ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ว่าด้วยมหาปรินิพพาน

๓. มหาปรินิพพานสูตร
ว่าด้วยมหาปรินิพพาน
[๑๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร มีพระประสงค์จะเสด็จไป ปราบแคว้นวัชชี รับสั่งว่า “เราจะโค่นล้มพวกวัชชีผู้มีฤทธิ์๑- มากอย่างนี้ มีอานุภาพ๒- มากอย่างนี้ ให้พินาศย่อยยับ๓-” [๑๓๒] พระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร รับสั่ง เรียกวัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แคว้นมคธมาตรัสว่า “มาเถิด พราหมณ์ ท่านจง ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กราบพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลถาม ถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชาแห่งแคว้นมคธพระนาม ว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ขอกราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัย สมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และจงกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชาแห่งแคว้น มคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร มีพระประสงค์จะเสด็จไปปราบแคว้นวัชชี มีรับสั่งอย่างนี้ว่า ‘เราจะโค่นล้มพวกวัชชีผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ให้พินาศย่อยยับ’ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างไร ท่านพึงจำคำ พยากรณ์นั้นให้ดีแล้วมาบอกเรา เพราะว่าพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ตรัสคำเท็จ๔-” @เชิงอรรถ : @ ฤทธิ ในที่นี้หมายถึงความพร้อมเพรียงกัน (ที.ม.อ. ๑๓๑/๑๑๕) @ อานุภาพ ในที่นี้หมายถึงการได้รับการศึกษาฝึกฝนศิลปะต่างๆ เช่น ศิลปะเรื่องช้าง (ที.ม.อ. ๑๓๑/๑๑๕) @ ให้พินาศย่อยยับ ในที่นี้หมายถึงทำให้ไม่มี ให้ถึงความไม่เจริญ และให้ถึงความเสื่อมไปแห่งญาติ เป็นต้น @(ที.ม.อ. ๑๓๑/๑๑๕) @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๒๒/๓๒-๓๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ราชอปริหานิยธรรม

วัสสการพราหมณ์
[๑๓๓] วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แคว้นมคธ ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เทียมยานพาหนะคันงามๆ ขึ้นยานพาหนะคันงามๆ ออกจากกรุงราชคฤห์พร้อมด้วย ยานพาหนะคันงามๆ ติดตามอีกหลายคันไปยังภูเขาคิชฌกูฏ จนสุดทางที่ยานพาหนะ จะเข้าไปได้ ลงจากยานพาหนะเดินเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ขอกราบพระยุคลบาทของพระโคดมด้วยพระเศียร ทูลถาม ถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ พระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร มีพระประสงค์ จะเสด็จไปปราบแคว้นวัชชี มีรับสั่งอย่างนี้ว่า ‘เราจะโค่นล้มพวกวัชชีผู้มีฤทธิ์มาก อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ให้พินาศย่อยยับ”
ราชอปริหานิยธรรม
[๑๓๔] สมัยนั้น ท่านพระอานนท์ยืนถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคอยู่ ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า ๑. “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุม กันมากครั้ง” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันมากครั้ง” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญ อย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันมากครั้ง” ๒. “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อม เพรียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีจะพึงทำ” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีพร้อมเพรียงกัน ประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีจะพึงทำ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ราชอปริหานิยธรรม

“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และ พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีจะพึงทำ” ๓. “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม๑-” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้ บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม” ๔. “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชา เจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากของชาววัชชี และสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่าเป็น สิ่งควรรับฟัง” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากของชาววัชชี และสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้น ว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง” “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมาก ของชาววัชชี และสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง” ๕. “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีไม่ฉุดคร่าขืนใจกุลสตรี หรือกุลกุมารี ให้อยู่ร่วมด้วย” @เชิงอรรถ : @ วัชชีธรรมที่วางไว้เดิม หมายถึงประเพณีที่สืบต่อกันมานาน เช่น จับผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโจร ผู้จับจะไม่ @สอบสวนเอง แต่จะส่งให้ฝ่ายสอบสวน ฝ่ายสอบสวนสืบสวนแล้วรู้ว่าไม่ใช่ก็ปล่อย ถ้ายังสงสัยก็ส่งต่อขึ้นไป @ตามลำดับชั้น บางกรณีอาจส่งถึงเสนาบดี บางกรณีอาจส่งถึงพระราชาเพื่อทรงวินิจฉัย (ที.ม.อ. ๑๓๔/๑๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ราชอปริหานิยธรรม

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีไม่ฉุดคร่าขืนใจ กุลสตรี หรือกุลกุมารีให้อยู่ร่วมด้วย” “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังไม่ฉุดคร่าขืนใจกุลสตรี หรือกุลกุมารีให้อยู่ร่วมด้วย” ๖. “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชา เจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอัน ชอบธรรมที่เคยให้เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลย การบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป” “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชี ทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้เคยกระทำต่อ เจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป” ๗. “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีจัดการรักษา คุ้มครอง ป้องกัน พระอรหันต์ทั้งหลายโดยชอบธรรมด้วยตั้งใจว่า ‘ทำอย่างไร พระอรหันต์ที่ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้นของเรา ท่านที่มาแล้วพึงอยู่อย่างผาสุกในแว่นแคว้น” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีจัดการรักษา คุ้มครอง ป้องกันพระอรหันต์ทั้งหลายโดยชอบธรรมด้วยตั้งใจว่า ‘ทำอย่างไร พระอรหันต์ที่ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้นของเรา ท่านที่มาแล้วพึงอยู่อย่างผาสุกใน แว่นแคว้น” “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังจัดการรักษา คุ้มครอง ป้องกันพระอรหันต์ทั้งหลาย โดยชอบธรรมด้วยตั้งใจว่า ‘ทำอย่างไร พระอรหันต์ที่ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้น ของเรา ท่านที่มาแล้วพึงอยู่อย่างผาสุกในแว่นแคว้น” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ภิกขุอปริหานิยธรรม

[๑๓๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับวัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ แคว้นมคธว่า “พราหมณ์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่สารันทเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ได้แสดง อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ แก่พวกเจ้าวัชชี พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญ อย่างเดียวไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แคว้นมคธ ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกเจ้าวัชชีมีอปริหานิยธรรมแม้เพียง ข้อเดียวก็พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวไม่มีความเสื่อมเลย ไม่จำต้องกล่าวว่า มีครบทั้ง ๗ ประการ ข้าแต่ท่านพระโคดม พระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ไม่ควรทำสงครามกับพวกเจ้าวัชชี นอกจากจะใช้วิธี ปรองดองทางการทูต หรือไม่ก็ทำให้แตกสามัคคีกัน ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าอย่างนั้น บัดนี้ ข้าพระองค์ขอทูลลากลับ เพราะมีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ขอท่านจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” จากนั้น วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แคว้นมคธมีใจยินดีชื่นชมพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากที่นั่งจากไป
ภิกขุอปริหานิยธรรม๑-
[๑๓๖] เมื่อวัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แคว้นมคธจากไปไม่นาน พระผู้มี พระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงไปนิมนต์ภิกษุที่เข้า มาพักอยู่ในกรุงราชคฤห์ทุกรูปให้มาประชุมกันที่หอฉัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว นิมนต์ภิกษุที่เข้ามาพักอยู่ในกรุง ราชคฤห์ทุกรูปให้มาประชุมกันที่หอฉันแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๒๓-๒๗/๓๗-๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ภิกขุอปริหานิยธรรม

พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงลุกจากพุทธอาสน์ เสด็จเข้าไปยังหอฉัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย เราจะแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี พระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญ๑- อย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันมากครั้ง ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิก ประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะพึงทำ ๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังไม่บัญญัติสิ่งที่เรามิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่ง ที่เราได้บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นตามสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แล้ว ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู๒- บวชมานาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก และ สำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง @เชิงอรรถ : @ ความเจริญ ในที่นี้หมายถึงความเจริญด้วยคุณธรรมมีศีลเป็นต้น (ที.ม.อ. ๑๓๖/๑๒๖) @ เป็นเถระ ในที่นี้หมายถึงเป็นผู้มีความมั่นคง (ถิรภาวะ) ในพระศาสนา ไม่หวนคืนไปสู่เพศคฤหัสถ์อีก ประกอบ @ด้วยคุณธรรมที่ให้เป็นพระเถระคือศีลเป็นต้น รัตตัญญู เป็นตำแหน่งเอตทัคคะที่พระอัญญาโกณฑัญญะ @ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้ามีความหมายว่ารู้ราตรีนาน คือบวชรู้แจ้งธรรม และเป็นพระขีณาสพก่อน @พระสาวกทั้งหลาย (ที.ม.อ. ๑๓๖/๑๒๖, ที.ม.ฏีกา ๑๓๖/๑๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ภิกขุอปริหานิยธรรม

๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหาก่อให้เกิดภพใหม่ ที่เกิดขึ้นแล้ว ๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็นผู้มุ่งหวังเสนาสนะป่า ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังตั้งสติไว้ในภายในว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อน พรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลงามที่ยังไม่มา พึงมา ท่านที่มาแล้ว พึงอยู่อย่างผาสุก’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ [๑๓๗] ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการอีกหมวดหนึ่ง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการงาน๑- ไม่ยินดีการงาน ไม่หมั่น ประกอบความเป็นผู้ชอบการงาน ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย๒- ไม่ยินดีการพูดคุย ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการพูดคุย @เชิงอรรถ : @ ไม่ชอบการงาน ในที่นี้หมายถึงไม่เพลิดเพลินอยู่ด้วยการทำงาน เช่น การทำจีวร การทำผ้ากรองน้ำ @จนไม่มีเวลาบำเพ็ญสมณธรรม เช่น ถ้าท่านรู้จักแบ่งเวลา ถึงเวลาเรียนก็เข้าเรียน ถึงเวลาสวดมนต์ก็สวด @ถึงเวลาเจริญภาวนาก็เจริญ ไม่ถือว่า ชอบการงาน (ที.ม.อ. ๑๓๗/๑๒๘) @ ไม่ชอบการพูดคุย หมายถึงไม่ชอบพูดคุยเรื่องนอกธรรมนอกวินัยตลอดทั้งวัน เช่น เรื่องผู้หญิง @ถ้าสนทนาธรรมเพื่อแก้ปัญหา ไม่ถือว่า ชอบการพูดคุย (ที.ม.อ. ๑๓๗/๑๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ภิกขุอปริหานิยธรรม

๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ไม่ยินดีการนอนหลับ ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีการ คลุกคลีด้วยหมู่ ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลี ด้วยหมู่ ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่มีความปรารถนาชั่ว ไม่ตกไปสู่อำนาจ ของความปรารถนาชั่ว ๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังไม่มีมิตรชั่ว ไม่มีสหายชั่ว ไม่มีเพื่อนชั่ว ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังไม่ถึงความหยุดชะงักในระหว่างเพียงเพราะบรรลุ คุณวิเศษชั้นต่ำ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ [๑๓๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการอีกหมวดหนึ่ง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีศรัทธา๑- @เชิงอรรถ : @ ศรัทธา แปลว่าความเชื่อ มี ๔ อย่างคือ (๑) อาคมนียะ (ศรัทธาของพระโพธิสัตว์ ผู้บำเพ็ญเพื่อ @พระสัพพัญญุตญาณ) (๒) อธิคมะ (ศรัทธาของพระอริยบุคคล) (๓) ปสาทะ (ศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม @และพระสงฆ์) (๔) โอกัปปนะ (ศรัทธาอย่างมั่นคง) แต่ในที่นี้หมายถึงปสาทะและโอกัปปนะเท่านั้น @(ที.ม.อ. ๑๓๘/๑๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ภิกขุอปริหานิยธรรม

๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีหิริ ๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีโอตตัปปะ ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็นพหูสูต๑- ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังปรารภความเพียร๒- ๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีสติตั้งมั่น ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีปัญญา ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ [๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการอีกหมวดหนึ่ง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่ง การตรัสรู้คือความระลึกได้) ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์ แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม) @เชิงอรรถ : @ พหูสูต แปลว่า ผู้ฟังมามาก มี ๒ อย่าง คือ (๑) ปริยัตติพหูสูต (แตกฉานในพระไตรปิฎก) (๒) ปฏิเวธ- @พหูสูต (บรรลุสัจจะทั้งหลาย) พหูสูตในที่นี้หมายถึงปริยัตติพหูสูต (ที.ม.อ. ๑๓๘/๑๓๐) @ ปรารภความเพียร หมายถึงบำเพ็ญเพียรทั้งทางกายทั้งทางจิต ความเพียรทางกาย คือ เว้นการคลุกคลี @ด้วยหมู่คณะ เป็นอยู่โดดเดี่ยว ความเพียรทางจิต คือ บรรเทาความฟุ้งซ่านแห่งจิต (ที.ม.อ. ๑๓๘/๑๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ภิกขุอปริหานิยธรรม

๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่ง การตรัสรู้คือความเพียร) ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่ง การตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์ แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ๖. ภิกษุพึงหวังได้ แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่ง การตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์ แห่งการตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ [๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการอีกหมวดหนึ่ง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่ เที่ยงแห่งสังขาร) ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็น อนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ภิกขุอปริหานิยธรรม

๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งาม แห่งกาย) ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอาทีนวสัญญา (กำหนดหมายทุกข์โทษ ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่างๆ) ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละ อกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย) ๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญวิราคสัญญา(กำหนดหมายวิราคะว่าเป็น ธรรมละเอียดประณีต) ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญนิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็น ธรรมละเอียดประณีต) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ [๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอปริหานิยธรรมอีกหมวดหนึ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังตั้งมั่นเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ๑- @เชิงอรรถ : @ ในที่แจ้งและในที่ลับ ในที่นี้หมายถึงทั้งต่อหน้าและลับหลัง (ที.ม.อ. ๑๔๑/๑๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ภิกขุอปริหานิยธรรม

๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังตั้งมั่นเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจารี ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังตั้งเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารี ทั้งใน ที่แจ้งและในที่ลับ ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีการบริโภคโดยไม่แบ่งแยกลาภทั้งหลายอัน ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต (อาหารในบาตร) บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท๑- ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอริยทิฏฐิอันเป็นธรรมเครื่องนำออกเพื่อ ความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารี ทั้งหลายทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๖ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม ทั้ง ๖ ประการนี้อยู่” @เชิงอรรถ : @ เป็นไท ในที่นี้หมายถึงไม่เป็นทาสของตัณหา (ที.ม.อ. ๑๔๑/๑๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ภิกขุอปริหานิยธรรม

[๑๔๒] ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง ราชคฤห์ ทรงแสดงธรรมีกถาเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า “ศีลมีลักษณะ อย่างนี้ สมาธิมีลักษณะอย่างนี้ ปัญญามีลักษณะอย่างนี้ สมาธิอันบุคคลอบรม โดยมีศีลเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิ เป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้นโดยชอบจากอาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ” [๑๔๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในกรุง ราชคฤห์ รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยัง อัมพลัฏฐิกาวันกัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุ สงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จไปถึงอัมพลัฏฐิกาวัน ประทับอยู่ที่พระตำหนักหลวงในอัมพลัฏฐิกาวัน ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ที่พระตำหนักหลวงในอัมพลัฏฐิกาวัน ทรงแสดงธรรมีกถาเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า “ศีลมีลักษณะอย่างนี้ สมาธิมีลักษณะอย่างนี้ ปัญญามีลักษณะอย่างนี้ สมาธิอันบุคคลอบรมโดยมีศีล เป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้น โดยชอบจากอาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ” [๑๔๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในอัมพ- ลัฏฐิกาวัน รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยัง เมืองนาฬันทากัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่เสด็จไปถึงเมืองนาฬันทา ประทับอยู่ที่ปาวาริกัมพวัน เขตเมืองนาฬันทานั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ท่านพระสารีบุตรบันลือสีหนาท

ท่านพระสารีบุตรบันลือสีหนาท๑-
[๑๔๕] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่น ซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณยิ่งกว่า พระผู้มีพระภาค” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอกล่าวอาสภิวาจา (วาจาอย่างองอาจ) อย่างสูง เธอถือเอาด้านเดียว บันลือสีหนาทว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือ พราหมณ์ผู้อื่น ซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค’ สารีบุตร เธอกำหนดรู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกพระองค์ในอดีตกาลด้วยใจของตนแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค เหล่านั้นจึงทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรม อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะ เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้” ท่านพระสารีบุตรทูลตอบว่า “หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า” “สารีบุตร เธอกำหนดรู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกพระองค์ในอนาคตกาลด้วยใจของตนแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคเหล่านั้นจักทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จักทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีปัญญา อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๓๗๘/๒๓๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ท่านพระสารีบุตรบันลือสีหนาท

“หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า” “สารีบุตร เธอกำหนดรู้ใจเราผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ด้วยใจของตนแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นเครื่อง อยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้” “หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า” “สารีบุตร ก็ในเรื่องนี้ เธอไม่มีเจโตปริยญาณ๑- ในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนั้น บัดนี้ ไฉนเธอกล่าวอาสภิวาจา เธอถือเอาด้านเดียวบันลือสีหนาทว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใส พระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่น ซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค” [๑๔๖] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงแม้ว่า ข้าพระองค์จะไม่มีเจโตปริยญาณในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน แต่ข้าพระองค์ก็รู้วิธีการอนุมาน เปรียบเหมือนเมืองชายแดนของ พระเจ้าแผ่นดินมีรากฐานมั่นคง มีกำแพงแข็งแรง มีป้อมค่ายแข็งแรง มีประตูเดียว นายประตูของเมืองนั้นเป็นคนเฉลียวฉลาด หลักแหลม ห้ามคนที่ไม่รู้จัก อนุญาตให้ คนที่รู้จักเข้าไปได้ เขาเดินสำรวจดูหนทางตามลำดับรอบเมืองนั้น ไม่เห็นรอยต่อ หรือช่องกำแพงโดยที่สุดแม้เพียงที่ที่พอแมวลอดออกได้ เขาย่อมรู้ว่า ‘สัตว์ใหญ่ ทุกชนิดเมื่อจะเข้าหรือออกเมืองนี้ ก็จะเข้าหรือออกทางประตูนี้เท่านั้น’ แม้ฉันใด วิธีการอนุมานก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอดีตกาล ทรงละนิวรณ์ ๕ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ @เชิงอรรถ : @ เจโตปริยญาณ หมายถึงปรีชากำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ คือ รู้ใจผู้อื่น อ่านความคิดของเขาได้ เช่นรู้ว่าเขากำลัง @คิดอะไรอยู่ ใจเขาเศร้าหมองหรือผ่องใส เป็นต้น (ที.สี. (แปล) ๙/๒๔๒/๘๐-๘๑, ๔๗๖/๒๐๘-๒๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

โทษของคนทุศีล ๕ ประการ

ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตาม ความเป็นจริง ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว แม้พระผู้มีพระภาคอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอนาคตกาล ก็จักทรงละนิวรณ์ ๕ ที่เป็นเครื่องเศร้า หมองใจ ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง จักตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แม้พระผู้มีพระภาค- อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ทรงละนิวรณ์ ๕ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตาม ความเป็นจริง ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระพุทธเจ้าข้า” [๑๔๗] ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ในปาวาริกัมพวัน เขตเมือง นาฬันทา ทรงแสดงธรรมีกถาเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า “ศีลมีลักษณะ อย่างนี้ สมาธิมีลักษณะอย่างนี้ ปัญญามีลักษณะอย่างนี้ สมาธิอันบุคคลอบรมโดย มีศีลเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิ เป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้นโดยชอบจากอาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ”
โทษของคนทุศีล ๕ ประการ๑-
[๑๔๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัย ในเมือง นาฬันทา รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยัง ปาฏลิคามกัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุ- สงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จไปถึงปาฏลิคาม พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามได้ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงปาฏลิคาม” จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๘๕/๙๗-๙๘, ขุ.อุ. ๒๕/๗๖/๒๐๙-๒๒๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

โทษของคนทุศีล ๕ ประการ

พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคโปรดทรงรับเรือนพักแรมของพวกข้าพระองค์ ด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคาม ทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับ นิมนต์แล้วจึงลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณเข้าไป ยังเรือนพักแรมแล้ว ปูเครื่องลาดทั่วเรือนพักแรมแล้ว ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันไว้ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้า พระองค์ได้ปูเครื่องลาดทั่วเรือนพักแรมแล้ว ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีป น้ำมันไว้แล้ว ขอพระองค์จงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า” ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าไปยังเรือนพักแรม ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าสู่เรือน พักแรม ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ฝ่ายภิกษุสงฆ์ล้างเท้าแล้ว เข้าสู่เรือนพักแรม นั่งพิงฝาด้านทิศตะวันตก ผินหน้าไปทางทิศตะวันออกอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระผู้มีพระภาค ส่วนอุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามล้างเท้าแล้ว เข้าสู่เรือนพักแรม นั่งพิงฝา ด้านทิศตะวันออก ผินหน้าไปทางทิศตะวันตกอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค [๑๔๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกอุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคาม มาตรัสว่า “คหบดีทั้งหลาย ศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล มีโทษ ๕ ประการนี้ โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมถึงความเสื่อมโภคทรัพย์ เป็นอันมาก ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษประการที่ ๑ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๒. กิตติศัพท์อันชั่วของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็น โทษประการที่ ๒ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

อานิสงส์ของคนมีศีล ๕ ประการ

๓. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติจะเข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัท ก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัท ก็ตาม ย่อมไม่แกล้วกล้า เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นโทษประการที่ ๓ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๔. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมหลงลืมสติตาย นี้เป็นโทษประการ ที่ ๔ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๕. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษประการที่ ๕ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล “คหบดีทั้งหลาย ศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล มีโทษ ๕ ประการนี้แล
อานิสงส์ของคนมีศีล ๕ ประการ
[๑๕๐] คหบดีทั้งหลาย ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้ อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมมีโภคทรัพย์เป็นอันมาก ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่ง ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๒. กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมขจรไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๓. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล จะเข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็น ขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๓ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๔. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมไม่หลงลืมสติตาย นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๔ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

