|
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙]อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖หน้าต่างที่ ๖ / ๓๙. ๖. เรื่องบรรพชิตรูปใดรูปหนึ่ง [๒๖๙] ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภบรรพชิตรูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "พาหิตปาโป" เป็นต้น.
พราหมณ์บวชนอกพระพุทธศาสนา
ได้ยินว่า พราหมณ์คนหนึ่งบวชแล้ว ด้วยการบวชในภายนอก (พระศาสนา) คิดว่า "พระสมณโคดมเรียกสาวกของพระองค์ว่า 'บรรพชิต'
ส่วนเราก็เป็นบรรพชิต, การที่พระองค์เรียกเราอย่างนั้นบ้าง ก็ควร" แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลถามเนื้อความนั่น.
พระศาสดาตรัสว่า "เราหาเรียกว่า 'บรรพชิต' ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่, ส่วนบุคคลผู้ชื่อว่าเป็นบรรพชิต เพราะความที่มลทินคือกิเลสทั้งหลาย อันตนเว้นได้ขาด"
ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๖. | พาหิตปาโป หิ พฺราหฺมโณ
| | สมจริยา สมโณติ วุจฺจติ
| | ปพฺพาชยมตฺตโน มลํ
| | ตสฺมา ปพฺพชิโตติ วุจฺจติ.
| | บุคคลผู้มีบาปอันลอยแล้วแล เราเรียกว่า 'พราหมณ์'
| | บุคคลที่เราเรียกว่า 'สมณะ' เพราะความประพฤติเรียบร้อย,
| | บุคคลขับไล่มลทินของตนอยู่ เพราะเหตุนั้น เราเรียกว่า
| | 'บรรพชิต'. |
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมจริยาย คือ เพราะความประพฤติระงับซึ่งอกุศลธรรมทั้งปวง.
บทว่า ตสฺมา ความว่า บุคคลที่พระศาสดาตรัสเรียกว่า 'พราหมณ์' เพราะความเป็นผู้มีบาปอันลอยแล้ว,
บุคคลที่พระศาสดาตรัสเรียกว่า 'สมณะ' เพราะความประพฤติสงบซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย
เหตุนั้น ผู้ใดประพฤติขับไล่ คือขจัดมลทินมีราคะเป็นต้นของตนอยู่, แม้ผู้นั้น พระศาสดาก็ตรัสเรียกว่า 'บรรพชิต' เพราะการขับไล่นั้น.
ในกาลจบเทศนา บรรพชิตนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว.
เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องบรรพชิตรูปใดรูปหนึ่ง จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖ อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙]
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1301&Z=1424 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=25&A=2016 The Pali Atthakatha in Roman https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=25&A=2016 - -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]
|