ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๑. อุปสัมปาเทตัพพสูตร

๖. อุปสัมปทาวรรค
หมวดว่าด้วยการอุปสมบท
๑. อุปสัมปาเทตัพพสูตร๑-
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้อุปสมบท
[๒๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ที่เป็นอเสขะ๒- ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสมาธิขันธ์ที่เป็นอเสขะ ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ที่เป็นอเสขะ ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์ที่เป็นอเสขะ ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์๓- ที่เป็นอเสขะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้กุลบุตร อุปสมบทได้
อุปสัมปาเทตัพพสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ข้อ ๒๕๑-๒๕๓ ดู วิ.ม. (แปล) ๔/๘๔/๑๒๓ @ อเสขะ ในที่นี้หมายถึงธรรมระดับโลกุตตระของพระอเสขะ ได้แก่ พระอรหันต์ (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๘, @องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐) @ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ หมายถึงกองแห่งวิมุตติญาณทัสสนะเป็นความรู้ขั้นสุดท้าย แยกอธิบายได้ว่า @วิมุตติ หมายถึงอรหัตตผล ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ คือ ญาณที่เกิดขึ้นถัดจากการบรรลุ @มรรคผลด้วยมรรคญาณและผลญาณ เพื่อพิจารณามรรคผล พิจารณากิเลสที่ละได้และเหลืออยู่รวมทั้ง @พิจารณานิพพาน จัดเป็นโลกิยะ ส่วนสีลขันธ์เป็นต้นนอกนี้จัดเป็นโลกุตตระ (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๘, @องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๐, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๙๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๓. สามเณรสูตร

๒. นิสสยสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้นิสสัย
[๒๕๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงให้นิสสัยได้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ที่เป็นอเสขะ ฯลฯ ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่เป็นอเสขะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้นิสสัยได้
นิสสยสูตรที่ ๒ จบ
๓. สามเณรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้สามเณรอุปัฏฐาก
[๒๕๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ที่เป็นอเสขะ ฯลฯ ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่เป็นอเสขะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้
สามเณรสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๙๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๕. มัจฉริยปหานสูตร

๔. ปัญจมัจฉริยสูตร
ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ ประการ
[๒๕๔] ภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้ ความตระหนี่ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล ๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ ๕. ความตระหนี่ธรรม ภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้แล บรรดาความตระหนี่ ๕ ประการนี้ ความตระหนี่ธรรมน่าเกลียดที่สุด
ปัญจมัจฉริยสูตรที่ ๔ จบ
๕. มัจฉริยปหานสูตร
ว่าด้วยการละความตระหนี่
[๒๕๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดซึ่ง ความตระหนี่ ๕ ประการ ความตระหนี่ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล ๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ ๕. ความตระหนี่ธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดซึ่งความตระหนี่ ๕ ประการนี้แล
มัจฉริยปหานสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๙๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๖. ปฐมฌานสูตร

๖. ปฐมฌานสูตร
ว่าด้วยปฐมฌาน
[๒๕๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล ๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ ๕. ความตระหนี่ธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล ๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ ๕. ความตระหนี่ธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้
ปฐมฌานสูตรที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๙๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๗-๑๓. ทุติยฌานสุตตาทิสัตตกะ

๗-๑๓. ทุติยฌานสุตตาทิสัตตกะ
ว่าด้วยสูตร ๗ สูตร มีทุติยฌานสูตรเป็นต้น
[๒๕๗-๒๖๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจ บรรลุทุติยฌานอยู่ได้ ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง โสดาปัตติผลได้ ฯลฯ สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง อรหัตตผลได้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล ๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ ๕. ความตระหนี่ธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจบรรลุทุติยฌาน อยู่ได้ ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ จึงอาจทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล ๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ ๕. ความตระหนี่ธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ทุติยฌานสุตตาทิสัตตกที่ ๗-๑๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๙๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๑๕-๒๑. อปรทุติยฌานสุตตาทิ

๑๔. อปรปฐมฌานสูตร
ว่าด้วยปฐมฌาน อีกนัยหนึ่ง
[๒๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุ ปฐมฌานอยู่ได้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล ๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ ๕. ความอกตัญญู ความอกตเวที ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล ๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ ๕. ความอกตัญญู ความอกตเวที ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้
อปรปฐมฌานสูตรที่ ๑๔ จบ
๑๕-๒๑. อปรทุติยฌานสุตตาทิ
ว่าด้วยทุติยฌานสูตรเป็นต้น อีกนัยหนึ่ง
[๒๖๕-๒๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุทุติยฌานอยู่ได้ ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ ก็ไม่อาจทำให้รู้แจ้งโสดาปัตติผลได้ ฯลฯ สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๙๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๑๕-๒๑. อปรทุติยฌานสุตตาทิ

ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล ๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ ๕. ความอกตัญญู ความอกตเวที ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการได้แล้ว จึงอาจบรรลุทุติยฌานอยู่ได้ ฯลฯ จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล ๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ ๕. ความอกตัญญู ความอกตเวที ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้ง อรหัตตผลได้
อปรทุติยฌานสุตตาทิที่ ๑๕-๒๑ จบ
อุปสัมปทาวรรคที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๙๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๑. ภัตตุทเทสกสูตร

๑. สัมมุติเปยยาล
๑. ภัตตุทเทสกสูตร
ว่าด้วยภิกษุภัตตุทเทสกะ๑-
[๒๗๒] พระผู้มีพระภาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นภัตตุทเทสกะ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว ๕. ไม่รู้จักภัตตาหารที่แจกแล้วและภัตตาหารที่ยังมิได้แจก๒- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้ เป็นภัตตุทเทสกะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น ภัตตุทเทสกะ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. รู้จักภัตตาหารที่แจกแล้วและภัตตาหารที่ยังมิได้แจก @เชิงอรรถ : @ ภัตตุทเทสกะ แปลว่า ผู้แจกภัตตาหาร หมายถึงภิกษุผู้ได้รับการแต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่จัดพระรับ @ภัตตาหาร ดูเทียบในวิ.มหา. (แปล) ๑/๓๘๐-๓๘๓/๔๑๒-๔๑๕, วิ.จู. ๖/๑๘๙-๑๙๒/๒๒๒-๒๒๕, @องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๐/๓๑-๓๒, วิ.อ. ๓/๓๒๕/๓๕๗-๓๖๗ ประกอบ @ ดู วิ.ม. (แปล) ๕/๓๔๒/๒๐๓ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๙๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๑. ภัตตุทเทสกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น ภัตตุทเทสกะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็น ภัตตุทเทสกะ ถึงแต่งตั้งแล้ว ก็ไม่พึงส่งไป๑- ฯลฯ สงฆ์แต่งตั้งแล้ว พึงส่งไป ฯลฯ พึงทราบว่าเป็นพาล ฯลฯ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯลฯ บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ฯลฯ บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไป ประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. รู้จักภัตตาหารที่แจกแล้วและภัตตาหารที่ยังมิได้แจก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นภัตตุทเทสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ภัตตุทเทสกสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ไม่พึงส่งไป ในที่นี้หมายถึงไม่พึงให้จัดการเรื่องกิจนิมนต์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๗๒/๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๐๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๒-๑๔. เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิ

๒-๑๔. เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิ
ว่าด้วยภิกษุเสนาสนปัญญาปกะ๑- เป็นต้น
[๒๗๓-๒๘๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง แต่งตั้งให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ฯลฯ ไม่รู้จักเสนาสนะที่จัดแจงแล้วและเสนาสนะ ที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ฯลฯ รู้จักเสนาสนะ ที่จัดแจงแล้วและเสนาสนะที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ๒- ฯลฯ ไม่รู้จักเสนาสนะที่จัดแจงแล้ว และเสนาสนะที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ฯลฯ รู้จักเสนาสนะที่จัดแจงแล้วและเสนาสนะที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นภัณฑาคาริกะ๓- ฯลฯ ไม่รู้จักภัณฑะที่เก็บแล้วและภัณฑะ ที่ยังมิได้เก็บ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นภัณฑาคาริกะ ฯลฯ รู้จักภัณฑะที่เก็บแล้ว และภัณฑะที่ยังมิได้เก็บ ฯลฯ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ๔- ฯลฯ ไม่รู้จักจีวรที่รับไว้แล้วและจีวร ที่ยังมิได้รับไว้ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ ฯลฯ รู้จักจีวรที่ได้รับแล้ว และจีวรที่ยังมิได้รับ ฯลฯ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรภาชกะ๕- ฯลฯ ไม่รู้จักจีวรที่แจกแล้วและจีวรที่ยัง มิได้แจก ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรภาชกะ ฯลฯ รู้จักจีวรที่แจกแล้วและจีวรที่ ยังไม่ได้แจก ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ เสนาสนปัญญาปกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ @ดู วิ.จู. ๖/๑๘๙-๑๙๒/๒๒๒-๒๒๕ ประกอบ @ เสนาสนคาหาปกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดเสนาสนะ @(ตามนัย วิ.อ. ๓/๓๑๘/๒๒๘-๓๔๑) @ ภัณฑาคาริกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ดู วิ.ม. ๕/๓๔๓/๑๔๔ @ จีวรปฏิคคาหกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร ดู วิ.ม. ๕/๓๔๒/๑๔๓ @ จีวรภาชกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร ดู วิ.ม. ๕/๓๔๓/๑๔๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๐๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๒-๑๔. เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิ

สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นยาคุภาชกะ(ผู้แจกข้าวต้ม) ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น ยาคุภาชกะ ฯลฯ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นผลภาชกะ (ผู้แจกผลไม้) ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น ผลภาชกะ ฯลฯ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นขัชชกภาชกะ (ผู้แจกของขบฉัน) ฯลฯ ไม่รู้จักของขบฉัน ที่แจกแล้วและของขบฉันที่ยังมิได้แจก ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นขัชชกภาชกะ ฯลฯ รู้จักของขบฉันที่แจกแล้วและของขบฉันที่ยังมิได้แจก ฯลฯ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ (ผู้แจกของเล็กน้อย) ฯลฯ ไม่รู้จัก ของเล็กน้อยที่แจกแล้วและของเล็กน้อยที่ยังมิได้แจก ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น อัปปมัตตกวิสัชชกะ ฯลฯ รู้จักของเล็กน้อยที่แจกแล้วและของเล็กน้อยที่ยังมิได้แจก ฯลฯ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นสาฏิยคาหาปกะ (ผู้ให้รับผ้าสาฎก) ฯลฯ ไม่รู้จักผ้า สาฎกที่รับแล้วและผ้าสาฎกที่ยังมิได้รับ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นสาฏิยคาหาปกะ ฯลฯ รู้จักผ้าสาฎกที่รับแล้วและผ้าสาฎกที่ยังมิได้รับ ฯลฯ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นปัตตคาหาปกะ (ผู้ให้รับบาตร) ฯลฯ ไม่รู้จักบาตรที่รับ แล้วและบาตรที่ยังมิได้รับ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นปัตตคาหาปกะ ฯลฯ รู้จักบาตร ที่รับแล้วและบาตรที่ยังมิได้รับ ฯลฯ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นอารามเปสกะ (ผู้ใช้คนวัด) ฯลฯ ไม่รู้จักคนวัดที่ใช้แล้ว และคนวัดที่ยังมิได้ใช้ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นอารามเปสกะ ฯลฯ รู้จักคนวัดที่ใช้ แล้วและคนวัดที่ยังมิได้ใช้ ฯลฯ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นสามเณรเปสกะ (ผู้ใช้สามเณร) ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้ง ให้เป็นสามเณรเปสกะ ฯลฯ ถึงแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงส่งไป ฯลฯ สงฆ์แต่งตั้งแล้วพึง ส่งไป พึงทราบว่าเป็นพาล ฯลฯ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯลฯ บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ฯลฯ บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ฯลฯ ไม่รู้จักสามเณรที่ใช้แล้วและสามเณรที่ยังมิได้ใช้ ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๐๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒. สิกขาปทเปยยาล ๑. ภิกขุสูตร

ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๔. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๕. รู้จักสามเณรที่ใช้แล้วและสามเณรที่ยังมิได้ใช้ ภิกษุผู้เป็นสามเณรเปสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิที่ ๒-๑๔ จบ
สัมมุติเปยยาล จบ
๒. สิกขาปทเปยยาล
๑. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ
[๒๘๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๔. เป็นผู้พูดเท็จ ๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๐๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒. สิกขาปทเปยยาล ๒-๗. ภิกขุนีสุตตาทิ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง ความประมาท ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ภิกขุสูตรที่ ๑ จบ
๒-๗. ภิกขุนีสุตตาทิ
ว่าด้วยภิกษุณีเป็นต้น
[๒๘๗-๒๙๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฯลฯ สิกขมานา ฯลฯ สามเณร ฯลฯ สามเณรี ฯลฯ อุบาสก ฯลฯ อุบาสิกาประกอบ ด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้พูดเท็จ ๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๐๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒. สิกขาปทเปยยาล ๘. อาชีวกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง ความประมาท ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ภิกขุนีสุตตาทิที่ ๒-๗ จบ
๘. อาชีวกสูตร
ว่าด้วยอาชีวก
[๒๙๓] ภิกษุทั้งหลาย อาชีวก๑- ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรง อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๔. เป็นผู้พูดเท็จ ๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ภิกษุทั้งหลาย อาชีวกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝั่งไว้
อาชีวกสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ หมายถึงนักบวชเปลือย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๐๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒. สิกขาปทเปยยาล ๙-๑๗. นิคัณฐสุตตาทิ

๙-๑๗. นิคัณฐสุตตาทิ
ว่าด้วยนิครนถ์เป็นต้น
[๒๙๔-๓๐๒] ภิกษุทั้งหลาย นิครนถ์๑- ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฯลฯ มุณฑสาวก๒- ฯลฯ ชฏิลกะ๓- ฯลฯ ปริพาชก๔- ฯลฯ มาคัณฑิกะ๕- ฯลฯ เตคัณฑิกะ ฯลฯ อารุทธกะ ฯลฯ โคตมกะ ฯลฯ เทวธัมมิกะ ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูก นำไปฝังไว้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๔. เป็นผู้พูดเท็จ ๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ภิกษุทั้งหลาย เทวธัมมิกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
นิคัณฐสุตตาทิที่ ๙-๑๗ จบ
สิกขาปทเปยยาล จบ
@เชิงอรรถ : @ นิครนถ์ หมายถึงปริพาชกผู้นุ่งผ้าปกปิดเฉพาะอวัยวะส่วนหน้า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔) @ มุณฑสาวก หมายถึงสาวกของพวกนิครนถ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔) @ ชฏิลกะ หมายถึงดาบส (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔) @ ปริพาชก หมายถึงนักบวชผู้นุ่งผ้า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔) @ มาคัณฑิกะ เตคัณฑิกะ อารุทธกะ โคตมกะ เทวธัมมิกะ หมายถึงพวกเดียรถีย์ คือนักบวชผู้ถือลัทธิ @นอกพระพุทธศาสนา (วิ.อ. ๓/๑๓๒/๑๐๕, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๐๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๓. ราคเปยยาล

๓. ราคเปยยาล
[๓๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (ความกำหนัด) ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อสุภสัญญา ๒. มรณสัญญา ๓. อาทีนวสัญญา ๔. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา ๕. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ [๓๐๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อนิจจสัญญา ๒. อนัตตสัญญา ๓. มรณสัญญา ๔. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา ๕. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ [๓๐๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อนิจจสัญญา ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา ๔. ปหานสัญญา ๕. วิราคสัญญา ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๐๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๓. ราคเปยยาล

[๓๐๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์ ๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์ ๕. ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ [๓๐๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ ๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ ๕. ปัญญาพละ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ [๓๐๘-๑๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อกำหนดรู้ราคะ ... เพื่อความสิ้นราคะ ... เพื่อละราคะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ ... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ ... เพื่อความดับไปแห่งราคะ ... เพื่อความสละราคะ ... เพื่อความสละคืนราคะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๐๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๓. ราคเปยยาล รวมธรรมที่มีในเปยยาลนี้

... โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ... โมหะ (ความหลง) ... โกธะ (ความโกรธ) ... อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ... มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปฬาสะ (ความตีเสมอ) ... อิสสา (ความริษยา) ... มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ... มายา (มารยา) ... สาเถยยะ (ความโอ้อวด) ... ถัมภะ (ความหัวดื้อ) สารัมภะ (ความแข่งดี) ... มานะ (ความถือตัว) ... อติมานะ (ความดูหมิ่น) ... มทะ (ความมัวเมา) ... ปมาทะ (ความประมาท) ... ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาพละ ๒. วีริยพละ ๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ ๕. ปัญญาพละ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ
ราคเปยยาล จบ
รวมธรรมที่มีในเปยยาลนี้ คือ
ธรรม ๑๐ ประการนี้ คือ ๑. อภิญญา (ความรู้ยิ่ง) ๒. ปริญญา (การกำหนดรู้) ๓. ปริกขยา (ความสิ้น) ๔. ปหานะ (การละ) ๕. ขยะ (ความสิ้นไป) ๖. วยะ (ความเสื่อมไป) ๗. วิราคะ (ความคลายไป) ๘. นิโรธะ (ความดับไป) ๙. จาคะ (ความสละ) ๑๐. ปฏินิสสัคคะ (ความสละคืน)
ปัญจกนิบาต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๐๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๓. ราคเปยยาล รวมวรรคที่มีในปัญจกนิบาต

รวมวรรคที่มีในปัญจกนิบาตนี้ คือ
๑. เสขพลวรรค ๒. พลวรรค ๓. ปัญจังคิกวรรค ๔. สุมนวรรค ๕. มุณฑราชวรรค ๖. นีวรณวรรค ๗. สัญญาวรรค ๘. โยธาชีววรรค ๙. เถรวรรค ๑๐. กกุธวรรค ๑๑. ผาสุวิหารวรรค ๑๒. อันธกวินทวรรค ๑๓. คิลานวรรค ๑๔. ราชวรรค ๑๕. ติกัณฑกีวรรค ๑๖. สัทธัมมวรรค ๑๗. อาฆาตวรรค ๑๘. อุปาสกวรรค ๑๙. อรัญญวรรค ๒๐. พราหมณวรรค ๒๑. กิมพิลวรรค ๒๒. อักโกสกวรรค ๒๓. ทีฆจาริกวรรค ๒๔. อาวาสิกวรรค ๒๕. ทุจริตวรรค ๒๖. อุปสัมปทาวรรค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๑๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๙๒-๔๑๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=251              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=6404&Z=6617                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=251              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=251&items=21              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2087              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=251&items=21              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2087                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i251-e.php# http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/05/an05-303.html https://suttacentral.net/an5.251/en/sujato https://suttacentral.net/an5.252/en/sujato https://suttacentral.net/an5.253/en/sujato https://suttacentral.net/an5.254/en/sujato https://suttacentral.net/an5.254/en/thanissaro https://suttacentral.net/an5.255/en/sujato https://suttacentral.net/an5.255/en/thanissaro https://suttacentral.net/an5.256/en/sujato https://suttacentral.net/an5.256/en/thanissaro https://suttacentral.net/an5.257-263/en/sujato https://suttacentral.net/an5.257-263/en/thanissaro https://suttacentral.net/an5.264/en/sujato https://suttacentral.net/an5.264/en/thanissaro https://suttacentral.net/an5.265-271/en/sujato https://suttacentral.net/an5.265-271/en/thanissaro https://suttacentral.net/an5.272/en/sujato https://suttacentral.net/an5.273-285/en/sujato https://suttacentral.net/an5.286/en/sujato https://suttacentral.net/an5.287-292/en/sujato https://suttacentral.net/an5.293/en/sujato https://suttacentral.net/an5.294-302/en/sujato https://suttacentral.net/an5.303/en/sujato https://suttacentral.net/an5.303/en/bodhi https://suttacentral.net/an5.304/en/sujato https://suttacentral.net/an5.304/en/bodhi https://suttacentral.net/an5.305/en/sujato https://suttacentral.net/an5.305/en/bodhi https://suttacentral.net/an5.306/en/sujato https://suttacentral.net/an5.306/en/bodhi https://suttacentral.net/an5.307/en/sujato https://suttacentral.net/an5.307/en/bodhi https://suttacentral.net/an5.308-1152/en/sujato https://suttacentral.net/an5.308-1152/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :