บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. ภยวรรค ๓. ปฐมนานากรณสูตร
๓. ปฐมนานากรณสูตร ว่าด้วยเหตุที่ทำให้บุคคลต่างกัน สูตรที่ ๑ [๑๒๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวก๑- อยู่ เขาชอบใจปฐมฌานนั้น ติดใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจ กับปฐมฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปใน ปฐมฌานนั้น ชอบอยู่กับปฐมฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อ ตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นหมู่พรหม พวกเทวดาชั้นหมู่พรหมมีอายุประมาณ ๑ กัป๒- คนที่เป็นปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นหมู่พรหมนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนด อายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง ไปสู่กำเนิดสัตว์ ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นหมู่พรหมนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนด อายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพานในภพนั้นแล นี้แล เป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติ (การตาย) และอุบัติ(การเกิด)ยังมีอยู่ ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติย- ฌานมีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๓- ไม่มีวิตก @เชิงอรรถ : @๑ วิเวก (ความสงัด) ในที่นี้หมายถึงกายวิเวก (ความสงัดกาย) จิตตวิเวก (ความสงัดใจ) และอุปธิวิเวก @(ความสงัดจากกิเลส) (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕) @๒ กัป ในที่นี้หมายถึงกาลกำหนด ช่วงระยะเวลายาวนานเหลือเกินที่กำหนดว่า โลกคือสกลจักรวาล @ประลัยครั้งหนึ่ง ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๕๖ (กัปปสูตร) หน้า ๒๑๖ ในเล่มนี้ @๓ ภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น แปลจากบาลีว่า เจตโส เอโกทิภาวํ คำว่า เอโกทิ เป็นชื่อของสมาธิ ทุติยฌาน @ชื่อว่าเอโกทิภาวะ เพราะทำสมาธิที่ชื่อว่าเอโกทินี้ให้เกิดเจริญขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีภาวะที่จิตเป็น @หนึ่งผุดขึ้น เพราะสมาธิชื่อเอโกทินี้มีแก่จิตเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ ไม่มีแก่ชีวะ (วิ.อ. ๑/๑๑/๑๔๓-๑๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๘๗}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. ภยวรรค ๓. ปฐมนานากรณสูตร
ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่ เขาชอบใจทุติยฌานนั้น ติดใจทุติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจกับทุติยฌานนั้น เขา ดำรงอยู่ในทุติยฌานนั้น น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น ชอบอยู่กับ ทุติยฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็น ผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นอาภัสสระ พวกเทวดาชั้นอาภัสสระ มีอายุประมาณ ๒ กัป คนที่เป็นปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ นั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้น หมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดน เปรตบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ นั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้น หมดไปแล้วปรินิพพานในภพนั้นแล นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่ ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เขาชอบใจ ตติยฌานนั้น ติดใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจกับตติยฌาน นั้น เขาดำรงอยู่ในตติยฌานนั้น น้อมใจไปในตติยฌานนั้น ชอบอยู่กับตติยฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นสุภกิณหะ พวกเทวดาชั้น สุภกิณหะมีอายุประมาณ ๔ กัป คนที่เป็นปุถุชนดำรงอยู่ในชั้น สุภกิณหะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดา เหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้น สุภกิณหะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดา เหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพานในภพนั้นแล นี้แลเป็นความแปลก กัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวก ผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๘๘}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. ภยวรรค ๔. ทุติยนานากรณสูตร
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส และโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เขาชอบใจจตุตถฌานนั้น ติดใจ จตุตถฌานนั้นและถึงความปลื้มใจกับจตุตถฌานนั้น เขาดำรงอยู่ ในจตุตถฌานนั้น น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น ชอบอยู่กับจตุตถ- ฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ ร่วมกับพวกเทวดาชั้นเวหัปผละ พวกเทวดาชั้นเวหัปผละมีอายุ ประมาณ ๕๐๐ กัป คนที่เป็นปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น จนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้น หมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดน เปรตบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละ นั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้น หมดไปแล้วปรินิพพานในภพนั้นแล นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลกปฐมนานากรณสูตรที่ ๓ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๘๗-๑๘๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=122 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=3451&Z=3504 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=123 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=123&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8627 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=123&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8627 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i121-e.php#sutta3 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i121-e2.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.123.than.html https://suttacentral.net/an4.123/en/sujato https://suttacentral.net/an4.123/en/thanissaro
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]