บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๑. เอกกนิทเทส [๗๖๑] วิญญาณ ๕ ไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ สังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็น อารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ ของกิเลส เป็นอัพยากฤต รับรู้อารมณ์ได้ ไม่เป็นเจตสิก เป็นวิบาก กรรมอัน ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน กิเลสไม่ทำให้ เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียง วิจาร ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน ๓ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ไม่ใช่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ให้ผลไม่แน่นอน ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น มโนวิญญาณรู้ได้ ไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำ (๑) [๗๖๒] คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดขึ้น มีอารมณ์เกิดขึ้น อธิบายว่า เมื่อวัตถุเกิดขึ้น เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น (๒) คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดก่อน มีอารมณ์เกิดก่อน อธิบายว่า เมื่อ วัตถุเกิดก่อน เมื่ออารมณ์เกิดก่อน วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น (๓) คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเป็นภายใน มีอารมณ์เป็นภายนอก อธิบายว่า วัตถุของวิญญาณ ๕ เป็นภายใน อารมณ์ของวิญญาณ ๕ เป็นภายนอก (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๙๖}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๑. เอกกนิทเทส
คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุไม่แตกดับ มีอารมณ์ไม่แตกดับ อธิบายว่า เมื่อวัตถุยังไม่แตกดับ เมื่ออารมณ์ยังไม่แตกดับ วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น (๕) คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน อธิบายว่า วัตถุและ อารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของโสตวิญญาณก็เป็นอย่าง หนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของฆานวิญญาณก็เป็นอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของชิวหา- วิญญาณก็เป็นอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของกายวิญญาณก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง (๖) [๗๖๓] คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน อธิบายว่า โสตวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณก็ไม่ เสวยอารมณ์ของฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของ จักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ จักขุวิญญาณไม่เสวย อารมณ์ของโสตวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของฆานวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ ของฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณ ก็ไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ (๗) [๗๖๔] คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ใส่ใจ อธิบายว่า เมื่อใส่ใจอยู่ วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น (๘) คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มนสิการ อธิบายว่า เมื่อมนสิการอยู่ วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น (๙) คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นโดยไม่สับลำดับกัน อธิบายว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นตามลำดับของกันและกัน (๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๙๗}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๑. เอกกนิทเทส
คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน อธิบายว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกัน (๑๑) [๗๖๕] คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน อธิบายว่า โสตวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นใน ลำดับที่โสตวิญญาณเกิด ฆานวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้ จักขุวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ชิวหาวิญญาณไม่เกิดขึ้นใน ลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด กายวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นใน ลำดับที่กายวิญญาณเกิด จักขุวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับโสตวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เกิดใน ลำดับชิวหาวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด โสตวิญญาณไม่เกิดขึ้นใน ลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับโสตวิญญาณเกิด ฆานวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นใน ลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ชิวหาวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้ กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด (๑๒) [๗๖๖] คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจ อธิบายว่า ความนึก ความคิด ความพิจารณา หรือความทำไว้ในใจไม่มีแก่วิญญาณ ๕ (๑๓) คำว่า บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไรๆ ด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่ รู้แจ้งธรรมอะไรๆ ด้วยวิญญาณ ๕ (๑๔) คำว่า เว้นแต่อารมณ์ที่ตกไป อธิบายว่า เว้นแต่เพียงอารมณ์ที่มาปรากฏ คำว่า บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไรๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ อธิบาย ว่า บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไรๆ แม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๑๕) คำว่า บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไรๆ ด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคล ไม่สำเร็จอิริยาบถอะไรๆ คือ การเดิน ยืน นั่ง หรือนอน ด้วยวิญญาณ ๕ (๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๙๘}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๑. เอกกนิทเทส
คำว่า บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไรๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไรๆ คือ การเดิน ยืน นั่ง หรือนอนแม้ ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๑๗) คำว่า บุคคลไม่ประกอบกายกรรมและวจีกรรมด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรมด้วยวิญญาณ ๕ (๑๘) คำว่า บุคคลไม่ประกอบกายกรรมและวจีกรรมแม้ต่อจากลำดับแห่ง วิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรมแม้ด้วย มโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๑๙) คำว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลด้วยวิญญาณ ๕ (๒๐) คำว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลแม้ต่อจากลำดับ แห่งวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล แม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๒๑) คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติด้วยวิญญาณ ๕ (๒๒) คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติแม้ต่อจากลำดับแห่ง วิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติแม้ด้วย มโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๒๓) คำว่า บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิด้วยวิญญาณ ๕ (๒๔) คำว่า บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิแม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๒๕) คำว่า บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝันด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝันด้วยวิญญาณ ๕ (๒๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๙๙}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๒. ทุกนิทเทส
คำว่า บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝันแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ อธิบาย ว่า บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝันแม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๒๗) ความรู้เรื่องวิญญาณ ๕ ดังกล่าวมานี้ชื่อว่า ปัญญาที่แสดงเรื่องของวิญญาณ ๕ ตามที่เป็นจริง ญาณวัตถุหมวดละ ๑ มีด้วยประการฉะนี้เอกกนิทเทส จบ ๒. ทุกนิทเทส [๗๖๗] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า โลกิย- ปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า โลกุตตรปัญญา (๑) ปัญญาทั้งหมดชื่อว่า เกนจิวิญเญยยปัญญา และชื่อว่า นเกนจิวิญเญยย- ปัญญา (๒) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า สาสวปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนาสวปัญญา (๓) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า อาสววิปปยุตต- สาสวปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อาสววิปปยุตตอนาสวปัญญา (๔) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า สัญโญชนิย- ปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อสัญโญชนิยปัญญา (๕) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า สัญโญชน- วิปปยุตตสัญโญชนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า สัญโญชน- วิปปยุตตอสัญโญชนิยปัญญา (๖) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า คันถนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อคันถนิยปัญญา (๗) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า คันถวิปปยุตต- คันถนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า คันถวิปปยุตตอคันถนิยปัญญา (๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๐๐}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๒. ทุกนิทเทส
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า โอฆนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อโนฆนิยปัญญา (๙) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า โอฆวิปปยุตต- โอฆนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า โอฆวิปปยุตตอโนฆนิยปัญญา (๑๐) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า โยคนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อโยคนิยปัญญา (๑๑) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า โยควิปปยุตต- โยคนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า โยควิปปยุตตอโยคนิยปัญญา (๑๒) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า นีวรณิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนีวรณิยปัญญา (๑๓) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า นีวรณ- วิปปยุตตนีวรณิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า นีวรณวิปปยุตต- อนีวรณิยปัญญา (๑๔) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปรามัฏฐปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปรามัฏฐปัญญา (๑๕) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปรามาส- วิปปยุตตปรามัฏฐปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า ปรามาสวิปปยุตต- อปรามัฏฐปัญญา (๑๖) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทินนปัญญา ปัญญา ในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุปาทินนปัญญา (๑๗) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทานิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุปาทานิยปัญญา (๑๘) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทาน- วิปปยุตตอุปาทานิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อุปาทานวิปปยุตต- อนุปาทานิยปัญญา (๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๐๑}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๒. ทุกนิทเทส
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า สังกิเลสิกปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อสังกิเลสิกปัญญา (๒๐) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า กิเลสวิปปยุตต- สังกิเลสิกปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า กิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิก- ปัญญา (๒๑) ปัญญาที่สัมปยุตด้วยวิตกชื่อว่า สวิตักกปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากวิตกชื่อว่า อวิตักกปัญญา (๒๒) ปัญญาที่สัมปยุตด้วยวิจารชื่อว่า สวิจารปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากวิจาร ชื่อว่า อวิจารปัญญา (๒๓) ปัญญาที่สัมปยุตด้วยปีติชื่อว่า สัปปีติกปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากปีติชื่อว่า อัปปีติกปัญญา (๒๔) ปัญญาที่สัมปยุตด้วยปีติชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากปีติ ชื่อว่า นปีติสหคตปัญญา (๒๕) ปัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขชื่อว่า สุขสหคตปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากสุขชื่อว่า นสุขสหคตปัญญา (๒๖) ปัญญาที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาชื่อว่า อุเปกขาสหคตปัญญา ปัญญาที่วิปปยุต จากอุเบกขาชื่อว่า นอุเปกขาสหคตปัญญา (๒๗) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกามาวจรกุศลและกามาวจรอัพยากฤตชื่อว่า กามาวจรปัญญา ปัญญาที่เป็นรูปาวจร ปัญญาที่เป็นอรูปาวจร ปัญญาที่ไม่นับ เนื่องในวัฏฏทุกข์ชื่อว่า นกามาวจรปัญญา (๒๘) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรกุศลและรูปาวจรอัพยากฤตชื่อว่า รูปาวจร- ปัญญา ปัญญาที่เป็นกามาวจร ปัญญาที่เป็นอรูปาวจรและปัญญาที่ไม่นับเนื่องใน วัฏฏทุกข์ชื่อว่า นรูปาวจรปัญญา (๒๙) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรอัพยากฤตชื่อว่า อรูปาวจรปัญญา ปัญญาที่เป็นกามาวจร ปัญญาที่เป็นรูปาวจร และปัญญาที่ไม่ นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ชื่อว่า นอรูปาวจรปัญญา (๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๐๒}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๓. ติกนิทเทส
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปริยาปันน- ปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา (๓๑) ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิยยานิกปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลใน ภูมิ ๓ ที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนิยยานิก- ปัญญา (๓๒) ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิยตปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๓ ที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนิยตปัญญา (๓๓) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า สอุตตรปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุตตรปัญญา (๓๔) บรรดาปัญญาเหล่านั้น อัตถชาปิกปัญญา เป็นไฉน ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาของพระ อรหันต์ผู้กำลังทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ผู้กำลังทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ชื่อว่า อัตถชาปิก- ปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาของพระ อรหันต์ ในเมื่ออภิญญาและสมาบัติเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ชาปิตัตถปัญญา (๓๕) ญาณวัตถุหมวดละ ๒ มีด้วยประการฉะนี้ทุกนิทเทส จบ ๓. ติกนิทเทส [๗๖๘] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๓ นั้น จินตามยปัญญา เป็นไฉน ในการงานทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา ในศิลปะทั้งหลาย๑- ที่ต้องจัดการ ด้วยปัญญา หรือในวิชาทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา บุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่น ได้ กัมมัสสกตาญาณ๒- หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ๓- ว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง @เชิงอรรถ : @๑ อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๓๘ @๒ ญาณรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน คือ ทำดีได้ดี ทำชัวได้ชั่ว (อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๔๐) @๓ สัจจานุโลมิกญาณ คือ วิปัสสนาญาณ ท่านเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ เพราะอนุโลมตามสัจจะ ๔ ประการ @มีรูปไม่เที่ยงเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๐๓}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๓. ติกนิทเทส
ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ได้ ๑- ความสามารถ ความคิดอ่าน ความพอใจ ความกระจ่าง ความเพ่งพินิจ และได้ ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวธรรมอันเหมาะสม๑- มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา สุตมยปัญญา เป็นไฉน ในการงานทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา ในศิลปะทั้งหลายที่ต้องจัดการ ด้วยปัญญา ในวิชาทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา บุคคลได้ฟังจากผู้อื่น ได้ กัมมัสสกตาญาณ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ได้ ความสามารถ ความคิดอ่าน ความพอใจ ความกระจ่าง ความเพ่งพินิจ และได้ ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวธรรมอันเหมาะสม มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมดชื่อว่า ภาวนามยปัญญา (๑) [๗๖๙] ทานมยปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ปรารภทานเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ให้ทาน นี้เรียกว่า ทานมยปัญญา สีลมยปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ปรารภศีลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้รักษาศีล นี้เรียกว่า สีลมยปัญญา ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมดชื่อว่า ภาวนามยปัญญา (๒) [๗๗๐] อธิสีลปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่ผู้สำรวมปาติโมกขสังวร๒- นี้เรียกว่า อธิสีลปัญญา (๓) @เชิงอรรถ : @๑-๑ ตรงกับคำบาลีว่า ขนฺตึ ทิฏฺฐึ รุจึ มุทึ เปกฺขํ ธมฺมนิชฺฌานกฺขนฺตึ (อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๔๐) @๒ ศีล คือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้ามทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบท @ทั้งหลาย (วิสุทฺธิ. ๑/๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๐๔}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๓. ติกนิทเทส
อธิจิตตปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิเกิดขึ้นแก่ผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติและอรูปาวจรสมาบัติ นี้เรียกว่า อธิจิตตปัญญา อธิปัญญปัญญา เป็นไฉน ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ นี้เรียกว่า อธิปัญญปัญญา๑- (๓) [๗๗๑] อายโกศล เป็นไฉน เมื่อบุคคลพิจารณาธรรมเหล่านี้อยู่ ธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งยังไม่เกิดก็ไม่เกิด ที่ เกิดแล้วก็เสึ่อมไป หรือเมื่อบุคคลพิจารณาธรรมเหล่านี้อยู่ ธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยัง ไม่เกิดก็เกิด และที่เกิดแล้วก็เป็นไปเพื่อภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิในข้อนั้น นี้เรียกว่า อายโกศล อปายโกศล เป็นไฉน เมื่อบุคคลพิจารณาธรรมเหล่านี้อยู่ ธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิดก็ไม่เกิด ที่ เกิดแล้วก็ดับไป หรือเมื่อบุคคลพิจารณาธรรมเหล่านี้อยู่ ธรรมที่เป็นอกุศลซึ่ง ยังไม่เกิดก็เกิด และที่เกิดแล้วก็เป็นไปเพื่อภิยโยภาพ ไพบูลย์ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิในข้อนั้น นี้เรียกว่า อปายโกศล ปัญญาแม้ทั้งหมดที่เป็นอุบายสำหรับแก้ไขในเมื่อกิจรีบด่วนหรือภัยที่เกิด๒- แล้ว นั้นชื่อว่า อุปายโกศล (๔) [๗๗๒] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ ชื่อว่า วิปากปัญญา ปัญญา ในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๔ ชื่อว่า วิปากธัมมธัมมปัญญา ปัญญาในสภาวธรรม ที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนววิปากนวิปากธัมมธัมมปัญญา (๕) @เชิงอรรถ : @๑ หมายถึงวิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญา (อภิ.วิ.อ. ๗๗๐/๔๔๓) @๒ อภิ.วิ.อ. ๗๗๑/๔๔๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๐๕}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๓. ติกนิทเทส
[๗๗๓] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทินนุปาทานิย- ปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๓ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนุปาทินนุปาทานิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุปาทินน- อนุปาทานิยปัญญา (๖) [๗๗๔] ปัญญาที่สัมปยุตด้วยวิตกและวิจารชื่อว่า สวิตักกสวิจารปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากวิตกแต่สัมปยุตด้วยวิจารชื่อว่า อวิตักกวิจารมัตตปัญญา ปัญญา ที่วิปปยุตจากวิตกและวิจารชื่อว่า อวิตักกอวิจารปัญญา (๗) [๗๗๕] ปัญญาที่สัมปยุตด้วยปีติชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา ปัญญาที่สัมปยุต ด้วยสุขชื่อว่า สุขสหคตปัญญา ปัญญาที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาชื่อว่า อุเปกขา- สหคตปัญญา (๘) [๗๗๖] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๓ ชื่อว่า อาจยคามินีปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า อปจยคามินีปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบาก ในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนวาจยคามินาปจยคามินี- ปัญญา (๙) [๗๗๗] ปัญญาในมรรค ๔ และในผล ๓ ชื่อว่า เสกขปัญญา ปัญญาใน อรหัตตผลอันเป็นผลเบื้องบนชื่อว่า อเสกขปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็น กุศลในภูมิ ๓ ที่เป็นวิบากในภูมิ ๓ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนวเสกขนาเสกขปัญญา (๑๐) [๗๗๘] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตซึ่งเป็นกามาวจรชื่อ ว่า ปริตตปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตซึ่งเป็นรูปาวจรและ อรูปาวจรชื่อว่า มหัคคตปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อัปปมาณ- ปัญญา (๑๑) [๗๗๙] บรรดาปัญญาเหล่านั้น ปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นปริตตะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปริตตารัมมณปัญญา (๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๐๖}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๓. ติกนิทเทส
[๗๘๐] มหัคคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นมหัคตะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มหัคคตารัมมณ- ปัญญา (๑๒) [๗๘๑] อัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัปปมาณา- รัมมณปัญญา (๑๒) [๗๘๒] มัคคารัมมณปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ปรารภอริยมรรคเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคารัมมณปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า มัคคเหตุกปัญญา (๑๓) [๗๘๓] มัคคาธิปตินีปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ทำอริยมรรคให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคาธิปตินีปัญญา (๑๓) [๗๘๔] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้น แน่นอนก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า ยังไม่เกิดขึ้น ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้นแน่นอน (๑๔) [๗๘๕] ปัญญาทั้งหมดที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี (๑๕) [๗๘๖] อตีตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อตีตารัมมณปัญญา (๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๐๗}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๓. ติกนิทเทส
[๗๘๗] อนาคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อนาคตารัมมณ- ปัญญา (๑๖) [๗๘๘] ปัจจุปปันนารัมมณปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัจจุปปันนารัมมณ- ปัญญา (๑๖) [๗๘๙] ปัญญาทั้งหมดนั่นแหละที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี (๑๗) [๗๙๐] อัชฌัตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายในตนเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตตารัมมณ- ปัญญา (๑๘) [๗๙๑] พหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเกิดขึ้น นี้เรียกว่า พหิทธารัมมณ- ปัญญา (๑๘) [๗๙๒] อัชฌัตตพหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายในตนและภายนอกตนเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตตพหิทธารัมมณปัญญา (๑๘) ญาณวัตถุหมวดละ ๓ มีด้วยประการฉะนี้ติกนิทเทส จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๐๘}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๔. จตุกกนิทเทส
๔. จตุกกนิทเทส [๗๙๓] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๔ นั้น กัมมัสสกตาญาณ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิซึ่งมีลักษณะว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบรู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้า ด้วยตนเองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งมีอยู่ในโลก ดังนี้ นี้เรียกว่า กัมมัสสกตาญาณ เว้นสัจจานุโลมิกญาณเสีย ปัญญาที่เป็นกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะแม้ทั้งหมดชื่อว่า กัมมัสสกตาญาณ สัจจานุโลมิกญาณ เป็นไฉน ความสามารถ ความคิดอ่าน ความพอใจ ความกระจ่าง ความเพ่งพินิจ ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวธรรมอันเหมาะสมซึ่งมีลักษณะหรือว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ หรือวิญญาณ ไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง นี้เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า มัคคสมังคิญาณ ปัญญาในผล ๔ ชื่อว่า ผลสมังคิญาณ (๑) [๗๙๔] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บรรดาความรู้เหล่านั้น ความรู้ในทุกข์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ปรารภทุกข์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในทุกข์ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ปรารภทุกขสมุทัย ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธ ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๐๙}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๔. จตุกกนิทเทส
[๗๙๕] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตที่เป็นกามาวจรชื่อว่า กามาวจรปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตที่เป็นรูปาวจรชื่อว่า รูปาวจรปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตที่เป็นอรูปาวจรชื่อว่า อรูปาวจรปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา (๓) [๗๙๖] ธัมมญาณ เป็นไฉน ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า ธัมมญาณ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงนำนัย(คือปัจจเวกขณญาณ)ไปในอดีตและ อนาคตด้วยธรรมนี้ซึ่งทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบรรลุ ทรงรู้แจ้ง และทรงหยั่งถึงแล้วว่า ในอดีตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งได้รู้ทุกข์ รู้ทุกขสมุทัย รู้ทุกขนิโรธ และรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกข์นี้ รู้ทุกขสมุทัยนี้ รู้ทุกขนิโรธนี้ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้ ในอนาคตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งจักรู้ทุกข์ รู้ทุกขสมุทัย รู้ทุกขนิโรธ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกข์นี้ รู้ทุกขสมุทัยนี้ รู้ทุกขนิโรธนี้ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิในการนำนัยคือปัจจเวกขณญาณไปนั้น นี้เรียกว่า อันวยญาณ ปริจจญาณ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้กำหนดรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นด้วยจิต คือ รู้จิตมีราคะว่า จิตมีราคะ รู้จิตปราศจากราคะว่าจิตปราศจากราคะ รู้จิตมีโทสะว่า จิตมีโทสะ รู้จิตปราศจากโทสะว่า จิตปราศจากโทสะ รู้จิตมีโมหะว่า จิตมีโมหะ รู้จิตปราศจากโมหะว่า จิตปราศจากโมหะ รู้จิตหดหู่ว่า จิตหดหู่ รู้จิตฟุ้งซ่านว่า จิตฟุ้งซ่าน รู้จิตที่เป็นมหัคคตะว่า จิตเป็นมหัคคตะ รู้จิตที่ไม่เป็นมหัคคตะว่า จิต ไม่เป็นมหัคคตะ รู้จิตเป็นสอุตตระว่า จิตเป็นสอุตตระ รู้จิตอนุตตระว่าจิตอนุตตระ รู้จิตที่เป็นสมาธิว่า จิตเป็นสมาธิ หรือรู้จิตไม่เป็นสมาธิว่า จิตไม่เป็นสมาธิ รู้จิต หลุดพ้นว่า จิตหลุดพ้น หรือรู้จิตไม่หลุดพ้นว่า จิตไม่หลุดพ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๐}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๔. จตุกกนิทเทส
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในจิตของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นนั้น นี้เรียกว่า ปริจจญาณ เว้นธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณแล้ว ปัญญาที่เหลือชื่อว่า สมมติ- ญาณ (๔) [๗๙๗] อาจยโนอปจยปัญญา เป็นไฉน ปัญญาในกามาวจรกุศลชื่อว่า อาจยโนอปจยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า อปจยโนอาจยปัญญา ปัญญาในรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศลชื่อว่า อาจย- อปจยปัญญา ปัญญาที่เหลือชื่อว่า อาจยโนอปจยปัญญา (๕) [๗๙๘] นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา เป็นไฉน บุคคลเป็นผู้ปราศราคะในกามทั้งหลาย แต่ไม่ได้แทงตลอดอภิญญาและสัจจะ ทั้งหลายด้วยปัญญาใด นี้เรียกว่า นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา บุคคลนั้นเป็นผู้ปราศจากราคะในกามทั้งหลายนั่นแหละได้แทงตลอดอภิญญา แต่ไม่ได้แทงตลอดสัจจะทั้งหลายด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ปฏิเวธโนนิพพิทาปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิพพิทาปฏิเวธปัญญา ปัญญาที่เหลือ ชื่อว่า เนวนิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา (๖) [๗๙๙] หานภาคินีปัญญา เป็นไฉน สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยกามครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้ปฐมฌานชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่ไม่สหรคตด้วยวิตกครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญา- มนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ... ชื่อว่า นิพเพธภาคินี- ปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยวิตกครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้ทุติยฌานชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอุเบกขาครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญา- มนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธภาคินี- ปัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๑}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๔. จตุกกนิทเทส
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยปีติและสุขครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้ตติยฌาน ชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอทุกขมสุขเวทนาครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธ- ภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอุเบกขาครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้จตุตถฌาน ชื่อ ว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธ- ภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยรูปครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้อากาสานัญจายตนะ ชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินี- ปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะครอบงำ...ชื่อว่า วิเสส- ภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ ... ชื่อว่า นิพเพธภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะครอบงำโยคาวจรบุคคล ผู้ได้วิญญาณัญจายตนะชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอากิญจัญญายตนะ ครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบ ด้วยวิราคะ...ชื่อว่า นิพเพธภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้ อากิญจัญญายตนะชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะ ครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทา ประกอบ ด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธภาคินีปัญญา (๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๒}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๔. จตุกกนิทเทส
[๘๐๐] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นไฉน ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ) ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม) ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ) ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ) ความรู้ในอรรถชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในธรรมชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา เหล่านี้ชื่อว่าปฏิสัมภิทา (๘) [๘๐๑] ปฏิปทา ๔ เป็นไฉน ปฏิปทา ๔ คือ ๑. ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า) ๒. ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว) ๓. ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า) ๔. ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว) บรรดาปฏิปทา ๔ เหล่านั้น ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิเกิด ขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากโดยลำบากทั้งรู้ฐานะ นั้นช้า นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากโดยลำบาก แต่รู้ฐานะ นั้นได้เร็ว นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๓}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๔. จตุกกนิทเทส
ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก แต่ รู้ฐานะนั้นช้า นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก ทั้ง รู้ฐานะนั้นเร็ว นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เหล่านี้ชื่อว่าปฏิปทา ๔ (๙) [๘๐๒] อารัมมณปัญญา ๔ เป็นไฉน อารัมมณปัญญา ๔ คือ ๑. ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์ ๒. ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ ๓. ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะแต่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ๔. ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะและมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ บรรดาอารัมมณปัญญา ๔ นั้น ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป ได้เล็กน้อย นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์ ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป ได้กว้างขวางจนหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะ เป็นอารมณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๔}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๔. จตุกกนิทเทส
ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะแต่มีปริตตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไปได้ เล็กน้อย นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะแต่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะและมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไปได้ กว้างขวางจนหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะและมีอัปปมาณะ เป็นอารมณ์ เหล่านี้เรียกว่า อารัมมณปัญญา ๔ (๑๐) มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ นี้ความรู้ในชรามรณะ นี้ความรู้ในชรามรณสมุทัย นี้ความรู้ในชรามรณนิโรธ นี้ความรู้ในชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา ความรู้ในชรามรณะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ปรารภชรามรณะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณะ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ปรารภชรามรณสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณสมุทัย ฯลฯ ปรารภ ชรามรณนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณนิโรธ ฯลฯ ปรารภชรามรณ- นิโรธคามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา (๑๑) [๘๐๓] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ความรู้ในชาติ ฯลฯ ความรู้ในภพ ฯลฯ ความรู้ในอุปาทาน ฯลฯ ความรู้ในตัณหา ฯลฯ ความรู้ในเวทนา ฯลฯ ความรู้ ในผัสสะ ฯลฯ ความรู้ในสฬายตนะ ฯลฯ ความรู้ในนาม ฯลฯ ความรู้ในวิญญาณ ฯลฯ ความรู้ในสังขาร ฯลฯ ความรู้ในสังขารสมุทัย ความรู้ในสังขารนิโรธ และ ความรู้ในสังขารนิโรธคามินีปฏิปทา (๑๒-๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๕}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๕. ปัญจกนิทเทส
บรรดาความรู้เหล่านั้น ความรู้ในสังขาร เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ปรารภสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในสังขาร ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ปรารภสังขารสมุทัย ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธ ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธ- คามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในสังขารนิโรธคามินีปฏิปทา (๒๒-๒๔) ญาณวัตถุหมวดละ ๔ มีด้วยประการฉะนี้จตุกกนิทเทส จบ ๕. ปัญจกนิทเทส [๘๐๔] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๕ นั้น สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ เป็นไฉน ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาที่แผ่สุขไป ปัญญาที่แผ่จิตไป ปัญญาที่แผ่แสง สว่างไป และปัจจเวกขณนิมิต๑- (ปัจจเวกขณญาณ) ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาในฌาน ๓ ชื่อว่า ปัญญา ที่แผ่สุขไป ญาณในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่นชื่อว่า ปัญญาที่แผ่จิตไป ทิพยจักษุ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่แสงสว่างไป ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสมาธิ นั้นๆ ชื่อว่า ปัจจเวกขณนิมิต นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ (๑) สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ เป็นไฉน ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ไกลจากกิเลส หาอามิสมิได้ ญาณเกิดขึ้นเฉพาะ ตนว่า สมาธินี้อันบุรุษผู้มีปัญญาทรามเสพไม่ได้ ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธิ @เชิงอรรถ : @๑ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือ มรรค ผล นิพพาน @(อภิ.วิ.อ. ๘๐๔/๔๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๖}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]
๗. สัตตกนิทเทส
นี้สงบ ประณีต ได้ความสงบระงับ ได้บรรลุแล้วโดยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และ ไม่ได้บรรลุโดยการข่มนิวรณ์ ห้ามกิเลสด้วยจิตที่เป็นสสังขาริก๑- ญาณเกิดขึ้นเฉพาะ ตนว่า ก็เรานั้นแลมีสติเข้าสมาธินี้ มีสติออกจากสมาธินี้ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมี ญาณ ๕ (๒) ญาณวัตถุหมวดละ ๕ มีด้วยประการฉะนี้ปัญจกนิทเทส จบ ๖. ฉักกนิทเทส [๘๐๕] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๖ นั้น ปัญญาในอภิญญา ๖ เป็นไฉน ปัญญาในอภิญญา ๖ คือ ๑. อิทธิวิธญาณ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้) ๒. โสตธาตุวิสุทธิญาณ (ความรู้ที่ทำให้มีหูทิพย์) ๓. ปรจิตตญาณ (ความรู้ที่ทำให้รู้ใจผู้อื่น) ๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้) ๕. จุตูปปาตญาณ (ความรู้การจุติและเกิด) ๖. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้อาสวะสิ้นไป) เหล่านี้ชื่อว่าปัญญาในอภิญญา ๖ ๒- ญาณวัตถุหมวดละ ๖ มีด้วยประการฉะนี้ (๑)๗. สัตตกนิทเทส [๘๐๖] ในญาณวัตถุหมวดละ ๗ นั้น ญาณวัตถุ ๗๗ เป็นไฉน ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ก็รู้ว่าชรามรณะ ไม่มี @เชิงอรรถ : @๑ จิตที่มีสิ่งกระตุ้นเตือน (อภิ.สงฺ.อ. ๑๔๖/๒๐๖) @๒ อภิญญา ๖ นั้น ห้าข้อแรกเป็นโลกิยะ ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตระ (อภิ.วิ.อ. ๘๐๕/๔๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๗}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๔๙๖-๕๑๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=63 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=10829&Z=11352 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=801 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=801&items=34 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=10166 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=801&items=34 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=10166 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb16/en/thittila#pts-p-pi319
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]