การสร้างเมืองปาฏลีบุตร

๕. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดใน สุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ แห่งศีลสมบัติของ บุคคลผู้มีศีล คหบดีทั้งหลาย ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล๑- [๑๕๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคาม เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาเกือบตลอดคืน ทรงส่งกลับด้วยพระดำรัสว่า “คหบดี ทั้งหลาย ราตรีผ่านไปมากแล้ว๒- ขอท่านทั้งหลายจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามทูลรับสนองพระดำรัสแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป เมื่ออุบาสกอุบาสิกา ชาวปาฏลิคามเหล่านั้นจากไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังเรือนว่าง
การสร้างเมืองปาฏลีบุตร๓-
[๑๕๒] สมัยนั้น มหาอำมาตย์สุนีธะและมหาอำมาตย์วัสสการะชาวแคว้นมคธ สร้างเมืองในปาฏลิคามเพื่อป้องกันพวกเจ้าวัชชี เทวดาจำนวนมากจับจองที่เป็นพันๆ แห่ง ในปาฏลิคาม จิตของพระราชาและราชมหาอำมาตย์ที่มีศักดิ์ใหญ่ ย่อมน้อมไป เพื่อจะสร้างนิเวศน์ในที่ที่เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่จับจอง จิตของพระราชาและราช- มหาอำมาตย์ที่มีศักดิ์ปานกลาง ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในที่ที่เทวดาผู้มีศักดิ์ ปานกลางจับจอง จิตของพระราชาและราชมหาอำมาตย์ที่มีศักดิ์น้อย ย่อมน้อมไป เพื่อจะสร้างนิเวศน์ในที่ที่เทวดาผู้มีศักดิ์น้อยจับจอง๔- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๑๓/๓๕๕-๓๕๖ @ ราตรีผ่านไปมากแล้ว หมายถึงเกือบจะสว่างนั่นเอง (ที.ม.อ. ๑๕๑/๑๔๐-๑๔๑) @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๘๖/๑๐๐-๑๐๑ @ ทราบว่า เทวดาเหล่านี้ เข้าสิงในร่างของคนผู้เชี่ยวชาญวิชาดูพื้นที่ แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้น บอกว่า @ควรจะสร้างบ้านเมืองที่นั้นที่นี้ ด้วยประสงค์จะให้พระราชาและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ มีศักดิ์ปานกลาง @มีศักดิ์น้อยใกล้ชิดกับตน และทำสักการะสมควรแก่ตน (วิ.อ. ๓/๒๘๖/๑๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

การสร้างเมืองปาฏลีบุตร

พระผู้มีพระภาคทรงเห็นเทวดาจำนวนมากเหล่านั้น พากันจับจองที่เป็น พันๆ แห่ง ในปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ครั้นในเวลาเช้า เมื่อเสด็จลุกขึ้น รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า “อานนท์ ใครจะสร้าง เมืองในปาฏลิคาม” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “มหาอำมาตย์สุนีธะและมหาอำมาตย์วัสสการะ ชาวแคว้นมคธกำลังจะสร้างเมืองในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันพวกเจ้าวัชชี พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาอำมาตย์สุนีธะและมหาอำมาตย์วัสสการะชาว แคว้นมคธ จะสร้างเมืองในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันพวกเจ้าวัชชี เหมือนได้ปรึกษา กับพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว ณ ที่นี้ เราได้เห็นเทวดาจำนวนมากพากันจับจองที่ เป็นพันๆ แห่ง ในปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ จิตของ พระราชาและราชมหาอำมาตย์ที่มีศักดิ์ใหญ่ ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในที่ที่ เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่จับจอง จิตของพระราชาและราชมหาอำมาตย์ที่มีศักดิ์ปานกลาง ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในที่ที่เทวดาผู้มีศักดิ์ปานกลางจับจอง จิตของพระราชา และราชมหาอำมาตย์ที่มีศักดิ์น้อย ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในที่ที่เทวดาผู้มี ศักกดิ์น้อยจับจอง ตราบใดที่ยังเป็นแดนที่อารยชนติดต่อกันอยู่ ตราบใดที่ยังเป็นเส้น ทางค้าขาย ตราบนั้น เมืองปาฏลีบุตรนี้ยังจะเป็นเมืองชั้นเยี่ยม เป็นย่านการค้าอยู่ ต่อไป แต่เมืองปาฏลีบุตรนั้นจะมีอันตราย ๓ อย่าง คือ อันตรายจากไฟ อันตราย จากน้ำ หรืออันตรายจากการแตกความสามัคคี” [๑๕๓] ต่อมา มหาอำมาตย์สุนีธะและมหาอำมาตย์วัสสการะชาวแคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอท่านพระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดรับภัตตาหาร ของพวกข้าพระองค์ในวันนี้เถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๙๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

การสร้างเมืองปาฏลีบุตร

เมื่อมหาอำมาตย์สุนีธะและมหาอำมาตย์วัสสการะชาวแคว้นมคธทราบพระอาการ ที่พระผู้พระภาคทรงรับนิมนต์แล้วจึงเข้าไปยังที่พักของตน สั่งให้จัดเตรียมของขบฉัน อันประณีตไว้ในที่พักของตนแล้วให้คนไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคว่า “ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า” ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร๑- พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าไปยังที่พักของมหาอำมาตย์สุนีธะและมหาอำมาตย์ วัสสการะชาวแคว้นมคธ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว มหาอำมาตย์ ทั้งสองได้นำของขบฉันอันประณีตประเคนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน ให้อิ่มหนำด้วยมือของตนๆ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จวางพระหัตถ์จากบาตร มหาอำมาตย์สุนีธะและมหาอำมาตย์วัสสการะชาวแคว้นมคธเลือกที่นั่ง ณ ที่สมควรที่ ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า “บัณฑิตอยู่ในที่ใด เลี้ยงดูท่านผู้มีศีล ผู้สำรวม ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ตนอยู่นั้น พึงอุทิศทักษิณา๒- แก่เหล่าเทวดาผู้สถิตอยู่ในที่นั้น เทวดาเหล่านั้นอันเขาบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบ อันเขานับถือแล้ว ย่อมนับถือเขาตอบ จากนั้นย่อมอนุเคราะห์บัณฑิตนั้นเป็นการตอบแทน ดุจมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้เกิดแต่อก๓- ดังนั้น ผู้ที่เทวดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมพบเห็นแต่สิ่งที่เจริญทุกเมื่อ” @เชิงอรรถ : @ ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เป็นสำนวนแสดงประเพณีในการเข้าบ้าน นี้มิใช่ว่าก่อนหน้านี้ พระผู้มี @พระภาคมิได้ทรงนุ่งสบง ถือบาตรและจีวรไปโดยเปลือยพระวรกายส่วนบน ครองอันตรวาสก หมายถึง @พระผู้มีพระภาคทรงผลัดเปลี่ยนสบงหรือขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้กระชับ ถือบาตรและจีวร หมายถึงทรงถือ @บาตรด้วยพระหัตถ์ ทรงถือจีวรด้วยพระวรกาย คือ ห่มจีวรอุ้มบาตรนั่นเอง (วิ.อ. ๑/๑๖/๑๘๐, @ที.ม.อ. ๑๕๓/๑๔๓, ที.ม.ฏีกา ๑๕๓/๑๗๑) @ พึงอุทิศทักษิณา หมายถึงพึงให้ส่วนบุญ (ที.ม.อ. ๑๕๓/๑๔๓) @ บุตรผู้เกิดแต่อก หมายถึงบุตรที่มารดาเลี้ยงดูให้เจริญอยู่แนบอก (ที.ม.อ. ๑๕๓/๑๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

การสร้างเมืองปาฏลีบุตร

ครั้นทรงอนุโมทนาแก่มหาอำมาตย์สุนีธะและมหาอำมาตย์วัสสการะชาวแคว้น มคธด้วยพระคาถาเหล่านี้ ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จจากไป [๑๕๔] ลำดับนั้น มหาอำมาตย์สุนีธะและมหาอำมาตย์วัสสการะชาวแคว้นมคธ ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปเบื้องพระปฤษฎางค์ ด้วยคิดว่า “ประตูที่ท่านพระสมณ- โคดมเสด็จออกไปในวันนี้จะมีชื่อว่าประตูพระโคดม ท่าที่พระองค์เสด็จข้ามแม่น้ำ คงคาจะมีชื่อว่าท่าพระโคดม” ต่อมา ประตูที่พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจึงได้มีชื่อว่า ประตูพระโคดม คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปใกล้แม่น้ำคงคา เวลานั้น แม่น้ำคงคาเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม)ดื่มกินได้ คนทั้งหลายผู้ปรารถนาจะข้ามฟาก บางพวกเที่ยวหาเรือ บางพวกเที่ยวหาแพ บางพวกผูกทุ่น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทรง หายไปจากฝั่งนี้แห่งแม่น้ำคงคาไปปรากฏที่ฝั่งโน้น เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออก หรือคู้แขนเข้าฉะนั้น พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรคนเหล่านั้นผู้ปรารถนาจะข้ามฟาก บางพวก เที่ยวหาเรือ บางพวกเที่ยวหาแพ บางพวกผูกทุ่น เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบ ความนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า “คนพวกหนึ่งกำลังสร้างสะพาน๑- ข้ามสระ๒- ใหญ่ โดยมิให้แปดเปื้อนด้วยโคลนตม ขณะที่คนอีกพวกหนึ่งกำลังผูกทุ่นอยู่ ชนผู้ฉลาดได้ข้ามพ้นไปแล้ว”
ภาณวารที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ สะพาน หมายถึงอริยมรรค (ที.ม.อ. ๑๕๔/๑๔๔) @ สระ หมายถึงตัณหา (ที.ม.อ. ๑๕๔/๑๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องอริยสัจ ๔ ประการ

เรื่องอริยสัจ ๔ ประการ๑-
[๑๕๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังโกฏิคามกัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงโกฏิคาม ประทับอยู่ที่โกฏิคามนั้น รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ ประการ เราและเธอ ทั้งหลายจึงเที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้ อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดทุกขอริยสัจ เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้ ๒. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดทุกขสมุทยอริยสัจ เราและเธอทั้งหลาย จึงเที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้ ๓. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดทุกขนิโรธอริยสัจ เราและเธอทั้งหลายจึง เที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้ ๔. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราและ เธอทั้งหลายจึงเที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดทุกขอริยสัจ เราและเธอ ทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดทุกขสมุทยอริยสัจ เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอด ทุกขนิโรธอริยสัจ เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราและเธอทั้งหลายถอนภวตัณหาได้แล้ว ภวเนตติ๒- สิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”๓- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๘๗/๑๐๓-๑๐๔, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๙๑/๖๐๕ @ ภวเนตติ หมายถึงตัณหานำไปสู่ภพ ตัณหาประดุจเชือกซึ่งสามารถนำสัตว์ออกจากภพไปสู่ภพ @(ที.ม.อ. ๑๕๕/๑๔๔, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑/๒๗๙) @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑/๑-๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ความไม่หวนกลับมาและจะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า “เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง เราและเธอทั้งหลาย จึงท่องเที่ยวไป ในชาตินั้นๆ ตลอดกาลยาวนาน แต่เพราะได้เห็นอริยสัจ ๔ เราและเธอทั้งหลายจึงถอนภวเนตติได้ ตัดรากเหง้าแห่งทุกข์ได้เด็ดขาด บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก” ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ที่โกฏิคาม ทรงแสดงธรรมีกถา เป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า “ศีลมีลักษณะอย่างนี้ สมาธิมีลักษณะ อย่างนี้ ปัญญามีลักษณะอย่างนี้ สมาธิอันบุคคลอบรมโดยมีศีลเป็นฐาน ย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้นโดยชอบจาก อาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ”
ความไม่หวนกลับมาและจะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า๑-
[๑๕๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในโกฏิคาม รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังนาทิกคามกัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่เสด็จถึงนาทิกคาม ประทับอยู่ที่พระตำหนักอิฐ ในนาทิกคาม ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๐๔-๑๐๐๖/๕๐๕-๕๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ความไม่หวนกลับมาและจะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสาฬหะที่มรณภาพในนาทิกคาม มีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้าเป็นอย่างไร ภิกษุณีนันทาที่มรณภาพในนาทิกคาม มีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้าเป็นอย่างไร อุบาสกสุทัตตะที่ดับชีพในนาทิกคาม มีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้าเป็นอย่างไร อุบาสิกาสุชาดาที่ดับชีพในนาทิกคาม มีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้าเป็นอย่างไร อุบาสกกกุธะที่ดับชีพในนาทิกคาม มีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้าเป็นอย่างไร อุบาสกการฬิมภะ ฯลฯ อุบาสกนิกฏะ ฯลฯ อุบาสกกฏิสสหะ ฯลฯ อุบาสกตุฏฐะ ฯลฯ อุบาสกสันตุฏฐะ ฯลฯ อุบาสกภฏะ ฯลฯ อุบาสกสุภฏะที่ดับชีพในนาทิกคาม มีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้าเป็นอย่างไร [๑๕๗] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุสาฬหะ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุณีนันทาเป็นโอปปาติกะ๑- เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก อุบาสกสุทัตตะเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะ ราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่ภพนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ อุบาสิกาสุชาดาเป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป ไม่มีทาง ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๒- ในวันข้างหน้า อุบาสกกกุธะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก @เชิงอรรถ : @ โอปปาติกะ หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพ เช่น @เทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. ๑๗๑/๑๔๙) แต่ในที่นี้หมายถึงพระอนาคามีที่เกิดในภพชั้นสุทธาวาส @(ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) ๕ ชั้นมีชั้นอวิหา เป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้นนั้นๆ ปรินิพพานสิ้นกิเลสใน @ภพชั้นสุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗-๘๘/๒๔๒-๒๔๓) @ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๓ เบื้องสูง (สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) @(ที.ม.อ. ๑๕๗/๑๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ความไม่หวนกลับมาและจะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า

อุบาสกการฬิมภะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก อุบาสกนิกฏะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก อุบาสกกฏิสสหะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก อุบาสกตุฏฐะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก อุบาสกสันตุฏฐะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก อุบาสกภฏะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก อุบาสกสุภฏะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก อุบาสกในนาทิกคามอีก ๕๐ คน ดับชีพแล้วเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์ เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก อุบาสกในนาทิกคามอีก ๙๖ คน ดับชีพแล้วเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ อุบาสกในนาทิกคามอีก ๕๑๐ คน ดับชีพแล้วเป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

หลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม

หลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม
[๑๕๘] อานนท์ ข้อที่บุคคลเกิดเป็นมนุษย์แล้วดับชีพนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เมื่อผู้นั้นๆ ดับชีพแล้ว พวกเธอเข้ามาหาตถาคตถามเรื่องนั้น นั่นเป็นการรบกวน ตถาคต ฉะนั้น เราจะแสดงหลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม๑- เป็นเครื่องมือให้อริยสาวก มีไว้ เมื่อประสงค์ก็จะพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า ‘เราหมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิด ในนรก หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดใน แดนเปรต หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในอบาย ทุคติ และวินิบาตแล้ว เราเป็นพระ โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ [๑๕๙] หลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม เป็นเครื่องมือให้อริยสาวกมีไว้ เมื่อ ประสงค์ ก็จะพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า ‘เราหมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในนรก หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในแดน เปรต หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในอบาย ทุคติ และวินิบาตแล้ว เราเป็นพระ โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า‘ คือ อะไร คือ พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า “แม้ เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ ผู้มีพระภาค” ๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า “พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๒- ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้า มาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” @เชิงอรรถ : @ แว่นธรรม หมายถึงธรรมเป็นเครื่องส่องดูตนเองจนสามารถพยากรณ์ตนได้ ในที่นี้ ได้แก่ อริยมรรคญาณ @(ที.ม.ฏีกา ๑๕๘/๑๗๕) ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๗๔/๖๖, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๒/๘๖ @ ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา ทุกโอกาส @บรรลุเมื่อใด ก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

หลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม

๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติ ถูกต้อง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา นำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก” ๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ๑- ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิ ครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ อานนท์ นี้แล คือหลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรมเป็นเครื่องมือให้อริยสาวกมีไว้ เมื่อประสงค์ก็จะพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า ‘เราหมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในนรก หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในแดนเปรต หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในอบาย ทุคติ และวินิบาตแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน ไม่มีทาง ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ในตำหนักอิฐในนาทิกคามนั้น ทรงแสดง ธรรมีกถาเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า “ศีลมีลักษณะอย่างนี้ สมาธิมี ลักษณะอย่างนี้ ปัญญามีลักษณะอย่างนี้ สมาธิอันบุคคลอบรมโดยมีศีลเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิเป็นฐาน ย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้น โดยชอบจากอาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ” [๑๖๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในนาทิกคาม รับสั่งเรียกท่าน พระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังกรุงเวสาลีกัน” ท่านพระ- อานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงกรุงเวสาลี ประทับอยู่ที่อัมพปาลีวัน๒- รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า @เชิงอรรถ : @ ศีลที่พระอริยะชอบใจ หมายถึงศีลที่ประกอบด้วยมรรคและผล ในที่นี้หมายถึงความสำรวมทุกชนิด @(ที.ม.อ. ๑๕๙/๑๔๖, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) @ อัมพปาลีวัน หมายถึงสวนมะม่วงของหญิงคณิกาชื่ออัมพปาลี ซึ่งถวายเป็นที่พักแด่สงฆ์มีพระพุทธเจ้า @เป็นประธาน (ที.ม.อ. ๑๖๐/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

หลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม

“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะ นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอ ทั้งหลาย ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ ทำความรู้สึกตัวในการแลดู การเหลียวดู ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก ทำความรู้สึกตัวในการครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับ เธอทั้งหลาย”๑- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๒๑๔/๗๓, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๕๕/๒๗๗, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๓๖๘/๒๑๑-๒๑๒, @องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๗๔/๓๙๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๐๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

นางอัมพปาลีคณิกา

นางอัมพปาลีคณิกา๑-
[๑๖๑] นางอัมพปาลีคณิกาทราบว่า “พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงกรุงเวสาลี ประทับอยู่ที่สวนมะม่วงของเรา” ลำดับนั้น นางอัมพปาลีคณิกาให้จัดเตรียมยาน พาหนะคันงามๆ ขึ้นยานพาหนะคันงามๆ ออกจากกรุงเวสาลีพร้อมด้วยยานพาหนะ คันงามๆ ติดตามอีกหลายคัน ตรงไปยังสวนของตน จนสุดทางที่ยานพาหนะ จะเข้าไปได้ ลงจากยานพาหนะเดินเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นางอัมพปาลีคณิกาเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอา ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา จากนั้น นางอัมพปาลีคณิกาผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้ อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี พระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของหม่อมฉันในวันพรุ่งนี้” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี เมื่อนางทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป พวกเจ้าลิจฉวีกรุงเวสาลีได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงกรุงเวสาลี ประทับอยู่ที่อัมพปาลีวัน จึงสั่งให้จัดเตรียมยานพาหนะคันงามๆ เสด็จขึ้นยานพาหนะ คันงามๆ ออกจากกรุงเวสาลีพร้อมด้วยยานพาหนะคันงามๆ ตามเสด็จอีกหลายคัน ในบรรดาเจ้าลิจฉวีนั้น บางพวกดำล้วน คือ ใช้สีดำ ทรงผ้าสีดำ ทรงเครื่อง ประดับสีดำ บางพวกเหลืองล้วน คือ ใช้สีเหลือง ทรงผ้าสีเหลือง ทรงเครื่อง ประดับสีเหลือง บางพวกแดงล้วน คือ ใช้สีแดง ทรงผ้าสีแดง ทรงเครื่องประดับ สีแดง บางพวกขาวล้วน คือ ใช้สีขาว ทรงผ้าสีขาว ทรงเครื่องประดับสีขาว นางอัมพปาลีคณิกาใช้เพลากระทบเพลา ล้อกระทบล้อ แอกกระทบแอกรถ กับพวกเจ้าลิจฉวีหนุ่มๆ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๘๘-๒๘๙/๑๐๕-๑๐๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๐๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

นางอัมพปาลีคณิกา

พวกเจ้าลิจฉวีตรัสถามว่า “อัมพปาลี เหตุไร เธอจึงใช้เพลากระทบเพลา ล้อกระทบล้อ แอกกระทบแอกรถกับพวกเจ้าลิจฉวีหนุ่มๆ เล่า” นางอัมพปาลีทูลตอบว่า “ข้าแต่พระลูกเจ้า เพราะหม่อมฉันทูลนิมนต์พระผู้มี พระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ให้ทรงรับภัตตาหารในวันพรุ่งนี้” พวกเจ้าลิจฉวีตรัสว่า “เธอจงให้ภัตตาหารมื้อนี้(แลก)กับเงิน ๑๐๐,๐๐๐ เถิด” นางอัมพปาลีทูลว่า “แม้พวกท่านจะยกกรุงเวสาลีพร้อมทั้งแว่นแคว้นให้ หม่อมฉัน กระนั้นหม่อมฉันก็ไม่ยอมให้ภัตตาหารมื้อสำคัญ” ทันใดนั้น พวกเจ้าลิจฉวีทรงดีดพระองคุลีพร้อมตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย นางอัมพปาลีชนะพวกเรา นางลวงพวกเรา” แล้วเสด็จไปยังอัมพปาลีวัน พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นพวกเจ้าลิจฉวีเสด็จมาแต่ไกล จึงรับสั่งเรียก ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ไม่เคยเห็นพวกเทพชั้นดาวดึงส์ จงดู พวกเจ้าลิจฉวี จงเปรียบพวกเจ้าลิจฉวีกับพวกเทพชั้นดาวดึงส์” พวกเจ้าลิจฉวีเสด็จไปด้วยยานพาหนะจนสุดทางที่ยานพาหนะจะเข้าไปได้ จึงเสด็จลงจากยานพาหนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พวกเจ้าลิจฉวีเห็นชัด ชวนใจให้อยาก รับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา พวกเจ้าลิจฉวีผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดรับภัตตาหารของพวกข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เรารับนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ของนาง อัมพปาลีไว้แล้ว” พวกเจ้าลิจฉวีทรงดีดพระองคุลีพร้อมตรัสว่า “นางอัมพปาลีชนะพวกเรา นางลวงพวกเรา” จากนั้น พวกเจ้าลิจฉวีต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี พระภาค เสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ แล้วจากไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๐๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

นางอัมพปาลีคณิกา

[๑๖๒] ครั้นคืนนั้นผ่านไป นางอัมพปาลีคณิกา สั่งให้จัดเตรียมของขบฉัน อันประณีตไว้ในสวนของตน ให้คนไปกราบทูลเวลาแด่พระผู้มีพระภาคว่า “ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า” ตอนเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าไปยังที่พักของนางอัมพปาลีคณิกา ประทับบนพุทธอาสน์ที่ปูลาด ไว้แล้ว นางอัมพปาลีคณิกาได้นำของขบฉันอันประณีตประเคนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประธานให้อิ่มหนำด้วยมือตนเอง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จวางพระหัตถ์ จากบาตร นางอัมพปาลีคณิกาจึงเลือกนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันขอมอบถวาย สวนแห่งนี้แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน” พระผู้มีพระภาคทรงรับสวนแล้ว จึงทรงชี้แจงให้นางอัมพปาลีคณิกาเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จจากไป ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่อัมพปาลีวัน เขตกรุงเวสาลี ทรงแสดง ธรรมีกถาเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า “ศีลมีลักษณะอย่างนี้ สมาธิมี ลักษณะอย่างนี้ ปัญญามีลักษณะอย่างนี้ สมาธิอันบุคคลอบรมโดยมีศีลเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิเป็นฐาน ย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้น โดยชอบจากอาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๐๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ทรงเข้าจำพรรษาในเวฬุวคาม

ทรงเข้าจำพรรษาในเวฬุวคาม๑-
[๑๖๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัย ในอัมพ- ปาลีวันแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะไป ยังเวฬุวคามกัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงเวฬุวคาม ประทับอยู่ในเวฬุวคามนั้น รับสั่ง เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจำพรรษารอบกรุง เวสาลีตามที่ที่มีเพื่อน ตามที่ที่มีคนเคยพบเห็นกัน ตามที่ที่มีคนเคยคบกัน ส่วนเรา จะจำพรรษาในเวฬุวคามนี้” พวกภิกษุทูลรับสนองพระดำรัสแล้วจำพรรษารอบกรุงเวสาลีตามที่ที่มีเพื่อน ตามที่ที่มีคนเคยพบเห็นกัน ตามที่ที่มีคนเคยคบกัน ส่วนพระผู้มีพระภาคทรงจำ พรรษาในเวฬุวคามนั้น [๑๖๔] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงจำพรรษา ได้เกิดอาการพระประชวร อย่างรุนแรงมีทุกขเวทนา๒- อย่างแสนสาหัสจวนเจียนจะปรินิพพาน พระองค์ทรงมี สติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นไม่พรั่นพรึงทรงพระดำริว่า “การที่เราไม่บอกผู้อุปัฏฐาก ไม่อำลาภิกษุสงฆ์ปรินิพพานนั้น ไม่เหมาะแก่เรา ทางที่ดี เราควรใช้ความเพียร๓- ขับไล่อาพาธนี้ ดำรงชีวิตสังขารอยู่ต่อไป” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ความเพียรขับไล่อาการพระประชวรนั้น ทรงดำรงชีวิตสังขารอยู่ อาการพระประชวรจึงสงบ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหายจาก พระประชวร หายจากพระอาการไข้ไม่นาน ได้เสด็จออกจากพระวิหารไปประทับนั่ง บนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วในร่มเงาพระวิหาร @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๓๗๕/๒๒๒-๒๒๓ @ ทุกขเวทนา ในที่นี้หมายถึงความรู้สึกเจ็บปวด เป็นอาการของทุกข์ในไตรลักษณ์ซึ่งเกิดขึ้นได้แม้แก่ผู้ที่เป็น @พระอรหันต์ มิใช่ทุกข์ในปฏิจจสมุปบาทหรือในอริยสัจ พระผู้มีพระภาคทรงข่มทุกขเวทนานี้ด้วยความเพียร @(ที.ม.อ. ๑๖๔/๑๔๘-๑๔๙) @ ความเพียร ในที่นี้มี ๒ อย่าง คือ (๑) ความเพียรที่เป็นบุพภาค ได้แก่ การบริกรรมผลสมาบัติ (๒) ความเพียร @ที่ประกอบด้วยผลสมาบัติ (ที.ม.อ. ๑๖๔/๑๔๙, ที.ม.ฏีกา ๑๖๔/๑๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๐๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ทรงเข้าจำพรรษาในเวฬุวคาม

ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ ข้าพระองค์ได้เห็นพระสุขภาพของพระองค์แล้ว ได้เห็นพระองค์ทรงอดทนต่อทุกข- เวทนาแล้ว ทำให้ร่างกายของข้าพระองค์อ่อนเปลี้ยประดุจคนเมา ข้าพระองค์รู้สึก มืดทุกด้าน แม้ธรรม๑- ก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์อีกแล้ว เพราะพระอาการไข้ของ พระผู้มีพระภาค แต่ข้าพระองค์ก็ยังเบาใจอยู่หน่อยหนึ่งว่า ‘พระผู้มีพระภาคจะยัง ไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่ยังไม่ได้ปรารภภิกษุสงฆ์แล้วตรัสพระพุทธพจน์อย่างใด อย่างหนึ่ง” [๑๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ภิกษุสงฆ์ยังจะหวังได้อะไรในเรา อีกเล่า ธรรมที่เราแสดงแล้วไม่มีในไม่มีนอก๒- ในเรื่องธรรมทั้งหลาย ตถาคตไม่มี อาจริยมุฏฐิ๓- ผู้ที่คิดว่า เราเท่านั้น จักเป็นผู้บริหารภิกษุสงฆ์ต่อไป หรือว่า ภิกษุสงฆ์ จะต้องยึดเราเท่านั้นเป็นหลัก ผู้นั้นจะต้องปรารภภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นแน่ แต่ตถาคตไม่คิดว่า เราเท่านั้น จักเป็นผู้บริหารภิกษุสงฆ์ต่อไป หรือว่า ภิกษุสงฆ์จะต้องยึดเราเท่านั้นเป็นหลัก แล้วทำไมตถาคตจะต้องปรารภภิกษุสงฆ์ กล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งอีกเล่า บัดนี้ เราเป็นผู้ชรา แก่ เฒ่า ล่วงกาลมานาน ผ่านวัยมามาก เรามีวัย ๘๐ ปี ร่างกายของตถาคตประหนึ่งแซมด้วยไม้ไผ่ ยังเป็น ไปได้ ก็เหมือนกับเกวียนเก่าที่ซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ฉะนั้น ร่างกายของตถาคตสบาย ขึ้นก็เพราะในเวลาที่ตถาคตเข้าเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทุกอย่าง และ เพราะดับเวทนาบางอย่างได้เท่านั้น @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น (ที.ม.อ. ๑๖๔/๑๔๙) @ ไม่มีในไม่มีนอก หมายถึงไม่แบ่งเป็น ๒ ฝ่ายไม่ว่าจะเป็นการแบ่งธรรมหรือแบ่งบุคคล(ผู้ฟัง) เช่น ผู้ที่คิดว่า @เราจะไม่แสดงธรรมประมาณเท่านี้แก่บุคคลอื่น ซึ่งว่าทำธรรมให้มีใน แต่จะแสดงธรรมประเภทเท่านี้ @แก่บุคคลอื่น ชื่อว่าทำธรรมให้มีนอก ส่วนผู้ที่คิดว่า เราจะแสดงแก่บุคคลนี้ ชื่อว่าทำบุคคลให้มีใน ไม่แสดง @แก่บุคคลอื่น ชื่อว่าทำบุคคลให้มีนอก (ที.ม.อ. ๑๖๕/๑๔๙) @ อาจริยมุฏฐิ แปลว่า กำมือของอาจารย์ อธิบายว่า มือที่กำไว้ ใช้เรียกอาการของอาจารย์ภายนอก @พระพุทธศาสนาที่หวงวิชา ไม่ยอมบอกแก่ศิษย์ขณะที่ตนเองยังหนุ่ม แต่จะบอกแก่ศิษย์ที่ตนรัก ขณะที่ตน @ใกล้จะตายเท่านั้น แต่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงถือตามคติเช่นนี้ (ที.ม.อ. ๑๖๕/๑๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ทรงเข้าจำพรรษาในเวฬุวคาม

อานนท์ เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอจงมีตนเป็นเกาะ๑- มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มี สิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้๒- ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรม เป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล อานนท์ ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ว่าจะในบัดนี้หรือเมื่อเราล่วงไปแล้ว จะเป็น ผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่านั้นจักอยู่ในความเป็นผู้เลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้ใคร่ต่อ การศึกษา”๓-
คามกัณฑ์ ในมหาปรินิพพานสูตร จบบริบูรณ์
ภาณวารที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ มีตนเป็นเกาะ ในที่นี้หมายถึงทำตนให้พ้นจากห้วงน้ำ คือ โอฆะ ๔ เหมือนกับเกาะกลางมหาสมุทรที่ @น้ำท่วมไม่ถึง (ที.ม.อ. ๑๖๕/๑๕๐, ที.ม.ฏีกา ๑๖๕/๑๘๐) @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๗๔/๓๙๐ @ ดูเทียบ ที.ปา. ๑๑/๘๐/๔๙, ๑๐๙/๖๗, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๓๗๙/๒๓๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๑๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ว่าด้วยนิมิตโอภาส

ว่าด้วยนิมิตโอภาส๑-
[๑๖๖] ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เมื่อเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวย พระกระยาหารเสร็จแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจง ถือผ้านิสีทนะ(ผ้ารองนั่ง) เราจะเข้าไปพักกลางวันที่ปาวาลเจดีย์” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ถือผ้านิสีทนะตามเสด็จพระผู้มี พระภาคไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์ ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ท่าน พระอานนท์ปูลาดถวาย ท่านพระอานนท์ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ สมควร [๑๖๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์ กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์ น่ารื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์น่ารื่นรมย์ อิทธิบาท ๔ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็น ที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป๒- หรือเกินกว่า ๑ กัป อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น ดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคต เมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป” เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทรงทำโอภาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้ ท่านพระอานนท์ก็ไม่อาจจะ รู้ทันจึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี พระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” ทั้งนี้เป็นเพราะ ท่านพระอานนท์ถูกมารดลใจ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๘๒๒/๓๘๕-๓๘๖, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๗๐/๓๗๒ @ กัป ในที่นี้หมายถึงอายุกัป คือช่วงอายุของคนแต่ละยุค ในยุคของพระพุทธเจ้าของเรา อายุกัปของคน = @๑๐๐ ปี (ที.ม.อ. ๑๖๗/๑๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๑๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

มารกราบทูลให้ปรินิพพาน

แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์ กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์ น่ารื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์น่ารื่นรมย์ อิทธิบาท ๔ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็น ที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น ดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคต เมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป” เมื่อพระผู้มีพระภาคทรง ทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทรงทำโอภาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้ ท่านพระอานนท์ก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” เพราะท่านพระอานนท์ถูกมารดลใจ จากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ไปเถิดอานนท์ เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ลุกจากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้วนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกล
มารกราบทูลให้ปรินิพพาน
[๑๖๘] ครั้นเมื่อท่านพระอานนท์จากไปไม่นาน มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับยืน ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคต โปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ ภิกษุทั้งหลายผู้สาวกของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

มารกราบทูลให้ปรินิพพาน

ตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว แต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาท๑- ที่เกิดขึ้น ให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ ภิกษุทั้งหลาย ผู้สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับ อาจารย์ของตนแล้วก็บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรด ปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่ภิกษุณีทั้งหลายผู้สาวิกาของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติ ชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน แต่ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาท ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ ภิกษุณี ทั้งหลายผู้สาวิกาของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วก็บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรด ปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่อุบาสกทั้งหลายผู้สาวกของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติ @เชิงอรรถ : @ ปรัปวาท ในที่นี้หมายถึงวาทะ หรือลัทธิต่างๆ ของเจ้าลัทธิอื่นนอกพระพุทธศาสนา @(ที.ม.ฏีกา ๓๗๔/๓๗๕, ขุ.ม.อ. ๓๑/๒๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

มารกราบทูลให้ปรินิพพาน

ชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาท ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ อุบาสก ทั้งหลายผู้สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วก็บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ได้แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรด ปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่อุบาสิกาทั้งหลายผู้สาวิกาของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติ ชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาท ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ อุบาสิกา ทั้งหลายผู้สาวิกาของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วก็บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรด ปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่พรหมจรรย์๑- ของเรายังไม่บริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก @เชิงอรรถ : @ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงศาสนพรหมจรรย์ คือ คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นที่รวมลงในไตรสิกขา @(ที.ม.อ. ๑๖๘/๑๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ทรงปลงพระชนมายุสังขาร

มั่นคงดี กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคบริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกัน โดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค’ เมื่อมารทูลอาราธนาอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตอบมารผู้มีบาปดังนี้ว่า “มารผู้มีบาป ท่านจงอย่ากังวล๑- เลย อีกไม่นาน การปรินิพพานของตถาคตจะมี จากนี้ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจะปรินิพพาน”
ทรงปลงพระชนมายุสังขาร
[๑๖๙] เวลานั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงปลงพระ ชนมายุสังขาร๒- แล้ว ณ ปาวาลเจดีย์ เมื่อพระองค์ทรงปลงพระชนมายุสังขารแล้ว ได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุงแรงน่าสะพรึงกลัว ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ ดังกึกก้อง ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงทราบความนั้น จึงทรงเปล่งพระอุทานในเวลานั้น ดังนี้ว่า “พระมุนีละกรรมทั้งที่ชั่งได้และที่ชั่งไม่ได้ อันเป็นเหตุก่อกำเนิด เป็นเครื่องปรุงแต่งภพได้แล้ว ยินดีในภายใน มีใจมั่นคง ทำลายกิเลสที่เกิดในตนได้ เหมือนนักรบทำลายเกราะได้ฉะนั้น”๓- @เชิงอรรถ : @ คำนี้แปลจากคำว่า “อปฺโปสฺสุกฺโก” ซึ่งตามรูปศัพท์แปลกันว่า ขวนขวายน้อย (ที.ม.อ. ๑๖๘/๑๕๙) @ ปลงพระชนมายุสังขาร หมายถึงสลัดปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอายุ คือ ตกลงพระทัยว่าจะปรินิพพาน @(ที.ม.อ. ๑๖๙/๑๕๙) @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๗๐/๓๗๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ๘ ประการ

เหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ๘ ประการ๑-
[๑๗๐] ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดดังนี้ว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ แผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงจริง แผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงจริงๆ น่าสะพรึงกลัว ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้อง อะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ แผ่นดินไหวครั้งนี้ รุนแรงจริง แผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงจริงๆ น่าสะพรึงกลัว ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้อง อะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดแผ่นดิน ไหวอย่างรุนแรง พระพุทธเจ้าข้า” [๑๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้ ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง เหตุปัจจัย ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มหาปฐพีนี้ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ เวลาที่ลมพายุพัดแรงย่อมทำให้น้ำกระเพื่อม น้ำที่กระเพื่อม ย่อมทำให้แผ่นดินไหวตาม นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๑ ที่ทำ ให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ๒. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ มีความชำนาญทางจิต หรือเทพ ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ได้เจริญปฐวีสัญญานิดหน่อย แต่เจริญ อาโปสัญญาจนหาประมาณมิได้ จึงทำให้แผ่นดินนี้ไหวสั่นสะเทือน เลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๒ ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว อย่างรุนแรง ๓. คราวที่พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่นสะเทือน เลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๓ ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว อย่างรุนแรง @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๗๐/๓๗๖-๓๗๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

บริษัท ๘ จำพวก

๔. คราวที่พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจากพระครรภ์ของ พระมารดา แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่นสะเทือน เลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุ ปัจจัยประการที่ ๔ ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ๕. คราวที่ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แผ่นดินนี้ก็ไหว สั่นสะเทือน เลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๕ ที่ทำให้เกิด แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ๖. คราวที่ตถาคตประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมให้เป็นไป แผ่นดินนี้ ก็ไหวสั่นสะเทือน เลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๖ ที่ทำให้ เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ๗. คราวที่ตถาคตมีสติสัมปชัญญะ ปลงอายุสังขาร แผ่นดินนี้ก็ไหว สั่นสะเทือน เลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๗ ที่ทำให้เกิด แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ๘. คราวที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แผ่นดินนี้ ก็ไหวสั่นสะเทือน เลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๘ ที่ทำให้ เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง อานนท์ เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้แล ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
บริษัท ๘ จำพวก๑-
[๑๗๒] อานนท์ บริษัท ๘ จำพวกนี้ บริษัท ๘ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ขัตติยบริษัท (ชุมนุมกษัตริย์) ๒. พราหมณบริษัท (ชุมนุมพราหมณ์) ๓. คหบดีบริษัท (ชุมนุมคหบดี) ๔. สมณบริษัท (ชุมนุมสมณะ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ปา. ๑๑/๓๓๗/๒๒๙, ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๕๑/๑๕๐, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๖๙/๓๗๑-๓๗๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

บริษัท ๘ จำพวก

๕. จาตุมหาราชบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นจาตุมหาราช) ๖. ดาวดึงสบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นดาวดึงส์) ๗. มารบริษัท (ชุมนุมมาร) ๘. พรหมบริษัท (ชุมนุมพรหม) อานนท์ เราจำได้ว่า เคยเข้าไปหาขัตติยบริษัทหลายร้อยครั้ง ทั้งเคยนั่งพูดคุย และสนทนาในขัตติยบริษัทนั้น กษัตริย์เหล่านั้นมีวรรณะเช่นใด เราก็มีวรรณะเช่นนั้น กษัตริย์เหล่านั้นมีเสียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น เราชี้แจงให้กษัตริย์เหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น ร่าเริงด้วยธรรมีกถา และเมื่อเรากำลังพูดอยู่ ก็ไม่มีใครรู้ว่า ‘ผู้กำลังพูดอยู่นี้เป็นใคร เป็นเทพหรือเป็นมนุษย์’ ครั้นชี้แจงให้กษัตริย์เหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอา ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วหายไป และเมื่อเราหายไปแล้ว ก็ไม่มีใครรู้ว่า ‘ผู้ที่หายไปแล้วนี้เป็นใคร เป็นเทพ หรือเป็นมนุษย์’ อานนท์ เราจำได้ว่า เคยเข้าไปหาพราหมณบริษัทหลายร้อยครั้ง ฯลฯ คหบดีบริษัท ฯลฯ สมณบริษัท ฯลฯ จาตุมหาราชบริษัท ฯลฯ ดาวดึงสบริษัท ฯลฯ มารบริษัท ฯลฯ อานนท์ เราจำได้ว่า เคยเข้าไปหาพรหมบริษัทหลายร้อยครั้ง ทั้งเคยนั่งพูดคุย และสนทนาในพรหมบริษัทนั้น พรหมเหล่านั้นมีวรรณะเช่นใด เราก็มีวรรณะเช่นนั้น พรหมเหล่านั้นมีเสียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น เราชี้แจงให้พรหมเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น ร่าเริงด้วยธรรมีกถา และเมื่อเรากำลังพูดอยู่ ก็ไม่มีใครรู้ว่า ‘ผู้กำลังพูดอยู่นี้เป็นใคร เป็นเทพหรือเป็นมนุษย์’ ครั้นชี้แจงให้พรหมเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอา ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วก็หายไป และเมื่อเราหายไปแล้ว ก็ไม่มีใครรู้ว่า ‘ผู้ที่หายไปแล้วนี้เป็นใคร เป็นเทพ หรือเป็นมนุษย์’ อานนท์ บริษัท ๘ จำพวกนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

อภิภายตนะ ๘ ประการ

อภิภายตนะ ๘ ประการ
[๑๗๓] อานนท์ อภิภายตนะ ๘ ประการนี้ อภิภายตนะ๑- ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน๒- เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๑ ๒. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒ ๓. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๓- เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๓ ๔. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔ ๕. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เปรียบเหมือนดอก ผักตบที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด บุคคล หนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลาย ภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม @เชิงอรรถ : @ อภิภายตนะ หมายถึงเหตุครอบงำเหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ญาณหรือฌานที่เป็นเหตุครอบงำนิวรณ์ ๕ และ @อารมณ์ทั้งหลาย คำนี้มาจาก อภิภู + อายตนะ ที่ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำอารมณ์ และที่ชื่อว่าอายตนะ @เพราะเป็นที่เกิดความสุขอันวิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย เพราะเป็นมนายตนะและธัมมายตนะ (ที.ม.อ. ๑๗๓/๑๖๔, @องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๒) และ ดูเทียบ ที.ปา. ๑๑/๓๓๘/๒๒๙-๒๓๐, @ม.ม. ๑๓/๒๔๙/๒๒๔-๒๒๕, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๖๕/๓๖๗-๓๖๘, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๙/๗๑ @ มีรูปสัญญาภายใน หมายถึงจำได้หมายรู้รูปภายในโดยการบริกรรมรูปภายใน (ที.ม.อ. ๑๗๓/๑๖๔) @ มีอรูปสัญญาภายใน หมายถึงเว้นจากสัญญาในบริกรรมในรูปภายใน (ที.ม.อ. ๑๗๓/๑๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

อภิภายตนะ ๘ ประการ

ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น อภิภายตนะประการที่ ๕ ๖. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เปรียบเหมือน ดอกกรรณิการ์ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสี เหลืองเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อ ละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบ ด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๖ ๗. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เปรียบเหมือนดอก ชบาที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด หรือ เปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมี อรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูป เหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะ ประการที่ ๗ ๘. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เปรียบเหมือนดาว ประกายพรึกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่ง มีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูป เหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะ ประการที่ ๘ อานนท์ อภิภายตนะ ๘ ประการนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

วิโมกข์ ๘ ประการ

วิโมกข์ ๘ ประการ
[๑๗๔] อานนท์ วิโมกข์๑- ๘ ประการนี้ วิโมกข์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้มีรูปเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๑ ๒. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็น วิโมกข์ประการที่ ๒ ๓. บุคคลผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม’ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๓ ๔. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหา ที่สุดมิได‘’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔ ๕. บุคคลล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๕ ๖. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๖ ๗. บุคคลล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗ ๘. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘ อานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการนี้แล @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ข้อ ๑๒๙ หน้า ๗๕ ในเล่มนี้ และดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๙/๒๓๑, ม.ม. ๑๓/๒๔๘/๒๒๓-๒๒๔, @องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๖๖/๓๖๘-๓๖๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ทรงเล่าเรื่องมาร

ทรงเล่าเรื่องมาร๑-
[๑๗๕] อานนท์ สมัยหนึ่ง เมื่อแรกตรัสรู้ เราพักอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ตำบลอุรุเวลา มารผู้มีบาปได้เข้ามาหาเรายืน ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพาน ในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มี พระภาค’ เมื่อมารกล่าวอย่างนี้ เราตอบว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบ เท่าที่ภิกษุทั้งหลายผู้สาวกของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติ ตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว แต่ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อย โดยชอบธรรมไม่ได้ มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ภิกษุณีทั้งหลายผู้สาวิกาของเรา ยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว แต่ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรม มีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้ มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่อุบาสกทั้งหลายผู้สาวกของเรา ยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ ของตนแล้ว แต่ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้ มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่อุบาสิกาทั้งหลายผู้สาวิกาของ เรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ข้อ ๑๖๘ หน้า ๑๑๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ทรงเล่าเรื่องมาร

ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ ของตนแล้ว แต่ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้ มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่พรหมจรรย์ของเรายังไม่บริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทพและมนุษย์ทั้งหลาย ประกาศได้ดีแล้ว [๑๗๖] อานนท์ วันนี้เมื่อกี้นี้เอง มารผู้มีบาปได้เข้ามาหาเราที่ปาวาลเจดีย์ ยืน ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพาน ของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายผู้สาวกของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติ ชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว แต่ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาท ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ ภิกษุทั้งหลาย ผู้สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับ อาจารย์ของตนแล้วก็บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรด ปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่ภิกษุณีทั้งหลายผู้สาวิกาของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ทรงเล่าเรื่องมาร

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่อุบาสกทั้งหลายผู้สาวกของเรายังไม่เฉียบแหลม ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่อุบาสิกาทั้งหลายผู้สาวิกาของเรา ยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติ ชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว แต่ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิด ขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ อุบาสิกาทั้งหลาย ผู้สาวิกาของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็น พหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรม เรียน กับอาจารย์ของตนแล้วก็บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรด ปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่พรหมจรรย์ของเรายังไม่บริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทพและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคบริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทพและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรด ปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค [๑๗๗] อานนท์ เมื่อมารบอกอย่างนี้ เราได้ตอบมารผู้มีบาปดังนี้ว่า ‘มาร ผู้มีบาป ท่านจงอย่ากังวลเลย อีกไม่นาน การปรินิพพานของตถาคตจะมี จากนี้ ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจะปรินิพพาน’ อานนท์ วันนี้ เมื่อกี้นี้เอง เรามีสติสัมปชัญญะดี ปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

พระอานนท์กราบทูลอาราธนา

พระอานนท์กราบทูลอาราธนา
[๑๗๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้ มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพ อยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่คน หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าเลย อานนท์ อย่ามาวิงวอนตถาคตเลย บัดนี้ ไม่ใช่เวลาที่จะวิงวอนตถาคต’ แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคต โปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามว่า “อานนท์ เธอเชื่อความตรัสรู้ของตถาคตหรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “เชื่อ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ก็เมื่อเธอเชื่อ ไฉน ยังแค่นไค้ตถาคตถึง ๓ ครั้งเล่า” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาเฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า อานนท์ อิทธิบาท ๔ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดี ผู้นั้น เมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “เธอเชื่อหรือ อานนท์” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “เชื่อ พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ทรงแสดงอานุภาพของอิทธิบาท ๔ ประการ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เหตุนั้นแล อานนท์ เรื่องนี้จึงเป็นความบกพร่อง ของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ๑- เมื่อตถาคตทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทำโอภาสที่ ชัดเจนแม้อย่างนี้ เธอก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่วิงวอนตถาคตว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาค โปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะ ห้ามเธอเพียง ๒ ครั้ง พอครั้งที่ ๓ ตถาคตจะรับนิมนต์ เหตุนี้แหละ เรื่องนี้จึงเป็น ความบกพร่องของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ
ทรงแสดงอานุภาพของอิทธิบาท ๔ ประการ
[๑๗๙] อานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล เรียกเธอมากล่าวว่า ‘อานนท์ กรุงราชคฤห์น่ารื่นรมย์ ภูเขาคิชฌกูฏน่ารื่นรมย์ อิทธิบาท ๔ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดี ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป๒-’ เมื่อตถาคตทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทำโอภาส ที่ชัดเจนแม้อย่างนี้ เธอก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่วิงวอนตถาคตว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาค โปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะ ห้ามเธอเพียง ๒ ครั้ง พอครั้งที่ ๓ ตถาคตจะรับนิมนต์ เหตุนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้จึงเป็นความบกพร่องของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ @เชิงอรรถ : @ ที่ตรัสว่า เรื่องนี้จึงเป็นความบกพร่องของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ มิใช่ตรัสเพื่อจะทรงตำหนิ @แต่ตรัสเพื่อเป็นเหตุบรรเทาความเศร้าโศกของพระอานนท์ (ที.ม.อ. ๑๗๙/๑๖๗) @ ดูเทียบ อภิ.ก. ๓๗/๖๒๓/๓๗๘-๓๗๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ทรงแสดงอานุภาพของอิทธิบาท ๔ ประการ

[๑๘๐] อานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โคตมนิโครธ เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่เหวทิ้งโจร เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่ถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภาระ เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่กาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่เงื้อมสัปปโสณฑิกะ ในสีตวัน เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่ตโปทาราม เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่เวฬุวันสถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่ชีวกัมพวัน เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่มัททกุจฉิมฤคทายวัน เขตกรุง ราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล เราได้เรียกเธอมากล่าวว่า ‘อานนท์ กรุงราชคฤห์น่ารื่นรมย์ ภูเขาคิชฌกูฏน่ารื่นรมย์ โคตมนิโครธน่ารื่นรมย์ เหวทิ้งโจรน่ารื่นรมย์ ถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภาระน่ารื่นรมย์ กาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิน่ารื่นรมย์ เงื้อมสัปปโสณฑิกะ ในสีตวันน่ารื่มรมย์ ตโปทารามน่ารื่นรมย์ เวฬุวันสถานที่ให้เหยื่อกระแตน่ารื่นรมย์ ชีวกัมพวันน่ารื่นรมย์ มัททกุจฉิมฤคทายวันน่ารื่นรมย์ อานนท์ อิทธิบาท ๔ ผู้ใด ผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดี ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป’ เมื่อตถาคตทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทำโอภาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้ เธอก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่วิงวอนตถาคตว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพ อยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ต่อไปตลอดกัป เพื่อประโยชน์ แก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะห้ามเธอเพียง ๒ ครั้ง พอครั้งที่ ๓ ตถาคตจะรับนิมนต์ เหตุนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้จึงเป็น ความบกพร่องของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ [๑๘๑] อานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่อุเทนเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ณ ที่นั้นแล เราได้เรียกเธอมากล่าวว่า ‘อานนท์ กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ อานนท์ อิทธิบาท ๔ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้ เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดี ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ทรงแสดงอานุภาพของอิทธิบาท ๔ ประการ

ดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อ มุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป เมื่อตถาคตทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทำโอภาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้ เธอก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่วิงวอนตถาคตว่า ‘ขอพระผู้มี พระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะห้ามเธอเพียง ๒ ครั้ง พอครั้งที่ ๓ ตถาคตจะรับนิมนต์ เหตุนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้จึงเป็นความบกพร่องของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ [๑๘๒] อานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โคตมกเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ฯลฯ เราอยู่ ที่สัตตัมพเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ฯลฯ เราอยู่ที่พหุปุตตเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ฯลฯ เราอยู่ที่สารันททเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ฯลฯ เราอยู่ที่ปาวาลเจดีย์ วันนี้เมื่อกี้เอง ณ ปาวาลเจดีย์ เราได้เรียกเธอมากล่าวว่า ‘อานนท์ กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทน- เจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์น่ารื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์ น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์น่ารื่นรมย์ อานนท์ อิทธิบาท ๔ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดี ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป’ เมื่อตถาคตทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทำโอภาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้ เธอก็ ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่วิงวอนตถาคตว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะห้ามเธอเพียง ๒ ครั้ง พอครั้งที่ ๓ ตถาคตจะรับนิมนต์ เหตุนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้จึงเป็นความ บกพร่องของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ทรงแสดงอานุภาพของอิทธิบาท ๔ ประการ

[๑๘๓] อานนท์ เราเคยบอกเธอไว้ก่อนมิใช่หรือว่า ความพลัดพราก ความ ทอดทิ้ง ความแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นจากของรักของชอบใจทุกอย่างจะต้องมี ฉะนั้น จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้ สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น มีความแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้ที่จะปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นจงอย่าแตก สลายไปเลย ตถาคตสละ คลาย ปล่อย ละ วางสิ่งนั้นได้แล้ว ปลงอายุสังขารแล้ว วาจาที่ตถาคตกล่าวไว้ว่า ‘อีกไม่นาน การปรินิพพานของตถาคตจะมี จากนี้ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจะปรินิพพานเป็นวาจาที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้อีกแล้ว‘จึงเป็นไปไม่ได้ ที่ตถาคตจะกลับคืนคำเพราะต้องการมีอายุอยู่ต่อไป มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยัง กูฏาคารศาลา ป่ามหาวันกัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยท่านพระอานนท์เสด็จเข้าไปยังกูฏาคาร- ศาลา ป่ามหาวันแล้ว จึงรับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “ไปเถิด อานนท์ เธอจงไปนิมนต์ให้ภิกษุเท่าที่อาศัยอยู่ในกรุงเวสาลีมาประชุมกัน ณ หอฉัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จึงนิมนต์ภิกษุทุกรูปเท่าที่อาศัยอยู่ ในกรุงเวสาลี มาประชุมกัน ณ หอฉันแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืน ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”๑- [๑๘๔] จากนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไป ณ หอฉัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ที่ปูลาดไว้แล้ว รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย (เพราะฉะนั้น) ธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่ง เธอทั้งหลายพึงเรียน เสพ เจริญ ทำให้มาก ด้วยดีโดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไป เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๔๐/๑๔๘-๑๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

สังเวชนียธรรม

ธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่ง เธอทั้งหลายพึงเรียน เสพ เจริญ ทำให้มากด้วยดีโดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย คืออะไร คือ ๑. สติปัฏฐาน ๔ ๒. สัมมัปปธาน ๔ ๓. อิทธิบาท ๔ ๔. อินทรีย์ ๕ ๕. พละ ๕ ๖. โพชฌงค์ ๗ ๗. อริยมรรคมีองค์ ๘” ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือ ธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่ง เธอทั้งหลาย พึงเรียน เสพ เจริญ ทำให้มากด้วยดีโดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงตั้งอยู่ได้นาน ดำรง อยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ อนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
สังเวชนียธรรม
(ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช)
[๑๘๕] จากนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็น ธรรมดา เธอทั้งหลายจงทำหน้าที่ให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด อีกไม่นาน การปรินิพพานของตถาคตจะมี จากนี้ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจะปรินิพพาน” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า “มนุษย์ทุกคนไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ โง่ ฉลาด มั่งมี และยากจน ล้วนต้องตาย๑- ชีวิตของสัตว์เปรียบเหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อปั้นแล้ว @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๘๗/๓๖๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

การทอดพระเนตรกรุงเวสาลีอย่างช้างมอง

เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง สุกบ้าง ดิบบ้าง ซึ่งล้วนมีความแตกสลายเป็นที่สุด” พระสุคตศาสดาได้ตรัสพระคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า “วัยของเราแก่หง่อม ชีวิตของเราเหลือน้อย เราจะจากพวกเธอไป เราทำที่พึ่งแก่ตนแล้ว พวกเธอจงอย่าประมาท มีสติ มีศีลบริสุทธิ์ มีความดำริมั่นคงดี รักษาจิตของตนไว้ ผู้ที่ไม่ประมาทอยู่ในธรรมวินัยนี้ ละการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”๑-
ภาณวารที่ ๓ จบ
การทอดพระเนตรกรุงเวสาลีอย่างช้างมอง
[๑๘๖] ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและ จีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เมื่อเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลัง เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทอดพระเนตรกรุงเวสาลีอย่างช้างมอง๒- รับสั่งเรียก ท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ การเห็นกรุงเวสาลีครั้งนี้ เป็นครั้งสุดท้ายของ ตถาคต มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังภัณฑุคามกัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับ สนองพระดำรัสแล้ว @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.สุ. ๒๕/๕๘๔/๔๕ @ อย่างช้างมอง หมายถึงทรงหันพระองค์กลับหลังอย่างที่พญาช้างมอง คือ พญาช้างไม่อาจจะเอี้ยวคอ @มองข้างหลัง ต้องหันกลับทั้งตัวฉันใด พระผู้มีพระภาคก็ฉันนั้น เพราะพระอัฏฐิก้านพระศอเป็นชิ้นเดียวกัน @ไม่มีข้อต่อจึงไม่อาจจะเอี้ยวพระศอมองข้างหลังได้ แต่จะไม่เหมือนกับช้างมอง เพราะมีพุทธานุภาพ จึงทำ @ให้แผ่นดินนี้หมุนไปเหมือนกับแป้น (กุลาลจกฺกํ) โดยทำพระผู้มีพระภาคให้มีหน้าตรงต่อกรุงเวสาลี @(ที.ม.อ. ๑๘๖/๑๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

การทอดพระเนตรกรุงเวสาลีอย่างช้างมอง

พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงภัณฑุคาม ประทับอยู่ที่ ภัณฑุคามนั้น รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดธรรม ๔ ประการ เราและเธอทั้งหลาย จึงเที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้ ๒. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้ ๓. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้ ๔. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราและเธอ ทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดอริย- ปัญญา เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราและเธอทั้งหลายถอน ภวตัณหาได้แล้ว ภวเนตติสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก๑-” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า “ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ อันยอดเยี่ยม ธรรมเหล่านี้ พระโคดมผู้มียศตรัสรู้แล้ว ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกธรรม แก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง พระศาสดา ทรงทำที่สุดแห่งทุกข์ มีพระจักษุ ปรินิพพานแล้ว๒-” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ข้อ ๑๕๕ หน้า ๙๙ ในเล่มนี้ และดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑/๑-๒ @ ปรินิพพาน ในที่นี้หมายถึงดับกิเลสได้สิ้นเชิง (ที.ม.อ. ๑๘๖/๑๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

มหาปเทส ๔ ประการ

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ที่ภัณฑุคาม ทรงแสดงธรรมีกถา เป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า “ศีลมีลักษณะอย่างนี้ สมาธิมีลักษณะ อย่างนี้ ปัญญามีลักษณะอย่างนี้ สมาธิอันบุคคลอบรมโดยมีศีลเป็นฐาน ย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้นโดยชอบจาก อาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ”
มหาปเทส ๔ ประการ
(ข้ออ้างที่สำคัญ)
[๑๘๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในภัณฑุคาม แล้ว รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยัง หัตถีคามกัน” ... “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังอัมพคามกัน” ... “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังชัมพุคามกัน” ... “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังโภค- นครกัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงโภคนคร ประทับอยู่ที่อานันทเจดีย์ในโภคนคร รับสั่งเรียก ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงมหาปเทส ๔ ประการนี้ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า [๑๘๘] ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้สดับ รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็น วินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึง คัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้น ให้ดี๑- แล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะ @เชิงอรรถ : @ พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี หมายถึงการเรียนที่สามารถรู้ว่า ตรงนี้แสดงบาลีไว้ ตรงนี้แสดง @อรรถาธิบายไว้ ตรงนี้แสดงอนุสนธิไว้ ตรงนี้แสดงเบื้องต้นและเบื้องปลายไว้ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๐/๔๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

มหาปเทส ๔ ประการ

เหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลง สันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น แน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด‘เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้า ในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลาย พึงจำมหาปเทสประการที่ ๑ นี้ไว้ ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์ อยู่พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมา เฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่พระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และสงฆ์นั้นรับมาผิด’ เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลง ในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้เป็น พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และสงฆ์นั้น รับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทสประการที่ ๒ นี้ไว้ ๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้ เป็นพระเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต เรียนคัมภีร์๑- ทรงธรรม๒- ทรงวินัย๓- ทรงมาติกา๔- ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระ @เชิงอรรถ : @ คัมภีร์ หมายถึงนิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย @(องฺ.ติก.อ. ๒/๒๐/๙๘) @ ธรรม หมายถึงพระสุตตันตปิฎกและอภิธัมมปิฎก (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๐/๙๘, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๒๐/๑๑๓) @ วินัย หมายถึงพระวินัยปิฎก (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๐/๙๘) @ มาติกา หมายถึงมาติกา ๒ คือ ภิกขุวิภังค์และภิกขุนีวิภังค์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๐/๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

มหาปเทส ๔ ประการ

เหล่านั้นว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอ ทั้งหลาย ยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่พระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระเหล่านั้นรับมา ผิด’ เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และ พระเถระเหล่านั้นรับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทส ประการที่ ๓ นี้ไว้ ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้ เป็นเถระอยู่รูปหนึ่งเป็นพหูสูต เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่ พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและ พยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าใน วินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระรูปนั้นรับมาผิด’ เธอ ทั้งหลายพึงทิ้งเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตร ก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้เป็นพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระรูปนั้นรับ มาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทสประการที่ ๔ นี้ไว้ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทส ๔ ประการนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องนายจุนทกัมมารบุตร (บุตรช่างทอง)

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ที่อานันทเจดีย์ในโภคนคร ทรงแสดง ธรรมีกถาเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า “ศีลมีลักษณะอย่างนี้ สมาธิ มีลักษณะอย่างนี้ ปัญญามีลักษณะอย่างนี้ สมาธิอันบุคคลอบรมโดยมีศีลเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิเป็นฐาน ย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้นโดย ชอบจากอาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ”
เรื่องนายจุนทกัมมารบุตร๑- (บุตรช่างทอง)
[๑๘๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ตามความพอพระทัยใน โภคนครแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไป ยังกรุงปาวากัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ต่อมา พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จไปถึงกรุงปาวา ประทับอยู่ที่อัมพวันของนายจุนทกัมมารบุตร เขตกรุงปาวา เมื่อนายจุนทกัมมารบุตรได้ทราบว่า ‘พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงกรุงปาวา ประทับอยู่ที่สวนมะม่วงของเรา’ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นายจุนทกัมมารบุตรเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น นายจุนทกัมมารบุตรผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจง ให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลม ใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของข้าพระองค์ ในวันพรุ่งนี้เถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.อุ. ๒๕/๗๕/๒๑๔-๒๑๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องนายจุนทกัมมารบุตร (บุตรช่างทอง)

เมื่อนายจุนทกัมมารบุตร ทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุก จากที่นั่งถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป ครั้นราตรีนั้นผ่านไป นายจุนทกัมมารบุตรได้เตรียมของขบฉันอันประณีตและ สูกรมัททวะ๑- จำนวนเพียงพอไว้ในนิเวศน์ของตน ให้คนไปกราบทูลเวลาแด่พระผู้มีพระภาค ว่า “ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า” ตอนเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนายจุนทกัมมารบุตร ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ที่ปูลาดไว้แล้ว รับสั่งเรียกนายจุนทกัมมารบุตรมาตรัสว่า “จุนทะ ท่านจงประเคน สูกรมัททวะที่เตรียมไว้แก่เรา ประเคนของขบฉันอย่างอื่นที่เตรียมไว้แก่ภิกษุสงฆ์ เขาทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ประเคนสูกรมัททวะที่เตรียมไว้แด่พระผู้มีพระภาค ประเคนของขบฉันอย่างอื่นที่เตรียมไว้แด่ภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกนายจุนทกัมมารบุตรมาตรัสว่า “จุนทะ สูกรมัททวะที่เหลือเธอจงฝังลงในหลุม เรายังไม่เห็นใครในโลก พร้อมเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาหรือมนุษย์ ที่บริโภคสูกร- มัททวะนั้นแล้วจะย่อยได้ด้วยดี นอกจากตถาคต” นายจุนทกัมมารบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ฝังสูกรมัททวะที่เหลือลงในหลุม แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นายจุนทกัมมารบุตรเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จจากไป @เชิงอรรถ : @ สูกรมัททวะ ความหมายตามมติของเกจิอาจารย์ ๓ พวก คือ @๑. หมายถึงปวัตตมังสะ เนื้อสุกรหนุ่ม @๒. หมายถึงข้าวสุกอ่อน ที่ปรุงด้วยนมสด นมส้ม เนยใส เปรียง เนยแข็ง และถั่ว @๓. หมายถึงวิธีปรุงอาหารชนิดหนึ่ง @(ที.ม.อ. ๑๘๙/๑๗๒, ขุ.อุ.อ. ๗๕/๔๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

รับสั่งขอน้ำดื่ม

[๑๙๐] หลังจากพระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารของนายจุนทกัมมารบุตร ได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรง ลงพระบังคนหนักเป็นโลหิต๑- ทรงมีทุกข- เวทนาอย่างแสนสาหัส จวนเจียนจะปรินิพพาน พระองค์ทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาเหล่านั้นไว้ไม่พรั่นพรึง รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังกรุงกุสินารากัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนอง พระดำรัสแล้ว ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงมีพระปรีชา เสวยภัตตาหารของนายจุนทกัมมารบุตรแล้ว ทรงพระประชวรอย่างแสนสาหัส จวนเจียนจะปรินิพพาน เมื่อพระศาสดาเสวยสูกรมัททวะแล้ว ได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรง ลงพระบังคนหนักตรัสว่า ‘เราจะไปยังกรุงกุสินารากัน’
รับสั่งขอน้ำดื่ม
[๑๙๑] ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงแวะลงข้างทางเสด็จเข้าไปยังควงไม้ต้นหนึ่ง รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอช่วยปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น เราเหน็ดเหนื่อยจะนั่งพัก” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น พระผู้มีพระภาคประทับบนอาสนะที่ท่านพระอานนท์ปูลาดถวายไว้ รับสั่งเรียก ท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอช่วยไปนำน้ำดื่มมา เรากระหายจะดื่มน้ำ” เมื่อพระผู้มีพระภาครับสั่งอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม เพิ่งข้ามไป เมื่อกี้นี้ น้ำนั้นมีน้อย ถูกล้อเกวียนย่ำจนขุ่นเป็นตมไหลไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม่น้ำ @เชิงอรรถ : @ แปลจากคำว่า โลหิตปกฺขนฺทิกา ในอรรถกถาอธิบายว่า เป็นอาการของโรคที่ถ่ายเป็นเลือดตลอดเวลา @(ที.ม.อ. ๑๙๐/๑๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

รับสั่งขอน้ำดื่ม

กกุธาอยู่ไม่ไกลแค่นี้เอง มีน้ำใส จืดสนิท เย็นสะอาด มีท่าเทียบน่ารื่นรมย์ ขอพระ ผู้มีพระภาคเสด็จไปทรงดื่มและสรงสนานพระวรกายในแม่น้ำกกุธานี้เถิด” แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอช่วยไปนำน้ำดื่มมา เรากระหายจะดื่มน้ำ” แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม เพิ่งข้ามไป เมื่อกี้นี้ น้ำนั้นมีน้อย ถูกล้อเกวียนย่ำจนขุ่นเป็นตมไหลไป ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ แม่น้ำกกุธาอยู่ไม่ไกลแค่นี้เอง มีน้ำใส จืดสนิท เย็นสะอาด มีท่าเทียบน่ารื่นรมย์ ขอพระผู้มีพระภาคเสด็จไปทรงดื่มและสรงสนานพระวรกาย ในแม่น้ำกกุธานี้เถิด” แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอช่วยไปนำน้ำดื่มมา เรากระหายจะดื่มน้ำ” ท่านพระอานนท์จึงทูลรับสนอง พระดำรัสแล้ว ถือบาตรเดินเข้าไปยังลำธารนั้น ขณะนั้น ลำธารนั้น มีน้ำน้อย ถูกล้อเกวียนย่ำจนขุ่นเป็นตมไหลไป แต่เมื่อท่านพระอานนท์เข้าไปใกล้ก็กลับใสสะอาด ไม่ขุ่น ไหลไป ท่านพระอานนท์จึงคิดว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระตถาคต ทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ลำธารนี้มีน้ำน้อย ถูกล้อเกวียนย่ำขุ่นเป็นตมไหลไป เมื่อเราเข้ามาใกล้ ก็กลับใสสะอาด ไม่ขุ่น ไหลไป จึงใช้บาตรตักน้ำแล้วเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เดี๋ยวนี้เอง ลำธารนั้นมีน้ำน้อย ถูกล้อเกวียนย่ำจนขุ่นเป็นตมไหลไป เมื่อข้าพระองค์ เดินเข้าไปใกล้ ก็กลับใสสะอาด ไม่ขุ่น ไหลไป ขอพระผู้มีพระภาคทรงดื่มน้ำเถิด ขอพระสุคตทรงดื่มน้ำเถิด” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดื่มน้ำแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องปุกกุสะ มัลลบุตร

เรื่องปุกกุสะ มัลลบุตร
[๑๙๒] ก็สมัยนั้น โอรสเจ้ามัลละพระนามว่าปุกกุสะ๑- เป็นสาวกของ อาฬารดาบส กาลามโคตร เดินทางไกลจากกรุงกุสินาราไปกรุงปาวา เห็นพระผู้มี พระภาคประทับอยู่ที่ควงไม้ต้นหนึ่ง ครั้นแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บรรพชิตทั้งหลายย่อมอยู่ด้วย ธรรมเป็นเครื่องอยู่อันสงบอย่างยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องมีอยู่ว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร เดินทางไกลแวะลงข้างทางที่ควงไม้ต้นหนึ่งในที่ไม่ไกล เวลานั้นเกวียน ตั้ง ๕๐๐ เล่มได้ผ่านท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร ติดๆ กันไป ขณะนั้น บุรุษคนหนึ่งกำลังเดินตามหลังหมู่เกวียนมาเข้าไปหาท่านอาฬารดาบส กาลามโคตรถึงที่อยู่แล้ว ได้ถามท่านอาฬารดาบสดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเห็นเกวียน ๕๐๐ เล่ม ผ่านไปบ้างหรือไม่’ ท่านอาฬารดาบสตอบว่า ‘เราไม่เห็นเลย ผู้มีอายุ’ ‘ท่านได้ยินเสียงหรือไม่’ ‘เราไม่ได้ยิน ผู้มีอายุ’ ‘ท่านคงหลับกระมัง’ ‘เราไม่ได้หลับ ผู้มีอายุ‘ ‘ท่านยังมีสัญญาอยู่หรือ’ ‘เรายังมีอยู่ ผู้มีอายุ’ ‘ท่านยังมีสัญญาตื่นอยู่ (แต่) ไม่ได้เห็นเกวียนตั้ง ๕๐๐ เล่ม ที่ผ่านติดๆ กันไป ทั้งไม่ได้ยินเสียง ก็ผ้าทาบของท่านเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลีบ้างไหม’ ‘เป็นอย่างนั้น ผู้มีอายุ’ @เชิงอรรถ : @ ขณะนั้นเจ้าปุกกุสะประกอบอาชีพเป็นพ่อค้าเพชรพลอย ซึ่งถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของพวกเจ้ามัลละ @ที่มีการผลัดเปลี่ยนกันครองราชย์ตามวาระ ส่วนผู้ที่ยังไม่ถึงวาระจะประกอบอาชีพทางการค้า @(ที.ม.อ. ๑๙๒/๑๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องปุกกุสะ มัลลบุตร

บุรุษนั้นมีความคิดดังนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บรรพชิต ทั้งหลายย่อมอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อันสงบอย่างยิ่ง ดังที่ท่านอาฬารดาบส ผู้ยังมี สัญญาตื่นอยู่ (แต่) ไม่เห็นเกวียนตั้ง ๕๐๐ เล่ม ที่ผ่านติดๆ กันไป ทั้งไม่ได้ยินเสียง’ เขาประกาศความเลื่อมใสอย่างยิ่งในท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วจากไป” [๑๙๓] พระผู้มีพระภาคตรัสถามปุกกุสะว่า “ปุกกุสะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่า อย่างไร อย่างไหนทำได้ยากกว่ากัน เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน (ระหว่าง) ผู้ยังมีสัญญา ตื่นอยู่ ไม่เห็นเกวียนตั้ง ๕๐๐ เล่มที่ผ่านติดๆ กันไป ทั้งไม่ได้ยินเสียง กับผู้ที่ ยังมีสัญญาตื่นอยู่ เมื่อฝนกำลังตก ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ก็ไม่ได้เห็น และไม่ได้ยินเสียง” ปุกกุสะทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เกวียน ๕๐๐ เล่ม ๖๐๐ เล่ม ๗๐๐ เล่ม ๘๐๐ เล่ม ๙๐๐ เล่ม ๑,๐๐๐ เล่ม ฯลฯ เกวียน ๑๐๐,๐๐๐ เล่ม จะเปรียบกันได้อย่างไร แท้จริง ผู้ที่ยังมีสัญญาตื่นอยู่ เมื่อฝนกำลังตก ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ก็ไม่ได้เห็นและไม่ได้ยินเสียง อย่างนี้แหละทำได้ยากกว่าและ เกิดขึ้นได้ยากกว่า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุกกุสะ คราวหนึ่ง เราพักอยู่ที่โรงกระเดื่อง เขตกรุง อาตุมา เวลานั้น ฝนกำลังตก ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ชาวนา ๒ คนพี่น้อง และโคงาน ๔ ตัว ถูกฟ้าผ่าใกล้โรงกระเดื่อง ขณะนั้น หมู่มหาชนในกรุงอาตุมา ออกไปมุงดูชาวนา ๒ คนพี่น้องและโคงาน ๔ ตัวที่ถูกฟ้าผ่า เราออกจากโรง กระเดื่อง จงกรมอยู่ที่กลางแจ้งใกล้ประตูโรงกระเดื่อง บุรุษคนหนึ่งออกมาจากหมู่ มหาชนเข้ามาหาเราถึงที่อยู่ได้ไหว้เรา ยืน ณ ที่สมควร เราได้ถามบุรุษนั้นดังนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ หมู่มหาชนนั่นชุมนุมกันทำไม’ บุรุษนั้นตอบว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เดี๋ยวนี้เอง ขณะที่ฝนกำลังตก ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ชาวนา ๒ คนพี่น้องและโคงาน ๔ ตัวถูกฟ้าผ่า หมู่มหาชนชุมนุมกันเพราะเหตุนี้ ท่านไปอยู่เสียที่ไหนเล่า’ เราตอบว่า ‘เราก็อยู่ที่นี้แหละ’ บุรุษนั้นถามว่า ‘ท่านเห็นหรือไม่’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องปุกกุสะ มัลลบุตร

เราตอบว่า ‘เราไม่เห็นเลย ผู้มีอายุ’ บุรุษนั้นถามว่า ‘ท่านได้ยินเสียงหรือไม่’ เราตอบว่า ‘เราไม่ได้ยิน ผู้มีอายุ’ บุรุษนั้นถามว่า ‘ท่านคงหลับกระมัง’ เราตอบว่า ‘เราไม่ได้หลับ ผู้มีอายุ’ บุรุษนั้นถามว่า ‘ท่านยังมีสัญญาอยู่หรือ’ เราตอบว่า ‘เรายังมีอยู่ ผู้มีอายุ’ บุรุษนั้นถามว่า ‘ท่านยังมีสัญญาตื่นอยู่ ขณะฝนกำลังตก ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ไม่ได้เห็นและไม่ได้ยินเสียงเลยหรือ’ เราตอบว่า ‘เป็นอย่างนั้น ผู้มีอายุ’ บุรุษนั้นมีความคิดดังนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บรรพชิตทั้งหลายย่อมอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อันสงบอย่างยิ่ง ดังที่ท่านสมณะ ผู้ยังมีสัญญาตื่นอยู่ เมื่อฝนกำลังตก ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ก็ไม่เห็นและ ไม่ได้ยินเสียงเลย ‘ เขาประกาศความเลื่อมใสอย่างยิ่งในเรา กระทำประทักษิณแล้ว จากไป” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ปุกกุสะ มัลลบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโปรยความเลื่อมใสที่มีในอาฬาร- ดาบส กาลามโคตร ไปตามกระแสลมที่พัดแรง หรือลอยในแม่น้ำกระแสเชี่ยว พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบ เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป ในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมกับ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องปุกกุสะ มัลลบุตร

[๑๙๔] ลำดับนั้น ปุกกุสะ มัลลบุตร รับสั่งเรียกบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า “พนาย เธอช่วยนำผ้าเนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่หนึ่ง (๒ ผืน) ของเรามา” บุรุษนั้น รับคำแล้ว นำคู่ผ้าเนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่นั้นมาให้ จากนั้น ปุกกุสะ มัลลบุตร ได้น้อมคู่ผ้าเนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่นั้นเข้าไป ถวายพระผู้มีพระภาคพร้อมกับกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี พระภาคโปรดรับคู่ผ้าเนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่นี้ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุกกุสะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้เราครองผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่งให้อานนท์ครอง” ปุกกุสะ มัลลบุตร ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ถวายให้พระผู้มีพระภาคทรง ครองผืนหนึ่ง ถวายให้ท่านพระอานนท์ครองอีกผืนหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ปุกกุสะ มัลลบุตร เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอา ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น ปุกกุสะ มัลลบุตร ผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้ อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถา ลุกจากที่นั่งถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป [๑๙๕] เมื่อปุกกุสะ มัลลบุตรจากไปไม่นาน ท่านพระอานนท์ได้น้อมคู่ผ้า เนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่นั้นเข้าไปคลุมพระวรกายของพระผู้มีพระภาค พอท่านพระ อานนท์น้อมเข้าไปคลุมพระวรกายของพระผู้มีพระภาค ผ้านั้นปรากฏสีเปล่งปลั่ง เหมือนถ่านไฟที่ปราศจากเปลว ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระฉวีวรรณของพระตถาคตบริสุทธิ์ผุดผ่อง ยิ่งนัก๑- คู่ผ้าเนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่นี้ พอข้าพระองค์น้อมเข้าไปคลุมพระวรกาย ของพระผู้มีพระภาค ปรากฏสีเปล่งปลั่งเหมือนถ่านไฟที่ปราศจากเปลว” @เชิงอรรถ : @ พระฉวีวรรณของพระตถาคตบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งนัก หมายถึงพระฉวีวรรณผุดผ่องใน ๒ คราวนั้นเกิดจาก @เหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) อาหารพิเศษ (๒) โสมนัสอย่างแรงกล้า (ที.ม.อ. ๑๙๕/๑๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องปุกกุสะ มัลลบุตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็น อย่างนั้น กายของตถาคตย่อมบริสุทธิ์ ผิวพรรณผุดผ่องอย่างยิ่งอยู่ใน ๒ คราว กายของตถาคตย่อมบริสุทธิ์ ผิวพรรณผุดผ่องอย่างยิ่งอยู่ใน ๒ คราว อะไรบ้าง คือ ๑. ในราตรีที่ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ๒. ในราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ อานนท์ กายของตถาคตย่อมบริสุทธิ์ ผิวพรรณผุดผ่องอย่างยิ่งอยู่ใน ๒ คราวนี้แล ในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ตถาคตจะปรินิพพานในระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ในสาลวัน ของมัลละ อันเป็นทางเข้า (ด้านทิศใต้) กรุงกุสินารา มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยัง แม่น้ำกกุธากัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ปุกกุสะน้อมถวายผ้าสีทองเนื้อละเอียดคู่หนึ่ง พอพระศาสดาทรงครองผ้าคู่นั้น มีพระฉวีวรรณดั่งทอง งดงามนัก [๑๙๖] ต่อมา พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จเข้าไปยัง แม่น้ำกกุธา เสด็จลงสรงในแม่น้ำกกุธา ทรงดื่มแล้วเสด็จขึ้นไปยังอัมพวัน รับสั่งเรียก ท่านพระจุนทกะมาตรัสว่า “จุนทกะ เธอช่วยปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น เราเหน็ดเหนื่อย จะนอนพัก” ท่านพระจุนทกะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น พระผู้มี พระภาคทรงสำเร็จสีหไสยา๑- โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อม พระบาท ทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงกำหนดพระทัยพร้อมจะเสด็จลุกขึ้น ส่วนท่าน พระจุนทกะนั่งเฝ้าอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคในที่นั้น @เชิงอรรถ : @ สีหไสยา หมายถึงนอนอย่างราชสีห์ นอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ กำหนดใจถึง @การลุกขึ้น (ที.ม.ฏีกา ๑๙๘/๒๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องปุกกุสะ มัลลบุตร

พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดา ผู้ทรงเข้าถึงสภาวะตามความเป็นจริง หาผู้ใดในโลกเสมอเหมือนมิได้ เสด็จถึงแม่น้ำกกุธา ที่มีน้ำใส จืดสนิท สะอาด ลงสรงแล้วจึงทรงคลายเหน็ดเหนื่อย พระบรมศาสดาผู้ทรงพร่ำสอนแจกแจงธรรม ในพระศาสนานี้ เป็นผู้แสวงหาคุณใหญ่ ครั้นสรงสนานและทรงดื่มน้ำแล้ว ก็เสด็จนำหน้าหมู่ภิกษุไปยังอัมพวัน รับสั่งภิกษุชื่อจุนทกะมาตรัสว่า 'เธอช่วยปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้นให้เป็นที่นอนพักแก่เรา' ท่านพระจุนทกะรูปนั้น ผู้ได้รับการฝึกมาดีแล้ว พอได้รับคำสั่งก็รีบปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น พระศาสดาบรรทมแล้ว ทรงหายเหน็ดเหนื่อย ฝ่ายท่านพระจุนทกะ ก็นั่งเฝ้าเฉพาะพระพักตร์อยู่ในที่นั้น [๑๙๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า "อานนท์ อาจมีใครทำให้นายจุนทกัมมารบุตรร้อนใจว่า 'จุนทะ การที่พระตถาคตเสวย บิณฑบาตของท่านเป็นมื้อสุดท้ายแล้วปรินิพพาน ท่านจะไม่ได้อานิสงส์ ความดีงาม ก็จะได้โดยยาก' อานนท์ เธอพึงช่วยบรรเทาความร้อนใจของนายจุนทกัมมารบุตรอย่างนี้ว่า 'ผู้มีอายุจุนทะ การที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของท่านเป็นมื้อสุดท้ายแล้วปรินิพพาน ท่านจะได้รับอานิสงส์ ความดีงามก็จะได้โดยง่าย เรื่องนี้เราได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค และจำได้ว่า 'บิณฑบาต ๒ คราว มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน มีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า ยิ่งกว่าบิณฑบาตอื่นๆ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เสด็จไปยังควงไม้สาละคู่

บิณฑบาต ๒ คราว อะไรบ้าง คือ ๑. บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ๒. บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส- นิพพานธาตุ บิณฑบาต ๒ คราวนี้มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน มีผลมากกว่า มีอานิสงส์ มากกว่า ยิ่งกว่าบิณฑบาตอื่นๆ’ กรรมที่จุนทกัมมารบุตรสั่งสมไว้เป็นไปเพื่ออายุ เป็นไปเพื่อวรรณะ เป็นไปเพื่อสุขะ เป็นไปเพื่อยศ เป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อความเป็นใหญ่’ อานนท์ เธอพึงช่วยบรรเทาความร้อนใจของจุนทกัมมารบุตรอย่างนี้” เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบความนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า “ผู้ให้ย่อมเพิ่มพูนบุญ ผู้สำรวมย่อมไม่ก่อเวร ส่วนผู้ฉลาดย่อมละกรรมชั่วได้ ผู้นั้นดับได้แล้วเพราะสิ้นราคะ โทสะ และโมหะ”๑-
ภาณวารที่ ๔ จบ
เสด็จไปยังควงไม้สาละทั้งคู่
[๑๙๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะข้ามไปยังฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญญวดี ตรงสาลวันของพวก เจ้ามัลละอันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารากัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปยังฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญญวดี ตรงสาลวันของพวกเจ้ามัลละ อันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารา แล้วรับสั่งเรียกท่าน พระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอช่วยตั้งเตียง๒- ระหว่างต้นสาละทั้งคู่หันด้าน ศีรษะไปทางทิศเหนือ เราเหน็ดเหนื่อยจะนอนพัก” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนอง @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.อุ. ๒๕/๗๕/๒๑๗-๒๑๙ @ เตียง ในที่นี้หมายถึงเตียงสำหรับพักผ่อนของพวกเจ้ามัลละ ที่มีอยู่ในสาลวันนั่นเอง (ที.ม.อ. ๑๙๘/๑๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เสด็จไปยังควงไม้สาละคู่

พระดำรัสแล้วตั้งเตียงระหว่างต้นสาละทั้งคู่หันด้านพระเศียรไปทางทิศเหนือ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จสีหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อน พระบาทเหลื่อมพระบาท ทรงมีสติสัมปชัญญะ เวลานั้น ต้นสาละทั้งคู่ผลิดอกนอกฤดูกาลบานสะพรั่งเต็มต้น ดอกสาละ เหล่านั้นร่วงหล่นโปรยปรายตกต้องพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต ดอกมณฑารพอันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจากอากาศโปรยปรายตกต้องพระสรีระของ พระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต จุรณแห่งจันทน์อันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจากอากาศ โปรยปรายตกต้องพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต ดนตรีทิพย์ก็บรรเลง ในอากาศเพื่อบูชาพระตถาคต ทั้งสังคีตทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อบูชาพระตถาคต [๑๙๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ ต้นสาละทั้งคู่ผลิดอกนอกฤดูกาลบานสะพรั่งเต็มต้น ดอกสาละเหล่านั้นร่วงหล่น โปรยปรายตกต้องสรีระของตถาคตเพื่อบูชาตถาคต ดอกมณฑารพอันเป็นทิพย์ก็ ร่วงหล่นจากอากาศโปรยปรายตกต้องสรีระของตถาคตเพื่อบูชาตถาคต จุรณแห่ง จันทน์อันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจากอากาศโปรยปรายตกต้องสรีระของตถาคตเพื่อบูชา ตถาคต ดนตรีทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อบูชาตถาคต ทั้งสังคีตทิพย์ก็บรรเลง ในอากาศเพื่อบูชาตถาคต ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยเครื่องสักการะเพียงเท่านี้ก็หาไม่ ผู้ใดไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตาม ธรรม๑- อยู่ ผู้นั้นชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยการบูชาอย่าง ยอดเยี่ยม ฉะนั้น อานนท์ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจะเป็นผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่’ อานนท์ เธอทั้งหลายพึง สำเหนียกอย่างนี้แล” @เชิงอรรถ : @ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงการปฏิบัติหลักเบื้องต้นมีศีลเป็นต้น ให้สอดคล้องกับโลกุตตรธรรม @ปฏิบัติชอบ หมายถึงปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้นเอง ปฏิบัติตามธรรม หมายถึงการประพฤติหลัก @เบื้องต้นให้สมบูรณ์ (ที.ม.อ. ๑๙๙/๑๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องพระอุปวาณเถระ

เรื่องพระอุปวาณเถระ
[๒๐๐] เวลานั้น ท่านพระอุปวาณะยืนถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคอยู่ตรง พระพักตร์ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งท่านพระอุปวาณะให้ถอยไปด้วยพระดำรัสว่า “ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา” ท่านพระอานนท์มีความดำริดังนี้ว่า “ท่านพระอุปวาณะนี้เคยเป็นอุปัฏฐากเฝ้า ใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคมานาน ถึงกระนั้น ในปัจฉิมกาลพระผู้มีพระภาคตรัสสั่งให้ ท่านพระอุปวาณะถอยไปด้วยพระดำรัสว่า ‘ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา’ อะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ท่านพระอุปวาณะ ถอยไปด้วยพระดำรัสว่า ‘ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา” ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ท่านพระอุปวาณะนี้เคยเป็นอุปัฏฐากเฝ้าใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคมานาน ถึงกระนั้น ในปัจฉิมกาลพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ท่านพระอุปวาณะถอยไปด้วย พระดำรัสว่า ‘ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา’ อะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไร เป็นปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ท่านอุปวาณะถอยไปด้วยพระดำรัสว่า ‘ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เทพโดยมากใน ๑๐ โลกธาตุ มาประชุมกันเพื่อจะเยี่ยมตถาคต สวนสาลวันของพวกเจ้ามัลละอันเป็นทางเข้า กรุงกุสินารานี้ มีเนื้อที่ ๑๒ โยชน์โดยรอบที่ที่พวกเทพผู้มีศักดิ์ใหญ่ ไม่ได้เบียดเสียด กันอยู่แม้เท่าปลายขนเนื้อทรายจดลงได้ก็ไม่มี พวกเทพจะโทษว่า พวกเรามาไกล ก็เพื่อจะเห็นพระตถาคต มีเพียงครั้งคราวที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ พระตถาคตจะปรินิพพาน ภิกษุ ผู้มีศักดิ์ใหญ่รูปนี้ยืนบังอยู่เบื้องหน้าพระพักตร์พระผู้มีพระภาค (ทำให้) พวกเราไม่ได้ เฝ้าพระตถาคตในปัจฉิมกาล” [๒๐๑] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกเทวดาเป็นอย่างไร คิดกันอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มีเทวดาบางพวกเป็นผู้กำหนดแผ่นดิน ขึ้นบนอากาศ๑- สยายผมประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนคน เท้าขาด เพ้อรำพันว่า ‘พระผู้มีพระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคตด่วนปรินิพพานเสีย จักษุของโลกจักด่วนอันตรธานไปแล้ว’ มีเทวดาบางพวกเป็นผู้กำหนดแผ่นดินขึ้นบนแผ่นดิน๒- สยายผมประคองแขน ร้องไห้คร่ำครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนคนเท้าขาด เพ้อรำพันว่า ‘พระผู้มี พระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคตด่วนปรินิพพานเสีย จักษุของโลกจักด่วนอันตรธาน ไปแล้ว’ ส่วนพวกเทวดาที่ไม่มีราคะ มีสติสัมปชัญญะก็อดกลั้นได้ว่า สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง เหล่าสัตว์จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้”
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
[๒๐๒] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อน ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาในทิศทั้งหลายมาเฝ้าพระตถาคต ข้าพระองค์ทั้งหลาย ย่อมได้พบ ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จ ล่วงลับไป ข้าพระองค์ทั้งหลายจะไม่ได้พบ ไม่ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่ เจริญใจ (อีก)” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้เป็นสถานที่ (เป็น ศูนย์รวม) ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง อะไรบ้าง คือ ๑. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคต ประสูติในที่นี้’ @เชิงอรรถ : @ กำหนดแผ่นดินขึ้นบนอากาศ หมายถึงเนรมิตแผ่นดินขึ้นบนอากาศ (ที.ม.อ. ๒๐๑/๑๘๗) @ กำหนดแผ่นดินขึ้นบนแผ่นดิน หมายถึงเนรมิตแผ่นดินขึ้นบนแผ่นดินปกติ เพราะแผ่นดินปกติหยาบไม่ @สามารถจะรองรับเทวดาซึ่งมีร่างกายละเอียดได้ (ที.ม.อ. ๒๐๑/๑๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องคำถามพระอานนท์

๒. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคต ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้’ ๓. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคต ทรงประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้’ ๔. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคต ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้’ อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้เป็นสถานที่ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู๑- ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศรัทธาจะมาดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคต ประสูติ ในที่นี้’ ... ว่า ‘ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมสัมโพธิญาณในที่นี้’ ... ว่า ‘ตถาคต ประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้’ ... ว่า ‘ตถาคตได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้’ อานนท์ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งจาริกไปยังเจดีย์จักมีจิตเลื่อมใสตายไป ชนเหล่านั้น ทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เรื่องคำถามพระอานนท์
[๒๐๓] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกข้าพระองค์จะปฏิบัติต่อสตรีอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่าดู” “เมื่อจำต้องดู จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” “อย่าพูดด้วย” “เมื่อจำต้องพูด จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” “ต้องตั้งสติ๒- ไว้” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๑๘/๑๘๐ @ ตั้งสติ ในที่นี้หมายถึงการควบคุมจิตให้คิดต่อสตรีในทางที่ดีงาม เช่น รู้สึกว่าเป็นแม่ในสตรีที่อยู่ในวัยแม่ @รู้สึกว่าเป็นพี่สาวน้องสาวในสตรีที่อยู่ในวัยพี่สาวน้องสาว รู้สึกว่าเป็นลูกสาวในสตรีที่อยู่ในวัยสาว @(ที.ม.อ. ๒๐๓/๑๘๙-๑๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องคำถามพระอานนท์

[๒๐๔] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกข้าพระองค์จะปฏิบัติต่อพระสรีระ ของพระตถาคตอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พวกเธออย่ากังวลเพื่อบูชาสรีระของตถาคต จงพยายาม ขวนขวายทำหน้าที่ของตนเองเถิด อย่าประมาทในหน้าที่ของตน มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิต พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต คหบดีผู้เป็นบัณฑิต ผู้เลื่อมใสในตถาคต จะทำการบูชาสรีระของตถาคตเอง” [๒๐๕] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกเขาพึงปฏิบัติต่อพระสรีระของพระ ตถาคตอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พึงปฏิบัติต่อสรีระของตถาคตเหมือนอย่างที่ พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดินั่นแหละ” ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพของพระเจ้า จักรพรรดิอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พวกเขาใช้ผ้าใหม่ห่อพระบรมศพของพระเจ้า จักรพรรดิเสร็จแล้วจึงห่อด้วยสำลีบริสุทธิ์ แล้วจึงห่อด้วยผ้าใหม่อีกชั้นหนึ่ง ทำโดย วิธีนี้จนห่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้าและสำลีได้ ๑,๐๐๐ ชั้น แล้วอัญเชิญ พระบรมศพลงในรางเหล็กเต็มด้วยน้ำมัน ใช้รางเหล็กอีกอันหนึ่งครอบแล้ว ทำ จิตกาธานด้วยไม้หอมล้วน แล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าจักรพรรดิ สร้าง สถูปของพระเจ้าจักรพรรดิไว้ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง อานนท์ พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพ ของพระเจ้าจักรพรรดิ อย่างนี้แล พวกเขาพึงปฏิบัติต่อสรีระของตถาคตเหมือนอย่างที่พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพ พระเจ้าจักรพรรดิ พึงสร้างสถูปของตถาคตไว้ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง ชนเหล่าใดจักยก ระเบียบดอกไม้ ของหอม หรือจุรณ จักอภิวาท หรือจักทำจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น การกระทำนั้นจักเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ถูปารหบุคคล

ถูปารหบุคคล๑-
[๒๐๖] อานนท์ ถูปารหบุคคล (ผู้ควรสร้างสถูปถวาย) ๔ จำพวกนี้ ถูปารหบุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล ๒. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล ๓. พระสาวกของพระตถาคตเป็นถูปารหบุคคล ๔. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นถูปารหบุคคล พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอำนาจ ประโยชน์ อะไร คือ ชนเป็นอันมากทำจิตให้เลื่อมใสด้วยคิดว่า ‘นี้เป็นสถูปของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น’ พวกเขาทำจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น หลังจาก ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น ถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้แล พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ อะไร คือ ชนเป็นอันมากทำจิตให้เลื่อมใสด้วยคิดว่า ‘นี้เป็นสถูปของพระปัจเจก- สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขาทำจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น หลังจากตายแล้วจะไป เกิดในสุคติโลกสวรรค์ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอำนาจ ประโยชน์ข้อนี้แล พระสาวกของพระตถาคตเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ อะไร คือ ชนเป็นอันมากทำจิตให้เลื่อมใสด้วยคิดว่านี้เป็นสถูปของพระสาวกของ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขาทำจิตให้เลื่อมใสใน สถูปนั้น หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พระสาวกของพระตถาคตนั้น เป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้แล @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ อง.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๔๗/๓๖๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องความเป็นอัจฉริยะของพระอานนท์

พระเจ้าจักรพรรดิเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ อะไร คือ ชนเป็นอันมากทำจิตให้เลื่อมใสด้วยคิดว่า นี้เป็นพระสถูปของพระธรรม- ราชาผู้ทรงธรรมพระองค์นั้น พวกเขาทำจิตให้เลื่อมใสในพระสถูปนั้น หลังจากตาย แล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พระเจ้าจักรพรรดิเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัย อำนาจประโยชน์ข้อนี้แล อานนท์ ถูปารหบุคคล ๔ จำพวกนี้แล”
เรื่องความเป็นอัจฉริยะของพระอานนท์
[๒๐๗] เวลานั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปสู่พระวิหาร๑- ยืนเหนี่ยวไม้สลักเพชร ร้องไห้อยู่ว่า “เรายังเป็นเสขบุคคล มีกิจที่จะต้องทำ แต่พระศาสดาผู้ทรงอนุเคราะห์ เราจะปรินิพพานเสียแล้ว” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “อานนท์ไปไหน” พวกภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอานนท์เข้าไปยังพระ วิหาร ยืนเหนี่ยวไม้สลักเพชรร้องไห้อยู่ว่า ‘เรายังเป็นเสขบุคคล มีกิจที่จะต้องทำ แต่พระศาสดาผู้ทรงอนุเคราะห์เราจะปรินิพพานเสียแล้ว” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า “ภิกษุ เธอจงไป บอกอานนท์ตามคำเราว่า ‘ท่านอานนท์ พระศาสดารับสั่งหาท่าน” ภิกษุรูปนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ บอกว่า “ท่านอานนท์ พระศาสดารับสั่งหาท่าน” ท่านพระอานนท์รับคำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร @เชิงอรรถ : @ วิหาร ในที่นี้หมายถึงพลับพลา (มณฺฑลมาล) (ที.ม.อ. ๒๐๗/๑๙๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องความเป็นอัจฉริยะของพระอานนท์

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระอานนท์ดังนี้ว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่า เศร้าโศก อย่าคร่ำครวญเลย เราบอกไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า ‘ความพลัดพราก ความทอดทิ้ง ความแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นจากของรักของชอบใจทุกอย่างจะต้องมี ฉะนั้น จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้ สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้ที่จะปรารถนาว่า ‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลาย ไปเลย’ เธออุปัฏฐากตถาคตมาช้านาน ด้วยเมตตากายกรรม อันเกื้อกูล ให้เกิดสุข เสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีประมาณ ด้วยเมตตาวจีกรรม อันเกื้อกูล ให้เกิดสุข เสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีประมาณ ด้วยเมตตามโนกรรม อันเกื้อกูล ให้เกิดสุข เสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีประมาณ อานนท์ เธอได้ทำบุญไว้แล้ว จงประกอบ ความเพียรเข้าเถิด เธอจะเป็นผู้สิ้นอาสวะโดยเร็ว” [๒๐๘] จากนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายใน อดีตกาล ที่จัดว่าเป็นผู้อุปัฏฐากผู้ยอดเยี่ยมก็เหมือนอานนท์ของเรานี้เอง ภิกษุผู้อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายใน อนาคตกาล ที่จัดว่าเป็นอุปัฏฐากผู้ยอดเยี่ยมก็เหมือนอานนท์ของเรานี้เอง อานนท์เป็นบัณฑิต อานนท์มีปัญญาหลักแหลม ย่อมรู้ว่า ‘นี้เป็นเวลา ของภิกษุที่จะเข้าเฝ้าพระตถาคต นี้เป็นเวลาของภิกษุณี นี้เป็นเวลาของอุบาสก นี้เป็นเวลาของอุบาสิกา นี้เป็นเวลาของพระราชา นี้เป็นเวลาของราชมหาอำมาตย์ นี้เป็นเวลาของเดียรถีย์ นี้เป็นเวลาของสาวกเดียรถีย์’ [๒๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะ ไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้ มีอยู่ ในอานนท์ ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ถ้าภิกษุบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์ แสดงธรรมในภิกษุบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี ภิกษุบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องความเป็นอัจฉริยะของพระอานนท์

๒. ถ้าภิกษุณีบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้า อานนท์แสดงธรรมในภิกษุณีบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจ ยินดี ภิกษุณีบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง ๓. ถ้าอุบาสกบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์ แสดงธรรมในอุบาสกบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี อุบาสกบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง ๔. ถ้าอุบาสิกาบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในอุบาสิกาบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรม ก็มีใจยินดี อุบาสิกาบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้แล มีอยู่ใน อานนท์๑- ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้มีอยู่ในพระเจ้า จักรพรรดิ ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ถ้าขัตติยบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มีใจ ยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมีพระราชปฏิสันถารในขัตติยบริษัทนั้น แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี ขัตติยบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง ๒. ถ้าพราหมณบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็ มีใจยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมีพระราชปฏิสันถารในพราหมณ- บริษัทนั้น แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี พราหมณบริษัท ยังไม่เต็มอิ่ม เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง ๓. ถ้าคหบดีบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มี ใจยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมีพระราชปฏิสันถารในคหบดีบริษัทนั้น @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๒๙/๑๙๗-๑๙๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องความเป็นอัจฉริยะของพระอานนท์

แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี คหบดีบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง ๔. ถ้าสมณบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มีใจ ยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมีพระราชปฏิสันถารในสมณบริษัทนั้น แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี สมณบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้แล มีอยู่ในพระเจ้า จักรพรรดิ ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีอยู่ในอานนท์ ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ถ้าภิกษุบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้า อานนท์แสดงธรรมในภิกษุบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจ ยินดี ภิกษุบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง ๒. ถ้าภิกษุณีบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้า อานนท์แสดงธรรมในภิกษุณีบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจ ยินดี ภิกษุณีบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง ๓. ถ้าอุบาสกบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้า อานนท์แสดงธรรมในอุบาสกบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มี ใจยินดี อุบาสกบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง ๔. ถ้าอุบาสิกาบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้า อานนท์แสดงธรรมในอุบาสิกาบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มี ใจยินดี อุบาสิกาบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะ ไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้แล มีอยู่ใน อานนท์”๑- @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก (แปล) ๒๑/๑๓๐/๑๙๘-๑๙๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

ทรงแสดงมหาสุทัสสนสูตร

ทรงแสดงมหาสุทัสสนสูตร๑-
[๒๑๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคอย่าได้ปรินิพพานใน เมืองเล็ก เมืองดอน เมืองกิ่งเช่นนี้ เมืองใหญ่เหล่าอื่นยังมีอยู่ เช่น กรุงจัมปา กรุงราชคฤห์ กรุงสาวัตถี เมืองสาเกต กรุงโกสัมพี กรุงพาราณสี ขอพระผู้มี พระภาคโปรดปรินิพพานในเมืองเหล่านี้เถิด ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล๒- ผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระตถาคต มีอยู่มากในเมืองเหล่านั้น ท่าน เหล่านั้นจะทำการบูชาพระสรีระของพระตถาคต” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น อย่าพูดอย่างนั้นว่า ‘กุสินาราเป็นเมืองเล็ก เมืองดอน เมืองกิ่ง’ อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่ามหาสุทัสสนะ ผู้ทรงธรรม ครองราชย์โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทรทั้งสี่เป็น ขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ มีพระราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ กรุงกุสินารานี้มีนามว่ากรุงกุสาวดี ได้เป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ด้านทิศ ตะวันออกและทิศตะวันตกยาว ๑๒ โยชน์ ด้านทิศเหนือและทิศใต้กว้าง ๗ โยชน์ กรุงกุสาวดีเป็นราชธานีที่เจริญรุ่งเรือง มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น เศรษฐกิจดี เหมือนกับกรุงอาฬกมันทา ซึ่งเป็นราชธานีของทวยเทพที่เจริญรุ่งเรือง มีประชากรมาก มียักษ์หนาแน่น เศรษฐกิจดี อานนท์ กรุงกุสาวดีเป็นราชธานีที่อึกทึกครึกโครม เพราะเสียง ๑๐ ชนิด ทั้งวันทั้งคืน ได้แก่ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงกังสดาล เสียงประโคมดนตรี และเสียงว่า ‘ท่านทั้งหลายโปรดบริโภค ดื่ม เคี้ยวกิน’ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๒๔๑-๒๔๒ หน้า ๑๘๑ ในเล่มนี้ @ มหาศาล หมายถึงผู้มีทรัพย์มาก ขัตติยมหาศาลมีพระราชทรัพย์ ๑๐๐-๑,๐๐๐ โกฏิ พราหมณมหาศาล @มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ คหบดีมหาศาลมีทรัพย์ ๔๐ โกฏิ (ที.ม.อ. ๒๑๐/๑๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

การถวายอภิวาทของเจ้ามัลละ

ไปเถิด อานนท์ เธอจงเข้าไปกรุงกุสินาราแจ้งแก่เจ้ามัลละทั้งหลายผู้ครอง กรุงกุสินาราว่า ‘วาเสฏฐะทั้งหลาย พระตถาคตจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรี วันนี้ ท่านทั้งหลายจงรีบออกไป จงรีบออกไป จะได้ไม่เสียใจในภายหลังว่า ‘พระตถาคตปรินิพพานในเขตบ้านเมืองของพวกเรา พวกเรา (กลับ) ไม่ได้เฝ้าพระตถาคต เป็นครั้งสุดท้าย” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ครองอันตรวาสกถือ บาตรและจีวรเข้าไปยังกรุงกุสินาราเพียงผู้เดียว
การถวายอภิวาทของเจ้ามัลละ
[๒๑๑] ขณะนั้น พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินารา กำลังประชุมกันอยู่ที่ สัณฐาคารด้วยราชกิจบางอย่าง ท่านพระอานนท์เข้าไปที่สัณฐาคารของพวกเจ้ามัลละ ถวายพระพรว่า “วาเสฏฐะทั้งหลาย พระตถาคตจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่ง ราตรีวันนี้ ท่านทั้งหลายจงรีบออกไป จงรีบออกไป จะได้ไม่เสียพระทัยในภายหลังว่า ‘พระตถาคตปรินิพพานในเขตบ้านเมืองของพวกเรา พวกเรา(กลับ)ไม่ได้เฝ้าพระ ตถาคตเป็นครั้งสุดท้าย’ พวกเจ้ามัลละ โอรส๑- สุณิสา และปชาบดีของพวกเจ้ามัลละพอสดับคำของ ท่านพระอานนท์ ทรงเศร้าเสียพระทัย เปี่ยมไปด้วยโทมนัส บางพวกสยายพระเกศา ทรงประคองพระพาหา กันแสงคร่ำครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนคนเท้าขาด ทรงเพ้อรำพันว่า “พระผู้มีพระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคตด่วนปรินิพพานเสีย จักษุของโลกจักด่วนอันตรธานไป’ จากนั้น พวกเจ้ามัลละ โอรส สุณิสา และปชาบดีของพวกเจ้ามัลละ ทรงเศร้า เสียพระทัย เปี่ยมไปด้วยโทมนัสต่างพากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์ที่สาลวันซึ่งเป็น ทางเข้ากรุงกุสินาราของพวกเจ้ามัลละ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดดังนี้ว่า “ถ้าเราจะให้เจ้ามัลละทั้งหลายผู้ครองกรุง กุสินาราถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทีละองค์ๆ จะถวายอภิวาทไม่ทั่วกัน ราตรี จะสว่างก่อน ทางที่ดี เราควรให้ได้ถวายอภิวาทตามลำดับตระกูล โดยกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้ามัลละมีชื่อนี้พร้อมโอรส ชายา บริษัท และอำมาตย์ @เชิงอรรถ : @ โอรส หมายถึงบุตรที่มารดาเลี้ยงดูให้เจริญอยู่บนอก (เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด) (ที.ม.อ. ๑๕๓/๑๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องสุภัททปริพาชก

ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร” แล้วจึงจัดให้เจ้า มัลละทั้งหลายผู้ครองกรุงกุสินาราถวายอภิวาทตามลำดับตระกูล โดยกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้ามัลละมีชื่อนี้พร้อมโอรส ชายา บริษัท และอำมาตย์ ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร” ด้วยวิธีนี้ ท่าน พระอานนท์สามารถจัดให้เจ้ามัลละทั้งหลายถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคได้เสร็จชั่ว เวลาปฐมยามเท่านั้น
เรื่องสุภัททปริพาชก
[๒๑๒] สมัยนั้น สุภัททปริพาชกอาศัยอยู่ในกรุงกุสินารา ได้ทราบว่า “พระสมณโคดมจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้” เขาคิดดังนี้ว่า “เราได้ฟัง คำของพวกปริพาชกผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้งคราว’ พระสมณ- โคดมจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ก็เรายังมีความสงสัยอยู่ เราเลื่อมใส ท่านพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมจะแสดงธรรมให้เราละความสงสัย นี้ได้’ จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ที่สาลวันซึ่งเป็นทางเข้ากรุงกุสินาราของพวกเจ้า มัลละได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ข้าพเจ้าได้ฟังคำของพวก ปริพาชกผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้งคราว’ พระสมณโคดมจะ ปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ข้าพเจ้ายังมีความสงสัยอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใส พระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมจะแสดงธรรมให้ข้าพเจ้าละความสงสัยนี้ได้’ ขอโอกาสให้ข้าพเจ้าได้เฝ้าพระสมณโคดมเถิด” เมื่อสุภัททปริพาชกกล่าวอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ตอบว่า “อย่าเลย สุภัททะ ผู้มีอายุ ท่านอย่ารบกวนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาคทรงเหน็ดเหนื่อย” แม้ครั้งที่ ๒ สุภัททปริพาชกก็กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องสุภัททปริพาชก

แม้ครั้งที่ ๓ สุภัททปริพาชกก็กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ข้าพเจ้าได้ฟังคำของพวกปริพาชกผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์ พูดกันว่า ‘พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้งคราว’ พระสมณโคดมจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ข้าพเจ้ายังมีความสงสัยอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใสพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมจะแสดงธรรมให้ข้าพเจ้า ละความสงสัยนี้ได้’ ขอโอกาสให้ข้าพเจ้าได้เฝ้าพระสมณโคดมเถิด” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็กล่าวกับสุภัททปริพาชกดังนี้ว่า “อย่าเลย สุภัททะผู้มีอายุ ท่านอย่ารบกวนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาคทรงเหน็ดเหนื่อย” [๒๑๓] พระผู้มีพระภาคทรงได้ยินถ้อยคำของท่านพระอานนท์เจรจากับ สุภัททปริพาชก จึงรับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อย่าห้ามสุภัททะเลย อานนท์ ให้สุภัททะเข้ามาหาตถาคต เขาจะถามปัญหาบางอย่างกับเรา เขาจะถาม เพื่อหวังความรู้เท่านั้น ไม่หวังรบกวนเรา อนึ่ง เมื่อเราตอบสิ่งที่ถาม เขาจะรู้ได้ทันที” ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับสุภัททปริพาชกดังนี้ว่า “ไปเถิดสุภัททะ ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคประทานโอกาสแก่ท่าน” สุภัททปริพาชกจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นอาจารย์ มีชื่อเสียงเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ประชาชนยกย่องกันว่าเป็นคนดี ได้แก่ ปูรณะ กัสสปะ มักขลิ โคศาล อชิตะ เกสกัมพล ปกุธะ กัจจายนะ สัญชัย เวลัฏฐบุตร นิครนถ์ นาฏบุตร เจ้าลัทธิเหล่านั้นทั้งหมดรู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง หรือ ไม่ได้รู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง หรือบางพวกรู้ บางพวกไม่รู้” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สุภัททะ อย่าเลย เรื่องที่เธอถามว่า ‘เจ้าลัทธิ เหล่านั้นทั้งหมดรู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง หรือไม่รู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง หรือบางพวกรู้ บางพวกไม่รู้’ อย่าได้สนใจเลย เราจะแสดงธรรมแก่เธอ เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าว” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องสุภัททปริพาชก

สุภัททปริพาชกทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า [๒๑๔] “สุภัททะ ในธรรมวินัยที่ไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๑ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๒ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๓ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๔ ๑- ในธรรมวินัยที่มี อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมมีสมณะที่ ๑ ย่อมมีสมณะที่ ๒ ย่อมมีสมณะที่ ๓ ย่อมมี สมณะที่ ๔ สุภัททะ ในธรรมวินัยนี้มีอริยมรรคมีองค์ ๘ สมณะที่ ๑ มีอยู่ในธรรม วินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๓ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ เท่านั้น สมณะที่ ๔ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ ทั่วถึง สุภัททะ ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ ทั้งหลาย สุภัททะ เราบวชขณะอายุ ๒๙ ปี แสวงหาว่าอะไร คือกุศล เราบวชมาได้ ๕๐ ปีกว่า ยังไม่มีแม้สมณะที่ ๑ ภายนอกธรรมวินัยนี้ ผู้อาจแสดงธรรมเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่มีสมณะที่ ๒ ไม่มีสมณะที่ ๓ ไม่มีสมณะที่ ๔ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลาย ผู้รู้ทั่วถึง สุภัททะ ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ ทั้งหลาย” [๒๑๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ สุภัททปริพาชกได้กราบทูลว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ @เชิงอรรถ : @ สมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ และสมณะที่ ๔ ในที่นี้ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี @และพระอรหันต์ ตามลำดับ (ที.ม.อ. ๒๑๔/๑๙๖) และดูเทียบ อภิ.ก. ๓๗/๘๗๕/๔๙๗-๔๙๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องสุภัททปริพาชก

ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรง ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิด ของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจัก เห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น สรณะ และข้าพระองค์พึงได้การบรรพชา พึงได้การอุปสมบทในสำนักของพระผู้มี พระภาค” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุภัททะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ ประสงค์จะบรรพชา ประสงค์จะอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไป เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชา จะให้อุปสมบทเป็นภิกษุได้ อนึ่ง ในเรื่องนี้เราคำนึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย” สุภัททปริพาชกกราบทูลว่า “หากผู้ที่เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชา ประสงค์จะอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือน ล่วงไป เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชา จะให้อุปสมบทเป็นภิกษุได้ ข้าพระองค์จัก ขออยู่ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไป เมื่อภิกษุพอใจ ก็จงให้บรรพชา จงให้ อุปสมบทเป็นภิกษุเถิด” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้สุภัททะบวช” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ในขณะนั้น สุภัททปริพาชกจึง กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านพระอานนท์ เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่พระศาสดาทรงแต่งตั้งท่านโดยมอบหมายให้บรรพชาอันเตวาสิก๑- ในที่เฉพาะพระ พักตร์” @เชิงอรรถ : @ ความนี้แปลมาจากคำว่า อนฺเตวาสิกาภิเสเกน อภิสิตฺตา หมายถึงการที่อาจารย์แต่งตั้งศิษย์ในสำนักให้ @บวชลูกศิษย์แทนตน ซึ่งเป็นจารีตของลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนา ถือเป็นเกียรติยศที่ใครๆ ก็อยากได้ @สุภัททะ ถือตามจารีตนี้กล่าวยกย่องท่านพระอานนท์ (ที.ม.อ. ๒๑๕/๑๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

พระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต

สุภัททปริพาชก ได้การบรรพชาได้การอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค แล้วแล เมื่อท่านสุภัททะได้บรรพชาอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาทมีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่๑- ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ จึงเป็นอันว่าท่านสุภัททะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านได้เป็นสักขิสาวก๒- องค์สุดท้ายของพระผู้มีพระภาค
ภาณวารที่ ๕ จบ
พระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต
[๒๑๖] ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ บางทีพวกเธออาจจะคิดว่า ‘ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา’ ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่เธอ ทั้งหลาย หลังจากเราล่วงลับไป ก็จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไป ภิกษุไม่ควรเรียกกันและกันด้วยวาทะว่า ‘อาวุโส‘๓- เหมือนดังที่เรียกกันตอนนี้ ภิกษุผู้แก่กว่าพึงเรียกภิกษุผู้อ่อนกว่า โดยชื่อหรือตระกูล โดยวาทะว่า ‘อาวุโส’ ก็ได้ ภิกษุผู้อ่อนกว่าพึงเรียกภิกษุผู้แก่กว่าว่า ‘ภันเต’ หรือ @เชิงอรรถ : @ อุทิศกายและใจอยู ในที่นี้หมายถึงมุ่งที่จะบรรลุอรหัตตผล โดยไม่ห่วงอาลัยต่อร่างกายและชีวิตของตน @(ที.ม.อ. ๒๐๔/๑๙๐, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๔๓/๓๕๓) @ สักขิสาวก แปลว่า พระสาวกที่ทันเห็นองค์พระพุทธเจ้า มี ๓ พวก คือ (๑) ผู้บรรพชาอุปสมบท เรียน @กัมมัฏฐาน บรรลุอรหัตตผลเมื่อพระผู้มีพระภาคยังทรงพระชนม์อยู่ (๒) ผู้ได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อ @พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ต่อมาได้เรียนกัมมัฏฐานและบรรลุอรหัตตผล (๓) ผู้ได้เรียนกัมมัฏฐาน @เมื่อพระผู้มีพระภาคยังทรงพระชนม์อยู่ พระสุภัททะจัดอยู่ในพวกที่ ๑ (ที.ม.อ. ๒๑๕/๑๙๘) ดูเทียบ @ที.สี. (แปล) ๙/๔๐๕/๑๗๔, ม.ม. ๑๓/๒๒๒/๑๙๕-๑๙๖, สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๙๖/๒๘๑ @ อาวุโส แปลว่า ผู้มีอายุ เดิมใช้เป็นคำเรียกกันเป็นสามัญ คือ ภิกษุผู้แก่กว่าใช้เรียกภิกษุผู้อ่อนกว่าหรือ @ภิกษุผู้อ่อนกว่า ใช้เรียกภิกษุผู้แก่กว่าก็ได้ (ที.ม.อ. ๒๑๖/๑๙๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

พระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต

‘อายัสมา’ ก็ได้ อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไป ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะถอนสิกขาบท เล็กน้อย๑- เสียบ้างก็ถอนได้ อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไป สงฆ์พึงลงพรหมทัณฑ์แก่ ภิกษุฉันนะ” ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พรหมทัณฑ์ เป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุฉันนะพึงพูดได้ตามต้องการ แต่ภิกษุไม่พึงว่ากล่าวตักเตือนพร่ำสอนเธอ” [๒๑๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย ถ้าภิกษุแม้เพียงรูปเดียวพึงมีความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ) เธอทั้งหลายจงถามเถิด จะได้ไม่เสียใจในภายหลังว่า ‘พระศาสดายังอยู่ต่อหน้า เราไม่กล้าทูลถามในที่เฉพาะ พระพักตร์” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นได้นิ่งเงียบ แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายตรัสว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุแม้เพียงรูปเดียวพึงมีความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา เธอทั้งหลายจงถามเถิด จะได้ไม่เสียใจในภายหลังว่า พระศาสดายังอยู่ต่อหน้า เราไม่กล้าทูลถามในที่เฉพาะพระพักตร์” @เชิงอรรถ : @ สิกขาบทเล็กน้อย พระสังคีติกาจารย์ในที่ประชุมสังคายนาครั้งแรกมีความเห็นต่างกันเป็น ๕ พวก คือ @พวกที่ ๑ เห็นว่า นอกจากปาราชิก ๔ สิกขาบทอื่นจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย @พวกที่ ๒ เห็นว่า นอกจากปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ สิกขาบทอื่นจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย @พวกที่ ๓ เห็นว่า นอกจากปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท @อื่นจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย @พวกที่ ๔ เห็นว่า นอกจากปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ @สิกขาบทอื่นจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย @พวกที่ ๕ เห็นว่า นอกจากปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ @ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทอื่นจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย @ในบรรดาความเห็นเหล่านี้ ไม่มีความเห็นใดได้รับการยอมรับเป็นเอกฉันท์ ฉะนั้น ที่ประชุมจึงมีมติ @ไม่ให้ถอน (วิ.จู. (แปล) ๗/๔๔๑/๓๘๒, ที.ม.อ. ๒๑๖/๒๐๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

พระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต

แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุเหล่านั้นได้นิ่งเงียบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายไม่กล้าถามเพราะความเคารพในศาสดา ก็ขอให้ภิกษุผู้เป็นเพื่อนบอก (ความสงสัย) แก่ภิกษุผู้เป็นเพื่อนให้(ถาม) ก็ได้๑- เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นได้นิ่งเงียบ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ ข้าพระองค์เลื่อมใสในภิกษุสงฆ์อย่างนี้ว่า แม้ภิกษุเพียงรูปเดียวก็ไม่มี ความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือใน ปฏิปทา” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอกล่าวเพราะความเลื่อมใส แต่ตถาคตมี ญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ดีว่า ในภิกษุสงฆ์นั้น แม้ภิกษุเพียงรูปเดียวก็ไม่มีความสงสัย หรือความเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา ในจำนวนภิกษุ ๕๐๐ รูป ภิกษุผู้มีคุณธรรมขั้นต่ำสุด เป็นพระโสดาบัน๒- ไม่มีทาง ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า๓- [๒๑๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงทำหน้าที่ให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด๔-” นี้เป็นพระปัจฉิมวาจา ของพระตถาคต @เชิงอรรถ : @ อรรถกถากล่าวเสริมความให้เต็มว่า “เราจะกล่าวกับภิกษุเพียงรูปเดียว ภิกษุทั้งหมดได้ฟังแล้วก็จักหาย @สงสัย” (ที.ม.อ. ๒๑๗/๒๐๑) @ พระโสดาบัน ในที่นี้ทรงหมายถึงท่านพระอานนท์ (ที.ม.อ. ๒๑๗/๒๐๑) @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๗๖/๑๒๑-๑๒๒ @ พระพุทธพจน์บทนี้ แสดงให้เห็นว่า ทรงย่อพระพุทโธวาทที่ทรงประกาศตลอดเวลา ๔๕ ปี ลงในบทว่า @ความไม่ประมาทเพียงบทเดียว (ที.ม.อ. ๒๑๘/๒๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องพุทธปรินิพพาน

เรื่องพุทธปรินิพพาน๑-
[๒๑๙] ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌาน ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌาน ทรงเข้า จตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌาน ทรงเข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ออกจาก อากาสานัญจายตนสมาบัติ ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากวิญญาณัญ- จายตนสมาบัติ ทรงเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติ ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ขณะนั้น ท่านพระอานนท์เรียนถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะ ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้วหรือ” ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านอานนท์ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคยังไม่ ปรินิพพาน ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่” ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ทรงเข้า เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ทรงเข้า อากิญจัญญายตนสมาบัติ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติ ทรงเข้าวิญญาณัญ- จายตนสมาบัติ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ทรงเข้าอากาสานัญจายตน- สมาบัติ ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติ ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจาก จตุตถฌาน ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌาน ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจาก ทุติยฌาน ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจาก ทุติยฌาน ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌาน ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจาก จตุตถฌานแล้วได้เสด็จดับขันธปรินิพพานในลำดับถัดมา [๒๒๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้เกิดแผ่นดินไหว อย่างรุนแรงน่ากลัว ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้องขึ้นพร้อมกับการ เสด็จดับขันธปรินิพพาน @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๘๖/๒๕๙-๒๖๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องพุทธปรินิพพาน

เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพาน ท้าวสหัมบดีพรหมกล่าวคาถานี้ ขึ้นพร้อมกับการเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า “สรรพสัตว์จะต้องทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลก พระศาสดาผู้หาใครเปรียบเทียบไม่ได้ในโลก ผู้เข้าถึงสภาวะตามความเป็นจริง ผู้บรรลุพลธรรม๑- ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบเช่นนี้ ก็ยังปรินิพพาน” [๒๒๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพาน ท้าวสักกะจอมเทพ กล่าวคาถานี้ขึ้นพร้อมกับการเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า “สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความสงบแห่งสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข”๒- [๒๒๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ท่านพระอนุรุทธะ กล่าวคาถาเหล่านี้ขึ้นพร้อมกับการเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า “ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ของพระผู้มีพระภาคผู้มีพระทัยมั่นคง ผู้คงที่ ไม่มีแล้ว พระมุนีผู้ไม่หวั่นไหว ทรงมุ่งใฝ่สันติ ปรินิพพานเสียแล้ว พระองค์ผู้มีพระทัยไม่หดหู่ ทรงอดกลั้นเวทนาได้ มีพระทัยหลุดพ้นแล้ว ดุจดวงประทีปที่เคยโชติช่วงดับไปฉะนั้น” @เชิงอรรถ : @ บรรลุพลธรรม หมายถึงมีพระกำลังอันเกิดจากญาณ ๑๐ ที่เรียกว่า ทสพลญาณ หรือตถาคตพละ @(ที.ม.อ. ๒๒๐/๒๐๒) @ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๘๖/๒๖๑, สํ.นิ. ๑๖/๑๔๓/๑๘๕, ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๑๖๘/๕๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องพุทธปรินิพพาน

[๒๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ท่านพระอานนท์ กล่าวคาถานี้ขึ้นพร้อมกับการเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า “เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระอาการอันล้ำเลิศทุกอย่าง๑- ปรินิพพานแล้ว ได้เกิดเหตุอัศจรรย์น่ากลัว ขนพองสยองเกล้า” [๒๒๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว บรรดาภิกษุเหล่านั้น พวกที่ยังมีราคะ พากันประคองแขนคร่ำครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนคน เท้าขาด เพ้อรำพันว่า “พระผู้มีพระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคตด่วนปรินิพพานเสีย จักษุของโลกด่วนอันตรธานไปแล้ว” ส่วนภิกษุผู้ไม่มีราคะ มีสติสัมปชัญญะ ก็อดกลั้น ได้ว่า “สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เหล่าสัตว์จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้” [๒๒๕] ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะเตือนภิกษุทั้งหลายว่า “อย่าเลย ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศก อย่าคร่ำครวญเลย เรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเคย ตรัสสอนไว้มิใช่หรือว่า ความพลัดพราก ความทอดทิ้ง ความแปรเปลี่ยนเป็นอย่าง อื่นจากของรักของชอบใจทุกอย่างจะต้องมี ฉะนั้น จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนใน สังขารนี้ สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งล้วนแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไป ไม่ได้ที่จะปรารถนาว่า ‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไปเลย’ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเทวดากำลังตำหนิอยู่” ท่านพระอานนท์ถามว่า “ท่านอนุรุทธะ พวกเทวดาเป็นอย่างไร ทำใจได้หรือ” ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านอานนท์ มีเทวดาบางพวกเป็นผู้กำหนดแผ่นดิน ขึ้นบนอากาศ สยายผม ประคองแขน ร้องไห้คร่ำครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนคนเท้าขาด เพ้อรำพันว่า “พระผู้มีพระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคต ด่วนปรินิพพานเสีย จักษุของโลกด่วนอันตรธานไปแล้ว” @เชิงอรรถ : @ มีพระอาการอันล้ำเลิศทุกอย่าง หมายถึงทรงมีเหตุอันล้ำเลิศทุกอย่างมีศีลเป็นต้น @(ที.ม.อ. ๒๒๓/๒๐๓, ที.ม.ฏีกา ๒๒๓/๒๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

บูชาพระพุทธสรีระ

มีเทวดาบางพวกเป็นผู้กำหนดแผ่นดินขึ้นบนแผ่นดิน สยายผม ประคองแขน ร้องไห้คร่ำครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมาเหมือนคนเท้าขาด ฯลฯ” ส่วนเทวดาที่ไม่มีราคะ มีสติสัมปชัญญะก็อดกลั้นได้ว่า “สังขารทั้งหลายไม่ เที่ยงหนอ เหล่าสัตว์จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้” ท่านพระอนุรุทธะกับท่านพระอานนท์ให้เวลาผ่านไปด้วยการแสดงธรรมีกถา ตลอดคืนยันรุ่ง [๒๒๖] ต่อมา ท่านพระอนุรุทธะสั่งท่านพระอานนท์ว่า “ไปเถิด อานนท์ผู้มี อายุ ท่านจงเข้าไปยังกรุงกุสินารา แจ้งแก่เจ้ามัลละทั้งหลายผู้ครองกรุงกุสินาราว่า ‘วาเสฏฐะทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงกำหนดเวลา ที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” ท่านพระอานนท์รับคำแล้ว ตอนเช้าจึงครองอันตรวาสกถือ บาตรและจีวรเข้าไปยังกรุงกุสินาราเพียงผู้เดียว ขณะนั้น พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินารากำลังประชุมกันอยู่ที่สัณฐาคารเกี่ยว กับเรื่องปรินิพพาน ท่านพระอานนท์เข้าไปที่สัณฐาคารของพวกเจ้ามัลละแล้วถวาย พระพรว่า “วาเสฏฐะทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ขอท่านทั้งหลาย จงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” พวกเจ้ามัลละ โอรส สุณิสา และปชาบดีของพวกเจ้ามัลละ พอได้สดับ ข่าว(จาก)ท่านพระอานนท์อย่างนี้แล้ว ทรงโศกเสียพระทัย เปี่ยมไปด้วยโทมนัส บางพวกสยายพระเกศา ทรงประคองพระพาหา ทรงกันแสงคร่ำครวญ ล้มกลิ้งเกลือก ไปมา เหมือนคนเท้าขาด ทรงเพ้อรำพันว่า “พระผู้มีพระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคต ด่วนปรินิพพานเสีย จักษุของโลกด่วนอันตรธานไปแล้ว”
บูชาพระพุทธสรีระ
[๒๒๗] ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินารารับสั่งข้าราชบริพารว่า “พนาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงเตรียมของหอมระเบียบดอกไม้และเครื่องดนตรี ทุกอย่างที่มีในกรุงกุสินาราไว้ให้พร้อม” แล้วทรงถือเอาของหอมระเบียบดอกไม้ เครื่องดนตรีทุกอย่างและผ้า ๕๐๐ คู่ เสด็จเข้าไปยังสาลวันของพวกเจ้ามัลละซึ่งเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

บูชาพระพุทธสรีระ

ทางเข้าเมือง ตรงไปยังพระพุทธสรีระแล้ว ทรงสักการะ เคารพ นบนอบ บูชา พระสรีระของพระผู้มีพระภาคด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ระเบียบดอก ไม้และของหอม ทรงดาดเพดานผ้า ตกแต่งมณฑลมาลาอาสน์ ให้วันนั้นหมด ไปด้วยกิจกรรมอย่างนี้ ต่อมา พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราทรงดำริว่า “วันนี้เย็นเกินไป ที่จะ ถวายพระเพลิงพระสรีระของพระผู้มีพระภาค พรุ่งนี้เราจึงค่อยถวายพระเพลิง” จากนั้นก็ทรงสักการะ เคารพ นบนอบ บูชาพระสรีระของพระผู้มีพระภาคด้วยการ ฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ระเบียบดอกไม้และของหอม ทรงดาดเพดานผ้า ตกแต่งมณฑลมาลาอาสน์ ให้เวลาวันที่ ๒ วันที่ ๓ วันที่ ๔ วันที่ ๕ วันที่ ๖ หมดไป พอถึงวันที่ ๗ พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราทรงดำริว่า “เราสักการะ เคารพ นบนอบ บูชาพระสรีระของพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ระเบียบดอกไม้และของหอม จะอัญเชิญ (พระสรีระ) ไปทางทิศใต้ ของเมือง เสร็จแล้วจึงถวายพระเพลิงพระสรีระของพระผู้มีพระภาคข้างนอกพระนคร ทางทิศใต้” [๒๒๘] ในวันนั้น ประมุขเจ้ามัลละ ๘ องค์ สรงสนานพระเศียรแล้วทรง พระภูษาใหม่ ด้วยตั้งพระทัยว่า “พวกเราจะอัญเชิญพระสรีระของพระผู้มีพระภาคขึ้น” แต่ไม่อาจจะยกขึ้นได้ พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราจึงตรัสถามท่านพระอนุรุทธะว่า “ท่านพระ อนุรุทธะ อะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้ประมุขเจ้ามัลละ ๘ องค์นี้ ทรงสรงสนานพระเศียรแล้วทรงพระภูษาใหม่ ด้วยตั้งพระทัยว่า ‘พวกเราจะอัญเชิญ พระสรีระของพระผู้มีพระภาคขึ้น’ แต่ไม่อาจจะยกขึ้นได้” ท่านพระอนุรุทธะถวายพระพรว่า “วาเสฏฐะทั้งหลาย มหาบพิตรมีพระประสงค์ อย่างหนึ่ง พวกเทวดามีความประสงค์อีกอย่างหนึ่ง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

