บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] หน้าต่างที่ ๑๑ / ๑๒. ข้อความเบื้องต้น ประวัติครั้งยังมีชีวิตของอปุตตกเศรษฐี เมื่อพระศาสดาตรัสว่า "ขอเชิญมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหนหนอ? แต่ยังวัน" จึงกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีในกรุงสาวัตถีนี้ ทำกาละเสียแล้ว ข้าพระองค์นำทรัพย์สมบัติซึ่งไร้บุตรนั้น ไปภายในราชสำนักแล้วจึงมา." เรื่องทั้งปวงพึงทราบตามนัยที่มาในพระสูตรนั่นแหละ. เมื่อพระราชากราบทูลข้อความอย่างนี้ว่า "ได้ยินว่า เศรษฐีนั้น เมื่อเขานำโภชนะมีรสเลิศต่างๆ เข้าไปให้ด้วยถาดทอง ก็กล่าวว่า พวกมนุษย์ย่อมกินโภชนะชื่อว่าเห็นปานนี้ (เทียวหรือ?), พวกเจ้าจะทำการเยาะเย้ยกับเราในเรือนนี้หรือ?' เมื่อเขาเข้าไปตั้งโภชนะไว้ให้ก็ประหาร (มนุษย์เหล่านั้น) ด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น ให้หนีไปแล้ว บริโภคข้าวปลายเกรียน มีน้ำผักดองเป็นที่ ๒ ด้วยกล่าวว่า นี้จึงเป็นโภชนะของพวกมนุษย์ แม้เมื่อเขาเข้าไปตั้งผ้า ยาน และร่มที่น่าพอใจไว้ให้ ก็ประหารมนุษย์ (เหล่านั้น) ด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น ให้หนีไปแล้ว ทรงผ้าป่าน มีร่มใบไม้อันทรงไว้ (ถือไว้) อยู่ ย่อมไปด้วยรถเก่าๆ" พระศาสดาจึงตรัสเล่าบุรพกรรมของอปุตตกเศรษฐีนั้นว่า :- บุรพกรรมของอปุตตกเศรษฐี ภรรยาของเขาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส คิดว่า นานเทียวหนอ เราจึงได้ยินคำว่า จงให้ จากปากของเศรษฐีนี้, มโนรถของเราจะเต็มในวันนี้ เราจักถวายบิณฑบาต แล้วรับบาตรของพระ ฝ่ายเศรษฐีนั้นกลับมา เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น จึงถามว่า "สมณะท่านได้อะไรๆ แล้วหรือ" แล้วจับบาตร เห็นบิณฑบาตอันประณีต ก็มีความเดือดร้อน จึงคิดอย่างนี้ว่า "พวกทาสหรือพวกกรรมกรพึงกินบิณฑบาตนี้ ยังดีกว่า เพราะว่า พวกเขาครั้นกินบิณฑบาตนี้แล้ว จักทำการงานให้เรา ส่วนสมณะนี้ ครั้นไปกินแล้ว ก็จักนอนหลับ บิณฑบาตของเราฉิบหายเสียแล้ว" อนึ่ง เศรษฐีนั้นปลงแล้วซึ่งบุตรน้อยคนหนึ่งของพี่ชายจากชีวิต เพราะเหตุแห่งทรัพย์สมบัติ. ได้ยินว่า เด็กนั้นจับนิ้วมือของเศรษฐีนั้น เที่ยวไปอยู่กล่าวว่า "ยานนี้เป็นของบิดาฉัน, โคนี้ก็ของท่าน." ลำดับนั้น เศรษฐีคิดว่า "ในบัดนี้ เด็กนี้ยังกล่าวอย่างนี้ก่อน ก็ในกาลที่เด็กนี้ถึงความเจริญแล้ว ใครจักรักษาโภคทรัพย์ทั้งหลายในเรือนนี้ได้" จึงนำเด็กนั้นไปสู่ป่า จับที่คอแล้วบีบคอเหมือนบีบหัวมัน ให้ตายแล้วที่โคนกอไม้แห่งหนึ่ง แล้วทิ้งเด็กนั้นไว้ในที่นั้นนั่นแหละ." นี้เป็นบุรพกรรมของเศรษฐีนั้น. สรุปกรรมและผลแห่งกรรมของเศรษฐี "มหาบพิตร ด้วยผลแห่งกรรมที่คฤหบดีผู้เศรษฐี ต้อนรับพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าตครสิขี ด้วยบิณฑบาตนั้นแล เศรษฐีนั้นจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ถึง ๗ ครั้ง ด้วยผลที่เหลืออยู่แห่งกรรมนั้นนั่นแล เศรษฐีจึงครองความเป็นเศรษฐีอยู่ในกรุงสาวัตถีนี้แล ถึง ๗ ครั้ง. มหาบพิตร ด้วยผลแห่งกรรมที่คฤหบดีผู้เศรษฐีนั้นให้ทานแล้ว มีความเดือดร้อนในภายหลังว่า พวกทาสหรือกรรมกร พึงบริโภคบิณฑบาตนี้ยังดีกว่า จิตของเศรษฐีนั้น จึงไม่น้อมไปเพื่อการบริโภคภัตอย่างฟุ่มเฟือย, ไม่น้อมไปเพื่อการใช้สอยผ้าอย่างฟุ่มเฟือย, ไม่น้อมไปเพื่อการใช้สอยยานอย่างฟุ่มเฟือย ไม่น้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อันดียิ่ง. มหาพิตร ด้วยผลแห่งกรรมที่คฤหบดีผู้เศรษฐีนั้น ปลงแล้วซึ่งบุตรน้อยคนหนึ่งของพี่ชายจากชีวิต เพราะเหตุแห่งทรัพย์สมบัติ. เศรษฐีนั้นจึงไหม้แล้วในนรกสิ้นปีเป็นอันมาก สิ้นร้อยปีเป็นอันมาก สิ้นพันปีเป็นอันมาก สิ้นแสนปีเป็นอันมาก. ชนทั้งหลายยังทรัพย์สมบัติที่ไร้บุตรครั้งที่ ๗ นี้ให้เข้าสู่พระคลังหลวง ด้วยผลอันเหลืออยู่แห่งกรรมนั้นแล. มหาบพิตร อนึ่งเล่า บุญเก่าของคฤหบดีผู้เศรษฐีนั้นแล หมดสิ้นแล้ว และบุญใหม่อันคฤหบดีผู้เศรษฐีนั้นไม่สั่งสมแล้ว มหาบพิตรก็ในวันนี้ คฤหบดีผู้เศรษฐีไหม้อยู่ในมหาโรรุวนรก." โภคะย่อมฆ่าคนผู้ทรามปัญญา พระศาสดาตรัสว่า "จริงเช่นนั้น มหาบพิตร ชื่อว่าบุคคลผู้มีปัญญาทราม ได้โภคะทั้งหลายแล้วย่อมไม่แสวงหานิพพาน. อนึ่ง ตัณหาซึ่งเกิดขึ้นเพราะอาศัยโภคะทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนเหล่านั้นสิ้นกาลนาน" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ บาทพระคาถาว่า หนฺติ อญฺเญว อตฺตนํ ความว่า บุคคลผู้มีทรามปัญญาย่อมฆ่าตนเองดุจฆ่าผู้อื่น เพราะความทะยานอยาก ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอาศัยโภคะทั้งหลาย. ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. เรื่องเศรษฐีผู้ไม่มีบุตร จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔ |