บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙] หน้าต่างที่ ๓๒ / ๓๙. ข้อความเบื้องต้น กุลบุตรออกบวช วันหนึ่ง เขาเห็นมหาชนมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นในมือ ไปสู่พระเชตวันเพื่อต้องการฟังธรรม ในเวลาภายหลังภัตจึงถามว่า "พวกท่านจะไปไหนกัน?" เมื่อมหาชนนั้นบอกว่า "พวกฉันจะไปสู่สำนักพระศาสดา เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรม" กล่าวว่า "ฉันก็จักไป" แล้วไปกับมหาชนนั้น นั่ง ณ ที่สุดบริษัท. พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของเขา จึงทรงแสดงอนุปุพพีกถา. เขาคิดว่า "บุคคลผู้อยู่ครองเรือน ไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ให้เป็นดุจสังข์ที่ขัดแล้วได้." อาศัยพระกถาของพระศาสดา มีความอุตสาหะเกิดแล้วในบรรพชา เมื่อบริษัทหลีกไปแล้ว จึงทูลขอบรรพชากะพระศาสดา ได้สดับว่า "พระตถาคตทั้งหลายไม่ยังกุลบุตรที่มารดาบิดายังไม่อนุญาตให้บรรพชา" จึงไปสู่เรือนแล้ว ยังมารดาบิดาให้อนุญาตด้วยความพยายามมากเหมือนกุลบุตรชื่อรัฏฐบาลเป็นต้น ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระศาสดาแล้ว คิดว่า "ประโยชน์ หญิงแพศยารับอาสาจะให้พระเถระสึกให้ได้ ____________________________ ๑- ความเป็นผู้มีส่วนงามด้วยสิริ. ในขณะนั้น หญิงแพศยาคนหนึ่งไปสู่ตระกูลนั้น เห็นมารดาของพระสุนทรสมุทรเถระนั้นกำลังนั่งร้องไห้อยู่ จึงถามว่า "คุณแม่ เพราะเหตุไร? คุณแม่จึงร้องไห้." มารดาพระสุนทรสมุทร. ฉันคิดถึงลูก จึงร้องไห้. หญิงแพศยา. ก็บุตรนั้นไปที่ไหนเล่า? คุณแม่. มารดาพระสุนทรสมุทร. บวชใน (สำนัก) ภิกษุทั้งหลาย. หญิงแพศยา. การให้ท่านสึกเสีย ไม่ควรหรือ? มารดาพระสุนทรสมุทร. ควร แต่เธอไม่ปรารถนา, เธอออกจากกรุงสาวัตถีนี้ ไปสู่กรุงราชคฤห์. หญิงแพศยา. ถ้าดิฉันพึงให้ท่านสึกได้ไซร้, คุณแม่พึงทำอะไร? แก่ดิฉัน. มารดาพระสุนทรสมุทร. พวกฉันพึงทำเจ้าให้เป็นเจ้าของแห่งขุมทรัพย์ตระกูลนี้. หญิงแพศยากล่าวว่า "ถ้าเช่นนั้น คุณแม่จงให้สินจ้างแก่ดิฉัน" ถือเอาสินจ้างแล้ว ไปสู่กรุงราชคฤห์ด้วยบริวารหมู่ใหญ่ กำหนดถนนที่เที่ยวบิณฑบาตของท่านได้แล้ว ยึดเอาเรือนเป็นที่พักหลังหนึ่งในที่นั้น ตกแต่งอาหารที่ประณีตไว้แต่เช้าตรู่ แล้วถวายภิกษาในเวลาพระเถระเข้าไปบิณฑบาต โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน นิมนต์ว่า "ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงนั่งในที่นี้นี่แหละ ทำภัตกิจ" แล้วรับเอาบาตร. ท่านได้ให้บาตรแล้ว. หญิงแพศยาออกอุบายเกลี้ยกล่อมพระเถระ ในวันรุ่งขึ้น เวลาพระเถระฉัน พวกเด็กเหล่านั้น แม้ถูกหญิงแพศยานั้นห้ามอยู่ ก็ (คุ้ย) ธุลีให้ฟุ้งขึ้นแล้ว. ในวันรุ่งขึ้น หญิงแพศยานั้นเรียนว่า "พวกเด็ก แม้ดิฉันห้ามอยู่ ก็ไม่ฟังคำของดิฉัน ยัง (คุ้ย) ธุลีให้ฟุ้งขึ้นในที่นี้ได้ ขอท่านจงนั่งภายในเรือนเถิด" ให้ท่านนั่งภายในแล้ว นิมนต์ให้ฉันสิ้น ๒-๓ วัน, นางเกลี้ยกล่อมเด็กอีก พูดว่า "พวกเจ้า แม้ถูกฉันห้ามอยู่ พึงทำเสียงอึกทึก ในเวลาพระเถระฉัน." เด็กเหล่านั้นทำอย่างนั้นแล้ว. ในวันรุ่งขึ้น นางกล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า ในที่นี้มีเสียงอึกทึกเหลือเกิน พวกเด็กแม้ดิฉันห้ามอยู่ ก็ไม่เชื่อถือถ้อยคำของดิฉัน นิมนต์ท่านนั่งเสียในปราสาทเบื้องบนเถิด" เมื่อพระเถระรับนิมนต์แล้ว ทำพระเถระไว้ข้างหน้า เมื่อจะขึ้นไปสู่ปราสาท ปิดประตูทั้งหลายเสีย จึงขึ้นไปสู่ปราสาท. พระเถระ แม้เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตรอย่างอุกฤษฏ์ ถูกความอยากในรสพัวพันแล้ว จึงขึ้นไปสู่ปราสาท ๗ ชั้นตามคำของนาง. หญิงแพศยาแสดงอาการ ๔๐ อย่างเกี้ยวพระเถระ "เพื่อนผู้มีหน้าเอิบอิ่ม ได้ยินว่า หญิงย่อมเกี้ยวชายด้วยฐานะ ๔๐#- อย่างคือ สะบัดสะบิ้ง ๑ ก้มลง ๑ กรีดกราย ๑ ชมดชม้อย ๑ เอาเล็บดีดเล็บ ๑ เอาเท้าเหยียบเท้า ๑ เอาไม้ขีดแผ่นดิน ๑ ชูเด็กขึ้น ๑ ลดเด็กลง ๑ เล่นเอง ๑ ให้เด็กเล่น ๑ จูบเอง ๑ ให้เด็กจูบ ๑ รับประทานเอง ๑ ให้เด็กรับประทาน ๑ ให้ของเด็ก ๑ ขอของคืน ๑ ล้อเลียนเด็ก##- ๑ พูดดัง ๑ พูดค่อย ๑ พูดคำเปิดเผย ๑ พูดลี้ลับ ๑ (ทำนิมิต) ด้วยการฟ้อน ด้วยการขับ ด้วยการประโคม ด้วยการร้องไห้ ด้วยการเยื้องกราย ด้วยการแต่งตัว ๑ ซิกซี้ ๑ จ้องมองดู ๑ สั่นสะเอว ๑ ยังของลับให้ไหว ๑ ถ่างขา ๑ หุบขา ๑ แสดงถัน ๑ แสดงรักแร้ ๑ แสดงสะดือ ๑ ขยิบตา ๑ ยักคิ้ว ๑ เม้มริมฝีปาก ๑ แลบลิ้น ๑ เปลื้องผ้า ๑ นุ่งผ้า ๑ สยายผม ๑ เกล้าผม ๑" ยืนข้างหน้าของพระเถระนั้น แล้วกล่าวคาถานี้ว่า :- "หญิงแพศยาผู้มีเท้าย้อมแล้วด้วยน้ำครั่ง สวม เขียงเท้า (กล่าวแล้วว่า) แม้ท่านก็เป็นชายหนุ่มสำหรับ ดิฉัน และแม้ดิฉันก็เป็นหญิงสาวสำหรับท่าน, แม้เรา ทั้งสองแก่แล้ว มีไม้เท้ากรานไปข้างหน้าจึงจักบวช." ____________________________ #- มาในอัฏฐกถาชาดก กุณาลชาดก. กุณาลชาดก ##- กตมนุกโรติ ย่อมทำตามซึ่งกรรมอันเด็กทำแล้ว. พระเถระชนะหญิงแพศยาเพราะอาศัยพระศาสดา ลำดับนั้น พระอานนทเถระทูลถามพระองค์ว่า "พระเจ้าข้า อะไรหนอแล? เป็นเหตุ, อะไร? เป็นปัจจัยแห่งการทรงทำความยิ้มแย้มให้ปรากฏ." พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ สงครามของภิกษุชื่อสุนทรสมุทรและของหญิงแพศยา กำลังเป็นไปอยู่ บนพื้นปราสาท ๗ ชั้น ในกรุงราชคฤห์. พระอานนท์ทูลถามว่า พระเจ้าข้า ความชนะจักมีแก่ใครหนอแล? ความ พระศาสดาตรัสว่า "อานนท์ ความชนะจักมีแก่สุนทรสมุทร, ความ ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ ความว่า บุคคลใด ละกามแม้ทั้งสองในโลกนี้แล้ว เป็นผู้ไม่มีเรือน งดเว้นเสียได้ เราเรียกผู้นั้น ผู้มีกามสิ้นแล้ว และผู้มีภพสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์. ในกาลจบเทศนา พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว เหาะขึ้นไปสู่เวหาสด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ทะลุมณฑลช่อฟ้าออกไปแล้ว ชมเชยพระสรีระพระศาสดาอยู่นั่นเทียว มาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว. พระศาสดาเป็นที่พึ่งของพระเถระ พระศาสดาทรงสดับกถานั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราเป็นที่พึ่งของสุนทรสมุทรนั่น แต่ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้, แม้ในกาลก่อน เราก็เป็นที่พึ่งของสุนทรสมุทรนั่น ผู้ติดอยู่ในรสตัณหาแล้วเหมือนกัน" อันภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา เพื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ทรงยังวาตมิคชาดก๑- นี้ให้พิสดารว่า :- "ได้ยินว่า สภาพอื่นที่เลวกว่ารสทั้งหลาย คือ การเคยชินกัน หรือการสนิทสนมกัน ย่อมไม่มี, คนรักษาอุทยานชื่อสญชัย ย่อมนำเนื้อสมันตัวอาศัย อยู่ในรกชัฏ มาสู่อำนาจได้ ก็เพราะรสทั้งหลาย." ดังนี้แล้ว ทรงประมวลชาดกว่า "ในกาลนั้น สุนทรสมุทรได้เป็นเนื้อสมัน, ส่วนมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้กล่าวคาถานี้แล้ว ให้ปล่อยเนื้อนั้นไป ได้เป็นเรานี้เอง." ____________________________ ๑- ขุ. ชา. เอก. เล่ม ๒๗/ข้อ ๑๔. อรรถกถา ขุ. ชา. เอก. เล่ม ๒๗/ข้อ ๑๔. เรื่องพระสุนทรสมุทรเถระ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖ |