๖๕๘, ๖๖๖, ๖๗๑ และข้อ ๖๗๖ หน้า , ๑๒, ๑๘, ๒๓, วิ.อ. ๒/๖๖๙-๖๗๐/๔๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๖}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์

ทั้งหลายได้ยินไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลาย พึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนว่า “แม่เจ้า ภิกษุนั่นถูกสงฆ์พร้อม เพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ สงฆ์ยังไม่รับรอง ยังไม่ได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้าอย่า ประพฤติตามภิกษุนั่น” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือน เธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์
วิธีสวดสมนุภาสน์และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุณี ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า [๖๗๑] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชื่อนี้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่ ่เอื้อเฟื้อ สงฆ์ยังไม่รับรอง ยังไม่ได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย เธอไม่ สละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ๑- แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีนี้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์พร้อมเพรียง กันลงอุกเขปนียกรรมโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ สงฆ์ยัง ไม่รับรอง ยังไม่ได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์ สวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการสวด สมณุภาสน์ภิกษุณีนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าขอกล่าวความนี้ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าขอกล่าว ความนี้ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ญัตติ คือ การประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจร่วมกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๗}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์

ภิกษุณีชื่อนี้สงฆ์สวดสมนุภาสน์เพื่อให้สละเรื่องนั้นแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้" จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย จบ กรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติปาราชิก คำว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อนๆ คำว่า เป็นปาราชิก อธิบายว่า ภิกษุณีถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์จนครบ ๓ ครั้งก็ยังไม่ยอมสละ เธอย่อมไม่เป็นสมณะหญิง ไม่เป็นเชื้อสายศากยธิดา เปรียบ เหมือนแผ่นศิลาหนาแตกออกเป็น ๒ เสี่ยงจะประสานให้สนิทเป็นเนื้อเดียวกันอีก ไม่ได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก คำว่า หาสังวาสมิได้ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าสังวาส ได้แก่ กรรมที่ทำร่วมกัน อุทเทสที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับ ภิกษุณีรูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้
บทภาชนีย์
ติกปาราชิก
[๖๗๒] กรรมที่ทำถูกต้อง๑- ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติปาราชิก กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติปาราชิก กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้อง อาบัติปาราชิก @เชิงอรรถ : @ “กรรมที่ทำถูกต้อง” ในที่นี้หมายถึงอุกเขปนียกรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติปาราชิก คือ [๖๗๓] ๑. ภิกษุณียังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์ ๒. ภิกษุณียอมสละ ๓. ภิกษุณีวิกลจริต ๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๔-๑๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=3              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=230&Z=324                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=18              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=18&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10789              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=18&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10789                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.018 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pj7/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pj7/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :