| ๔. | ผเลหิเนเกหิ สมิทฺธิภูตา
|
| | วิจิตฺตรุกฺขา อุภโตวกาเส
|
| | ขุทฺทํ ปิปาสมฺปิ วิโนทยนฺติ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ต้นไม้ที่งดงามทั้งหลาย ในโอกาสสองข้างทาง
|
| ดกดื่นด้วยผลเป็นอันมาก บรรเทาความยากไร้ ทั้ง
|
| ความหิวระหายได้ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
|
| สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๕. | วิจิตฺตมาลา สุจิปลฺลเวหิ
|
| | สุสชฺชิตา โมรกลาปสนฺนิภา
|
| | รุกฺขา วิโรจนฺติ อุโภสุ ปสฺเสสุ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ต้นไม้ทั้งหลาย มีดอกงดงาม อันใบอ่อนที่สะอาด
|
| ตกแต่งแล้ว เสมือนต้นหางนกยูง อร่ามไปทั้งสองข้างทาง
|
| ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
|
| พระเจ้าข้า.
|
| ๖. | วิโรจมานา ผลปลฺลเวหิ
|
| | สุสชฺชิตา วาสนิวาสภูตา
|
| | โตเสนฺติ อทฺธานกิลนฺตสตฺเต
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ต้นไม้ทั้งหลาย รุ่งโรจน์ อันผลและใบอ่อนตกแต่ง
|
| แล้ว ประดับประดาด้วยน้ำหอม ย่อมปลอบประโลมใจ
|
| เหล่าสัตว์ที่เหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกล ข้าแต่พระ
|
| มหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๗. | สุผุลฺลิตคฺคา วนคุมฺพนิสฺสิตา
|
| | ลตา อเนกา สุวิราชมานา
|
| | โตเสนฺติ สตฺเต มณิมณฺฑปาว
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| เถาวัลย์เป็นอันมาก อาศัยพุ่มไม้ในป่า บนยอด
|
| ออกดอกบานสวย สง่างาม ย่อมปลอบประโลมใจเหล่า
|
| สัตว์ เหมือนมณฑปมณี ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัย
|
| สมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๘. | ลตา อเนกา ทุมนิสฺสิตาว
|
| | ปิเยหิ สทฺธึ สหิตา วธูว
|
| | ปโลภยนฺติ หิ สุคนฺธคนฺธา
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| เถาวัลย์เป็นอันมาก อาศัยต้นไม้ ประหนึ่งหญิง
|
| สาวไปกับชายที่รัก มีกลิ่นหอมอบอวลประโลมใจ
|
| ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
|
| แล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๙. | วิจิตฺตนีลาทิมนุญฺญวณฺณา
|
| | ทิชา สมนฺตา อภิกูชมานา
|
| | โตเสนฺติ มญฺชุสฺสรตา รตีหิ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ฝูงนก มีสีสรรสวยงามน่าชื่นใจ มีสีเขียวเป็นต้น
|
| ส่งเสียงร้องไพเราะโดยรอบ ด้วยความยินดี ปลอบ
|
| ประโลม ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
|
| พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า. |
| ๑๐. | มิคา จ นานา สุวิราชมานา
|
| | อุตฺตุงฺคกณฺณา จ มนุญฺญเนตฺตา
|
| | ทิสา สมนฺตา มภิธาวยนฺติ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ฝูงเนื้อนานาชนิด เกลื่อนกราด ยกหูชูชัน เบิ่งตา
|
| น่าชื่นใจ พากันวิ่งไปรอบทิศ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็น
|
| สมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๑๑. | มนุญฺญภูตา จ มหี สมนฺตา
|
| | วิราชมานา หริตา ว สทฺทลา
|
| | สุปุปฺผิรุกฺขา โมฬินิวลงฺกตา
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| แผ่นปฐพีมีหญ้าแพรกขึ้นเขียวขจีส่องประกาย
|
| โดยรอบน่าชื่นใจ ต้นไม้ดอกบานงาม ก็ประดับดุจ
|
| โมลี ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระ-
|
| อังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๑๒. | สุสชฺชิตา มุตฺตมยาว วาลุกา
|
| | สุสณฺฐิตา จารุสุผสฺสทาตา
|
| | วิโรจนยนฺเตว ทิสา สมนฺตา
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ทรายทั้งหลาย ดูดังมุกดาอันธรรมดาจัดแต่งไว้
|
| ทรวดทรงงามให้สัมผัสดีดังทอง ส่องแสงสกาว
|
| รอบทิศ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
|
| พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๑๓. | สมํ สุผสสํ สุจิภูมิภาคํ
|
| | มนุญฺญปุปฺโผทยคนฺธวาสิตํ
|
| | วิราชมานํ สุจิมญฺจ โสภํ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| พื้นแผ่นดินสะอาด ราบเรียบ สัมผัสดี กลิ่นเกิด
|
| จากดอกไม้หอม ตลบอบอวลน่าชื่นใจ ส่องประกาย
|
| สะอาดงาม ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
|
| สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๑๔. | สุสชฺชิตํ นนฺทนกานนํว
|
| | วิจิตฺตนานา ทุมสณฺฑมณฺฑิตํ
|
| | สุคนฺธภูตํ ปวนํ สุรมฺมํ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ป่าใหญ่อันธรรมดาตกแต่งดีแล้ว ประดับด้วย
|
| ต้นไม้นานาชนิดเรียงรายงามตระการ มีกลิ่นหอม น่า
|
| รื่นรมย์อย่างดี ดั่งสวนนันทวัน ข้าแต่พระมหาวีระ
|
| เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๑๕. | สรา วิจิตฺตา วิวิธา มโนรมา
|
| | สุสชฺชิตา ปงฺกชปุณฺฑรีกา
|
| | ปสนฺนสีโตทกจารุปุณฺณา
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| สระทั้งหลาย หลากชนิดวิจิตรน่ารื่นรมย์ใจ อัน
|
| ธรรมดาตกแต่งไว้ มีบัวบุณฑริก เต็มเปี่ยมด้วยน้ำเย็น
|
| ใสดั่งทอง ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
|
| พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๑๖. | สุผุลฺลนานาวิธปงฺกเชหิ
|
| | วิราชมานา สุจิคนฺธคนฺธา
|
| | ปโมทยนฺเตว นรามรานํ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ
|
| สระทั้งหลาย อร่ามเหลืองด้วยบัวนานาชนิดดอก
|
| บานงาม กลิ่นกรุ่นสะอาด ทำให้เหล่ามนุษย์ชาติแล
|
| เทพดาบันเทิงใจ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
|
| สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๑๗. | สุผุลฺลปงฺเกรุหสนฺนิสินฺนา
|
| | ทิชา สมนฺตา มภินาทยนฺตา
|
| | โมทนฺติ ภริยาหิ สมงฺคิโน เต
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ฝูงนกจับกอบัวที่ดอกบานร้องเจี๊ยบจ๊าบไปรอบ ๆ
|
| นกเหล่านั้นบันเทิงพร้อมกับตัวเมีย ข้าแต่พระมหาวีระ
|
| เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๑๘. | สุผุลฺลปุปฺเผหิ รชํ คเหตฺวา
|
| | อลี วิธาวนฺติ วิกูชมานา
|
| | มธุมฺหิ คนฺโธ วิทิสํ ปวายติ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ฝูงผึ้งเก็บละอองจากดอกไม้บานส่งเสียงร้องบิน
|
| เวียนว่อน กลิ่นน้ำหวาน ก็กำจายไปทั่วทิศ ข้าแต่
|
| พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
|
| พระเจ้าข้า.
|
| ๑๙. | อภินฺนนาทา มทวารณา จ
|
| | คิรีหิ ธาวนฺติ จ วาริธารา
|
| | สวนฺติ นชฺโช สุวิราชิตาว
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| โขลงช้างเมามัน ส่งเสียงแปร๋แปร๋นแล่นออก
|
| จากซอกเขา และกระแสน้ำก็พราวพรายไหลจากลำ
|
| แม่น้ำ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
|
| พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๒๐. | คิรี สมนฺตาว ปทิสฺสมานา
|
| | มยูรคีวา อิว นีลวณฺณา
|
| | ทิสา รชินฺทาว วิโรจยนฺติ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ขุนเขาทั้งหลาย ปรากฏเห็นอยู่รอบๆ มีสีเขียว
|
| ขาบ เหมือนคอนกยูง รุ่งทะมึน เหมือนเมฆ ข้าแต่
|
| พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
|
| พระเจ้าข้า. |
| ๒๑. | มยูรสงฺฆา คิริมุทฺธนสฺมึ
|
| | นจฺจนฺติ นารีหิ สมงฺคิภูตา
|
| | กูชนฺติ นานามธุรสฺสเรหิ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ฝูงยูงผู้พร้อมด้วยตัวเมีย พากันฟ้อนรำเหนือยอด
|
| คิรี กู่ก้องด้วยเสียงอันไพเราะต่างๆ ข้าแต่พระมหาวีระ
|
| เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๒๒. | สุวาทิกา เนกทิชา มนุญฺญา
|
| | วิจิตฺตปตฺเตหิ วิราชมานา
|
| | คิริมฺหิ ฐตฺวา อภินาทยนฺติ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ฝูงนกเป็นอันมาก มีเสียงเพราะ น่าชื่นใจ
|
| เลื่อมพรายด้วยขนปีกอันงดงาม ยืนร้องก้องกังวาน
|
| เหนือคิรี ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
|
| พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๒๓. | สุผุลฺลปุปฺผา กรมาภิกิณฺณา
|
| | สุคนฺธนานาทลลงฺกตา จ
|
| | คิรี วิโรจนฺติ ทิสา สมนฺตา
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ภูเขาทั้งหลาย มีดอกไม้บานงาม เกลื่อนกลาด
|
| ด้วยต้นเล็บเหยี่ยว ประดับด้วยกลีบดอกไม้นานาชนิด
|
| มีกลิ่นหอม งามระยับไปรอบทิศ ข้าแต่พระมหาวีระ
|
| เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๒๔. | ชลาสยา เนกสุคนฺธคนฺธา
|
| | สุรินฺทอุยฺยานชลาสยาว
|
| | สวนฺติ นชฺโช สุวิราชมานา
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ชลาศัยลำน้ำมีกลิ่นหอมกรุ่นเป็นอันมาก พร่าง
|
| พรายไหลมาแต่แม่น้ำ เหมือนชลาลัยในอุทยานของ
|
| ท้าวสักกะจอมเทพ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
|
| สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๒๕. | วิจิตฺตติตฺเถหิ อลงฺกตา จ
|
| | มนุญฺญนานามิคปกฺขิปาสา
|
| | นชฺโช วิโรจนฺติ สุสนฺทมานา
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| แม่น้ำทั้งหลาย ประดับด้วยท่าน้ำอันงาม เป็น
|
| ที่ฝูงเนื้อและนกนานาชนิดลงดื่มกินน่าชื่นใจ ไหลอยู่
|
| พร่างพราย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
|
| สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๒๖. | อุโภสุ ปสฺเสสุ ชลาสเยสุ
|
| | สุปุปฺผิตา จารุสุคนฺธรุกฺขา
|
| | วิภูสิตคฺคา สุรสุนฺทรี จ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| กลุ่มต้นไม้งาม กลิ่นหอม ออกดอกบาน ณ
|
| ชลาลัยทั้งสองฝั่ง ยอดมีดอกประดับ สวยงามสง่า
|
| ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
|
| แล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๒๗. | สุคนฺธนานาทุมชาลกิณฺณํ
|
| | วนํ วิจิตฺตํ สุรนนฺทนํว
|
| | มโนภิรามํ สตตํ คตีนํ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ป่าเกลื่อนกลาดด้วยแนวไม้นานาชนิด มีกลิ่น
|
| หอม งดงามดังสวนนันทนวันของเทวดา เป็นที่รื่น-
|
| รมย์ใจยิ่งของผู้ที่ไปเนืองๆ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็น
|
| สมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๒๘. | สมฺปนฺนนานาสุจิอนฺนปานา
|
| | สพฺยญฺชนา สาธุรเสน ยุตฺตา
|
| | ปเถสุ คาเม สุลภา มนุญฺญา
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ข้าวน้ำอันสะอาดนานาชนิด สมบูรณ์พร้อมทั้ง
|
| กับแกล้ม ประกอบด้วยรสอร่อย หาได้ง่ายในหมู่บ้าน
|
| ใกล้ทาง น่าชื่นใจ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัย
|
| สมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๒๙. | วิราชิตา อาสิ มหี สมนฺตา
|
| | วิจิตฺตวณฺณา กุสุมาสนสฺส
|
| | รตฺตินฺทโคเปหิ อลงฺกตาว
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| แผ่นดินแห่งที่ตั้งดอกไม้ ที่มีสีสรรงดงาม ก็
|
| เรืองอร่ามไปโดยรอบ ยามราตรีก็ประดับด้วยหิ่งห้อย
|
| ทั้งหลาย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
|
| พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๓๐. | วิสุทฺธสทฺธาทิคุเณหิ ยุตฺตา
|
| | สมฺพุทฺธราชํ อภิปตฺถยนฺตา
|
| | พหูหิ ตตฺเถว ชนา สมนฺตา
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ชนทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณมีศรัทธาเป็นต้น
|
| อันบริสุทธิ์ ปรารถนายิ่งนักซึ่งราชะคือภาวะเป็นพระ-
|
| สัมพุทธเจ้า มีอยู่เป็นอันมากรอบๆ ณ แผ่นดินนั้น
|
| นั่นแล ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
|
| พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า. |
| ๓๑. | วิจิตฺรอารามสุโปกฺขรญฺโญ
|
| | วิจิตฺรนานาปทุเมหิ ฉนฺนา
|
| | ภิเสหิ ขีรํว รสํ ปวายติ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| สระโบกขรณีอันงามน่ารื่นรมย์ ปกคลุมด้วย
|
| ปทุมนานาชนิดอันงาม ย่อมหลั่งรสดุจน้ำนม โดย
|
| เหง้าทั้งหลาย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
|
| สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๓๒. | วิจิตฺรนีลจฺฉทเนนลงฺกตา
|
| | มนุญฺญรุกฺขา อุภโตวกาเส
|
| | สมุคฺคตา สตฺตสมูหภูตา
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ต้นไม้น่าชื่นใจทั้งหลาย ประดับด้วยใบเขียวงาม
|
| ขึ้นสล้าง ณ โอกาสสองข้างทาง เป็นที่ชุมนุมของสัตว์
|
| ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี-
|
| รสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๓๓. | วิจิตฺรนีลพฺภมิวายตํ วนํ
|
| | สุรินฺทโลเก อิว นนฺทนํ วนํ
|
| | สพฺโพตุกํ สาธุสุคนฺธปุปฺผํ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| วนะที่ครึ้มด้วยเมฆคือต้นไม้เขียวตระการ มีดอก
|
| บานงามและหอมทุกฤดู ดั่งนันทนวัน ในภพของ
|
| องค์อัมรินทร์ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำ-
|
| หรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๓๔. | สุภญฺชสํ โยชนโยชเนฺสุ
|
| | สุภิกฺขคามา สุลภา มนุญฺญา
|
| | ชนาภิกิณฺณา สุลภนฺนปานา
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| หนทางดี ทุก ๆ โยชน์ หมู่บ้านมีอาหารดี หา
|
| ได้ง่าย น่าชื่นใจ มีผู้คนหนาแน่น มีข้าวน้ำหาได้
|
| สะดวก ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
|
| พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๓๕. | ปหูตฉายูทกรมฺมภูตา
|
| | นิวาสินํ สพฺพสุขปฺปทาตา
|
| | วิสาลสาลา จ สภา จ พหู
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ศาลากว้างและสภาที่ประชุม มีร่มเงาและน้ำ
|
| มากพอน่ารื่นรมย์ มอบความสุขทุกอย่างแก่ผู้อยู่อาศัย
|
| ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
|
| แล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๓๖. | วิจิตฺรนานาทุมสณฺฑมณฺฑิตา
|
| | มนุญฺญอุยฺยานสุโปกฺขรญฺโญ
|
| | สุมาปิตา สาธุสุคนฺธคนฺธา
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| สระโบกขรณีดีในอุทยานที่น่าชื่นใจ ประดับด้วย
|
| แนวต้นไม้นานาชนิดอันงาม อันธรรมดาสร้างสรรไว้
|
| มีกลิ่นหอมกรุ่นสำเร็จประโยชน์ ข้าแต่พระมหาวีระ
|
| เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๓๗. | วาโต มุทูสีตลสาธุรูโป
|
| | นภา จ อพฺภา วิคตา สมนฺตา
|
| | ทิสา จ สพฺพาว วิโรจยนฺติ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ลมอ่อนเย็นให้สำเร็จประโยชน์ และท้องฟ้าก็
|
| ปราศจากเมฆหมอกโดยรอบ ทิศทั้งหลายก็สว่างไสวไป
|
| หมด ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
|
| พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๓๘. | ปเถ รโชนุคฺคมนตฺถเมว
|
| | รตฺตึ ปวสฺสนฺติ จ มนฺทวฏฺฐี
|
| | นเภ จ สูโร มุทุโกว ตาโป
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ฝนตกน้อยๆ ในราตรีเพื่อไม่ให้ฝุ่นละอองฟุ้งขึ้น
|
| ที่หนทาง ดวงอาทิตย์ในท้องฟ้าก็มีแสงแดดอ่อน ๆ
|
| ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี
|
| รสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๓๙. | มทปฺปพาหา มทหตฺถิสงฺฆา
|
| | กเรณุสงฺเฆหิ สุกีฬยนฺติ
|
| | ทิสา วิธาวนฺติ จ คชฺชยนฺตา
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ฝูงช้างพลายซุกซน มีงวงซุกซน หยอกเล่นกับ
|
| ฝูงช้างพังทั้งหลาย ร้องคำรนวิ่งแล่นไปรอบทิศ ข้า
|
| แต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
|
| แล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๔๐. | วนํ สุนีลํ อภิทสฺสนียํ
|
| | นีลพฺภกูฏํ อิว รมฺมภูตํ
|
| | วิโลกิตานํ อติวิมฺหนียํ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| วนะเขียวสด น่าพิศยิ่งนัก น่ารื่นรมย์ เป็น
|
| ของน่าประหลาดสำหรับคนที่มองดู เหมือนยอดเมฆ
|
| สีคราม ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
|
| พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า. |
| ๔๑. | วิสุทฺธมพฺภํ คคนํ สุรมฺมํ
|
| | มณิมเยหิ สมลงฺกตาว
|
| | ทิสา จ สพฺพา อติโรจยนฺติ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ท้องฟ้าปราศจากเมฆหมอก น่ารื่นรมย์ดี ทิศ
|
| ทุกทิศจะเป็นเหมือนประดับด้วยสิ่งที่ทำด้วยแก้วมณี
|
| รุ่งโรจน์อยู่ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
|
| สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๔๒. | คนฺธพฺพวิชฺชาธรกินฺนรา จ
|
| | สุคีติยนฺตา มธุรสฺสเรน
|
| | จรนฺติ ตสฺมึ ปวเน สุรมฺเม
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| เหล่าคนธรรพ์ พิทยาธร และกินนรขับร้องเพลง
|
| ด้วยเสียงอันไพเราะ พากันเที่ยวไปในป่าใหญ่ที่น่า
|
| รื่นรมย์นั้น ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
|
| สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๔๓. | กิเลสสงฺฆสฺส ภิตาสเกหิ
|
| | ตปสฺสิสงฺเฆหิ นิเสวิตํ วนํ
|
| | วิหารอารามสมิทฺธิภูตํ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| วนะอันหมู่ผู้มีตบะ ผู้กลัวแต่หมู่กิเลสของตนเอง
|
| ซ่องเสพแล้ว เป็นวิหาร เป็นอารามที่สำเร็จประโยชน์
|
| ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
|
| แล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๔๔. | สมิทฺธินานาผลิโน วนนฺตา
|
| | อนากุลา นิจฺจมโนภิรมฺมา
|
| | สมาธิปีตึ อภิวฑฺฒยนฺติ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| วนะให้สำเร็จผลต่างๆ ไม่อากูล เป็นที่น่ารื่นรมย์
|
| ยิ่งแห่งใจเป็นนิตย์ เพิ่มพูนสมาธิจิตและปีติ ข้าแต่
|
| พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
|
| พระเจ้าข้า.
|
| ๔๕. | นิเสวิตํ เนกทิเชหิ นิจฺจํ
|
| | คาเมน คามํ สตตํ วสนฺตา
|
| | ปุเร ปุเร คามวรา จ สนฺติ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| วนะอันฝูงนกเป็นอเนก ซ่องเสพอยู่เป็นนิตย์
|
| หมู่คนจากบ้านตำบลหนึ่ง สู่บ้านตำบลหนึ่ง ก็อยู่กัน
|
| เป็นประจำ หมู่บ้านทั้งหลาย ก็กลายเป็นแต่ละเมืองๆ
|
| ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
|
| แล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๔๖. | วตฺถนฺนปานํ สยนาสนญฺจ
|
| | คนฺธญฺจ มาลญฺจ วิเลปนญฺจ
|
| | ตหึ สมิทฺธา ชนตา พหู จ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ชุมชนเป็นอันมาก อาศัยผ้า ข้าวน้ำ ที่นั่งที่นอน
|
| ของหอม ดอกไม้และเครื่องลูบไล้ ก็สำเร็จประโยชน์
|
| อยู่กันในเมืองนั้น ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
|
| สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๔๗. | ปุญฺญิทฺธิยา สพฺพยสคฺคปตฺตา
|
| | ชนา จ ตสฺมึ สุขิตา สมิทฺธา
|
| | ปหูตโภคา วิวิธา วสนฺติ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ชนทั้งหลายถึงความเลิศแห่งยศทุกอย่าง ด้วย
|
| บุญฤทธิ์ มั่งคั่งมีโภคะต่าง ๆ อย่างเป็นอันมาก อยู่
|
| กันเป็นสุขในเมืองนั้น ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัย
|
| สมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๔๘. | นเภ จ อพฺภา สุวิสุทฺธวณฺณา
|
| | นิสา จ จนฺโท สุวิราชิโตว
|
| | รตฺติญฺจ วาโต มุทุสีตโล จ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| เมฆหมอกในท้องฟ้า ก็มีสีหมดจด ดวงจันทร์
|
| ก็ส่องแสงสว่างไปตลอดทิศ และยามราตรี ลมก็โชย
|
| อ่อนๆ เย็นๆ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
|
| สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๔๙. | จนฺทุคฺคเม สพฺพชนา ปหฏฺฐา
|
| | สกงฺคเณ จิตฺรกถา วทนฺตา
|
| | ปิเยหิ สทฺธึ อภิโมทยนฺติ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| พอดวงจันทร์โผล่ขึ้นมา ชนทั้งปวง ก็ร่าเริง
|
| สนทนากันแต่เรื่องที่ดีงาม ณ ลานบ้านของตน บันเทิง
|
| ยิ่งนักกับคนรักทั้งหลาย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัย
|
| สมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๕๐. | จนฺทสฺส รํสีหิ นภํ วิโรจิ
|
| | มหี จ สํสุทฺธมนุญฺญวณฺณา
|
| | ทิสา จ สพฺพา ปริสุทฺธรูปา
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| รัศมีแห่งดวงจันทร์ สว่างตลอดท้องฟ้า พื้น
|
| แผ่นพสุธา ก็มีสีสรรหมดจดน่าชื่นใจ และทิศทั้งหลาย
|
| ก็บริสุทธิ์ไปหมด ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
|
| สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า. |
| ๕๑. | ทูเร จ ทิสฺวา วรจนฺทรํสี
|
| | ปุปฺผึสุ ปุปฺผานิ มหีตลสฺมึ
|
| | สมนฺตโต คนฺธคุณตฺถิกานํ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| เพราะต้องรัศมีแห่งดวงจันทร์อันประเสริฐแต่ไกล
|
| ดอกไม้ทั้งหลาย บนผืนแผ่นดินโดยรอบ จึงแย้มบาน
|
| สำหรับคนทั้งหลายที่ต้องการคุณคือความหอม ข้าแต่
|
| พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
|
| พระเจ้าข้า.
|
| ๕๒. | จนทสฺส รํสีหิ วิลิมฺปิตาว
|
| | มหี สมนฺตา กุสุเมนลงฺกตา
|
| | วิโรจิ สพฺพงฺคสุมาลินีว
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| พื้นแผ่นดินถูกฉาบไว้ ด้วยรัศมีแห่งดวงจันทร์
|
| ประดับดอกไม้โดยรอบก็สง่างาม ดั่งสตรีประดับมาลัย
|
| งามทั่วสรรพางค์ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
|
| สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๕๓. | กุจนฺติ หตฺถีปิ มเทน มตฺตา
|
| | วิจิตฺตปิญฺฉา จ ทิชา สมนฺตา
|
| | กโรนฺติ นาทํ ปวเน สุรมฺเม
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| แม้ช้างทั้งหลาย เมามัน ก็ส่งเสียงโกญจนาท
|
| และเหล่านกที่มีขนหางงาม ก็ร้องลั่นรอบป่าใหญ่ ที่
|
| น่ารื่นรมย์ดี ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำ-
|
| หรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๕๔. | ปถญฺจ สพฺพํ ปฏิปชฺชนกฺขมํ
|
| | อิทฺธํ จ รฏฺฐํ สธนํ สโภคํ
|
| | สพฺพตฺถุตํ สพฺพสุขปฺปทานํ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| อนึ่ง หนทางทุกสายก็ควรแก่การเดิน ทั้งรัฐอาณา-
|
| จักรก็มั่งคั่ง มีทรัพย์ มีโภคะ มีทุกสิ่ง ให้ความสุขทุก
|
| อย่าง ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระ-
|
| อังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๕๕. | วนญฺจ สพฺพํ สุวิจิตฺตรูปํ
|
| | สุมาปิตํ นนฺทนกานนํว
|
| | ยตีน ปีตึ สตตํ ชเนติ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| วนะทุกวนะ ล้วนแต่งดงาม อันธรรมดาสร้าง
|
| สรรไว้ ประดุจสวนนันทนวัน ให้เกิดปีติแก่นักพรต
|
| ทั้งหลายเนือง ๆ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
|
| สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๕๖. | อลงฺกตํ เทวปุรํว รมฺมํ
|
| | กปิลวตถุ ํ อิติ นามเธยฺยํ
|
| | กุลนครํ อิธ สสฺสิริกํ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| พระนครของพระสกุล มีนามว่า กรุงกบิลพัศดุ์
|
| ประดับประดาน่ารื่นรมย์ ดุจเทพนคร เป็นพระนคร
|
| มีสิริสง่าในโลกนี้ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
|
| สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๕๗. | มนุญฺญฏฺฏาลวิจิตฺตรูปํ
|
| | สุผุลฺลปงฺเกรุหสณฺฑมณฺฑิตํ
|
| | วิจิตฺตปริขาหิ ปุรํ สุรมฺมํ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| พระนครงดงามด้วยหอรบน่าชื่นใจ ประดับด้วย
|
| บัวบานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์อย่างดี ด้วยค่ายคูอันวิจิตร
|
| ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี
|
| รสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๕๘. | วิจิตฺตปาการญฺจ โตรณญฺจ
|
| | สุภงฺคณํ เทวนิวาสภูตํ
|
| | มนุญฺญวิถิ สุรโลกสนฺนิภํ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ปราการอันวิจิตร เสาระเนียด และพระลานอัน
|
| งาม เป็นที่ประทับขององค์สมมติเทพ [พระมหา-
|
| กษัตริย์] ถนนที่น่าชื่นใจ ดุจดั่งเทวโลก ข้าแต่
|
| พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
|
| พระเจ้าข้า.
|
| ๕๙. | อลงฺกตา สากิยราชปุตตา
|
| | วิราชมานา วรภูสเนหิ
|
| | สุรินฺทโลเก อิว เทวปุตฺตา
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| เหล่าศากยราชบุตรแต่งพระองค์ งามรุ่งเรือง
|
| ด้วยเครื่องประดับอันประเสริฐ ประดุจเหล่าเทพบุตร
|
| ในภพอัมรินทร์ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
|
| สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๖๐. | สุทฺโธทโน มุนิวรํ อภิทสฺสนาย
|
| | อมจฺจปุตฺเต ทสธา อเปสยิ
|
| | พเลน สทฺธึ มหตา มุนินฺท
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ข้าแต่พระจอมมุนี พระเจ้าสุทโธทนะมหาราช มี
|
| พระราชประสงค์จะทรงพบพระจอมมุนี จึงทรงส่งบุตร
|
| อมาตย์ พร้อมด้วยกองกำลังขนาดใหญ่ ถึง ๑๐ ครั้ง
|
| ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี
|
| รสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๖๑. | เนวาคตํ ปสฺสติ เนว วาจํ
|
| | โสกาภิภูตํ นรวีรเสฏฺฐํ
|
| | โตเสตุมิจฺฉามิ นราธิปตฺตํ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ไม่ทรงเห็นพระองค์
|
| เสด็จมา ไม่ทรงได้ยินพระวาจา ข้าพระองค์ประสงค์
|
| จะปลอบพระองค์ผู้แกล้วกล้าผู้ประเสริฐสุดในนรชน
|
| ผู้เป็นเจ้าแห่งนรชน ซึ่งถูกความเศร้าโศกครอบงำแล้ว
|
| ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
|
| แล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๖๒. | ตํทสฺสเนนพฺภุตปีติราสิ
|
| | อุทิกฺขมานํ ทฺวิปทานมินฺทํ
|
| | โตเสหิ ตํ มุนินฺท คุณเสฏฺฐํ
|
| | สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
|
| ข้าแต่พระจอมมุนี ผู้มีกองปีติน่าอัศจรรย์ เพราะ
|
| การเห็นพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงปลอบ พระผู้
|
| เป็นเจ้าแห่งหมู่มนุษย์ ผู้มีพระคุณอันประเสริฐ ซึ่งตั้ง
|
| พระเนตรรอคอยพระองค์นั้นด้วยเถิด ข้าแต่พระมหา
|
| วีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
|
| ๖๓. | อาสาย กสฺสเต เขตฺตํ พีชํ อาสาย วปฺปติ
|
| | อาสาย วาณิชา ยนฺติ สมุทฺทํ ธนหารกา
|
| | ยาย อาสาย ติฏฺฐามิ สาเม อาสา สมิชฺฌตุ.
|
| ชาวนาไถนาก็ด้วยความหวัง หว่านพืชก็ด้วย
|
| ความหวัง พ่อค้านำทรัพย์ไปทางทะเลก็ด้วยความหวัง
|
| ข้าพระองค์ยืนหยัดอยู่ด้วยความหวังใด ขอความหวัง
|
| นั้นจงสำเร็จแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด.
|
| ๖๔. | นาติสีตํ นาติอุณฺหํ นาติทุพฺภิกฺขฉาตกํ
|
| | สทฺทลา หริตา ภูมิ เอส กาโล มหามุนี
|
| ข้าแต่พระมหามุนี ไม่หนาวนัก ไม่ร้อนนัก
|
| อาหารหาไม่ยากและไม่อดอยาก พื้นแผ่นดินเขียวขจี
|
| ด้วยหญ้าแพรก นี้เป็นกาลอันสมควรแล้ว พระเจ้าข้า. |