![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร? แม้พระเถระนี้ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ใน ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มาเกิดในตระกูลที่ยากจน กรุงสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ จนตราบเท่าเจริญวัยก็ไม่รู้จักอุบาย (หากิน) อย่างอื่น นุ่งห่มเศษผ้าเปื้อนๆ ถือขัน เที่ยวแสวงหาข้าวสุกในที่นั้นๆ ด้วยเหตุนั้น จึงปรากฏนามว่า กัปปฏกุระ. เขาเจริญวัยแล้วขายหญ้าเลี้ยงชีวิต วันหนึ่งไปสู่ป่าเพื่อเกี่ยวหญ้า เห็นพระเถระผู้เป็นพระขีณาสพรูปหนึ่งในป่านั้น เข้าไปหาพระเถระไหว้แล้ว นั่งอยู่แล้ว. พระ เขาฟังธรรมแล้วได้มีศรัทธาคิดว่า ประโยชน์อะไรแก่เราด้วยการขายหญ้านี้เลี้ยงชีวิต ดังนี้แล้วจึงบวช ทิ้งท่อนผ้าเปื้อนๆ ที่ตนนุ่งแล้วไว้ในที่แห่งหนึ่ง. ก็ในเวลาที่พระเถระนั้นเกิดความกระสัน ในเวลานั้น เมื่อท่านมองดูท่อนผ้าเปื้อนฝุ่นนั้น ความกระสันก็หายไป ได้ความสลดใจแล้ว. ท่านทำอยู่อย่างนี้ สึกแล้วถึง ๗ ครั้ง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเหตุนั้นของท่านแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่มาวันหนึ่ง พระกัปปฏกุรภิกษุนั่งอยู่ท้ายบริษัทในโรงประชุมฟังธรรมหลับอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงเตือนท่าน ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาความว่า กัปปฏกุรภิกษุเกิดความวิตกผิดว่า เราจะห่มผ้าผืนนี้แล้ว จักเลี้ยงชีพตามมีตามเกิด เมื่อน้ำใสคืออมตธรรมของเรา มีอยู่ เต็มเปี่ยมในหม้ออมตะ เราเอาบาตรตักน้ำคืออมต ธรรม ใส่หม้ออมตะ เพื่อสั่งสมฌานทั้งหลาย ดูก่อนกัปปฏะ เธออย่ามานั่งโงกง่วง อยู่ด้วยคิดว่าจักฟัง ธรรม เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ในที่ใกล้หูของท่านเช่นนี้ ท่านอย่ามัวนั่งโงกง่วงอยู่ ดูก่อนกัปปฏะ เธอนั่งโงกง่วง อยู่ในท่ามกลางสงฆ์เช่นนี้ ไม่รู้จักประมาณเลย ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยมิติ กปฺปโฏ กปฺปฏกุโร ความว่า ภิกษุชื่อว่ากัปปฏกุระ มีวิตกที่ผิดๆ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราจะนุ่งห่มผ้าเปื้อนเก่าๆ ของเรานี้ จักเลี้ยงชีพตามมีตามเกิด เมื่อน้ำใสคืออมตธรรมของเรา มีอยู่เต็มเปี่ยมในหม้ออมตะ คือเมื่อหม้ออมตะของเรา กำลังหลั่งน้ำคือพระธรรมอยู่ในที่นั้นๆ ได้แก่ เมื่อเรายังน้ำอมฤตคือพระธรรมให้ตกลงด้วยการประกาศไปโดยคำมีอาทิว่า เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรมให้สัตวโลกได้บรรลุอมตธรรม เมื่อสัตวโลกมืดมนมหันธการ เราจะบรรเลงกลองชัยเภรีคืออมตะ ทางที่เราทำไว้เพื่อสั่งสมฌานทั้งโลกีย์และโลกุตระ คือทางที่เราแผ้วถาง ได้แก่มรรคภาวนาที่จัดแจงไว้เพื่อเป็นแนวทาง นี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นเตือนเธอแล้ว เมื่อจะแสดง บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา โข ตฺวํ กปฺปฏ ปจาเลสิ ความว่า ดูก่อน บทว่า มา ตฺวํ อุปกณฺณมฺหิ ตาเฬสฺสนฺติ ความว่า เราอย่าต้องทุบ บทว่า น หิ ตฺวํ กปฺปฏ มตฺตมญฺญาสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเตือนว่า ดูก่อนกัปปฏะ เธอมัวโงกง่วงสัปหงกอยู่ใน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข่มแล้วทรงเตือนกัปปฏกุรภิกษุ คาดคั้นด้วยพระคาถา ๒ คาถาอย่างนี้แล้ว กัปปฏกุรภิกษุเกิดความสลดใจเหมือนถูกศรแทงจดกระดูก และเหมือนช้างตัวดุ (ที่หลงผิด) เดินตรงทางฉะนั้น เริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้วต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า๑- พระพุทธเจ้าผู้อุดมบุรุษ ประทับนั่งอยู่ ณ ที่ฝั่งแม่น้ำวินตานที เราได้พบพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี เป็นเอกอัครบุคคล มีพระทัยตั้งมั่นดี ครั้งนั้น เรามี ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่ง ____________________________ ๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๓/ข้อ ๑๐๔ ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว กล่าวยืนยันพระคาถาทั้งสองที่พระศาสดาตรัสแล้วนั่นแหละว่า เป็นขอสับแห่งการ จบอรรถกถากัปปฏกุรเถรคาถา จบวรรควรรณนาที่ ๔ แห่งอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่าปรมัตถทีปนี ----------------------------------------------------- ในวรรคนี้ รวมพระเถระได้ ๑๐ องค์ คือ ๑. พระมิคสิรเถระ ๒. พระสิวกเถระ ๓. พระอุปวาณเถระ ๔. พระอิสิทินนเถระ ๕. พระสัมพหุลกัจจานเถระ ๖. พระขิตกเถระ ๗. พระโสณปฏิริยปุตตเถระ ๘. พระนิสภเถระ ๙. พระอุสภเถระ ๑๐. พระกัปปฏกุรเถร ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๔ ๑๐. กัปปฏกุรเถรคาถา จบ. |