ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๔. เมตตากถา
ว่าด้วยเมตตา
[๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลปฏิบัติแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก แล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว พึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการ อานิสงส์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข ๓. ไม่ฝันร้าย ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๔. เมตตากถา

๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๖. เทวดาทั้งหลายรักษา ๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรากล้ำกรายไม่ได้ ๘. จิตตั้งมั่นเร็ว ๙. สีหน้าสดใส ๑๐. ไม่หลงลืมสติตาย ๑๑. เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษอันยอดยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลปฏิบัติแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก แล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว พึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้๑- เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจง ก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจง ด้วยอาการเท่าไร เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร เมตตาเจโต- วิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร คือ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่าง เมตตา- เจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่าง เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศ ทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด ๒. ขอปาณชาติทั้งปวง ฯลฯ ๓. ขอภูตทั้งปวง ฯลฯ ๔. ขอบุคคลทั้งปวง ฯลฯ ๕. ขอผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๕/๔๒๕-๔๒๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๔. เมตตากถา

เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ขอสตรีทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด ๒. ขอบุรุษทั้งปวง ฯลฯ ๓. ขออารยชนทั้งปวง ฯลฯ ๔. ขออนารยชนทั้งปวง ฯลฯ ๕. ขอเทวดาทั้งปวง ฯลฯ ๖. ขอมนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ ๗. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มี ทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด ๒. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ ๓. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ ๔. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ ๕. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ ๖. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ ๗. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ ๘. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ ๙. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ ๑๐. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด ขอปาณชาติทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูตทั้งปวง ฯลฯ บุคคลทั้งปวง ฯลฯ ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง ฯลฯ สตรีทั้งปวง ฯลฯ บุรุษทั้งปวง ฯลฯ อารยชน ทั้งปวง ฯลฯ อนารยชนทั้งปวง ฯลฯ เทวดาทั้งปวง ฯลฯ มนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๔. เมตตากถา ๑. อินทริยวาร

๑. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จงเป็นผู้ไม่มีเวรไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด ๒. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ ๓. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ ๔. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ ๕. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ ๖. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ ๗. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ ๘. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ ๙. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ ๑๐. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
๑. อินทริยวาร
วาระว่าด้วยอินทรีย์
[๒๓] ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ คือ ๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง ๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๖. ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน ๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๔. เมตตากถา ๑. อินทริยวาร

ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มี ความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะ (การปฏิบัติ) ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคล ย่อมปฏิบัติเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นภาวนา (การเจริญ) ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคล ย่อมเจริญเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นพหุลีกรรม (การทำให้มาก) ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นอลังการ (เครื่องประดับ) ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อม เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต (ไปร่วมกัน) เป็นสหชาติ (เกิดร่วมกัน) เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ (ประกอบกัน) เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๔. เมตตากถา ๒. พลวาร

“นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำ ให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
อินทริยวาร จบ
๒. พลวาร
วาระว่าด้วยพละ
[๒๔] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติ ชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า อบรมแล้วด้วยวิริยพละ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า อบรมแล้วด้วยสติพละ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจง เป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว ด้วยสมาธิพละ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจง เป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว ด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้ พละ ๕ ประการนี้เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญเมตตา- เจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๔. เมตตากถา ๓. โพชฌังควาร

พละ ๕ ประการนี้เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำให้มาก ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้ พละ ๕ ประการนี้เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้ พละ ๕ ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้ พละ ๕ ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อม เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้ พละ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ ด้วยดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
พลวาร จบ
๓. โพชฌังควาร
วาระว่าด้วยโพชฌงค์
[๒๕] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๔. เมตตากถา ๓. โพชฌังควาร

ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตา- เจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเพ่งเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี เวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยอุเบกขา- สัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำ ให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นบริวารของ เมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตา- เจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
โพชฌังควาร จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร

๔. มัคคังควาร
วาระว่าด้วยองค์แห่งมรรค
[๒๖] ผู้เจริญเมตตาเห็นโดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มี ความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฏฐิ ผู้เจริญเมตตาตรึกตรองโดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ผู้เจริญเมตตากำหนดโดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ผู้เจริญเมตตาตั้งการงานไว้โดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้วโดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี เวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้โดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้โดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำให้ มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร

องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อม เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ ด้วยดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว [๒๗] ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่ปาณชาติทั้งปวง ฯลฯ สู่ภูตทั้งปวง ฯลฯ สู่บุคคลทั้งปวง ฯลฯ สู่ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง ฯลฯ สู่สตรีทั้งปวง ฯลฯ สู่บุรุษทั้งปวง ฯลฯ สู่อารยชนทั้งปวง ฯลฯ สู่อนารยชนทั้งปวง ฯลฯ สู่เทวดา ทั้งปวง ฯลฯ สู่มนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ คือ ๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ๖. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน ๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี เวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้รุ่งเรือง ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงใน ทิศปัจฉิม ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวง ในทิศอีสาน ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ คือ ๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนให้ เดือดร้อน ๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ๖. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน ๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี เวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้รุ่งเรือง ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร

ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่ปาณชาติทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่ภูตทั้งปวง ในทิศบูรพา ฯลฯ สู่บุคคลทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่ผู้นับเนื่องในอัตภาพทั้งปวง ในทิศบูรพา ฯลฯ สู่สตรีทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่บุรุษทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่อารยชนทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่อนารยชนทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่เทวดา ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่มนุษย์ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ สู่ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ คือ ๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ เบื้องบนให้เดือดร้อน ๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ เบื้องบน ๖. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน ๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว ด้วยสัทธินทรีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร

ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว ด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย สตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย สมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้ โชติช่วง ให้สว่างไสว ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ด้วยมนสิการว่า “ขอ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า อบรมแล้วด้วยวิริยพละ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า อบรมแล้วด้วยสติพละ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม แล้วด้วยสมาธิพละ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม แล้วด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร

ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสติ- สัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว ด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียร ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว ด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อน ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว ด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม แล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสมาธิ- สัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเพ่งเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า อบรมแล้วด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้ โชติช่วง ให้สว่างไสว ผู้เจริญเมตตาเห็นโดยชอบว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จง เป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว ด้วยสัมมาทิฏฐิ ผู้เจริญเมตตาตรึกตรองโดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย สัมมาสังกัปปะ ผู้เจริญเมตตากำหนดโดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย สัมมาวาจา ผู้เจริญเมตตาตั้งการงานไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม แล้วด้วยสัมมากัมมันตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๕. วิราคกถา

ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้วโดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า อบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า อบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว ด้วยสัมมาสติ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว ด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อม ห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความดำรงมั่น เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตา- เจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภ เสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยัง เมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
มัคคังควาร จบ
เมตตากถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๔๖๐-๔๗๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=73              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=8449&Z=8691                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=574              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=574&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=5453              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=574&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=5453                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :