ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)

๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
ว่าด้วยอินทรีย์ของบุคคลที่ ๘
[๓๗๑] สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีศรัทธาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีวิริยินทรีย์ ฯลฯ ไม่มีสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่มีสมาธินทรีย์ ฯลฯ ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีปัญญาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ มีวิริยะ ฯลฯ มีสติ ฯลฯ มีสมาธิ ฯลฯ มีปัญญาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๑/๑๙๖) @ เพราะมีความเห็นว่า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาที่มีอยู่ในโสดาปัตติมัคคัฏฐบุคคล ไม่เรียก @ว่าเป็นอินทรีย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๑/๑๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๖๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)

สก. บุคคลที่ ๘ มีมโน มีมนินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ มีมโน มีมนินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ มีโสมนัส มีโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ มีชีวิต มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ มีชีวิต มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ มีวิริยะ ฯลฯ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ มีมโน แต่ไม่มีมนินทรีย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)

สก. บุคคลที่ ๘ มีโสมนัส แต่ไม่มีโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ มีชีวิต แต่ไม่มี ชีวิตินทรีย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ มีมโน แต่ไม่มีมนินทรีย์ ฯลฯ มีโสมนัส แต่ไม่มี โสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ มีชีวิต แต่ไม่มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีศรัทธาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีวิริยินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสตินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสมาธินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้ไม่มีสมาธิ มีจิตหวั่นไหวใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๖๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)

สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้ด้อยปัญญา เป็นผู้หนวกใบ้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา และศรัทธานั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากบุคคลที่ ๘ มีศรัทธา และศรัทธานั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์” สก. บุคคลที่ ๘ มีความเพียร และความเพียรนั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ ฯลฯ มีสติ และสตินั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ ฯลฯ มีสมาธิ และสมาธินั้นเป็น เหตุนำออกจากทุกข์ ฯลฯ มีปัญญา และปัญญานั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากบุคคลที่ ๘ มีปัญญา และปัญญานั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ไม่มีปัญญินทรีย์” [๓๗๒] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๗๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)

สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ ฯลฯ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ ฯลฯ มีปัญญา แต่ไม่มี ปัญญินทรีย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีอินทรีย์ ๕ ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๗๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)

สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ (๑) สัทธินทรีย์ (๒) วิริยินทรีย์ (๓) สตินทรีย์ (๔) สมาธินทรีย์ (๕) ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล บุคคล เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ ทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอรหันต์นั้น เป็นพระอนาคามี เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลนั้น เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ ทำให้แจ้งอนาคามิผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีนั้น เป็นพระสกทาคามี เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลนั้น เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น เป็นพระ โสดาบัน เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลนั้น เป็นผู้ ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบันนั้น ภิกษุ ทั้งหลาย ผู้ใดไม่มีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง ผู้นั้นเราเรียกว่า เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ดังนั้น บุคคลที่ ๘ จึงมีอินทรีย์ ๕
อัฏฐมกัสสอินทริยกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๔๘๘/๒๙๙-๓๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๗๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๓๖๗-๓๗๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=46              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=8067&Z=8198                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=779              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=779&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4399              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=779&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4399                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv3.6/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :