บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๑. มุสาวาทวรรค ๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค ๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยการบอกอาบัติชั่วหยาบ เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร [๗๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทะเลาะกับ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ท่านต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงขอ สงฆ์อยู่ปริวาสเพื่อออกจากอาบัตินั้น สงฆ์ให้ท่านอยู่ปริวาสเพื่อออกจากอาบัตินั้น สมัยนั้น ในกรุงสาวัตถีมีสังฆภัตของสมาคมหนึ่งเกิดขึ้น ท่านพระอุปนันท ศากยบุตรกำลังอยู่ปริวาส จึงนั่ง ณ อาสนะสุดท้ายในโรงอาหาร พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวกับอุบาสกเหล่านั้นว่า ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็นพระประจำตระกูลที่พวกท่านยกย่อง ใช้มือที่เปิบข้าวที่เขาถวายด้วยศรัทธา พยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ท่านต้องอาบัติข้อจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงขอสงฆ์ อยู่ปริวาสเพื่อออกจากอาบัตินั้น สงฆ์ให้ท่านอยู่ปริวาสเพื่อออกจากอาบัตินั้น ท่าน กำลังอยู่ปริวาสจึงนั่ง ณ อาสนะสุดท้าย บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉน พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบันเล่า ครั้นภิกษุ เหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอบอกอาบัติชั่ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๖๙}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๑. มุสาวาทวรรค ๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
หยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน จริงหรือ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระ พุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบันเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้ เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ [๗๙] ก็ ภิกษุใดบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติเรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ สิกขาบทวิภังค์ [๘๐] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุรูปอื่น อาบัติที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ๔ สิกขาบท และอาบัติ สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุและภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน คำว่า บอก คือ บอกแก่สตรีหรือแก่บุรุษ แก่คฤหัสถ์หรือแก่บรรพชิต คำว่า เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ คือ ยกเว้นภิกษุที่ได้รับมอบหมายจากสงฆ์๑- @เชิงอรรถ : @๑ คือมอบหมายให้เป็นผู้บอกอาบัติ (ดู หน้า ๒๗๑-๒๗๒ ประกอบ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๗๐}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๑. มุสาวาทวรรค ๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์ ภิกษุที่ได้รับสมมติให้บอก กำหนดอาบัติ ไม่กำหนดตระกูลก็มี ภิกษุที่ได้รับสมมติให้บอก กำหนดตระกูล ไม่กำหนดอาบัติก็มี ภิกษุที่ได้รับสมมติให้บอก กำหนดอาบัติและกำหนดตระกูลก็มี ภิกษุที่ได้รับสมมติให้บอก ไม่กำหนดอาบัติและไม่กำหนดตระกูลก็มี ที่ชื่อว่า กำหนดอาบัติ คือ สงฆ์กำหนดอาบัติว่า พึงบอกตามจำนวนอาบัติเท่านี้ ที่ชื่อว่า กำหนดตระกูล คือ สงฆ์กำหนดตระกูลว่า พึงบอกในตระกูลมี ประมาณเท่านี้ ที่ชื่อว่า กำหนดอาบัติและกำหนดตระกูล คือ สงฆ์กำหนดอาบัติและ กำหนดตระกูลไว้ว่า พึงบอกตามจำนวนอาบัติเท่านี้ ในตระกูลมีประมาณเท่านี้ ที่ชื่อว่า ไม่กำหนดอาบัติและไม่กำหนดตระกูล คือ สงฆ์ไม่กำหนดอาบัติและ ไม่กำหนดตระกูลไว้ว่า พึงบอกตามจำนวนอาบัติเท่านี้ ในตระกูลมีประมาณเท่านี้ [๘๑] ในการกำหนดอาบัติ ภิกษุบอกอาบัติอื่นนอกจากอาบัติที่สงฆ์กำหนด ไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในการกำหนดตระกูล ภิกษุบอกในตระกูลอื่นนอกจากตระกูลที่สงฆ์กำหนดไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในการกำหนดอาบัติและในการกำหนดตระกูล ภิกษุบอกอาบัติอื่น นอกจาก อาบัติที่สงฆ์กำหนดไว้ และในตระกูลอื่นนอกจากตระกูลที่สงฆ์กำหนดไว้ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ในกรณีที่ไม่ได้กำหนดอาบัติและในกรณีที่ไม่ได้กำหนดตระกูล ไม่ต้องอาบัติติกปาจิตตีย์ [๘๒] อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ บอกแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๗๑}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๑. มุสาวาทวรรค ๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุไม่แน่ใจ บอกแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้น ไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าไม่เป็นอาบัติชั่วหยาบ บอกแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติทุกกฏ ภิกษุบอกอาบัติไม่ชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุบอกความประพฤติชั่วหยาบหรือไม่ชั่วหยาบแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๘๓] ๑. ภิกษุบอกเรื่องที่เกิดแต่ไม่บอกอาบัติ ๒. ภิกษุบอกอาบัติแต่ไม่บอกเรื่องที่เกิด ๓. ภิกษุผู้ได้รับสมมติ ๔. ภิกษุวิกลจริต ๕. ภิกษุต้นบัญญัติทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบทที่ ๙ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๗๒}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๖๙-๒๗๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=45 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=8400&Z=8470 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=342 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=342&items=7 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6441 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=342&items=7 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6441 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc9/en/brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]