บูชาพระพุทธสรีระ

พวกเจ้ามัลละตรัสถามว่า “พวกเทวดามีความประสงค์อย่างไร พระคุณเจ้า” ท่านพระอนุรุทธะถวายพระพรว่า “มหาบพิตรมีพระประสงค์ว่า เราจะสักการะ เคารพ นบนอบ บูชาพระสรีระของพระผู้มีพระภาคด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม ดนตรี ระเบียบดอกไม้และของหอม จะอัญเชิญ (พระสรีระ) ไปทางทิศใต้ของเมือง เสร็จแล้วจึงถวายพระเพลิงพระสรีระของพระผู้มีพระภาคข้างนอกพระนครทางทิศใต้ แต่พวกเทวดามีความประสงค์ว่า ‘พวกเราจะสักการะ เคารพ นบนอบ บูชาพระ สรีระของพระผู้มีพระภาคด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ระเบียบดอกไม้ และของหอมอันเป็นทิพย์ จะอัญเชิญ(พระสรีระ) ไปทางทิศเหนือของเมือง แล้วอัญเชิญ เข้าสู่เมืองทางประตูด้านทิศเหนือ อัญเชิญผ่านใจกลางเมืองแล้วออกทางประตูด้าน ทิศตะวันออก เสร็จแล้วจึงถวายพระเพลิงพระสรีระของพระผู้มีพระภาคที่มกุฏพันธน- เจดีย์๑- ของพวกเจ้ามัลละ ทางทิศตะวันออกของเมือง” พวกเจ้ามัลละตรัสว่า “ขอให้เป็นไปตามความประสงค์ของพวกเทวดาเถิด พระคุณเจ้า” [๒๒๙] ก็ในเวลานั้น ทั่วกรุงกุสินารากระทั่งซอกเรือน ท่อน้ำทิ้งและกองขยะ ดารดาษไปด้วยดอกมณฑารพ อย่างต่ำสูงถึงเข่า พวกเทวดาและพวกเจ้ามัลละพา กันสักการะ เคารพ นบนอบ บูชาพระสรีระของพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ระเบียบดอกไม้และของหอมทั้งที่เป็นของทิพย์และที่เป็นของ มนุษย์ อัญเชิญ(พระสรีระ)ไปทางทิศเหนือของเมืองแล้วเข้าสู่เมืองทางประตูด้าน ทิศเหนือ อัญเชิญผ่านใจกลางเมืองไปออกทางประตูด้านทิศตะวันออก เสร็จแล้วจึง ประดิษฐาน พระสรีระของพระผู้มีพระภาค ณ มกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ทางทิศตะวันออกของเมือง [๒๓๐] จากนั้น พวกเจ้ามัลละได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “พวก ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติต่อพระสรีระของพระตถาคต อย่างไร พระคุณเจ้า” @เชิงอรรถ : @ มกุฏพันธนเจดีย์ เป็นชื่อเรียกศาลามงคลซึ่งเป็นสถานที่ประดับเครื่องทรงพระวรกายของพวกเจ้ามัลละ @ในพระราชพิธีราชาภิเษก ที่เรียกว่า เจดีย์ เพราะเป็นสถานที่ควรเคารพยำเกรง (ที.ม.อ. ๒๒๘/๒๐๔, @ที.ม.ฏีกา ๒๒๘/๒๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

บูชาพระพุทธสรีระ

ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตรพึงปฏิบัติต่อพระสรีระของ พระตถาคต เหมือนอย่างที่พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิ นั่นแหละ” พวกเจ้ามัลละตรัสถามว่า “พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพของพระเจ้า จักรพรรดิอย่างไร พระคุณเจ้า” ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “พวกเขาใช้ผ้าใหม่ห่อพระบรมศพของ พระเจ้าจักรพรรดิเสร็จแล้ว จึงห่อด้วยสำลีบริสุทธิ์ แล้วจึงห่อด้วยผ้าใหม่อีกชั้นหนึ่ง ทำโดยวิธีนี้ จนห่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้าและสำลีได้ ๑,๐๐๐ ชั้น แล้วอัญเชิญพระบรมศพลงในรางเหล็กเต็มด้วยน้ำมัน ใช้รางเหล็กอีกอันหนึ่ง ครอบแล้ว ทำจิตกาธานด้วยไม้หอมล้วน แล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้า จักรพรรดิ สร้างพระสถูปของพระเจ้าจักรพรรดิไว้ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง พวกท่านพึง ปฏิบัติต่อพระสรีระของพระตถาคต เหมือนอย่างที่พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพ ของพระเจ้าจักรพรรดิ พึงสร้างพระสถูปของพระตถาคตไว้ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง ชนเหล่าใดจักยกระเบียบดอกไม้ ของหอม หรือจุรณ จักถวายอภิวาท หรือจักทำจิต เลื่อมใสในพระสถูปนั้น การกระทำนั้นจักเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ชนเหล่านั้น ตลอดกาลนาน” ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินารารับสั่งข้าราชบริพารว่า “ท่าน ทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงเตรียมสำลีบริสุทธิ์ไว้ให้พร้อม” จากนั้นทรงใช้ผ้า ใหม่ห่อพระสรีระของพระผู้มีพระภาค เสร็จแล้วจึงห่อด้วยสำลีบริสุทธิ์ แล้วจึงห่อ ด้วยผ้าใหม่อีกชั้นหนึ่ง ทำโดยวิธีดังนี้ จนห่อพระสรีระของพระผู้มีพระภาคด้วยผ้า และสำลีได้ ๑,๐๐๐ ชั้น แล้วอัญเชิญพระสรีระลงในรางเหล็กเต็มด้วยน้ำมัน ใช้ราง เหล็กอีกอันหนึ่งครอบแล้ว ทำจิตกาธานด้วยไม้หอมล้วน แล้วอัญเชิญพระสรีระ ของพระผู้มีพระภาคขึ้นสู่จิตกาธาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

เรื่องพระมหากัสสปเถระ

เรื่องพระมหากัสสปเถระ๑-
[๒๓๑] สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลจากกรุงปาวาไปยังกรุงกุสินารา ขณะที่ท่านพระมหากัสสปะ แวะลงข้างทางนั่งที่โคนไม้ต้นหนึ่ง พอดีมีอาชีวกคนหนึ่งถือดอกมณฑารพจากกรุง กุสินารา เดินสวนทางจะไปกรุงปาวา ท่านพระมหากัสสปะเห็นอาชีวกนั้นกำลัง เดินมาแต่ไกล จึงถามว่า “ท่านผู้มีอายุ ท่านรู้ข่าวพระศาสดาของพวกเราบ้างไหม” เขาตอบว่า “เรารู้ข่าว ท่านพระสมณโคดมปรินิพพานได้ ๗ วันเข้าวันนี้ เราถือดอกมณฑารพดอกนี้มาจากที่ปรินิพพานนั้น” บรรดาภิกษุเหล่านั้น ผู้ที่ยังมีราคะ บางพวกประคองแขน คร่ำครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนคนเท้าขาด เพ้อรำพันว่า “พระผู้มีพระภาคด่วน ปรินิพพาน พระสุคตด่วนปรินิพพานเสีย จักษุของโลกด่วนอันตรธานไปแล้ว” ส่วนภิกษุผู้ไม่มีราคะ มีสติสัมปชัญญะก็อดกลั้นได้ว่า “สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เหล่าสัตว์จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้” [๒๓๒] สมัยนั้น มีภิกษุผู้บวชตอนแก่ชื่อสุภัททะ นั่งอยู่ในที่ประชุมนั้น ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ อย่าเศร้าโศก อย่า คร่ำครวญเลย พวกเรารอดพ้นแล้วจากมหาสมณะรูปนั้น ที่คอยจ้ำจี้จ้ำไชพวกเรา อยู่ว่า ‘สิ่งนี้ควรแก่พวกเธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่พวกเธอ’ บัดนี้ เราปรารถนาสิ่งใด ก็จักทำสิ่งนั้น พวกเราไม่ปรารถนาสิ่งใด ก็จักไม่ทำสิ่งนั้น” ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะเรียกภิกษุทั้งหลายมาตักเตือนว่า “อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ อย่าเศร้าโศก อย่าคร่ำครวญเลย พระผู้มีพระภาคตรัสสอนไว้ก่อน อย่างนี้ว่า ‘ความพลัดพราก ความทอดทิ้ง ความแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นจากของ รักของชอบใจทุกอย่างจะต้องมี ฉะนั้น จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้ สิ่งที่ เกิดขึ้น มีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้ที่จะ ปรารถนาว่า ‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไปเลย” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๗/๔๓๗/๓๗๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

การถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

การถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
[๒๓๓] สมัยนั้น ประมุขเจ้ามัลละ ๔ องค์ ทรงสนานพระเศียรแล้วทรง พระภูษาใหม่ ด้วยตั้งพระทัยว่า “พวกเราจะจุดไฟที่จิตกาธานของพระผู้มีพระภาค” แต่ไม่อาจจะจุดไฟให้ติดได้ ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราตรัสถามท่านพระอนุรุทธะว่า “ท่านอนุรุทธะ อะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้ประมุขเจ้ามัลละ ๔ องค์นี้ ผู้ทรงสนานพระเศียรแล้วทรงพระภูษาใหม่ด้วยตั้งพระทัยว่า ‘พวกเราจะ จุดไฟที่จิตกาธานของพระผู้มีพระภาค’ แต่ไม่อาจจะจุดไฟให้ติดได้เล่า” ท่านพระอนุรุทธะถวายพระพรว่า “วาเสฏฐะทั้งหลาย พวกเทวดามีความประสงค์ อีกอย่างหนึ่ง” พวกเจ้ามัลละตรัสถามว่า “พวกเทวดามีความประสงค์อย่างไร พระคุณเจ้า” ท่านพระอนุรุทธะถวายพระพรว่า “พวกเทวดามีความประสงค์ว่า ‘ท่านพระ มหากัสสปะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลจากกรุง ปาวามายังกรุงกุสินารา จิตกาธานของพระผู้มีพระภาคจะยังไม่ลุกโพลง ตราบเท่า ที่ท่านพระมหากัสสปะยังไม่ได้ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วย เศียรเกล้า” พวกเจ้ามัลละตรัสว่า “ขอให้เป็นไปตามความประสงค์ของพวกเทวดาเถิด พระคุณเจ้า” [๒๓๔] ต่อมา ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปยังมกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ในกรุงกุสินารา ถึงจิตกาธานของพระผู้มีพระภาค ห่มจีวรเฉวียงบ่าประนมมือกระทำ ประทักษิณจิตกาธาน ๓ รอบเปิดผ้าคลุมทางพระบาท ถวายอภิวาทพระยุคลบาท ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นก็ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประนมมือทำประทักษิณจิตกาธาน ๓ รอบ ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มี พระภาคด้วยเศียรเกล้า เมื่อท่านพระมหากัสสปะและภิกษุ ๕๐๐ รูป ถวายอภิวาท เสร็จ จิตกาธานของพระผู้มีพระภาคได้ติดไฟลุกโพลงขึ้นเอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

การถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

[๒๓๕] เมื่อพระเพลิงไหม้พระสรีระของพระผู้มีพระภาค พระอวัยวะ คือ พระฉวี (ผิวนอก) พระจัมมะ(หนัง) พระมังสา(เนื้อ) พระนหารู(เอ็น) หรือพระลสิกา (ไขข้อหรือ ไขกระดูก) ไม่ปรากฏเถ้า ไม่ปรากฏเขม่าเลย คงเหลืออยู่แต่พระสรีระเท่านั้น เปรียบเหมือนเมื่อไฟไหม้เนยใสและน้ำมัน ก็ไม่ปรากฏเถ้า ไม่ปรากฏเขม่า ฉันใด เมื่อพระเพลิงไหม้พระสรีระของพระผู้มีพระภาค พระอวัยวะ คือ พระฉวี พระจัมมะ พระมังสา พระนหารู หรือพระลสิกา ไม่ปรากฏเถ้า ไม่ปรากฏเขม่า คงเหลืออยู่แต่ พระสรีระ๑- เท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน และบรรดาผ้า ๕๐๐ คู่นั้น มีเพียง ๒ ผืน เท่านั้นที่ถูกไฟไหม้ คือ ผืนในสุดกับผืนนอกสุด ก็เมื่อพระเพลิงไหม้พระสรีระของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล ท่อน้ำไหลหลั่งมาจากอากาศดับจิตกาธานของพระผู้มีพระภาค น้ำพุ่งขึ้นจากไม้สาละดับจิตกาธานของพระผู้มีพระภาค พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุง กุสินาราดับจิตกาธานของพระผู้มีพระภาคด้วยน้ำหอมล้วนๆ ต่อจากนั้น เจ้ามัลละ ผู้ครองกรุงกุสินาราได้จัดกำลังพลหอกไว้รอบสัณฐาคารล้อมด้วยกำแพงธนู๒- (ป้องกัน พระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาค) แล้วสักการะ เคารพ นบนอบ บูชาพระสรีระ ของพระผู้มีพระภาคด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ระเบียบดอกไม้และ ของหอมตลอด ๗ วัน @เชิงอรรถ : @ พระสรีระ ในที่นี้หมายถึงพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า (ที.ม.อ. ๒๓๕/๒๑๒) @ ในการอารักขาพระบรมสารีริกธาตุซึ่งประดิษฐานบนสัณฐาคารนั้น พวกเจ้ามัลละได้ทรงจัดวางกำลัง @อารักขาไว้เป็นชั้นๆ โดยรอบ ดังนี้ @๑. ทรงจัดวางกำลังพลหอกที่เรียกว่า สัตติบัญชร ไว้รอบสัณฐานคารซึ่งจัดเป็นกองกำลังรอบในสุด @๒. ทรงจัดวางกำแพงธนูที่เรียกว่า ธนูปราการ ถัดออกมาจากกำลังพลหอก @ธนูปราการ (กำแพงธนู) ประกอบด้วย @๒.๑ พลช้าง (ให้ยืนแถวชิดกันจนกระพองจดกระพอง) @๒.๒ พลม้า (ให้ยืนแถวชิดกันจนคอจดคอ) @๒.๓ พลรถ (ให้จอดแถวชิดกันจนดุมจดดุม) @๒.๔ พลราบ (ให้ยืนแถวชิดกันจนแขนจดแขน) @๒.๕ พลธนู (ให้ยืนแถวถือธนูขัดกันและกัน) ซึ่งจัดเป็นกองกำลังอารักขารอบนอกสุด @(ที.ม.อ. ๒๓๕/๒๑๔, ที.ม.ฏีกา ๒๓๕/๒๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

แจกพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า

แจกพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
[๒๓๖] พระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ได้ทรง สดับว่า “พระผู้มีพระภาคปรินิพพานในกรุงกุสินารา” จึงทรงส่งทูตไปถึงพวกเจ้า มัลละผู้ครองกรุงกุสินาราว่า “พระผู้มีพระภาคทรงเป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ จึงควรจะได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุบ้าง จะได้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรม สารีริกธาตุและทำการฉลอง” พวกเจ้าลิจฉวีผู้ครองกรุงเวสาลี ได้ทรงสดับว่า “พระผู้มีพระภาคปรินิพพาน ในกรุงกุสินารา” จึงทรงส่งทูตไปถึงพวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราว่า “พระผู้มี พระภาคทรงเป็นกษัตริย์ แม้พวกเราก็เป็นกษัตริย์ จึงควรจะได้รับส่วนแบ่งพระ บรมสารีริกธาตุบ้าง จะได้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการฉลอง” พวกเจ้าศากยะชาวกบิลพัสดุ์ ได้ทรงสดับว่า “พระผู้พระภาคปรินิพพานใน กรุงกุสินารา” จึงทรงส่งทูตไปถึงพวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราว่า “พระผู้มี พระภาคทรงเป็นพระญาติผู้ประเสริฐที่สุดของพวกเรา พวกเราควรจะได้รับส่วนแบ่ง พระบรมสารีริกธาตุบ้าง จะได้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการฉลอง” พวกเจ้าถูลีผู้ครองกรุงอัลลกัปปะ ได้ทรงสดับว่า “พระผู้มีพระภาคปรินิพพาน ในกรุงกุสินารา” จึงทรงส่งทูตไปถึงพวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราว่า “พระผู้มี พระภาคทรงเป็นกษัตริย์ แม้พวกเราก็เป็นกษัตริย์ จึงควรจะได้รับส่วนแบ่งพระบรม สารีริกธาตุบ้าง จะได้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการฉลอง” พวกเจ้าโกลิยะผู้ครองกรุงรามคาม ได้ทรงสดับว่า “พระผู้มีพระภาคปรินิพพาน ในกรุงกุสินารา” จึงทรงส่งทูตไปถึงพวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราว่า “พระผู้มี พระภาคทรงเป็นกษัตริย์ แม้พวกเราก็เป็นกษัตริย์ จึงควรจะได้รับส่วนแบ่งพระบรม สารีริกธาตุบ้าง จะได้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการฉลอง” พราหมณ์ผู้ครองกรุงเวฏฐทีปกะ ได้สดับว่า “พระผู้มีพระภาคปรินิพพาน ในกรุงกุสินารา” จึงส่งทูตไปถึงพวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราว่า “แม้พระผู้มี พระภาคทรงเป็นกษัตริย์ เราเป็นพราหมณ์ เราก็ควรจะได้รับส่วนแบ่งพระบรม สารีริกธาตุบ้าง จะได้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการฉลอง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

แจกพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า

พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงปาวา ได้ทรงสดับว่า พระผู้มีพระภาคปรินิพพาน ในกรุงกุสินารา จึงทรงส่งทูตไปถึงพวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราว่า “แม้พระผู้มี พระภาคเป็นกษัตริย์ แม้พวกเราก็เป็นกษัตริย์ จึงควรจะได้รับส่วนแบ่งพระบรม สารีริกธาตุบ้าง จะได้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการฉลอง” เมื่อทูตจากเมืองต่างๆ กราบทูลอย่างนี้ พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินารา ได้ตรัสตอบกับหมู่คณะทูตเหล่านั้นดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคปรินิพพานในเขตบ้าน เมืองของเรา พวกเราจะไม่ให้ส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ” [๒๓๗] เมื่อพวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราได้ตรัสอย่างนี้ โทณพราหมณ์ ได้กล่าวกับหมู่คณะทูตเหล่านั้นดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โปรดฟังคำชี้แจงของข้าพเจ้าหน่อยหนึ่งเถิด พระพุทธเจ้าของพวกเราทรงถือหลักขันติธรรม ไม่ควรที่จะประหัตประหารกัน เพราะส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุคคล ขอให้ทุกฝ่ายพร้อมใจกัน แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วน พระสถูปจะได้แพร่กระจายไปยังทิศต่างๆ มีประชาชนจำนวนมาก ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ” [๒๓๘] หมู่คณะทูตเหล่านั้นตอบว่า “ท่านพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านนั่นแหละ จงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กันให้เรียบร้อย” โทณพราหมณ์รับคำแล้ว แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กัน ให้เรียบร้อยแล้ว จึงได้กล่าวกับหมู่คณะทูตเหล่านั้นดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โปรดให้ทะนานนี้แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะสร้างพระสถูปบรรจุทะนาน(ตุมพะ)และทำ การฉลอง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

บูชาพระบรมธาตุและสร้างพระสถูป

พวกเขาจึงได้มอบทะนานให้โทณพราหมณ์ พวกเจ้าโมริยะผู้ครองกรุงปิปผลิวันได้ทรงสดับว่า “พระผู้มีพระภาคปรินิพพาน ในกรุงกุสินารา” จึงทรงส่งทูตไปถึงพวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราว่า “พระผู้มี พระภาคทรงเป็นกษัตริย์ แม้พวกเราก็เป็นกษัตริย์ จึงควรจะได้รับส่วนแบ่งพระบรม สารีริกธาตุบ้าง จะได้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการฉลอง” พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราตอบว่า “(บัดนี้) ไม่มีส่วนแบ่งพระบรม สารีริกธาตุ พระบรมสารีริกธาตุได้แบ่งกันหมดแล้ว พวกท่านจงนำเอาพระอังคาร (เถ้า)ไปจากที่นี้เถิด” พวกทูตเหล่านั้น จึงนำเอาพระอังคารไปจากที่นั้น
บูชาพระบรมธาตุและสร้างพระสถูป
[๒๓๙] เวลานั้น พระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการฉลองในกรุงราชคฤห์ พวก เจ้าลิจฉวีผู้ครองกรุงเวสาลี ทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการ ฉลองในกรุงเวสาลี พวกเจ้าศากยะชาวกบิลพัสดุ์ ทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระบรม สารีริกธาตุและทำการฉลองในกรุงกบิลพัสดุ์ พวกเจ้าถูลีผู้ครองกรุงอัลลกัปปะ ทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการฉลองในกรุงอัลลกัปปะ พวกเจ้า โกลิยะผู้ครองกรุงรามคาม ทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการ ฉลองในกรุงรามคาม พราหมณ์ผู้ครองกรุงเวฏฐทีปกะ สร้างพระสถูปบรรจุพระ บรมสารีริกธาตุและทำการฉลองในกรุงเวฏฐทีปกะ พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงปาวา ทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการฉลองในกรุงปาวา พวกเจ้า มัลละผู้ครองกรุงกุสินารา ทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการ ฉลองในกรุงกุสินารา แม้โทณพราหมณ์ก็สร้างพระสถูปบรรจุทะนานและทำการฉลอง พวกเจ้าโมริยะผู้ครองกรุงปิปผลิวัน ทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระอังคารและทำการฉลอง ในกรุงปิปผลิวัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]

บูชาพระบรมธาตุและสร้างพระสถูป

รวมเป็นพระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๘ แห่ง พระสถูปที่บรรจุทะนาน เป็นแห่งที่ ๙ และพระสถูปที่บรรจุพระอังคารเป็นแห่งที่ ๑๐ การแบ่งพระบรม สารีริกธาตุและการสร้างพระสถูปเคยมีมาแล้วอย่างนี้ [๒๔๐] พระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระจักษุ ซึ่งเป็นบุคคลประเสริฐสุดมี ๘ ทะนาน ประชาชนบูชากันอยู่ในชมพูทวีป ๗ ทะนาน พระราชาเผ่านาคบูชาอยู่ในรามคาม ๑ ทะนาน เทพชั้นดาวดึงส์บูชาพระเขี้ยวแก้วองค์หนึ่ง ส่วนพระเขี้ยวแก้วอีกองค์หนึ่ง บูชากันอยู่ในคันธารบุรี อีกองค์หนึ่ง บูชากันอยู่ในแคว้นของพระเจ้ากาลิงคะ อีกองค์หนึ่ง พระราชาเผ่านาคบูชาอยู่ ด้วยพระเดชแห่งพระบรมสารีริกธาตุนั้น แผ่นดินใหญ่นี้ประดับด้วยนักพรตผู้ประเสริฐ พระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระจักษุนี้ ชื่อว่าอันสาธุชนสักการะกันดีแล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์ใด อันจอมเทพ จอมนาค และจอมคนบูชาแล้ว อันจอมมนุษย์ผู้ประเสริฐสุดบูชาแล้วเหมือนกัน ท่านทั้งหลายจงประนมมือไหว้พระบรมสารีริกธาตุองค์นั้นๆ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นบุคคลหาได้ยาก โดยใช้เวลาถึง ๑๐๐ กัป พระทนต์ ๔๐ องค์ พระเกศา และพระโลมาทั้งหมด เหล่าเทพนำไปองค์ละองค์(บูชา)สืบๆ กันไปในจักรวาล
มหาปรินิพพานสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๘๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๗๗-๑๘๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=10&siri=3              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18], [19], [20], [21], [22], [23], [24], [25], [26], [27], [28], [29], [30], [31], [32], [33], [34], [35].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1888&Z=3915                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=10&item=67&items=96              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=5&A=2965              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=10&item=67&items=96              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=5&A=2965                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu10              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/10i067-e2.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/10i067-e3.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/dn/dn.16.5-6.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/dn/dn.16.1-6.vaji.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/digha/dn16.html https://suttacentral.net/dn16/en/sujato https://suttacentral.net/dn16/en/anandajoti



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :