บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] หน้าต่างที่ ๒ / ๙. ข้อความเบื้องต้น แม่ไก่ผูกอาฆาตในนางกุมาริกา นางเคี้ยวกินไข่เต่านั้นแล้ว จำเดิมแต่นั้น ไม่ปรารถนาซึ่งของควรเคี้ยวอย่างอื่น. ครั้งนั้น มารดาของนางถือเอาไข่ฟองหนึ่งจากที่แม่ไก่ไข่แล้ว ได้ให้ (แก่นาง). นางเคี้ยวกินไข่ฟองนั้นแล้ว อันความอยากในรสผูกแล้ว จำเดิมแต่นั้น ก็ถือเอาไข่ไก่มาเคี้ยวกินเองทีเดียว. ในเวลาตกฟอง แม่ไก่เห็นกุมาริกานั้นถือเอาไข่ของตนเคี้ยวกินอยู่ ถูกกุมาริกานั้นเบียดเบียนแล้ว ผูกอาฆาต ตั้งความปรารถนาว่า "บัดนี้ เราเคลื่อนจากอัตภาพนี้แล้ว พึงเกิดเป็นยักษิณี เป็นผู้สามารถจะเคี้ยวกินทารกของเจ้า" ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นนางแมวในเรือนนั้นนั่นเอง. การจองเวรกันให้เกิดทุกข์ แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ ก็เคี้ยวกินแล้วเหมือนกัน. แม่ไก่ทำความปรารถนาว่า "เจ้าเคี้ยวกินฟองไข่ทั้งหลายของเราตลอด ๓ คราว บัดนี้ ยังปรารถนาจะเคี้ยวกินเรา เราเคลื่อนจากอัตภาพนี้แล้ว พึงได้เพื่อเคี้ยวกินเจ้าพร้อมทั้งลูก" เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดเป็นนางเสือเหลือง. ฝ่ายนางแมวนอกนี้ ทำกาละแล้วบังเกิดเป็นนางเนื้อ. ในเวลานางเนื้อนั้นคลอดแล้ว นางเสือเหลืองก็มาเคี้ยวกินนางเนื้อนั้นพร้อมด้วยลูกทั้งหลาย. สองสัตว์นั้นเคี้ยวกินอยู่อย่างนี้ ยังทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่กันและกันใน ๕๐๐ อัตภาพ ในที่สุด นางหนึ่งเกิดเป็นยักษิณี, นางหนึ่งเกิดเป็นกุลธิดาในเมืองสาวัตถี. เบื้องหน้าแต่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในพระคาถาว่า "น หิ เวเรน เวรานิ" เป็นอาทิ นั่นแล. แต่ในเรื่องนี้ พระศาสดาตรัสว่า "ก็เวรย่อมระงับด้วยความไม่มีเวร ย่อมไม่ระงับด้วยเวร" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ชนแม้ทั้งสอง จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ บาทพระคาถาว่า เวรสํสคฺคสํสฏฺโฐ ความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ระคนแล้วด้วยเครื่องระคน คือเวร อันตนทำให้แก่กันและกัน ด้วยสามารถแห่งการด่าและการด่าตอบ การประหารและการประหารตอบ เป็นต้น. บาทพระคาถาว่า เวรา โส น ปริมุจฺจติ ความว่า ย่อมถึงทุกข์อย่างเดียว ตลอดกาลเป็นนิตย์ ด้วยสามารถแห่งเวร. ในกาลจบเทศนา นางยักษิณีตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย สมาทานศีล ๕ พ้นแล้วจากเวร. ฝ่ายกุลธิดานอกนี้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล. เรื่องกุมาริกากินไข่ไก่ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปกิณณกวรรคที่ ๒๑ |