ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส

๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส๑-
ว่าด้วยปัญหาของโตเทยยมาณพ
[๕๗] (ท่านโตเทยยะทูลถาม ดังนี้) กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์ของบุคคลนั้นเป็นเช่นไร (๑) คำว่า กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด อธิบายว่า กามทั้งหลายย่อมไม่อยู่ คือ ไม่อยู่ร่วม ไม่อยู่อาศัย ไม่อยู่ครอง ในบุคคลใด รวมความว่า กามทั้งหลายไม่ อยู่ในบุคคลใด คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านโตเทยยะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง คำว่า โตเทยยะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า ท่านโตเทยยะทูลถาม ดังนี้ คำว่า ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด อธิบายว่า ตัณหาไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่บุคคลใด ได้แก่ ตัณหาอันผู้ใดละได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด คำว่า และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า ผู้ใดข้าม คือ ข้าม ขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นความสงสัยได้แล้ว รวมความว่า และ บุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๙๕-๑๐๙๘/๕๔๓-๕๔๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า วิโมกข์ของบุคคลนั้นเป็นเช่นไร อธิบายว่า พราหมณ์ทูลถามวิโมกข์ว่า วิโมกข์ของเขาเป็นเช่นไร คือ มีสัณฐานอย่างไร มีประการอย่างไร เปรียบได้กับอะไร ที่บุคคลพึงปรารถนา รวมความว่า วิโมกข์ของบุคคลนั้นเป็นเช่นไร ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า (ท่านโตเทยยะทูลถาม ดังนี้) กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์ของบุคคลนั้นเป็นเช่นไร [๕๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โตเทยยะ) กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์อื่นของบุคคลนั้นย่อมไม่มี (๒) คำว่า ใด ในคำว่า กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด ได้แก่ ในบุคคลใด คือ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑- คำว่า ไม่อยู่ อธิบายว่า กามทั้งหลายย่อมไม่อยู่ คือ ไม่อยู่ร่วม ไม่อยู่อาศัย ไม่อยู่ครองในบุคคลใด รวมความว่า กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด คำว่า โตเทยยะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โตเทยยะ เป็นคำ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑- รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โตเทยยะ คำว่า ตัณหา ในคำว่า ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า บุคคลใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด อธิบายว่า ตัณหาไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่บุคคลใด ได้แก่ ตัณหาอันบุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้ สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด คำว่า และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า วิจิกิจฉา ตรัสเรียกว่า ความสงสัย ได้แก่ ความสงสัยในทุกข์ ฯลฯ ความหวาดหวั่นแห่งจิต ความ ติดขัดในใจ๒- คำว่า บุคคลใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า บุคคลใดข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นความสงสัยได้แล้ว รวมความว่า และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว คำว่า วิโมกข์อื่นของบุคคลนั้นย่อมไม่มี อธิบายว่า บุคคลผู้หลุดพ้นแล้วนั้น พึงหลุดพ้นด้วยวิโมกข์ใด วิโมกข์อื่นจากนั้น ของบุคคลนั้นย่อมไม่มี (เพราะ) บุคคล นั้นได้ทำกิจที่ควรทำด้วยวิโมกข์เสร็จแล้ว รวมความว่า วิโมกข์อื่นของบุคคลนั้น ย่อมไม่มี ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘ @ ดูรายละเอียดข้อ ๓๒/๑๖๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส

(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โตเทยยะ) กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์อื่นของบุคคลนั้นย่อมไม่มี [๕๙] (ท่านโตเทยยะทูลถามว่า) บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง หรือว่ายังหวังอยู่ บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา หรือว่ายังมีความดำริด้วยปัญญา ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพระมุนีได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด (๓) คำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง หรือว่ายังหวังอยู่ อธิบายว่า บุคคล นั้นไม่มีตัณหา หรือว่า ยังมีตัณหาอยู่ คือ หวัง ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังในรูป ฯลฯ เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ตระกูล ฯลฯ คณะ ฯลฯ อาวาส ฯลฯ ลาภ ฯลฯ ยศ ฯลฯ สรรเสริญ ฯลฯ สุข ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ กามธาตุ ฯลฯ รูปธาตุ ฯลฯ อรูปธาตุ ฯลฯ กามภพ ฯลฯ รูปภพ ฯลฯ อรูปภพ ฯลฯ สัญญาภพ ฯลฯ อสัญญาภพ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญาภพ ฯลฯ เอกโวการภพ๑- ฯลฯ จตุโวการภพ๒- ฯลฯ ปัญจโวการภพ๓- ฯลฯ อดีต ฯลฯ อนาคต ฯลฯ ปัจจุบัน ฯลฯ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้ แจ้ง รวมความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง หรือว่ายังหวังอยู่ @เชิงอรรถ : @ เอกโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓๔/๑๖๙ @ จตุโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓๔/๑๖๙ @ ปัญจโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓๔/๑๖๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา ในคำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา หรือว่า ยังมีความดำริด้วยปัญญา ได้แก่ บัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส คำว่า หรือว่ายังมีความดำริด้วยปัญญา อธิบายว่า หรือว่ายังดำริถึงตัณหา หรือทิฏฐิ คือ ให้ความดำริถึงตัณหาหรือทิฏฐิเกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด ให้ บังเกิดขึ้นด้วยญาณในสมาบัติ ๘ ญาณในอภิญญา ๕ หรือมิจฉาญาณ รวมความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา หรือว่ายังมีความดำริด้วยปัญญา
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้สักกะ
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ จะพึงรู้จักพระมุนีได้อย่างไร อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้สักกะเสด็จออกผนวช จากศากยตระกูล จึงชื่อว่าผู้สักกะ อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก มีทรัพย์ จึงชื่อว่าผู้ สักกะ พระองค์ทรงมีทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือ สติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์ คือพละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีทรัพย์ด้วยทรัพย์ที่เป็นรัตนะหลายอย่าง เหล่านี้ จึงชื่อว่าผู้สักกะ อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงสามารถ คือ ทรงองอาจ อาจหาญ มี ความสามารถ กล้า กล้าหาญ ก้าวหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี ทรงละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าผู้สักกะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพระมุนีได้อย่างไร อธิบายว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอด พระมุนีได้อย่างไร รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพระมุนีได้อย่างไร คำว่า นั้น ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัส บอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด อธิบายว่า ปัญหาที่ข้าพระองค์ ทูลถาม ที่ข้าพระองค์ทูลขอ ที่ข้าพระองค์ทูลอัญเชิญ ที่ข้าพระองค์ทูลให้ทรงประกาศ คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก (ปัญหานั้น) ให้แจ่มแจ้ง อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ อธิบายว่า พระสัพพัญญุตญาณตรัส เรียกว่า สมันตจักขุ ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระตถาคต ชื่อว่าผู้มีสมันตจักขุ๑- รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง หรือว่ายังหวังอยู่ บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา หรือว่ายังมีความดำริด้วยปัญญา ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพระมุนีได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด [๖๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง ทั้งไม่หวัง บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา แต่ไม่มีความดำริด้วยปัญญา โตเทยยะ เธอจงรู้จักบุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพว่าเป็นมุนี อย่างนี้ (๔) @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๓๘/๑๗๘-๑๗๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง ทั้งไม่หวัง อธิบายว่า บุคคลนั้นไม่มี ตัณหา ทั้งไม่มีตัณหา ไม่หวัง คือ ไม่ต้องการ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังในรูป ... ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง รวมความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มี ความหวัง ทั้งไม่หวัง คำว่า ผู้มีปัญญา ในคำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา แต่ไม่มีความดำริ ด้วยปัญญา ได้แก่ บัณฑิต มีปัญญา คือ มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มี ปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส คำว่า แต่ไม่มีความดำริด้วยปัญญา อธิบายว่า ไม่ดำริถึงตัณหาหรือทิฏฐิ ด้วยญาณในสมาบัติ ๘ อภิญญา ๕ หรือมิจฉาญาณ คือ ไม่ให้ความดำริถึง ตัณหาหรือทิฏฐิเกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้น รวมความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา แต่ไม่มีความดำริด้วยปัญญา คำว่า โตเทยยะ เธอจงรู้จัก ... ว่าเป็นมุนี อย่างนี้ อธิบายว่า คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ ฯลฯ บุคคลก้าวล่วงกิเลส เครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑- คำว่า โตเทยยะ เธอจงรู้จัก ... ว่าเป็นมุนี อย่างนี้ อธิบายว่า โตเทยยะ เธอจงรู้ คือ จงรู้เฉพาะ รู้แจ่มแจ้ง แทงตลอด ว่าเป็นมุนี อย่างนี้ รวมความว่า โตเทยยะ เธอจงรู้จัก ... ว่าเป็นมุนี อย่างนี้ คำว่า เครื่องกังวล ในคำว่า บุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกาม และภพ ได้แก่ เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ เครื่องกังวลคือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวล คือทุจริต เครื่องกังวลเหล่านี้ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า บุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๑๒๗-๑๒๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ในกามและภพ อธิบายว่า คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑- คำว่า ภพ ได้แก่ ภพ ๒ คือ (๑) กรรมภพ (๒) ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ๒- คำว่า บุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพ อธิบายว่า บุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้อง คือ ไม่เกาะติด ไม่เกี่ยวพัน ไม่พัวพัน ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องในกามและภพ มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า บุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง ทั้งไม่หวัง บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา แต่ไม่มีความดำริด้วยปัญญา โตเทยยะ เธอจงรู้จักบุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพว่าเป็นมุนี อย่างนี้ พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ โตเทยยมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
โตเทยยมาณวปัญหานิทเทสที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗ @ ดูรายละเอียดข้อ ๒๔/๑๓๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๓๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๒๒๖-๒๓๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=30&siri=28              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=3241&Z=3378                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=346              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=30&item=346&items=20              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=46&A=860              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=30&item=346&items=20              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=46&A=860                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://www.ancient-buddhist-texts.net/Texts-and-Translations/Parayanavagga/Parayanavaggo-09.htm



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :