ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๒] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
             ธรรม ๑ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
             ธรรม ๒ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒
             ธรรม ๓ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓
             ธรรม ๔ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ ๔
             ธรรม ๕ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายตนะ ๕
             ธรรม ๖ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ ๖
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

ธรรม ๗ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ ๗ ๑- ธรรม ๘ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ ๘ ธรรม ๙ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙ ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ นิชชรวัตถุ ๑๐ ๒- [๓] ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง สิ่งทั้งปวงที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร คือ จักขุ (ตา) ควรรู้ยิ่ง รูปควรรู้ยิ่ง จักขุวิญญาณควรรู้ยิ่ง จักขุสัมผัสควรรู้ยิ่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัยควรรู้ยิ่ง โสตะ (หู) ควรรู้ยิ่ง สัททะ (เสียง) ฯลฯ ฆานะ (จมูก) ควรรู้ยิ่ง คันธะ (กลิ่น) ฯลฯ ชิวหา (ลิ้น) ควรรู้ยิ่ง รส ฯลฯ กาย ควรรู้ยิ่ง โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ฯลฯ มโน (ใจ) ควรรู้ยิ่ง ธรรมารมณ์ควรรู้ยิ่ง มโนวิญญาณควรรู้ยิ่ง มโนสัมผัส ควรรู้ยิ่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัยควรรู้ยิ่ง รูปควรรู้ยิ่ง เวทนาควรรู้ยิ่ง สัญญาควรรู้ยิ่ง สังขารควรรู้ยิ่ง วิญญาณควรรู้ยิ่ง จักขุควรรู้ยิ่ง โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... รูป ... สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ควรรู้ยิ่ง @เชิงอรรถ : @ นิททสวัตถุ ๗ ได้แก่ (๑) การสมาทานสิกขาบท (๒) ความเอาใจใส่สังเกตธรรม (๓) การกำจัดความริษยา @(๔) ความหลีกเร้น (๕) การปรารภความเพียร (๖) ความมีสติและมีปัญญารักษาตน (๗) การรู้แจ้งทิฏฐิ @(ขุ.ป.อ. ๑/๒/๘๐) @ นิชชรวัตถุ ๑๐ หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น รวมกับสัมมาญาณ และสัมมาวิมุตติ @อีก ๒ จึงเป็น ๑๐ (ขุ.ป.อ. ๑/๒/๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา) ควรรู้ยิ่ง โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้ง อารมณ์ทางหู) ... ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก) ... ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น) ... กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย) ... มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ) ควรรู้ยิ่ง จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา) ควรรู้ยิ่ง โสตสัมผัส (ความกระทบทางจมูก) ... ฆานสัมผัส (ความกระทบทางกลิ่น) ... ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น) ... กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย) ... มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ) ควรรู้ยิ่ง จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา) ควรรู้ยิ่ง โสตสัมผัสสชา- เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู) ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจาก สัมผัสทางจมูก) ... ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น) ... กาย- สัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย) ... มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนา เกิดจากสัมผัสทางใจ) ควรรู้ยิ่ง รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) ควรรู้ยิ่ง สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง) ... คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น) ... รสสัญญา (ความหมายรู้รส) ... โผฏฐัพพสัญญา (ความหมายรู้สัมผัสทางกาย) ... ธัมมสัญญา (ความหมายรู้ธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) ควรรู้ยิ่ง สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ... คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ... รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ... โผฏฐัพพ- สัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ... ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง รูปตัณหา (อยากได้รูป) ควรรู้ยิ่ง สัททตัณหา (อยากได้เสียง) ... คันธตัณหา (อยากได้กลิ่น) ... รสตัณหา (อยากได้รส) ... โผฏฐัพพตัณหา (อยากได้โผฏฐัพพะ) ... ธัมมตัณหา (อยากได้ธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง รูปวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับรูป) ควรรู้ยิ่ง สัททวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับเสียง) ... คันธวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับกลิ่น) ... รสวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับรส) ... โผฏฐัพพ- วิตก (ความตรึกเกี่ยวกับโผฏฐัพพะ) ... ธัมมวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

รูปวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับรูป) ควรรู้ยิ่ง สัททวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับ เสียง) ... คันธวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับกลิ่น) ... รสวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับรส) ... โผฏฐัพพวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับโผฏฐัพพะ) ... ธัมมวิจาร (ความตรองเกี่ยว กับธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง [๔] ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ควรรู้ยิ่ง อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ... เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ... วาโยธาตุ (ธาตุลม) ... อากาสธาตุ (ธาตุคือที่ว่าง) ... วิญญาณธาตุ (ธาตุคือวิญญาณ) ควรรู้ยิ่ง ปฐวีกสิณ (กสิณคือดิน) ควรรู้ยิ่ง อาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ) ... เตโชกสิณ (กสิณคือไฟ) ... วาโยกสิณ (กสิณคือลม) ... นีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว) ... ปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง) ... โลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง) ... โอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว) ... อากาสกสิณ (กสิณคือช่องว่าง) ... วิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ) ควรรู้ยิ่ง ผมควรรู้ยิ่ง ขน ... เล็บ ... ฟัน ... หนัง ... เนื้อ ... เอ็น ... กระดูก ... เยื่อในกระดูก ... ไต๑- ... หัวใจ ... ตับ ... พังผืด ... ม้าม๒- ... ปอด ... ไส้ใหญ่ ...ไส้น้อย ... อาหารใหม่ อาหารเก่า ... ดี ... เสลด ... หนอง ... เลือด ... เหงื่อ ... มันข้น ... น้ำตา ... เปลวมัน ... น้ำลาย ... น้ำมูก ... ไขข้อ ... มูตร๓- ... มันสมองควรรู้ยิ่ง @เชิงอรรถ : @ ไต แปลจากคำบาลีว่า วกฺก (โบราณแปลว่า ม้าม) ได้แก่ก้อนเนื้อ ๒ ก้อนมีขั้วเดียวกัน มีสีแดงอ่อน @เหมือนเมล็ดทองหลาง รูปร่างคล้ายลูกสะบ้าของเด็กๆ หรือคล้ายผลมะม่วง ๒ ผล ที่ติดอยู่ที่ขั้วเดียวกัน @มีเอ็นใหญ่รึงรัดจากลำคอลงไปถึงหัวใจแล้วแยกออกมาห้อยอยู่ทั้ง ๒ ข้าง (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๓), พจนานุกรม @ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๓๖๒ ให้บทนิยามของคำว่า “ไต” ว่า “อวัยวะคู่หนึ่งของคน @และสัตว์อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ขับของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะ”, Buddhadatta, @A.P. A Concise Pali-English Dictionary, 1985,(P. 224) ; และ Phys David, T.W. Pali-English @Dictionary, 1921-1925, (P. 591) ให้ความหมายของคำว่า วกฺก ตรงกัน หมายถึง ไต (Kidney) @ ม้าม แปลจากคำบาลีว่า ปิหห (โบราณแปลว่า ไต) มีสีเขียวเหมือนดอกคนทิสอแห้ง รูปร่างคล้ายลิ้นลูก @โคถึกดำ ยาวประมาณ ๗ นิ้ว อยู่ด้านบนติดกับหัวใจข้างซ้ายชิดพื้นท้องด้านบน (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๕); @พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๖๔๗ ให้บทนิยามของคำว่า “ม้าม” ไว้ว่า @“อวัยวะภายในร่างกายริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย มีหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดแดง สร้างเม็ดน้ำเหลืองและ @สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย” Buddhadatta, A.P. A Concise Pali-English Dictionary, 1985, (P.186); @และ Rhys David, T.W. Pali-English Dictionary, 1921-1925, (P.461) ให้ความหมายของคำว่า ปิหก @ตรงกัน หมายถึง ม้าม (spleen) @ มูตร หมายถึงน้ำปัสสาวะที่มีอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ (ขุ.ขุ.อ. ๓/๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

จักขายตนะ (อายตนะคือตา) ควรรู้ยิ่ง รูปายตนะ (อายตนะคือรูป) ... โสตายตนะ (อายตนะคือหู) ... สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง) ... ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก) ... คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น) ... ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น) ... รสายตนะ (อายตนะคือรส) ... กายายตนะ (อายตนะคือกาย) ... โผฏฐัพพายตนะ (อายตนะคือโผฏฐัพพะ) ... มนายตนะ (อายตนะคือใจ) ... ธัมมายตนะ (อายตนะคือ ธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุปสาท) ควรรู้ยิ่ง รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์) ... จักขุ- วิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ) ... โสตธาตุ (ธาตุคือโสตปสาท) ... สัททธาตุ (ธาตุคือสัททารมณ์) ... โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ) ... ฆานธาตุ (ธาตุ คือฆานปสาท) ... คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์) ... ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆาน- วิญญาณ) ... ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาปสาท) ... รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์) ... ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ) ... กายธาตุ (ธาตุคือกายปสาท) ... โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์) ... กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ) ... มโนธาตุ (ธาตุคือมโน) ... ธัมมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์) ... มโนวิญญาณธาตุ (ธาตุคือมโนวิญญาณ) ควรรู้ยิ่ง จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุปสาท) ควรรู้ยิ่ง โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือโสตปสาท) ... ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือฆานปสาท) ... ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือชิวหาปสาท) ... กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกายปสาท) ... มนินทรีย์ (อินทรีย์คือใจ) ... ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต) ... อิตถินทรีย์ (อินทรีย์คืออิตถีภาวะ) ... ปุริสินทรีย์ (อินทรีย์คือ ปุริสภาวะ) ... สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือสุขเวทนา) ... ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือทุกขเวทนา) ... โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโสมนัสสเวทนา) ... โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือ โทมนัสสเวทนา) ... อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขาเวทนา) ... สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา) ... วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ) ... สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ) ... สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ) ... ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา) ... อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์แห่งท่านผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจธรรมที่ ยังมิได้รู้) ... อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาอันรู้ทั่วถึง) ... อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว) ควรรู้ยิ่ง [๕] กามธาตุ (ธาตุคือกาม) ควรรู้ยิ่ง รูปธาตุ (ธาตุคือรูป) ... อรูปธาตุ (ธาตุ คืออรูป) ... กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร) ... รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร) ... อรูปภพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

(ภพที่เป็นอรูปาวจร) ... สัญญาภพ (ภพที่มีสัญญา) ... อสัญญาภพ (ภพที่ไม่มีสัญญา) ... เนวสัญญานาสัญญาภพ (ภพที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ... เอกโวการภพ (ภพที่มีโวการเดียว๑-) ... จตุโวการภพ (ภพที่มี ๔ โวการ๒-) ... ปัญจโวการภพ (ภพที่มี ๕ โวการ๓-) ควรรู้ยิ่ง [๖] ปฐมฌาน ควรรู้ยิ่ง ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... เมตตาเจโต- วิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตด้วยอำนาจเมตตา) ... กรุณาเจโตวิมุตติ (ความหลุด พ้นแห่งจิตด้วยอำนาจกรุณา) ... มุทิตาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตด้วย อำนาจพลอยยินดี) ... อุเบกขาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตด้วยอำนาจการวาง ตนเป็นกลาง) ... อากาสานัญจายตนสมาบัติ (สมาบัติกำหนดอากาศคือช่องว่าง หาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ (สมาบัติกำหนดวิญญาณ หาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ (สมาบัติกำหนดภาวะที่ไม่มี อะไรๆ เป็นอารมณ์) ... เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (สมาบัติเข้าถึงภาวะมี สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ควรรู้ยิ่ง อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) ควรรู้ยิ่ง สังขาร (สภาพที่ปรุงแต่ง) ... วิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์) ... นามรูป (รูปและนาม) ... สฬายตนะ (อายตนะ ๖) ... ผัสสะ (ความกระทบ) ... เวทนา (ความเสวยอารมณ์) ... ตัณหา (ความทะยานอยาก) ... อุปาทาน (ความยึดถือ) ... ภพ (ภาวะชีวิต) ... ชาติ (ความเกิด) ... ชราและมรณะ (ความแก่และความตาย) ควรรู้ยิ่ง [๗] ทุกข์ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธ (ความ ดับทุกข์) ควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์) ควรรู้ยิ่ง รูปควรรู้ยิ่ง รูปสมุทัย (เหตุให้เกิดรูป) ควรรู้ยิ่ง รูปนิโรธ (ความดับรูป) ควรรู้ยิ่ง รูปนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับรูป) ควรรู้ยิ่ง @เชิงอรรถ : @ คำว่า โวการเดียว หมายถึงขันธ์เดียวคือรูปขันธ์ (ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗) @ คำว่า ๔ โวการ หมายถึงอรูปขันธ์ ๔ (ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗) @ คำว่า ๕ โวการ หมายถึงขันธ์ ๕ (ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๘-๑๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=3              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=105&Z=159                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=2              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=2&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=1536              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=2&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=1536                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :