ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๖. ตัณหักขยสูตร
ว่าด้วยมรรคและปฏิปทาเพื่อความสิ้นตัณหา
[๒๐๗] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญมรรค(และ)ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อ ความสิ้นตัณหา มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา เป็นอย่างไร คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้ มากแล้วอย่างไร จึงเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา” “อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีความเบียดเบียน เมื่อเธอเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๓๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๓. อุทายิวรรค ๗. ตัณหานิโรธสูตร

เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมละ ตัณหาได้ เพราะละตัณหาได้จึงละกรรม๑- ได้ เพราะละกรรมได้ จึงละทุกข์๒- ได้ ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีความเบียดเบียน เมื่อเธอเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมละ ตัณหาได้ เพราะละตัณหาได้จึงละกรรมได้ เพราะละกรรมได้ จึงละทุกข์ได้ อุทายี เพราะสิ้นตัณหาจึงสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรมจึงสิ้นทุกข์ ด้วยประการ ฉะนี้”
ตัณหักขยสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๓๘-๑๓๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=99              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=2681&Z=2698                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=449              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=449&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=4703              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=449&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=4703                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn46.26/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.26/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :