ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. รูปาทิวรรค
หมวดว่าด้วยรูปเป็นต้นที่ครอบงำจิตบุรุษและสตรี
[๑] ข้าพเจ้า๑- ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้ เหมือนรูปสตรีนี้ ภิกษุทั้งหลาย รูปสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้ (๑) [๒] เราไม่เห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้เหมือน เสียงสตรีนี้ เสียงสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้ (๒) [๓] เราไม่เห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้เหมือน กลิ่นสตรีนี้ กลิ่นสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้ (๓) [๔] เราไม่เห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้เหมือน รสสตรีนี้ รสสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้ (๔) @เชิงอรรถ : @ ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่นๆ ในเล่มนี้ หมายถึง พระอานนท์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒. นีวรณปหานวรรค

[๕] เราไม่เห็นโผฏฐัพพะ(การสัมผัสทางกาย)อื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิต ของบุรุษอยู่ได้เหมือนโผฏฐัพพะสตรีนี้ โผฏฐัพพะสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้ (๕) [๖] เราไม่เห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือนรูปบุรุษนี้ รูปบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้ (๖) [๗] เราไม่เห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือน เสียงบุรุษนี้ เสียงบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้ (๗) [๘] เราไม่เห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือน กลิ่นบุรุษนี้ กลิ่นบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้ (๘) [๙] เราไม่เห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือนรสบุรุษนี้ รสบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้ (๙) [๑๐] เราไม่เห็นโผฏฐัพพะอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือน โผฏฐัพพะบุรุษนี้ โผฏฐัพพะบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้ (๑๐)
รูปาทิวรรคที่ ๑ จบ
๒. นีวรณปหานวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมเป็นเหตุละนิวรณ์
[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กามฉันทะ(ความพอใจในกาม)ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือนสุภนิมิต๑- นี้ เมื่อมนสิการสุภนิมิตโดย ไม่แยบคาย๒- กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความ เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๑) @เชิงอรรถ : @ สุภนิมิต หมายถึงอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๑/๒๘) @ มนสิการโดยไม่แยบคาย ในที่นี้หมายถึงการคิดผิดทาง คือคิดถึงสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง คิดถึงสิ่งที่เป็นทุกข์ @ว่าเป็นสุข คิดถึงสิ่งที่ไม่มีตัวตนว่ามีตัวตน คิดถึงสิ่งที่ไม่งามว่างาม หรือการคิดคำนึงตรงข้ามกับความ @เป็นจริง (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๑/๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒. นีวรณปหานวรรค

[๑๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้พยาบาท(ความคิดร้าย) ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือน ปฏิฆนิมิต๑- นี้ เมื่อมนสิการปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคาย พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๒) [๑๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้ถีนมิทธะ(ความหดหู่และ เซื่องซึม)ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง ขึ้นเหมือนความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความเมื่อยขบของร่างกาย ความเมา อาหาร และความที่จิตหดหู่นี้ เมื่อมีจิตหดหู่ ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๓) [๑๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่าน และร้อนใจ)ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้นเหมือนความไม่สงบแห่งจิตนี้ เมื่อมีจิตไม่สงบ อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๔) [๑๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือน อโยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยไม่แยบคาย)นี้ เมื่อมนสิการโดยไม่แยบคาย วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๕) [๑๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนอสุภนิมิต๒- นี้ เมื่อมนสิการอสุภนิมิตโดย แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้๓- (๖) @เชิงอรรถ : @ ปฏิฆนิมิต หมายถึงนิมิตที่ไม่น่าปรารถนา (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๒/๒๙) @ อสุภนิมิต หมายถึงสภาพอันไม่งามซึ่งเป็นอารมณ์สมถกัมมัฏฐานในชั้นปฐมฌาน คือ (๑) อุทธุมาตกะ ซาก @ศพที่เน่าพองขึ้นอืด (๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำคละด้วยสีต่างๆ (๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลือง @ไหลเยิ้มตามที่ที่แตกปริออก (๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดจากกันเป็น ๒ ท่อน (๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่ @ถูกสัตว์จิกทึ้งกัดกิน (๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่กระจุยกระจาย (๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่ถูกสับฟันบั่น @เป็นท่อนๆ (๘) โลหิตกะ ซากศพที่มีโลหิตไหลอาบเรี่ยราดอยู่ (๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำ @เต็มไปหมด (๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก หรือกระดูกท่อน (วิสุทฺธิ. ๑/๑๐๒/๑๙๔) @ ละได้ หมายถึงละได้ด้วยปหานะ ๕ อย่าง คือ ตทังคปหานะ วิกขัมภนปหานะ สมุจเฉทปหานะ @ปัสสัทธิปหานะ และนิสสรณปหานะ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๖/๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒. นีวรณปหานวรรค

[๑๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนเมตตาเจโตวิมุตติ๑- นี้ เมื่อมนสิการเมตตา เจโตวิมุตติโดยแยบคาย พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ละได้ (๗) [๑๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นนี้ เมื่อปรารภความเพียร๒- แล้ว ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ละได้ (๘) [๑๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนความสงบแห่งจิตนี้ เมื่อมีจิตสงบแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ (๙) [๒๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนโยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยแยบคาย) นี้ เมื่อมนสิการโดยแยบคาย วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ละได้ (๑๐)
นีวรณปหานวรรคที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ จิต นี้ เรียกว่า เมตตาเจโตวิมุตติ เพราะพ้นจากธรรมที่ไม่ดีทั้งหลายมีนิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทะ @พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗/๔๒) @ ปรารภความเพียร ในที่นี้หมายถึงมีความเพียรที่บริบูรณ์และมีความเพียรที่ประคับประคองไว้สม่ำเสมอ @ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ไม่ให้จิตปรุงแต่งภายใน ไม่ให้ฟุ้งซ่านภายนอก คำว่า ความเพียร ในที่นี้หมาย @เอาทั้ง ความเพียรทางกาย เช่น เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน ดุจในประโยคว่า “ภิกษุใน @ธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอด @วัน” (อภิ.วิ. ๓๕/๕๑๙/๓๐๐) และ ความเพียรทางจิต เช่นเพียรพยายามผูกจิตไว้ด้วยการกำหนดสถานที่ @เป็นต้น ดุจในประโยคว่า “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะหลุดพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วย @อุปาทาน” (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘/๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๓. อกัมมนิยวรรค

๓. อกัมมนิยวรรค
หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน
[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่ควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่ ควรแก่การใช้งาน (๑) [๒๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งานเหมือน จิตนี้ จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งาน (๒) [๒๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๓) [๒๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๔) [๒๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็น ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๕) [๒๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๖) [๒๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้ว๑- ย่อมเป็น ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมเป็น ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๗) [๒๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ มาก (๘) @เชิงอรรถ : @ หมายถึงไม่กระทำบ่อยๆ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๗/๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๔. อทันตวรรค

[๒๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้วย่อมนำ ทุกข์มาให้เหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมนำทุกข์มาให้ (๙) [๓๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมา ให้เหมือนจิตนี้ จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมาให้ (๑๐)
อกัมมนิยวรรคที่ ๓ จบ
๔. อทันตวรรค
หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ได้ฝึก
[๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้ฝึกแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑) [๓๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้ฝึกแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก เหมือนจิตนี้ จิตที่ได้ฝึกแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๒) [๓๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้คุ้มครองแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้คุ้มครองแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๓) [๓๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้คุ้มครองแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้คุ้มครองแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๔) [๓๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้รักษาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้รักษาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๕) [๓๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้รักษาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้รักษาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๕. ปณิหิตอัจฉวรรค

[๓๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๗) [๓๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๘) [๓๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้คุ้มครอง ไม่ได้รักษา ไม่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้ คุ้มครอง ไม่ได้รักษา ไม่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๙) [๔๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้ฝึก ได้คุ้มครอง ได้รักษา ได้สำรวม แล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้ฝึก ได้คุ้มครอง ได้รักษา ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๐)
อทันตวรรคที่ ๔ จบ
๕. ปณิหิตอัจฉวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งจิตที่ตั้งไว้ผิดและถูก
[๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลย๑- ที่เดือยข้าว๒- สาลีหรือเดือยข้าวเหนียวที่บุคคลตั้งไว้ไม่ตรงจักตำมือหรือเท้าที่ไปกระทบเข้า หรือ ทำให้เลือดออก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งเดือยข้าวไว้ไม่ตรง แม้ฉันใด เป็นไป ไม่ได้เลยที่ภิกษุรูปนั้นมีจิตที่ตั้งไว้ผิดจักทำลายอวิชชา(ความไม่รู้แจ้ง) ให้วิชชา(ความ รู้แจ้ง)เกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งจิตไว้ผิด ฉันนั้น เหมือนกัน (๑) @เชิงอรรถ : @ เป็นไปไม่ได้เลย หมายถึงปฏิเสธฐานะ(เหตุ) และปฏิเสธโอกาส(ปัจจัย)ที่ให้เป็นไปได้ @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒) @ หมายถึงส่วนปลายของเมล็ดข้าวเปลือก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๕. ปณิหิตอัจฉวรรค

[๔๒] เป็นไปได้ที่เดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวเหนียวที่บุคคลตั้งไว้ตรงจักตำมือ หรือเท้าที่ไปกระทบเข้า หรือทำให้เลือดออก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งเดือยข้าวไว้ ตรง แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่ภิกษุรูปนั้นมีจิตที่ตั้งไว้ถูกจักทำลายอวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งจิตไว้ถูก ฉันนั้นเหมือนกัน (๒) [๔๓] เรากำหนดจิต(ของผู้อื่น)ด้วยจิต(ของตน)อย่างนี้แล้วย่อมรู้ชัดบุคคลบาง คนในโลกนี้ผู้มีจิตอันโทสะประทุษร้าย ถ้าบุคคลนี้ตายในสมัยนี้ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตของบุคคลนั้นถูกโทสะประทุษ ร้าย ก็เพราะเหตุที่จิตยังคิดประทุษร้าย สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงไป เกิดในอบาย(ภาวะหรือที่อันปราศจากความเจริญ) ทุคติ(ภาวะหรือที่ชั่ว) วินิบาต๑- (ที่อันมีแต่ความร้อนรน) นรก (๓) [๔๔] เรากำหนดจิต(ของผู้อื่น)ด้วยจิต(ของตน)อย่างนี้แล้วย่อมรู้ชัดบุคคลบาง คนในโลกนี้ผู้มีจิตผ่องใส ถ้าบุคคลนี้ตายในสมัยนี้ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับ อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตของเขาผ่องใส ก็เพราะเหตุ ที่จิตผ่องใส สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ (๔) [๔๕] ห้วงน้ำที่ขุ่นมัว ไม่ใสสะอาด เป็นโคลนตม บุคคลผู้มีตาดี ยืนอยู่บนฝั่ง มองไม่เห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง ฝูงปลาที่ว่าย ไปและหยุดอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำขุ่นมัว แม้ฉันใด ภิกษุ รูปนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นไปไม่ได้เลยที่จักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์ทั้งสอง หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๒- อันวิเศษยิ่ง กว่าธรรมของมนุษย์๓- ด้วยจิตที่ขุ่นมัว๔- ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัว (๕) [๔๖] ห้วงน้ำที่ไม่ขุ่นมัว ใสสะอาด บุคคลผู้มีตาดียืนอยู่บนฝั่งพึงมองเห็น หอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง ฝูงปลาที่ว่ายไปและหยุดอยู่ @เชิงอรรถ : @ ในที่นี้ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐) @ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญา(ปัญญาชั้นโลกุตตระที่ถึงความเป็น @ใหญ่)อันประเสริฐ บริสุทธิ์ สูงสุด สามารถกำจัดกิเลสได้ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐) @ ธรรมของมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๕/๕๑) @ จิตที่ขุ่นมัว คือจิตที่ถูกนิวรณ์ ๕ ครอบงำ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๕/๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๖. อัจฉราสังฆาตวรรค

บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำไม่ขุ่นมัว แม้ฉันใด ภิกษุรูปนั้น ก็ฉัน นั้นเหมือนกัน เป็นไปได้ที่จักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์ทั้งสอง หรือ จักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว (๖) [๔๗] บัณฑิตกล่าวว่าต้นจันทน์เป็นต้นไม้ที่เลิศกว่าต้นไม้ทุกชนิด เพราะ เป็นของอ่อนและใช้งานได้ดี แม้ฉันใด เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้ มากแล้ว เป็นของอ่อนและควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้เจริญทำให้มาก แล้วย่อมเป็นของอ่อนและควรแก่การใช้งาน (๗) [๔๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงเร็วเหมือนจิตนี้ จิตนี้เปลี่ยนแปลงเร็วจนเปรียบเทียบกับอะไรไม่ได้ง่ายๆ (๘) [๔๙] จิตนี้ผุดผ่อง๑- แต่จิตนั้นแลเศร้าหมองเพราะอุปกิเลส๒- ที่เกิดขึ้นภายหลัง (๙) [๕๐] จิตนี้ผุดผ่องและจิตนั้นแลหลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่เกิดขึ้นภายหลัง (๑๐)
ปณิหิตอัจฉวรรคที่ ๕ จบ
๖. อัจฉราสังฆาตวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว
[๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่จิตนั้นแลเศร้า หมองเพราะอุปกิเลสที่เกิดขึ้นภายหลังปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ๓- ย่อมไม่ทราบจิตนั้นตามความ เป็นจริง เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า “ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมไม่มีการอบรมจิต” (๑) @เชิงอรรถ : @ จิต ในที่นี้หมายถึง ภวังคจิต คือจิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิจิตกับจุติคือตั้งแต่เกิดจนถึงตายในเวลาที่ @มิได้เสวยอารมณ์ทางทวาร ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น และคำว่า ผุดผ่อง หมายถึงผุดผ่องเพราะบริสุทธิ์ @ไม่มีอุปกิเลส (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๙/๕๓-๕๔) @ อุปกิเลส มี ๑๖ ประการ มีอภิชฌาวิสมโลภะ - คิดเพ่งเล็งอยากได้โดยไม่เลือกว่าควร หรือไม่ควร @เป็นต้น (ม.มู. ๑๒/๗๒/๔๘-๔๙) @ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในที่นี้หมายถึงผู้ไม่มีปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๑/๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๖. อัจฉราสังฆาตวรรค

[๕๒] จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแลหลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่เกิดขึ้นมาภายหลัง อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น เราจึง กล่าวว่า “อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมมีการอบรมจิต” (๒) [๕๓] ถ้าภิกษุเสพ๑- เมตตาจิตแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า อยู่ไม่ห่าง จากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันอาหารบิณฑบาต ของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มาก (๓) [๕๔] ถ้าภิกษุเจริญเมตตาจิตแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า อยู่ไม่ห่าง จากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันอาหารบิณฑบาต ของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มาก (๔) [๕๕] ถ้าภิกษุมนสิการเมตตาจิตแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า อยู่ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันอาหาร บิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำเมตตาจิตนั้น ให้มาก (๕) [๕๖] อกุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนอกุศล ที่เป็นฝ่ายอกุศลทั้งหมด มีใจเป็น หัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นร่วมกันภายหลัง (๖) [๕๗] กุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนกุศล ที่เป็นฝ่ายกุศลทั้งหมด มีใจเป็น หัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นร่วมกันภายหลัง (๗) [๕๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความประมาทนี้ เมื่อประมาทแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เสื่อมไป (๘) @เชิงอรรถ : @ เสพ ในที่นี้หมายถึงการนึกหน่วง การรู้ เห็น พิจารณา อธิษฐานจิต น้อมใจเชื่อ ประคองความเพียร ตั้ง @สติไว้ ตั้งจิตไว้ กำหนดรู้ด้วยปัญญา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ @เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ในที่นี้หมายเอาการเสพโดยมุ่งแผ่ประโยชน์ไป @โดยมีเมตตาจิตเป็นเบื้องต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๓/๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๗. วีริยารัมภาทิวรรค

[๕๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความไม่ประมาทนี้ เมื่อไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เสื่อมไป (๙) [๖๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความเกียจคร้านนี้ เมื่อเกียจคร้าน อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เสื่อมไป (๑๐)
อัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖ จบ
๗. วีริยารัมภาทิวรรค
หมวดว่าด้วยการปรารภความเพียรเป็นต้น
[๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่น แม้อย่าง หนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้น แล้วเสื่อมไปเหมือนการปรารภความเพียรนี้ เมื่อปรารภความเพียร๑- กุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๑) [๖๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความมักมากนี้ เมื่อมัก มาก อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๒) [๖๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความมักน้อยนี้ เมื่อมักน้อย กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๓) @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๘ หน้า ๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๗. วีริยารัมภาทิวรรค

[๖๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความไม่สันโดษนี้ เมื่อไม่สันโดษ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เสื่อมไป (๔) [๖๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความสันโดษนี้ เมื่อ สันโดษ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๕) [๖๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนอโยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยไม่แยบคาย)นี้ เมื่อมนสิการโดยไม่แยบคาย อกุศลธรรมที่ยังไม่ เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๖) [๖๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนโยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย)นี้ เมื่อมนสิการโดยแยบคาย กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๗) [๖๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความไม่มีสัมปชัญญะ (ความรู้ชัด)นี้ เมื่อไม่มีสัมปชัญญะ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๘) [๖๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความมีสัมปชัญญะนี้ เมื่อมีสัมปชัญญะ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เสื่อมไป (๙) [๗๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความมีปาปมิตร (มิตร ชั่ว)นี้ เมื่อมีปาปมิตร อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เสื่อมไป (๑๐)
วีริยารัมภาทิวรรคที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๘. กัลยาณมิตตาทิวรรค

๘. กัลยาณมิตตาทิวรรค
หมวดว่าด้วยกัลยาณมิตรเป็นต้น
[๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้น แล้วเสื่อมไปเหมือนความมีกัลยาณมิตร(มิตรดี)นี้ เมื่อมีกัลยาณมิตร กุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๑) [๗๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนการประกอบอกุศล ธรรมเนืองๆ และการไม่ประกอบกุศลธรรมเนืองๆ นี้ เพราะการประกอบอกุศล ธรรมเนืองๆ และการไม่ประกอบกุศลธรรมเนืองๆ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๒) [๗๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนการประกอบกุศล ธรรมเนืองๆ และการไม่ประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ นี้ เพราะการประกอบกุศล ธรรมเนืองๆ และการไม่ประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๓) [๗๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้โพชฌงค์๑- (ธรรมที่เป็นองค์ แห่งการตรัสรู้)ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ถึง ความเจริญเต็มที่เหมือนอโยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยไม่แยบคาย)นี้ เมื่อ @เชิงอรรถ : @ โพชฌงค์ ๗ คือ @๑. สติ ความระลึกได้ @๒. ธรรมวิจยะ ความสอดส่อง สืบค้นธรรม @๓. วีริยะ ความเพียร @๔. ปีติ ความอิ่มใจ @๕. ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ @๖. สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น @๗. อุเบกขา ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามความเป็นจริง @(ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๑, ๓๕๗/๒๕๘, องฺ.สตฺตก. ๒๓/๒๖/๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๙. ปมาทาทิวรรค

มนสิการโดยไม่แยบคาย โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่ถึง ความเจริญเต็มที่ (๔) [๗๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วถึงความเจริญเต็มที่เหมือนโยนิโส- มนสิการ(การมนสิการโดยแยบคาย)นี้ เมื่อมนสิการโดยแยบคาย โพชฌงค์ที่ยังไม่ เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความเจริญเต็มที่ (๕) [๗๖] ความเสื่อมญาติเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความเสื่อมปัญญาเลวร้ายกว่า ความเสื่อมทั้งหลาย (๖) [๗๗] ความเจริญด้วยญาติเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความเจริญด้วยปัญญายอด เยี่ยมกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เรา ทั้งหลายจักเจริญด้วยความเจริญทางปัญญา” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล (๗) [๗๘] ความเสื่อมโภคทรัพย์เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความเสื่อมปัญญาเลวร้าย กว่าความเสื่อมทั้งหลาย (๘) [๗๙] ความเจริญด้วยโภคทรัพย์เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความเจริญด้วยปัญญา ยอดเยี่ยมกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ ว่า “เราทั้งหลายจักเจริญด้วยความเจริญทางปัญญา” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก อย่างนี้แล (๙) [๘๐] ความเสื่อมยศเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความเสื่อมปัญญาเลวร้ายกว่า ความเสื่อมทั้งหลาย (๑๐)
กัลยาณมิตตาทิวรรคที่ ๘ จบ
๙. ปมาทาทิวรรค
หมวดว่าด้วยความประมาทเป็นต้น
[๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญด้วยยศเป็นเรื่อง เล็กน้อย แต่ความเจริญด้วยปัญญายอดเยี่ยมกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลายจักเจริญด้วยความเจริญทาง ปัญญา” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๙. ปมาทาทิวรรค

[๘๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน ความประมาทนี้ ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๒) [๘๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน ความไม่ประมาทนี้ ความไม่ประมาทย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๓) [๘๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน ความเกียจคร้านนี้ ความเกียจคร้านย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๔) [๘๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนการ ปรารภความเพียรนี้ การปรารภความเพียรย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๕) [๘๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน ความมักมากนี้ ความมักมากย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๖) [๘๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน ความมักน้อยนี้ ความมักน้อยย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๗) [๘๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน ความไม่สันโดษนี้ ความไม่สันโดษย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๘) [๘๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน ความสันโดษนี้ ความสันโดษย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๙) [๙๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน อโยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยไม่แยบคาย)นี้ อโยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อ มิใช่ประโยชน์มาก (๑๐) [๙๑] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน โยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยแยบคาย)นี้ โยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์มาก (๑๑) [๙๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน ความไม่มีสัมปชัญญะนี้ ความไม่มีสัมปชัญญะย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๒) [๙๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน ความมีสัมปชัญญะนี้ ความมีสัมปชัญญะย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๐. ทุติยปมาทาทิวรรค

[๙๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน ความมีปาปมิตรนี้ ความมีปาปมิตรย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๔) [๙๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน ความมีกัลยาณมิตรนี้ ความมีกัลยาณมิตรย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๕) [๙๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน การประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ และการไม่ประกอบกุศลธรรมเนืองๆ นี้ การ ประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ และการไม่ประกอบกุศลธรรมเนืองๆ ย่อมเป็นไปเพื่อ มิใช่ประโยชน์มาก (๑๖) [๙๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนการ ประกอบกุศลธรรมเนืองๆ และการไม่ประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ นี้ การประกอบ กุศลธรรมเนืองๆ และการไม่ประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๗)
ปมาทาทิวรรคที่ ๙ จบ
๑๐. ทุติยปมาทาทิวรรค
หมวดว่าด้วยความประมาทเป็นต้น หมวดที่ ๒
[๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะพูดถึงองค์ประกอบภาย ใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน ความประมาทนี้ ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑) [๙๙] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง หนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนความไม่ประมาทนี้ ความไม่ประมาทย่อมเป็น ไปเพื่อประโยชน์มาก (๒) [๑๐๐] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง หนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนความเกียจคร้านนี้ ความเกียจคร้านย่อม เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๐. ทุติยปมาทาทิวรรค

[๑๐๑] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง หนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนการปรารภความเพียรนี้ การปรารภความ เพียรย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๔) [๑๐๒] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมักมากย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๕) [๑๐๓] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมักน้อยย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๖) [๑๐๔] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความไม่สันโดษย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๗) [๑๐๕] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความสันโดษย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๘) [๑๐๖] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ อโยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๙) [๑๐๗] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ โยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๐) [๑๐๘] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความไม่มีสัมปชัญญะย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๑) [๑๐๙] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมีสัมปชัญญะย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๒) [๑๑๐] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายนอก เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนความมีปาปมิตรนี้ ความมีปาปมิตรย่อม เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๓) [๑๑๑] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายนอก เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนความมีกัลยาณมิตรนี้ ความมีกัลยาณมิตร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๐. ทุติยปมาทาทิวรรค

[๑๑๒] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง หนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนการประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ และการ ไม่ประกอบกุศลธรรมเนืองๆ นี้ การประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ และการไม่ ประกอบกุศลธรรมเนืองๆ ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๕) [๑๑๓] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง หนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนการประกอบกุศลธรรมเนืองๆ และการไม่ ประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ นี้ การประกอบกุศลธรรมเนืองๆ และการไม่ประกอบ อกุศลธรรมเนืองๆ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๖) [๑๑๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไป แห่งสัทธรรม๑- เหมือนความประมาทนี้ ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๑๗) [๑๑๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรมเหมือนความไม่ประมาทนี้ ความไม่ประมาทย่อมเป็นไปเพื่อความ ดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๑๘) [๑๑๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไป แห่งสัทธรรมเหมือนความเกียจคร้านนี้ ความเกียจคร้านย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๑๙) [๑๑๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรมเหมือนการปรารภความเพียรนี้ การปรารภความเพียร ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๐) [๑๑๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมักมากย่อมเป็นไปเพื่อ ความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๑) @เชิงอรรถ : @ สัทธรรม หมายถึงธรรมอันดี หรือศาสนา มี ๓ ประการ คือ ปริยัติสัทธรรม ปฏิบัติสัทธรรม และ @อธิคมสัทธรรม (วิ.อ. ๒/๔๓๘/๔๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๐. ทุติยปมาทาทิวรรค

[๑๑๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมักน้อยย่อมเป็นไปเพื่อ ความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๒) [๑๒๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความไม่สันโดษย่อมเป็นไปเพื่อ ความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๓) [๑๒๑] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความสันโดษย่อมเป็นไปเพื่อ ความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๔) [๑๒๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ อโยนิโยมนสิการย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๕) [๑๒๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ โยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อ ความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๖) [๑๒๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความไม่มีสัมปชัญญะย่อมเป็น ไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๗) [๑๒๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมีสัมปชัญญะย่อมเป็นไป เพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๘) [๑๒๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมีปาปมิตรย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๙) [๑๒๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมีกัลยาณมิตรย่อมเป็นไป เพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๓๐) [๑๒๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ การประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ และการไม่ประกอบกุศลธรรมเนืองๆ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่ง สัทธรรม (๓๑) [๑๒๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อม สูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรมเหมือนการประกอบกุศลธรรมเนืองๆ และการไม่ประกอบ อกุศลธรรมเนืองๆ นี้ การประกอบกุศลธรรมเนืองๆ และการไม่ประกอบอกุศลธรรม เนืองๆ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๓๒)
(จตุกโกฏิกะ จบ)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๑. อธัมมวรรค

[๑๓๐] ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่า “เป็นธรรม” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพ๑- สิ่งที่ไม่ใช่ บุญเป็นอันมาก และทำให้สัทธรรมนี้สูญหายไป (๓๓) [๑๓๑-๑๓๙] ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า “เป็นอธรรม” ฯลฯ แสดงสิ่งที่มิใช่ วินัยว่า “เป็นวินัย” ฯลฯ แสดงวินัยว่า “มิใช่วินัย” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคต ภาษิตไว้ กล่าวไว้ว่า “ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้” ฯลฯ แสดงกรรมที่ ตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมาว่า “ตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมา” ฯลฯ แสดงกรรม ที่ตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมาว่า “ตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า “ตถาคตได้บัญญัติไว้” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ ว่า “ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุข แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และทำให้ สัทธรรมนี้สูญหายไป (๔๒)
ทุติยปมาทาทิวรรคที่ ๑๐ จบ
๑๑. อธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมและอธรรม
[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่า “เป็นอธรรม” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุ เหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑) @เชิงอรรถ : @ ประสพ (ปสวนฺติ) หมายถึงได้รับผลตอบ (ปฏิลภนฺติ) (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๖/๑๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๒. อนาปัตติวรรค

[๑๔๑-๑๔๙] ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า “เป็นธรรม” ฯลฯ แสดงสิ่งที่มิใช่วินัย ว่า “มิใช่วินัย” ฯลฯ แสดงวินัยว่า “เป็นวินัย” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้” ฯลฯ แสดงกรรมที่ตถาคต ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมาว่า “ตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา” ฯลฯ แสดงกรรมที่ ตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมาว่า “ตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมา” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า “ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติ ไว้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่ คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อม ประสพบุญเป็นอันมาก และดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๐)
อธัมมวรรคที่ ๑๑ จบ
๑๒. อนาปัตติวรรค
หมวดว่าด้วยอาบัติและอนาบัติ
[๑๕๐-๑๕๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่ไม่ เป็นอาบัติว่า “เป็นอาบัติ” ฯลฯ แสดงอาบัติว่า “ไม่เป็นอาบัติ” ฯลฯ แสดงอาบัติ เบาว่า “เป็นอาบัติหนัก” ฯลฯ แสดงอาบัติหนักว่า “เป็นอาบัติเบา” ฯลฯ แสดง อาบัติชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า “เป็น อาบัติชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า “เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ”๑- ฯลฯ แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า “เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืน ได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนไม่ได้” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำ คืนได้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุ เหล่านั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และทำให้สัทธรรมนี้สูญหายไป (๑๐) @เชิงอรรถ : @ อาบัติที่มีส่วนเหลือ คือ สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต @ส่วนอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ คือ ปาราชิก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๕๐/๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๓. เอกปุคคลวรรค

[๑๖๐] ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่ไม่เป็นอาบัติว่า “ไม่เป็นอาบัติ” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และ ดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๑) [๑๖๑] ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติว่า “เป็นอาบัติ” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คน หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และดำรง สัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๒) [๑๖๒-๑๖๙] ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติเบาว่า “เป็นอาบัติเบา” ฯลฯ แสดง อาบัติหนักว่า “เป็นอาบัติหนัก” ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่มีส่วน เหลือว่า “เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า “เป็น อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืนได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนได้” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนไม่ได้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และดำรง สัทธรรมนี้ไว้ได้ (๒๐)
อนาปัตติวรรคที่ ๑๒ จบ
๑๓. เอกปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคลผู้เป็นเอก
[๑๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้น ในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาว โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เป็น เอกคือใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิด ขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๓. เอกปุคคลวรรค

[๑๗๑] ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เป็นเอกหาได้ยากในโลก บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เป็นเอก นี้แลหาได้ยากในโลก (๒) [๑๗๒] บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์๑- บุคคล ผู้เป็นเอกคือใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ (๓) [๑๗๓] การตายของบุคคลผู้เป็นเอกเป็นเหตุให้คนจำนวนมากพลอยเดือดร้อน ไปด้วย บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า การตาย ของบุคคลผู้เป็นเอกนี้แลเป็นเหตุให้คนจำนวนมากพลอยเดือดร้อนไปด้วย (๔) [๑๗๔] บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นไม่เป็นที่สอง๒- ไม่มี สหาย๓- ไม่มีอัตภาพใดเหมือน๔- ไม่มีใครเปรียบเทียบ๕- ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ๖- หา @เชิงอรรถ : @ เป็นอัจฉริยมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์เป็นอันมาก หรือเป็นมนุษย์ผู้ได้สั่งสม @บารมีมาแล้วโดยลำดับซึ่งยากที่ใครจะสั่งสมได้ เช่น ให้ทานในชาติที่เป็นพระเวสสันดรแล้วถือปฏิสนธิในภพ @ดุสิต ทรงรับคำอ้อนวอนของเทวดา เปิดวันมหาวิโลกนะ ๕ ถือปฏิสนธิในตระกูลมีโภคะมาก แม้ในวันถือ @ปฏิสนธิและในวันประสูติก็ให้โลกธาตุหวั่นไหว เสด็จดำเนินได้ ๗ ก้าว ทรงเศวตฉัตรทิพย์ บันลือสีหนาท @ว่า “เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก” เมื่อญาณแก่เต็มที่ก็ทรงสละราชสมบัติออกผนวช ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๒/๑๐๒) @ ไม่เป็นที่สอง หมายถึงไม่มีพุทธเจ้าองค์ที่สอง (ในโลกธาตุเดียวกัน) กล่าวคือไม่มีพระสัพพัญญูพุทธเจ้า @ผู้บำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขย แสนกัป ๘ อสงไขย แสนกัป หรือ ๑๖ อสงไขย แสนกัป กำจัดยอดแห่งมาร ๓ @จำพวก รู้แจ้งพระสัพพัญญุตญาณ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๔) @ ไม่มีสหาย หมายถึงไม่มีบุคคลที่มีอัตภาพหรือธรรมที่ตรัสรู้เสมอเหมือน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๔) @ ไม่มีอัตภาพใดเหมือนหมายถึงไม่มีอัตภาพอื่นเหมือนอัตภาพของพระพุทธเจ้า แม้ในสิ่งที่พวกมนุษย์ @ใช้เงินหรือทองสร้างรูปเหมือนนั้น ก็ไม่มีใครสามารถสร้างให้เหมือนพระองค์ได้เลยแม้แต่น้อย @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๔) @ ไม่มีใครเปรียบเทียบ หมายถึงไม่ว่าจะเป็นอัตภาพของผู้ใดก็ไม่สามารถจะเปรียบเทียบกับอัตภาพของ @พระพุทธเจ้า (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๔-๑๐๕) @ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ หมายถึงไม่มีผู้เทียมทาน คือไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงธรรมที่พระตถาคต @แสดงไว้ได้ เช่น สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ทรงแสดงไว้ ไม่มีใครสามารถลดให้เหลือเป็น ๓ ประการ หรือ @เพิ่มให้เป็น ๕ ประการได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๔-๑๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๑. ปฐมวรรค

บุคคลเปรียบเทียบมิได้๑- หาผู้เสมอมิได้๒- เสมอกับบุคคลผู้หาผู้เสมอมิได้๓- เป็นผู้เลิศ กว่าสัตว์สองเท้า๔- บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นไม่เป็นที่สอง ไม่มีสหาย ไม่มี อัตภาพใดเหมือน ไม่มีใครเปรียบเทียบ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ หาบุคคลเปรียบ เทียบมิได้ หาผู้เสมอมิได้ เสมอกับบุคคลผู้หาผู้เสมอมิได้ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์สองเท้า (๕) [๑๗๕-๑๘๖] ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เป็นเอกเป็นความปรากฏแห่งจักษุอัน ยิ่งใหญ่ เป็นความปรากฏแห่งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่ เป็นความปรากฏแห่งโอภาสอัน ยิ่งใหญ่ เป็นความปรากฏแห่งอนุตตริยะ ๖ ๕- เป็นการทำให้แจ้งปฏิสัมภิทา ๔ ๖- เป็น การรู้แจ้งชัดธาตุหลายชนิด เป็นการรู้แจ้งชัดธาตุที่แตกต่างกัน เป็นการทำให้แจ้ง ผลคือวิชชา(ความรู้แจ้ง)และวิมุตติ(ความหลุดพ้น) เป็นการทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร คือ พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะความปรากฏแห่งบุคคลผู้เป็นเอกนี้แล จึงมีความ ปรากฏแห่งจักษุอันยิ่งใหญ่ มีความปรากฏแห่งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่ มีความปรากฏ แห่งโอภาสอันยิ่งใหญ่ มีความปรากฏแห่งอนุตตริยะ ๖ มีการทำให้แจ้งปฏิสัมภิทา ๔ @เชิงอรรถ : @ หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้ หมายถึงไม่มีคู่แข่ง คือ ไม่มีใครอื่นที่จะกล้าปฏิญญาว่า ‘เราเป็นพระพุทธเจ้า’ @ได้เหมือนพระตถาคต (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕) @ หาผู้เสมอมิได้ หมายถึงไม่มีสรรพสัตว์เท่ากับพระองค์ เพราะไม่มีบุคคลจะเท่าเทียมได้ @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕) @ เสมอกับบุคคลผู้หาผู้เสมอมิได้ หมายถึงทรงเป็นผู้เสมอกับพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งในอดีต และ @อนาคต ซึ่งหาผู้เสมอมิได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕) @ สัตว์สองเท้า ในที่นี้หมายถึงมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕) @ อนุตตริยะ ๖ คือ ทัสสนานุตตริยะ การเห็นอันเยี่ยม สวนานุตตริยะ การฟังอันเยี่ยม ลาภานุตตริยะ การ @ได้อันเยี่ยม สิกขานุตตริยะ การศึกษาอันเยี่ยม ปาริจริยานุตตริยะ การบำรุงอันเยี่ยม อนุสสตานุตตริยะ @การระลึกอันเยี่ยม (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๕-๑๘๖/๑๐๖) @ ปฏิสัมภิทา ๔ คือ อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในเนื้อความ ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉาน @ในหลักการ นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในภาษา และปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานใน @ความคิดทันการ (องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๑๗๒/๑๘๓-๑๘๔, ขุ.ปฏิ. ๓๑/๑๑๐/๑๒๓, อภิ.วิ. ๓๕/๗๑๘/๓๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๑. ปฐมวรรค

มีการรู้แจ้งชัดธาตุหลายชนิด มีการรู้แจ้งชัดธาตุที่แตกต่างกัน มีการทำให้แจ้งผล คือวิชชาและวิมุตติ มีการทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และ อรหัตตผล (๖-๑๗) [๑๘๗] เราไม่เห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียวที่เผยแผ่โดยชอบซึ่งธรรมจักรอันยอด เยี่ยมที่ตถาคตประกาศไว้แล้วเหมือนสารีบุตรนี้ สารีบุตรย่อมเผยแผ่โดยชอบซึ่ง ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว (๑๘)
เอกปุคคลวรรคที่ ๑๓ จบ
๑๔. เอตทัคควรรค
หมวดว่าด้วยเอตทัคคะ๑-
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
[๑๘๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อัญญาโกณฑัญญะเลิศกว่า ภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นรัตตัญญู๒- (๑) [๑๘๙] สารีบุตรเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีปัญญามาก (๒) [๑๙๐] มหาโมคคัลลานะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีฤทธิ์มาก (๓) [๑๙๑] มหากัสสปะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ทรงธุดงค์ และ สรรเสริญคุณแห่งธุดงค์ (๔) [๑๙๒] อนุรุทธะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีตาทิพย์ (๕) @เชิงอรรถ : @ เอตทัคคะ ในที่นี้หมายถึงเป็นยอดบ้าง เป็นผู้ประเสริฐที่สุดบ้าง (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘๘/๑๑๒) @ รัตตัญญู ในที่นี้ เป็นตำแหน่งเอตทัคคะที่พระอัญญาโกณฑัญญะได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้า @มีความหมายว่า รู้ราตรีนาน คือบวช รู้แจ้งธรรม และเป็นพระขีณาสพก่อนพระสาวกทั้งหลาย @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘๘/๑๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๒. ทุติยวรรค

[๑๙๓] ภัททิยกาฬิโคธายบุตรเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เกิดในตระกูลสูง (๖) [๑๙๔] ลกุณฏกภัททิยะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีเสียงไพเราะ (๗) [๑๙๕] ปิณโฑลภารทวาชะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้บันลือสีหนาท๑- (๘) [๑๙๖] ปุณณมันตานีบุตรเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นธรรมกถึก (๙) [๑๙๗] มหากัจจานะ๒- เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้อธิบายความหมาย แห่งธรรมที่กล่าวไว้โดยย่อได้พิสดาร (๑๐)
ปฐมวรรค จบ
๑๔. เอตทัคควรรค
๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
[๑๙๘] จูฬปันถกเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้สามารถเนรมิตกายมโนมัย๓- (๑) @เชิงอรรถ : @ บันลือสีหนาท ในที่นี้หมายถึงอาการที่เปล่งวาจาอย่างองอาจดุจพญาราชสีห์ในขณะที่เดินรอบๆ วิหาร @มีใจความว่า “ผู้มีความสงสัยในมรรคและผล จงถามข้าพเจ้า” หรือแม้จะยืนตรงพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า @ก็เปล่งวาจาว่า “กิจที่จะพึงทำในพระศาสนานี้ของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว” (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๙๕/๑๗๗) @ บางแห่งใช้ กัจจายนะ @ เนรมิตกายมโนมัย หมายถึงเนรมิตกายที่เกิดขึ้นด้วยใจ เช่น ตามปกติภิกษุอื่นหลายรูปเนรมิตให้กายเกิด @ขึ้นมีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน ทำงานอย่างเดียวกันได้เพียง ๓ หรือ ๔ รูป ไม่มาก ส่วนท่านพระจูฬปันถก @เนรมิตกายให้เป็นสมณะตั้ง ๑,๐๐๐ รูป โดยการนึกเพียงครั้งเดียว ทั้งยังสามารถทำให้กายที่เนรมิตนั้นมี @รูปร่างต่างกัน ทำการงานต่างกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงเลิศกว่าภิกษุผู้เนรมิตกายมโนมัยทั้งหลาย @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๙๘/๑๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๒. ทุติยวรรค

[๑๙๙] จูฬปันถกเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏ๑- (๒) [๒๐๐] มหาปันถกเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ฉลาดในสัญญาวิวัฏ๒- (๓) [๒๐๑] สุภูติเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่มีกิเลส (๔) [๒๐๒] สุภูติเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล (๕) [๒๐๓] เรวตขทิรวนิยะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร (๖) [๒๐๔] กังขาเรวตะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ยินดีในฌาน (๗) [๒๐๕] โสณโกฬิวิสะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ปรารภความเพียร๓- (๘) [๒๐๖] โสณกุฏิกัณณะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวถ้อยคำไพเราะ๔- (๙) [๒๐๗] สีวลีเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีลาภ (๑๐) [๒๐๘] วักกลิเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา (๑๑)
ทุติยวรรค จบ
@เชิงอรรถ : @ ฉลาดในเจโตวิวัฏ หมายถึงฉลาดในการปรับเปลี่ยนใจ คือได้รูปาวจรฌาน ๔ (ปฐมฌาน ทุติยฌาน @ตติยฌาน และจตุตถฌาน) เพราะความฉลาดในสมาบัติ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๙๙/๑๘๙) @ ฉลาดในสัญญาวิวัฏ หมายถึงฉลาดในการปรับเปลี่ยนสัญญา คือได้อรูปาวจรฌาน ๔ (อากาสานัญจา- @ยตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน) @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๐๐/๑๘๙) @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๘ หน้า ๔ ในเล่มนี้ @ กล่าวถ้อยคำไพเราะ ในที่นี้หมายถึงแสดงธรรมกถาด้วยเสียงอันไพเราะ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๐๖/๒๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๓. เอตทัคควรรค

๑๔. เอตทัคควรรค
๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
[๒๐๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ราหุลเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ใคร่ต่อการศึกษา (๑) [๒๑๐] รัฐบาลเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้บวชด้วยศรัทธา (๒) [๒๑๑] กุณฑธานะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้จับสลากได้ก่อน (๓) [๒๑๒] วังคีสะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีปฏิภาณ (๔) [๒๑๓] อุปเสนวังคันตบุตรเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นที่เลื่อมใสของคนโดยรอบ (๕) [๒๑๔] ทัพพมัลลบุตรเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้จัดแจงเสนาสนะ (๖) [๒๑๕] ปิลินทวัจฉะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเหล่าเทวดา (๗) [๒๑๖] พาหิยทารุจีริยะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้รู้แจ้งได้เร็ว (๘) [๒๑๗] กุมารกัสสปะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้แสดงธรรมได้วิจิตร (๙) [๒๑๘] มหาโกฏฐิตะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา (๑๐)
ตติยวรรค จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๔. จตุตถวรรค

๑๔. เอตทัคควรรค
๔. จตุตถวรรค
หมวดที่ ๔
[๒๑๙] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นพหูสูต๑- (๑) [๒๒๐] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีสติ๒- (๒) [๒๒๑] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีคติ๓- (๓) [๒๒๒] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีธิติ๔- (๔) [๒๒๓] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นอุปัฏฐาก (๕) [๒๒๔] อุรุเวลกัสสปะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีบริวารมาก (๖) [๒๒๕] กาฬุทายีเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ยังสกุลให้เลื่อมใส (๗) [๒๒๖] พักกุละเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีอาพาธน้อย (๘) [๒๒๗] โสภิตะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ระลึกชาติได้ (๙) [๒๒๘] อุบาลีเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ทรงวินัย (๑๐) [๒๒๙] นันทกะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวสอนนางภิกษุณี (๑๑) [๒๓๐] นันทะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์๕- ทั้งหลายได้ (๑๒) @เชิงอรรถ : @ ผู้เป็นพหูสูต ในที่นี้หมายถึงได้เรียนพุทธพจน์โดยตรงจากพระผู้มีพระภาค ตั้งอยู่ในฐานะ “ขุนคลังปริยัติ” @ในศาสนาของพระทศพล (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๑๙-๒๒๓/๒๕๖) @ มีสติ ในที่นี้หมายถึงสามารถทรงจำพระพุทธพจน์ได้เป็นเลิศ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๑๙-๒๒๓/๒๕๖) @ มีคติ ในที่นี้หมายถึงจดจำที่มาของพระพุทธพจน์ได้หมดทุกบท แม้จะมีถึงหกหมื่นบท ก็จำได้ตามที่ @พระพุทธเจ้าตรัสไว้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๑๙-๒๒๓/๒๕๖) @ มีธิติ ในที่นี้หมายถึงเพียรเรียน เพียรสาธยาย เพียรทรงจำพระพุทธพจน์ และเพียรอุปัฏฐาก @(องฺ. เอกก.อ. ๑/๒๑๙-๒๒๓/๒๕๖) @ อินทรีย์ ในที่นี้หมายถึงอินทรีย์ ๖ หรืออายตนะภายใน ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) พระนันทะ @เป็นผู้สำรวมระวังการเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ @(ที.ปา. ๑๑/๓๒๓/๒๑๕, ม.อุ. ๑๔/๓๐๕/๒๗๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๙/๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๕. ปัญจมวรรค

[๒๓๑] มหากัปปินะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวสอนภิกษุ (๑๓) [๒๓๒] สาคตะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ฉลาดในเตโชธาตุ (๑๔) [๒๓๓] ราธะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง (๑๕) [๒๓๔] โมฆราชเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง (๑๖)
จตุตถวรรค จบ
๑๔. เอตทัคควรรค
๕. ปัญจมวรรค
หมวดที่ ๕
[๒๓๕] มหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เป็นรัตตัญญู (๑) [๒๓๖] เขมาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้มีปัญญามาก (๒) [๒๓๗] อุบลวรรณาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้มีฤทธิ์มาก (๓) [๒๓๘] ปฏาจาราเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ทรงวินัย (๔) [๒๓๙] ธรรมทินนาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เป็นธรรมกถึก (๕) [๒๔๐] นันทาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ยินดีในฌาน (๖) [๒๔๑] โสณาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ปรารภความเพียร (๗) [๒๔๒] สกุลาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้มีตาทิพย์ (๘) [๒๔๓] ภัททากุณฑลเกสาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้รู้แจ้งได้เร็ว (๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๖. ฉัฏฐวรรค

[๒๔๔] ภัททากาปิลานีเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ระลึกชาติได้ (๑๐) [๒๔๕] ภัททากัจจานาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้บรรลุอภิญญาใหญ่ (๑๑) [๒๔๖] กิสาโคตมีเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง (๑๒) [๒๔๗] สิงคาลมาตาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา (๑๓)
ปัญจมวรรค จบ
๑๔. เอตทัคควรรค
๖. ฉัฏฐวรรค
หมวดที่ ๖
[๒๔๘] พ่อค้าชื่อตปุสสะและภัลลิกะเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ถึงสรณะก่อน (๑) [๒๔๙] สุทัตตอนาถบิณฑิกคหบดีเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ ยินดียิ่งในการถวายทาน (๒) [๒๕๐] จิตตคหบดีชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑ์เลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นธรรมกถึก (๓) [๒๕๑] หัตถกอุบาสกชาวกรุงอาฬวีเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔ (๔) [๒๕๒] เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ถวายรสอันประณีต (๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๗. สัตตมวรรค

[๒๕๓] อุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลีเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ ถวายโภชนะเป็นที่น่าชอบใจ (๖) [๒๕๔] อุคคตคหบดีชาวหัตถีคามเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ อุปัฏฐากพระสงฆ์ (๗) [๒๕๕] สูรอัมพัฏฐะเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น (๘) [๒๕๖] ชีวกโกมารภัจจ์เลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เลื่อมใส เฉพาะบุคคล (๙) [๒๕๗] นกุลปิตาคหบดีเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวถ้อยคำ ที่ทำให้เกิดความคุ้นเคย (๑๐)
ฉัฏฐวรรค จบ
๑๔. เอตทัคควรรค
๗. สัตตมวรรค
หมวดที่ ๗
[๒๕๘] สุชาดาธิดาของเสนานีกุฎุมพีเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ถึงสรณะก่อน (๑) [๒๕๙] วิสาขามิคารมาตาเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ยินดียิ่ง ในการถวายทาน (๒) [๒๖๐] ขุชชุตตราเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เป็นพหูสูต (๓) [๒๖๑] สามาวดีเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา (๔) [๒๖๒] อุตตรานันทมาตาเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ยินดีในฌาน (๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕. อัฏฐานบาลี ๑. ปฐมวรรค

[๒๖๓] สุปปวาสาโกลิยธิดาเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ถวายรสอันประณีต (๖) [๒๖๔] สุปปิยาอุบาสิกาเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้บำรุงภิกษุอาพาธ (๗) [๒๖๕] กาติยานีเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น (๘) [๒๖๖] นกุลมาตาคหปตานีเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวถ้อยคำ ที่ทำให้เกิดความคุ้นเคย (๙) [๒๖๗] กาลีอุบาสิกาชาวเมืองกุรรฆระ เลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เลื่อมใสเพราะได้ยินได้ฟังตามๆ กันมา (๑๐)
สัตตมวรรค จบ
เอตทัคควรรคที่ ๑๔ จบ
๑๕. อัฏฐานบาลี
บาลีว่าด้วยความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
[๒๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลย๑- ที่บุคคลผู้ถึง พร้อมด้วยทิฏฐิ๒- พึงยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสภาวะเที่ยง แต่เป็นไปได้๓- ที่ปุถุชนพึงยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสภาวะเที่ยง (๑) @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อที่ ๔๑ หน้า ๗ ในเล่มนี้ @ บุคคล ในที่นี้หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันขึ้นไป และ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิ @คือความเห็นชอบ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒) @ เป็นไปได้ ในที่นี้หมายถึงยอมรับฐานะ(เหตุ)ที่ให้เป็นไปได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕. อัฏฐานบาลี ๑. ปฐมวรรค

[๒๖๙] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงยึดถือสังขารไรๆ โดย ความเป็นสุข แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข (๒) [๒๗๐] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงยึดถือธรรมไรๆ โดยความ เป็นอัตตา แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงยึดถือธรรมไรๆ โดยความเป็นอัตตา (๓) [๒๗๑] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่ามารดา แต่เป็นไปได้ ที่ปุถุชนพึงฆ่ามารดา (๔) [๒๗๒] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่าบิดา แต่เป็นไปได้ ที่ปุถุชนพึงฆ่าบิดา (๕) [๒๗๓] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่าพระอรหันต์ แต่เป็น ไปได้ที่ปุถุชนพึงฆ่าพระอรหันต์ (๖) [๒๗๔] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงมีจิตประทุษร้าย ทำร้ายตถาคตให้ห้อเลือด แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงมีจิตประทุษร้าย ทำร้ายตถาคตให้ ห้อเลือด (๗) [๒๗๕] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงทำลายสงฆ์ แต่เป็นไป ได้ที่ปุถุชนพึงทำลายสงฆ์ (๘) [๒๗๖] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงนับถือศาสดาอื่น แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงนับถือศาสดาอื่น (๙) [๒๗๗] เป็นไปไม่ได้เลยที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์พึงเสด็จ อุบัติพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกัน๑- แต่เป็นไปได้ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ องค์เดียวพึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว (๑๐)
ปฐมวรรค จบ
@เชิงอรรถ : @ โลกธาตุเดียวกัน หมายถึงจักรวาลเดียวกัน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๗๗/๔๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕. อัฏฐานบาลี ๓. ตติยวรรค

๑๕. อัฏฐานบาลี
๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
[๒๗๘] เป็นไปไม่ได้เลยที่พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์พึงเสด็จอุบัติพร้อมกัน ในโลกธาตุเดียวกัน แต่เป็นไปได้ที่พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์เดียวพึงเสด็จอุบัติใน โลกธาตุเดียว (๑) [๒๗๙] เป็นไปไม่ได้เลยที่สตรีพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เป็นไป ได้ที่บุรุษพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (๒) [๒๘๐] เป็นไปไม่ได้เลยที่สตรีพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ (๓) [๒๘๑-๒๘๓] เป็นไปไม่ได้เลยที่สตรีพึงครองความเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ เป็นมาร ฯลฯ เป็นพรหม แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึงครองความเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ เป็นมาร ฯลฯ เป็นพรหม (๔-๖) [๒๘๔] เป็นไปไม่ได้เลยที่กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ (๗) [๒๘๕-๒๘๖] เป็นไปไม่ได้เลยที่วจีทุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้เลยที่มโนทุจริตจะ พึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่มโนทุจริตจะพึงเกิดผลที่ ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ (๘-๙)
ทุติยวรรค จบ
๑๕. อัฏฐานบาลี
๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
[๒๘๗] เป็นไปไม่ได้เลยที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕. อัฏฐานบาลี ๓. ตติยวรรค

[๒๘๘-๒๘๙] เป็นไปไม่ได้เลยที่วจีสุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้เลยที่มโนสุจริตจะ พึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่มโนสุจริตจะพึงเกิด ผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (๒-๓) [๒๙๐] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบกายทุจริต หลังจากตายแล้วจะไป เกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความประกอบกายทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไป ได้ที่บุคคลผู้ประกอบกายทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต๑- นรก เพราะความประกอบกายทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย (๔) [๒๙๑-๒๙๒] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบวจีทุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ เลยที่บุคคลผู้ประกอบมโนทุจริตหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะ ความประกอบมโนทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้ประกอบมโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะประกอบมโนทุจริต เป็นเหตุเป็นปัจจัย (๕-๖) [๒๙๓] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบกายสุจริต หลังจากตายแล้วจะไป เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความประกอบกายสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้ประกอบกายสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะประกอบกายสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย (๗) [๒๙๔-๒๙๕] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบวจีสุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ เลยที่บุคคลผู้ประกอบมโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะประกอบมโนสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้ประกอบ มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะประกอบมโนสุจริต เป็นเหตุเป็นปัจจัย (๘-๙)
ตติยวรรค จบ
อัฏฐานบาลีที่ ๑๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ ในที่นี้ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๑. ปฐมวรรค

๑๖. เอกธัมมบาลี
บาลีว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก๑-
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
[๒๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร คือ พุทธานุสสติ(การระลึกถึงพระพุทธเจ้า) ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย อย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๑) [๒๙๗] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความ เบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร คือ ธัมมานุสสติ(การระลึกถึงพระธรรม) ฯลฯ สังฆานุสสติ(การระลึกถึง พระสงฆ์) ฯลฯ สีลานุสสติ(การระลึกถึงศีล) ฯลฯ จาคานุสสติ(การระลึกถึงการ บริจาค) ฯลฯ เทวตานุสสติ(การระลึกถึงเทวดา) ฯลฯ อานาปานัสสติ(สติกำหนด ลมหายใจเข้าออก) ฯลฯ มรณัสสติ(การระลึกถึงความตาย) ฯลฯ กายคตาสติ(สติ อันไปในกาย) ฯลฯ อุปสมานุสสติ(การระลึกถึงธรรมอันเป็นที่สงบ) ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย อย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๑๐)
ปฐมวรรค จบ
@เชิงอรรถ : @ ธรรมอันเป็นเอก ในที่นี้หมายถึงธรรมที่มีสภาวะเป็นหนึ่ง(เอกสภาวะ) ศัพท์ว่า ธรรม นี้มีความหมายว่า @สภาวะ ดุจในคำว่า กุสลา ธมฺมา (สภาวะที่เป็นกุศล) เป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๙๖/๔๑๘, @องฺ.เอกก.ฏีกา ๑/๒๙๖/๒๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๒. ทุติยวรรค

๑๖. เอกธัมมบาลี
๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
[๒๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่าง หนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อ ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือนมิจฉาทิฏฐิ๑- (ความเห็นผิด)นี้ เมื่อเป็นมิจฉาทิฏฐิ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้น (๑) [๒๙๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือนสัมมาทิฏฐิ๒- (ความเห็นชอบ)นี้ เมื่อเป็นสัมมาทิฏฐิ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิด ขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๒) [๓๐๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไปเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้ เมื่อเป็นมิจฉาทิฏฐิ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๓) [๓๐๑] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไปเหมือนสัมมาทิฏฐินี้ เมื่อเป็นสัมมาทิฏฐิ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๔) [๓๐๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้นเหมือนอโยนิโสมนสิการ เมื่อมนสิการโดยไม่ แยบคาย มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น (๕) @เชิงอรรถ : @ มิจฉาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ประการ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๙๘/๔๒๒, ดูเรื่องทิฏฐิ ๖๒ ประการใน @ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค แปล เล่มที่ ๙ ข้อ ๒๘-๙๘ หน้า ๑๑-๓๘) @ สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิ ๕ ประการ คือ (๑) กัมมัสสกตาทิฏฐิ (๒) ฌานสัมมาทิฏฐิ @(๓) วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ (๔) มัคคสัมมาทิฏฐิ (๕) ผลสัมมาทิฏฐิ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๗๕/๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๒. ทุติยวรรค

[๓๐๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้นเหมือนโยนิโสมนสิการ เมื่อมนสิการโดย แยบคาย สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น (๖) [๓๐๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้เหล่าสัตว์ หลังจากตาย แล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เหมือนมิจฉาทิฏฐินี้ เหล่าสัตว์ที่ประกอบ ด้วยมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก (๗) [๓๐๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้เหล่าสัตว์ หลังจากตาย แล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เหมือนสัมมาทิฏฐินี้ เหล่าสัตว์ที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ (๘) [๓๐๖] กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือ ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควร แก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลาย ของบุคคลผู้เป็น มิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า พอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความเห็นเลวทราม กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ ... ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความเห็นเลวทราม เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำ เต้าขมที่บุคคลเพาะไว้ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมด ย่อม เป็นไปเพื่อความเป็นของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมล็ด สะเดาเป็นต้นนั้นเลว ฉะนั้น (๙) [๓๐๗] กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือ ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควร แก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็น สัมมาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความเห็นดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๓. ตติยวรรค

กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ ... ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความเห็นดี เปรียบเหมือนพันธุ์อ้อย พันธุ์ข้าวสาลีหรือเมล็ดจันทน์ที่บุคคล เพาะไว้ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมดย่อมเป็นไปเพื่อความ เป็นของหวาน น่าอร่อย น่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพันธุ์อ้อยเป็นต้นนั้นดี ฉะนั้น (๑๐)
ทุติยวรรค จบ
๑๖. เอกธัมมบาลี
๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
[๓๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นใน โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคล ผู้เป็นเอกคือใคร คือ บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต บุคคลนั้นทำให้คน หมู่มากออกจากสัทธรรม๑- ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม๒- บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้น ในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๑) [๓๐๙] บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่ มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร คือ บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริต บุคคลนั้นทำให้คนหมู่มากออกจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ใน สัทธรรม บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คน หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๒) @เชิงอรรถ : @ สัทธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๐๘/๔๒๕) @ อสัทธรรม ในที่นี้หมายถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๐๘/๔๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๓. ตติยวรรค

[๓๑๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้ โทษ ทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง (๓) [๓๑๑] เราไม่เห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียวที่ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหมือนโมฆบุรุษชื่อว่ามักขลินี้ โมฆบุรุษชื่อมักขลิเกิดขึ้นในโลก เป็นเหมือนลอบที่ดักมนุษย์ เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่สัตว์เป็นอันมากเปรียบเหมือนบุคคล ดักลอบไว้ที่ปากอ่าว เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่ ปลาเป็นอันมาก ฉะนั้น (๔) [๓๑๒] ผู้ชักชวน ผู้ถูกชักชวน ผู้ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติตามคำชักชวน ในธรรม วินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี คนทั้งหมดนั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (๕) [๓๑๓] ผู้ชักชวน ผู้ถูกชักชวน ผู้ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติตามคำชักชวน ในธรรม วินัยที่กล่าวไว้ดี คนทั้งหมดนั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ดี (๖) [๓๑๔] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ทายก(ผู้ให้)พึงรู้จักประมาณ ปฏิคาหก (ผู้รับ)ไม่จำต้องรู้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (๗) [๓๑๕] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ปฏิคาหกพึงรู้จักประมาณ ทายกไม่จำต้องรู้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ดี (๘) [๓๑๖] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ผู้ปรารภความเพียรย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (๙) [๓๑๗] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ผู้เกียจคร้านย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี (๑๐) [๓๑๘] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ผู้เกียจคร้านย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๔. จตุตถวรรค

[๓๑๙] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ผู้ปรารภความเพียรย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ดี (๑๒) [๓๒๐] คูถ(อุจจาระ)แม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น แม้ฉันใด ภพแม้เพียงเล็กน้อย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่สรรเสริญโดยที่สุดแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว (๑๓) [๓๒๑] มูตร(ปัสสาวะ)แม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น ... น้ำลายแม้เพียงเล็ก น้อยก็มีกลิ่นเหม็น ... น้ำหนองแม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น ... เลือดแม้เพียงเล็ก น้อยก็มีกลิ่นเหม็นแม้ฉันใด ภพแม้เพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่สรรเสริญ โดยที่สุดแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว (๑๔)
ตติยวรรค จบ
๑๖. เอกธัมมบาลี
๔. จตุตถวรรค
หมวดที่ ๔
[๓๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ในชมพูทวีปนี้ สวนอันน่า รื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์มี จำนวนน้อยนัก ส่วนสถานที่ที่เป็นที่ดอน ที่ลุ่ม ที่มีน้ำหลาก ที่มีตอไม้และหนาม ที่มีภูเขาสูงชันลาดต่ำมีจำนวนมากกว่า แม้ฉันใด สัตว์ที่เกิดบนบกมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่เกิดในน้ำมีจำนวนมากกว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล (๑) [๓๒๓] สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไปเกิดใน กำเนิดอื่น๑- นอกจากมนุษย์มีจำนวนมากกว่า สัตว์ที่กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบทมี จำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท ในหมู่ชาวมิลักขะผู้โง่เขลามี จำนวนมากกว่า (๒) @เชิงอรรถ : @ กำเนิดอื่น ในที่นี้หมายถึงอบาย ๔ คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต และอสูรกาย @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๒๓/๔๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๔. จตุตถวรรค

[๓๒๔] สัตว์ที่มีปัญญา๑- ไม่โง่เขลา ไม่เป็นเหมือนคนหนวก คนใบ้ สามารถรู้ เนื้อความแห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิตได้มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่มีปัญญา โง่เขลา เป็นเหมือนคนหนวก คนใบ้ ไม่สามารถรู้เนื้อความแห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิต ได้มีจำนวนมากกว่า (๓) [๓๒๕] สัตว์ที่ประกอบด้วยปัญญาจักษุอย่างประเสริฐมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ ที่ตกอยู่ในอวิชชา ลุ่มหลงมีจำนวนมากกว่า (๔) [๓๒๖] สัตว์ที่ได้เห็นตถาคต๒- มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่ได้เห็นตถาคตมี จำนวนมากกว่า (๕) [๓๒๗] สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่ ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้มีจำนวนมากกว่า (๖) [๓๒๘] สัตว์ที่ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ฟังธรรมแล้ว ทรงจำไว้ไม่ได้มีจำนวนมากกว่า (๗) [๓๒๙] สัตว์ที่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้มีจำนวนน้อย ส่วน สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้มีจำนวนมากกว่า (๘) [๓๓๐] สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม และปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมมี จำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม แต่ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีจำนวนมากกว่า (๙) [๓๓๑] สัตว์ที่สลดใจในเหตุอันควรสลดใจมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่สลดใจ ในเหตุอันควรสลดใจมีจำนวนมากกว่า (๑๐) [๓๓๒] สัตว์ที่สลดใจ ทำความเพียรโดยแยบคายมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ สลดใจ ไม่ทำความเพียรโดยแยบคายมีจำนวนมากกว่า (๑๑) @เชิงอรรถ : @ มีปัญญา ในที่นี้หมายถึงมีปัญญา ๕ ประการ คือ (๑) กัมมัสสกตปัญญา (๒) ฌานปัญญา (๓) @วิปัสสนาปัญญา (๔) มัคคปัญญา (๕) ผลปัญญา (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๒๔/๔๓๔) @ สัตว์ที่ได้เห็นตถาคต ในที่นี้หมายถึงรู้คุณของพระตถาคต ได้เห็นตถาคตด้วยจักขุวิญญาณ @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๒๖/๔๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๔. จตุตถวรรค

[๓๓๓] สัตว์ที่ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ๑- ได้เอกัคคตาจิต(จิตมี อารมณ์เป็นหนึ่ง)มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมีจำนวนมากกว่า (๑๒) [๓๓๔] สัตว์ที่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่ได้ข้าวอัน เลิศและรสอันเลิศยังชีพด้วยการแสวงหาด้วยภัตที่ใส่กระเบื้องมามีจำนวนมากกว่า (๑๓) [๓๓๕] สัตว์ที่ได้อรรถรส๒- ธรรมรส๓- และวิมุตติรส๔- มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ ที่ไม่ได้อรรถรส ธรรมรส และวิมุตติรสมีจำนวนมากกว่า เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส ธรรมรส และวิมุตติรส” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล (๑๔) [๓๓๖-๓๓๘] ในชมพูทวีปนี้ สวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศ อันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์มีจำนวนน้อยนัก ส่วนสถานที่ที่เป็นที่ดอน ที่ลุ่ม ที่มีน้ำหลาก ที่มีตอไม้และหนาม ที่มีภูเขาสูงชันลาดต่ำมีจำนวนมากกว่า แม้ ฉันใด สัตว์ที่จุติจากมนุษย์กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจาก มนุษย์ไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัย (แดน เปรต)มีจำนวนมากกว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล (๑๕-๑๗) [๓๓๙-๓๔๑] สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัย มีจำนวนมากกว่า (๑๘-๒๐) [๓๔๒-๓๔๔] สัตว์ที่จุติจากเทวดากลับมาเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดใน เปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๒๑-๒๓) @เชิงอรรถ : @ สมาธิ ในที่นี้หมายถึงมรรคสมาธิและผลสมาธิ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๓/๔๓๕) @ อรรถรส หมายถึงสามัญญผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖) @ ธรรมรส หมายถึงมรรค ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖) @ วิมุตติรส หมายถึงอมตนิพพาน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๔. จตุตถวรรค

[๓๔๕-๓๔๗] สัตว์ที่จุติจากเทวดามาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัย มีจำนวนมากกว่า (๒๔-๒๖) [๓๔๘-๓๕๐] สัตว์ที่จุติจากนรกมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ ที่จุติจากนรกไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัย มีจำนวนมากกว่า (๒๗-๒๙) [๓๕๑-๓๕๓] สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ ที่จุติจากนรกไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัย มีจำนวนมากกว่า (๓๐-๓๒) [๓๕๔-๓๕๖] สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานมาเกิดในหมู่มนุษย์ มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๓๓-๓๕) [๓๕๗-๓๕๙] สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวน น้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๓๖-๓๘) [๓๖๐-๓๖๒] สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๓๙-๔๑) [๓๖๓-๓๖๕] สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๔๒-๔๔)
จตุตถวรรค จบ
(ชัมพุทีปเปยยาล๑- จบ)
@เชิงอรรถ : @ เริ่มตั้งแต่ข้อ ๓๒๒ ถึงข้อ ๓๖๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

๑๗. ปสาทกรธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่ทำให้เกิดความเลื่อมใส
[๓๖๖-๓๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้อยู่ป่าเป็น วัตร ความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ความเป็นธรรมกถึก ความเป็นวินัยธร ความเป็น พหูสูต ความเป็นผู้มั่นคง ความถึงพร้อมด้วยอากัปกิริยา๑- ความถึงพร้อมด้วย บริวารที่ดี ความเป็นผู้มีบริวารมาก ความเป็นกุลบุตร ความเป็นผู้มีรูปผิวพรรณ งาม ความเป็นผู้เจรจาไพเราะ ความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย ทั้งหมดนี้ เป็นชื่อเรียกลาภนั่นเอง (๑-๑๖)
(ปสาทกรธรรมวรรคที่ ๑๗ จบ)
๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว อีกหมวดหนึ่ง
[๓๘๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐมฌานแม้ชั่ว ลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้อยู่ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึง ภิกษุผู้ทำให้มากซึ่งปฐมฌานนั้น (๑) [๓๘๓-๓๘๙] ถ้าภิกษุเจริญทุติยฌานแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ... เจริญตติยฌาน ... เจริญจตุตถฌาน ... เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ ... เจริญกรุณาเจโตวิมุตติ ... เจริญ มุทิตาเจโตวิมุตติ ... เจริญอุเปกขาเจโตวิมุตติ ฯลฯ (๒-๘) [๓๙๐-๓๙๓] ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ... พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ @เชิงอรรถ : @ อากัปกิริยา ในที่นี้หมายถึงมารยาทในการรับปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๖๖/๔๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย๑- อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ (๙-๑๒) [๓๙๔-๓๙๗] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น๒- เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดให้เกิดขึ้น ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่ เกิดขึ้นแล้ว (๑๓-๑๖) [๓๙๘-๔๐๑] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๓- ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบ ด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธาน- สังขาร ... (๑๗-๒๐) [๔๐๒-๔๐๖] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ ... เจริญวีริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... (๒๑-๒๕) [๔๐๗-๔๑๑] ภิกษุเจริญสัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญปัญญาพละ ... (๒๖-๓๐) @เชิงอรรถ : @ ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖ @โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๐/๔๔๐) @ สร้างฉันทะ หมายถึงสร้างความพอใจใคร่จะทำกุศล พยายาม หมายถึงทำความเพียรบากบั่น ปรารภ @ความเพียร หมายถึงบำเพ็ญเพียรทั้งทางกายและทางใจ ประคองจิต หมายถึงยกจิตขึ้นพร้อมๆ กับ @ความเพียรทางกายและจิต มุ่งมั่น หมายถึงทำความเพียรเป็นหลักใหญ่ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๔/๔๔๐) @ได้แก่ สัมมัปปธาน ๔ ประการ ดู องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๖๙/๘๔-๘๕ @ ฉันทสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น (ปธาน) คำว่า @ฉันทสมาธิปธานสังขาร หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะและความเพียรที่มุ่งมั่น วีริยสมาธิ จิตตสมาธิ @และ วีมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน ในสูตรนี้ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๘/๔๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

[๔๑๒-๔๑๘] ภิกษุเจริญสติสัมโพชฌงค์ ... เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... เจริญวีริยสัมโพชฌงค์ ... เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญอุเปกขาสัมโพชฌงค์ ... (๓๑-๓๗) [๔๑๙-๔๒๖] ภิกษุเจริญสัมมาทิฏฐิ ... เจริญสัมมาสังกัปปะ ... เจริญสัมมา- วาจา ... เจริญสัมมากัมมันตะ ... เจริญสัมมาอาชีวะ ... เจริญสัมมาวายามะ ... เจริญสัมมาสติ ... เจริญสัมมาสมาธิ... (๓๘-๔๕) [๔๒๗] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้รูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๔๖) [๔๒๘] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้รูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๔๗) [๔๒๙] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๔๘) [๔๓๐] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๔๙) [๔๓๑] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้ อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๐) [๔๓๒] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความ จำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

[๔๓๓] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกแดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้ อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๒) [๔๓๔] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้ อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๓) [๔๓๕] ภิกษุผู้มีรูปฌานเป็นอารมณ์ย่อมเห็นรูปภายนอกทั้งหลายได้ (๕๔) [๔๓๖] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายในย่อมเห็นรูปภายนอกทั้งหลาย ได้ (๕๕) [๔๓๗] ภิกษุเป็นผู้น้อมใจไปว่า “งาม” เท่านั้น (๕๖) [๔๓๘] ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน๑- อยู่โดยกำหนดว่า “อากาศหา ที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดถึงนานัตตสัญญาโดย ประการทั้งปวง (๕๗) [๔๓๙] ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน๒- อยู่โดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้” (๕๘) [๔๔๐] ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน๓- อยู่โดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” (๕๙) @เชิงอรรถ : @ อากาสานัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดอากาศคือช่องว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้น @ที่ ๑ ของอรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๒๑/๖๙/๑๑๓-๑๑๔) @ วิญญาณัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดวิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้นที่ ๒ ของ @อรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘) @ อากิญจัญญายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดภาวะอันไม่มีอะไร(ความว่าง)เป็นอารมณ์ ฌานนี้เรียกอีก @อย่างหนึ่งว่า สัญญัคคะ(ที่สุดแห่งสัญญา)เพราะเป็นภาวะสุดท้ายของการมีสัญญากล่าวคือผู้บรรลุ @อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ขั้นต่อไปจะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง เข้าถึงสัญญานิโรธบ้าง @(ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

[๔๔๑] ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญา- นาสัญญายตนฌานอยู่ (๖๐) [๔๔๒] ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ(สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)อยู่ (๖๑) [๔๔๓-๔๕๒] ภิกษุเจริญปฐวีกสิณ ... เจริญอาโปกสิณ ... เจริญเตโชกสิณ ... เจริญวาโยกสิณ ... เจริญนีลกสิณ ... เจริญปีตกสิณ ... เจริญโลหิตกสิณ ... เจริญ โอทาตกสิณ ... เจริญอากาสกสิณ ... เจริญวิญญาณกสิณ ... (๖๒-๗๑) [๔๕๓-๔๖๒] ภิกษุเจริญอสุภสัญญา ... เจริญมรณสัญญา ... เจริญอาหาเร- ปฏิกูลสัญญา ... เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ... เจริญอนิจจสัญญา ... เจริญ อนิจเจทุกขสัญญา ... เจริญทุกเขอนัตตสัญญา ... เจริญปหานสัญญา ... เจริญวิราคสัญญา ... เจริญนิโรธสัญญา... (๗๒-๘๑) [๔๖๓-๔๗๒] ภิกษุเจริญอนิจจสัญญา ... เจริญอนัตตสัญญา ... เจริญมรณ- สัญญา ... เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา ... เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ... เจริญ อัฏฐิกสัญญา ... เจริญปุฬวกสัญญา ... เจริญวินีลกสัญญา ... เจริญวิจฉิททกสัญญา ... เจริญอุทธุมาตกสัญญา ... (๘๒-๙๑) [๔๗๓-๔๘๒] ภิกษุเจริญพุทธานุสสติ ... เจริญธัมมานุสสติ ... เจริญสังฆานุสสติ ... เจริญสีลานุสสติ ... เจริญจาคานุสสติ ... เจริญเทวตานุสสติ ... เจริญอานาปานสติ ... เจริญมรณัสสติ ... เจริญกายคตาสติ ... เจริญอุปสมานุสสติ ... (๙๒-๑๐๑) [๔๘๓-๔๙๒] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ที่ประกอบด้วยปฐมฌาน ... เจริญ วีริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... เจริญ สัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญปัญญาพละ ... (๑๐๒-๑๑๑) [๔๙๓-๕๖๒] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ที่ประกอบด้วยทุติยฌาน ฯลฯ ที่ประกอบ ด้วยตติยฌาน ฯลฯ ที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ ที่ประกอบด้วยเมตตา ฯลฯ ที่ประกอบด้วยกรุณา ฯลฯ ที่ประกอบด้วยมุทิตา ฯลฯ ที่ประกอบด้วยอุเบกขา ... เจริญวีริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๙. กายคตาสติวรรค

เจริญสัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญ ปัญญาพละ ... ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้อยู่ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอน ของศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็น ต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำให้มากซึ่งปัญญาพละที่ประกอบด้วยอุเบกขา (๑๑๒-๑๘๑)
อปรอัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๑๘ จบ
๑๙. กายคตาสติวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งการเจริญกายคตาสติ
[๕๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูป หนึ่งได้เจริญทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นส่วนแห่งวิชชา๑- ย่อม เป็นภาวนาที่หยั่งลงในจิตของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งสัมผัส ด้วยใจแล้ว๒- แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งที่ไหลไปสู่สมุทรย่อมปรากฏภายในจิตของ ผู้นั้น (๑) [๕๖๔-๕๗๐] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อสังเวชใหญ่๓- เพื่อประโยชน์ใหญ่๔- เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่๕- เพื่อ สติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ๖- เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ๗- ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอก นี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสังเวชใหญ่ เพื่อประโยชน์ใหญ่ เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่ เพื่อสติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ (๒-๘) @เชิงอรรถ : @ วิชชา มี ๘ ประการ คือ (๑) วิปัสสนาญาณ (๒) มโนมยิทธิ (๓) อิทธิวิธา (๔) ทิพพโสตะ (๕) เจโตปริยญาณ @(๖) ปุพเพนิวาสานุสสติ (๗) ทิพพจักขุ (๘) อาสวักขยญาณ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๖๓/๔๗๒) @ หมายถึงการเจริญอาโปกสิณ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๖๓/๔๗๒) @ สังเวชใหญ่ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาหรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงมรรคแห่งวิปัสสนา @ ประโยชน์ใหญ่ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๔ อีกนัยหนึ่งหมายถึงสามัญญผล ๔ @ ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่ หมายถึงสามัญญผล ๔ อีกนัยหนี่งหมายถึงนิพพาน @ ญาณทัสสนะ หมายถึงทิพพจักขุญาณ @ ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๖๔-๕๗๐/๔๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๙. กายคตาสติวรรค

[๕๗๑] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกและวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญ เต็มที่ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคล ได้เจริญทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกและวิจารก็สงบ ธรรมที่ เป็นส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญเต็มที่ (๙) [๕๗๒] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ (๑๐) [๕๗๓] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่ เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ธรรมอันเป็น เอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มาก แล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๑๑) [๕๗๔] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นย่อมละอัสมิมานะได้ อนุสัย๑- ย่อมถึงความถอนขึ้น ย่อมละสังโยชน์ได้ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แล ที่บุคคลได้ เจริญทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นย่อมละอัสมิมานะ๒- ได้ อนุสัยถึง ความถอนขึ้นย่อมละสังโยชน์ได้ (๑๒) @เชิงอรรถ : @ อนุสัยหรือสังโยชน์ มี ๗ คือ กามราคะ(ความกำหนัดในกาม) ปฏิฆะ(ความขัดใจ) ทิฏฐิ(ความเห็นผิด) @วิจิกิจฉา(ความลังเลใจ) มานะ(ความถือตัว) ภวราคะ(ความกำหนัดในภพ) อวิชชา(ความไม่รู้จริง) @(ที.ปา ๑๑/๓๓๒/๒๒๓, อง.สตฺตก. ๒๓/๑๑/๘) @ อัสมิมานะ หมายถึงความสำคัญตนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มี ๙ ประการ คือ (๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขา @สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขาสำคัญตัวว่าเสมอเขา (๓) เป็นผู้เลิศกว่าเขาสำคัญตัวว่าเลว @กว่าเขา (๔) เป็นผู้เสมอเขาสำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕) เป็นผู้เสมอเขาสำคัญตัวว่าเสมอเขา (๖) เป็นผู้ @เสมอเขาสำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา (๗) เป็นผู้เลวกว่าเขาสำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘) เป็นผู้เลวกว่าเขา @สำคัญตัวว่าเสมอเขา (๙) เป็นผู้เลวกว่าเขาสำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๗๔/๔๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๙. กายคตาสติวรรค

[๕๗๕-๕๗๖] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (๑๓-๑๔) [๕๗๗-๕๗๙] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมมี ความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุหลายชนิด๑- มีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุที่แตกต่างกัน มีความ แตกฉานในธาตุหลายชนิด ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอัน เป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมมีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุหลายชนิด มีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุที่แตกต่างกัน มีความแตกฉานในธาตุหลายชนิด (๑๕-๑๗) [๕๘๐-๕๘๓] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็น ไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล (๑๘-๒๑) [๕๘๔-๕๙๙] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อได้ปัญญา๒- เพื่อความเจริญแห่งปัญญา๓- เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความ เป็นผู้มีปัญญามาก๔- เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา๕- เพื่อความเป็นผู้มีปัญญา @เชิงอรรถ : @ ธาตุหลายชนิด หมายถึงธาตุ ๑๘ มีจักขุธาตุเป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๗๗/๔๗๓, อภิ.วิ. ๓๕/๑๘๕/๑๐๕) @ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงมัคคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อภิญญาญาณ ๖ ญาณ ๗๓ @และญาณ ๗๗ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๔) @ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงปัญญาของพระอริยเสขบุคคล ๗ จำพวก กัลยาณปุถุชน และปัญญาของพระ @อรหันต์ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๔) @ มีปัญญามาก ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาที่ให้ได้รับประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน ได้แก่ ธาตุ ๑๘ @อายตนะ ๑๒ ปฏิจจสมุปปาทธรรม นิรุตติ ปฏิภาณ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ @วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ฐานาฏฐานขันธ์ ฐานะ อัฏฐานะ วิหารสมาบัติ ๘ อริยสัจ ๔ สติปัฏฐาน ๔ @สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ สามัญญผล ๔ @อภิญญา ๖ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๔) @ มีปัญญาแน่นหนา ในที่นี้หมายถึงมีญาณ(ความรู้)ในธาตุ ๑๘ อายตนะ ๑๒ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ @อริยมรรคมีองค์ ๘ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒๐. อมตวรรค

ไพบูลย์ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลุ่มลึก๑- เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง๒- เพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง๓- เพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา เพื่อความเป็นผู้มี ปัญญาว่องไว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความ เป็นผู้มีปัญญาคล่องแคล่ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม๔- และเพื่อความเป็น ผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอก นี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา เพื่อความเจริญแห่ง ปัญญา เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก เพื่อความเป็นผู้ มีปัญญาแน่นหนา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลุ่มลึก เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง เพื่อความ เป็นผู้มากด้วยปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคล่องแคล่ว เพื่อความเป็นผู้ มีปัญญาเฉียบแหลม และเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส (๒๒-๓๗)
กายคตาสติวรรคที่ ๑๙ จบ
๒๐. อมตวรรค
หมวดว่าด้วยอมตธรรม
[๖๐๐] ชนเหล่าใดไม่เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่บรรลุอมตธรรม ชนเหล่าใดเจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าบรรลุอมตธรรม (๑) @เชิงอรรถ : @ มีปัญญาไพบูลย์และมีปัญญาลุ่มลึก ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาที่ให้ได้รับประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๕) @ มีปัญญาสามารถยิ่ง ในที่นี้หมายถึงได้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา @ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๕) @ มีปัญญากว้างขวาง ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาที่หนักหน่วงดุจแผ่นดินสามารถข่มกิเลสทั้งปวงมีราคะเป็นต้น @ได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๖) @ มีปัญญาเฉียบแหลม ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาที่ละ บรรเทา ดับกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก @และบาปอกุศลธรรม ทำให้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ กรรมที่นำสัตว์ไปสู่ภพ และหมายถึงปัญญาที่รู้ @แจ้งอริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒๐. อมตวรรค

[๖๐๑] ชนเหล่าใดไม่ได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้บรรลุอมต- ธรรม ชนเหล่าใดได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้บรรลุอมตธรรม (๒) [๖๐๒] ชนเหล่าใดมีกายคตาสติเสื่อม ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีอมตธรรมเสื่อม ชนเหล่าใดมีกายคตาสติไม่เสื่อม ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีอมตธรรมไม่เสื่อม (๓) [๖๐๓] ชนเหล่าใดเบื่อกายคตาสติ๑- ชนเหล่านั้นชื่อว่าเบื่ออมตธรรม ชนเหล่าใดชอบใจกายคตาสติ๒- ชนเหล่านั้นชื่อว่าชอบใจอมตธรรม (๔) [๖๐๔] ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าประมาทอมตธรรม ชนเหล่าใดไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตธรรม (๕) [๖๐๕] ชนเหล่าใดหลงลืมกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าหลงลืมอมตธรรม ชนเหล่าใดไม่หลงลืมกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่หลงลืมอมตธรรม (๖) [๖๐๖] ชนเหล่าใดไม่ได้เสพกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้เสพอมตธรรม ชนเหล่าใดได้เสพกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้เสพอมตธรรม (๗) [๖๐๗] ชนเหล่าใดไม่ได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้เจริญอมต- ธรรม ชนเหล่าใดได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้เจริญอมตธรรม (๘) [๖๐๘] ชนเหล่าใดไม่ได้ทำกายคตาสติให้มาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้ทำ อมตธรรมให้มาก ชนเหล่าใดได้ทำกายคตาสติให้มาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ทำ อมตธรรมให้มาก (๙) [๖๐๙] ชนเหล่าใดไม่ได้รู้ยิ่งกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้รู้ยิ่งอมตธรรม ชนเหล่าใดได้รู้ยิ่งกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้รู้ยิ่งอมตธรรม (๑๐) @เชิงอรรถ : @ เบื่อกายคตาสติ หมายถึงไม่ให้กายคตาสติสำเร็จ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๖๐๐-๖๑๑/๔๘๐) @ ชอบใจกายคตาสติ หมายถึงบำเพ็ญกายคตาสติให้บริบูรณ์ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๖๐๐-๖๑๑/๔๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒๐. อมตวรรค

[๖๑๐] ชนเหล่าใดไม่ได้กำหนดรู้กายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้กำหนดรู้ อมตธรรม ชนเหล่าใดได้กำหนดรู้กายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้กำหนดรู้ อมตธรรม (๑๑) [๖๑๑] ชนเหล่าใดไม่ได้ทำกายคตาสติให้แจ้ง ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้ทำ อมตธรรมให้แจ้ง ชนเหล่าใดได้ทำกายคตาสติให้แจ้ง ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ทำ อมตธรรมให้แจ้ง (๑๒) (เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค)
อมตวรรคที่ ๒๐ จบ
เอกกนิบาต จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. กัมมกรณวรรค ๑. วัชชสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต
__________________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. กัมมกรณวรรค
หมวดว่าด้วยวิธีการลงโทษ
๑. วัชชสูตร
ว่าด้วยโทษ
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๒ ประการนี้ โทษ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. โทษที่ให้ผลในภพนี้ ๒. โทษที่ให้ผลในภพหน้า โทษที่ให้ผลในภพนี้ เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. กัมมกรณวรรค ๑. วัชชสูตร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นพระราชารับสั่งให้จับโจรผู้มักประพฤติชั่วแล้วให้ ลงโทษทัณฑ์นานาชนิด คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยไม้ตะบอง บ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งหู และจมูกบ้าง ทำให้เป็นภาชนะสำหรับรองหม้อน้ำข้าวบ้าง ทำให้เกลี้ยงเกลาเหมือน สังข์บ้าง ทำให้มีปากเหมือนปากราหูบ้าง ทำให้มีพวงมาลัยไฟบ้าง ทำให้มือมีไฟลุก โชติช่วงบ้าง ทำให้เป็นเกลียวหนังเนื้อทรายบ้าง ทำให้นุ่งหนังตนเองเหมือนนุ่งผ้าขี้ริ้ว บ้าง ทำให้ยืนกวางบ้าง ทำให้เหมือนเนื้อติดเบ็ดบ้าง ทำให้เป็นชิ้นเท่ากหาปณะบ้าง ทำให้เป็นที่รับน้ำด่างบ้าง ทำให้หมุนเหมือนกลอนเหล็กบ้าง ทำให้เป็นตั่งที่ทำด้วย ฟางบ้าง ราดด้วยน้ำมันร้อนบ้าง ให้สุนัขกัดกินบ้าง ให้นอนหงายบนหลาวทั้งที่ยัง มีชีวิตอยู่บ้าง ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง เขามีความคิดอย่างนี้ว่า “เพราะกรรมชั่วเช่นใดเป็นเหตุ พระราชารับสั่งให้จับ โจรผู้มักประพฤติชั่ว แล้วให้ลงโทษทัณฑ์นานาชนิด คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัด ศีรษะด้วยดาบบ้าง ก็ถ้าเราเองพึงทำกรรมชั่วเช่นนั้น พระราชาพึงรับสั่งให้จับเรา แล้วให้ลงโทษทัณฑ์นานาชนิดอย่างนี้ คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วย ดาบบ้าง” เขากลัวโทษที่ให้ผลในภพนี้ ไม่เที่ยวแย่งชิงสิ่งของของคนอื่นๆ นี้เรียกว่า โทษที่ให้ผลในภพนี้ โทษที่ให้ผลในภพหน้า เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตเป็นผลที่ เลวทราม เป็นทุกข์ ซึ่งบุคคลจะต้องได้รับในภพหน้าแน่นอน ผลของวจีทุจริตเป็นผล ที่เลวทราม เป็นทุกข์ ซึ่งบุคคลจะต้องได้รับในภพหน้าแน่นอน ผลของมโนทุจริตเป็น ผลที่เลวทราม เป็นทุกข์ ซึ่งบุคคลจะต้องได้รับในภพหน้าแน่นอน ก็ถ้าเราพึง ประพฤติชั่วทางกาย ประพฤติชั่วทางวาจา ประพฤติชั่วทางใจ ความชั่วบางอย่างนั้น พึงเป็นเหตุให้เราหลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก” เขากลัวโทษ ที่ให้ผลในภพหน้า จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า โทษที่ให้ผลใน ภพหน้า ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๒ ประการนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. กัมมกรณวรรค ๒. ปธานสูตร

เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักกลัวโทษที่ให้ผล ในภพนี้ จักกลัวโทษที่ให้ผลในภพหน้า จักเป็นคนขลาดต่อโทษ มีปกติเห็นโทษโดย ความเป็นของน่ากลัว” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล บุคคลผู้ขลาดต่อโทษ มีปกติเห็นโทษโดยความเป็นของน่ากลัว พึงหวังเหตุแห่งความหลุดพ้นจากโทษ๑- ทั้งมวลได้
วัชชสูตรที่ ๑ จบ
๒. ปธานสูตร
ว่าด้วยความเพียรที่เกิดได้ยาก
[๒] ภิกษุทั้งหลาย ความเพียรที่เกิดได้ยากในโลก ๒ ประการนี้ ความเพียร ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเพียรของพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนเพื่อทำให้เกิดเครื่อง นุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ๒. ความเพียรของผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อสละทิ้ง อุปธิ๒- ทั้งปวง ความเพียรที่เกิดได้ยากในโลก ๒ ประการนี้แล บรรดาความเพียร ๒ ประการนี้ ความเพียรเพื่อสละทิ้งอุปธิทั้งปวงเป็นธรรม ยอดเยี่ยม เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเริ่มตั้ง ความเพียรเพื่อสละทิ้งอุปธิทั้งปวง ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ปธานสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ เหตุแห่งความหลุดพ้นจากโทษ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๔ ผล ๔ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑/๔) @ อุปธิ หมายถึงเบญจขันธ์ กิเลส และอภิสังขาร (องฺ.ทุก.อ. ๒/๒/๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. กัมมกรณวรรค ๔. อตปนียสูตร

๓. ตปนียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน
[๓] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการนี้ ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ๑. ทำแต่กายทุจริต ๒. ไม่ได้ทำกายสุจริต ๑. ทำแต่วจีทุจริต ๒. ไม่ได้ทำวจีสุจริต ๑. ทำแต่มโนทุจริต ๒. ไม่ได้ทำมโนสุจริต เขาเดือดร้อนอยู่ว่า “เราทำแต่กายทุจริต ไม่ได้ทำกายสุจริต ทำแต่วจีทุจริต ไม่ได้ทำวจีสุจริต ทำแต่มโนทุจริต ไม่ได้ทำมโนสุจริต” ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการนี้แล
ตปนียสูตรที่ ๓ จบ
๔. อตปนียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน
[๔] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการนี้ ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ๑. ทำแต่กายสุจริต ๒. ไม่ได้ทำกายทุจริต ๑. ทำแต่วจีสุจริต ๒. ไม่ได้ทำวจีทุจริต ๑. ทำแต่มโนสุจริต ๒. ไม่ได้ทำมโนทุจริต เขาย่อมไม่เดือดร้อนอยู่ว่า “เราทำแต่กายสุจริต ไม่ได้ทำกายทุจริต ทำแต่วจีสุจริต ไม่ได้ทำวจีทุจริต ทำแต่มโนสุจริต ไม่ได้ทำมโนทุจริต” ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการนี้แล
อตปนียสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๖๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. กัมมกรณวรรค ๕. อุปัญญาตสูตร

๕. อุปัญญาตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ทรงรู้สัพพัญญุตญาณ
[๕] ภิกษุทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรม ๒ ประการ ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความไม่สันโดษเพียงแค่กุศลธรรมทั้งหลาย ๒. ความไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร ภิกษุทั้งหลาย เราเริ่มตั้งความเพียรไม่ย่อหย่อนว่า “จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึง บรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียร” สัมโพธิญาณนั้นเราบรรลุได้ด้วยความไม่ประมาท ธรรม เป็นแดนเกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม๑- เราก็บรรลุได้ด้วยความไม่ประมาท แม้ถ้าเธอ ทั้งหลายพึงตั้งความเพียรไม่ย่อหย่อนว่า “จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วย เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่ หยุดความเพียร” ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๒- อันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอัน ยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้ เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเริ่มตั้งความ เพียรไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดใน สรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความ เพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียร” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
อุปัญญาตสูตรที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม หมายถึงอรหัตตผลหรือนิพพาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๕/๗) @ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลหรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๖๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. กัมมกรณวรรค ๗. กัณหสูตร

๖. สัญโญชนสูตร
ว่าด้วยกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์
[๖] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้ ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การเห็นธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์โดยความพอใจ ๒. การเห็นธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์โดยความเบื่อหน่าย บุคคลผู้เห็นธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์โดยความพอใจอยู่ย่อมละราคะ โทสะ และโมหะไม่ได้ เรากล่าวว่า “บุคคลยังละราคะ โทสะ และโมหะไม่ได้ ย่อมไม่พ้นจาก ชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่) มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) อุปายาส(ความคับ แค้นใจ) และย่อมไม่พ้นจากทุกข์”๑- บุคคลผู้เห็นธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์โดยความเบื่อหน่ายอยู่ย่อมละราคะ โทสะ และโมหะได้ เรากล่าวว่า “บุคคลละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว ย่อมพ้นจาก ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์” ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แล
สัญโญชนสูตรที่ ๖ จบ
๗. กัณหสูตร
ว่าด้วยธรรมฝ่ายดำ
[๗] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ ๒ ประการนี้ ธรรมฝ่ายดำ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อหิริกะ (ความไม่อายบาป) ๒. อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวบาป) ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ ๒ ประการนี้แล
กัณหสูตรที่ ๗ จบ
@เชิงอรรถ : @ หมายถึงทุกข์ในวัฏฏทุกข์ทั้งสิ้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๖/๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๖๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. กัมมกรณวรรค ๙. จริยสูตร

๘. สุกกสูตร
ว่าด้วยธรรมฝ่ายขาว
[๘] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการนี้ ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป) ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการนี้แล
สุกกสูตรที่ ๘ จบ
๙. จริยสูตร
ว่าด้วยจริยธรรมคุ้มครองโลก
[๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการย่อมคุ้มครองโลก๑- ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการนี้แล หากไม่คุ้มครองโลก ชาวโลกไม่พึงบัญญัติว่า “มารดา น้า ป้า ภรรยาของอาจารย์ หรือภรรยาของครู” โลกจักถึงความสำส่อน กันเหมือนพวกแพะ แกะ ไก่ หมู สุนัขบ้าน และสุนัขจิ้งจอกฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะเหตุที่ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการนี้คุ้มครองโลก ฉะนั้น ชาวโลกจึงบัญญัติคำว่า “มารดา น้า ป้า ภรรยาของอาจารย์ หรือภรรยาของครู”
จริยสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ โลก ในที่นี้หมายถึงสัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์ (องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๙/๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๖๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

๑๐. วัสสูปนายิกสูตร
ว่าด้วยการเข้าพรรษา
[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย การเข้าพรรษา ๒ อย่างนี้ การเข้าพรรษา ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. การเข้าพรรษาต้น ๒. การเข้าพรรษาหลัง ภิกษุทั้งหลาย การเข้าพรรษา ๒ อย่างนี้แล
วัสสูปนายิกสูตรที่ ๑๐ จบ
กัมมกรณวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วัชชสูตร ๒. ปธานสูตร ๓. ตปนียสูตร ๔. อตปนียสูตร ๕. อุปัญญาตสูตร ๖. สัญโญชนสูตร ๗. กัณหสูตร ๘. สุกกสูตร ๙. จริยสูตร ๑๐. วัสสูปนายิกสูตร
๒. อธิกรณวรรค
หมวดว่าด้วยอธิกรณ์
[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พละ๑- ๒ ประการนี้ พละ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ปฏิสังขานพละ (กำลังคือการพิจารณา) ๒. ภาวนาพละ (กำลังคือการเจริญ) @เชิงอรรถ : @ พละ ในที่นี้หมายถึงกำลัง เพราะอรรถว่าอันธรรมอื่นให้หวั่นไหวไม่ได้ กล่าวคืออันธรรมอื่นจะครอบงำ @และย่ำยีได้โดยยาก (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๑/๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๖๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตเป็นผลที่เลว ทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า ผลของวจีทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพ หน้า ผลของมโนทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า” บุคคลนั้นครั้นเห็น ประจักษ์ดังนี้แล้วย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ เป็นอย่างไร คือ ในพละ ๒ ประการนั้น ภาวนาพละเป็นของพระเสขะ บุคคลนั้นอาศัยพละ ของพระเสขะย่อมละราคะ โทสะ และโมหะได้ ครั้นละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล ไม่ประพฤติกรรมที่เป็นบาป นี้เรียกว่า ภาวนาพละ ภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ ประการนี้แล (๑) [๑๒] พละ ๒ ประการนี้ พละ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ปฏิสังขานพละ ๒. ภาวนาพละ ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตเป็นผลที่เลว ทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า ผลของวจีทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพ หน้า ผลของมโนทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า” บุคคลนั้นครั้นเห็น ประจักษ์ดังนี้แล้วย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บำเพ็ญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ บำเพ็ญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... บำเพ็ญวีริยสัมโพชฌงค์ ... บำเพ็ญปีติสัมโพชฌงค์ ... บำเพ็ญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... บำเพ็ญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... บำเพ็ญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน การสละ นี้เรียกว่า ภาวนาพละ ภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ ประการนี้แล (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๖๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

[๑๓] พละ ๒ ประการนี้ พละ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ปฏิสังขานพละ ๒. ภาวนาพละ ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตเป็นผลที่เลว ทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า ผลของวจีทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า ผลของมโนทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า” บุคคลนั้นครั้นเห็น ประจักษ์ดังนี้แล้ว ย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก๑- อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ อนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมี อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ ทั้งหลายสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า ภาวนาพละ ภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ ประการนี้แล (๓)
พระธรรมเทศนาของพระตถาคต ๒ แบบ
[๑๔] ธรรมเทศนาของตถาคต๒- ๒ แบบนี้ ธรรมเทศนาของตถาคต ๒ แบบ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ วิเวก ในที่นี้หมายถึงวิเวก ๕ อย่าง คือ (๑) ตทังควิเวก (๒) วิกขัมภนวิเวก (๓) สมุจเฉทวิเวก @(๔) ปัสสัทธิวิเวก (๕) นิสสรณวิเวก (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒/๑๐) @ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสหมายถึงพระองค์เองแทนคำว่า “เรา” (อุตตมบุรุษ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๖๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

๑. ธรรมเทศนาแบบย่อ๑- ๒. ธรรมเทศนาแบบพิสดาร๒- ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของตถาคต ๒ แบบนี้แล (๔)
เหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อและไม่ยืดเยื้อ
[๑๕] ในอธิกรณ์ใด๓- ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์ยังมิได้พิจารณา ตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้ดังนี้ว่า “จักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความ รุนแรง๔- เพื่อความร้ายแรง๕- และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก” ส่วนในอธิกรณ์ใด ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้ ดังนี้ว่า “จักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายแรง และ ภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก” ภิกษุผู้ต้องอาบัติพิจารณาตนเองให้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุผู้ต้องอาบัติในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “เราแลต้องอาบัติที่ เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงได้เห็นว่าเราต้องอาบัติที่เป็น อกุศลทางกายบางอย่าง ถ้าเราไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ภิกษุ @เชิงอรรถ : @ ธรรมเทศนาแบบย่อ หมายถึงการยกหัวข้อขึ้นตั้งแล้วกล่าว ใช้สำหรับบุคคลผู้มีปัญญามาก ผู้เป็น @อุคฆฏิตัญญู ผู้ที่พอยกหัวข้อก็รู้ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๔/๑๒) @ ธรรมเทศนาแบบพิสดาร หมายถึงการยกหัวข้อขึ้นตั้งหรือไม่ยกหัวข้อขึ้นตั้งแล้วกล่าวชี้แจงโดยพิสดาร @ใช้สำหรับบุคคลผู้มีปัญญาน้อย ๓ จำพวก คือ (๑) วิปจิตัญญู ผู้รู้ต่อเมื่อขยายความ (๒) เนยยะ ผู้ที่พอ @แนะนำได้ (๓) ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง ผู้อับปัญญาสอนให้รู้ได้แค่เพียงตัวบทคือพยัญชนะหรือถ้อย @คำ ไม่อาจเข้าใจอรรถคือความหมาย (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๔/๑๒) @ อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยว @กับพระธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การ @ต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวเองให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์ @จะต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๒) @ เพื่อความรุนแรง ในที่นี้หมายถึงเป็นไปเพื่อความมีวาจาหยาบคาย เช่น ด่ากันด้วยคำหยาบว่า ท่าน @เป็นทาส เป็นคนชั่ว เป็นจัณฑาลและเป็นช่างสาน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๓) @ เพื่อความร้ายแรง ในที่นี้หมายถึงเป็นไปเพื่อการทำร้ายกันด้วยก้อนหิน ก้อนดิน และท่อนไม้เป็นต้น @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๖๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

นั้นก็ไม่พึงเห็นว่าเราต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ก็เพราะเราต้องอาบัติ ที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงได้เห็นว่าเราต้องอาบัติที่เป็นอกุศล ทางกายบางอย่าง ครั้นเห็นแล้วจึงไม่พอใจ ภิกษุนั้นเมื่อไม่พอใจ จึงว่ากล่าวเราผู้มี วาจาไม่น่าพอใจ เราผู้มีวาจาไม่น่าพอใจถูกภิกษุนั้นว่ากล่าว จึงไม่พอใจ เมื่อไม่พอใจ จึงบอกแก่ผู้อื่นว่า “ด้วยเหตุนี้ โทษในอธิกรณ์นั้นจึงครอบงำแต่เฉพาะเราเท่านั้น เหมือนในเรื่องสินค้า โทษย่อมครอบงำเฉพาะบุคคลผู้จำต้องเสียภาษี” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ต้องอาบัติพิจารณาตนเองให้ดีเป็นอย่างนี้แล ภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุผู้เป็นโจทก์ในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ภิกษุนี้แลต้องอาบัติ ที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง เพราะเหตุนั้น เราจึงได้เห็นว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติที่เป็น อกุศลทางกายบางอย่าง ถ้าภิกษุนี้ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง เราก็ไม่พึงเห็นว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ก็เพราะภิกษุนี้ต้อง อาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ฉะนั้น เราจึงได้เห็นว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติที่เป็น อกุศลทางกายบางอย่าง ครั้นเห็นแล้วจึงไม่พอใจ เราเมื่อไม่พอใจ ได้ว่ากล่าวภิกษุนี้ ผู้มีวาจาไม่น่าพอใจ ภิกษุนี้ผู้มีวาจาไม่น่าพอใจนี้ถูกเราว่ากล่าว จึงไม่พอใจ เมื่อไม่ พอใจจึงบอกแก่ผู้อื่นว่า “ด้วยเหตุนี้ โทษในอธิกรณ์นั้นจึงครอบงำแต่เฉพาะเรา เท่านั้นเหมือนในเรื่องสินค้า โทษย่อมครอบงำเฉพาะบุคคลผู้จำต้องเสียภาษี” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดีเป็นอย่างนี้แล ในอธิกรณ์ใด ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์ยังไม่พิจารณาตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้ดังนี้ว่า “จักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก” ส่วนในอธิกรณ์ใด ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้ดังนี้ว่า “จักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก” (๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๖๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

เหตุให้เกิดในทุคติและสุคติ
[๑๖] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑- ได้ทูล ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่สม่ำ เสมอ คือประพฤติไม่ชอบธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก” พราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติสม่ำ เสมอ คือประพฤติชอบธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน สุคติโลกสวรรค์” พราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่ง นัก ท่านพระโคดมประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคล หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด๒- โดย ตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระ ธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” (๖) [๑๗] ครั้งนั้น พราหมณ์ชานุสโสณิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูล @เชิงอรรถ : @ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสม คือ เว้นโทษ ๖ ประการ ได้แก่ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้ @เกินไป (๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕) @ ในที่มืด ในที่นี้หมายถึงความมืดมีองค์ ๔ อย่าง คือ (๑) ความมืดในวันแรม ๑๔ ค่ำ (๒) ความมืดใน @เวลาเที่ยงคืน (๓) ความมืดในป่าทึบ (๔) ความมืดในเวลาเมฆปกคลุม (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๖๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตาย แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะทำและเพราะไม่ทำ” พราหมณ์ชานุสโสณิทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตาย แล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เพราะทำและไม่ทำอย่างนี้” พราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ย่อมไม่รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่ ท่านพระโคดมตรัสไว้โดยย่อโดยพิสดารได้ ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดม โปรดแสดงธรรมโดยวิธีที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่ท่านพระโคดม ตรัสไว้โดยย่อได้โดยพิสดารเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” พราหมณ์ชานุสโสณิทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส เรื่องนี้ว่า “พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำแต่กายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต ทำแต่ วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต ทำแต่มโนทุจริต ไม่ทำมโนสุจริต สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะทำและเพราะไม่ทำ อย่างนี้แล ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำแต่กายสุจริต ไม่ทำกายทุจริต ทำแต่วจีสุจริต ไม่ทำวจีทุจริต ทำแต่มโนสุจริต ไม่ทำมโนทุจริต สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตาย แล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เพราะทำและเพราะไม่ทำอย่างนี้แล” พราหมณ์ชานุสโสณิกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระ โคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” (๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

โทษแห่งทุจริต ๕ อย่าง
[๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “อานนท์ กายทุจริต วจีทุจริตและมโนทุจริต เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว” ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะได้รับโทษอะไร” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตที่เรา กล่าวว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะได้รับโทษดังต่อไปนี้ คือ (๑) แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้ (๒) ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียนได้ (๓) กิตติศัพท์อันชั่ว ย่อมกระฉ่อนไป (๔) หลงลืมสติตาย (๕) หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตที่เรากล่าวว่าไม่ควร ทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะได้รับโทษนี้”
อานิสงส์แห่งสุจริต ๕ อย่าง
อานนท์ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรทำโดย ส่วนเดียว ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริตที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าควรทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะ ได้รับอานิสงส์อะไร” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ที่เรากล่าวว่าควรทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะได้รับอานิสงส์ดังต่อไปนี้ คือ (๑) แม้ ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้ (๒) ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ (๓) กิตติศัพท์อันงาม ย่อมขจรไป (๔) ไม่หลงลืมสติตาย (๕) หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริตที่เรากล่าวว่าควรทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะได้รับอานิสงส์นี้” (๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

การละอกุศลและการบำเพ็ญกุศล
[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละอกุศล บุคคลสามารถละอกุศลได้ ถ้าบุคคลไม่สามารถละอกุศลนี้ได้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละอกุศล” ก็เพราะบุคคลสามารถละอกุศลได้ ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละ อกุศล” ถ้าอกุศลนี้ที่บุคคลละได้แล้วพึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เราไม่พึง กล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละอกุศล” ก็เพราะอกุศลที่บุคคลละได้แล้วย่อมเป็น ไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละอกุศล” เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล บุคคลสามารถบำเพ็ญกุศลได้ ถ้าบุคคลไม่สามารถ บำเพ็ญกุศลนี้ได้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล” ก็เพราะ บุคคลสามารถบำเพ็ญกุศลได้ ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล” ถ้ากุศลนี้ที่บุคคลบำเพ็ญแล้วพึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เราไม่พึงกล่าวอย่าง นี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล” ก็เพราะกุศลที่บุคคลบำเพ็ญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ เกื้อกูล เพื่อสุข ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล” (๙)
ธรรมที่ทำให้ศาสนาเสื่อมและเจริญ
[๒๐] ธรรม ๒ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี๑- ๒. อรรถที่สืบทอดขยายความไม่ดี๒- แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดีก็ชื่อว่าเป็นการสืบทอดขยายความไม่ดี ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไป แห่งสัทธรรม (๑๐) @เชิงอรรถ : @ หมายถึงบทบาลีที่สืบทอดกันผิดระเบียบ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๒๐/๒๘) @ หมายถึงอรรถกถาที่สวดสืบทอดกันมาผิดระเบียบ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๒๐/๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. พาลวรรค

[๒๑] ธรรม ๒ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาดี ๒. อรรถที่สืบทอดขยายความดี แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดีก็ชื่อว่าเป็นการสืบทอดขยายความดี ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่ เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๑๑)
อธิกรณวรรคที่ ๒ จบ
๓. พาลวรรค
หมวดว่าด้วยคนพาล
[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๒. คนที่ไม่ยอมรับตามความเป็นจริงเมื่อบุคคลอื่นแสดงโทษ คนพาล ๒ จำพวกนี้แล บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๒. คนที่ยอมรับตามความเป็นจริงเมื่อบุคคลอื่นแสดงโทษ บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๑) [๒๓] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. พาลวรรค

๑. คนเจ้าโทสะที่มีความโหดร้ายอยู่ภายใน ๒. คนที่เชื่อโดยยึดถือผิด คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมกล่าวตู่ตถาคต (๒) [๒๔] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคต ได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้” ๒. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคต ไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้” คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมกล่าวตู่ตถาคต คน ๒ จำพวกนี้ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคต ไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้” ๒. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตได้ ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้” คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต (๓) [๒๕] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่แสดงสุตตันตะที่ควรขยายความว่า “สุตตันตะมีการขยาย ความแล้ว” ๒. คนที่แสดงสุตตันตะที่มีการขยายความแล้วว่า “สุตตันตะที่ควร ขยายความ” คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมกล่าวตู่ตถาคต (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. พาลวรรค

[๒๖] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่แสดงสุตตันตะที่ควรขยายความว่า “สุตตันตะควรขยายความ” ๒. คนที่แสดงสุตตันตะที่มีการขยายความแล้วว่า “สุตตันตะที่มี การขยายความแล้ว” คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต (๕)
คติและฐานะ ๒ อย่างเป็นต้น
[๒๗] ผู้มีการงานปกปิดไว้๑- พึงหวังได้๒- คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ผู้มีการงานไม่ปกปิดไว้พึงหวังได้คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ เทวดาหรือมนุษย์ (๖) [๒๘] ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิพึงหวังได้คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน (๗) [๒๙] ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิพึงหวังได้คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ เทวดาหรือ มนุษย์ (๘) [๓๐] สถานที่รองรับคนทุศีล ๒ แห่ง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน สถานที่รองรับคนมีศีล ๒ แห่ง คือ เทวดาหรือมนุษย์ (๙) [๓๑] เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์๓- ๒ ประการจึงอาศัยเสนาสนะอัน เงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ๔- @เชิงอรรถ : @ การงานที่ปกปิดไว้ หมายถึงบาปกรรม แท้จริง ขึ้นชื่อว่าบาป บุคคลจะทำอย่างปกปิดหรือไม่ปกปิด @ก็ตาม ก็ชื่อว่าบาปกรรมที่ปกปิดไว้ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๒๗/๒๙) @ พึงหวังได้ ในที่นี้หมายถึงจำต้องปรารถนา จำต้องมีแน่นอน หรือจำต้องบังเกิดในคตินั้นๆ แน่นอน @(องฺ.ติก.อ. ๒/๗๐/๒๑๔) @ อำนาจประโยชน์ หมายถึงเหตุทั้งหลาย (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐) @ ป่าโปร่ง (อรญฺญ) หมายถึงป่าอยู่นอกเสาหลักเมืองออกไปอย่างน้อยชั่ว ๕๐๐ ลูกธนู ป่าทึบ (วนปตฺถ) @หมายถึงสถานที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยเลยเขตหมู่บ้านไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. พาลวรรค

อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เห็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน๑- ๒. อนุเคราะห์คนรุ่นหลัง เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แลจึงอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ (๑๐) [๓๒] ธรรม ๒ ประการนี้เป็นฝ่ายวิชชา ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) ๒. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง) สมถะที่ภิกษุเจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร คือ ย่อมให้จิตเจริญ จิต๒- ที่เจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร คือ ย่อมละราคะได้ วิปัสสนาที่ภิกษุเจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร คือ ย่อมให้ปัญญาเจริญ ปัญญาที่เจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร คือ ย่อมละอวิชชาได้ จิตที่เศร้าหมองเพราะราคะย่อมไม่หลุดพ้น ปัญญา๓- ที่เศร้าหมองเพราะอวิชชา ย่อมไม่เจริญ เพราะสำรอกราคะจึงมีเจโตวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา จึงมีปัญญาวิมุตติ (๑๑)
พาลวรรคที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ เห็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน หมายถึงการอยู่ผาสุกอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐) @ จิต ในที่นี้หมายถึงมรรคจิต คือจิตในขณะแห่งมรรค (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๒/๓๐) @ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงมรรคปัญญา คือปัญญาในขณะแห่งมรรค (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๒/๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

๔. สมจิตตวรรค
หมวดว่าด้วยเทวดาพร้อมใจกัน
[๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและภูมิ สัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภูมิอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ อสัตบุรุษเป็นคนอกตัญญู๑- เป็นคนอกตเวที๒- ความเป็นคนอกตัญญู ความเป็นคนอกตเวที อสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ความเป็นคนอกตัญญู และ ความเป็นคนอกตเวที ทั้งหมดนี้เป็นภูมิอสัตบุรุษ ภูมิสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ สัตบุรุษเป็นคนกตัญญู เป็นคนกตเวที ความเป็นคนกตัญญู ความเป็นคน กตเวที สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ความเป็นคนกตัญญู และความเป็นคนกตเวที ทั้งหมดนี้เป็นภูมิสัตบุรุษ (๑)
การตอบแทนที่ทำได้ยาก
[๓๔] การทำตอบแทนแก่ท่านทั้งสองเราไม่กล่าวว่าเป็นการทำได้โดยง่าย ท่านทั้งสองคือใคร คือ มารดาและบิดา ถึงบุตรจะมีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี ประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง ประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง ปฏิบัติ ท่านทั้งสองนั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการบีบนวด๓- และแม้ ท่านทั้งสองนั้นจะถ่ายอุจจาระและปัสสาวะลงบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแล การ กระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรได้ทำ หรือทำตอบแทนแก่มารดาและบิดาเลย ถึง บุตรจะสถาปนามารดาและบิดาไว้ในราชสมบัติซึ่งเป็นเจ้าเหนือหัวแห่งแผ่นดินใหญ่ที่มี @เชิงอรรถ : @ อกตัญญู หมายถึงผู้ไม่รู้อุปการะที่บุคคลอื่นกระทำแก่ตน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๓/๓๑) @ อกตเวที หมายถึงผู้ไม่รู้จักทำอุปการะที่บุคคลอื่นกระทำแก่ตนให้ปรากฏ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๓/๓๑) @ การบีบนวด หมายถึงการดึงไปและดึงมาซึ่งมือและเท้าเป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๔/๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

รัตนะ ๗ ประการมากมายนี้ การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรได้ทำ หรือทำ ตอบแทนแก่มารดาและบิดาเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาและบิดามีอุปการะ มาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดให้มารดาและบิดาผู้ไม่มีศรัทธา สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ใน สัทธาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ให้มารดาและบิดาผู้ทุศีล สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในสีลสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศีล) ให้มารดาและบิดาผู้ตระหนี่ สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในจาคสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ) ให้มารดาและบิดาผู้ ไม่มีปัญญา สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยปัญญา) ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นชื่อว่าอันบุตรได้ทำและทำตอบแทน แก่มารดาและบิดา (๒)
วาทะ ๒ อย่าง
[๓๕] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูล ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมมีวาทะ๑- อย่างไร กล่าวถึงอะไร” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เรามีวาทะว่าควรทำ และมีวาทะว่าไม่ควรทำ” พราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านพระโคดมมีวาทะว่าควรทำและมีวาทะว่าไม่ควรทำ อย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เรากล่าวว่า ไม่ควรทำกายทุจริต วจีทุจริต และ มโนทุจริต ไม่ควรทำบาปอกุศลธรรมหลายอย่าง แต่ควรทำกายสุจริต วจีสุจริต และ มโนสุจริต ควรทำกุศลธรรมหลายอย่าง พราหมณ์ เรามีวาทะว่าควรทำและมีวาทะ ว่าไม่ควรทำอย่างนี้แล” @เชิงอรรถ : @ วาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ ความเชื่อ เช่น คำว่า นัตถิกวาทะ ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์ @บริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง (เทียบ ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

พราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” (๓)
ทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก
[๓๖] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ทักขิไณยบุคคล(คนที่ควรแก่ของทำบุญ)ในโลกมีกี่จำพวก และควรให้ทาน ในเขตไหน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ในโลกมีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก คือ ๑. พระเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) ๒. พระอเสขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษา) ในโลกมีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวกนี้แล และพึงให้ทานในเขตนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ พระสุคตศาสดาครั้นตรัสพระดำรัสนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า ในโลกนี้ พระเสขะและพระอเสขะ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาของทายกผู้บูชาอยู่ พระเสขะและพระอเสขะเหล่านั้นเป็นคนตรง ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ นี้เป็นเขต๑- ของทายกผู้บูชาอยู่ ทานที่ให้ในเขตนี้มีผลมาก (๔) @เชิงอรรถ : @ เขต หมายถึงที่ตั้ง ที่พึ่ง ที่งอกงามแห่งบุญ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๖/๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

บุคคลผู้มีสังโยชน์ ๒ จำพวก
[๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่ปราสาทของวิสาขามิคาร- มาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุ ทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นตอบรับแล้ว ท่านพระสารีบุตร จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลที่มีสังโยชน์ภายใน๑- และบุคคลที่มี สังโยชน์ภายนอก๒- ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นตอบรับแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ภายใน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้ เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นหลังจากมรณภาพแล้วจะ ไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง๓- เธอจุติจากอัตภาพนั้น เป็นอาคามี กลับมาสู่ความ เป็นมนุษย์นี้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายใน เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ บุคคลผู้มีสังโยชน์ภายนอก เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา @เชิงอรรถ : @ สังโยชน์ภายใน ในที่นี้หมายถึงฉันทราคะในกามภพที่เป็นไปภายใน หรือหมายถึงโอรัมภาคิยสังโยชน์ @(สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๗/๔๐) @ สังโยชน์ภายนอก ในที่นี้หมายถึงฉันทราคะในรูปภพและอรูปภพที่อยู่ภายนอก หรือหมายถึง @อุทธัมภาคิยสังโยชน์(สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๗/๔๐) @ หมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง หมายถึงหมู่เทพชั้นกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๗/๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นบรรลุเจโตวิมุตติที่สงบอย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้น หลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง๑- เธอจุติจากอัตภาพนั้นเป็น อนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็น มนุษย์นี้ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบ พร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ ดับกามทั้งหลาย ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับภพ ทั้งหลาย เธอปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เธอปฏิบัติเพื่อสิ้นความโลภ หลังจากมรณภาพ แล้วจะไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง เธอจุติจากอัตภาพนั้นเป็นอนาคามีไม่กลับมา สู่ความเป็นมนุษย์นี้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายนอกเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็น มนุษย์นี้ ครั้งนั้น เทวดาจำนวนมากพร้อมใจกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ได้ยืน ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ณ ปราสาทของวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม ท่านพระสารีบุตร นั้นกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ภายในและบุคคลที่มีสังโยชน์ภายนอกให้ภิกษุ ทั้งหลายฟัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทต่างร่าเริง ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มี พระภาคทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่เถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ต่อจากนั้น ได้ทรงหายจาก พระเชตวันไปปรากฏต่อหน้าท่านพระสารีบุตรที่ปราสาทของวิสาขามิคารมาตาใน บุพพาราม เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น พระผู้มี พระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ฝ่ายท่านพระสารีบุตรก็ถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร @เชิงอรรถ : @ หมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง หมายถึงหมู่เทพชั้นสุทธาวาส ๕ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๗/๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เทวดาจำนวนมากพร้อมใจกันเข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ ปราสาทของวิสาขามิคาร- มาตา ในบุพพาราม ท่านพระสารีบุตรนั้นกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ภายนอกให้ภิกษุทั้งหลายฟัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัท ต่างร่าเริง ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่าน พระสารีบุตรถึงที่อยู่เถิด” เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ในพื้นที่มีขนาดพอที่ปลายเหล็ก แหลมจรดลงได้ จำนวน ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดเสียดกัน เธออาจมีความคิดอย่างนี้ว่า “จิตซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในพื้น ที่มีขนาดพอที่ปลายเหล็กแหลมจรดลงได้จำนวน ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดเสียดกันอย่าง นั้น เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นได้เจริญในภพนั้นแน่นอน” ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นอย่าง นั้น จิตซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในพื้นที่มีขนาดพอที่ปลายเหล็กแหลม จรดลงได้ จำนวน ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดเสียดกันอย่างนั้น เป็นจิตอัน เทวดาเหล่านั้นได้เจริญในธรรมวินัยนี้นั่นเอง เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ก็จักสงบด้วย เราจักนำกายและจิตที่สงบเท่านั้นเข้าไปในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย” สารีบุตร เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล สารีบุตร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ได้เสียโอกาสแล้ว (๕)
เหตุปัจจัยแห่งการวิวาท
[๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกัททมทหะ เขตเมืองวรณา ครั้งนั้น พราหมณ์อารามทัณฑะเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้สนทนา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่าน พระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านกัจจานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แม้กษัตริย์ ก็ขัดแย้งกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ก็ขัดแย้งกับพราหมณ์ แม้คหบดีก็ขัดแย้งกับ คหบดี” พระมหากัจจานะตอบว่า “พราหมณ์ เพราะความยึดมั่นกามราคะ ตกอยู่ใน อำนาจกามราคะ กำหนัดยินดีในกามราคะ ถูกกามราคะกลุ้มรุม และถูกกามราคะ ครอบงำเป็นเหตุ แม้กษัตริย์ก็ขัดแย้งกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ก็ขัดแย้งกับพราหมณ์ แม้คหบดีก็ขัดแย้งกับคหบดี” พราหมณ์อารามทัณฑะถามว่า “อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สมณะขัดแย้ง กับสมณะ” พระมหากัจจานะตอบว่า “เพราะความยึดมั่นทิฏฐิราคะ๑- ตกอยู่ในอำนาจทิฏฐิ ราคะ กำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ ถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และถูกทิฏฐิราคะครอบงำเป็น เหตุ แม้สมณะก็ขัดแย้งกับสมณะ” พราหมณ์อารามทัณฑะถามว่า “บุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การ ตกอยู่ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และบุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การตก อยู่ในอำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และการถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้ยังมีอยู่ในโลกหรือ” พระมหากัจจานะตอบว่า “บุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การตกอยู่ใน อำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการ ถูกกามราคะครอบงำนี้ และบุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การตกอยู่ใน อำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และ การถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้ยังมีอยู่ในโลก” @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐิราคะ ในที่นี้หมายถึงราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยทิฏฐิ ๖๒ ประการ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๘/๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

พราหมณ์อารามทัณฑะถามว่า “ก็ใครในโลกที่ล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะ กลุ้มรุม และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และที่ล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การ ตกอยู่ในอำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และการถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้” พระมหากัจจานะตอบว่า “ในชนบทด้านทิศตะวันออกมีเมืองหลวงชื่อสาวัตถี ณ กรุงสาวัตถีนั้น ขณะนี้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นกำลัง ประทับอยู่ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การตกอยู่ ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และทรงล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การตกอยู่ใน อำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และการ ถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้” เมื่อพระมหากัจจานะตอบอย่างนี้แล้ว พราหมณ์อารามทัณฑะได้ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประนมมือไปยังทิศที่พระผู้มี พระภาคประทับอยู่ อุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า “ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบ น้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมพระผู้มี พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะ กลุ้มรุม และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และทรงล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การ ตกอยู่ในอำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และการถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้ ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่าน ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านกัจจานะประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบ เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป ในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมพระองค์ นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านกัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็น อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” (๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

ภูมิคนแก่และภูมิคนหนุ่ม
[๓๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ป่าคุนทาวัน เขตเมืองมธุรา ครั้งนั้น พราหมณ์กัณฑรายนะเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้สนทนา ปราศรัย ฯลฯ พราหมณ์กัณฑรายนะผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่าน กัจจานะ ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่า สมณะกัจจานะไม่ยอมกราบ ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย หรือไม่เชื้อเชิญให้นั่ง ท่านกัจจานะ เรื่องที่ ข้าพเจ้าได้ทราบมานั้นจริงทีเดียว การที่ท่านกัจจานะทำเช่นนั้นไม่สมควรเลย” ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า “ภูมิคนแก่และภูมิคนหนุ่มที่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงรู้ทรงเห็นพระองค์นั้นตรัสไว้มีอยู่ ถึงแม้นับแต่เกิดมา บุคคลจะเป็นคนแก่มีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี แต่เขายังบริโภคกาม อยู่ใน ท่ามกลางกาม ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ถูกกามวิตกกัดกินอยู่ ยังเป็นผู้ ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม เขาย่อมถึงการนับว่าเป็นหนุ่ม ไม่ใช่ผู้ใหญ่แท้ ถึงแม้ว่า จะเป็นเด็ก๑- ยังหนุ่มมีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นคนหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย แต่เขาไม่บริโภคกาม ไม่อยู่ในท่ามกลางกาม ไม่ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ไม่ถูกกามวิตกกัดกินอยู่ ไม่ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม เขาย่อมถึงการนับว่า เป็นบัณฑิต เป็นผู้ใหญ่แท้” เมื่อท่านพระมหากัจจานะกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์กัณฑรายนะได้ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าของภิกษุหนุ่ม ๑๐๐ รูป ด้วยเศียรเกล้า กล่าวว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ใหญ่ ตั้งอยู่ในภูมิของผู้ใหญ่ แต่ข้าพเจ้าเป็น เด็ก ตั้งอยู่ในภูมิของเด็ก ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านกัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอด ชีวิต” (๗) @เชิงอรรถ : @ เป็นเด็ก ในที่นี้หมายถึงคนหนุ่ม (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๙/๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

สมัย ๒ อย่าง
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาที่พวกโจรมีกำลัง๑- พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายย่อม อ่อนกำลัง ในสมัยนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมไม่สะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป หรือออกคำสั่งไปยังชนบทชายแดน แม้พวกพราหมณ์และคหบดีก็ไม่สะดวกที่จะ ผ่านไป ออกไป หรือตรวจตราการงานภายนอก ในทำนองเดียวกัน ในเวลาที่พวกภิกษุเลวทรามมีกำลัง๒- พวกภิกษุผู้มีศีลเป็น ที่รักย่อมอ่อนกำลัง ในสมัยนั้น ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมนิ่งเงียบ นั่งในท่ามกลาง สงฆ์หรืออพยพไปอยู่ชนบทชายแดน ข้อนี้นั้นย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในเวลาที่พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายมีกำลัง พวกโจรย่อมอ่อนกำลัง ในสมัยนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมมีความสะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป หรือออกคำสั่งไป ยังชนบทชายแดน แม้พวกพราหมณ์และคหบดีก็มีความสะดวกที่จะผ่านไป ออกไป หรือตรวจตราการงานภายนอก ในทำนองเดียวกัน ในเวลาที่ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักมีกำลัง ภิกษุเลวทรามย่อม อ่อนกำลัง ในสมัยนั้น ภิกษุเลวทรามย่อมนิ่งเงียบ นั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์หรือออก ไปทางใดทางหนึ่ง ข้อนี้นั้นย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๘)
การปฏิบัติที่ทรงสรรเสริญและไม่ทรงสรรเสริญ
[๔๑] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญการปฏิบัติผิดของคน ๒ จำพวก คือ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิด เพราะการปฏิบัติผิดเป็นเหตุ ย่อมไม่ทำให้ญายกุศลธรรม๓- สำเร็จบริบูรณ์ @เชิงอรรถ : @ มีกำลัง ในที่นี้หมายถึงเพียบพร้อมด้วยฝักฝ่ายพรรคพวก เพียบพร้อมด้วยลูกน้อง บริวาร เพียบพร้อม @ด้วยทรัพย์ เพียบพร้อมด้วยที่อยู่อาศัย และเพียบพร้อมด้วยพาหนะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๐/๕๐) @ มีกำลัง ในที่นี้หมายถึงประกอบด้วยคนอุปัฏฐากทั้งหญิงทั้งชายจำนวนมาก มีความเกี่ยวข้องคุ้นเคยกับ @พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๐/๕๑) @ ญายกุศลธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลธรรมพร้อมทั้งวิปัสสนาและมรรค (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๑/๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

ภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญการปฏิบัติชอบของคน ๒ จำพวก คือ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบ เพราะการปฏิบัติชอบเป็นเหตุย่อม ทำให้ญายกุศลธรรมสำเร็จบริบูรณ์ (๙)
บุคคลผู้ทำให้ศาสนาเสื่อมและเจริญ
[๔๒] ภิกษุพวกที่คัดค้านอรรถและธรรมโดยสูตรที่ตนเรียนไว้ไม่ดีด้วยพยัญชน- ปฏิรูป๑- นั้นชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุย่อมประสพสิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และชื่อว่าทำให้สัทธรรมนี้สูญหายไป ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรมโดยสูตรที่ตนเรียนไว้ดีด้วยพยัญชนปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คน หมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพ บุญเป็นอันมาก และชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๐)
สมจิตตวรรคที่ ๔ จบ
๕. ปริสวรรค
หมวดว่าด้วยบริษัท
[๔๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทตื้น ๒. บริษัทลึก บริษัทตื้น เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวม อินทรีย์ บริษัทเช่นนี้เรียกว่า บริษัทตื้น @เชิงอรรถ : @ พยัญชนปฏิรูป หมายถึงพยัญชนะที่ได้สืบทอดมาโดยทำอักษรให้วิจิตร (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๒/๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

บริษัทลึก เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ สำรวมอินทรีย์ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทลึก ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทลึกเป็นเลิศ (๑) [๔๔] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่แตกแยกกัน ๒. บริษัทที่สามัคคีกัน บริษัทที่แตกแยกกัน เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่แตกแยกกัน บริษัทที่สามัคคีกัน เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่สามัคคีกัน ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่สามัคคีกันเป็นเลิศ (๒) [๔๕] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่ไม่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม ๒. บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม บริษัทที่ไม่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุเถระเป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน๑- เป็น ผู้นำในโวกกมนธรรม๒- ทอดธุระ๓- ในปวิเวก๔- ไม่ปรารภความเพียร๕- เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คน รุ่นหลังพากันตามอย่างพวกภิกษุเถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำ ให้แจ้ง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไม่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุเถระ ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระใน โวกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังพากัน ตามอย่างพวกภิกษุเถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโวกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยมเป็นเลิศ (๓) @เชิงอรรถ : @ ย่อหย่อน หมายถึงยึดถือปฏิบัติตามคำสั่งสอนหย่อนยาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) @ โวกกมนธรรม ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ คือ (๑) กามฉันทะ(ความพอใจในกาม) (๒) พยาบาท (ความคิดร้าย) @(๓) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) (๕) วิจิกิจฉา @(ความลังเลสงสัย) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) @ ทอดธุระ ในที่นี้หมายถึงทอดทิ้งหน้าที่ในวิเวก ๓ ประการ คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) @ ปวิเวก หมายถึงอุปธิวิเวก คือสภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และ @อภิสังขาร กล่าวคือนิพพาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) @ ไม่ปรารภความเพียร หมายถึงไม่กระทำความเพียร ๒ อย่าง คือ ความเพียรทางกาย และความเพียร @ทางจิต (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๔๕/๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

[๔๖] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่ไม่เป็นอริยะ ๒. บริษัทที่เป็นอริยะ บริษัทที่ไม่เป็นอริยะ เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย(เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)” บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไม่เป็นอริยะ บริษัทที่เป็นอริยะ เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่เป็น อริยะ ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นอริยะเป็นเลิศ (๔) [๔๗] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทหยากเยื่อ ๒. บริษัทใสสะอาด บริษัทหยากเยื่อ เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุถึงฉันทาคติ(ลำเอียงเพราะชอบ) โทสาคติ(ลำเอียงเพราะชัง) โมหาคติ(ลำเอียงเพราะหลง) ภยาคติ(ลำเอียงเพราะ กลัว) บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทหยากเยื่อ บริษัทใสสะอาด เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุไม่ถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทใสสะอาด ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทใสสะอาดเป็นเลิศ (๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ ๒. บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้าน บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ ล้ำลึก มีเนื้อ ความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง พวกภิกษุไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรมว่าควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญได้รจนาไว้เป็นบทกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก๑- เป็นสาวกภาษิต๒- ภิกษุเหล่านั้นกลับ ตั้งใจฟังอย่างดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้ความสำคัญธรรมว่าควร เรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ครั้นท่องจำธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่ไต่ถามกันว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ภิกษุเหล่านั้นไม่ เปิดเผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ไม่ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และไม่ บรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้าน เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญรจนาไว้ เป็นบทกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก เป็นสาวกภาษิต พวกภิกษุไม่ ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรม ว่าควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุเหล่านั้นกลับ ตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้ความสำคัญธรรมว่าควร @เชิงอรรถ : @ อยู่ภายนอก หมายถึงอยู่ภายนอกพระพุทธศาสนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕) @ เป็นสาวกภาษิต หมายถึงเป็นภาษิตอันเหล่าสาวกของเจ้าลัทธิคนใดคนหนึ่งที่ไม่ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธ- @สาวกได้ภาษิตไว้ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๔๘/๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

เรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ครั้นท่องจำธรรมนั้นแล้วย่อมสอบสวนไต่ถามกันว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ภิกษุเหล่านั้นเปิด เผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และบรรเทาความ สงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการ แนะนำ และไม่ดื้อด้าน ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้านเป็นเลิศ (๖) [๔๙] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม ๒. บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุต่างสรรเสริญคุณของกันและกันต่อหน้า คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวว่า “ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต๑- ภิกษุรูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต๒- ภิกษุรูปโน้นเป็นกายสักขี๓- ภิกษุรูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ๔- ภิกษุรูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต๕- @เชิงอรรถ : @ อุภโตภาควิมุต หมายถึงผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานจนได้อรูปสมาบัติ และใช้สมถะเป็นพื้นฐานในการ @บำเพ็ญวิปัสสนาจนได้บรรลุอรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๐, องฺ.นวก.อ. ๓/๔๕/๓๑๖) @ ปัญญาวิมุต หมายถึงผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ จนบรรลุอรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ กายสักขี หมายถึงผู้มีศรัทธาแก่กล้า ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย และอาสวะบางอย่างก็สิ้นไป @เพราะเห็นด้วยปัญญา หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไปจนถึงท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ ทิฏฐิปัตตะ หมายถึงผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ เข้าใจอริยสัจถูกต้อง กิเลสบางส่วนสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา @มีปัญญาแก่กล้า หมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ สัทธาวิมุต หมายถึงผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา เข้าใจอริยสัจถูกต้อง กิเลสบางส่วนสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา @มีศรัทธาแก่กล้า หมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

ภิกษุรูปโน้นเป็นธัมมานุสารี๑- ภิกษุรูปโน้นเป็นสัทธานุสารี๒- ภิกษุรูปโน้นมีศีลมี กัลยาณธรรม ภิกษุรูปโน้นทุศีลมีธรรมเลวทราม” ภิกษุเหล่านั้นได้ลาภเพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายครั้นได้ลาภนั้นแล้ว ต่างติดใจ ลุ่มหลง หมกมุ่น ไม่เห็นโทษ ขาดปัญญา เป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักใน สัทธรรม บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุไม่กล่าวสรรเสริญคุณของกันและกัน ต่อหน้าคฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวว่า “ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต ภิกษุรูปโน้นเป็น ปัญญาวิมุต ภิกษุรูปโน้นเป็นกายสักขี ภิกษุรูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ ภิกษุรูปโน้นเป็น สัทธาวิมุต ภิกษุรูปโน้นเป็นธัมมานุสารี ภิกษุรูปโน้นเป็นสัทธานุสารี ภิกษุรูปโน้นมี ศีลมีกัลยาณธรรม ภิกษุรูปโน้นทุศีลมีธรรมเลวทราม “ภิกษุเหล่านั้นได้ลาภเพราะ เหตุนั้น เธอทั้งหลายครั้นได้ลาภนั้นแล้ว ไม่ติดใจ ไม่ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่น มองเห็น โทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่หนักใน สัทธรรม ไม่หนักในอามิส ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิสเป็นเลิศ (๗) [๕๐] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่ไม่เรียบร้อย ๒. บริษัทที่เรียบร้อย บริษัทที่ไม่เรียบร้อย เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ ธัมมานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า บรรลุ @ผลแล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) @ สัทธานุสารี คือผู้แล่นไปตามศรัทธา ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้า บรรลุผล @แล้วกลายเป็นสัทธาวิมุต (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ กรรมที่ไม่เป็นธรรมเป็นไป กรรมที่เป็นธรรมไม่ เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรม รุ่งเรือง กรรมที่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยไม่ รุ่งเรือง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไม่เรียบร้อย เพราะบริษัทที่ไม่เรียบร้อย กรรมที่ไม่เป็นธรรมจึงเป็นไป กรรมที่เป็นธรรมไม่ เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรมรุ่งเรือง กรรมที่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง บริษัทที่เรียบร้อย เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ กรรมที่เป็นธรรมเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรมไม่ เป็นไป กรรมที่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่เป็นธรรมรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่เรียบร้อย เพราะบริษัทที่เรียบร้อย กรรมที่เป็นธรรมจึงเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรมไม่เป็นไป กรรมที่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่เป็นธรรมรุ่งเรือง กรรม ที่ไม่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เรียบร้อยเป็นเลิศ (๘) [๕๑] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่ไม่เป็นธรรม ๒. บริษัทที่เป็นธรรม ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นธรรมเป็นเลิศ (๙) [๕๒] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

๑. บริษัทที่เป็นอธัมมวาที (กล่าวแต่สิ่งที่ไม่เป็นธรรม) ๒. บริษัทที่เป็นธัมมวาที (กล่าวแต่สิ่งที่เป็นธรรม) บริษัทที่เป็นอธัมมวาที เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุได้รับอธิกรณ์๑- ที่เป็นธรรมหรือไม่เป็น ธรรมก็ตาม ครั้นได้รับอธิกรณ์นั้นแล้ว ไม่ประกาศให้ยอมรับกัน และไม่เข้าร่วมการ ยอมรับ ไม่ยอมให้พิจารณาอธิกรณ์ และไม่เข้าร่วมการพิจารณาอธิกรณ์ ภิกษุ เหล่านั้นมีความตกลงกันไม่ได้เป็นแรงหนุน มีการไม่เพ่งโทษตนเป็นแรงหนุน คิดแต่จะดื้อดึงไม่ยอมรับ กล่าวด้วยความยึดมั่นถือมั่นอธิกรณ์นั้นว่า “นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่เป็นอธัมมวาที บริษัทที่เป็นธัมมวาที เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุได้รับอธิกรณ์ที่เป็นธรรมหรือไม่เป็น ธรรมก็ตาม ครั้นได้รับอธิกรณ์นั้นแล้ว ประกาศให้ยอมรับกัน และเข้าร่วมการยอมรับ ยอมให้พิจารณาอธิกรณ์ และเข้าร่วมการพิจารณาอธิกรณ์ ภิกษุเหล่านั้นมีการตกลง กันได้เป็นแรงหนุน มีการเพ่งโทษตนเป็นแรงหนุน คิดแต่จะยอมรับ ไม่กล่าวด้วย ความยึดมั่นถือมั่นอธิกรณ์นั้นว่า “นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่เป็นธัมมวาที ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นธัมมวาทีเป็นเลิศ (๑๐)
ปริสวรรคที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับ @พระธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทย์หรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้อง @อาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ @เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อุตตานสูตร ๒. วัคคสูตร ๓. อัคควตีสูตร ๔. อริยสูตร ๕. กสฏสูตร ๖. อุกกาจิตสูตร ๗. อามิสสูตร ๘. วิสมสูตร ๙. อธัมมสูตร ๑๐. ธัมมิยสูตร
ปฐมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑. ปุคคลวรรค

๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. ปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล
[๕๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก๑- เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระเจ้าจักรพรรดิ บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย (๑) [๕๔] บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์๒- บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระเจ้าจักรพรรดิ บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ (๒) [๕๕] การตายของบุคคล ๒ จำพวกนี้เป็นเหตุให้คนจำนวนมากพลอย เดือดร้อนไปด้วย @เชิงอรรถ : @ เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก หมายถึงเพราะพระเจ้าจักรพรรดิบังเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย @ได้สมบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) มนุษยสมบัติ สมบัติในมนุษย์ (๒) เทวสมบัติ สมบัติในสวรรค์ และเพราะ @พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายได้สมบัติ ๓ อย่าง คือ (๑) มนุษยสมบัติ @สมบัติในมนุษย์ (๒) เทวสมบัติ สมบัติในสวรรค์ (๓) นิพพานสมบัติ สมบัติคือพระนิพพาน @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๕๓/๕๘, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๕๓/๕๗) @ เป็นอัจฉริยมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงเป็นบุคคลที่หาได้ยากไม่ปรากฏทั่วไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๕๔/๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค

การตายของบุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระเจ้าจักรพรรดิ การตายของบุคคล ๒ จำพวกนี้แลเป็นเหตุให้คนจำนวนมากพลอยเดือดร้อน ไปด้วย (๓) [๕๖] ถูปารหบุคคล๑- ๒ จำพวกนี้ ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระเจ้าจักรพรรดิ ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกนี้แล (๔) [๕๗] พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้ พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้แล (๕) [๕๘] สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ภิกษุขีณาสพ ๒. ช้างอาชาไนย สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง (๖) [๕๙] สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ภิกษุขีณาสพ ๒. ม้าอาชาไนย สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง (๗) [๖๐] สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ ถูปารหบุคคล หมายถึงบุคคลผู้ควรแก่การสร้างสถูปบรรจุพระธาตุไว้ (องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๕๖/๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค

๑. ภิกษุขีณาสพ ๒. พญาราชสีห์ สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง (๘)
เหตุที่กินนรไม่พูดภาษาคน
[๖๑] กินนร๑- เห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้จึงไม่พูดภาษาคน อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่พูดเท็จ ๒. ไม่กล่าวตู่ผู้อื่นด้วยเรื่องไม่จริง กินนรเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แลจึงไม่พูดภาษาคน (๙)
สิ่งที่มาตุคามไม่อิ่ม
[๖๒] มาตุคาม(สตรี)ไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการจนกระทั่งตาย ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การเสพเมถุนธรรม๒- ๒. การคลอดบุตร มาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการนี้แลจนกระทั่งตาย (๑๐)
การอยู่ร่วมกัน ๒ แบบ
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและการอยู่ร่วม กันของสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า การอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและอสัตบุรุษอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ กินนร แปลว่า “คนอะไร” หมายถึงเป็นอมนุษย์ในนิยาย มี ๒ ชนิด คือชนิดหนึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งนก @ท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นนก อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเหมือนคน เมื่อจะไปไหนมาไหน ก็ใส่ปีกใส่หาง @บินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๑/๕๘, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕ หน้า ๙๙-๑๐๐) @ การเสพเมถุนธรรม หมายถึงการร่วมประเวณี การร่วมสังวาส กล่าวคือ การเสพอสัทธรรมอันเป็น @ประเวณีของชาวบ้าน มีน้ำเป็นที่สุด เป็นกิจที่จะต้องทำในที่ลับ เป็นการกระทำของคนที่เป็นคู่ๆ @(วิ.มหา. ๑/๕๕/๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค

คือ ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระ๑- ก็ไม่ควร ว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะ๒- ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะ๓- ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ไม่ควรว่ากล่าวพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหากพระเถระจะว่า กล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับเขาว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนเขา แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตาม คำแนะนำของเขา หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะ พูดกับเขาว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนเขา แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำแนะนำ ของเขา” แม้พระมัชฌิมะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ฯลฯ แม้พระนวกะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะ ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ไม่ควรว่ากล่าวพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหากพระเถระจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนา สิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำสอนของท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หาก พระนวกะจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนท่าน แม้ เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำสอนของท่าน” การอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและอสัตบุรุษอยู่ร่วมกันเป็นอย่างนี้แล การอยู่ร่วมกันของสัตบุรุษและสัตบุรุษอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ พระเถระ หมายถึงพระผู้มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่ คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ @ขึ้นไป และรู้ปาติโมกข์ เป็นต้น @ พระมัชฌิมะ หมายถึงพระระดับกลางมีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าพระปูนกลาง คือมีพรรษา @ตั้งแต่ครบ ๕ แต่ยังไม่ถึง ๑๐ @ พระนวกะ ในที่นี้หมายถึงพระใหม่ มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่ายังใหม่ มีพรรษาต่ำกว่า ๕ @ที่ยังต้องถือนิสสัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค

คือ ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระก็ควรว่า กล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะก็ควรว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ ควรว่ากล่าวทั้งพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหากพระเถระจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะ พูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำตามคำแนะนำของ ท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนา สิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำตามคำแนะนำของท่าน” แม้พระมัชฌิมะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ฯลฯ แม้พระนวกะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะก็ควร ว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ควรว่ากล่าวทั้งพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหาก พระเถระจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่ เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ ก็จะทำตามคำสอนของท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะ จะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่า กล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำ ตามคำสอนของท่าน” การอยู่ร่วมกันของสัตบุรุษและสัตบุรุษอยู่ร่วมกันเป็นอย่างนี้แล (๑๑)
เหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อและไม่ยืดเยื้อ
[๖๔] ในอธิกรณ์ใด การโต้ตอบกันด้วยวาจา ความแข่งดีเพราะทิฏฐิ ความมี ใจอาฆาต ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด ยังไม่สงบระงับภายใน ในอธิกรณ์นั้นจะมีผล ตามมาดังนี้ คือ อธิกรณ์นั้นจักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อความ ร้ายแรง๑- และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๓,๔,๕ ทุกนิบาต ข้อ ๑๕ หน้า ๖๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. สุขวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใด การโต้ตอบด้วยวาจา ความแข่งดีเพราะทิฏฐิ ความมีใจอาฆาต ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด สงบระงับไปด้วยดีภายใน ในอธิกรณ์นั้นจะมีผลตามมา ดังนี้ คือ อธิกรณ์นั้นจักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก (๑๒)
ปุคคลวรรคที่ ๑ จบ
๒. สุขวรรค
หมวดว่าด้วยสุข
[๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขของคฤหัสถ์ ๒. สุขของบรรพชิต สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขของบรรพชิตเป็นเลิศ (๑) [๖๖] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. กามสุข๑- ๒. เนกขัมมสุข๒- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ เนกขัมมสุขเป็นเลิศ (๒) [๖๗] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขที่มีอุปธิ๓- ๒. สุขที่ไม่มีอุปธิ๔- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีอุปธิเป็นเลิศ (๓) @เชิงอรรถ : @ กามสุข หมายถึงสุขที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่น่าพอใจ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๖/๖๐) @ เนกขัมมสุข หมายถึงสุขที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยบรรพชา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๖/๖๐) @ สุขที่มีอุปธิ หมายถึงสุขเจือกิเลสที่เป็นไปในภูมิ ๓ (กามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร) เป็นสุขระดับโลกิยะ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๗/๖๐) @ สุขที่ไม่มีอุปธิ หมายถึงสุขไม่เจือกิเลส เป็นสุขระดับโลกุตตระ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๗/๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์ ] ๒. สุขวรรค

[๖๘] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขที่มีอาสวะ๑- ๒. สุขที่ไม่มีอาสวะ๒- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีอาสวะเป็นเลิศ (๔) [๖๙] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขที่อิงอามิส๓- ๒. สุขที่ไม่อิงอามิส๔- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่อิงอามิสเป็นเลิศ (๕) [๗๐] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขของพระอริยะ๕- ๒. สุขของผู้ไม่ใช่พระอริยะ๖- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขของพระอริยะเป็นเลิศ (๖) [๗๑] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขทางกาย ๒. สุขทางใจ สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อยางนี้ สุขทางใจเป็นเลิศ (๗) @เชิงอรรถ : @ สุขที่มีอาสวะ หมายถึงสุขที่นับเนื่องในวัฏฏะที่เป็นปัจจัยแก่อาสวะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๘/๖๐) @ สุขที่ไม่มีอาสวะ หมายถึงสุขที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ที่ไม่เป็นปัจจัยแก่อาสวะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๘/๖๐) @ สุขที่อิงอามิส หมายถึงสุขอาศัยเหยื่อล่อ เป็นสุขที่ทำให้ใจเศร้าหมอง ทำให้สัตว์อยู่ในวงจรแห่งวัฏฏะ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๙/๖๑) @ สุขที่ไม่อิงอามิส หมายถึงสุขที่ไม่ต้องอาศัยเหยื่อล่อ เป็นสุขที่ไม่ทำใจให้เศร้าหมองพ้นจากวงจรแห่ง @วัฏฏะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๙/๖๑) @ สุขของพระอริยะ หมายถึงสุขที่ไม่ใช่ของปุถุชน เป็นสุขของพระอริยบุคคล ๘ จำพวก @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๐/๖๑) @ สุขของผู้ไม่ใช่พระอริยะ หมายถึงสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยบุคคล (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๐/๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. สุขวรรค

[๗๒] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขที่มีปีติ๑- ๒. สุขที่ไม่มีปีติ๒- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีปีติเป็นเลิศ (๘) [๗๓] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขที่เกิดจากความยินดี๓- ๒. สุขที่เกิดจากอุเบกขา๔- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่เกิดจากอุเบกขาเป็นเลิศ (๙) [๗๔] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สมาธิสุข๕- ๒. อสมาธิสุข๖- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สมาธิสุขเป็นเลิศ (๑๐) [๗๕] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขที่เกิดจากฌานมีปีติเป็นอารมณ์๗- ๒. สุขที่เกิดจากฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์๘- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่เกิดจากฌานไม่มีปีติเป็น อารมณ์เป็นเลิศ (๑๑) @เชิงอรรถ : @ สุขที่มีปีติ หมายถึงสุขในปฐมฌานและทุติยฌาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๒/๖๑) @ สุขที่ไม่มีปีติ หมายถึงสุขในตติยฌานและจตุตถฌาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๒/๖๑) @ สุขที่เกิดจากความยินดี หมายถึงสุขในฌาน ๓ (ปฐมฌาน, ทุติยฌาน, ตติยฌาน) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๓/๖๑) @ สุขที่เกิดจากอุเบกขา หมายถึงสุขในจตุตถฌาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๓/๖๑) @ สมาธิสุข หมายถึงสุขที่ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๔/๖๑) @ อสมาธิสุข หมายถึงสุขที่ยังไม่ถึงขั้นอัปปนาสมาธิหรืออุปจารสมาธิ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๔/๖๑) @ สุขที่เกิดจากฌานมีปีติเป็นอารมณ์ หมายถึงสุขที่เกิดแก่ผู้พิจารณาฌาน ๒ มีปีติเป็นอารมณ์ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๕/๖๑) @ สุขที่เกิดจากฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์ หมายถึงสุขที่เกิดแก่ผู้พิจารณาฌาน ๒ ไม่มีปีติเป็นอารมณ์ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๕/๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. สนิมิตตวรรค

[๗๖] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขที่เกิดจากฌานมีความยินดีเป็นอารมณ์๑- ๒. สุขที่เกิดจากฌานมีอุเบกขาเป็นอารมณ์๒- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่เกิดจากฌานมีอุเบกขาเป็น อารมณ์เป็นเลิศ (๑๒) [๗๗] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขที่มีรูปฌานเป็นอารมณ์ ๒. สุขที่มีอรูปฌานเป็นอารมณ์ สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่มีอรูปฌานเป็นอารมณ์เป็นเลิศ (๑๓)
สุขวรรคที่ ๒ จบ
๓. สนิมิตตวรรค
หมวดว่าด้วยเหตุแห่งบาปอกุศล
[๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิมิต๓- จึงเกิดขึ้น ไม่มีนิมิต ไม่เกิดขึ้น เพราะละนิมิตนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรม ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๑) @เชิงอรรถ : @ สุขที่เกิดจากฌานมีความยินดีเป็นอารมณ์ หมายถึงสุขที่เกิดแก่ผู้พิจารณาฌาน ๓ (ปฐมฌาน, @ทุติยฌาน, ตติยฌาน) มีความยินดีเป็นอารมณ์ (เทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๓-๗๕/๖๑) @ สุขที่เกิดจากฌานมีอุเบกขาเป็นอารมณ์ หมายถึงสุขที่เกิดแก่ผู้พิจารณาฌานที่ ๔ มีอุเบกขาเป็น @อารมณ์ (เทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๓-๗๕/๖๑) @ นิมิต หมายถึงเหตุ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๘-๗๙/๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. สนิมิตตวรรค

[๗๙] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิทาน๑- จึงเกิดขึ้น ไม่มีนิทาน ไม่เกิดขึ้น เพราะละนิทานนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๒) [๘๐] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุ ไม่เกิดขึ้น เพราะละ เหตุนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๓) [๘๑] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสังขารจึงเกิดขึ้น ไม่มีสังขาร ไม่เกิดขึ้น เพราะ ละสังขารเหล่านั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๔) [๘๒] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น ไม่มีปัจจัย ไม่เกิดขึ้น เพราะ ละปัจจัยนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๕) [๘๓] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีรูปจึงเกิดขึ้น ไม่มีรูป ไม่เกิดขึ้น เพราะละรูป นั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๖) [๘๔] ธรรมที่เป็นบาปอกุศลมีเวทนาจึงเกิดขึ้น ไม่มีเวทนา ไม่เกิดขึ้น เพราะ ละเวทนานั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๗) [๘๕] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสัญญาจึงเกิดขึ้น ไม่มีสัญญา ไม่เกิดขึ้น เพราะละสัญญานั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๘) [๘๖] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีวิญญาณจึงเกิดขึ้น ไม่มีวิญญาณ ไม่เกิดขึ้น เพราะละวิญญาณนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๙) [๘๗] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสังขตธรรม(ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) เป็น อารมณ์จึงเกิดขึ้น ไม่มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ ไม่เกิดขึ้น เพราะละสังขตธรรมนั้น เสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๑๐)
สนิมิตตวรรคที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ นิทาน หมายถึงเหตุ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๘-๗๙/๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ธัมมวรรค

๔. ธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยธรรม
[๘๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่างอะไรบ้าง คือ ๑. เจโตวิมุตติ๑- (ความหลุดพ้นแห่งจิต) ๒. ปัญญาวิมุตติ๒- (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑) [๘๙] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความเพียร ๒. ความไม่ฟุ้งซ่าน ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๒) [๙๐] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. นาม ๒. รูป ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๓) [๙๑] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. วิชชา (ความรู้แจ้ง) ๒. วิมุตติ (ความหลุดพ้น) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๔) @เชิงอรรถ : @ เจโตวิมุตติ หมายถึงผลอันเกิดจากสมาธิ คือความหลุดพ้นด้วยสมถกัมมัฏฐาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) @ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงผลอันเกิดจากปัญญา คือความหลุดพ้นด้วยวิปัสสนากัมมัฏฐาน @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ธัมมวรรค

[๙๒] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ภวทิฏฐิ๑- ๒. วิภวทิฏฐิ๒- ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๕) [๙๓] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อหิริกะ (ความไม่อายบาป) ๒. อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวบาป) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๖) [๙๔] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๗) [๙๕] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ว่ายาก ๒. ความมีปาปมิตร ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๘) [๙๖] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ว่าง่าย ๒. ความมีกัลยาณมิตร ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๙) @เชิงอรรถ : @ ภวทิฏฐิ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง (องฺ.ทุก.อ. ๒/๙๒/๖๓) @ วิภวทิฏฐิ หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๙๒/๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. พาลวรรค

[๙๗] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ๑- ๒. ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๐) [๙๘] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ๒- ๒. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ๓- ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๑)
ธัมมวรรคที่ ๔ จบ
๕. พาลวรรค
หมวดว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต
[๙๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่ทำหน้าที่ซึ่งยังมาไม่ถึง ๒. คนที่ไม่ทำหน้าที่ซึ่งมาถึงแล้ว คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๑) @เชิงอรรถ : @ ธาตุ หมายถึงสิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เองตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล มี ๑๘ คือ @จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ @ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ @มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ (อภิ.วิ. ๓๕/๑๘๔/๑๐๒, วิสุทฺธิ. ๓/๖๕) @ อาบัติ ในที่นี้หมายถึงกองอาบัติ ๕ ที่มาในมาติกา คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ @และกองอาบัติ ๗ ที่มาในวิภังค์ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๙๘/๖๓, วิ.อ. ๓/๒๗๑/๔๓๕) @ ฉลาดในการออกจากอาบัติ หมายถึงการรู้วิธีออกจากอาบัติ ๒ วิธี คือ (๑) เทสนาวิธี ได้แก่ วิธีแสดง @อาบัติหรือปลงอาบัติ (ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต) (๒) กัมมวาจาวิธี @หรือ วุฏฐานวิธี ได้แก่ วิธีปฏิบัติสำหรับผู้จะเปลื้องตนออกจากอาบัติสังฆาทิเสส มี ๔ อย่าง คือ ปริวาส @มานัต อัพภาน และปฏิกัสสนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๙๘/๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. พาลวรรค

[๑๐๐] บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่ไม่ทำหน้าที่ซึ่งยังมาไม่ถึง ๒. คนที่ทำหน้าที่ซึ่งมาถึงแล้ว บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๒) [๑๐๑] คนพาล ๒ จำพวกนี้ คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร ๒. คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ควร คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๓) [๑๐๒] บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ไม่ควร ๒. คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ควร บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๔) [๑๐๓] คนพาล ๒ จำพวกนี้ คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๕) [๑๐๔] บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๒. คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๖) [๑๐๕] คนพาล ๒ จำพวกนี้ คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. พาลวรรค

๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๗) [๑๐๖] บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๘) [๑๐๗] คนพาล ๒ จำพวกนี้ คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๙) [๑๐๘] บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๒. คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๑๐) [๑๐๙] อาสวะ๑- ย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๒. คนที่ไม่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๑) @เชิงอรรถ : @ อาสวะ หมายถึงกิเลสทั้งหลาย (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๐๙/๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. พาลวรรค

[๑๑๐] อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่ไม่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๒. คนที่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๒) [๑๑๑] อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร ๒. คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ควร อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๓) [๑๑๒] อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ไม่ควร ๒. คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ควร อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๔) [๑๑๓] อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๒. คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๕) [๑๑๔] อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์ ] ๕. พาลวรรค

[๑๑๕] อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๗) [๑๑๖] อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๘) [๑๑๗] อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๙) [๑๑๘] อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๒. คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๒๐)
พาลวรรคที่ ๕ จบ
ทุติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. อาสาทุปปชหวรรค

๓. ตติยปัณณาสก์
๑. อาสาทุปปชหวรรค
หมวดว่าด้วยความหวังที่ละได้ยาก
[๑๑๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ความหวัง ๒ อย่างนี้ละได้ยาก ความหวัง ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความหวังในลาภ ๒. ความหวังในชีวิต ความหวัง ๒ อย่างนี้แล ละได้ยาก (๑) [๑๒๐] บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้ยากในโลก บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุพพการี (ผู้ทำอุปการะก่อน) ๒. กตัญญูกตเวที (ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน) บุคคล ๒ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก (๒) [๑๒๑] บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้ยากในโลก บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่อิ่มเอง๑- ๒. คนที่ให้ผู้อื่นอิ่ม๒- บุคคล ๒ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก (๓) [๑๒๒] บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่มได้ยาก บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่สะสมสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง ๒. คนที่สละสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง บุคคล ๒ จำพวกนี้แลให้อิ่มได้ยาก (๔) @เชิงอรรถ : @ คนที่อิ่มเอง หมายถึงพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกของพุทธเจ้า @และพระขีณาสพ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๑/๖๕) @ คนที่ให้ผู้อื่นอิ่ม หมายถึงพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๑/๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. อาสาทุปปชหวรรค

[๑๒๓] บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่มได้ง่าย บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่ไม่สะสมสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง ๒. คนที่ไม่สละสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง บุคคล ๒ จำพวกนี้แลให้อิ่มได้ง่าย (๕) [๑๒๔] ปัจจัยให้เกิดราคะ ๒ อย่างนี้ ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุภนิมิต๑- (นิมิตงาม) ๒. อโยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยไม่แยบคาย) ปัจจัยให้เกิดราคะ ๒ อย่างนี้แล (๖) [๑๒๕] ปัจจัยให้เกิดโทสะ ๒ อย่างนี้ ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ปฏิฆนิมิต๒- (นิมิตให้ขัดเคือง) ๒. อโยนิโสมนสิการ ปัจจัยให้เกิดโทสะ ๒ อย่างนี้แล (๗) [๑๒๖] ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ปรโตโฆสะ๓- (เสียงจากผู้อื่น) ๒. อโยนิโสมนสิการ ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล (๘) [๑๒๗] ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ปรโตโฆสะ๔- ๒. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย) ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล (๙) @เชิงอรรถ : @ สุภนิมิต หมายถึงอิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่น่าปรารถนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๔/๖๖) @ ปฏิฆนิมิต หมายถึงอนิฏฐนิมิต คืออารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๕/๖๖) @ ปรโตโฆสะ ในที่นี้หมายถึงการฟังอสัทธรรมจากผู้อื่น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๖/๖๖) @ ปรโตโฆสะ ในที่นี้หมายถึงการฟังพระสัทธรรมจากผู้อื่น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๗/๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อายาจนวรรค

[๑๒๘] อาบัติ ๒ อย่างนี้ อาบัติ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อาบัติเบา ๒. อาบัติหนัก๑- อาบัติ ๒ อย่างนี้แล (๑๐) [๑๒๙] อาบัติ ๒ อย่างนี้ อาบัติ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อาบัติชั่วหยาบ ๒. อาบัติไม่ชั่วหยาบ๒- อาบัติ ๒ อย่างนี้แล (๑๑) [๑๓๐] อาบัติ ๒ อย่างนี้ อาบัติ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อาบัติที่มีส่วนเหลือ๓- ๒. อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ๔- ภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล (๑๒)
อาสาทุปปชหวรรคที่ ๑ จบ
๒. อายาจนวรรค
หมวดว่าด้วยความปรารถนา
[๑๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่อ ปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอให้เราเป็นเช่นกับพระสารีบุตรและพระ โมคคัลลานะเถิด” สารีบุตรและโมคคัลลานะนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของ ภิกษุสาวกของเรา (๑) @เชิงอรรถ : @ อาบัติหนัก คือปาราชิก และสังฆาทิเสส อาบัติเบา คือถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต @ อาบัติชั่วหยาบ คือปาราชิกและสังฆาทิเสส อาบัติไม่ชั่วหยาบ คืออาบัติ ๕ อย่างที่เหลือ @ อาบัติที่มีส่วนเหลือ หมายถึงอาบัติที่เป็นสเตกิจฉา (อาบัติที่ยังพอเยียวยาหรือแก้ไขได้) คือสังฆาทิเสส @ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต @ อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ หมายถึงอเตกิจฉา (อาบัติที่เยียวยาไม่ได้หรือแก้ไขไม่ได้) คือปาราชิก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อายาจนวรรค

[๑๓๒] ภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอ ให้เราเป็นเช่นกับภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวรรณาเถิด” เขมาและอุบลวรรณานี้ เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของภิกษุณีสาวิกาของเรา (๒) [๑๓๓] อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอ ให้เราเป็นเช่นกับจิตตคหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด” จิตตคหบดีและ หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของอุบาสกสาวก ของเรา (๓) [๑๓๔] อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอให้เราเป็นเช่นกับอุบาสิกาขุชชุตตราและอุบาสิกาเวฬุกัณฏกีนันทมาตาเถิด” ขุชชุตราและเวฬุกัณฏกีนันทมาตานี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของอุบาสิกา สาวิกาของเรา (๔) [๑๓๕] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง พูดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน ๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง พูดติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อม บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ ประสพบุญเป็นอันมาก ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน ๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อายาจนวรรค

บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แลย่อม บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ ประสพบุญเป็นอันมาก (๕) [๑๓๖] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส ๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ปลูกความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส คนพาล ผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก บัณฑิต ผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการย่อม บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ ประสพบุญเป็นอันมาก ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พิจารณาไตร่ตรองแล้ว ปลูกความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส ๒. พิจารณาไตร่ตรองแล้ว ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แลย่อม บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ ประสพบุญเป็นอันมาก (๖) [๑๓๗] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. มารดา ๒. บิดา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อายาจนวรรค

คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกย่อมบริหาร ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ บุญเป็นอันมาก บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. มารดา ๒. บิดา บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกนี้แลย่อม บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ ประสพบุญเป็นอันมาก (๗) [๑๓๘] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ตถาคต ๒. สาวกของตถาคต คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แลย่อม บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกย่อมบริหาร ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ บุญเป็นอันมาก บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ตถาคต ๒. สาวกของตถาคต บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกนี้แลย่อม บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ ประสพบุญเป็นอันมาก (๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ทานวรรค

[๑๓๙] ธรรม ๒ ประการนี้ ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ๒. ความไม่ถือมั่นอะไรๆ๑- ในโลก ธรรม ๒ ประการนี้แล (๙) [๑๔๐] ธรรม ๒ ประการนี้ ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. โกธะ (ความโกรธ) ๒. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ธรรม ๒ ประการนี้แล (๑๐) [๑๔๑] ธรรม ๒ ประการนี้ ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การกำจัดความโกรธ ๒. การกำจัดอุปนาหะ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แล (๑๑)
อายาจนวรรคที่ ๒ จบ
๓. ทานวรรค
หมวดว่าด้วยทาน
[๑๔๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ ทาน ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อามิสทาน๒- (การให้สิ่งของ) ๒. ธัมมทาน๓- (การให้ธรรม) ทาน ๒ อย่างนี้แล บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธัมมทานเป็นเลิศ (๑) @เชิงอรรถ : @ ความไม่ถือมั่นอะไรๆ หมายถึงไม่ยึดถืออารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๓๙/๖๘) @ อามิสทาน หมายถึงการให้สิ่งของคือปัจจัย ๔ (จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช) @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๔๒/๖๘) @ ธัมมทาน หมายถึงการแนะนำข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุอมตธรรม(พระนิพพาน) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๔๒/๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๒๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ทานวรรค

[๑๔๓] การบูชายัญ ๒ อย่างนี้ การบูชายัญ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. การบูชายัญด้วยอามิส ๒. การบูชายัญด้วยธรรม การบูชายัญ ๒ อย่างนี้แล บรรดาการบูชายัญ ๒ อย่างนี้ การบูชายัญด้วยธรรมเป็นเลิศ (๒) [๑๔๔] จาคะ (การสละ) ๒ อย่างนี้ จาคะ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อามิสจาคะ (การสละอามิส) ๒. ธัมมจาคะ (การสละธรรม) จาคะ ๒ อย่างนี้แล บรรดาจาคะ ๒ อย่างนี้ ธัมมจาคะเป็นเลิศ (๓) [๑๔๕] การบริจาค ๒ อย่างนี้ การบริจาค ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. การบริจาคอามิส ๒. การบริจาคธรรม การบริจาค ๒ อย่างนี้แล บรรดาการบริจาค ๒ อย่างนี้ การบริจาคธรรมเป็นเลิศ (๔) [๑๔๖] การบริโภค ๒ อย่างนี้ การบริโภค ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. การบริโภคอามิส ๒. การบริโภคธรรม การบริโภค ๒ อย่างนี้แล บรรดาการบริโภค ๒ อย่างนี้ การบริโภคธรรมเป็นเลิศ (๕) [๑๔๗] การคบหากัน ๒ อย่างนี้ การคบหากัน ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. การคบหากันด้วยอามิส ๒. การคบหากันด้วยธรรม การคบหากัน ๒ อย่างนี้แล บรรดาการคบหากัน ๒ อย่างนี้ การคบหากัน ด้วยธรรมเป็นเลิศ (๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๒๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ทานวรรค

[๑๔๘] การจำแนก ๒ อย่างนี้ การจำแนก ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. การจำแนกอามิส ๒. การจำแนกธรรม การจำแนก ๒ อย่างนี้แล บรรดาการจำแนก ๒ อย่างนี้ การจำแนกธรรมเป็นเลิศ (๗) [๑๔๙] การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การสงเคราะห์ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. การสงเคราะห์ด้วยอามิส ๒. การสงเคราะห์ด้วยธรรม การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล บรรดาการสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การสงเคราะห์ ด้วยธรรมเป็นเลิศ (๘) [๑๕๐] การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๒. การอนุเคราะห์ด้วยธรรม การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล บรรดาอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ ด้วยธรรมเป็นเลิศ (๙) [๑๕๑] ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้ ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความเอื้อเฟื้อด้วยอามิส ๒. ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรม ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรมเป็นเลิศ (๑๐)
ทานวรรคที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๒๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สันถารวรรค

๔. สันถารวรรค
หมวดว่าด้วยการรับรอง
[๑๕๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สันถาร (การรับรอง) ๒ อย่างนี้ สันถาร ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อามิสสันถาร (การรับรองด้วยอามิส) ๒. ธัมมสันถาร (การรับรองด้วยธรรม) สันถาร ๒ อย่างนี้แล บรรดาสันถาร ๒ อย่างนี้ ธัมมสันถารเป็นเลิศ (๑) [๑๕๓] ปฏิสันถาร(การต้อนรับ) ๒ อย่างนี้ ปฏิสันถาร ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อามิสปฏิสันถาร (การต้อนรับด้วยอามิส) ๒. ธัมมปฏิสันถาร (การต้อนรับด้วยธรรม) ปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้แล บรรดาปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้ ธัมมปฏิสันถารเป็นเลิศ (๒) [๑๕๔] การเสาะหา ๒ อย่างนี้ การเสาะหา ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. การเสาะหาอามิส ๒. การเสาะหาธรรม การเสาะหา ๒ อย่างนี้แล บรรดาการเสาะหา ๒ อย่างนี้ การเสาะหาธรรมเป็นเลิศ (๓) [๑๕๕] การแสวงหา ๒ อย่างนี้ การแสวงหา ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. การแสวงหาอามิส ๒. การแสวงหาธรรม การแสวงหา ๒ อย่างนี้แล บรรดาการแสวงหา ๒ อย่างนี้ การแสวงหา ธรรมเป็นเลิศ (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๒๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สันถารวรรค

[๑๕๖] การค้นหา ๒ อย่างนี้ การค้นหา ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. การค้นหาอามิส ๒. การค้นหาธรรม การค้นหา ๒ อย่างนี้แล บรรดาการค้นหา ๒ อย่างนี้ การค้นหาธรรมเป็นเลิศ (๕) [๑๕๗] บูชา ๒ อย่างนี้ บูชา ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อามิสบูชา (การบูชาด้วยอามิส) ๒. ธัมมบูชา (การบูชาด้วยธรรม) บูชา ๒ อย่างนี้แล บรรดาบูชา ๒ อย่างนี้ ธัมมบูชาเป็นเลิศ (๖) [๑๕๘] ของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้ ของต้อนรับแขก ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ของต้อนรับแขกคืออามิส ๒. ของต้อนรับแขกคือธรรม ของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้แล บรรดาของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้ ของต้อนรับแขกคือธรรมเป็นเลิศ (๗) [๑๕๙] ความสำเร็จ ๒ อย่างนี้ ความสำเร็จ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความสำเร็จทางอามิส ๒. ความสำเร็จทางธรรม ความสำเร็จ ๒ อย่างนี้แล บรรดาความสำเร็จ ๒ อย่างนี้ ความสำเร็จ ทางธรรมเป็นเลิศ (๘) [๑๖๐] ความเจริญ ๒ อย่างนี้ ความเจริญ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความเจริญด้วยอามิส ๒. ความเจริญด้วยธรรม ความเจริญ ๒ อย่างนี้แล บรรดาความเจริญ ๒ อย่างนี้ ความเจริญด้วย ธรรมเป็นเลิศ (๙) [๑๖๑] รัตนะ(แก้วอันประเสริฐ) ๒ อย่างนี้ รัตนะ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๒๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค

๑. อามิสรัตนะ (รัตนะคืออามิส) ๒. ธัมมรัตนะ (รัตนะคือธรรม) รัตนะ ๒ อย่างนี้แล บรรดารัตนะ ๒ อย่างนี้ ธัมมรัตนะเป็นเลิศ (๑๐) [๑๖๒] การสะสม ๒ อย่างนี้ การสะสม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. การสะสมอามิส ๒. การสั่งสมธรรม การสะสม ๒ อย่างนี้แล บรรดาการสะสม ๒ อย่างนี้ การสั่งสมธรรมเป็นเลิศ (๑๑) [๑๖๓] ความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้ ความไพบูลย์ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความไพบูลย์แห่งอามิส ๒. ความไพบูลย์แห่งธรรม ความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บรรดาความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้ ความไพบูลย์แห่งธรรมเป็นเลิศ (๑๒)
สันถารวรรคที่ ๔ จบ
๕. สมาปัตติวรรค
หมวดว่าด้วยสมาบัติ
[๑๖๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ๑- ๒. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ๒- ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑) @เชิงอรรถ : @ ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ หมายถึงความฉลาดกำหนดรู้อาหารที่เป็นสัปปายะและฤดูที่เป็น @สัปปายะในการเข้าสมาบัติ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖๔/๗๑) @ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ หมายถึงความฉลาดในการกำหนดระยะเวลาที่จะออกจาก @สมาบัติ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖๔/๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๒๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค

[๑๖๕] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อาชชวะ (ความซื่อตรง) ๒. มัททวะ (ความอ่อนโยน) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๒) [๑๖๖] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ขันติ (ความอดทน)๑- ๒. โสรัจจะ (ความเสงี่ยม)๒- ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๓) [๑๖๗] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สาขัลยะ๓- (ความมีวาจาอ่อนหวาน) ๒. ปฏิสันถาร (การต้อนรับ) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๔) [๑๖๘] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) ๒. โสเจยยะ๔- (ความสะอาด) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๕) @เชิงอรรถ : @ ความอดทน ในที่นี้หมายถึงความอดทนด้วยการอดกลั้น(อธิวาสนขันติ) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖๖/๗๑) @ ความเสงี่ยม ในที่นี้หมายถึงความเป็นผู้มีศีลงาม(สุสีลภาวะ) ความเป็นผู้น่ายินดี(สุรตภาวะ) @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖๖/๗๑) @ สาขัลยะ หมายถึงความเป็นบุคคลผู้บันเทิงด้วยความมีวาจาอ่อนหวาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖๗/๗๑) @ โสเจยยะ ในที่นี้หมายถึงความสะอาดด้วยอำนาจศีล (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖๘/๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค

[๑๖๙] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์๑- ๒. ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๖) [๑๗๐] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๒. ความรู้จักประมาณในการบริโภค ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๗) [๑๗๑] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ปฏิสังขานพละ (กำลังคือการพิจารณา) ๒. ภาวนาพละ (กำลังคือการเจริญ) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๘) [๑๗๒] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สติพละ (กำลังคือสติ) ๒. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๙) [๑๗๓] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สมถะ๒- (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) ๒. วิปัสสนา๓- (ความเห็นแจ้ง) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๐) @เชิงอรรถ : @ อินทรีย์ ในที่นี้หมายถึงอายตนะภายใน ๖ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๓๐/๒๘๐) @ สมถะ หมายถึงสภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๗๓/๗๑) @ วิปัสสนา หมายถึงปัญญาที่กำหนดรู้สังขาร (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๗๓/๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๒๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค

[๑๗๔] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล) ๒. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๑) [๑๗๕] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๒. ทิฏฐิสัมปทา๑- (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๒) [๑๗๖] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล) ๒. ทิฏฐิวิสุทธิ๒- (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๓) [๑๗๗] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ) ๒. ปธาน (ความเพียร) ที่สมควรแก่สัมมาทิฏฐิ ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๔) @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐิสัมปทา ในที่นี้หมายถึงความถึงพร้อมด้วยสัมมาทิฏฐิ ๕ ประการ คือ (๑) กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ @(๒) ฌานสัมมาทิฏฐิ (๓) วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ (๔) มัคคสัมมาทิฏฐิ (๕) ผลสัมมาทิฏฐิ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๗๕/๗๑) @ ทิฏฐิวิสุทธิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิในอริยมรรค ๔ ที่ให้เกิดความบริสุทธิ์ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๗๖/๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๒๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค

[๑๗๘] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย ๒. ความไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๕) [๑๗๙] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความหลงลืมสติ ๒. ความไม่มีสัมปชัญญะ ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๖) [๑๘๐] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สติ ๒. สัมปชัญญะ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๗)
สมาปัตติวรรคที่ ๕ จบ
ตติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๒๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๑. โกธเปยยาล

๑. โกธเปยยาล
[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. โกธะ (ความโกรธ) ๒. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ... ๑. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ๒. ปฬาสะ (ความตีเสมอ) ... ๑. อิสสา (ความริษยา) ๒. มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ... ๑. มายา (มารยา) ๒. สาเถยยะ (ความโอ้อวด) ... ๑. อหิริกะ (ความไม่อายบาป) ๒. อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวบาป) ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑-๕) [๑๘๒] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อักโกธะ (ความไม่โกรธ) ๒. อนุปนาหะ (ความไม่ผูกโกรธ) ... ๑. อมักขะ (ความไม่ลบหลู่คุณท่าน) ๒. อปฬาสะ (ความไม่ตีเสมอ) ... ๑. อนิสสา (ความไม่ริษยา) ๒. อมัจฉริยะ (ความไม่ตระหนี่) ... ๑. อมายา (ไม่มีมารยา) ๒. อสาเถยยะ (ความไม่โอ้อวด) .. ๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป) ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๖-๑๐) [๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างย่อมอยู่เป็นทุกข์ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. โกธะ ๒. อุปนาหะ ... ๑. มักขะ ๒. ปฬาสะ ... ๑. อิสสา ๒. มัจฉริยะ ... ๑. มายา ๒. สาเถยยะ ... ๑. อหิริกะ ๒. อโนตตัปปะ ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมอยู่เป็นทุกข์ (๑๑-๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๑. โกธเปยยาล

[๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างย่อมอยู่เป็นสุข ธรรม ๒ อย่างอะไรบ้าง คือ ๑. อักโกธะ ๒. อนุปนาหะ ... ๑. อมักขะ ๒. อปฬาสะ ... ๑. อนิสสา ๒. อมัจฉริยะ ... ๑. อมายา ๒. อสาเถยยะ ... ๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมอยู่เป็นสุข (๑๖-๒๐) [๑๘๕] ธรรม ๒ อย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมของภิกษุผู้ยังเป็นเสขะ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. โกธะ ๒. อุปนาหะ ... ๑. มักขะ ๒. ปฬาสะ ... ๑. อิสสา ๒. มัจฉริยะ ... ๑. มายา ๒. สาเถยยะ ... ๑. อหิริกะ ๒. อโนตตัปปะ ... ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมของภิกษุผู้ยังเป็น เสขะ (๒๑-๒๕) [๑๘๖] ธรรม ๒ อย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมของภิกษุผู้ยังเป็นเสขะ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อักโกธะ ๒. อนุปนาหะ ... ๑. อมักขะ ๒. อปฬาสะ ... ๑. อนิสสา ๒. อมัจฉริยะ ... ๑. อมายา ๒. อสาเถยยะ ... ๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ... ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมของภิกษุผู้ยัง เป็นเสขะ (๒๖-๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๑. โกธเปยยาล

[๑๘๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. โกธะ ๒. อุปนาหะ ... ๑. มักขะ ๒. ปฬาสะ ... ๑. อิสสา ๒. มัจฉริยะ ... ๑. มายา ๒. สาเถยยะ ... ๑. อหิริกะ ๒. อโนตตัปปะ ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ (๓๑-๓๕) [๑๘๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อักโกธะ ๒. อนุปนาหะ ... ๑. อมักขะ ๒. อปฬาสะ ... ๑. อนิสสา ๒. อมัจฉริยะ ... ๑. อมายา ๒. อสาเถยยะ ... ๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ (๓๖-๔๐) [๑๘๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๒. อกุสลเปยยาล

ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. โกธะ ๒. อุปนาหะ ... ๑. มักขะ ๒. ปฬาสะ ... ๑. อิสสา ๒. มัจฉริยะ ... ๑. มายา ๒. สาเถยยะ ... ๑. อหิริกะ ๒. อโนตตัปปะ ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก (๔๑-๔๕) [๑๙๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อักโกธะ ๒. อนุปนาหะ ... ๑. อมักขะ ๒. อปฬาสะ ... ๑. อนิสสา ๒. อมัจฉริยะ ... ๑. อมายา ๒. อสาเถยยะ ... ๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ (๔๖-๕๐)
โกธเปยยาล จบ
๒. อกุสลเปยยาล
[๑๙๑-๒๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรม ๒ อย่างนี้ ... กุศลธรรม ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่มีโทษ ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่ไม่มีโทษ ๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๓. วินยเปยยาล

อย่างนี้ ... ธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่มีสุขเป็นกำไร ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่มีวิบากเป็นทุกข์ ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่มีวิบากเป็นสุข ๒ อย่างนี้ ... ธรรม ที่มีความเบียดเบียน ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน ๒ อย่างนี้ ธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อักโกธะ (ความไม่โกรธ) ๒. อนุปนาหะ (ความไม่ผูกโกรธ) ... ๑. อมักขะ (ความไม่ลบหลู่คุณท่าน) ๒. อปฬาสะ (ความไม่ตีเสมอ) ... ๑. อนิสสา (ความไม่ริษยา) ๒. อมัจฉริยะ (ความไม่ตระหนี่) ... ๑. อมายา (ไม่มีมารยา) ๒. อสาเถยยะ (ความไม่โอ้อวด) .. ๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป) ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน ๒ อย่างนี้แล (๑-๕๐)
อกุสลเปยยาล จบ
๓. วินยเปยยาล
[๒๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบัญญัติสิกขาบทแก่ เหล่าสาวกโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม ๑. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๓. วินยเปยยาล

๑. เพื่อปิดกั้นเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่อปิดกั้นโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่อปิดกั้นภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่อปิดกั้นอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ ๒. เพื่อตัดฝักฝ่ายของภิกษุผู้ปรารถนาชั่ว ๑. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส ๒. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้ว ๑. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๒. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย๑- ตถาคตบัญญัติสิกขาบทแก่เหล่าสาวกโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แล (๑-๑๐) [๒๐๒-๒๓๐] ตถาคตบัญญัติปาติโมกข์แก่เหล่าสาวก ... บัญญัติการสวด ปาติโมกข์ ... บัญญัติการงดสวดปาติโมกข์ ... บัญญัติปวารณา ... บัญญัติการงด ปวารณา ... บัญญัติตัชชนียกรรม ... บัญญัตินิยสกรรม ... บัญญัติปัพพาชนียกรรม ... บัญญัติปฏิสารณียกรรม ... บัญญัติอุกเขปนียกรรม ... บัญญัติการให้ปริวาส ... @เชิงอรรถ : @ เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย หมายถึงเพื่อเชิดชู ค้ำจุน ประคับประคองพระวินัย ๔ อย่าง คือสังวรวินัย ปหานวินัย @สมถวินัย ปัญญัติวินัย (วิ.อ. ๑/๓๙/๒๓๖-๒๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๓. วินยเปยยาล

บัญญัติการชักเข้าหาอาบัติเดิม ... บัญญัติการให้มานัต ... บัญญัติอัพภาน ... บัญญัติการเรียกเข้าหมู่ ... บัญญัติการขับออกจากหมู่ ... บัญญัติการอุปสมบท ... บัญญัติญัตติกรรม ... บัญญัติญัตติทุติยกรรม ... บัญญัติญัตติจตุตถกรรม ... บัญญัติสิกขาบทที่ยังไม่ได้บัญญัติ ... บัญญัติเพิ่มเติมสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้ว ... บัญญัติสัมมุขาวินัย ... บัญญัติสติวินัย ... บัญญัติอมูฬหวินัย ... บัญญัติ- ปฏิญญาตกรณะ ... บัญญัติเยภุยยสิกา ... บัญญัติตัสสปาปิยสิกา ... บัญญัติ ติณวัตถารกะโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม ๑. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่อปิดกั้นเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่อปิดกั้นโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่อปิดกั้นภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่อปิดกั้นอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ ๒. เพื่อตัดฝักฝ่ายของภิกษุผู้ปรารถนาชั่ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๔. ราคเปยยาล

๑. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส ๒. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้ว ๑. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๒. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบัญญัติติณวัตถารกะแก่เหล่าสาวกโดยอาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๒ ประการนี้แล (๑๑-๓๐๐)
วินยเปยยาล จบ
๔. ราคเปยยาล
[๒๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการเพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) ๒. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง) ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่งราคะ ... เพื่อกำหนดรู้ราคะ(ความกำหนัด) ... เพื่อความสิ้นราคะ ... เพื่อละราคะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ ... เพื่อความคลายไปแห่ง ราคะ ... เพื่อความดับแห่งราคะ ฯลฯ เพื่อความสละราคะ ... เพื่อความสละคืน ราคะ ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการนี้ ฯลฯ (๑-๑๐) [๒๓๒-๒๔๖] เพื่อรู้ยิ่งโทสะ(ความคิดประทุษร้าย) ... เพื่อกำหนดรู้โทสะ ... เพื่อความสิ้นโทสะ ... เพื่อละโทสะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ ... เพื่อความเสื่อมไป แห่งโทสะ ... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ ... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ ... เพื่อความ สละโทสะ ... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ... อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปฬาสะ(ความตีเสมอ) ... อิสสา (ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเถยยะ (ความ โอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว) ... อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความประมาท) ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๔. ราคเปยยาล

ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการนี้ ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สมถะ ๒. วิปัสสนา ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการนี้เพื่อสลัดความประมาท (๑๑-๑๗๐) (เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค)
ราคเปยยาล จบ
ทุกนิบาต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. พาลวรรค ๑. ภยสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
_________________________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. พาลวรรค
หมวดว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต
๑. ภยสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นภัยและไม่เป็นภัย
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภัย๑- ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปัททวะ๒- ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปสรรค๓- ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต @เชิงอรรถ : @ ภัย ในที่นี้หมายถึงความมีจิตสะดุ้งกลัว เช่น การได้ทราบข่าวว่าโจรจะปล้นแล้วเกิดความหวาดสะดุ้ง @(องฺ.ติก.อ. ๒/๑/๗๗) @ อุปัททวะ ในที่นี้หมายถึงภาวะที่จิตฟุ้งซ่าน เช่น เมื่อรู้ว่าโจรจะปล้นก็เกิดความระส่ำระสายพยายามจะ @หนีพร้อมกับขนข้าวของไปด้วยเท่าที่พอจะติดมือไปได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑/๗๗) @ อุปสรรค ในที่นี้หมายถึงอาการที่มีความขัดข้อง เช่น การถูกโจรล้อมบ้านจุดไฟปิดประตูไม่ให้หนีไปได้ @แล้วฆ่าปล้นเอาทรัพย์ทั้งหมดไป (องฺ.ติก.อ. ๒/๑/๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. พาลวรรค ๒. ลักขสูตร

ภัยที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปัททวะที่เกิด ขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปสรรคที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วน เกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต เปรียบเหมือนไฟที่ลุกลามจากเรือนไม้อ้อหรือ เรือนหญ้า ไหม้แม้เรือนยอดที่เขาโบกทั้งภายในและภายนอก ลมพัดเข้าไม่ได้ มีบาน ประตูปิดมิดชิด หน้าต่างปิดสนิท ฉะนั้น คนพาลมีภัย บัณฑิตไม่มีภัย คนพาลมีอุปัททวะ บัณฑิตไม่มีอุปัททวะ คนพาลมีอุปสรรค บัณฑิตไม่มีอุปสรรค ภัยไม่มีจากบัณฑิต อุปัททวะไม่มีจากบัณฑิต อุปสรรคไม่มีจากบัณฑิต เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย ธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการ นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจักถือ ปฏิบัติธรรม ๓ ประการนั้น” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภยสูตรที่ ๑ จบ
๒. ลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะคนพาลและบัณฑิต
[๒] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่อง กำหนด ปัญญาเมื่อใช้เป็นประจำจึงงดงาม๑- บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย) ๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) ๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ) บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล @เชิงอรรถ : @ งดงาม ในที่นี้ คือปรากฏ หมายถึงทั้งคนพาลและบัณฑิตย่อมปรากฏเพราะจริตของตนๆ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๒/๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๔๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. พาลวรรค ๓. จินตีสูตร

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย) ๒. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา) ๓. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ) บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย ธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการ นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจัก ถือปฏิบัติธรรม ๓ ประการนั้น” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ลักขณสูตรที่ ๒ จบ
๓. จินตีสูตร
ว่าด้วยความคิดระหว่างคนพาลกับบัณฑิต
[๓] ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะแห่งคนพาล เครื่องหมายแห่งคนพาล ความประพฤติไม่ขาดสายแห่งคนพาล ๓ ประการนี้ ลักษณะแห่งคนพาล ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ คนพาลในโลกนี้ ๑. ชอบคิดแต่เรื่องชั่ว๑- ๒. ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว๒- ๓. ชอบทำแต่กรรมชั่ว๓- @เชิงอรรถ : @ ชอบคิดแต่เรื่องชั่ว หมายถึงประกอบมโนทุจริต ๓ ประการ คือ (๑) อภิชฌา(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) @(๒) พยาบาท(ความคิดร้าย) (๓) มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) (องฺ.ติก.อ. ๒/๓/๗๙) @ ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว หมายถึงประกอบวจีทุจริต ๔ ประการ คือ (๑) มุสาวาท(พูดเท็จ) (๒) ปิสุณาวาจา @(พูดส่อเสียด) (๓) ผรุสวาจา(พูดคำหยาบ) (๔) สัมผัปปลาปะ(พูดเพ้อเจ้อ) (องฺ.ติก.อ. ๒/๓/๗๙) @ ชอบทำแต่กรรมชั่ว หมายถึงประกอบกายทุจริต ๓ ประการ คือ (๑) ปาณาติบาต(ฆ่าสัตว์) (๒) อทินนาทาน @(ลักทรัพย์) (๓) กาเมสุมิจฉาจาร(ความประพฤติผิดในกาม) (องฺ.ติก.อ. ๒/๓/๗๙, องฺ.ทสก. ๒๔/๑๗๑/๒๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๔๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. พาลวรรค ๓. จินตีสูตร

ถ้าคนพาลไม่ชอบคิดเรื่องชั่ว ไม่ชอบพูดเรื่องชั่ว ไม่ชอบทำกรรมชั่วเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า “ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี” แต่เพราะ คนพาลชอบคิดแต่เรื่องชั่ว ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว และชอบทำแต่กรรมชั่ว ฉะนั้นบัณฑิต ทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า “ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี” ลักษณะแห่งคนพาล เครื่องหมายแห่งคนพาล ความประพฤติไม่ขาดสายแห่ง คนพาล ๓ ประการนี้แล ลักษณะแห่งบัณฑิต เครื่องหมายแห่งบัณฑิต ความประพฤติไม่ขาดสายแห่ง บัณฑิต ๓ ประการนี้ ลักษณะแห่งบัณฑิต ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ บัณฑิตในโลกนี้ ๑. ชอบคิดแต่เรื่องดี ๒. ชอบพูดแต่เรื่องดี ๓. ชอบทำแต่กรรมดี ถ้าบัณฑิตไม่ชอบคิดเรื่องดี ไม่ชอบพูดเรื่องดี และไม่ชอบทำกรรมดีเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า “ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี” แต่เพราะ บัณฑิตชอบคิดแต่เรื่องดี ชอบพูดแต่เรื่องดี และชอบทำแต่กรรมดี ฉะนั้นบัณฑิต ทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า “ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี” ลักษณะแห่งบัณฑิต เครื่องหมายแห่งบัณฑิต ความประพฤติไม่ขาดสายแห่ง บัณฑิต ๓ ประการนี้แล เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย ธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการ นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจักถือ ปฏิบัติธรรม ๓ ประการนั้น” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
จินตีสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๔๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. พาลวรรค ๕. อโยนิโสสูตร

๔. อัจจยสูตร
ว่าด้วยการเห็นโทษและไม่เห็นโทษ
[๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่เห็นโทษ๑- โดยความเป็นโทษ ๒. เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ไม่แก้ไขตามสมควรแก่ความผิด ๓. เมื่อผู้อื่นชี้โทษอยู่ ไม่ยอมรับตามสมควรแก่ความผิด บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๒. เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว แก้ไขตามสมควรแก่ความผิด ๓. เมื่อผู้อื่นชี้โทษอยู่ ก็ยอมรับตามสมควรแก่ความผิด บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เพราะเหตุนั้น ฯลฯ๒-
อัจจยสูตรที่ ๔ จบ
๕. อโยนิโสสูตร
ว่าด้วยการถาม-ตอบโดยไม่แยบคาย
[๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ โทษ ในที่นี้หมายถึงความผิด(อปราธะ) (องฺ.ติก.อ. ๒/๔/๗๙) @ ดูความเต็มข้อ ๓ ติกนิบาตในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๔๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. พาลวรรค ๖. อกุสลสูตร

๑. ตั้งปัญหาโดยไม่แยบคาย ๒. ตอบปัญหาโดยไม่แยบคาย ๓. ไม่ชื่นชมยินดีปัญหาที่ผู้อื่นตอบโดยแยบคายด้วยบทพยัญชนะที่ เหมาะสม สละสลวย เข้ารูป บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตั้งปัญหาโดยแยบคาย ๒. ตอบปัญหาโดยแยบคาย ๓. ชื่นชมยินดีปัญหาที่ผู้อื่นตอบโดยแยบคายด้วยบทพยัญชนะที่ เหมาะสม สละสลวย เข้ารูป บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เพราะเหตุนั้น ฯลฯ
อโยนิโสสูตรที่ ๕ จบ
๖. อกุสลสูตร
ว่าด้วยอกุศลกรรม
[๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายกรรมที่เป็นอกุศล ๒. วจีกรรมที่เป็นอกุศล ๓. มโนกรรมที่เป็นอกุศล บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๔๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. พาลวรรค ๗. สาวัชชสูตร

๑. กายกรรมที่เป็นกุศล ๒. วจีกรรมที่เป็นกุศล ๓. มโนกรรมที่เป็นกุศล บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เพราะเหตุนั้น ฯลฯ
อกุสลสูตรที่ ๖ จบ
๗. สาวัชชสูตร
ว่าด้วยกรรมที่มีโทษ
[๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายกรรมที่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่มีโทษ ๓. มโนกรรมที่มีโทษ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายกรรมที่ไม่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่ไม่มีโทษ ๓. มโนกรรมที่ไม่มีโทษ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เพราะเหตุนั้น ฯลฯ
สาวัชชสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๔๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. พาลวรรค ๙. ขตสูตร

๘. สัพยาปัชฌสูตร
ว่าด้วยกรรมที่มีความเบียดเบียน
[๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายกรรมที่มีความเบียดเบียน ๒. วจีกรรมที่มีความเบียดเบียน ๓. มโนกรรมที่มีความเบียดเบียน บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน ๒. วจีกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน ๓. มโนกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย ธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการ นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจักถือ ปฏิบัติธรรม ๓ ประการนั้น” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
สัพยาปัชฌสูตรที่ ๘ จบ
๙. ขตสูตร
ว่าด้วยการบริหารตนให้ถูกกำจัด
[๙] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ๑- สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก @เชิงอรรถ : @ ประสพ (ปสวติ) หมายถึงได้รับผลตอบ (ปฏิลภติ) (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๑/๑๔๘, จตุกฺก. ๔/๒๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๔๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. พาลวรรค ๑๐. มลสูตร

ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายทุจริต ๒. วจีทุจริต ๓. มโนทุจริต คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และ ประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อม บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายสุจริต ๒. วจีสุจริต ๓. มโนสุจริต ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
ขตสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. มลสูตร
ว่าด้วยการละมลทิน
[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ไม่ละมลทิน๑- ๓ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ @เชิงอรรถ : @ มลทิน ในที่นี้หมายถึงการตามแผดเผา คือแผดเผาในอบายมีนรกเป็นต้น หมายถึงมีกลิ่นเหม็น คือ @ความชั่วฟุ้งไปว่า “เขาทำความชั่ว” และหมายถึงก่อให้เกิดความเศร้าหมอง เพราะกายกรรมเป็นต้น @ของเขาไม่สะอาด ไม่ผ่องใส อีกนัยหนึ่ง หมายถึงมลทิน เพราะทำสวรรค์สมบัติ มนุษยสมบัติ และ @นิพพานสมบัติให้เสื่อมไป (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐/๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๔๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นคนทุศีลและไม่ละมลทินคือความเป็นคนทุศีล ๒. เป็นคนริษยาและไม่ละมลทินคือความริษยา ๓. เป็นคนตระหนี่และไม่ละมลทินคือความตระหนี่ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่ละมลทิน ๓ ประการนี้ ดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ละมลทิน ๓ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มีศีลและละมลทินคือความเป็นคนทุศีล ๒. ไม่ริษยาและละมลทินคือความริษยา ๓. ไม่ตระหนี่และละมลทินคือความตระหนี่ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ละมลทิน ๓ ประการนี้ ดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มลสูตรที่ ๑๐ จบ
พาลวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ภยสูตร ๒. ลักขณสูตร ๓. จินตีสูตร ๔. อัจจยสูตร ๕. อโยนิโสสูตร ๖. อกุสลสูตร ๗. สาวัชชสูตร ๘. สัพยาปัชฌสูตร ๙. ขตสูตร ๑๐. มลสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๔๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๑. ญาตสูตร

๒. รถการวรรค
หมวดว่าด้วยช่างรถ
๑. ญาตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้มีชื่อเสียง
[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่มีชื่อเสียง ประกอบ ด้วยธรรม ๓ ประการ ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่ มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ชักชวนในกายกรรมที่ไม่สมควร ๒. ชักชวนในวจีกรรมที่ไม่สมควร ๓. ชักชวนในธรรมที่ไม่สมควร ภิกษุที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูล แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อ ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คน หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ชักชวนในกายกรรมที่สมควร ๒. ชักชวนในวจีกรรมที่สมควร ๓. ชักชวนในธรรมที่สมควร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ญาตสูตรที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๔๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๒. สารณียสูตร

๒. สารณียสูตร
ว่าด้วยสถานที่อันกษัตริย์และภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต
[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ แห่งนี้เป็นสถานที่อันกษัตราธิราชผู้ได้รับ มูรธาภิเษก๑- แล้วพึงระลึกถึงตลอดพระชนมชีพ สถานที่ ๓ แห่ง อะไรบ้าง คือ ๑. กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ประสูติ ณ สถานที่ใด สถาน ที่นี้เป็นสถานที่แห่งที่ ๑ อันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว พึงระลึกถึงตลอดพระชนมชีพ ๒. กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ณ สถานที่ใด สถานที่นี้ เป็นสถานที่แห่งที่ ๒ อันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วพึง ระลึกถึงตลอดพระชนมชีพ ๓. กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงชนะสงครามครั้งใหญ่ พิชิตชัยสงคราม ครอบครองสนามรบใด สนามรบนี้เป็นสถานที่ แห่งที่ ๓ อันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วพึงระลึกถึงตลอด พระชนมชีพ สถานที่ ๓ แห่งนี้แลอันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วพึงระลึกถึงตลอด พระชนมชีพ อย่างนั้นเหมือนกันแล สถานที่ ๓ แห่งนี้อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต สถานที่ ๓ แห่ง อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ณ สถานที่ใด สถานที่นี้เป็นสถานที่แห่งที่ ๑ อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต @เชิงอรรถ : @ มูรธาภิเษก หมายถึงน้ำรดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่นๆ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๓. อาสังสสูตร

๒. ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย(เหตุเกิด ทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)” ณ สถานที่ใด สถานที่นี้เป็นสถาน ที่แห่งที่ ๒ อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต ๓. ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑- ปัญญาวิมุตติ๒- อันไม่มีอาสวะเพราะ อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ณ สถานที่ใด สถานที่นี้เป็นสถานที่แห่งที่ ๓ อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต ภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ แห่งนี้แล อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต
สารณียสูตรที่ ๒ จบ
๓. อาสังสสูตร
ว่าด้วยความหวังทางโลกและทางธรรม
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลที่หมดความหวัง ๒. บุคคลที่ยังมีความหวัง ๓. บุคคลที่ปราศจากความหวัง บุคคลที่หมดความหวัง เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนขนขยะ เป็นตระกูลยากจน มีข้าว น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่อง นุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน @เชิงอรรถ : @ เจโตวิมุตติ หมายถึงผลสมาธิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒/๘๔) @ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงผลปัญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒/๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๓. อาสังสสูตร

ดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องที่ทำให้เกิดแสงสว่าง เขาฟังข่าวว่า “กษัตริย์ทรงพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์” เขาไม่มีความคิดว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งตัวเราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สัก คราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่หมดความหวัง บุคคลที่ยังมีความหวัง เป็นอย่างไร คือ พระราชโอรสพระองค์พี่ของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ในโลกนี้ ผู้ยังไม่ได้รับการแต่งตั้งโดยการอภิเษก ถึงความไม่หวั่นไหว พระองค์สดับ ว่า “กษัตริย์ผู้มีพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์” พระองค์ ทรงดำริอย่างนี้ว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งเราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สักคราว หนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่ยังมีความหวัง บุคคลที่ปราศจากความหวัง เป็นอย่างไร คือ พระราชาในโลกนี้เป็นกษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว พระองค์สดับว่า “กษัตริย์ผู้มีพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์” พระองค์ย่อม ไม่ทรงดำริว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งแม้เราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สักคราว หนึ่งเป็นแน่แท้” ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความหวังในการอภิเษกของพระองค์ เมื่อครั้งยังไม่ได้รับการอภิเษกระงับไปแล้ว นี้เรียกว่า บุคคลที่ปราศจากความหวัง ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด บุคคล ๓ จำพวกก็มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลที่หมดความหวัง ๒. บุคคลที่ยังมีความหวัง ๓. บุคคลที่ปราศจากความหวัง บุคคลที่หมดความหวัง เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนทุศีล๑- มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด๒- มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ @เชิงอรรถ : @ ทุศีล หมายถึงไม่มีศีล (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๓/๘๖) @ ไม่สะอาด ในที่นี้หมายถึงกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมไม่สะอาด (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๓/๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๓. อาสังสสูตร

ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี๑- เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน หยากเยื่อ๒- เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอไม่มีความคิดอย่างนี้ ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันสักคราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคล ที่หมดความหวัง บุคคลที่ยังมีความหวัง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล มีกัลยาณธรรม เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้ทำให้ แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา- วิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันสัก คราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่ยังมีความหวัง บุคคลที่ปราศจากความหวัง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะ เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอัน ยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโต วิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง อยู่ในปัจจุบันสักคราวหนึ่งเป็นแน่แท้” ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความหวังในความ หลุดพ้น ของเธอเมื่อครั้งยังไม่หลุดพ้นระงับไปแล้ว นี้เรียกว่า บุคคลที่ปราศจาก ความหวัง ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ
อาสังสสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี หมายถึงตนเองไม่มีศีล หมดสภาพความเป็นภิกษุ @แต่ยังเรียกตนว่า “เป็นภิกษุ” แล้วร่วมอยู่ ร่วมฉันกับภิกษุอื่นผู้มีศีล ใช้สิทธิ์ถือเอาลาภที่เกิดขึ้นในสงฆ์ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๑๓/๘๖) @ หยากเยื่อ ในที่นี้หมายถึงหยากเยื่อคือกิเลสมีราคะเป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๓/๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๔. จักกวัตติสูตร

๔. จักกวัตติสูตร
ว่าด้วยความเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิและพระพุทธเจ้า
[๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ย่อมไม่ทรงให้จักรที่มิใช่ของพระราชาหมุนไป” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระผู้มีพระ ภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ธรรม๑- เป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรง ธรรม เป็นธรรมราชา” แล้วตรัสต่อไปว่า ๑. พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชาในโลกนี้ ทรงอาศัย ธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง ชนภายใน๒- โดยธรรม ๒. พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองพวกกษัตริย์ ผู้ตามเสด็จ กำลังพล พราหมณ์ คหบดี ชาวนิคม ชาวชนบท สมณพราหมณ์ สัตว์จำพวกเนื้อ และนกโดยธรรม ๓. พระเจ้าจักรพรรดินั้นแลผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรม เท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง ชนภายใน พวกกษัตริย์ ... กำลังพล ... พราหมณ์ คหบดี ... ชาวนิคม @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ จัดเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๗) @ ชนภายใน ในที่นี้หมายถึงมเหสี พระราชโอรส และพระราชธิดา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๔. จักกวัตติสูตร

ชาวชนบท ... สมณพราหมณ์ ... สัตว์จำพวกเนื้อ และนกโดยธรรม แล้วจึงให้จักรหมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักร๑- นั้นใครๆ ที่เป็นมนุษย์ เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์มีชีวิต ให้หมุนกลับไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา๒- ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชู ธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และ คุ้มครองกายกรรมโดยธรรมว่า “กายกรรมเช่นนี้ควรเสพ๓- กายกรรม เช่นนี้ไม่ควรเสพ” ๒. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชู ธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และ คุ้มครองวจีกรรมโดยธรรมว่า “วจีกรรมเช่นนี้ควรเสพ วจีกรรมเช่นนี้ ไม่ควรเสพ” ๓. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชู ธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และ คุ้มครองมโนกรรมโดยธรรมว่า “มโนกรรมเช่นนี้ควรเสพ มโนกรรม เช่นนี้ไม่ควรเสพ” พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแลผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม @เชิงอรรถ : @ จักร ในที่นี้หมายถึงอาณาจักรที่พระเจ้าจักรพรรดิให้หมุนไปด้วยธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ @อันใครๆ จะให้หมุนกลับโดยไม่ให้มีกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการไม่ได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘) @ ธรรมราชา เป็นพระนามของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึงพระผู้ทรงให้มหาชนยินดีด้วย @โลกุตตรธรรม ๙ ประการ (มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) ดูประกอบใน องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘ @ คำว่า เสพ ดูเชิงอรรถที่ ๑ อัจฉราสังฆาตวรรค ข้อ ๕๓ เอกกนิบาต หน้า ๑๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๕. ปเจตนสูตร

ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมโดยธรรมแล้วจึงทรงให้ธรรมจักรที่ยอดเยี่ยมหมุนไปโดย ธรรมเท่านั้น จักร๑- นั้นอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้
จักกวัตติสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปเจตนสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าปเจตนะรับสั่งให้ช่างทำล้อรถ
[๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส เรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า ปเจตนะ ครั้งนั้น พระเจ้าปเจตนะรับสั่งเรียกนายช่างรถมาตรัสว่า “นายช่างรถสหายรัก นับแต่นี้ไปอีก ๖ เดือน ฉันจะทำสงคราม ท่านจะสามารถทำล้อคู่ใหม่ให้ฉัน ได้ไหม” นายช่างรถทูลว่า “สามารถ พระเจ้าข้า” ลำดับนั้น นายช่างรถทำล้อข้างหนึ่งสำเร็จโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน พระเจ้าปเจตนะรับสั่งเรียกนายช่างรถมาตรัสว่า “นายช่างรถสหายรัก นับ จากนี้ไป ๖ วัน ฉันจะทำสงคราม ล้อคู่ใหม่ทำสำเร็จแล้วหรือ” นายช่างรถทูลว่า “ล้อข้างหนึ่งทำสำเร็จแล้วโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน พระเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ จักร ในที่นี้หมายถึงธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่พระพุทธองค์ทรงให้หมุนไปโดยนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ @อันใครๆ ไม่สามารถให้หมุนกลับได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๕. ปเจตนสูตร

พระเจ้าปเจตนะตรัสถามว่า “นายช่างรถสหายรัก โดยใช้เวลา ๖ วันนับ จากวันนี้ ท่านจักสามารถทำล้อที่ ๒ สำเร็จได้ไหม” นายช่างรถทูลรับรองว่า “สามารถ พระเจ้าข้า” แล้วทำล้อที่ ๒ สำเร็จโดย ใช้เวลา ๖ วัน ถือล้อคู่ใหม่เข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเจตนะถึงที่ประทับ ได้ทูลพระเจ้า ปเจตนะว่า “ขอเดชะ ล้อคู่ใหม่นี้ของพระองค์สำเร็จแล้ว” พระเจ้าปเจตนะรับสั่งถามว่า “นายช่างรถสหายรัก ล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้ เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน กับล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๖ วันของท่าน มี เหตุอะไรทำให้แตกต่างกัน ฉันจะเห็นเหตุที่ทำให้แตกต่างกันได้อย่างไร” นายช่างรถทูลว่า “ขอเดชะ เหตุที่ทำให้แตกต่างกันมีอยู่ ขอพระองค์จง ทอดพระเนตรความแตกต่างกันเถิด” ลำดับนั้นแล นายช่างรถหมุนล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๖ วัน ล้อนั้นเมื่อ นายช่างรถหมุนก็หมุนไปได้เท่าที่นายช่างรถหมุนแล้วหมุนเวียนล้มลงที่พื้นดิน นาย ช่างรถหมุนล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน ล้อนั้นเมื่อนายช่างรถ หมุนก็หมุนไปได้เท่าที่นายช่างรถหมุนแล้วตั้งอยู่ได้เหมือนอยู่ในเพลา พระเจ้าปเจตนะตรัสถามว่า “อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ล้อข้างที่ทำสำเร็จ โดยใช้เวลา ๖ วันนี้เมื่อท่านหมุนไปจึงหมุนไปได้เท่าที่ท่านหมุนแล้วหมุนเวียนล้มลงที่ พื้นดิน อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน เมื่อท่านหมุนจึงหมุนไปได้เท่าที่ท่านหมุนแล้วตั้งอยู่ได้เหมือนอยู่ในเพลา” นายช่างรถกราบทูลว่า “ขอเดชะ กงของล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๖ วัน คด มีปุ่มปม ทั้งแก่นและกระพี้ยังมียาง แม้กำก็คด มีปุ่มปม ทั้งแก่นและกระพี้ ยังมียาง แม้ดุมก็คด มีปุ่มปม ทั้งแก่นและกระพี้ยังมียาง เพราะกงคด เป็นปุ่มปม ทั้งแก่นและกระพี้ยังมียาง เพราะแม้กำก็คด เป็นปุ่มปม ทั้งแก่นและกระพี้ยังมียาง เพราะแม้ดุมก็คด เป็นปุ่มปม ทั้งแก่นและกระพี้ยังมียาง ล้อนั้นเมื่อข้าพระองค์ หมุนจึงหมุนไปได้เท่าที่ข้าพระองค์หมุนแล้วหมุนเวียนล้มลงที่พื้นดิน ขอเดชะ ส่วน กงของล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๕. ปเจตนสูตร

แก่นและกระพี้ที่มียาง แม้กำก็ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มีแก่นและกระพี้ที่มียาง แม้ดุม ก็ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มีแก่นและกระพี้ที่มียาง เพราะกงไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มี แก่นและกระพี้ที่มียาง เพราะแม้กำก็ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มีแก่นและกระพี้ที่มียาง เพราะแม้ดุมก็ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มีแก่นและกระพี้ที่มียาง ล้อนั้นเมื่อข้าพระองค์ หมุนจึงหมุนไปได้เท่าที่ข้าพระองค์หมุนแล้วตั้งอยู่ได้เหมือนอยู่ในเพลา” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอาจจะคิดอย่างนี้ว่า “สมัยนั้น นายช่างรถคงเป็น คนอื่นแน่” แต่ข้อนี้เธอทั้งหลายไม่พึงเห็นอย่างนี้ สมัยนั้น เราคือนายช่างรถนั้น ในครั้งนั้นเราเป็นคนฉลาดในความคดของไม้ ในปุ่มปมของไม้ ในแก่นและกระพี้ที่มี ยางของไม้ แต่ในปัจจุบันนี้เราเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (๑) ฉลาดในความคด ของกาย โทษของกาย มลทิน๑- ของกาย (๒) ฉลาดในความคดของวาจา โทษของ วาจา มลทินของวาจา (๓) ฉลาดในความคดของใจ โทษของใจ มลทินของใจ ภิกษุ หรือภิกษุณีผู้ไม่ละความคดของกาย โทษของกาย มลทินของกาย ไม่ละความคดของ วาจา โทษของวาจา มลทินของวาจา และไม่ละความคดของใจ โทษของใจ มลทิน ของใจ ชื่อว่าได้พลัดตกไปจากธรรมวินัยนี้เหมือนล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๖ วัน ภิกษุหรือภิกษุณีผู้ละความคดของกาย โทษของกาย และมลทินของกาย ละความคดของวาจา โทษของวาจา และมลทินของวาจา ละความคดของใจ โทษ ของใจ และมลทินของใจ ชื่อว่าดำรงมั่นอยู่ในธรรมวินัยนี้เหมือนล้อข้างที่ทำสำเร็จ โดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลายจักละความ คดของกาย โทษของกาย และมลทินของกาย จักละความคดของวาจา โทษของ วาจา และมลทินของวาจา จักละความคดของใจ โทษของใจ และมลทินของใจ” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ปเจตนสูตรที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ ความคด โทษ และมลทิน ในที่นี้หมายถึงทุจริต ๓ คือ กายทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยกาย) วจีทุจริต @(ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) และมโนทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยใจ) (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๕/๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๖. อปัณณกสูตร

๖. อปัณณกสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติไม่ผิด และเธอชื่อว่าปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๒. รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ๓. ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วไม่รวบถือ๑- ไม่แยกถือ๒- ปฏิบัติ เพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ อภิชฌา(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) และโทมนัส(ความทุกข์ใจ)ครอบงำได้ จึงรักษา จักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะพึง เป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้ @เชิงอรรถ : @ รวบถือ หมายถึงมองภาพด้านเดียว คือมองภาพรวมโดยเห็นเป็นหญิงหรือชาย เห็นว่ารูปสวย เสียง @ไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่มเป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วยอำนาจฉันทราคะ @(อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/๔๕๖-๔๕๗) @ แยกถือ หมายถึงมองภาพ ๒ ด้าน คือมองแยกแยะเป็นส่วนๆ ไปด้วยอำนาจกิเลส เช่น เห็นมือ @เท้าว่าสวยหรือไม่สวย เห็นอาการยิ้มแย้ม หัวเราะ การพูด การเหลียวซ้าย แลขวา ว่าน่ารักหรือไม่ @น่ารัก ถ้าเห็นว่าสวยน่ารักก็เกิดอิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่าปรารถนา) ถ้าเห็นว่าไม่สวยไม่น่ารักก็เกิด @อนิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) (อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/๔๕๖-๔๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๗. อัตตพยาพาธสูตร

แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์ด้วยคิดเห็นว่า “เราจักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา” ภิกษุชื่อว่า รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการ จงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการ จงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวาซ้อน เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นในมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้น ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิม- ยามแห่งราตรี ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติไม่ผิด และเธอชื่อว่าปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ
อปัณณกสูตรที่ ๖ จบ
๗. อัตตพยาพาธสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง เป็นไป เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น และเป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย) ๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) ๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ) ธรรม ๓ ประการนี้แลเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น และเป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๖๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๙. ปฐมปปาณิกสูตร

ธรรม ๓ ประการนี้ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน ผู้อื่น และไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย) ๒. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา) ๓. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ) ธรรม ๓ ประการนี้แลไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน ผู้อื่น และไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย
อัตตพยาพาธสูตรที่ ๗ จบ
๘. เทวโลกสูตร
ว่าด้วยเทวโลก
[๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ‘พวกท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อเข้าถึงเทวโลกหรือ’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงอึดอัด ระอา รังเกียจ มิใช่หรือ” เมื่อภิกษุพวกนั้นกราบทูลว่า “เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า” จึงตรัสต่อไปว่า “ทราบมาว่า เธอทั้งหลายอึดอัด ระอา รังเกียจอายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ และอธิปไตยทิพย์ แต่เบื้องต้นทีเดียว เธอทั้งหลายควรอึดอัด ระอา รังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต”
เทวโลกสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปฐมปาปณิกสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพ่อค้า สูตรที่ ๑
[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ไม่อาจได้โภคทรัพย์ ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนมากขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๖๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๙. ปฐมปปาณิกสูตร

องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ พ่อค้าในโลกนี้ ๑. เวลาเช้า ไม่ตั้งใจจัดแจงการงานให้ดี ๒. เวลาเที่ยง ไม่ตั้งใจจัดแจงการงานให้ดี ๓. เวลาเย็น ไม่ตั้งใจจัดแจงการงานให้ดี พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ไม่อาจได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนมากขึ้น ฉันใด ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่อาจบรรลุ กุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เวลาเช้า ไม่ตั้งใจเข้าสมาธิ ๒. เวลาเที่ยง ไม่ตั้งใจเข้าสมาธิ ๓. เวลาเย็น ไม่ตั้งใจเข้าสมาธิ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่อาจบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้ บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ อาจได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนมากขึ้น องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ พ่อค้าในโลกนี้ ๑. เวลาเช้า ตั้งใจจัดแจงการงานดี ๒. เวลาเที่ยง ตั้งใจจัดแจงการงานดี ๓. เวลาเย็น ตั้งใจจัดแจงการงานดี พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล อาจได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนมากขึ้น ฉันใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๖๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๑๐. ทุติยปาปณิกสูตร

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อาจบรรลุกุศล ธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เวลาเช้า ตั้งใจเข้าสมาธิ ๒. เวลาเที่ยง ตั้งใจเข้าสมาธิ ๓. เวลาเย็น ตั้งใจเข้าสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล อาจบรรลุกุศล ธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น
ปฐมปาปณิกสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุติยปาปณิกสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพ่อค้า สูตรที่ ๒
[๒๐] ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ไม่นานนักก็ถึง ความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ไพบูลย์ในโภคทรัพย์ องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ พ่อค้าในโลกนี้ ๑. มีตาดี ๒. มีธุรกิจดี ๓. เพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย พ่อค้าชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างไร คือ พ่อค้าในโลกนี้รู้จักสินค้าว่า “สินค้านี้ ซื้อมาเท่านี้ ขายไปอย่างนี้ จัก มีมูลค่าประมาณเท่านี้ มีกำไรเท่านี้” พ่อค้าชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างนี้แล พ่อค้าชื่อว่ามีธุรกิจดี เป็นอย่างไร คือ พ่อค้าเป็นคนฉลาดซื้อและขายสินค้าได้ พ่อค้าชื่อว่ามีธุรกิจดี เป็นอย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๖๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๑๐. ทุติยปาปณิกสูตร

พ่อค้าชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย เป็นอย่างไร คือ คหบดีหรือบุตรคหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก ย่อมรู้จัก พ่อค้าในโลกนี้อย่างนี้ว่า “พ่อค้าผู้นี้แลมีตาดี มีธุรกิจดี และสามารถที่จะเลี้ยงดู บุตรภรรยาได้ทั้งใช้คืนให้แก่พวกเราได้ตามกำหนดเวลา” คหบดีหรือบุตรคหบดีเหล่านั้น ย่อมเชื้อเชิญพ่อค้านั้นด้วยโภคทรัพย์ว่า “นับแต่นี้ไป ท่านจงนำโภคทรัพย์ไปเลี้ยงดู บุตรภรรยา และใช้คืนให้พวกเราตามกำหนดเวลา” พ่อค้าชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่ พักพิงอาศัย เป็นอย่างนี้แล พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ไม่นานนักก็ถึงความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไพบูลย์ในโภคทรัพย์ ฉันใด ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่นานนัก ก็บรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ไพบูลย์ในกุศลธรรม ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. มีตาดี ๒. มีธุระดี ๓. เพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย ภิกษุชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ภิกษุชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีธุระดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุชื่อ ว่ามีธุระดี เป็นอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๖๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปหาภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้เรียนจบคัมภีร์๑- ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ตามเวลาสมควร สอบสวนไต่ถามว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ท่านผู้คงแก่เรียนเหล่านั้นย่อมเปิดเผยธรรม ที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และบรรเทาความสงสัย ในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง ภิกษุชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย เป็น อย่างนี้แล ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่นานนักก็บรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไพบูลย์ในกุศลธรรม
ทุติยปาปณิกสูตรที่ ๑๐ จบ
รถการวรรคที่ ๒ จบ
ปฐมภาณวาร จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ญาตสูตร ๒. สารณียสูตร ๓. อาสังสสูตร ๔. จักกวัตติสูตร ๕. ปเจตนสูตร ๖. อปัณณกสูตร ๗. อัตตพยาพาธสูตร ๘. เทวโลกสูตร ๙. ปฐมปาปณิกสูตร ๑๐. ทุติยปาปณิกสูตร @เชิงอรรถ : @ เรียนจบคัมภีร์ (อาคตาคม) ในที่นี้หมายถึงเรียนจบพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก ๕ นิกาย ได้แก่ @ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๐/๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๖๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๑. สวิฏฐสูตร

๓. ปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล
๑. สวิฏฐสูตร
ว่าด้วยพระสวิฏฐะและมหาโกฏฐิตะ
[๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระสวิฏฐะและท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้าไป หาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึก ถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่านพระสวิฏฐะดังนี้ว่า ท่านสวิฏฐะ บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. กายสักขีบุคคล๑- ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล๒- ๓. สัทธาวิมุตตบุคคล๓- บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหนซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ท่านพระสวิฏฐะตอบว่า บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ กายสักขีบุคคล หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป เป็นผู้เห็นประจักษ์กับตัว สัมผัสวิโมกข์ @๘ ด้วยนามกาย แล้วสามารถทำให้แจ้งพระนิพพานภายหลังได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๑/๙๘, @องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ ทิฏฐิปัตตบุคคล หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป บรรลุสัมมาทิฏฐิ เข้าใจอริยสัจถูกต้อง @(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ สัทธาวิมุตตบุคคล หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา @(องฺ.ติก.อ. ๒/๒๑/๙๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๖๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๑. สวิฏฐสูตร

๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล ๓. สัทธาวิมุตตบุคคล บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ผมชอบใจสัทธาวิมุตตบุคคลซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสัทธินทรีย์ของบุคคลนี้แก่กล้ายิ่งนัก ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่านพระมหาโกฏฐิตะดังนี้ว่า บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล ๓. สัทธาวิมุตตบุคคล บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหนซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล ๓. สัทธาวิมุตตบุคคล บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ผมชอบใจกายสักขีบุคคลซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมาธินทรีย์ของบุคคลนี้แก่กล้ายิ่งนัก ลำดับนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้ถามปัญหานี้กับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล ๓. สัทธาวิมุตตบุคคล บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหนซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๖๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๑. สวิฏฐสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล ๓. สัทธาวิมุตตบุคคล บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ผมชอบใจทิฏฐิปัตตบุคคลซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปัญญินทรีย์ของบุคคลนี้แก่กล้ายิ่งนัก ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่านพระสวิฏฐะและท่านพระมหาโกฏฐิตะ ดังนี้ว่า “พวกเราทั้งหมดต่างตอบปัญหาตามปฏิภาณของตน มาไปด้วยกันเถิด เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กราบทูลข้อความนี้ เราจักทรงจำข้อความ ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบแก่เรา” ท่านพระสวิฏฐะและท่านพระมหาโกฏฐิตะ ตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระสวิฏฐะ และท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระ สารีบุตรผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลข้อสนทนาทั้งหมดกับท่านพระสวิฏฐะ และท่านพระมหาโกฏฐิตะแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ในเรื่องนี้ การตอบปัญหาโดยนัยเดียวว่า บรรดา บุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลนี้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ไม่ใช่จะทำได้ง่าย เพราะอาจ เป็นไปได้ว่า สัทธาวิมุตตบุคคลเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ กายสักขีบุคคล เป็นสกทาคามีหรืออนาคามี ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี ในเรื่องนี้ การตอบปัญหาโดยนัยเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคล นี้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ไม่ใช่จะทำได้ง่าย เพราะอาจเป็นไปได้ว่า กายสักขีบุคคล เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ สัทธาวิมุตตบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๖๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๒. คิลานสูตร

ในเรื่องนี้ การตอบปัญหาโดยนัยเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคล นี้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ไม่ใช่จะทำได้ง่าย เพราะอาจเป็นไปได้ว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ สัทธาวิมุตตบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี กายสักขีบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี ในเรื่องนี้ การตอบปัญหาโดยนัยเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลนี้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ไม่ใช่จะทำได้ง่าย
สวิฏฐสูตรที่ ๑ จบ
๒. คิลานสูตร
ว่าด้วยคนไข้และบุคคลผู้เปรียบด้วยคนไข้
[๒๒] ภิกษุทั้งหลาย คนไข้ ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก คนไข้ ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนไข้บางคนในโลกนี้ได้โภชนะที่เป็นสัปปายะ๑- หรือไม่ได้โภชนะที่เป็น สัปปายะก็ตาม ได้ยาที่เป็นสัปปายะ หรือไม่ได้ยาที่เป็นสัปปายะก็ตาม และได้คนพยาบาลที่เหมาะสม หรือไม่ได้คนพยาบาลที่เหมาะสมก็ตาม ย่อมไม่หายจากอาพาธนั้นได้เลย ๒. คนไข้บางคนในโลกนี้ได้โภชนะที่เป็นสัปปายะ หรือไม่ได้โภชนะที่เป็น สัปปายะก็ตาม ได้ยาที่เป็นสัปปายะ หรือไม่ได้ยาที่เป็นสัปปายะก็ตาม และได้คนพยาบาลที่เหมาะสม หรือไม่ได้คนพยาบาลที่เหมาะสมก็ตาม ย่อมหายจากอาพาธนั้นได้ ๓. คนไข้บางคนในโลกนี้ได้โภชนะที่เป็นสัปปายะจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ ย่อมไม่หาย ได้ยาที่เป็นสัปปายะจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ ย่อมไม่หาย และได้คนพยาบาลที่เหมาะสมจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ ย่อมไม่หาย @เชิงอรรถ : @ เป็นสัปปายะ ในที่นี้หมายถึงมีประโยชน์ ก่อให้เกิดความเจริญ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๒/๙๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๖๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๒. คิลานสูตร

บรรดาคนไข้ ๓ จำพวกนั้น คนไข้ใดได้โภชนะที่เป็นสัปปายะจึงหายจากอาพาธ นั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้ยาที่เป็นสัปปายะจึงหายจากอาพาธนั้นเมื่อไม่ได้ ย่อมไม่หาย และได้คนพยาบาลที่เหมาะสมจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่ หาย เพราะอาศัยคนไข้นี้แล เราจึงอนุญาตอาหารสำหรับภิกษุไข้ อนุญาตยาสำหรับ ภิกษุไข้ และอนุญาตคนพยาบาลสำหรับภิกษุไข้ ก็เพราะอาศัยคนไข้นี้ คนไข้แม้อื่นๆ ก็ควรได้รับการพยาบาลด้วย คนไข้ ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด บุคคลที่เปรียบได้กับคนไข้ ๓ จำพวกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแลมีปรากฏอยู่ ในโลก บุคคลที่เปรียบได้กับคนไข้ ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นตถาคต หรือไม่ได้เห็นตถาคตก็ตาม ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ หรือไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศ ไว้ก็ตาม ย่อมไม่หยั่งลงสู่ความเห็นชอบที่กำหนดในกุศลธรรมทั้งหลาย ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นตถาคต หรือไม่ได้เห็นตถาคตก็ตาม ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ หรือไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศ ไว้ก็ตาม ย่อมหยั่งลงสู่ความเห็นชอบที่กำหนดในกุศลธรรมทั้งหลาย ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นตถาคตจึงหยั่งลงสู่ความเห็นชอบที่กำหนด ในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่ได้เห็นย่อมไม่หยั่งลง ได้ฟังธรรมวินัยที่ ตถาคตประกาศไว้จึงหยั่งสู่ความเห็นชอบที่กำหนดในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่ได้ฟังย่อมไม่หยั่งลง บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนั้น บุคคลใดได้เห็นตถาคตจึงหยั่งลงสู่ความเห็นชอบ ที่กำหนดในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่ได้เห็นย่อมไม่หยั่งลง ได้ฟังธรรมวินัยที่ ตถาคตประกาศไว้จึงหยั่งลงสู่ความเห็นชอบที่กำหนดในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่ ได้ฟังย่อมไม่หยั่งลง เพราะอาศัยบุคคลนี้แล เราจึงอนุญาตการแสดงธรรม ก็เพราะ อาศัยบุคคลนี้จึงควรแสดงธรรมแก่บุคคลแม้เหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่เปรียบได้กับคนไข้ ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
คิลานสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๓. สังขารสูตร

๓. สังขารสูตร
ว่าด้วยสังขาร
[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขาร๑- ที่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่งวจีสังขาร๒- ที่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขาร๓- ที่มีความ เบียดเบียน เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่มีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความ เบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่มีความเบียดเบียนกระทบเข้า ย่อม เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียวเหมือนพวก สัตว์นรก ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่งวจีสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มี ความเบียดเบียน เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความ เบียดเบียน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึง โลกที่ไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียน กระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วน เดียวเหมือนสุภกิณหพรหม ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง @เชิงอรรถ : @ กายสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางกาย หรือกายสัญเจตนา คือความจงใจทางกาย @(องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑) @ วจีสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร หรือวจีสัญเจตนา @คือความจงใจทางวาจา (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑) @ มโนสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา หรือมโนสัญเจตนา @คือความจงใจทางใจ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๔. พหุการสูตร

ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง และปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มี ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มีความ เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึง โลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาถูกผัสสะ ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้า ย่อม เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุข และทุกข์ระคนกันเหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวก และเปรตบางพวก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
สังขารสูตรที่ ๓ จบ
๔. พหุการสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่มีอุปการะมาก
[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีอุปการะมากแก่บุคคล บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก นับถือ พระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก และนับถือพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก บุคคลนี้ชื่อว่ามีอุปการะมากแก่บุคคลนี้ ๒. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้วรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกข- สมุทัย(เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินี- ปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) บุคคลนี้ชื่อว่ามีอุปการะมาก แก่บุคคลนี้ ๓. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้วทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลนี้ชื่อว่ามีอุปการะมากแก่บุคคลนี้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลชื่อว่ามีอุปการะมากแก่บุคคลนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๕. วชิรูปมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ไม่มีบุคคลอื่นนอกจากบุคคล ๓ จำพวกนี้ที่ชื่อว่า เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคลนี้ การที่บุคคลนี้จะปฏิบัติตอบแทนแก่บุคคล ๓ จำพวก นี้ด้วยการตอบแทน คือด้วยการกราบไหว้ การลุกรับ การประนมมือไหว้ การแสดง ความเคารพ การให้ผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เรากล่าวว่า มิใช่จะทำได้โดยง่าย
พหุการสูตรที่ ๔ จบ
๕. วชิรูปมสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า ๒. บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ ๓. บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ เปรียบเหมือนแผลเก่าถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อม ให้เกิดความเจ็บปวดมากขึ้น แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เป็นคน มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ นี้เรียกว่า บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” เปรียบเหมือนคนมีตาดีเห็นรูปได้ในขณะ ฟ้าแลบในเวลากลางคืนที่มืดมิด แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๖. เสวิตัพพสูตร

รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี- ปฏิปทา” นี้เรียกว่า บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร๑- เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เปรียบเหมือนแก้วมณี หรือหินบางชนิดที่เพชรจะทำลายไม่ได้ไม่มี แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉัน นั้นเหมือนกันแล ... เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
วชิรูปมสูตรที่ ๕ จบ
๖. เสวิตัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรคบ
[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ๒. บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ๓. บุคคลที่ควรสักการะ เคารพแล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ต่ำทรามกว่าตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา บุคคล เช่นนี้ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ นอกจากจะเมตตาอนุเคราะห์ บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ จิตเหมือนเพชร หมายถึงจิตที่มีความแข็งแกร่ง สามารถกำจัดมูลรากแห่งกิเลสทั้งหลาย @(องฺ.ติก.อ. ๒/๒๕/๑๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เสมอตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเช่นนี้ ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะการสนทนาเกี่ยวกับศีล สมาธิ ปัญญา จักมีแก่เราทั้งหลายผู้ถึงความเสมอกันในด้านศีล สมาธิ ปัญญา การสนทนาของเราทั้งหลายนั้นจักดำเนินไปได้ และจักเป็นความสำราญ เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ บุคคลที่ควรสักการะ เคารพ แล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เหนือกว่าตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเช่นนี้ ควรสักการะ เคารพแล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคล เช่นนี้คิดว่า จักบำเพ็ญสีลขันธ์(กองศีล) สมาธิขันธ์(กองสมาธิ) ปัญญาขันธ์(กอง ปัญญา)ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือจักอนุเคราะห์สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรสักการะ เคารพแล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บุคคลคบผู้ต่ำทรามย่อมพลอยต่ำทรามไปด้วย แต่คบผู้ที่เสมอกันย่อมไม่เสื่อมในกาลไหนๆ คบผู้ที่สูงกว่าย่อมเด่นขึ้นทันตาเห็น เพราะฉะนั้นจึงควรคบผู้ที่สูงกว่าตน
เสวิตัพพสูตรที่ ๖ จบ
๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรรังเกียจ
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลที่ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ๒. บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ๓. บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร

บุคคลที่ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความ ประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี๑- เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน หยากเยื่อ บุคคลเช่นนี้ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะคนทั่วไปแม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคลเช่นนี้ แต่กิตติศัพท์อันชั่ว ของเขาก็กระฉ่อนไปว่า “คนคบมิตรชั่ว คบสหายชั่ว คบเพื่อนชั่ว” เปรียบเหมือน งูที่จมอยู่ในคูถ แม้จะไม่กัดใครๆ ก็จริง แต่ก็ทำเขาให้เปื้อนได้ แม้ฉันใด คน ทั่วไปก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคลเช่นนี้ แต่กิตติศัพท์อันชั่วของ เขาก็กระฉ่อนไปว่า “คนคบมิตรชั่ว คบสหายชั่ว คบเพื่อนชั่ว” เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควร เข้าไปนั่งใกล้ บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่า กล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ เปรียบเหมือนแผลเก่าถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมทำให้เกิดความเจ็บปวด มากขึ้น แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ เปรียบเหมือนถ่านไม้มะพลับถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมปะทุเกินประมาณ แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วย ความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๓ ติกนิบาต หน้า ๑๕๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๘. คูถภาณีสูตร

เปรียบเหมือนหลุมคูถถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมส่งกลิ่นเหม็นรุนแรงขึ้น แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือกันแล เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วย ความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ บุคคลเช่นนี้ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่าบุคคลนั้นอาจด่าเราบ้าง บริภาษเราบ้าง ทำเราให้ฉิบหายบ้าง เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควร เข้าไปนั่งใกล้ บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีศีล มีธรรมงาม บุคคลเช่นนี้ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าคนทั่วไปแม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคล เช่นนี้ แต่กิตติศัพท์อันงามของเขาก็ขจรไปว่า “คนคบมิตรดี คบสหายดี คบเพื่อนดี” เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บุคคลคบผู้ต่ำทรามย่อมพลอยต่ำทรามไปด้วย แต่คบผู้ที่เสมอกันย่อมไม่เสื่อมในกาลไหนๆ คบผู้ที่สูงกว่าย่อมเด่นขึ้นทันตาเห็น เพราะฉะนั้นจึงควรคบผู้ที่สูงกว่าตน
ชิคุจฉิตัพพสูตรที่ ๗ จบ
๘. คูถภาณีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พูดภาษาคูถ
[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้พูดภาษาคูถ ๒. บุคคลผู้พูดภาษาดอกไม้ ๓. บุคคลผู้พูดภาษาน้ำผึ้ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๙. อันธสูตร

บุคคลผู้พูดภาษาคูถ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า “ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น” บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า “รู้” หรือรู้ก็กล่าวว่า “ไม่รู้” ไม่เห็นก็กล่าวว่า “เห็น” หรือเห็นก็กล่าวว่า “ไม่เห็น” กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตน เป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้พูดภาษาคูถ บุคคลผู้พูดภาษาดอกไม้ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า “ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น” บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า “ไม่รู้” หรือรู้ก็กล่าวว่า “รู้” ไม่เห็นก็กล่าวว่า “ไม่เห็น” หรือเห็นก็กล่าวว่า “เห็น” ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตน เป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้พูดภาษาดอกไม้ บุคคลผู้พูดภาษาน้ำผึ้ง เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือพูดแต่คำที่ไม่มี โทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ นี้เรียกว่า บุคคลผู้พูดภาษาน้ำผึ้ง ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
คูถภาณีสูตรที่ ๘ จบ
๙. อันธสูตร
ว่าด้วยบุคคลตาบอด
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลตาบอด ๒. บุคคลตาเดียว ๓. บุคคลสองตา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๙. อันธสูตร

บุคคลตาบอด เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่มีนัยน์ตา๑- เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือ ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน และเขาไม่มีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาบอด บุคคลตาเดียว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีนัยน์ตาเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน แต่เขาไม่มีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาเดียว บุคคลสองตา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีนัยน์ตาเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน และเขามีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลสองตา ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก โภคทรัพย์อย่างนั้นไม่มีแก่บุคคลตาบอด และบุคคลตาบอดย่อมไม่ทำบุญ โทษเคราะห์ย่อมมีแก่บุคคลตาบอด ผู้มีนัยน์ตาเสียในโลกทั้งสอง ในกาลต่อมา เราได้กล่าวถึงบุคคลตาเดียวนี้ไว้ ก็บุคคลตาเดียวหมกมุ่นกับธรรมและอธรรม แสวงหาโภคทรัพย์ด้วยการคดโกงและการพูดเท็จ อันเป็นการลักขโมยทั้งสองอย่าง @เชิงอรรถ : @ นัยน์ตา ในที่นี้หมายถึงปัญญาจักษุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๙/๑๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๑๐. อวกุชชสูตร

ก็มาณพผู้เป็นกามโภคีบุคคล เป็นคนฉลาดที่จะรวบรวมโภคทรัพย์ เขาเป็นคนตาเดียวจากโลกนี้ไปสู่นรกย่อมเดือดร้อน ส่วนบุคคลสองตา เรากล่าวว่าเป็นบุคคลผู้ประเสริฐที่สุด เขาให้ทรัพย์ที่ตนได้มาด้วยความหมั่นเป็นทาน จากโภคทรัพย์ที่ตนหาได้โดยชอบธรรม มีความดำริประเสริฐ มีจิตใจไม่วอกแวก ย่อมเข้าถึงฐานะที่เจริญซึ่งไปแล้วไม่เศร้าโศก บุคคลควรเว้นให้ห่างไกลจากบุคคลตาบอดและบุคคลตาเดียว แต่ควรคบบุคคลสองตาที่ประเสริฐที่สุด
อันธสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อวกุชชสูตร
ว่าด้วยบุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ ๒. บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก ๓. บุคคลมีปัญญากว้างขวาง(เหมือนหม้อหงาย) บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์๑- พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน @เชิงอรรถ : @ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งรวมอยู่ในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญาอันเป็น @ความประพฤติประเสริฐ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๐/๑๐๘-๑๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๑๐. อวกุชชสูตร

แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ แม้ ลุกจากที่นั้นแล้วก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของกถานั้นไม่ได้ เปรียบเหมือน หม้อคว่ำที่เขาเทน้ำลงไป น้ำย่อมไหลราดไป ไม่ขังอยู่แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลก นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นก็ไม่ได้ แม้ ลุกจากที่นั้นแล้วก็ยังจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ นี้เรียกว่า บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แต่ลุกจาก ที่นั้นแล้วก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษเก็บ ของเคี้ยวต่างๆ คือ งา ข้าวสาร ขนมต้ม พุทราไว้ที่ชายพก บุรุษนั้นเมื่อลุกจากที่ นั้นพึงทำเรี่ยราดเพราะเผลอสติแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความ งามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำ เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แต่ลุกจากที่นั้นแล้ว ก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ นี้เรียกว่า บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก บุคคลมีปัญญากว้างขวาง เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แม้ลุกจากที่ นั้นแล้วก็ยังจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ เปรียบเหมือนหม้อหงาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๑๐. อวกุชชสูตร

ที่เขาเทน้ำลงไป น้ำย่อมขังอยู่ไม่ไหลราดไป แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกันแล ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่ง ตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แม้ลุกจากที่นั้นแล้วก็ยัง จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ นี้เรียกว่า บุคคลมีปัญญากว้างขวาง ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ เป็นคนเขลา ไม่มีปัญญาสำหรับพิจารณา บุคคลเช่นนั้นแม้จะหมั่นไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย ก็ไม่อาจเล่าเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถาได้ เพราะเขาไม่มีปัญญา บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก เรากล่าวว่า ดีกว่าบุคคลที่มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ บุคคลเช่นนั้นแม้หมั่นไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย นั่งตรงที่นั้นเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถา ครั้นลุกขึ้นแล้วก็กำหนดรู้พยัญชนะไม่ได้ เพราะพยัญชนะที่เขาเรียนแล้วเลอะเลือนไป ส่วนบุคคลมีปัญญากว้างขวาง เรากล่าวว่า ดีกว่าบุคคลที่มีปัญญาเหมือนชายพก บุคคลเช่นนั้นหมั่นไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย นั่งตรงที่นั้นเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้น จำพยัญชนะได้ มีความดำริประเสริฐ มีจิตใจไม่วอกแวก ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
อวกุชชสูตรที่ ๑๐ จบ
ปุคคลวรรคที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๑. สพรหมกสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สวิฏฐสูตร ๒. คิลานสูตร ๓. สังขารสูตร ๔. พหุการสูตร ๕. วชิรูปมสูตร ๖. เสวิตัพพสูตร ๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร ๘. คูถภาณีสูตร ๙. อันธสูตร ๑๐. อวกุชชสูตร
๔. เทวทูตวรรค
หมวดว่าด้วยเทวทูต
๑. สพรหมกสูตร
ว่าด้วยสกุลที่มีพรหม
[๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุตรของสกุลใดบูชาบิดามารดา ในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีพรหม บุตรของสกุลใดบูชาบิดามารดาในเรือนตน สกุล นั้นชื่อว่ามีบุรพาจารย์ บุตรของสกุลใดบูชาบิดามารดาในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามี อาหุไนยบุคคล คำว่า พรหม นี้เป็นชื่อของบิดามารดา คำว่า บุรพาจารย์ นี้เป็นชื่อของ บิดามารดา คำว่า อาหุไนยบุคคล นี้เป็นชื่อของบิดามารดา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบิดามารดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร บิดามารดาผู้อนุเคราะห์ประชา ท่านเรียกว่า พรหม บุรพาจารย์ และอาหุไนยบุคคลของบุตร เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงนมัสการ และสักการะบิดามารดานั้นด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การอบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการล้างเท้า เพราะการปรนนิบัติบิดามารดานั้น บัณฑิตจึงสรรเสริญในโลกนี้เอง เขาตายไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
สพรหมกสูตรที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๒. อานันทสูตร

๒. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาค
[๓๒] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่ภิกษุได้สมาธิอย่างที่ไม่ต้องมีอหังการ๑- (การถือว่า เป็นเรา) มมังการ๒- (การถือว่าเป็นของเรา) และมานานุสัย(กิเลสนอนเนื่องคือความ ถือตัว) ทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกทั้งปวง๓- และการที่ภิกษุผู้เข้าถึง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยอยู่ พึงมีได้หรือหนอ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิอย่างที่ไม่ต้องมี อหังการ มมังการและมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอก ทั้งปวง และการที่ภิกษุผู้เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มีอหังการ มมังการ และ มานานุสัยอยู่ พึงมีได้” ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “การที่ภิกษุได้สมาธิอย่างที่ไม่ต้องมีอหังการ มมังการ และมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกทั้งปวง และ การที่ภิกษุผู้เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย อยู่ พึงมีได้อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาตรัสตอบว่า อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ธรรมชาตินั่นสงบ นั่นประณีต คือความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ นิพพาน’ อานนท์ การที่ภิกษุ ได้สมาธิอย่างที่ไม่ต้องมีอหังการ มมังการ และมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกทั้งปวง และการที่ภิกษุผู้เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มี อหังการ มมังการ และมานานุสัยอยู่ พึงมีได้อย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ อหังการ หมายถึงทิฏฐิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๒/๑๑๓) @ มมังการ หมายถึงตัณหา (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๒/๑๑๓) @ นิมิตภายนอกทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๒/๑๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๓. สารีปุตตสูตร

อานนท์ เราหมายเอาเช่นนี้จึงกล่าวไว้ในปุณณกปัญหาในปารายนวรรค ดังนี้ว่า บุคคลใดรู้อัตภาพของผู้อื่นและของตนในโลก ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้หวั่นไหวในโลกไหนๆ เรากล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นผู้สงบ ไม่มีกิเลสทำให้จิตมัวหมอง ไม่มีกิเลสกระทบจิต ไม่มีความทะเยอทะยาน ข้ามพ้นชาติและชราได้แล้ว
อานันทสูตรที่ ๒ จบ
๓. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาค
[๓๓] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “สารีบุตร เราแสดงธรรมโดยย่อก็ได้ เราแสดงธรรมโดยพิสดารก็ได้ เรา แสดงธรรมทั้งโดยย่อและโดยพิสดารก็ได้ แต่บุคคลผู้รู้ทั่วถึงธรรมหาได้ยาก” ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาล ข้าแต่ พระสุคต บัดนี้เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคพึงแสดงธรรมโดยย่อ พึงแสดงธรรมโดย พิสดาร พึงแสดงธรรมทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร จักมีผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก อย่างนี้ว่า “จักไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และ ในนิมิตภายนอกทั้งปวง และเราทั้งหลายจักเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มี อหังการ มมังการ และมานานุสัยอยู่” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล เพราะภิกษุไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้และ ในนิมิตภายนอกทั้งปวง และเพราะภิกษุผู้เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยอยู่ เราจึงเรียกว่า ภิกษุนี้ตัดตัณหา ถอนสังโยชน์ ทำที่สุด แห่งทุกข์ เพราะรู้ยิ่งด้วยการละมานะได้โดยชอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๔. นิทานสูตร

เราหมายเอาเช่นนี้จึงกล่าวไว้ในอุทยปัญหาในปารายนวรรค ดังนี้ว่า เรากล่าวอัญญาวิโมกข์๑- ซึ่งเป็นธรรม สำหรับละธรรมทั้งสองคือกามสัญญา๒- และโทมนัส เป็นธรรมบรรเทาถีนะ(ความง่วง) เป็นธรรมปิดกั้นกุกกุจจะ(ความร้อนใจ) ซึ่งบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาและสติ มีการตรึกตรองธรรม๓- เป็นธรรมเกิดก่อน และเป็นธรรมเครื่องทำลายอวิชชา(ความไม่รู้แจ้ง)
สารีปุตตสูตรที่ ๓ จบ
๔. นิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งกรรม
[๓๔] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้ เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. โลภะ (ความอยากได้) เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓. โมหะ (ความหลง) เป็นเหตุให้เกิดกรรม กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด๔- ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้น ให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป @เชิงอรรถ : @ อัญญาวิโมกข์ หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๓/๑๑๕-๑๑๖) @ กามสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นปรารภกาม หรือสัญญาที่สหรคตด้วยโลภจิต ๘ ดวง @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๓/๑๑๕) @ การตรึกตรองธรรม (ธัมมตักกะ) ในที่นี้หมายถึงสัมมาสังกัปปะในอริยมรรคมีองค์ ๘ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๓/๑๑๖) @ มีโลภะเป็นแดนเกิด หมายถึงมีโลภะเป็นปัจจัย กล่าวคือมีโลภะเป็นเหตุให้เกิด (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๔/๑๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๔. นิทานสูตร

กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้น ให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้น ให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป เปรียบเหมือน เมล็ดพืชที่ไม่แตกหัก ไม่เสียหาย ไม่ถูกลมและแดดกระทบ มีแก่นใน ถูกเก็บไว้อย่างดี ถูกหว่านลงบนพื้นดินที่เตรียมไว้ดี ในนาดี และฝนก็ตกดี เมล็ดพืชที่ฝนตกรดอย่างนั้น ย่อมถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ แม้ฉันใด กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรม นั้นในขันธ์ที่กรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ เกิดจากโมหะ มีโมหะ เป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวย ผลกรรมนั้น ในขันธ์ที่กรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้แล เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้ เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อโลภะ (ความไม่โลภ) เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๒. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย) เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓. อโมหะ (ความไม่หลง) เป็นเหตุให้เกิดกรรม กรรมที่ถูกอโลภะครอบงำ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดน เกิด เมื่อสิ้นโลภะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้ ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้นตาล ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ กรรมที่ถูกอโทสะครอบงำ เกิดจากอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ มีอโทสะเป็นแดน เกิด เมื่อสิ้นโทสะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้ ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้น ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๔. นิทานสูตร

กรรมที่ถูกอโมหะครอบงำ เกิดจากอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดน เกิด เมื่อสิ้นโมหะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้ ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้น ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เมล็ดพืชไม่แตกหัก ไม่เสียหาย ไม่ถูกลมและแดดกระทบ มีแก่นใน ถูกเก็บ ไว้อย่างดี บุรุษพึงเอาไฟเผาเมล็ดพืชเหล่านั้น ครั้นเอาไฟเผาแล้ว ทำให้เป็นเขม่า ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้วพึงโปรยลงในลมที่พัดแรง หรือลอยเสียในแม่น้ำมีกระแสไหลเชี่ยว เมล็ดพืชอันนั้นชื่อว่าถูกตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือ แต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ แม้ฉันใด กรรมที่ถูกอโลภะครอบงำ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดน เกิด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสิ้นโลภะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้ ตัดรากถอน โคนได้เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น ต่อไปไม่ได้ กรรมที่ถูกอโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูกอโมหะครอบงำ เกิดจากอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดนเกิด เมื่อสิ้นโมหะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้ ฯลฯ เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้แล คนเขลาทำกรรมที่เกิดเพราะโลภะ โทสะ และโมหะ กรรมที่คนเขลานั้นทำแล้วจะมากหรือน้อยก็ตาม ย่อมให้ผลในอัตภาพนี้แล สิ่งอื่น(ที่จะรองรับผลกรรมนั้น)ไม่มี เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้รู้โลภะ โทสะ และโมหะ (จึงไม่ทำ)กรรมที่เกิด เพราะเมื่อทำวิชชา๑- ให้เกิดขึ้น ย่อมละทุคติทั้งปวงได้
นิทานสูตรที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ วิชชา ในที่นี้หมายถึงอรหัตตมัคควิชชา(ความรู้แจ้งอรหัตตมรรค) (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๔/๑๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๕. หัตถกสูตร

๕. หัตถกสูตร
ว่าด้วยหัตถกกุมารทูลถามถึงความสุข
[๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บนที่ลาดใบไม้ในสีสปาวัน (ป่าไม้สีเสียด) ใกล้ทางเดินของโค เขตกรุงอาฬวี ครั้งนั้น หัตถกกุมารชาวกรุงอาฬวี เดินพักผ่อนอิริยาบถ ได้เห็นพระผู้มีพระ ภาคประทับนั่งบนที่ลาดใบไม้ในสีสปาวัน ใกล้ทางเดินของโค จึงเข้าไปเฝ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระ ผู้มีพระภาคผู้เจริญ พระองค์ทรงอยู่สุขสบายดีหรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่างนั้น กุมาร เราอยู่เป็นสุขดี และเราเป็น หนึ่งในบรรดาคนที่อยู่เป็นสุขในโลก” หัตถกกุมารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีในฤดูหนาวตั้งอยู่ใน ระหว่าง๑- เป็นสมัยที่หิมะตกพื้นดินแข็ง แตกระแหง ที่ลาดใบไม้บาง ใบไม้ทั้งหลาย อยู่ห่างกัน ผ้ากาสายะ(ผ้าย้อมน้ำฝาด)เย็น และลมเวรัมภะ๒- ที่เยือกเย็นก็กำลังพัด” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า “อย่างนั้น กุมาร เราอยู่สุขสบายดี เราเป็นหนึ่งในบรรดาคนที่อยู่เป็นสุขในโลก” พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปอีกว่า “ถ้าอย่างนั้นในเรื่องนี้ เราจักย้อนถามเธอ เธอพึงตอบปัญหานั้นตามที่เธอชอบใจ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เรือนยอด๓- ของ คหบดีหรือบุตรคหบดีในโลกนี้ที่เขาโบกทั้งภายในและภายนอก ลมพัดเข้าไม่ได้ มี @เชิงอรรถ : @ ราตรีในฤดูหนาวตั้งอยู่ในระหว่าง หมายถึงช่วงระยะเวลา ๘ วันที่มีหิมะตก คือช่วงระหว่าง ๔ วัน @ปลายเดือน ๓ กับ ๔ วันต้นเดือน ๔ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๑) @ ลมเวรัมภะ หมายถึงลมที่พัดมาจาก ๔ ทิศพร้อมๆ กัน ส่วนลมที่พัดมาจากทิศใดทิศหนึ่ง ไม่เรียกว่า @ลมเวรัมภะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๑) @ เรือนยอด คือเรือนที่มีหลังคาทรงสูง (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๕. หัตถกสูตร

บานประตูปิดมิดชิด หน้าต่างปิดสนิท ในเรือนยอดนั้นพึงมีบัลลังก์๑- ลาดด้วยผ้าโกเชาว์๒- ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะลายดอก ไม้ ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด ข้างบนมีเพดาน มีหมอนสีแดง วางไว้ทั้ง ๒ ข้าง๓- และประทีปน้ำมันส่องสว่างอยู่ในเรือนนี้ ประชาบดี ๔ นาง พึงบำรุงด้วยวิธีที่น่าชอบใจ น่าพอใจ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คหบดีหรือบุตร คหบดีนั้นพึงอยู่เป็นสุขหรือไม่ หรือเธอเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร” “คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นพึงอยู่เป็นสุข และเขาเป็นคนหนึ่งในบรรดาคนที่ อยู่เป็นสุขในโลก พระพุทธเจ้าข้า” “กุมาร เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ความเร่าร้อนทางกายหรือทางใจที่เกิด เพราะราคะซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ที่ถูกแผดเผาอยู่เป็นทุกข์ พึงเกิดขึ้นแก่คหบดีหรือบุตร คหบดีนั้นบ้างไหม” “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “กุมาร คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะราคะใดแผดเผา อยู่พึงอยู่เป็นทุกข์ ราคะนั้นตถาคตละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้น ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราจึงอยู่เป็นสุข กุมาร เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ความเร่าร้อนทางกายหรือทางใจ ที่เกิดเพราะโทสะ ฯลฯ ความเร่าร้อนทางกายหรือทางใจที่เกิดเพราะโมหะ ซึ่งเป็น เหตุให้ผู้ที่ถูกแผดเผาอยู่เป็นทุกข์ พึงเกิดขึ้นแก่คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นบ้างไหม” “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “กุมาร คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นถูกความเร่าร้อนที่เกิดจากโมหะใดแผดเผาอยู่ โมหะนั้นตถาคตละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด รากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราจึงอยู่เป็นสุข” @เชิงอรรถ : @ บัลลังก์ ในที่นี้หมายถึงเตียงมีเท้าแกะสลักเป็นรูปสัตว์ร้าย (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙) @ ผ้าโกเชาว์ หมายถึงผ้าที่ทำด้วยขนแพะหรือขนแกะผืนใหญ่ มีขนยาวเกิน ๔ นิ้ว (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙) @ หมอนสีแดงวางไว้ทั้ง ๒ ข้าง นี้หมายถึงหมอนที่ใช้สำหรับหนุนศีรษะ ๑ ใบ และใช้หนุนเท้า ๑ ใบ วาง @ไว้ส่วนศีรษะและส่วนเท้า (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙-๑๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๖. เทวทูตสูตร

พราหมณ์๑- ผู้ดับกิเลสแล้วย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ ผู้ไม่ติดอยู่ในกาม๒- เป็นคนเยือกเย็น ไม่มีอุปธิกิเลส ตัดกิเลสเครื่องข้องทุกอย่างแล้ว พึงกำจัดความกระวนกระวายในใจ เข้าถึงความสงบ๓- ย่อมอยู่เป็นสุข
หัตถกสูตรที่ ๕ จบ
๖. เทวทูตสูตร
ว่าด้วยเทวทูต
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เทวทูต๔- ๓ จำพวกนี้ เทวทูต ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยกาย) วจีทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) และมโนทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วย ใจ) หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นาย นิรยบาล๕- จับแขนเขาไปแสดงต่อพญายม๖- ว่า “ขอเดชะ คนผู้นี้ไม่เกื้อกูล มารดา ไม่เกื้อกูลบิดา ไม่เกื้อกูลสมณะ ไม่เกื้อกูลพราหมณ์ และไม่ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล ขอพระองค์จงลงโทษแก่คนผู้นี้เถิด” @เชิงอรรถ : @ พราหมณ์ ในที่นี้หมายถึงผู้สิ้นอาสวะ ลอยบาปได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๒) @ ไม่ติดอยู่ในกาม ในที่นี้หมายถึงไม่ติดอยู่ในวัตถุกามและกิเลสกามด้วยอำนาจกิเลสคือตัณหาและ @มิจฉาทิฏฐิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๒) @ ความสงบ ในที่นี้หมายถึงกิเลสนิพพาน(ความดับกิเลส) (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๒) @ เทวทูต ในทีนี้หมายถึงสื่อแจ้งข่าวมฤตยู เป็นสัญญาณที่เตือนให้ระลึกถึงคติธรรมดาของชีวิตมิให้ประมาท @ได้แก่ ความแก่ ความเจ็บ และความตาย ปรากฏเสมือนเทวดาทรงเครื่องประดับมายืนในอากาศ เตือนว่า @“วันโน้นท่านจะตาย” (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๖/๑๓๒) @ นายนิรยบาล หมายถึงผู้ทำหน้าที่ลงโทษสัตว์นรก (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๖/๑๓๓) @ พญายม หมายถึงพญาเวมานิกเปรต ซึ่งบางครั้งเสวยสมบัติในวิมานทิพย์ บางคราวเสวยวิบากแห่งกรรม @และพญายมนั้นมิใช่มีตนเดียว แต่มีถึง ๔ ตน ประจำประตูนรก ๔ ประตู (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๖/๑๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๖. เทวทูตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย พญายมสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๑ ว่า “เจ้า ไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๑ ปรากฏในหมู่มนุษย์บ้างหรือ” เขาตอบว่า “ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า” พญายมถามเขาว่า “ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษมีอายุ ๘๐ ปี ... ๙๐ ปี ... หรือ ๑๐๐ ปี ... เป็นคนชรา มีซี่โครงคด หลังโกง หลังค่อม ถือไม้เท้า เดินงกๆ เงิ่นๆ เก้ๆ กังๆ หมดความเป็นหนุ่มสาว ฟันหัก ผมหงอก ศีรษะล้าน หนังเหี่ยว ตัวตกกระ เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ” เขาตอบว่า “เคยเห็น พระเจ้าข้า” พญายมถามเขาว่า “เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้เลย หรือว่า ‘ถึงตัวเราก็มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เอาเถอะ เราจะทำความดีทางกาย วาจา และใจ” เขาตอบว่า “ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า” พญายมถามเขาว่า “เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัว ประมาทอยู่ เอาเถอะ เขาจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เทวดา สมณพราหมณ์ไม่ได้ทำให้เลย เจ้าทำเองแท้ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น” ๒. พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๑ แล้วจึงสอบสวน ซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๒ ว่า “เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๒ ปรากฏ ในหมู่มนุษย์บ้างหรือ” เขาตอบว่า “ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า” พญายมถามเขาว่า “ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษป่วย ประสพทุกข์ เป็นไข้หนัก นอนจมอยู่ในมูตรและกรีสของตน ผู้อื่นต้องช่วยพยุงให้ลุกขึ้นช่วยป้อนอาหาร เจ้า ไม่เคยเห็นบ้างหรือ” เขาตอบว่า “เคยเห็น พระเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๖. เทวทูตสูตร

พญายมถามเขาว่า “เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่เคยคิดบ้างหรือว่า ‘ถึงตัวเราก็ต้องป่วยไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความป่วยไข้ไปได้ เอาเถอะ เราจะ ทำความดีทางกาย วาจา และใจ” เขาตอบว่า “ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า” พญายมถามเขาว่า “เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัว ประมาทอยู่ เอาเถอะ เขาจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เทวดา สมณพราหมณ์ไม่ได้ทำให้เลย เจ้าทำเองแท้ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น” ๓. พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๒ แล้วจึงสอบสวน ซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๓ ว่า “เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๓ ที่ปรากฏในหมู่มนุษย์บ้างหรือ” เขาตอบว่า “ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า” พญายมถามเขาว่า “ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษที่ตายได้ ๑ วัน ๒ วัน หรือ ๓ วัน พองขึ้น เป็นสีเขียว มีน้ำเหลืองแตกซ่าน เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ” เขาตอบว่า “เคยเห็น พระเจ้าข้า” พญายมถามเขาว่า “เจ้าเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่เคยคิดบ้างหรือว่า ถึงตัวเราก็มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เอาเถอะ เราจะทำ ความดีทางกาย วาจา และใจ” เขาตอบว่า “ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า” พญายมถามเขาว่า “เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัว ประมาทอยู่ เอาเถอะ เขาจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เทวดา สมณพราหมณ์ไม่ได้ทำให้เลย เจ้าทำเองแท้ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น” พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๓ นั้นแล้วก็นิ่งเสีย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๗. ยมราชสูตร

นายนิรยบาลจึงทำกรรมกรณ์๑- ชื่อเครื่องพันธนาการ ๕ อย่าง คือ ตอก ตะปูเหล็กแดง ที่มือ ๒ ข้าง ที่เท้า ๒ ข้าง และที่กลางอก เขาเสวยทุกขเวทนา กล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลฉุดลากเขาไป เอาขวานถาก เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจับเขา เอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง เอามีดเฉือน ฯลฯ จับเขาเทียม รถแล่นกลับไปกลับมาบนพื้นอันร้อนลุกเป็นเปลวโชติช่วง ฯลฯ บังคับเขาขึ้นลงภูเขา ถ่านเพลิงลูกใหญ่ ที่ไฟลุกโชน ฯลฯ จับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง ทุ่มลงในโลหกุมภี อันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ เขาถูกต้มเดือดจนตัวพองในโลหกุมภีนั้น บางครั้งลอยขึ้น บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ ในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจึงทุ่มเขาลงในมหานรก ก็มหานรกนั้น มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก มีพื้นเป็นเหล็กลุกโชนโชติช่วง แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ตั้งอยู่ทุกเมื่อ
เทวทูตสูตรที่ ๖ จบ
๗. ยมราชสูตร
ว่าด้วยพญายม
[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พญายมได้มีความคิดดังนี้ว่า “ชน เหล่าใดทำบาปกรรมไว้ในโลก ชนเหล่านั้นถูกนายนิรยบาลทรมานด้วยวิธีการต่างๆ อย่างนี้ โอหนอ เราพึงได้ความเป็นมนุษย์ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงเสด็จอุบัติในโลก เราพึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระ องค์นั้นพึงแสดงธรรมแก่เรา และเราพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น” @เชิงอรรถ : @ เครื่องสำหรับลงอาญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๘. จตุมหาราชสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราได้ฟังข้อความนั้นต่อจากสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วจึง กล่าวอย่างนี้ก็หาไม่ แต่เรากล่าวสิ่งที่เรารู้เอง เห็นเอง ทราบเองเท่านั้น มาณพเหล่าใดอันเทวทูตตักเตือนแล้ว ยังประมาทอยู่ มาณพเหล่านั้นเข้าถึงหมู่ที่เลว ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน ส่วนสัตบุรุษเหล่าใดเป็นผู้สงบในโลกนี้ อันเทวทูตตักเตือนแล้ว ไม่ประมาทในอริยธรรมในเวลาใดๆ เห็นภัยในความยึดมั่นถือมั่น ที่เป็นบ่อเกิดแห่งการเกิดและการตาย ย่อมหลุดพ้นในธรรมเป็นที่สิ้นการเกิดและการตาย เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น สัตบุรุษเหล่านั้นจึงถึงความเกษม มีความสุข ดับสนิทในปัจจุบัน ล่วงพ้นเวรและภัยทุกอย่าง ข้ามพ้นทุกข์ทั้งสิ้น
ยมราชสูตรที่ ๗ จบ
๘. จตุมหาราชสูตร
ว่าด้วยท้าวมหาราชทั้ง ๔
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ในวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ เทวดาผู้เป็นบริวาร ผู้ช่วยเหลือ ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำ อุโบสถ๑- อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ๒- ทำบุญ๓- กันอยู่ มีอยู่มากหรือหนอ @เชิงอรรถ : @ อยู่จำอุโบสถ ในที่นี้หมายถึงอธิษฐานอยู่จำอุโบสถศีล กล่าวคือศีล ๘ เดือนละ ๘ ครั้ง @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๗) @ ปฏิชาครอุโบสถ หมายถึงการรักษาอุโบสถศีลในวันรับและวันส่ง วันรับคือ วัน ๔ ค่ำ, ๗ ค่ำ และ ๑๓ ค่ำ @สำหรับเดือนขาด หรือวัน ๑๔ ค่ำ สำหรับเดือนเต็ม วันส่งคือ ๖ ค่ำ, ๙ ค่ำ และ ๑ ค่ำ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๗) @ ทำบุญ ในที่นี้หมายถึงการถึงสรณะว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก รักษาศีล บูชาด้วยดอกไม้ ฟังธรรม จุดประทีป @พันดวง และการสร้างวิหาร (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๘. จตุมหาราชสูตร

ในวัน ๑๔ ค่ำแห่งปักษ์ บุตรของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มีอยู่มากหรือหนอ ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลกนี้ด้วยตัวเองว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มีอยู่มากหรือหนอ ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูล พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มีอยู่น้อย ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ย่อมรายงานเหตุนั้นแก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่นั่งประชุม ร่วมกันในสภาชื่อสุธัมมาว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ผู้เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มีจำนวนน้อย เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์จึงพากันเสียใจว่า “หมู่เทพจักเสื่อม หมู่อสูรจักบริบูรณ์” ก็ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ผู้เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มีจำนวนมาก ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ย่อมรายงานเหตุนั้นแก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่นั่งประชุม ร่วมกันในสภาชื่อสุธัมมาว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ผู้เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มีจำนวนมาก เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์จึงพากันดีใจว่า “หมู่เทพจักบริบูรณ์ หมู่อสูรจักเสื่อม” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๘. จตุมหาราชสูตร

เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อแนะนำพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ได้ ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า นรชนแม้ใดผู้เช่นกับเราพึงอยู่จำอุโบสถ ประกอบด้วยองค์ ๘ ๑- สิ้นวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์๒- คาถานี้ท้าวสักกะจอมเทพขับผิด ขับไม่ดี กล่าวผิด กล่าวไม่ดี ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะท้าวสักกะจอมเทพ ยังไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ ไม่ปราศจากโมหะ ส่วนภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว๓- บรรลุประโยชน์ตน๔- โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์๕- แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นควรกล่าวคำว่า นรชนแม้ใดผู้เช่นกับเราพึงอยู่จำอุโบสถ ประกอบด้วยองค์ ๘ สิ้นวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ
จตุมหาราชสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ องค์ ๘ ในที่นี้หมายถึงศีล ๘ @ ปาฏิหาริยปักษ์ ในที่นี้หมายถึงอุโบสถที่รักษาประจำตลอด ๓ เดือน ภายในพรรษา ถ้าไม่อาจรักษา ๓ @เดือนได้ก็รักษา ๑ เดือน ในระหว่างวันปวารณาทั้งสอง หรือถ้าไม่อาจรักษาได้ถึง ๑ เดือน ก็รักษาตลอด @ครึ่งเดือนตั้งแต่วันปวารณาต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙) @ ปลงภาระได้แล้ว ในที่นี้หมายถึงปลงขันธภาระได้ ปลงกิเลสภาระได้ และปลงอภิสังขารภาระได้ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙) @ บรรลุประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงบรรลุพระอรหัตตผล (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙) @ สิ้นภวสังโยชน์ หมายถึงสิ้นกิเลสที่เป็นเครื่องผูกสัตว์ คร่าสัตว์มาไว้ในภพทั้งหลาย @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๙. สุขุมาลสูตร

๘. ทุติยจตุมหาราชสูตร
ว่าด้วยท้าวมหาราชทั้ง ๔ สูตรที่ ๒
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อแนะนำพวก เทวดาชั้นดาวดึงส์ได้ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า นรชนแม้ใดผู้เช่นกับเรา พึงอยู่จำอุโบสถ ประกอบด้วยองค์ ๘ สิ้นวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์ คาถานี้ท้าวสักกะจอมเทพขับผิด ขับไม่ดี กล่าวผิด กล่าวไม่ดี ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะท้าวสักกะจอมเทพยังไม่พ้นจากชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่) มรณะ (ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) เรากล่าวว่า ยังไม่พ้นจากทุกข์ ส่วนภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นควรกล่าวคำว่า นรชนแม้ใดผู้เช่นกับเรา พึงอยู่จำอุโบสถ ประกอบด้วยองค์ ๘ สิ้นวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นพ้นแล้วจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า พ้นจากทุกข์
ทุติยจตุมหาราชสูตรที่ ๘ จบ
๙. สุขุมาลสูตร
ว่าด้วยสุขุมาลชาติ
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย เราเป็นผู้สุขุมาลชาติ๑- เป็นผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่ง เป็น ผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่งยวด ได้ทราบว่า พระราชบิดารับสั่งให้ขุดสระโบกขรณี (สระบัว) @เชิงอรรถ : @ สุขุมาลชาติ ในที่นี้หมายถึงไม่มีทุกข์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๙/๑๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๙. สุขุมาลสูตร

ไว้เพื่อเราภายในที่อยู่ ได้ทราบว่า พระราชบิดานั้นรับสั่งให้ปลูกอุบลไว้ในสระหนึ่ง ปลูกปทุมไว้ในสระหนึ่ง ปลูกปุณฑริก(บัวขาว)ไว้ในสระหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่เรา เรา ไม่ได้ใช้เฉพาะไม้จันทน์แคว้นกาสี(พาราณสี)เท่านั้น ผ้าโพกของเราก็ทำในแคว้นกาสี เสื้อก็ทำในแคว้นกาสี ผ้านุ่งก็ทำในแคว้นกาสี ผ้าห่มก็ทำในแคว้นกาสี ทั้งคนรับใช้ คอยกั้นเศวตฉัตรให้เราตลอดวันและคืนด้วยหวังว่า หนาว ร้อน ธุลี หญ้า หรือ น้ำค้างอย่าได้กระทบพระองค์ท่าน เรานั้นมีปราสาทอยู่ ๓ หลัง คือ ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน เรานั้นได้รับการบำเรอด้วย ดนตรีที่ไม่ใช่บุรุษบรรเลง ตลอด ๔ เดือนฤดูฝน ในปราสาทฤดูฝน ไม่ได้ลงข้างล่าง ปราสาทเลย ก็แลในที่อยู่ของคนเหล่าอื่น เขาให้ข้าวป่น(ข้าวหัก)มีน้ำผักดองเป็นกับ แก่ทาส คนงาน และคนรับใช้ ฉันใด ในนิเวศน์ของพระราชบิดาของเราก็ฉันนั้น เหมือนกัน เขาให้ข้าวสาลีสุกผสมเนื้อแก่ทาส คนงาน และคนรับใช้ เรานั้นเพียบพร้อมด้วยความสำเร็จอย่างนี้ และเป็นผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่ง ได้มีความคิดว่า ปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ ตนเองเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วง พ้นความแก่ไปได้ เห็นบุคคลอื่นแก่ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจ ลืมตัว ไม่คิดว่า แม้เราเองก็มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ การที่เราผู้มีความแก่ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เห็นบุคคลอื่นแก่ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจนั้น ไม่สมควรแก่เราเลย เรานั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ จึงละความมัวเมาในความ เป็นหนุ่มสาวได้โดยประการทั้งปวง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ตนเองเป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ เจ็บไข้ไปได้ เห็นบุคคลอื่นเจ็บไข้ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจ ลืมตัว ไม่คิดว่า แม้ เราเองก็มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ การที่เราผู้มีความ เจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้เห็นบุคคลอื่นเจ็บไข้ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจนั้น ไม่สมควรแก่เราเลย เรานั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ จึงละความมัว เมาในความไม่มีโรคได้โดยประการทั้งปวง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๙. สุขุมาลสูตร

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ตนเองเป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตาย ไปได้ เห็นบุคคลอื่นตาย ก็อึดอัด ระอา รังเกียจ ลืมตัว ไม่คิดว่า แม้เราเองก็ มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ การที่เราผู้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เห็นบุคคลอื่นตาย ก็อึดอัด ระอา รังเกียจนั้น ไม่สมควร แก่เราเลย เรานั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ จึงละความมัวเมาในชีวิตได้โดยประการ ทั้งปวง ความมัวเมา ๓ ประการนี้ ความมัวเมา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ๒. ความมัวเมาในความไม่มีโรค ๓. ความมัวเมาในชีวิต ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ มัวเมาในความไม่มีโรค ฯลฯ หรือปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ มัวเมาในชีวิต ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิด ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ภิกษุผู้มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวย่อมบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ภิกษุผู้มัวเมาในความไม่มีโรคย่อมบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ หรือภิกษุผู้ มัวเมาในชีวิตย่อมบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ปุถุชนทั้งหลายมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดาและมีความตายเป็นธรรมดา เป็นอยู่ตามสภาวะ ย่อมพากันรังเกียจ(บุคคลอื่น) ก็การที่เรารังเกียจความป่วยไข้เป็นต้นนี้ ในหมู่สัตว์ผู้มีสภาวะอย่างนี้นั้น ไม่สมควรแก่เราผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๐๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๑๐. อาธิปเตยยสูตร

เรานั้นอยู่อย่างนี้ รู้ธรรมที่หมดอุปธิ๑- เห็นความสำราญในเนกขัมมะ๒- ย่อมครอบงำความมัวเมาทุกอย่าง คือ ความมัวเมาในความไม่มีโรค ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว และความมัวเมาในชีวิต ความพยายามได้มีแก่เรานั้นผู้เห็นนิพพาน บัดนี้เราไม่ควรกลับไปเสพกาม เราจักไม่เวียนกลับ จักมีพรหมจรรย์เป็นจุดมุ่งหมาย
สุขุมาลสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อาธิปเตยยสูตร
ว่าด้วยอาธิปไตย
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย อาธิปไตย(ความเป็นใหญ่) ๓ ประการนี้ อาธิปไตย ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่) ๒. โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่) ๓. ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่) อัตตาธิปไตย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าบ้าง อยู่ตามโคนต้นไม้บ้าง อยู่ในเรือนว่างบ้าง ย่อมเห็นประจักษ์ว่า “เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร @เชิงอรรถ : @ ธรรมที่หมดอุปธิ ในที่นี้หมายถึงนิพพานธรรมที่ปราศจากกิเลส ขันธ์ และอภิสังขารทั้งปวง @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๙/๑๔๖) @ เห็นความสำราญในเนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงเห็นพระนิพพานโดยความเป็นธรรมแดนเกษม @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๙/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๐๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๑๐. อาธิปเตยยสูตร

บิณฑบาต เสนาสนะ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความ มีหรือความไม่มีเช่นนั้น อนึ่ง เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสครอบงำชื่อว่าถูกทุกข์ครอบงำ มีทุกข์อยู่ตรงหน้า ทำอย่างไร การทำ ที่สุดกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ การที่เราละกามเช่นใดแล้วจึงออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต เราพึงแสวงหากามเช่นนั้น หรือกามที่เลวกว่านั้น นั้นไม่สมควรแก่ เราเลย” ภิกษุนั้นเห็นประจักษ์ว่า “ความเพียรที่เราเริ่มไว้แล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่ ตั้งมั่นแล้วจักไม่เลอะเลือน กายที่สงบแล้วจักไม่กระสับกระส่าย จิตที่ตั้งมั่นแล้วจัก มีอารมณ์แน่วแน่” เธอทำตนเท่านั้นให้เป็นใหญ่ ละอกุศล บำเพ็ญกุศล ละกรรม ที่มีโทษ บำเพ็ญกรรมที่ไม่มีโทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าบ้าง อยู่ตามโคนต้นไม้บ้าง อยู่ในเรือนว่างบ้าง ย่อมเห็นประจักษ์ว่า “เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความ มีหรือความไม่มีเช่นนั้น อนึ่ง เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสครอบงำ ชื่อว่าถูกทุกข์ครอบงำ มีทุกข์อยู่ตรงหน้า ทำอย่างไร การทำ ที่สุดกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ ก็เราบวชแล้วอย่างนี้พึงคิดเรื่องกาม เรื่องปอง ร้าย เรื่องเบียดเบียน โลกสันนิวาส(การอยู่ร่วมกันของสัตว์โลก)นี้ใหญ่ ก็ในโลก- สันนิวาสใหญ่มีสมณพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ มีตาทิพย์ รู้จิตของบุคคลอื่น สมณพราหมณ์ เหล่านั้นมองเห็นได้แม้จากที่ไกล แม้อยู่ใกล้ก็ไม่ปรากฏ รู้จิต(ของบุคคลอื่น)แม้ด้วย จิต(ของตน) สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้นพึงรู้จักเราอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โปรดดูกุลบุตรนี้ เพราะมีศรัทธา เขาจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เต็มไปด้วย บาปอกุศลธรรมอยู่ แม้เทวดาผู้มีฤทธิ์ มีตาทิพย์ รู้จิตของบุคคลอื่นก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นย่อมปรากฏจากที่ไกลบ้าง เข้ามาใกล้แล้วกลับมองไม่เห็นบ้าง ย่อม รู้จิตด้วยจิตบ้าง’ เทวดาแม้เหล่านั้นพึงรู้จักเราอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โปรดดูกุลบุตรนี้ เพราะมีศรัทธาเขาจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เต็มไปด้วย บาปอกุศลธรรมอยู่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๐๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๑๐. อาธิปเตยยสูตร

ภิกษุนั้นเห็นประจักษ์ว่า “ความเพียรที่เราเริ่มไว้แล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่ตั้ง มั่นแล้วจักไม่เลอะเลือน กายที่สงบแล้วจักไม่กระสับกระส่าย จิตที่ตั้งมั่นแล้วจักมี อารมณ์แน่วแน่” เธอทำโลกเท่านั้นให้เป็นใหญ่ ละอกุศล บำเพ็ญกุศล ละกรรมที่มี โทษ บำเพ็ญกรรมที่ไม่มีโทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า โลกาธิปไตย ธัมมาธิปไตย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าบ้าง อยู่ตามโคนต้นไม้บ้าง อยู่ในเรือนว่างบ้าง ย่อมเห็นประจักษ์ว่า “เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความ มีหรือความไม่มีเช่นนั้น อนึ่ง เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสครอบงำ ชื่อว่าถูกทุกข์ครอบงำ มีทุกข์อยู่ตรงหน้า ทำอย่างไร การ ทำที่สุดกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๑- ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้า มาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อนพรหมจารีผู้รู้เห็นอยู่ มีอยู่ การที่เรา บวชในธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้พึงเกียจคร้านประมาทอยู่นั้น ไม่สมควรแก่เราเลย” ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ว่า “ความเพียรที่เราเริ่มไว้แล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่ ตั้งมั่นแล้วจักไม่เลอะเลือน กายที่สงบแล้วจักไม่กระสับกระส่าย จิตที่ตั้งมั่นแล้วจัก มีอารมณ์แน่วแน่” เธอยกธรรมเท่านั้นให้เป็นใหญ่ ละอกุศล บำเพ็ญกุศล ละกรรม ที่มีโทษ บำเพ็ญกรรมที่ไม่มีโทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธัมมาธิปไตย ภิกษุทั้งหลาย อาธิปไตย ๓ ประการนี้แล @เชิงอรรถ : @ ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา @ทุกโอกาส บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๐๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ชื่อว่าความลับของผู้ทำบาปย่อมไม่มีในโลก แน่ะบุรุษ ตัวท่านเองย่อมรู้ว่าจริงหรือเท็จ ท่านผู้เจริญ ท่านสามารถทำความดีได้ แต่กลับดูหมิ่นตัวเองเสีย และยังปกปิดความชั่วซึ่งมีอยู่ในตน ทวยเทพและตถาคตย่อมมองเห็นท่าน ผู้เป็นคนพาล ประพฤติไม่สม่ำเสมอในโลก เพราะเหตุนั้นแล คนที่มีตนเป็นใหญ่ควรมีสติเที่ยวไป คนที่มีโลกเป็นใหญ่ควรมีปัญญาและเพ่งพินิจ ส่วนคนมีธรรมเป็นใหญ่ควรประพฤติตามธรรม มุนีผู้มีความบากบั่นอย่างจริงจังย่อมไม่เสื่อม บุคคลใดมีความเพียร ข่มมาร ครอบงำมัจจุราชผู้กำหนดชะตากรรมเสียได้ สัมผัสธรรมเป็นที่สิ้นความเกิด บุคคลเช่นนั้นย่อมเป็นผู้รู้แจ้งโลก มีปัญญาดี เป็นมุนีหมดความทะยานอยากในธรรมทั้งปวง
อาธิปเตยยสูตรที่ ๑๐ จบ
เทวทูตวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สพรหมกสูตร ๒. อานันทสูตร ๓. สารีปุตตสูตร ๔. นิทานสูตร ๕. หัตถกสูตร ๖. เทวทูตสูตร ๗. ยมราชสูตร ๘. จตุมหาราชสูตร ๘. ทุติยจตุมหาราชสูตร ๙. สุขุมาลสูตร ๑๐. อาธิปเตยยสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๐๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. จูฬวรรค ๒. ติฐานสูตร

๕. จูฬวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องเล็กน้อย
๑. สัมมุขีภาวสูตร
ว่าด้วยความพร้อมแห่งธรรม
[๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะความพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ กุลบุตรผู้มีศรัทธาจึงประสพ๑- บุญมาก ความพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เพราะความพร้อมแห่งศรัทธา๒- กุลบุตรผู้มีศรัทธาจึงประสพบุญมาก ๒. เพราะความพร้อมแห่งไทยธรรม กุลบุตรผู้มีศรัทธาจึงประสพบุญมาก ๓. เพราะความพร้อมแห่งทักขิไณยบุคคล(บุคคลผู้ควรรับทักษิณา) กุลบุตร ผู้มีศรัทธาจึงประสพบุญมาก ภิกษุทั้งหลาย เพราะความพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนี้แล กุลบุตรผู้มี ศรัทธาจึงประสพบุญมาก
สัมมุขีภาวสูตรที่ ๑ จบ
๒. ติฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่เป็นเหตุให้ทราบผู้มีศรัทธา
[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศรัทธาเลื่อมใสพึงทราบได้โดยฐานะ ๓ ประการ ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ ประสพ ในที่นี้หมายถึงได้รับผลตอบ (ปฏิลภติ) (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๑/๑๔๘) @ ความพร้อมแห่งศรัทธา ที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียงความสำคัญไว้เป็นอันดับที่ ๑ ในที่นี้เพราะศรัทธามี @ความสำคัญมาก บุคคลเมื่อจะให้ทานจำต้องเกิดศรัทธาก่อน หากปราศจาคศรัทธา แม้มีไทยธรรมและ @ปฏิคาหก(ผู้รับ) ก็ไม่สามารถทำบุญได้ และศรัทธาเป็นสิ่งที่หาได้ยาก เพราะศรัทธาของปุถุชน ย่อม @เปลี่ยนแปลงได้ทุกขณะ ส่วนไทยธรรม และทักขิไณยบุคคลเป็นสิ่งที่หาได้ง่าย (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๑/๑๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๐๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. จูฬวรรค ๓. อัตถวสสูตร

๑. เป็นผู้ปรารถนาที่จะเห็นท่านผู้มีศีล ๒. เป็นผู้ปรารถนาที่จะฟังสัทธรรม ๓. เป็นผู้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน อยู่ครองเรือน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศรัทธาเลื่อมใสพึงทราบได้โดยฐานะ ๓ ประการนี้แล บุคคลผู้ปรารถนาจะเห็นท่านผู้มีศีล ปรารถนาจะฟังสัทธรรม กำจัดความตระหนี่อันเป็นมลทิน บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้มีศรัทธา
ติฐานสูตรที่ ๒ จบ
๓. อัตถวสสูตร
ว่าด้วยอำนาจประโยชน์
[๔๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ จึงควรแสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่น อำนาจประโยชน์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้แสดงธรรม๑- รู้แจ้งอรรถ๒- และรู้แจ้งธรรม๓- ๒. บุคคลผู้ฟังธรรมรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม ๓. บุคคลผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมทั้ง ๒ ฝ่าย รู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๓ ประการนี้แลจึงควร แสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่น
อัตถวสสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ แสดงธรรม ในที่นี้หมายถึงแสดงอริยสัจ ๔ ประการ (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๓/๑๕๒-๑๕๓) @ รู้แจ้งอรรถ ในที่นี้หมายถึงรู้อรรถกถา (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๓/๑๕๒-๑๕๓) @ รู้แจ้งธรรม ในที่นี้หมายถึงรู้ธรรมบาลี คือพุทธพจน์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๓/๑๕๒-๑๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๐๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. จูฬวรรค ๕. ปัณฑิตสูตร

๔. กถาปวัตติสูตร
ว่าด้วยเหตุให้การสนทนาดำเนินไปได้
[๔๔] ภิกษุทั้งหลาย การสนทนาดำเนินไปได้ด้วยฐานะ๑- ๓ ประการ ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้แสดงธรรมรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม ๒. บุคคลผู้ฟังธรรมรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม ๓. บุคคลผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมทั้ง ๒ ฝ่ายรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม ภิกษุทั้งหลาย การสนทนาดำเนินไปได้ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
กถาปวัตติสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปัณฑิตสูตร
ว่าด้วยกรรมที่บัณฑิตบัญญัติไว้
[๔๕] ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๓ ประการนี้บัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้ กรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทาน(การให้) ๒. ปัพพัชชา(การถือบวช) ๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน(การบำรุงมารดาบิดา) กรรม ๓ ประการนี้แลบัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้ ทาน อหิงสา(ความไม่เบียดเบียน) สัญญมะ(ความสำรวม) ทมะ(การฝึกฝน) มาตาปิตุอุปัฏฐาน(การบำรุงมารดาบิดา) เป็นสิ่งที่สัตบุรุษบัญญัติไว้ @เชิงอรรถ : @ ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๔/๑๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๐๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. จูฬวรรค ๗. สังขตลักขณสูตร

คุณธรรมเหล่านี้เป็นฐานะของสัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบ เป็นพรหมจารีบุคคลซึ่งบัณฑิตควรเสพ บัณฑิตนั้นเป็นอริยบุคคลผู้มีทัสสนะสมบูรณ์๑- เข้าถึงโลกอันเกษม๒- ได้
ปัณฑิตสูตรที่ ๕ จบ
๖. สีลวันตสูตร
ว่าด้วยบรรพชิตผู้มีศีล
[๔๖] ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีล เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่ มนุษย์ทั้งหลายในหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ย่อมประสพบุญมากด้วยฐานะ๓- ๓ ประการ ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กาย ๒. วาจา ๓. ใจ ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่ มนุษย์ ทั้งหลายในหมู่บ้านหรือตำบลนั้นย่อมประสพบุญมากด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
สีลวันตสูตรที่ ๖ จบ
๗. สังขตลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
[๔๗] ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม(ลักษณะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แห่งธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ๓ ประการนี้ @เชิงอรรถ : @ อริยบุคคลผู้มีทัสสนะสมบูรณ์ ในที่นี้หมายถึงบุคคลผู้บำรุงมารดาบิดา มิใช่หมายถึงพระพุทธเจ้า @หรือพระโสดาบัน (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๕/๑๕๓) @ โลกอันเกษม ในที่นี้หมายถึงเทวโลก (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๕/๑๕๓) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๔๔ ติกนิบาต หน้า ๒๐๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๐๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. จูฬวรรค ๙. ปัพพตราชสูตร

สังเขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเกิดขึ้นปรากฏ ๒. ความดับสลายปรากฏ ๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปร๑- ปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล
สังขตลักขณสูตรที่ ๗ จบ
๘. อสังขตลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม(ลักษณะที่ไม่ถูกปัจจัย ปรุงแต่งแห่งธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ๓ ประการนี้ อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเกิดขึ้นไม่ปรากฏ ๒. ความดับสลายไม่ปรากฏ ๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปรไม่ปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล
อสังขตลักขณสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปัพพตราชสูตร
ว่าด้วยขุนเขาหิมพานต์
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ย่อมงอกงาม ด้วยความเจริญ ๓ ประการ @เชิงอรรถ : @ ความแปร (อัญญถัตตะ) ในที่นี้หมายถึงความเปลี่ยนกลายไปจากลักษณะหรือภาวะเดิม ได้แก่ ชรา @(องฺ.ติก.อ. ๒/๔๗/๑๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๐๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. จูฬวรรค ๙. ปัพพตราชสูตร

ความเจริญ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กิ่ง ใบแก่ และใบอ่อน ๒. เปลือกและสะเก็ด ๓. กระพี้และแก่น ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ย่อมงอกงามด้วยความเจริญ ๓ ประการนี้ฉันใด ชนภายในอาศัยพ่อบ้านผู้มีศรัทธาย่อมงอกงามด้วยความเจริญ ๓ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน ความเจริญ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ศรัทธา ๒. ศีล ๓. ปัญญา ภิกษุทั้งหลาย ชนภายในอาศัยพ่อบ้านผู้มีศรัทธาย่อมงอกงามด้วยความเจริญ ๓ ประการนี้ ภูเขาหินมีอยู่ในป่าใหญ่ หมู่ไม้เหล่านั้นอาศัยภูเขานั้น เจริญงอกงามเติบโตในป่า แม้ฉันใด บุตร ภรรยา พวกพ้อง อำมาตย์ หมู่ญาติ และชนผู้อาศัยเขาเลี้ยงชีพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยพ่อบ้านผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมงอกงามในโลกนี้ ชนผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง เห็นศีล จาคะ(ความเสียสละ) และสุจริต(ความประพฤติดี) ของพ่อบ้านผู้มีศีลนั้นแล้วย่อมทำตาม บุคคลประพฤติธรรมซึ่งเป็นทางนำสัตว์ไปสู่สุคติ ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้สมปรารถนา ย่อมบันเทิงในเทวโลก
ปัพพตราชสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๑๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. จูฬวรรค ๑๑. มหาโจรสูตร

๑๐. อาตัปปกรณียสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ทำความเพียร
[๕๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทำความเพียรด้วยฐานะ ๓ ประการ ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ๒. เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ๓. เพื่อความอดกลั้นเวทนาทั้งหลาย อันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต บุคคลควรทำความเพียรด้วยฐานะ ๓ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุทำความเพียรเพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งบาป อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความ อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต ในกาลนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า มีความเพียร มีปัญญารักษาตน มีสติเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
อาตัปปกรณียสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. มหาโจรสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของมหาโจร
[๕๑] ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ย่อมงัดแงะบ้าง ทำการปล้นบ้าง ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ มหาโจรในโลกนี้ ๑. อาศัยที่ขรุขระ ๒. อาศัยป่ารก ๓. อาศัยผู้มีอิทธิพล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๑๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. จูฬวรรค ๑๑. มหาโจรสูตร

มหาโจรอาศัยที่ขรุขระ เป็นอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยเกาะแก่งแห่งแม่น้ำหรือที่ขรุขระแห่งภูเขา มหาโจร อาศัยที่ขรุขระ เป็นอย่างนี้แล มหาโจรอาศัยป่ารก เป็นอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยป่ารกด้วยหญ้าบ้าง ป่ารกด้วยต้นไม้บ้าง ป่าที่มี แนวป้องกันบ้าง แนวป่าใหญ่บ้าง มหาโจรอาศัยป่ารก เป็นอย่างนี้แล มหาโจรอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เขาคิด อย่างนี้ว่า “ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เหล่านี้ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา” ถ้าใครกล่าวหาอะไรมหาโจรนั้น พระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้นต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเขา มหาโจรอาศัยผู้ มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นประการนี้แล ย่อมงัดแงะบ้าง ทำการ ปล้นบ้าง ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง ฉันใด ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมบริหารตนให้ ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็น อันมาก ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้ ๑. อาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา ๒. อาศัยกรรมที่เร้นลับ ๓. อาศัยผู้มีอิทธิพล ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่ ไม่ตรงไปตรงมา ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นอย่างนี้แล ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๑๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. จูฬวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ๑- ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุชั่วอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ภิกษุนั้นคิดอย่างนี้ว่า “ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระ ราชาเหล่านี้ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา” ถ้าใครว่ากล่าวอะไรภิกษุนั้น พระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้นต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเธอ ภิกษุชั่วอาศัยผู้ มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
มหาโจรสูตรที่ ๑๑ จบ
จูฬวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัมมุขีภาวสูตร ๒. ติฐานสูตร ๓. อัตถวสสูตร ๔. กถาปวัตติสูตร ๕. ปัณฑิตสูตร ๖. สีลวันตสูตร ๗. สังขตลักขณสูตร ๘. อสังขตลักขณสูตร ๙. ปัพพตราชสูตร ๑๐. อาตัปปกรณียสูตร ๑๑. มหาโจรสูตร
ปฐมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
@เชิงอรรถ : @ อันตคาหิกทิฏฐิ หมายถึงความเห็นผิดแล่นไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง มี ๑๐ ประการ คือเห็นว่า (๑) โลก @เที่ยง (๒) โลกไม่เที่ยง (๓) โลกมีที่สุด (๔) โลกไม่มีที่สุด (๕) ชีวะกับสรีระ เป็นอย่างเดียวกัน (๖) ชีวะกับ @สรีระเป็นคนละอย่าง (๗) หลังจากตายไปตถาคตเกิดอีก (๘) หลังจากตายไปตถาคตไม่เกิดอีก (๙) หลัง @จากตายไปตถาคตเกิดอีกก็ใช่ ไม่เกิดอีกก็ใช่ (๑๐) หลังจากตายไป ตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ @(องฺ.ทสก. ๒๔/๙๓/๑๔๙, องฺ.ติก.อ. ๒/๕๑/๑๕๖) ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะหรืออาตมัน (Soul) @(ตามนัย อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙) ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา @(อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายหมายถึงสัตตะ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๑๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๑. ปฐมเทวพราหมณสูตร

๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. พราหมณวรรค
หมวดว่าด้วยพราหมณ์
๑. ปฐมเทวพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์แก่ ๒ คน สูตรที่ ๑
[๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์ ๒ คน เป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นพราหมณ์แก่ ผู่เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วง กาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี พวกข้าพเจ้านั้นไม่ได้ทำความดีไว้ ไม่ ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ ขอท่านพระโคดมทรงว่ากล่าวพวก ข้าพเจ้า ขอท่านพระโคดมทรงสั่งสอนพวกข้าพเจ้าเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวก ข้าพเจ้าตลอดกาลนานเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ทั้งหลาย ที่แท้พวกท่านเป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี พวกท่านนั้นไม่ได้ทำความดีไว้ ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ โลกนี้ถูกชรา(ความแก่) พยาธิ(ความ เจ็บ) และมรณะ(ความตาย)ร้อยรัดไว้ เมื่อโลกถูกชรา พยาธิ และมรณะร้อยรัดไว้ อย่างนี้ ความสำรวมทางกาย วาจา และใจในโลกนี้จะเป็นเครื่องต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึกและเป็นที่ยึดเหนี่ยวของผู้ตายไปแล้ว ชีวิตถูกชรานำเข้าไปสู่ความมีอายุสั้น ผู้ที่ถูกชรานำเข้าไปแล้วย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน บุคคลเมื่อพิจารณาเห็นภัยนี้ในความตาย ควรทำบุญที่นำสุขมาให้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๑๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๒. ทุติยเทวพราหมณสูตร

ความสำรวมทางกาย วาจาและใจในโลกนี้ ย่อมมีเพื่อความสุขแก่บุคคลผู้ตายไปแล้ว ซึ่งได้ทำบุญไว้ขณะเมื่อมีชีวิตอยู่
ปฐมเทวพราหมณสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยเทวพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์แก่ ๒ คน สูตรที่ ๒
[๕๓] ครั้งนั้นพราหมณ์ ๒ คน เป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาล ผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี พวกข้าพเจ้านั้นไม่ได้ทำความดีไว้ ไม่ได้ทำกุศล ไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ ขอท่านพระโคดมทรงว่ากล่าวพวกข้าพเจ้า ขอ ท่านพระโคดมทรงสั่งสอนพวกข้าพเจ้าเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกข้าพเจ้า ตลอดกาลนาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ทั้งหลาย ที่แท้พวกท่านเป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี พวกท่านนั้น ไม่ได้ทำความดีไว้ ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ โลกนี้ถูกชรา พยาธิ และมรณะ แผดเผาแล้ว เมื่อโลกถูกชรา พยาธิ และมรณะแผดเผาแล้วอย่างนี้ ความสำรวม ทางกาย วาจา และใจในโลกนี้จะเป็นเครื่องต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึก และเป็นที่ยึดเหนี่ยวของผู้ตายไปแล้ว เมื่อเรือนถูกไฟไหม้ สิ่งของที่นำออกไปได้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เขา สิ่งของที่ถูกไฟไหม้ในเรือนนั้น ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่เขา ฉันใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๑๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๓. อัญญตรพราหมณสูตร

เมื่อโลกถูกชราและมรณะแผดเผาแล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลควรนำออกมาด้วยการให้ สิ่งที่ให้แล้วชื่อว่านำออกไปดีแล้ว ความสำรวมทางกาย วาจา และใจในโลกนี้ ย่อมมีเพื่อความสุขแก่บุคคลผู้ตายไปแล้ว ซึ่งได้ทำบุญไว้ขณะเมื่อมีชีวิตอยู่
ทุติยเทวพราหมณสูตรที่ ๒ จบ
๓. อัญญตรพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ผู้ทูลถามธรรมคุณ
[๕๔] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัย ฯลฯ พราหมณ์นั้นซึ่งนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็น ชัดด้วยตนเอง พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง” ข้าแต่ท่าน พระโคดม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึง เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียน ทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็น ชัดด้วยตนเอง เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้มีโทสะ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน ตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๑๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๔. ปริพพาชกสูตร

ทางใจบ้าง เมื่อละโทสะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อ เบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระ ธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน ตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกข- โทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิด เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน เป็นอย่างนี้แล พราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
อัญญตรพราหมณสูตรที่ ๓ จบ
๔. ปริพพาชกสูตร
ว่าด้วยปริพาชกผู้ทูลถามธรรมคุณ
[๕๕] ครั้งนั้น พราหมณ์ปริพาชกคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ พราหมณ์ปริพาชกนั้นซึ่งนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็น ชัดด้วยตนเอง พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง” ข้าแต่ท่าน พระโคดม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิต ถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๑๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๔. ปริพพาชกสูตร

เบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว เขา ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียน ทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมไม่รู้ชัดตาม ความเป็นจริงถึงประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงถึงประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้มีโทสะ ฯลฯ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อ เบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมไม่รู้ชัดตามความ เป็นจริงถึงประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เมื่อ ละโมหะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงถึงประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และ ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน เป็นอย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๑๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๕. นิพพุตสูตร

พราหมณ์ปริพาชกนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่าน พระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ปริพพาชกสูตรที่ ๔ จบ
๕. นิพพุตสูตร
ว่าด้วยพระนิพพาน
[๕๖] ครั้งนั้น ชานุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ชานุสโสณิพราหมณ์ซึ่งนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่า “พระนิพพานเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติ จะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง พระนิพพานเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วย ตนเอง” ข้าแต่ท่านพระโคดม ด้วยเหตุเพียงไรหนอ พระนิพพานจึงชื่อว่าเป็น สภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียด เบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้มีโทสะ ฯลฯ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อ เบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด ด้วยตนเอง เป็นอย่างนี้แล ในกาลใด บุคคลนี้เสวยธรรมเป็นที่สิ้นราคะอันไม่มีส่วนเหลือ เสวยธรรมเป็น ที่สิ้นโทสะอันไม่มีส่วนเหลือ เสวยธรรมเป็นที่สิ้นโมหะอันไม่มีส่วนเหลือ ในกาลนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๑๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๖. ปโลกสูตร

พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วย กาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ชานุสโสณิพราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่าน พระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
นิพพุตสูตรที่ ๕ จบ
๖. ปโลกสูตร
ว่าด้วยเหตุทำให้จำนวนมนุษย์มีน้อยลง
[๕๗] ครั้งนั้น พราหมณ์มหาศาลคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ฯลฯ พราหมณ์มหาศาลนั้นนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ฟังมาแต่พราหมณ์ผู้เป็นบรรพบุรุษ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นอาจารย์ของอาจารย์ซึ่งกล่าวอยู่ว่า ทราบมาว่า ใน กาลก่อน โลกนี้หนาแน่นไปด้วยมนุษย์เหมือนอเวจีมหานรก หมู่บ้าน ตำบล ชนบท และเมืองหลวง มีทุกระยะไก่บินตก ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็น ปัจจัยให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป เหลืออยู่น้อย แม้หมู่บ้านก็ไม่เป็นหมู่บ้าน แม้ตำบล ก็ไม่เป็นตำบล แม้เมืองก็ไม่เป็นเมือง แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ มนุษย์ทุกวันนี้ยินดีด้วยความยินดี ที่ไม่ชอบธรรม๑- ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอ๒- ครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด๓- มนุษย์เหล่านั้นยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบธรรม ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอ ครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด ต่างหยิบฉวยศัสตราวุธอันคมเข่นฆ่ากันและกัน @เชิงอรรถ : @ ยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบธรรม หมายถึงความยินดีในบริขารของผู้อื่น (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๗/๑๕๙) @ ความโลภที่ไม่สม่ำเสมอ หมายถึงความโลภที่เกิดขึ้นเฉพาะในวัตถุที่ผู้อื่นครอบครองหวงแหน @(องฺ.ติก.อ. ๒/๕๗/๑๕๙) @ ประกอบด้วยธรรมผิด หมายถึงเสพวัตถุที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ เสพวัตถุอื่นจากวัตถุที่ชาวโลกยอมรับ @กันว่าดี (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๗/๑๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๗. วัจฉโคตตสูตร

เพราะเหตุนั้น มนุษย์จึงล้มตายเป็นจำนวนมาก นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้มนุษย์ ทุกวันนี้หมดไป เหลืออยู่น้อย แม้หมู่บ้านก็ไม่เป็นหมู่บ้าน แม้ตำบลก็ไม่เป็นตำบล แม้เมืองก็ไม่เป็นเมือง แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท มนุษย์ทุกวันนี้ยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบธรรม ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอ ครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด เมื่อมนุษย์เหล่านั้นยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบ ธรรม ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด ฝนย่อมไม่ตกตาม ฤดูกาล เพราะเหตุนั้นจึงมีภิกษาหาได้ยาก ข้าวกล้าเสียหายเป็นเพลี้ยหนอน เหลือ แต่ก้าน เพราะเหตุนั้น มนุษย์จึงล้มตายเป็นจำนวนมาก แม้นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป เหลืออยู่น้อย แม้หมู่บ้านก็ไม่เป็นหมู่บ้าน แม้ตำบลก็ไม่ เป็นตำบล แม้เมืองก็ไม่เป็นเมือง แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท อีกประการหนึ่ง มนุษย์ทุกวันนี้ยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบธรรม ถูกความ โลภที่ไม่สม่ำเสมอครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด เมื่อมนุษย์เหล่านั้นยินดีด้วย ความยินดีที่ไม่ชอบธรรม ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอครอบงำ ประกอบด้วยธรรม ผิด พวกยักษ์จึงปล่อยอมนุษย์ที่ร้ายกาจไว้(บนพื้นโลก) เพราะเหตุนั้น มนุษย์จึงล้ม ตายเป็นจำนวนมาก แม้นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป เหลืออยู่ น้อย แม้หมู่บ้านก็ไม่เป็นหมู่บ้าน แม้ตำบลก็ไม่เป็นตำบล แม้เมืองก็ไม่เป็นเมือง แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท พราหมณ์มหาศาลนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระ โคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ปโลกสูตรที่ ๖ จบ
๗. วัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าวัจฉโคตร
[๕๘] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๗. วัจฉโคตตสูตร

ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า “พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่ชนเหล่าอื่น พึงให้ทานแก่สาวกของเรา เท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่สาวกของชนเหล่าอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่ชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก” ข้าแต่ท่านพระโคดม ชนเหล่าใด กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า “พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่พึงให้ ทานแก่ชนเหล่าอื่น พึงให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่สาวกของ ชนเหล่าอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่ชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มี ผลมาก” ชนเหล่านั้นชื่อว่าพูดตามที่ท่านพระโคดมตรัส ไม่กล่าวตู่ท่านพระโคดม ด้วยคำที่ไม่จริง และชื่อว่ากล่าวธรรมตามสมควรแก่ธรรม ก็การคล้อยตามคำพูดที่ ชอบธรรมบางอย่าง ย่อมไม่ถึงฐานะที่น่าติเตียนบ้างหรือ เพราะข้าพเจ้าทั้งหลายไม่ ประสงค์จะกล่าวตู่ท่านพระโคดม พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า วัจฉะ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ตรัสอย่างนี้ว่า พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ฯลฯ ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มี ผลมาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่พูดตามที่เราพูด และชนเหล่านั้นชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วย คำที่ไม่ดี ไม่เป็นจริง วัจฉะ ผู้ใดห้ามบุคคลอื่นที่ให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตราย แก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง วัตถุ ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ทำอันตรายแก่บุญของทายก(ผู้ให้) ๒. ทำอันตรายแก่ลาภของปฏิคาหก(ผู้รับ) ๓. ในเบื้องต้น ตัวเขาเองย่อมถูกกำจัดและถูกทำลาย วัจฉะ ผู้ใดห้ามบุคคลอื่นที่ให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง แต่เราเองกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ใดเทน้ำล้างภาชนะหรือน้ำล้างขันลงที่หมู่สัตว์ซึ่ง อาศัยอยู่ที่บ่อน้ำครำหรือที่บ่อโสโครกด้วยตั้งใจว่า หมู่สัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่นั้นจงเลี้ยง ชีพด้วยน้ำล้างภาชนะเป็นต้นนั้น เรากล่าวกรรมที่มีการเทน้ำล้างภาชนะเป็นต้นเหตุว่า เป็นที่มาแห่งบุญ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงในหมู่มนุษย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๗. วัจฉโคตตสูตร

อีกประการหนึ่ง เรากล่าวถึงทานที่ให้แก่ผู้มีศีลว่า มีผลมาก ทานที่ให้แก่ผู้ ทุศีลย่อมไม่เป็นอย่างนั้น เพราะท่านผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ ท่านผู้มีศีลนั้นละองค์ ๕ อะไรบ้าง คือ ๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ๒. พยาบาท (ความคิดร้าย) ๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ท่านผู้มีศีลละองค์ ๕ นี้ ท่านผู้มีศีลประกอบด้วยองค์ ๕ อะไรบ้าง คือ ๑. สีลขันธ์(กองศีล)ที่เป็นอเสขะ๑- ๒. สมาธิขันธ์(กองสมาธิ)ที่เป็นอเสขะ ๓. ปัญญาขันธ์(กองปัญญา)ที่เป็นอเสขะ ๔. วิมุตติขันธ์(กองวิมุตติ)ที่เป็นอเสขะ ๕. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์๒- (กองวิมุตติญาณทัสสนะ)ที่เป็นอเสขะ ท่านผู้มีศีลประกอบด้วยองค์ ๕ นี้ เรากล่าวว่า ทานที่ให้ในท่านผู้มีศีลที่ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมมี ผลมากด้วยประการฉะนี้ โคผู้ที่ฝึกแล้วเป็นโคใช้งานที่สมบูรณ์ด้วยกำลัง มีเชาว์ดี และเป็นสัตว์ที่ซื่อตรง จะเกิดในสีสันใดๆ คือ สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว สีด่าง สีตามธรรมชาติของตน @เชิงอรรถ : @ อเสขะ ในที่นี้หมายถึงธรรมระดับโลกุตตระของพระอเสขะ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐) @ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ หมายถึงปัจจเวกขณญาณที่จัดเป็นโลกิยะ ส่วนสีลขันธ์เป็นต้นนอกนี้จัดเป็น @โลกุตตระ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๗. วัจฉโคตตสูตร

สีเหมือนโคธรรมดา หรือสีเหมือนนกพิราบก็ตาม ชนทั้งหลายเทียมมันเข้าในแอก ไม่คำนึงถึงสีสันของมัน ฉันใด ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว มีความประพฤติดีงาม ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล พูดแต่คำสัตย์ มีใจประกอบด้วยหิริ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะเกิดในหมู่มนุษย์ชาติใดๆ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะก็ตาม ก็ละความเกิดและความตายได้ มีพรหมจรรย์บริบูรณ์ ปลงภาระได้แล้ว ไม่ประกอบด้วยกิเลส ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ รู้จบธรรมทุกอย่าง๑- ดับสนิทเพราะไม่ถือมั่น ในเขตที่ปราศจากธุลี๒- เช่นนั้นแล ทักษิณาย่อมมีผลมาก คนพาลไม่รู้แจ้ง๓- ไม่มีปัญญา ไม่ได้สดับรับฟัง ย่อมให้ทานภายนอก๔- ไม่เข้าไปหาสัตบุรุษ ส่วนเหล่าชนผู้มีศรัทธาหยั่งลงตั้งมั่นในพระสุคต ย่อมเข้าไปหาสัตบุรุษผู้มีปัญญา ที่เขายกย่องกันว่าเป็นนักปราชญ์ ท่านเหล่านั้นผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไปสู่เทวโลก หรือไม่ก็เกิดในตระกูลดีในโลกนี้ และบรรลุนิพพานได้โดยลำดับ
วัจฉโคตตสูตรที่ ๗ จบ
@เชิงอรรถ : @ ธรรมทุกอย่าง ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑) @ ปราศจากธุลี หมายถึงไม่มีธุลี คือราคะ โทสะ และโมหะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑) @ ไม่รู้แจ้ง ในที่นี้หมายถึงไม่รู้จักนาบุญหรือเขตบุญ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑) @ ภายนอก ในที่นี้หมายถึงนอกพุทธศาสนา (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๘. ติกัณณสูตร

๘. ติกัณณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อติกัณณะ
[๕๙] ครั้งนั้น ติกัณณพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวสรรเสริญคุณของพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ว่า “พราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ เป็นอย่างนี้ พราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ เป็นอย่างนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ ว่าเป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นอย่างไร” ติกัณณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์ในโลกนี้ เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่ว บรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท๑- พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์๒- เกฏุภศาสตร์๓- อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์๔- และลักษณะ มหาบุรุษ ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ว่าเป็นผู้ได้ วิชชา ๓ เป็นอย่างนี้แล” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ว่าเป็นผู้ได้ วิชชา ๓ เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง” ติกัณณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัย เป็นอย่างไร ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดมแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าอย่างที่ ผู้ได้วิชชา ๓ มีในอริยวินัย @เชิงอรรถ : @ ไตรเพท ในที่นี้หมายถึงฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓) @ นิฆัณฑุศาสตร์ วิชาว่าด้วยชื่อสิ่งของมีต้นไม้เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓) @ เกฏุภศาสตร์ หมายถึงตำราว่าด้วยวิชาการกวี การแต่งฉันท์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓) @ โลกายตศาสตร์ ในที่นี้หมายถึงวิตัณฑวาทศาสตร์ คือศิลปะแห่งการเอาชนะผู้อื่นในเชิงวาทศิลป์โดยการ @อ้างทฤษฎีและประเพณีทางสังคมมาหักล้างสัจธรรม มุ่งแสดงให้เห็นว่าตนฉลาดกว่า มิได้มุ่งสัจธรรมแต่ @อย่างใด (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๘. ติกัณณสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ติกัณณพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่อง นี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑- ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต ไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอัน มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๒- เป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่อ อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจาก ภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้ ภิกษุนั้นระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้ ความมืดมิด๓- คืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือ @เชิงอรรถ : @ กิเลสมีราคะเป็นต้น ท่านเรียกว่า กิเลสเพียงดังเนิน (อังคณะ) เพราะยังจิตให้ตกต่ำ โน้มเอียงไปสู่ที่ต่ำ @เช่น ต้องย้อนไปสู่จตุตถฌานอีก เป็นต้น @ สังวัฏฏกัป คือกัปฝ่ายเสื่อม ช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ วิวัฏฏกัป คือกัปฝ่ายเจริญ ได้แก่ ช่วงระยะ @เวลาที่โลกกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ (ตามนัย วิ.อ. ๑/๑๒/๑๕๘) @ ความมืดมิด ในที่นี้หมายถึงโมหะที่ปิดบังไม่ให้ระลึกชาติได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๘. ติกัณณสูตร

วิชชา๑- ได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่ผู้สัตว์กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น ไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้าย พระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด พวกเขา หลังจาก ตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ ทำตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” เธอ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิด ไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้ เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ ความมืดมิดคืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือ วิชชา๒- ได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)” “นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย(เหตุเกิดอาสวะ) นี้อาสวนิโรธ(ความดับอาสวะ) นี้อาสว- นิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ)” เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิต ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า @เชิงอรรถ : @ วิชชา ในที่นี้หมายถึงปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในกาลก่อน @(องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๔) @ วิชชา ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุญาณ คือญาณที่สามารถเล็งเห็นหมู่สัตว์ที่เป็นไปต่างๆ กัน เพราะอำนาจ @กรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จุตูปปาตญาณ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๘. ติกัณณสูตร

หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จ แล้ว๑- ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป๒-” ได้บรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ ความ มืดมิดคืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชา๓- ได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบ เหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ จิตของพระโคดมพระองค์ใด ผู้มีศีลไม่ลุ่มๆ ดอนๆ มีปัญญาและมีความเพ่งพินิจ เป็นจิตมีความชำนาญแน่วแน่ เป็นสมาธิดี พระโคดมพระองค์นั้น บัณฑิตกล่าวว่าบรรเทาความมืดได้ เป็นนักปราชญ์ ได้วิชชา ๓ ละทิ้งมัจจุราช เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ ละบาปธรรมได้ทุกอย่าง สาวกทั้งหลายย่อมนมัสการพระโคดมพระองค์นั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชา ๓ ไม่ลุ่มหลง เป็นพระพุทธเจ้ามีสรีระเป็นชาติสุดท้าย บุคคลใดรู้แจ้งปุพเพนิวาสญาณ เห็นทั้งสวรรค์ และอบาย บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นความเกิด เป็นมุนี อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ยิ่ง เป็นพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ โดยวิชชา ๓ นี้ เราเรียกบุคคลนั้นว่าได้วิชชา ๓ ไม่เรียกบุคคลอื่นว่าได้วิชชา ๓ ตามที่ผู้อื่นเรียกกัน พราหมณ์ ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ กิจที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงกิจในอริยสัจ ๔ คือ การกำหนดรู้ทุกข์ การละเหตุเกิดทุกข์ การทำให้แจ้ง @ซึ่งความดับทุกข์และการอบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ (ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓) @ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมรรคญาณเพื่อความสิ้น @กิเลสอีกต่อไป เพราะพุทธศาสนาถือว่าการบรรลุอรหัตผล เป็นจุดหมายสูงสุด (ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓) @ วิชชา ในที่นี้หมายถึงอรหัตตมัคคญาณ ได้แก่ ญาณคือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ หรือ @อาสวักขยญาณ คือญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๙. ชานุสโสณิสูตร

ติกัณณพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวก พราหมณ์เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง ข้าแต่ ท่านพระโคดม ก็ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวกพราหมณ์มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของผู้ได้ วิชชา ๓ ในอริยวินัยนี้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน ตลอดชีวิต
ติกัณณสูตรที่ ๘ จบ
๙. ชานุสโสณิสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อว่าชานุสโสณิ
[๖๐] ครั้งนั้น ชานุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ชานุสโสณิพราหมณ์นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ใดมียัญ๑- มีสิ่งที่พึงให้ด้วยศรัทธา๒- มีอาหารที่พึงให้ แก่บุคคลอื่น หรือมีไทยธรรม ผู้นั้นควรให้ทานในพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ ว่าเป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นอย่างไร” ชานุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์ในโลกนี้เป็น ผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่ว บรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิโดยการอ้างถึงชาติตระกูลได้ เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะ มหาบุรุษ ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ว่าเป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นอย่างนี้แล” @เชิงอรรถ : @ ยัญ ในที่นี้หมายถึงสิ่งที่ควรบูชา เป็นชื่อของไทยธรรม (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๐/๑๖๗) @ สิ่งที่พึงให้ด้วยศรัทธา ในที่นี้หมายถึงมตกภัต(ภัตเพื่อผู้ตาย) (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๐/๑๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๙. ชานุสโสณิสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ว่าเป็นผู้ได้ วิชชา ๓ เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง” ชานุสโสณิพราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ได้วิชชา ๓ ใน อริยวินัยเป็นอย่างไร ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดมแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า อย่างที่ผู้ได้วิชชา ๓ มีในอริยวินัย” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ชานุสโสณิพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ ... อยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑- ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม จิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ ฯลฯ๒- เธอได้บรรลุวิชชา ที่ ๑ นี้ ความมืดมิดคืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้า หมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ ความมืดมิดคืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชา ได้เกิดขึ้นแก่เธอเปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๙ ติกนิบาต หน้า ๒๒๖ ในเล่มนี้ @ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๕๙ ติกนิบาต หน้า ๒๒๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๙. ชานุสโสณิสูตร

เพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี- ปฏิปทา” “นี้อาสวะ ฯลฯ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา” เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิต ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ ความมืดมิดคือ อวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือนแสงสว่าง เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ บุคคลใดสมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร อุทิศกายและใจ มีจิตตั้งมั่น บุคคลใดมีจิตที่ชำนาญ แน่วแน่ ตั้งมั่นดี บุคคลใดรู้แจ้งปุพเพนิวาสญาณ เห็นทั้งสวรรค์ และอบาย บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นความเกิด เป็นมุนี อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ยิ่ง เป็นพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ โดยวิชชา ๓ นี้ เราเรียกบุคคลนั้นว่าได้วิชชา ๓ ไม่เรียกบุคคลอื่นว่าได้วิชชา ๓ ตามที่ผู้อื่นเรียกกัน พราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัย เป็นอย่างนี้แล ชานุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวก พราหมณ์เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง ข้าแต่ท่าน พระโคดม ก็ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวกพราหมณ์มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยนี้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่าน พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน ตลอดชีวิต
ชานุสโสณิสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

๑๐. สังคารวสูตร
ว่าด้วยสังคารวพราหมณ์
[๖๑] ครั้งนั้น สังคารวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าทั้งหลายชื่อว่าเป็นพราหมณ์ บูชายัญเองบ้าง ให้ผู้อื่นบูชาบ้าง ในหมู่พราหมณ์นั้น ผู้ใดบูชายัญเอง และผู้ใดให้ผู้อื่นบูชายัญ คน เหล่านั้นทั้งหมดชื่อว่าปฏิบัติปุญญปฏิปทาที่เกิดแก่หลายสรีระคือยัญญาธิกรณ์๑- (มี ยัญเป็นเหตุ) ส่วนบุคคลใดออกจากเรือนแห่งตระกูลใดก็ตาม บวชเป็นบรรพชิต ฝึก ตนเอง ทำตนเองให้สงบ ทำตนเองให้ดับเย็นสนิท เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติปุญญปฏิปทาที่เกิดแก่สรีระเดียวคือปัพพัชชาธิกรณ์(มีบรรพชาเป็นเหตุ)” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านพึงเฉลยปัญหานั้นตามที่ท่านเห็นควร ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ตถาคตเสด็จ อุบัติในโลกนี้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตพระองค์นั้นตรัสไว้อย่างนี้ว่า ‘ในข้อนี้เราปฏิบัติตามมรรคนี้ปฏิปทานี้ ทำให้ แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม มาเถิด แม้ท่านทั้งหลายก็จงปฏิบัติตามที่ท่านทั้งหลายปฏิบัติ แล้ว จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ด้วยปัญญา อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ พระศาสดาพระองค์นี้ทรงแสดงธรรมไว้ และคนเหล่าอื่นต่างก็ ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ก็ผู้แสดงและผู้ปฏิบัตินั้นมีมากกว่าร้อย มีมากกว่า พัน มีมากกว่าแสน ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เมื่อเป็นอย่างนี้ ปุญญปฏิปทาคือ ปัพพัชชาธิกรณ์ย่อมเกิดแก่สรีระเดียวหรือเกิดแก่หลายสรีระ” @เชิงอรรถ : @ ปุญญปฏิปทาที่เกิดแก่หลายสรีระคือยัญญาธิกรณ์หมายถึงวิธีทำบุญที่คนคนเดียวให้ทานเองหรือใช้ให้ @ผู้อื่นให้ทานแก่คนจำนวนมาก หรือคนจำนวนมากให้ทานเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นให้ทานแก่คนจำนวนมาก @นี้เป็นลัทธิภายนอกพุทธศาสนา (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๑/๑๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

เมื่อสังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นอย่างนี้ ปุญปฏิปทาคือปัพพชชาธิกรณ์นี้ย่อมเกิดแก่หลายสรีระ” เมื่อสังคารวพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามสังคารว- พราหมณ์ว่า “บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบใจปฏิปทาอะไร ซึ่งต้องใช้ อุปกรณ์น้อยกว่า มีความวุ่นวายน้อยกว่า แต่มีผลมากกว่าและมีอานิสงส์มากกว่า” เมื่อท่านพระอานนท์ถามอย่างนี้ สังคารวพราหมณ์ได้กล่าวกับท่านพระ อานนท์ดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมเป็นฉันใด ท่านพระอานนท์ก็เป็นฉันนั้น ท่าน ทั้ง ๒ นี้เราบูชาแล้ว ท่านทั้ง ๒ นี้เราสรรเสริญแล้ว” แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับสังคารวพราหมณ์ว่า “พราหมณ์ เราไม่ได้ถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านบูชาใครหรือว่าท่านสรรเสริญใคร แต่เราถามท่าน อย่างนี้ว่า บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบปฏิปทาอะไร ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์ น้อยกว่า มีความวุ่นวายน้อยกว่า แต่มีผลมากกว่าและมีอานิสงส์มากกว่า” แม้ครั้งที่ ๓ สังคารวพราหมณ์ก็ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน พระโคดมเป็นฉันใด ท่านพระอานนท์ก็เป็นฉันนั้น ท่านทั้ง ๒ นี้เราบูชาแล้ว ท่านทั้ง ๒ นี้เราสรรเสริญแล้ว” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า “สังคารวพราหมณ์ถูกอานนท์ถาม ปัญหาที่ชอบธรรม ก็นิ่งเสีย ไม่ตอบถึง ๓ ครั้ง ทางที่ดี เราควรช่วยเหลือ” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับสังคารวพราหมณ์ดังนี้ว่า “พราหมณ์ วันนี้ พวกราชบุรุษนั่งประชุมกันในราชสำนัก สนทนากันในระหว่างการประชุมว่าอย่างไร” สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม วันนี้พวกราชบุรุษนั่ง ประชุมกันในราชสำนัก สนทนากันในระหว่างการประชุมว่า ‘ทราบมาว่า ในกาลก่อน ภิกษุธรรมดามีจำนวนน้อย ส่วนภิกษุที่ได้อุตตริมนุสสธรรม แสดงอิทธิปาฏิหาริย์๑- @เชิงอรรถ : @ อุตตริมนุสสธรรม ในที่นี้หมายถึงฌาน วิปัสสนา มรรค และผล มหัคคตโลกุตตรปัญญาที่สามารถกำจัด @กิเลสได้ เป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์กล่าวคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๕/๕๑, @องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐) แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ในที่นี้หมายถึงการไปและมาทางอากาศเพื่อภิกขาจาร @(องฺ.ติก.อ. ๒/๖๑/๑๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

ได้มีจำนวนมากกว่า ทุกวันนี้ ภิกษุธรรมดามีจำนวนมากกว่า ส่วนภิกษุที่ได้อุตตริ- มนุสสธรรม แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้มีจำนวนน้อยกว่า’ ข้าแต่ท่านพระโคดม วันนี้ พวกราชบุรุษนั่งประชุมกันในราชสำนัก สนทนากันในระหว่างการประชุมดังนี้แล” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ ปาฏิหาริย์(การทำให้ปฏิปักษ์ยอมได้) ๓ อย่างนี้ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์) ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ) ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คืออนุสาสนี) อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดง เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไป ก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นและดำลง ในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดิน ก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก ก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจได้โดยเครื่องหมายว่า “ใจของท่าน เป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ๆ” แม้หาก เธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย แต่พอได้ ฟังมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ย่อมกล่าวดักใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้๑- ก็มี ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ๆ” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจ หลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น @เชิงอรรถ : @ เป็นอย่างนึ้ ในที่นี้หมายถึงมีสุข มีทุกข์ หรือประกอบด้วยกามวิตกเป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๑/๑๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย ถึงได้ฟัง เสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ก็กล่าวดักใจไม่ได้ แต่พอได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของ บุคคลผู้ตรึกตรองแล้ว ย่อมกล่าวดักใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่าน เป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ๆ” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย ถึงได้ฟัง เสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ก็กล่าวดักใจไม่ได้ ถึงได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของบุคคล ผู้ตรึกตรอง ก็กล่าวดักใจไม่ได้ แต่กำหนดรู้ใจของบุคคลผู้เข้าสมาธิ ไม่มีวิตก ไม่มี วิจารด้วยใจของตนว่า “ท่านผู้เจริญนี้จักตรึกเรื่องชื่อโน้นในลำดับจิตนี้โดยวิธีที่ได้ตั้ง มโนสังขาร” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น นี้เรียกว่า อาเทสนาปาฏิหาริย์ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า “จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรม นี้อยู่” นี้เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ พราหมณ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้แล บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ท่านชอบใจ ปาฏิหาริย์ไหน ซึ่งงดงามกว่าและประณีตกว่า สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนั้น ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ แผ่อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้คือปาฏิหาริย์ ผู้ใดแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ นั้น ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฏิหาริย์นั้น และผู้ใดแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นั้น ปาฏิหาริย์ นั้นเป็นของผู้นั้น ข้าแต่ท่านพระโคดม ปาฏิหาริย์นี้ปรากฏแก่ข้าพเจ้าเหมือนกับ ภาพมายา ข้าแต่ท่านพระโคดม ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจได้โดย อาศัยเครื่องหมายว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

ท่านกำลังคิดอย่างนี้ๆ” แม้หากเขาจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เขากล่าวนั้นก็ เป็นอย่างนั้นแล ไม่เป็นอย่างอื่น ข้าแต่ท่านพระโคดม ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้ แต่พอได้ฟังเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา แล้วก็กล่าวดักใจได้ว่า ฯลฯ ได้ฟังเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาแล้ว ก็ยังกล่าว ดักใจไม่ได้ แต่พอได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของบุคคลผู้ตรึกตรอง ก็กล่าวดักใจได้ว่า ฯลฯ แม้ได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของบุคคลผู้ตรึกตรอง ก็ยังกล่าวดักใจไม่ได้ แต่กำหนดรู้ใจของ บุคคลผู้เข้าสมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารด้วยใจของตนว่า “ท่านผู้เจริญนี้จักตรึกเรื่อง โน้นในลำดับจิตนี้โดยวิธีที่ได้ตั้งมโนสังขารไว้” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่ได้เป็นอย่างอื่น ข้าแต่ท่านพระโคดมนี้คือ ปาฏิหาริย์ ผู้ใดแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฏิหาริย์นั้น และ ผู้ใดแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น ปาฏิหาริย์นั้นเป็นของผู้นั้น ข้าแต่ท่านพระโคดม ปาฏิหาริย์แม้นี้ปรากฏแก่ข้าพเจ้าเหมือนภาพมายา ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ ข้าพระองค์ชอบใจปาฏิหาริย์ นี้ซึ่งงดงามกว่าและประณีตกว่า คือภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พร่ำสอนอย่างนี้ว่า “จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้อยู่” ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านพระโคดมตรัส เรื่องนี้ไว้ดี และข้าพเจ้าทั้งหลายขอทรงจำไว้ว่า ท่านพระโคดมประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ เพราะท่านพระโคดมทรงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ทรงใช้อำนาจ ทางกายไปจนถึงพรหมโลกได้ เพราะท่านพระโคดมทรงกำหนดรู้ใจของบุคคลผู้เข้า สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยใจของพระองค์ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ จักตรึกเรื่องโน้น ในลำดับจิตนี้โดยวิธีที่ได้ตั้งมโนสังขารไว้” เพราะท่านพระโคดมทรงพร่ำสอนอย่างนี้ว่า “จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้อยู่” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ท่านกล่าววาจาที่เกี่ยวข้องกับคุณของเราแน่แท้ อนึ่ง เราจักตอบคำถามของท่าน เพราะเราแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ใช้อำนาจทาง กายไปจนถึงพรหมโลกได้ เพราะเรากำหนดรู้ใจของบุคคลผู้เข้าสมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

วิจาร ด้วยใจของตนว่า ‘ท่านผู้เจริญนี้ จักตรึกเรื่องโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยวิธีที่ได้ตั้ง มโนสังขารไว้’ เพราะว่าเราพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า ‘จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้อยู่” สังคารวพราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม นอกจากท่านพระโคดม ภิกษุอื่นแม้รูปเดียวผู้เพียบพร้อมด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้มีอยู่หรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ไม่ใช่เพียงหนึ่งร้อย ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้ ภิกษุผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้มีอยู่จำนวน มากทีเดียว” สังคารวพราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็บัดนี้ภิกษุเหล่านั้นอยู่ไหน” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ท่านเหล่านั้นอยู่ในหมู่ภิกษุนี้เอง” สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะ ยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือน บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้ง พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
สังคารวสูตรที่ ๑๐ จบ
พราหมณวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมเทวพราหมณสูตร ๒. ทุติยเทวพราหมณสูตร ๓. อัญญตรพราหมณสูตร ๔. ปริพพาชกสูตร ๕. นิพพุตสูตร ๖. ปโลกสูตร ๗. วัจฉโคตตสูตร ๘. ติกัณณสูตร ๙. ชานุสโสณิสูตร ๑๐. สังคารวสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร

๒. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่
๑. ติตถายตนสูตร
ว่าด้วยที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า
[๖๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า๑- ๓ ประการ ซึ่งเมื่อถูกบัณฑิตไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงเข้า ก็อ้างการถือสืบๆ กันมา ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยวาทะ๒- ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่ มีกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่ มีการเนรมิตของพระเป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ” ๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข ที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่ ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย” บรรดาสมณพราหมณ์ทั้ง ๓ จำพวกนั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนมี กรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ” เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น กล่าวอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า (ติตถะ) หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ประการที่เรียกว่า “ท่า” เพราะเป็นที่อันสัตว์ @ทั้งหลายข้ามไป ลอยไป และเร่ร่อนไปด้วยการผุดขึ้นและดำลงไม่มีที่สิ้นสุด @(องฺ.ติก.อ. ๒/๖๒/๑๗๓, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๖๒/๑๗๙) @ อกิริยวาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิที่ถือว่าการกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว @เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกฏแห่งกรรม (ที.สี.อ. ๑๖๖/๑๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร

ว่า “ทราบมาว่า จริงหรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่มีกรรมที่ทำไว้ในปาง ก่อนเป็นเหตุ” ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้ยอมรับว่า “จริง” เรา จะกล่าวกับท่านเหล่านั้นดังนี้ว่า “ถ้าอย่างนั้น เพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ท่านทั้งหลาย ก็จักเป็นคนฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดพรหมจรรย์ พูดเท็จ พูด ส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) มีจิต พยาบาท และเป็นมิจฉาทิฏฐิ” อนึ่ง เมื่อบุคคลยึดถือกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนโดยความเป็นแก่นสารย่อมไม่มี ความพอใจหรือความพยายามว่า “สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็เมื่อไม่ได้ กรณียกิจและอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคง ดังมากล่าวนี้ สมณวาทะที่เป็นธรรม เป็น ของเฉพาะตัวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่องป้องกัน นี้แลเป็น วาทะที่ ๑ สำหรับข่มโดยชอบธรรมของเราต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ (๑) บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่มีการ เนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ” เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ทราบมาว่า จริงหรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่มีการ เนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ” ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถาม อย่างนี้ยอมรับว่า “จริง” เราก็จะกล่าวกับท่านเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ถ้าอย่างนั้น เพราะการเนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ ท่านทั้งหลายก็จักเป็นคนฆ่าสัตว์ ฯลฯ และเป็นมิจฉาทิฏฐิ” อนึ่ง เมื่อบุคคลยึดถือการเนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่โดยความเป็น แก่นสารย่อมไม่มีความพอใจหรือความพยายามว่า “สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจและอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคง ดังกล่าวมานี้ สมณวาทะ ที่ชอบธรรม เป็นของเฉพาะตัว ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่อง ป้องกัน นี้แลเป็นวาทะที่ ๒ สำหรับข่มโดยชอบธรรมของเราต่อสมณพราหมณ์ เหล่านั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร

บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข ที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย” เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ทราบมาว่า จริง หรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข ที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย” ถ้าท่านเหล่านั้นถูกเราถาม อย่างนี้ ยอมรับว่า “จริง” เราก็จะกล่าวกับท่านเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ถ้าอย่างนั้น เพราะไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ท่านทั้งหลายจักเป็นคนฆ่าสัตว์ ฯลฯ และเป็นมิจฉาทิฏฐิ” อนึ่ง เมื่อบุคคลยึดถือความไม่มีเหตุโดยความเป็นแก่นสารย่อมไม่มีความ พอใจหรือความพยายามว่า “สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจ และอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคง ดังกล่าวมานี้ สมณวาทะที่ชอบธรรม เป็นของ เฉพาะตัวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่องป้องกัน นี้แลเป็นวาทะที่ ๓ สำหรับข่มโดยชอบธรรมของเราต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ (๓) ภิกษุทั้งหลาย ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า ๓ ประการ ซึ่งเมื่อถูกบัณฑิตไต่ถาม ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ก็อ้างการถือสืบๆ กันมา ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยวาทะ ส่วนธรรมที่เราแสดงไว้นี้ใครๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูก สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน ธรรมที่เราแสดงไว้ใครๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูก สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เป็นอย่างไร คือ (๑) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ธาตุ ๖ ประการนี้” ใครๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัว หมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน (๒) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้” ใครๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณ- พราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน (๓) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “มโนปวิจาร๑- ๑๘ ประการนี้” @เชิงอรรถ : @ มโนปวิจาร หมายถึงการพิจารณาแห่งใจในฐานะ ๑๘ ประการ คือที่ตั้งแห่งโสมนัส ๖ ประการ ที่ตั้งแห่ง @โทมนัส ๖ ประการ และที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๖ ประการ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๒/๑๗๖, องฺ.ติก.ฎีกา ๒/๖๒/๑๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร

ใครๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน (๔) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “อริยสัจ ๔ ประการนี้’ ใครๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ธาตุ ๖ ประการนี้” ใครๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เพราะอาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ธาตุ ๖ ประการนี้ คือ ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน) อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) วาโยธาตุ(ธาตุลม) อากาสธาตุ(ธาตุอากาศ) วิญญาณธาตุ(ธาตุวิญญาณ) เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ธาตุ ๖ ประการนี้” ใครๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณ- พราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้” ใครๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เพราะอาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ คือ จักขุ(ตา) โสตะ(หู) ฆานะ(จมูก) ชิวหา(ลิ้น) กาย(กาย) มโน(ใจ) เพราะอาศัยคำที่เรากล่าว ไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้” ใครๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัว หมอง ไม่ถูกตำหนิ สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “มโนปวิจาร ๑๘ ประการนี้” ใครๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เพราะอาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะบุคคลเห็นรูปด้วยตาแล้วย่อมเข้าไปไตร่ ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส เข้าไปไตร่ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส เข้าไป ไตร่ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา บุคคลฟังเสียงด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วย จมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วย่อมเข้าไปไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส เข้าไป ไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส เข้าไปไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงว่า “มโนปวิจาร ๑๘ ประการนี้” ใครๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร

อนึ่ง เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “อริยสัจ ๔ ประการนี้” ใครๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะถือมั่นธาตุ ๖ ประการ สัตว์จึงก้าวลง สู่ครรภ์ เมื่อมีการก้าวลงสู่ครรภ์ นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ก็เรา บัญญัติไว้ว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ และนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” แก่บุคคลผู้เสวยอารมณ์อยู่ ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร คือ แม้ชาติ(ความเกิด)ก็เป็นทุกข์ แม้ชรา(ความแก่)ก็เป็นทุกข์ แม้มรณะ(ความ ตาย)ก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ(ความโศก) แม้ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์ กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) อุปายาส(ความคับแค้นใจ)ก็เป็นทุกข์ ความประสบกับ สิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนา สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นอย่างไร คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีความเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร

ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไร คือ เพราะอวิชชาสำรอกดับไป สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ กองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีความดับด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “อริยสัจ ๔ ประการนี้” ใครๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ติตถายตนสูตรที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๒. ภยสูตร

๒. ภยสูตร
ว่าด้วยภัย
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมเรียกภัย ๓ อย่างนี้ว่า “อมาตาปุตติกภัย” ภัย ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สมัยที่เกิดไฟไหม้ใหญ่มีอยู่ เมื่อเกิดไฟไหม้ใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูกไฟ เผา ตำบลก็ถูกไฟเผา เมืองก็ถูกไฟเผา เมื่อหมู่บ้านถูกไฟเผาอยู่ เมื่อ ตำบลถูกไฟเผาอยู่ เมื่อเมืองถูกไฟเผาอยู่ ในที่นั้น แม้มารดาก็ไม่ได้พบ บุตร แม้บุตรก็ไม่ได้พบมารดา ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกภัยที่ ๑ นี้ว่า “อมาตาปุตติกภัย๑-” ๒. สมัยที่มหาเมฆตั้งเค้ามีอยู่ เมื่อมหาเมฆตั้งเค้าขึ้นแล้ว ฝนตกลงมา ย่อมเกิดห้วงน้ำใหญ่ เมื่อเกิดห้วงน้ำใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูกน้ำพัด ไป ตำบลก็ถูกน้ำพัดไป เมืองก็ถูกน้ำพัดไป เมื่อหมู่บ้านถูกน้ำพัดไปอยู่ เมื่อตำบลถูกน้ำพัดไปอยู่ เมื่อเมืองถูกน้ำพัดไปอยู่ ในที่นั้น แม้มารดา ก็ไม่ได้พบบุตร แม้บุตรก็ไม่ได้พบมารดา ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกภัยที่ ๒ นี้ว่า “อมาตาปุตติกภัย” ๓. สมัยที่ภัยคือโจรป่าปล้นสะดม พวกชาวบ้านต่างพากันขึ้นยานหนีไป มีอยู่ เมื่อมีภัยคือโจรป่าปล้นสะดม เมื่อชาวบ้านพากันขึ้นยานหนีไป ในที่นั้น แม้มารดาก็ไม่ได้พบบุตร แม้บุตรก็ไม่ได้พบมารดา ปุถุชนผู้ไม่ ได้สดับเรียกภัยที่ ๓ นี้ว่า “อมาตาปุตติกภัย” ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมเรียกอมาตาปุตติกภัยทั้ง ๓ อย่างนี้แล ว่า “อมาตาปุตติกภัย” แต่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยทั้ง ๓ อย่างนี้แลว่า “อมาตา- ปุตติกภัย” @เชิงอรรถ : @ อมาตาปุตติกภัย หมายถึงภัยที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มารดาและบุตรไม่สามารถจะเป็นที่พึ่งแก่กันได้ @ไม่สามารถจะพบเห็นกันได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๓/๑๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๒. ภยสูตร

สมาตาปุตติกภัย ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สมัยที่เกิดไฟไหม้ใหญ่มีอยู่ เมื่อเกิดไฟไหม้ใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูก ไฟเผา ตำบลก็ถูกไฟเผา เมืองก็ถูกไฟเผา เมื่อหมู่บ้านถูกไฟเผาอยู่ เมื่อตำบลถูกไฟเผาอยู่ เมื่อเมืองถูกไฟนั้นเผาอยู่ สมัยที่มารดาได้พบ บุตร แม้บุตรก็ได้พบมารดา เป็นบางครั้งบางคราวมีอยู่ ปุถุชนผู้ไม่ได้ สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยที่ ๑ นี้แลว่า “อมาตาปุตติกภัย” ๒. สมัยที่มหาเมฆตั้งเค้าขึ้นมีอยู่ เมื่อมหาเมฆตั้งเค้าขึ้นแล้ว ฝนตกลงมา ย่อมเกิดห้วงน้ำใหญ่ เมื่อเกิดห้วงน้ำใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูกน้ำพัดไป ตำบลก็ถูกน้ำพัดไป เมืองก็ถูกน้ำพัดไป เมื่อหมู่บ้านถูกน้ำพัดไปอยู่ เมื่อตำบลถูกน้ำพัดไปอยู่ เมื่อเมืองถูกน้ำพัดไปอยู่ สมัยที่มารดาได้พบ บุตร แม้บุตรก็ได้พบมารดาเป็นบางครั้งบางคราวมีอยู่ ปุถุชนผู้ไม่ได้ สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยที่ ๒ นี้แลว่า “อมาตาปุตติกภัย” ๓. สมัยที่ภัยคือโจรป่าปล้นสะดม พวกชาวบ้านต่างพากันขึ้นยานหนีไป มีอยู่ เมื่อภัยคือโจรป่าปล้นสะดม เมื่อชาวบ้านต่างพากันขึ้นยานหนีไป มีอยู่ สมัยที่มารดาได้พบบุตร แม้บุตรก็ได้พบมารดาเป็นบางครั้งบาง คราวมีอยู่ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยที่ ๓ นี้แลว่า “อมาตาปุตติกภัย” ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกสมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้แลว่า “อมาตาปุตติกภัย” ภิกษุทั้งหลาย อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ชราภัย๑- (ภัยที่เกิดขึ้นเพราะความแก่) ๒. พยาธิภัย (ภัยที่เกิดขึ้นเพราะความเจ็บ) ๓. มรณภัย (ภัยที่เกิดขึ้นเพราะความตาย) เมื่อบุตรแก่ มารดาย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงแก่ บุตรของเราอย่าได้ แก่” หรือเมื่อมารดาแก่ บุตรย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงแก่ มารดาของเรา อย่าได้แก่” @เชิงอรรถ : @ ภัย ในที่นี้หมายถึงความกลัว ความสะดุ้งหวั่นไหว (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๓/๑๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

เมื่อบุตรเจ็บไข้ มารดาย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงเจ็บไข้ บุตรของเรา อย่าได้เจ็บไข้” หรือเมื่อมารดาเจ็บไข้ บุตรย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงเจ็บไข้ มารดาของเราอย่าได้เจ็บไข้” เมื่อบุตรกำลังจะตาย มารดาย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงตาย บุตร ของเราอย่าได้ตาย” หรือเมื่อมารดากำลังจะตาย บุตรย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า เราจงตาย มารดาของเราอย่าได้ตาย” อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้แล มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละ เพื่อก้าวล่วงสมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ และ อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้มีอยู่ มรรคปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อก้าวล่วงสมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ และอมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย มรรคปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อก้าวล่วงสมาตา- ปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ และอมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้
ภยสูตรที่ ๒ จบ
๓. เวนาคปุรสูตร
ว่าด้วยหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเวนาคปุระ
[๖๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมกับภิกษุ หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ของชาวโกศลชื่อเวนาคปุระ พราหมณ์และคหบดีชาวเวนาคปุระได้ทราบว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ฟัง ข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงเวนาค- {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

ปุระโดยลำดับแล้ว ท่านพระสมณโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้ เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๑-’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก @เชิงอรรถ : @ พระพุทธคุณทั้ง ๙ บทนี้ แต่ละบทมีอรรถอเนกประการ คือ @๑. ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์ เพราะห่างไกลจากกิเลส, เพราะกำจัดข้าศึก คือกิเลส, เพราะหักซี่กำแห่ง @สังสาระคือการเวียนว่ายตายเกิด, เพราะเป็นผู้ควรรับไทยธรรม, เพราะไม่ทำบาปในที่ลับ @๒. ชื่อว่า ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง @๓. ชื่อว่า เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ วิชชา ได้แก่ วิชชา ๓ และวิชชา ๘ ดังนี้ วิชชา ๓ คือ @(๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติ(ตาย)และอุบัติ(เกิด) @ของสัตว์ (๓) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ วิชชา ๘ คือ (๑) วิปัสสนาญาณ ญาณที่เป็นวิปัสสนา @(๒) มโนมยิทธิ มีฤทธิ์ทางใจ (๓) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ (๔) ทิพพโสต หูทิพย์ (๕) เจโตปริยญาณ @รู้จักกำหนดจิตผู้อื่นได้ (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้ (๗) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ @หรือเรียกว่าจุตูปปาตญาณ (๘) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ จรณะ ๑๕ คือ (๑) สีลสัมปทา @ความถึงพร้อมด้วยศีล (๒) อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์ (๓) โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จัก @ประมาณในการบริโภค (๔) ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น (๕) มีศรัทธา @(๖) มีหิริ (๗) มีโอตตัปปะ (๘) เป็นพหูสูต (๙) วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร (๑๐) มีสติมั่นคง (๑๑) มี @ปัญญา (๑๒) ปฐมฌาน (๑๓) ทุติยฌาน (๑๔) ตติยฌาน (๑๕) จตุตถฌาน @๔. ชื่อว่า ผู้เสด็จไปดี เพราะทรงดำเนินรุดหน้าไปไม่หวนกลับคืนมาหากิเลสที่ทรงละได้แล้ว และ @ยังมีอรรถว่าตรัสไว้ดี เพราะทรงกล่าวคำที่ควรในฐานะที่ควร @๕. ชื่อว่า ผู้รู้แจ้งโลก เพราะทรงรู้แจ้งโลก เหตุเกิดโลก ความดับโลก วิธีปฏิบัติให้ลุถึงความดับโลก @(ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) และทรงรู้แจ้งโลกทั้ง ๓ คือสังขารโลก สัตวโลก โอกาสโลก @๖. ชื่อว่า สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะทรงฝึกฝนคนที่ควรฝึกฝน ทั้งเทวดา มนุษย์ @อมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน ด้วยอุบายต่างๆ @๗. ชื่อว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเพราะทรงสั่งสอนทั้งเทวดาและมนุษย์ด้วย @ประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า ผู้ปฏิบัติตามแล้วสำเร็จมรรคผลในโลกนี้บ้าง จุติไปเกิดใน @สวรรค์กลับมาฟังธรรมแล้วสำเร็จมรรคผลบ้าง ทรงช่วยเหลือหมู่สัตว์ให้พ้นความกันดารคือความเกิด @๘. ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมดด้วยพระองค์เองและทรงสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม @๙. ชื่อว่า เป็นพระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ทรงประกอบ @ด้วยภคธรรม ๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน โลกุตตรธรรม ยศ สิริ ความสำเร็จ @ประโยชน์ตามต้องการ และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรง @คายตัณหาในภพทั้งสาม (๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมีส่วน @แห่งปัจจัย ๔ เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘) @อนึ่ง พระพุทธคุณนี้ ท่านแบ่งเป็น ๑๐ ประการ โดยแยกข้อ ๖ เป็น ๒ ประการ คือ (๑) เป็นผู้ยอดเยี่ยม @(๒) เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ (วิสุทฺธิ. ๑/๒๖๕, วิ.อ. ๑/๑/๑๑๒-๑๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรง ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์เช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง” ต่อมา พราหมณ์และคหบดีชาวเวนาคปุระเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกได้สนทนาปราศรัยพอ เป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประนมมือไหว้ไป ทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและ โคตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร พราหมณ์วัจฉโคตรชาวเวนาคปุระผู้นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระ ภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ อินทรีย์ของท่านพระโคดม ผ่องใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง ผลพุทราสุกที่มีในสารทกาล๑- ย่อม บริสุทธิ์ผุดผ่องแม้ฉันใด อินทรีย์ของท่านพระโคดมก็ผ่องใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณก็ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่ท่านพระโคดม ผลตาลสุกที่หล่นจากขั้วย่อม บริสุทธิ์ผุดผ่อง แม้ฉันใด อินทรีย์ของท่านพระโคดมก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง พระฉวีวรรณก็ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ฉันนั้นเหมือนกัน ทองแท่งชมพูนุท๒- ที่บุตรนายช่างทองผู้ชำนาญ หลอมดีแล้ว ที่นายช่างทองผู้ฉลาดบุดีแล้ว วางไว้บนผ้ากัมพล๓- ส่องแสงประกาย สุกสว่างอยู่ แม้ฉันใด อินทรีย์ของท่านพระโคดมก็ผ่องใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณก็ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ฉันนั้นเหมือนกัน ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่คือเตียงมีเท้าเกินประมาณ บัลลังก์๔- ผ้าโกเชาว์๕- เครื่องลาดทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาด @เชิงอรรถ : @ สารทกาล หมายถึงฤดูใบไม้ร่วง ฤดูสารท เทศกาลทำบุญสิ้นเดือน ๑๐ @ ทองแห่งชมพูนุท หมายถึงทองคำเนื้อบริสุทธ์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๔/๑๙๑) ที่เรียกว่า ชมพูนุท เพราะ @เป็นทองที่เกิดชึ้นในแควของแม่น้ำมหาชมพู (องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๖๔/๑๙๙) @ ผ้ากัมพล หมายถึงผ้าทอด้วยขนสัตว์สีแดง (องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๖๔/๑๙๑) @ บังลังก์ ในที่นี้หมายถึงเตียงมีเท้าแกะสลักเป็นรูปสัตว์ร้าย (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙) @ ผ้าโกเชาว์ หมายถึงผ้าที่ทำด้วยขนแพะ หรือขนแกะผืนใหญ่ มีขนยาวเกิน ๔ นิ้ว (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดทำด้วยขนแกะลายดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะที่วิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีราชสีห์และเสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะ มีขนตั้งข้างเดียว เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้งสองข้าง เครื่องลาดไหมขลิบรัตนะ เครื่อง ลาดไหม เครื่องลาดขนแกะที่นางรำ ๑๖ นางยืนรำได้ เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาด หลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดทำด้วยหนังเสือดาวซึ่งมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาด อย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดข้างบนมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนสีแดงวางไว้ ทั้ง ๒ ข้าง๑- (เหล่านี้) ท่านพระโคดมได้ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่อย่างนี้ตามความ ปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากแน่นอน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ คือเตียงมี เท้าเกินประมาณ ฯลฯ เครื่องลาดมีหมอนข้าง ของเหล่านั้นบรรพชิตหาได้ยาก และ ได้มาแล้วก็ไม่สมควร ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ๓ อย่าง ในปัจจุบันนี้ที่เราได้ตามความปรารถนาโดย ไม่ยาก ไม่ลำบาก ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของทิพย์ ๒. ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของพรหม ๓. ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของพระอริยะ ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ๓ อย่างในปัจจุบันนี้ที่เราได้ตามความปรารถนาโดย ไม่ยาก ไม่ลำบาก พราหมณ์วัจฉโคตรทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ที่เป็นของทิพย์ ที่ท่านพระโคดมได้ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในปัจจุบันนี้ เป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดในโลกนี้ อยู่ ในเวลาเช้า เราครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือตำบลนั้นแล @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๓๕ ติกนิบาต หน้า ๑๙๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

เพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่ชายป่า กวาดหญ้า หรือใบไม้ที่มีอยู่ในที่นั้นรวมเป็นกองแล้วนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้มั่น สงัด จากกาม และอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌานมีวิตก วิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่ จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติจาง คลายไป เรามีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายบรรลุตติยฌานที่พระ อริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มี สติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ถ้าเรานั้นผู้เป็นอย่างนี้ จงกรมอยู่ ในสมัยนั้นที่จงกรม ของเรานั้นชื่อว่าเป็นทิพย์ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้ยืนอยู่ ในสมัยที่ยืนของเรานั้น ชื่อว่า เป็นทิพย์ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้นั่งอยู่ ในสมัยนั้นที่นั่งของเรานั้นชื่อว่าเป็นทิพย์ ถ้าเรา ผู้เป็นอย่างนี้นอนอยู่ ในสมัยนั้นที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ของเรานั้นชื่อว่าเป็นทิพย์ นี้แลคือที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของทิพย์ ที่เราได้ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบากในปัจจุบันนี้ พราหมณ์วัจฉโคตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ ก็ใครอื่นนอกจากท่านพระโคดมจักได้ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่เป็นของทิพย์ ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากอย่างนี้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของพรหมที่ท่านพระโคดม ได้ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในปัจจุบันนี้ เป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดในโลกนี้ อยู่ ในเวลาเช้า เราครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือตำบลนั้นแล เพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่ชายป่า กวาดหญ้า หรือใบไม้ที่มีอยู่ในที่นั้นรวมเป็นกองแล้วนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้มั่น มี เมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน๑- ทิศเบื้องล่าง๒- @เชิงอรรถ : @ เบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕) @ เบื้องล่าง หมายถึงสัตว์นรกและนาค (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๕๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็น มหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตา- จิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิต อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พราหมณ์ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้จงกรมอยู่ ในสมัยนั้นที่จงกรมของเรานั้นชื่อว่า เป็นของพรหม ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้ยืนอยู่ ฯลฯ นั่งอยู่ ฯลฯ นอนอยู่ ในสมัยนั้นที่ นอนสูงและที่นอนใหญ่ของเรานั้นชื่อว่าเป็นของพรหม นี้แล คือที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของพรหมที่เราได้ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในปัจจุบันนี้ พราหมณ์วัจฉโคตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ ก็ใครอื่นนอกจากท่านพระโคดมจักได้ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของ พรหมตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากอย่างนี้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของอริยะที่ท่านพระโคดม ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากในปัจจุบันนี้ เป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดในโลกนี้ อยู่ ในเวลาเช้า เราครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือตำบลนั้นแล เพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่ชายป่า กวาดหญ้า หรือใบไม้ที่มีอยู่ในที่นั้นรวมเข้าเป็นกองแล้วนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้มั่น รู้ชัดอย่างนี้ว่า เราละราคะ โทสะ โมหะได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือน ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ พราหมณ์ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้จงกรมอยู่ ในสมัยนั้นที่จงกรมของเรานั้นชื่อว่าเป็นของ อริยะ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้ยืนอยู่ ฯลฯ นั่งอยู่ ฯลฯ นอนอยู่ ในสมัยนั้นที่นอนสูงและ ที่นอนใหญ่ของเรานั้นชื่อว่าเป็นของอริยะ นี้แลคือที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของอริยะที่เราได้ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบากในปัจจุบันนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๕๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๔. สรภสูตร

พราหมณ์วัจฉโคตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ ก็ใครอื่นนอกจากท่านพระโคดมจักได้ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของ อริยะตามปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากอย่างนี้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ภาษิตของ ท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดย ประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลง ทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึง ท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรง จำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต
เวนาคปุรสูตรที่ ๓ จบ
๔. สรภสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าสรภะ
[๖๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ก็ สมัยนั้น สรภปริพาชกผู้ออกไปจากพระธรรมวินัยนี้ไม่นาน๑- เขากล่าวอย่างนี้ใน หมู่ชน ณ กรุงราชคฤห์อย่างนี้ว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตรแล้ว ก็ เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร เราจึงออกมา ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว เราคง ไม่ออกมาจากธรรมวินัยนั้น” ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เข้าไปยัง กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ภิกษุเหล่านั้นได้ยินสรภปริพาชกกำลังกล่าวอย่างนี้ใน หมู่ชน ณ กรุงราชคฤห์อย่างนี้ว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตรแล้ว เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร เราจึงออกมา ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว เราคง ไม่ออกมาจากธรรมวินัยนั้น” @เชิงอรรถ : @ ออกไปจากพระธรรมวินัยไม่นาน หมายถึงบอกคืน(ลา)สิกขาไปได้ไม่นาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๕/๑๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๕๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๔. สรภสูตร

ครั้นต่อมา ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันเสร็จแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สรภปริพาชกผู้ออกไปจากพระธรรมวินัยนี้ได้ไม่นาน กล่าวในหมู่ชน ณ กรุงราชคฤห์อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร ก็เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร เราจึงออกมา ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว เราคง ไม่ออกมาจากธรรมวินัยนั้น’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มี พระภาคเสด็จไปยังอารามของปริพาชก ณ ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา ได้โปรดอนุเคราะห์ เสด็จไปหาสรภปริพาชกด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้น ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จไปยัง อารามปริพาชก ณ ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา เสด็จเข้าไปหาสรภปริพาชกถึงที่อยู่แล้วนั่ง บนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสกับสรภปริพาชกดังนี้ว่า “สรภะ ทราบว่า ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากย- บุตรแล้ว ก็เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร เราจึงออกมา ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว เราคงไม่ออกมาจากธรรมวินัยนั้น’ จริงหรือ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สรภปริพาชกได้นิ่งเงียบ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับสรภปริพาชกดังนี้ว่า “(สรภะ เราเองบัญญัติธรรมไว้สำหรับเหล่าสมณศากยบุตร) สรภะ จงกล่าวเถิด ท่านรู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตรว่าอย่างไร ถ้าความรู้ของท่านยังไม่บริบูรณ์ เราจักช่วยทำให้บริบูรณ์ แต่ถ้าความรู้ของท่านบริบูรณ์ เราจักพลอยยินดีด้วย” แม้ครั้งที่ ๓ สรภปริพาชกก็ยังนิ่ง ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกับสรภปริพาชกดังนี้ว่า “ท่านสรภะ พระ สมณโคดมจะปวารณาพระองค์เองทุกครั้งที่ท่านขอ ท่านสรภะ จงกล่าวเถิด ท่านรู้ทั่ว ถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตรว่าอย่างไร ถ้าความรู้ของท่านยังไม่บริบูรณ์ พระ สมณโคดมจักช่วยทำให้บริบูรณ์ แต่ถ้าความรู้ของท่านบริบูรณ์ พระสมณโคดมจัก พลอยยินดีด้วย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๕๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๔. สรภสูตร

เมื่อปริพาชกเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว สรภปริพาชกนิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่ง คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคครั้นทราบว่าสรภปริพาชกนิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่งคอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้ จึงได้ตรัสกับปริพาชกเหล่านั้นดังนี้ว่า ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวกับเราอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัม- พุทธเจ้าปฏิญญาตนอยู่ ยังไม่ได้ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ เราพึงไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้น ในธรรมนั้นตามหลักเหตุผล” เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นเมื่อถูกเราไต่ถามซักไซ้ไล่เลียง ตามหลักเหตุผลจะไม่เข้าถึงฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะ ๓ อย่าง คือ (๑) พูดกลบ เกลื่อนหรือพูดนอกเรื่อง (๒) แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ (๓) นิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่งคอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้เหมือนสรภปริพาชก ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวกับเราอย่างนี้ว่า “อาสวะเหล่านี้ของท่านผู้ ปฏิญญาตนว่าเป็นพระขีณาสพยังไม่สิ้นไปเลย เราพึงไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้นใน ธรรมนั้นตามหลักเหตุผล” เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นเมื่อถูกเราไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงตาม หลักเหตุผลจะไม่เข้าถึงฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะ ๓ อย่าง คือ (๑) พูดกลบ เกลื่อนหรือพูดนอกเรื่อง (๒) แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ (๓) นิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่งคอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้เหมือนสรภปริพาชก ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวกับเราอย่างนี้ว่า “ท่านแสดงธรรมเพื่อ ประโยชน์ใด ธรรมที่ท่านแสดงนั้นไม่อำนวยประโยชน์นั้นเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น เราพึงไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้นในธรรมนั้นตามหลักเหตุผล” เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นเมื่อถูกเราไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงตามหลักเหตุผลจะไม่เข้าถึง ฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะ ๓ อย่าง คือ (๑) พูดกลบเกลื่อนหรือพูดนอกเรื่อง (๒) แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และอาการไม่พอใจ (๓) นิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่งคอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้เหมือนสรภปริพาชก ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง ณ อารามปริพาชก ที่ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินิกาแล้วทรงเหาะหลีกไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๕๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

ต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ปริพาชกพากันใช้ปฏักคือ วาจาทิ่มแทงสรภปริพาชกรอบด้านว่า “ท่านสรภะ สุนัขจิ้งจอกแก่ในป่าใหญ่คิดว่า จักร้องเหมือนเสียงราชสีห์ แต่ก็ร้องเป็นสุนัขจิ้งจอกอยู่นั่นเอง ร้องไม่ต่างจากสุนัข จิ้งจอกเลยแม้ฉันใด ท่านสรภะ ตัวท่านเองก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ‘นอกจากพระ สมณโคดมแล้ว เราก็บันลือสีหนาทได้’ กลับบันลือได้เหมือนสุนัขจิ้งจอกแก่ บันลือไม่ ต่างจากสุนัขจิ้งจอกเลย ท่านสรภะ ลูกไก่ตัวเมียคิดว่าจักขันให้ได้เหมือนพ่อไก่ กลับ ขันได้อย่างลูกไก่ตัวเมียเท่านั้น แม้ฉันใด ท่านสรภะ ตัวท่านเองก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ‘นอกจากพระสมณโคดมแล้ว เราก็จักขันเหมือนพ่อไก่ได้’ กลับขันได้เหมือน ลูกไก่ตัวเมีย ท่านสรภะ โคผู้เข้าใจว่าตนร้องได้อย่างลึกซึ้งในโรงโคที่ว่าง แม้ฉันใด ท่านสรภะ ตัวท่านเองก็ฉันนั้นเหมือนกัน เข้าใจว่าตนร้องได้อย่างลึกซึ้ง” ครั้งนั้น ปริพาชกเหล่านั้นพากันใช้ปฏักคือวาจาทิ่มแทงสรภปริพาชกรอบด้าน
สรภสูตรที่ ๔ จบ
๕. เกสปุตติสูตร
ว่าด้วยกาลามะ๑- ชาวเกสปุตตนิคม
[๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ เสด็จถึงตำบลของพวกกาลามะชื่อว่าเกสปุตตนิคม พวกกาลามะชาวเกสปุตตนิคมได้ทราบว่า “ข่าวว่า ท่านพระสมณโคดมศากย บุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูลเสด็จถึงเกสปุตตนิคมโดยลำดับแล้ว ท่านพระ สมณโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น @เชิงอรรถ : @ กาลามะ เป็นชื่อของพวกกษัตริย์ชาวเกสปุตตนิคม (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๖/๒๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๕๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค พระ องค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกและหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรง แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน’ การ ได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง” ลำดับนั้น พวกกาลามะชาวเกสปุตตนิคมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกสนทนาปราศรัยพอ เป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประนมมือไหว้ไป ทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและ โคตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร พวกกาลามะชาวเกสปุตตนิคมผู้นั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม แสดง ประกาศวาทะ๑- ของตนเท่านั้น แต่กระทบกระเทียบ ดูหมิ่น กล่าวข่มวาทะของผู้อื่น ทำให้ไม่น่าเชื่อถือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม แสดง ประกาศวาทะของตนเท่านั้น แต่กระทบกระเทียบ ดูหมิ่น กล่าวข่มวาทะของผู้อื่น ทำให้ไม่น่าเชื่อถือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความสงสัยลังเลใจในสมณ- พราหมณ์เหล่านั้นว่า “บรรดาท่านสมณพราหมณ์เหล่านี้ ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาลามชนทั้งหลาย ก็สมควรที่ท่านทั้งหลายจะสงสัย สมควรที่จะลังเลใจ ท่านทั้งหลายเกิดความสงสัยลังเลใจในฐานะที่ควรสงสัยอย่าง แท้จริง มาเถิด กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ วาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ คือคติความเชื่อถือหรือความคิดเห็น (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๖/๒๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๕๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ(การคิดเอาเอง) อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน๑- อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติ บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละ (ธรรมเหล่านั้น)เสีย กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โลภะ(ความอยาก ได้) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล “ไม่เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้มีโลภะนี้ ถูกโลภะครอบงำ มีจิตถูกโลภะ กลุ้มรุม ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวน ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์บ้างหรือ” “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โทสะ(ความคิด ประทุษร้าย) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล” @เชิงอรรถ : @ หมายถึงคาดคะเนตามหลักเหตุผล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๕๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

“ไม่เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้มีโทสะนี้ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะ กลุ้มรุม ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวน ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ” “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โมหะ(ความหลง) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล” “ไม่เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้มีโมหะนี้ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะ กลุ้มรุม ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวน ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ” “ อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ ธรรมเหล่านี้เป็น กุศลหรืออกุศล” “เป็นอกุศล พระพุทธเจ้าข้า” “เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ” “เป็นธรรมที่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า” “เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ” “เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียน พระพุทธเจ้าข้า” “ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์หรือไม่ หรือท่านทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร” “ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๕๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาลามะทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าวไว้ว่า มาเถิด กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติ บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละ (ธรรมเหล่านั้น)เสีย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้นั้น เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น มาเถิด กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฏีที่พินิจไว้แล้ว อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๕๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือ ปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้า ถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่ กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโลภะ(ความไม่ อยากได้) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล” “เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้ไม่มีโลภะนี้ ไม่ถูกโลภะครอบงำ มีจิตไม่ถูก โลภะกลุ้มรุม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวน ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ” “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโทสะ(ความไม่คิด ประทุษร้าย) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล” “เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้ไม่มีโทสะนี้ ไม่ถูกโทสะครอบงำ มีจิตไม่ถูก โทสะกลุ้มรุม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวน ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ” “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโมหะ(ความไม่ หลง) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล” “เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้ไม่มีโมหะนี้ ไม่ถูกโมหะครอบงำ มีจิตไม่ถูก โมหะกลุ้มรุม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวน ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือธรรมเหล่านี้เป็น กุศลหรือเป็นอกุศล” “เป็นกุศล พระพุทธเจ้าข้า” “เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ” “เป็นธรรมที่ไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า” “เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ” “เป็นธรรมที่ผู้รู้สรรเสริญ พระพุทธเจ้าข้า” “ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข หรือไม่ หรือท่านทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร” “ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาลามะทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าวไว้ว่า มาเถิด กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือ ปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้า ถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่ เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้นั้น เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น กาลามะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว ทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ กาลามะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่พยาบาทอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ เธอบรรลุความเบาใจ ๔ ประการใน ปัจจุบัน คือ ๑. ถ้าโลกหน้ามี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี เป็นไปได้ที่เรื่อง นั้นจะเป็นเหตุให้เราหลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ นี้คือ ความเบาใจประการที่ ๑ ที่อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว ๒. ถ้าโลกหน้าไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี เราก็รักษา ตนไม่ให้มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่ให้มีทุกข์ ให้มีสุขในปัจจุบันใน โลกนี้ได้ นี้คือความเบาใจประการที่ ๒ ที่อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว ๓. ถ้าบุคคลเมื่อทำบาปก็ชื่อว่าทำบาป เราไม่เจาะจงบาปไว้เพื่อใครๆ เลย เมื่อเราไม่ทำบาปเลย ความทุกข์จะถูกต้องเราได้อย่างไร นี้คือความ เบาใจประการที่ ๓ ที่อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว ๔. ถ้าบุคคลเมื่อทำบาปก็ชื่อว่าไม่ทำบาป เราก็พิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ ทั้ง ๒ ส่วนในโลกนี้ นี้คือความเบาใจประการที่ ๔ ที่อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

กาลามะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่พยาบาทอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ อริยสาวกนั้นชื่อว่าบรรลุความเบาใจ ๔ ประการนี้ในปัจจุบัน พวกกาลามะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนั้นเป็นอย่างนี้ ข้าแต่ พระสุคต เรื่องนั้นเป็นอย่างนี้ พระอริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่พยาบาท อย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ พระอริยสาวกนั้นบรรลุ ความเบาใจ ๔ ประการในปัจจุบัน คือ ๑. ถ้าโลกหน้ามี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี เป็นไปได้ที่เรื่อง นั้นจะเป็นเหตุให้เราหลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ นี้คือ ความเบาใจประการที่ ๑ ที่พระอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว ๒. ถ้าโลกหน้าไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี เราก็รักษาตน ไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน ไม่ให้มีทุกข์ ให้มีสุขในปัจจุบันใน โลกนี้ได้ นี้คือความเบาใจประการที่ ๒ ที่พระอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว ๓. ถ้าบุคคลเมื่อทำบาปก็ชื่อว่าทำบาป เราไม่เจาะจงบาปไว้เพื่อใครๆ เลย เมื่อเราไม่ทำบาปเลย ความทุกข์จะถูกต้องเราได้อย่างไร นี้คือ ความเบาใจประการที่ ๓ ที่พระอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว ๔. ถ้าบุคคลเมื่อทำบาปก็ชื่อว่าไม่ทำบาป เราก็พิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ ทั้ง ๒ ส่วนในโลกนี้ นี้คือความเบาใจประการที่ ๔ ที่พระอริยสาวก นั้นบรรลุแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่พยาบาท อย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ พระอริยสาวกนั้นชื่อว่าบรรลุ ความเบาใจ ๔ ประการนี้ในปัจจุบัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ข้าพระองค์ทั้งหลายนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็น สรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต
เกสปุตติสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

๖. สาฬหสูตร
ว่าด้วยนายสาฬหะถามถึงหลักความเชื่อ
[๖๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระนันทกะอยู่ที่ปราสาทของวิสาขามิคารมาตา ใน บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นายสาฬหะผู้เป็นหลานชายของมิคารเศรษฐี และนายโรหนะผู้เป็นหลานชายของเปขุณิยเศรษฐี เข้าไปหาท่านพระนันทกะถึง ที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระนันทกะได้กล่าวกับสาฬหมิคารนัดดาดังนี้ว่า มาเถิด สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม เหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่ บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละ(ธรรมเหล่านั้น)เสีย สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โลภะมีอยู่หรือ “มี ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “อภิชฌา” บุคคลผู้เพ่งเล็งอยากได้ ของเขานี้ เป็นผู้โลภ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โทสะมีอยู่หรือ” “มี ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “พยาบาท” บุคคลผู้มีจิตพยาบาท (ความคิดร้าย)นี้เป็นผู้คิดร้าย ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น บ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ” “อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โมหะมีอยู่หรือ” “มี ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “อวิชชา” บุคคลผู้ตกอยู่ในอวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)นี้เป็นผู้หลง ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น บ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ” “อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ ธรรมเหล่านี้เป็น กุศลหรืออกุศล” “เป็นอกุศล ท่านผู้เจริญ” “เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ” “เป็นธรรมที่มีโทษ ท่านผู้เจริญ” “เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ” “เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียน ท่านผู้เจริญ” “ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์หรือไม่ หรือท่านทั้งหลาย มีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร” “ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ พวกกระผมมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ ท่านผู้เจริญ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

ท่านพระนันทกะกล่าวว่า สาฬหะและโรหนะ เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าวไว้ว่า มาเถิด สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม เหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่บุคคล ถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย ควรละ(ธรรมเหล่านั้น)เสีย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้นั้น เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น มาเถิด สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฏีที่พินิจไว้แล้ว อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม เหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่ บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย ควรเข้าถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่เถิด สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโลภะมีอยู่หรือ “มี ท่านผู้เจริญ” สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำนี้ว่า “อนภิชฌา” บุคคลผู้ไม่เพ่งเล็งอยาก ได้ของเขานี้ เป็นผู้ไม่โลภ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ” “อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโทสะมีอยู่หรือ” “มี ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำนี้ว่า “อพยาบาท” บุคคลผู้มีจิตไม่ พยาบาทนี้เป็นผู้ไม่คิดร้าย ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ” “อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโมหะมีอยู่หรือ” “มี ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำนี้ว่า “วิชชา” บุคคลผู้มีวิชชานี้เป็นผู้ ไม่หลงอยู่ในความรู้นี้ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ” “อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

“เป็นกุศล ท่านผู้เจริญ” “เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ” “เป็นธรรมที่ไม่มีโทษ ท่านผู้เจริญ” “เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ” “เป็นธรรมที่ผู้รู้สรรเสริญ ท่านผู้เจริญ” “ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข หรือไม่ หรือท่านทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร” “ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข พวกกระผมมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ ท่านผู้เจริญ” ท่านพระนันทกะกล่าวว่า สาฬหะและโรหนะ เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าว ไว้ว่า มาเถิด ท่านสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม เหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย ควรเข้าถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่เถิด เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้นั้น เราจึงกล่าวไว้ เช่นนั้น สาฬหะและโรหนะ พระอริยสาวกนั้นปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ... ทิศ ที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่ เหล่าในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอด ทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินี้๑- มีอยู่ ธรรมอันทราม๒- มีอยู่ ธรรมอันประณีต๓- มีอยู่ การที่สัญญานี้สลัดออกอย่าง ยอดเยี่ยม๔- มีอยู่” เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป พระอริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อนเรามีโลภะ เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี บัดนี้โลภะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี เมื่อก่อนเรามีโทสะ ฯลฯ เมื่อก่อนเรามีโมหะ เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี บัดนี้โมหะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี” เธอไม่มีความทะยาน อยาก ดับสนิทเยือกเย็น เสวยสุข มีตนเป็นประหนึ่งพรหมอยู่ในปัจจุบัน
สาฬหสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ ธรรมชาตินี้ หมายถึงทุกขสัจ กล่าวคือขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) @(องฺ.ติก.อ. ๒/๖๗/๒๐๔) @ ธรรมอันทราม หมายถึงสมุทัยสัจ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๗/๒๐๔) @ ธรรมอันประณีต หมายถึงมรรคสัจ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๗/๒๐๕) @ การสลัดออกอย่างยอดเยี่ยม หมายถึงนิโรธสัจ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๗/๒๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๗. กถาวัตถุสูตร

๗. กถาวัตถุสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ควรกล่าว
[๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ๑- ๓ ประการนี้ กถาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ควรกล่าวถ้อยคำย้อนอดีตกาลว่า “อดีตกาลได้มีอย่างนี้” ๒. ควรกล่าวถ้อยคำมุ่งถึงอนาคตกาลว่า “อนาคตกาลจักมีอย่างนี้” ๓. ควรกล่าวถ้อยคำสืบเนื่องกับปัจจุบันกาลว่า “ปัจจุบันกาลมีอยู่อย่างนี้” ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ไม่ตอบโดยนัยเดียวซึ่งปัญหาที่ควร ตอบนัยเดียว ไม่จำแนกตอบซึ่งปัญหาที่ควรจำแนกตอบ ไม่ย้อนถามแล้วจึงตอบ ปัญหาที่ควรย้อนถามแล้วจึงตอบ ไม่พักปัญหาที่ควรพักไว้ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูดด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ตอบโดยนัยเดียวซึ่งปัญหาที่ ควรตอบโดยนัยเดียว จำแนกตอบปัญหาที่ควรจำแนกตอบ ย้อนถามแล้วจึงตอบ ปัญหาที่ควรย้อนถามแล้วจึงตอบ พักปัญหาที่ควรพักไว้ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อ ว่า “ผู้ควรพูดด้วย” ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ไม่ตั้งมั่นอยู่ในฐานะและอฐานะ๒- ไม่ตั้งมั่นอยู่ในปริกัป๓- ไม่ตั้งมั่นอยู่ในเรื่องที่ควรรู้ ไม่ตั้งมั่นอยู่ในเรื่องปฏิบัติ เมื่อ เป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูดด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ตั้งมั่น อยู่ในฐานะและอฐานะ ตั้งมั่นอยู่ในปริกัป ตั้งมั่นอยู่ในเรื่องที่ควรรู้ ตั้งมั่นอยู่ใน เรื่องปฏิบัติ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ควรพูดด้วย” @เชิงอรรถ : @ กถาวัตถุ หมายถึงเหตุที่นำมาอภิปราย นำมาเสวนากัน (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๘/๒๐๕) @ ไม่ตั้งมั่นอยู่ในฐานะและอฐานะ หมายถึงไม่ตั้งมั่นอยู่ในสิ่งที่มีเหตุและไม่มีเหตุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๘/๒๐๖) @ ไม่ตั้งมั่นอยู่ในปริกัป หมายถึงไม่ตั้งมั่นอยู่ในการถามการตอบปัญหา คือบุคคลผู้เตรียมถามปัญหา เมื่อ @ถูกอีกฝ่ายหนึ่งทักขึ้นก่อนจึงเลี่ยงไปถามปัญหาข้ออื่น และเมื่อถูกถามปัญหาก็ครุ่นคิดที่จะตอบปัญหานั้น @แต่เมื่อถูกอีกฝ่ายหนึ่งทักเข้า จึงเลี่ยงไปตอบปัญหาอื่นอีกเสีย (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๘/๒๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๗. กถาวัตถุสูตร

ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา พูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดง อาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูด ด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดง อาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ควรพูดด้วย” ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา พูดฟุ้งเฟ้อ พูดย่ำยี พูดหัวเราะเยาะ คอยจับผิด เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูดด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถาม ปัญหา ไม่พูดฟุ้งเฟ้อ ไม่พูดย่ำยี ไม่พูดหัวเราะเยาะ ไม่คอยจับผิด เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ควรพูดด้วย” ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้มีอุปนิสัย๑- หรือไม่มีอุปนิสัย” บุคคลผู้ไม่เงี่ยหูฟัง ชื่อว่า “ไม่มีอุปนิสัย” บุคคลผู้เงี่ยหูฟังชื่อว่า “มีอุปนิสัย” บุคคลนั้นผู้มีอุปนิสัยย่อมรู้ธรรมอย่างหนึ่ง กำหนดรู้ธรรมอย่างหนึ่ง ละ ธรรมอย่างหนึ่ง ทำให้แจ้งธรรมอย่างหนึ่ง เขาเมื่อรู้ยิ่งธรรมอย่างหนึ่ง กำหนดรู้ ธรรมอย่างหนึ่ง ละธรรมอย่างหนึ่ง ทำให้แจ้งธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมสัมผัสความ หลุดพ้นโดยชอบ การสนทนากันมีประโยชน์อย่างนี้ การปรึกษากันมีประโยชน์ อย่างนี้ อุปนิสัยมีประโยชน์อย่างนี้ การเงี่ยหูฟังมีประโยชน์อย่างนี้ คือ ความหลุด พ้นแห่งจิตเพราะความไม่ถือมั่น ชนเหล่าใดเป็นคนมักโกรธ ฟุ้งซ่าน โอ้อวด พูดเพ้อเจ้อ ชนเหล่านั้นชื่อว่ายึดถือถ้อยคำที่ไม่ประเสริฐ มองดูเรื่องผิดพลาดของกันและกัน ชนเหล่าใดชื่นชมทุพภาษิต ความพลั้งพลาด ความหลงลืม ความพ่ายแพ้ของกันและกัน พระอริยะไม่พูดถึงเรื่องนั้นของชนเหล่านั้น @เชิงอรรถ : @ อุปนิสัย หมายถึงปัจจัยส่งเสริมที่สั่งสมไว้ในอดีต (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๘/๒๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๘. อัญญติตถิยสูตร

แต่ถ้าบัณฑิตรู้จักกาลอันเหมาะสมแล้ว ประสงค์จะพูด ควรมีความรู้ ไม่โกรธ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่โอ้อวด ไม่ใจเบาหุนหันพลันแล่น ไม่คอยจับผิด พูดแต่เรื่องที่เกี่ยวกับบุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรม เป็นเรื่องที่พระอริยะประพฤติกันมา เพราะรู้ทั่วถึงโดยชอบ เขาไม่พูดริษยา บุคคลควรชื่นชมถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต ไม่ควรเลื่อมใสถ้อยคำที่เป็นทุพภาษิต ไม่ควรใส่ใจถึงความแข่งดี และไม่ควรคอยจับผิด ไม่ควรพูดทับถม ไม่ควรพูดย่ำยี ไม่ควรพูดเหลาะแหละ เพื่อความรู้ เพื่อความเลื่อมใส สัตบุรุษทั้งหลายจึงมีการปรึกษากัน พระอริยะทั้งหลายย่อมปรึกษากันเช่นนั้นแล นี้เป็นการปรึกษากันของพระอริยะทั้งหลาย บุคคลผู้มีปัญญารู้เรื่องนี้แล้ว ไม่ควรถือตัว ควรปรึกษากัน
กถาวัตถุสูตรที่ ๗ จบ
๘. อัญญติตถิยสูตร
ว่าด้วยพวกอัญเดียรถีย์
[๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ คือ (๑) ราคะ(ความกำหนัด) (๒) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) (๓) โมหะ(ความหลง) ท่านทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ธรรม ๓ ประการนี้มีความแปลกกันอย่างไร มีคำอธิบายอย่างไร มีความต่างกัน อย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๘. อัญญติตถิยสูตร

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบพวกเขาอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรง อธิบายเนื้อความแห่งภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระ ภาคแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ ตรัสเรื่องนี้ว่า ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ นี้ คือ (๑) ราคะ (๒) โทสะ (๓) โมหะ ท่านทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ธรรม ๓ ประการนี้มีความแปลกกันอย่างไร มีคำอธิบายอย่างไร มีความต่างกันอย่างไร เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบพวกเขาอย่างนี้ว่า ราคะมีโทษน้อยแต่ คลายช้า โทสะมีโทษมากแต่คลายเร็ว โมหะมีโทษมากและคลายช้า ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ราคะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “สุภนิมิต” เมื่อมนสิการสุภนิมิตโดยไม่แยบคาย ราคะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ราคะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อ ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โทสะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “ปฏิฆนิมิต” เมื่อมนสิการปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคาย โทสะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โทสะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อ ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๘. อัญญติตถิยสูตร

ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โมหะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “อโยนิโสมนสิการ” เมื่อมนสิการโดยไม่แยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โมหะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อ ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ราคะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “อสุภนิมิต” เมื่อมนสิการอสุภนิมิตโดยแยบคาย ราคะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ราคะที่ ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โทสะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “เมตตาเจโตวิมุตติ๑-” เมื่อมนสิการเมตตาเจโตวิมุตติ โดยแยบคาย โทสะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้โทสะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โมหะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “โยนิโสมนสิการ” เมื่อมนสิการโดยแยบคาย โมหะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โมหะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้
อัญญติตถิยสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๗ เอกกนิบาต หน้า ๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๙. อกุสลมูลสูตร

๙. อกุสลมูลสูตร
ว่าด้วยรากเหง้าของอกุศล
[๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล(รากเหง้าของอกุศล) ๓ ประการนี้ อกุศลมูล ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อกุศลมูล คือ โลภะ(ความอยากได้) ๒. อกุศลมูล คือ โทสะ(ความคิดประทุษร้าย) ๓. อกุศลมูล คือ โมหะ(ความหลง) โลภะจัดเป็นอกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้มีโลภะทำทางกาย วาจา และใจจัดเป็น อกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้มีโลภะ ถูกโลภะครอบงำ มีจิตถูกโลภะกลุ้มรุม ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่จริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสีย ทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็นอกุศลกรรม บาปอกุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด มีโลภะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีโลภะนั้นด้วยประการฉะนี้ โทสะจัดเป็นอกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้มีโทสะทำทางกาย วาจา และใจจัดเป็น อกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้มีโทสะ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุม ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่จริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสีย ทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็นอกุศลกรรม บาปอกุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นแดนเกิด มีโทสะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีโทสะนั้นด้วยประการฉะนี้ โมหะจัดเป็นอกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้มีโมหะทำทางกาย วาจา และใจจัดเป็น อกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่จริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็นอกุศลกรรม บาปอกุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด มีโมหะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่ผู้บุคคลผู้มีโมหะนั้นด้วยประการฉะนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๙. อกุสลมูลสูตร

บุคคลเช่นนี้เรียกว่า อกาลวาที(กล่าวไม่ถูกเวลา)บ้าง อภูตวาที(กล่าวเรื่องไม่ จริง)บ้าง อนัตถวาที(กล่าวไม่อิงอรรถ)บ้าง อธัมมวาที(กล่าวไม่อิงธรรม)บ้าง อวินยวาที(กล่าวไม่อิงวินัย)บ้าง เพราะเหตุไร บุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า อกาลวาทีบ้าง อภูตวาทีบ้าง อนัตถวาที บ้าง อธัมมวาทีบ้าง อวินยวาทีบ้าง เพราะบุคคลนี้ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียด เบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรง พลัง”บ้าง เขาเมื่อถูกว่ากล่าวด้วยเรื่องที่เป็นจริงก็ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ เมื่อถูกว่า กล่าวด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง กลับไม่พยายามที่จะปฏิเสธเรื่องนั้นว่า “แม้เพราะเหตุนี้ เรื่องนี้จึงไม่จริง ไม่แท้” ฉะนั้นบุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า อกาลวาทีบ้าง อภูตวาทีบ้าง อนัตถวาทีบ้าง อธัมมวาทีบ้าง อวินยวาทีบ้าง บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโลภะครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศล- ธรรมที่เกิดเพราะโลภะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนใน ปัจจุบัน หลังจากตายแล้วย่อมหวังได้ทุคติ๑- บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโทสะ ฯลฯ ที่เกิดเพราะโมหะ ครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโมหะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ เปรียบเหมือนต้นสาละ ต้นตะแบก หรือต้นสะคร้อที่ถูกเถาย่านทราย ๓ ชนิด๒- คลุมยอด พันรอบต้น ย่อมถึงความเสื่อม ถึงความพินาศ ถึงความฉิบหายฉันใด บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโลภะครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศล ธรรมที่เกิดเพราะโลภะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนใน ปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ @เชิงอรรถ : @ ทุคติ ในที่นี้หมายถึงทุคติ ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๐/๒๑๔) @ เถาย่านทราย ๓ ชนิด ในที่นี้ใช้เปรียบเทียบถึงอกุศลมูล ๓ ประการ (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๐/๒๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๙. อกุสลมูลสูตร

บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโทสะ ฯลฯ ที่เกิดเพราะโมหะ ครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโมหะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล ๓ ประการนี้แล กุศลมูล(รากเหง้าแห่งกุศล) ๓ ประการนี้ กุศลมูล ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กุศลมูล คือ อโลภะ(ความไม่อยากได้) ๒. กุศลมูล คือ อโทสะ(ความไม่คิดประทุษร้าย) ๓. กุศลมูล คือ อโมหะ(ความไม่หลง) อโลภะจัดเป็นกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้ไม่มีโลภะทำทางกาย วาจา และใจจัด เป็นกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้ไม่มีโลภะ ไม่ถูกโลภะครอบงำ มีจิตไม่ถูกโลภะ กลุ้มรุม ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็น กุศลกรรม กุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดนเกิด มีอโลภะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีโลภะนั้น ด้วยประการฉะนี้ อโทสะจัดเป็นกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้ไม่มีโทสะทำทางกาย วาจา และใจจัด เป็นกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้ไม่มีโทสะ ไม่ถูกโทสะครอบงำ มีจิตไม่ถูกโทสะ กลุ้มรุม ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็นกุศลกรรม กุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ มีอโทสะเป็นแดนเกิด มีอโทสะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีโทสะนั้นด้วย ประการฉะนี้ อโมหะจัดเป็นกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้ไม่มีโมหะทำทางกาย วาจา และใจจัด เป็นกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้ไม่มีโมหะ ไม่ถูกโมหะครอบงำ มีจิตไม่ถูกโมหะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๙. อกุสลมูลสูตร

กลุ้มรุม ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัด เป็นกุศลกรรม กุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดนเกิด มีอโมหะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีโมหะนั้นด้วย ประการฉะนี้ บุคคลเช่นนี้เรียกว่า กาลวาทีบ้าง ภูตวาทีบ้าง อัตถวาทีบ้าง ธัมมวาทีบ้าง วินยวาทีบ้าง เพราะเหตุไร บุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า กาลวาทีบ้าง ภูตวาทีบ้าง อัตถวาทีบ้าง ธัมมวาทีบ้าง วินยวาทีบ้าง เพราะบุคคลนี้ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการ เบียดเบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” เขาเมื่อถูกว่ากล่าวด้วยเรื่องที่เป็นจริงก็ยอมรับไม่ปฏิเสธ เมื่อถูกว่ากล่าว ด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริงก็พยายามที่จะปฏิเสธเรื่องนั้นว่า “แม้เพราะเหตุนี้เรื่องนี้จึง ไม่จริง ไม่แท้” ฉะนั้นบุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า กาลวาทีบ้าง ภูตวาทีบ้าง อัตถวาทีบ้าง ธัมมวาทีบ้าง วินยวาทีบ้าง บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโลภะเป็นอันบุคคลเช่นนี้ละได้เด็ดขาด ตัดรากถอน โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ ไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อม ปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโทสะ ฯลฯ ที่เกิดจากโมหะเป็นอันบุคคลเช่นนี้ ละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่ พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อมปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน เปรียบเหมือนต้นสาละ ต้นตะแบก หรือต้นสะคร้อ ถูกเถาย่านทราย ๓ ชนิด คลุมยอดพันรอบต้น ทีนั้น บุรุษถือจอบและตะกร้ามาตัดเครือเถาย่านทรายแล้ว ก็ขุดรอบๆ โคน ถอนรากขึ้นแม้กระทั่งเท่ารากหญ้าคา เขาหั่นเถาย่านทรายนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

เป็นท่อนเล็กท่อนน้อยแล้วผ่าออกเอารวมกันเข้า ผึ่งที่ลมและแดดแล้วเอาไฟเผา ทำให้เป็นเขม่าแล้วโปรยที่ลมแรงหรือลอยในแม่น้ำที่ไหลเชี่ยว เถาย่านทรายเหล่า นั้นถูกบุรุษนั้นตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่ พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโลภะเป็นอันบุคคลเช่นนี้ละได้ เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อมปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโทสะ ฯลฯ ที่เกิดจากโมหะเป็นอันบุคคลเช่นนี้ ละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่ พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อมปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย กุศลมูล ๓ ประการนี้แล
อกุสลมูลสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ
[๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับในวันอุโบสถนั้น ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับนางวิสาขาดังนี้ว่า วิสาขา เธอมาจากที่ไหนแต่ยัง วันเชียว นางวิสาขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้หม่อมฉันจะรักษาอุโบสถ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิสาขา อุโบสถ ๓ ประการ อุโบสถ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. โคปาลอุโบสถ (อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างคนเลี้ยงโค) ๒. นิคัณฐอุโบสถ (อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างนิครนถ์) ๓. อริยอุโบสถ (อุโบสถปฏิบัติอย่างอริยสาวก) โคปาลอุโบสถ เป็นอย่างไร คือ คนเลี้ยงโคในตอนเย็นมอบโคให้เจ้าของย่อมเห็นประจักษ์อย่างนี้ว่า วันนี้ โคทั้งหลายเที่ยวไปในที่โน้นๆ ดื่มน้ำในแหล่งโน้นๆ พรุ่งนี้ ในตอนนี้ โคทั้งหลาย จักเที่ยวไปในที่โน้นๆ จักดื่มน้ำในแหล่งโน้นๆ ฉันใด คนที่รักษาอุโบสถบางคนใน โลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดอย่างนี้ว่า “วันนี้ เราเองเคี้ยวกินของเคี้ยวชนิดนี้ๆ บริโภคของกินชนิดนี้ๆ พรุ่งนี้ ในตอนนี้ เราจักเคี้ยวกินของเคี้ยวชนิดนี้ๆ จัก บริโภคของกินชนิดนี้ๆ” บุคคลนั้นมีใจประกอบด้วยอภิชฌาย่อมให้วันเวลาผ่านไป ด้วยโลภะนั้น วิสาขา โคปาลอุโบสถเป็นอย่างนี้แล โคปาลอุโบสถที่บุคคลรักษาอย่างนี้แล ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก (๑) นิคัณฐอุโบสถ เป็นอย่างไร คือ มีสมณะนิกายหนึ่งนามว่านิครนถ์ นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนสาวกอย่างนี้ว่า “มาเถิด พ่อคุณ ท่านจงลงอาญาในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเลยร้อยโยชน์ไป จงลงอาญาในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันตกเลยร้อยโยชน์ไป จงลงอาญาในหมู่สัตว์ที่ อยู่ทางทิศเหนือเลยร้อยโยชน์ไป จงลงอาญาในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศใต้เลยร้อยโยชน์ ไป” นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนเพื่อเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์บางเหล่า ไม่ชักชวนเพื่อเอ็นดู อนุเคราะห์สัตว์บางเหล่าด้วยประการฉะนี้ นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนสาวกอย่างนี้ใน วันอุโบสถวันนั้นว่า “มาเถิด พ่อคุณ ท่านจงทิ้งผ้าทุกชิ้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราไม่ เป็นที่กังวลของใครๆ ในที่ไหนๆ และตัวเราก็ไม่มีความกังวลในบุคคลและสิ่งของ ใดๆ ในที่ไหนๆ’ แต่บิดาและมารดาของเขารู้อยู่ว่า “ผู้นี้เป็นบุตรของเรา” แม้เขาก็รู้ว่า “ท่านเหล่านี้เป็นบิดาและมารดาของเรา” อนึ่ง บุตรและภรรยาของเขาก็รู้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

“ผู้นี้เป็นสามีของเรา” แม้ตัวเขาก็รู้ว่า “ผู้นี้เป็นบุตรและภรรยาของเรา” พวกทาส คนงาน และคนรับใช้ใกล้ชิดก็รู้ว่า “ผู้นี้เป็นนายของพวกเรา” แม้เขาก็รู้ว่า “คน เหล่านี้เป็นทาส คนงาน และคนรับใช้ใกล้ชิดของเรา” นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนในการ พูดเท็จในเวลาที่ควรชักชวนในการพูดคำสัตย์ด้วยประการฉะนี้ เรากล่าวถึงกรรม นี้ของผู้นั้นว่าเป็นมุสาวาท พอล่วงราตรีนั้นไป เขาบริโภคโภคะเหล่านั้นที่เจ้าของไม่ ได้ให้ เรากล่าวถึงกรรมนี้ของผู้นั้นว่าเป็นอทินนาทาน วิสาขา นิคัณฐอุโบสถเป็นอย่างนี้แล นิคัณฐอุโบสถที่บุคคลรักษาอย่างนี้แล ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก (๒) อริยอุโบสถ เป็นอย่างไร คือ ๑. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค” เมื่ออริยสาวกระลึกถึงตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง เศร้าหมองแห่งจิต๑- เสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ ทำศีรษะที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำศีรษะที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ การทำศีรษะที่เปี้อนให้สะอาดย่อมมีได้เพราะอาศัยตะกรัน๒- ดินเหนียว น้ำและอาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำศีรษะที่เปื้อนให้ สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ เครื่องเศร้าหมองแห่งจิต หมายถึงนิวรณ์ ๕ ประการ คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจ- @กุกกุจจะ และวิจิกิจฉา (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๑/๒๑๗) @ ตะกอนที่จับเกรอะอยู่ก้นภาชนะ ในที่นี้หมายเอาตะกรันมะขามป้อม (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๑/๒๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค” เมื่อเธอระลึกถึง ตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า รักษาพรหมอุโบสถ๑- อยู่ร่วมกับพรหม และเพราะปรารภ พรหม จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ก) ๒. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คืออริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระธรรมว่า ๊พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้ มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๒- ควร เรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” เมื่อเธอระลึกถึงพระ ธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ ทำกายที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำกายที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ การทำกายที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้เพราะอาศัยเชือก ผงอาบน้ำ และ อาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำกายที่เปื้อนให้สะอาด ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระธรรมว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” เมื่อเธอระลึกถึงพระ @เชิงอรรถ : @ พรหมอุโบสถ หมายถึงอุโบสถที่รักษาโดยระลึกถึงพระคุณของสัมมาสัมพุทธเจ้า คำว่า “พรหม” ในที่ @นี้หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๑/๒๑๘) @ ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ไม่จำกัดด้วยกาล ให้ผลแก่ @ผู้ปฏิบัติทุกเวลาทุกโอกาส บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

ธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่ารักษาธัมมอุโบสถ๑- อยู่ร่วมกับธรรม และเพราะปรารภธรรม จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำ จิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ข) ๓. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล๒- พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา นำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ อันยอดเยี่ยมของโลก” เมื่อเธอระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความ ปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ ทำผ้าที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ความเพียร การทำผ้าที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ การทำผ้าที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้เพราะอาศัยเกลือ น้ำด่าง โคมัย น้ำ และอาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำผ้าที่เปื้อนให้ สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก” เมื่อเธอระลึกถึง @เชิงอรรถ : @ ธัมมอุโบสถ หมายถึงอุโบสถที่รักษาปรารภโลกุตตรธรรม ๙ ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๗๑/๒๑๘) @ ได้แก่ (๑) พระผู้บรรลุโสดาปัตติผล (๒) พระผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค (๓) พระผู้บรรลุสกทาคามิผล @(๔) พระผู้ดำรงอยู่ในสกทาคามิมรรค (๕) พระผู้บรรลุอนาคามิผล (๖) พระผู้ดำรงอยู่ในอนาคามิมรรค @(๗) พระผู้บรรลุอรหัตตผล (๘) พระผู้ดำรงอยู่ในอรหัตตมรรค (อภิ.ปุ. ๓๖/๒๐๗/๑๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

พระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่ารักษาสังฆอุโบสถ๑- อยู่ร่วมกับพระสงฆ์ และเพราะปรารภสงฆ์ จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำ จิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ค) ๔. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงศีลของตนที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทแก่ตัว ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไป เพื่อสมาธิ เมื่อเธอระลึกถึงศีลอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง เศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ ทำกระจกเงาที่มัวให้ใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำกระจกเงาที่มัวให้ใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ การทำกระจกเงาที่มัวให้ใสย่อมมีได้เพราะอาศัยน้ำมัน เถ้า แปรง และ อาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำกระจกเงาที่มัวให้ใส ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงศีลของตนที่ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ เมื่อเธอระลึกถึงศีลของตนอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง เศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า รักษาสีลอุโบสถ อยู่ร่วมกับศีล และเพราะปรารภศีล จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมอง แห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่าง นี้แล (๓ ฆ) @เชิงอรรถ : @ สังฆอุโบสถ หมายถึงอุโบสถที่รักษาปรารภอริยบุคคล ๘ จำพวก (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๑/๒๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

๕. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้ว ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงเทวดาว่า “เทวดาชั้นจาตุมหาราช ชั้น ดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาที่นับเนื่องใน หมู่พรหม เทวดาชั้นที่สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีศรัทธาเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีศีลเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีสุตะ เช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพ นั้น แม้ตัวเราก็มีจาคะเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีปัญญาเช่นนั้นอยู่พร้อม” เมื่อเธอระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาทั้งของตนและของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จิตย่อม ผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ ทำทองที่หมองให้สุกใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำทองที่หมองให้สุกใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ การทำทองที่หมองให้สุกใสย่อมมีได้เพราะอาศัยเบ้าหลอม เกลือ ยางไม้ คีมและความพยายามที่เหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำทองที่หมองให้สุกใส ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงเทวดาว่า “เทวดาชั้นจาตุมหาราช ชั้น ดาวดึงส์ ฯลฯ เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม เทวดาชั้นที่สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็ มีศรัทธาเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด ฯลฯ สุตะ ฯลฯ จาคะ ฯลฯ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีปัญญาเช่นนั้นอยู่พร้อม” เมื่อเธอระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

ปัญญาทั้งของตนและของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า รักษาเทวตาอุโบสถ อยู่ร่วมกับเทวดา และเพราะปรารภเทวดา จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ง) อริยสาวกนั้นย่อมเห็นประจักษ์ว่า “พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่า สัตว์ คือวางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์ เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือวางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และ รักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือรับเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาด จากการลักทรัพย์ ถือเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็น คนสะอาด อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตาม พระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์๑- คือประพฤติ พรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้านอยู่ตลอดชีวิต แม้เรา ก็ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจาก เมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้านอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์ แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือพูดแต่คำสัตย์ ดำรงความ สัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก น่าเชื่อถือ ไม่หลอกลวงชาวโลกอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละ @เชิงอรรถ : @ พรหมจรรย์ มีความหมายหลายนัย ในที่นี้หมายถึงเมถุนวิรัติ หรือการงดเว้นจากเมถุนธรรม คือกิจ @ของคนคู่ การร่วมประเวณีหรือการเสพสังวาสกัน (ที.สี.อ. ๑๘๙/๑๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก น่าเชื่อถือ ไม่หลอกลวงชาวโลกอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่า ทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๑- อัน เป็นเหตุแห่งความประมาทอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมา คือสุราและมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉัน อาหารในเวลาวิกาลอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็บริโภคมื้อเดียว ไม่บริโภคตอนกลางคืน เว้นขาดจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาลอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี การดู การละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล และจากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวง ดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัวอยู่ตลอด ชีวิต แม้เราก็เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี การดูการละเล่นอัน เป็นข้าศึกแก่กุศล และจากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของ หอมและเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัวอยู่ตลอดวันหนึ่งและ คืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ คือบนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจาก ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ คือบนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วย หญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระ อรหันต์และรักษาอุโบสถ @เชิงอรรถ : @ สุราและเมรัย หมายถึงสุรา ๕ อย่าง คือ (๑) สุราแป้ง (๒) สุราขนม (๓) สุราข้าวสุก (๔) สุราใส่ @เชื้อ (๕) สุราผสมเครื่องปรุง และเมรัย ๕ อย่าง คือ (๑) เครื่องดองดอกไม้ (๒) เครื่องดองผลไม้ @(๓) เครื่องดองน้ำอ้อย (๔) เครื่องดองน้ำผึ้ง (๕) เครื่องดองผสมเครื่องปรุง (ขุ.ขุ.อ. ๑๗-๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

วิสาขา อริยอุโบสถเป็นอย่างนี้แล อริยอุโบสถที่บุคคลรักษาอย่างนี้แลย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก อริยอุโบสถมีผลมากเพียงไร มีอานิสงส์มากเพียงไร มีความรุ่งเรืองมาก เพียงไร แผ่ไพศาลมากเพียงไร คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี(เป็นผู้ ยิ่งใหญ่เหนือกว่าผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เหล่านี้คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้นยัง มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์โดย ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึง เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แล ว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรีโดย ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษ บางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความ เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติ ของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๒๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นยามา ๓๐ ราตรีโดยราตรี นั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นยามา ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษ บางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นยามา ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๔๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต ๓๐ ราตรีโดยราตรี นั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษ บางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความ เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๘๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดย ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรี หรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้า ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลัง จากตายแล้วพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรา กล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ในเวลากลางคืน ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ทั้งสอง งดงามส่องสว่างโคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น กำจัดความมืดไปในอากาศ ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด ทรัพย์ คือแก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ ทองสิงคีและทองคำ ตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น และแสงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด ยังไม่ถึงแม้เสี้ยวที่ ๑๖ ของอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์
อุโปสถสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ติตถายตนสูตร ๒. ภยสูตร ๓. เวนาคปุรสูตร ๔. สรภสูตร ๕. เกสปุตติสูตร ๖. สาฬหสูตร ๗. กถาวัตถุสูตร ๘. อัญญติตถิยสูตร ๙. อกสลมูลสูตร ๑๐. อุโปสถสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๙๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๑. ฉันนสูตร

๓. อานันทวรรค
หมวดว่าด้วยพระอานนท์
๑. ฉันนสูตร
ว่าด้วยฉันนปริพาชก
[๗๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อฉันนะเข้าไปหาท่านพระ อานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ แม้พวกท่านก็บัญญัติ การละราคะ(ความกำหนัด) โทสะ(ความคิดประทุษร้าย) และโมหะ(ความหลง)หรือ” พระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ พวกเราเองบัญญัติการละราคะ โทสะ และโมหะ” ฉันนปริพาชกเรียนถามว่า “ผู้มีอายุ ก็พวกท่านเห็นโทษในราคะอย่างไร จึง บัญญัติการละราคะ เห็นโทษในโทสะอย่างไรจึงบัญญัติการละโทสะ และเห็นโทษใน โมหะอย่างไรจึงบัญญัติการละโมหะ” พระอานนท์ตอบว่า บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อ เบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติกาย- ทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมไม่รู้ชัดตามความ เป็นจริงถึงประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เมื่อละ ราคะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงถึงประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๙๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๑. ฉันนสูตร

ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย ราคะนั่นเองทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด เป็นเหมือนคนไม่มี ดวงตา ทำให้ไม่รู้อะไร มีปัญญามืดบอด เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อ พระนิพพาน บุคคลผู้มีโทสะ ฯลฯ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อ เบียดเบียนตน ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติกาย- ทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมไม่รู้ชัดตามความ เป็นจริงถึงประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เมื่อ ละโมหะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงถึงประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย โมหะนั่นเองทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด เป็นเหมือนคนไม่ มีดวงตา ทำให้ไม่รู้อะไร มีปัญญามืดบอด เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น ไม่เป็นไป เพื่อพระนิพพาน พวกเราเห็นโทษในราคะเช่นนี้แลจึงบัญญัติการละราคะ เห็นโทษในโทสะเช่นนี้ จึงบัญญัติการละโทสะ และเห็นโทษในโมหะเช่นนี้จึงบัญญัติการละโมหะ ฉันนปริพาชกเรียนถามว่า “ผู้มีอายุ มรรคปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และ โมหะนั้นมีอยู่หรือ” พระอานนท์ตอบว่า “มรรคปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นมีอยู่” ฉันนปริพาชกเรียนถามต่อไปอีกว่า “ผู้มีอายุ มรรคปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้น เป็นอย่างไร” พระอานนท์ตอบว่า “คืออริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๙๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๒. อาชีวกสูตร

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ ผู้มีอายุ นี้แลคือมรรคปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้น” ฉันนปริพาชกกล่าวว่า “ผู้มีอายุ มรรคปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั่น ดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
ฉันนสูตรที่ ๑ จบ
๒. อาชีวกสูตร
ว่าด้วยสาวกของอาชีวก
[๗๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น คหบดีคนหนึ่ง เป็นสาวกของอาชีวก เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ในโลก คนพวกไหนกล่าวธรรมไว้ดีแล้ว ปฏิบัติดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว” พระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ในเรื่องนี้เราขอย้อนถามท่าน ท่าน พึงตอบตามที่ท่านพอใจ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือคนพวกใดแสดงธรรมเพื่อละ ราคะ โทสะ และโมหะ คนพวกนั้นกล่าวธรรมไว้ดีแล้วหรือไม่ หรือท่านมีความ เข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร” คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ คนพวกใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ และ โมหะ คนพวกนั้นชื่อว่ากล่าวธรรมไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้ามีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้” พระอานนท์กล่าวว่า “คหบดี ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือคนพวกใด ปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ คนพวกนั้นปฏิบัติดีแล้วในโลกหรือไม่ หรือ ท่านมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๙๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๒. อาชีวกสูตร

คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ คนพวกใดปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ คนพวกนั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้วในโลก ข้าพเจ้ามีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้” พระอานนท์กล่าวว่า “คหบดี ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือคนพวกใดละ ราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่ พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกใดละโทสะได้แล้ว ฯลฯ คนพวกใดละ โมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่ พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกนั้นดำเนินไปดีแล้วในโลกหรือไม่ หรือ ท่านมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร” คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ คนพวกใดละราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้ คนพวกใดละโทสะได้แล้ว ฯลฯ คนพวกใดละโมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้ คนพวกนั้นชื่อว่าดำเนินไปดีแล้วในโลก ข้าพเจ้ามีความเข้าในเรื่องนี้อย่างนี้” พระอานนท์กล่าวว่า “คหบดี เรื่องนี้ท่านได้ตอบแล้วว่า ‘ท่านผู้เจริญ คนพวก ใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ คนพวกนั้นชื่อว่ากล่าวธรรมไว้ดีแล้ว’ เรื่องนี้ท่านได้ตอบแล้วว่า ‘ท่านผู้เจริญ คนพวกใดปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ และ โมหะ คนพวกนั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้วในโลก’ เรื่องนี้ท่านได้ตอบแล้วเหมือนกันว่า ‘ท่านผู้เจริญ คนพวกใดละราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกใดละโทสะ ได้แล้ว ฯลฯ คนพวกใดละโมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกนั้นชื่อว่า ดำเนินไปดีแล้วในโลกแล” คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านไม่ยกย่อง ธรรมของตนเอง และไม่มีการรุกรานธรรมของผู้อื่น มีแต่แสดงธรรมตามเหตุผล กล่าวแต่เนื้อความ และไม่ได้นำความเห็นของตนเข้าไปเกี่ยวข้อง ท่านแสดงธรรม เพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ ท่านอานนท์ผู้เจริญ ท่านกล่าวธรรมไว้ดีแล้ว ท่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๙๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๓. มหานามสักกสูตร

อานนท์ผู้เจริญ ท่านปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ ท่านปฏิบัติดีแล้วในโลก ท่านอานนท์ผู้เจริญ ท่านละราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านละโทสะได้แล้ว ฯลฯ ท่านละโมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านดำเนินไปดีแล้วในโลก ท่านผู้เจริญ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะ ยิ่งนัก พระคุณเจ้าอานนท์ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือน บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้ง พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระคุณเจ้าอานนท์จงจำข้าพเจ้าว่าเป็น อุบาสกผู้เข้าถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
อาชีวกสูตรที่ ๒ จบ
๓. มหานามสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้ามหานามศากยะ
[๗๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหายจากความอาพาธไม่นาน ครั้งนั้น เจ้ามหานามศากยะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเวลานานแล้วที่ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มี พระภาคแสดงอย่างนี้ว่า ญาณ(ความรู้) เกิดแก่ผู้มีใจเป็นสมาธิ ไม่เกิดแก่ผู้มีใจไม่ เป็นสมาธิ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมาธิเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง หรือว่า ญาณเกิด ก่อน สมาธิเกิดทีหลัง” ในขณะนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคเพิ่งจะทรงหาย จากความอาพาธได้ไม่นาน เจ้ามหานามศากยะนี้ทูลถามปัญหาที่ลึกซึ้งกับพระผู้มี พระภาค ทางที่ดี เราควรนำเจ้ามหานามศากยะไปอีกที่หนึ่งแล้วแสดงธรรม(ให้ฟัง)” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๙๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๓. มหานามสักกสูตร

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พาเจ้ามหานามศากยะหลีกไป ณ ที่สมควรแล้วได้ กล่าวว่า มหานามะ พระผู้มีพระภาคตรัสศีลที่เป็นของพระเสขะไว้ก็มี ตรัสศีลที่เป็น ของพระอเสขะ๑- ไว้ก็มี พระผู้มีพระภาคตรัสสมาธิที่เป็นของพระเสขะ๒- ไว้ก็มี ตรัส สมาธิที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มี พระผู้มีพระภาคตรัสปัญญาที่เป็นของพระเสขะ ไว้ก็มี ตรัสปัญญาที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มี ศีลที่เป็นของพระเสขะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล สำรวมด้วยความสังวรในพระปาติโมกข์อยู่ ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกว่า ศีลที่เป็นของพระเสขะ สมาธิที่เป็นของพระเสขะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มี สุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สมาธิที่เป็นของพระเสขะ ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏปทา” นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ มหานามะ อริยสาวกนั้นแลผู้เพียบพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ เพียบพร้อมด้วย สมาธิอย่างนี้ เพียบพร้อมด้วยปัญญาอย่างนี้ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอัน ไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน พระผู้มีพระ ภาคตรัสศีลที่เป็นของพระเสขะไว้ก็มี ตรัสศีลที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มี ตรัสสมาธิที่ เป็นของพระเสขะไว้ก็มี ตรัสสมาธิที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มี ตรัสปัญญาที่เป็นของ พระเสขะไว้ก็มี ตรัสปัญญาที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มีด้วยประการฉะนี้แล
มหานามสักกสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ ที่เป็นของพระเสขะ ในที่นี้หมายถึงที่เป็นระดับของพระอริยบุคคล ๗ จำพวกเบื้องต้นในจำนวนพระอริย- @บุคคลล ๘ (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๔/๒๒๕, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๘๗/๓๖๔) @ ที่เป็นของพระอเสขะ หมายถึงที่เป็นระดับอรหัตตผลของพระขีณาสพ (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๔/๒๒๕, @องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๒/๓๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๙๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๔. นิคัณฐสูตร

๔. นิคัณฐสูตร
ว่าด้วยนิครนถนาฏบุตร
[๗๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุง เวสาลี สมัยนั้น เจ้าอภัยลิจฉวีและเจ้าบัณฑิตกุมารลิจฉวีพากันเข้าไปหาท่านพระ อานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร เจ้าอภัยลิจฉวีผู้นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียน ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครนถนาฏบุตรเป็นสัพพัญญู(ผู้รู้ทุกสิ่ง) มองเห็นทุกอย่าง ปฏิญญาญาณทัสสนะโดยไม่เหลือว่า ‘เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่น ญาณทัสสนะ๑- ก็ปรากฏเป็นนิตย์’ เขาบัญญัติว่ากรรมเก่าสิ้นสุดเพราะตบะ(การบำเพ็ญเพียรอย่าง หนัก) บัญญัติการกำจัดเหตุได้เพราะไม่ทำกรรมใหม่ ด้วยเหตุนี้ เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งสิ้นจึงจัก เป็นอันสลายไป การล่วงพ้นทุกข์ทั้งสิ้นย่อมมีได้ด้วยความบริสุทธิ์ที่ทำให้กิเลสสิ้นไป ซึ่งประจักษ์ชัดด้วยตนเองนี้ ด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในเรื่องนี้พระผู้มี พระภาคตรัสไว้อย่างไร” ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านอภัย ความบริสุทธิ์ที่ทำให้กิเลสสิ้นไป ๓ ประการนี้ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์ เองโดยชอบ ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงพ้น ความโศก ความร่ำไร เพื่อความสิ้นทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ เพื่อทำ พระนิพพานให้แจ้ง ความบริสุทธิ์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอไม่ทำกรรมใหม่ และรับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปโดยคิดว่า “ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ทำให้กิเลสสิ้น ไป ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” @เชิงอรรถ : @ ญาณทัสสนะ หมายถึงพระสัพพัญญุตญาณ (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๕/๒๒๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๙๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๕. นิเวสกสูตร

๒. ภิกษุนั้นเพียบพร้อมด้วยศีล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่ มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เธอไม่ทำกรรมใหม่ และ รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปโดยคิดว่า “ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ผู้ ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ทำให้กิเลสสิ้นไป ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” ๓. ภิกษุนั้นเพียบพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ เพียบพร้อมด้วยสมาธิอย่างนี้ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติที่ไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เธอไม่ทำกรรมใหม่และรับผล กรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปโดยคิดว่า “ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะ พึงเห็นชัดด้วยตนเอง ทำให้กิเลสสิ้นไป ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” ความบริสุทธิ์ที่ทำให้กิเลสสิ้นไป ๓ ประการนี้แลอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ได้ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงพ้นความโศก ความร่ำไร เพื่อความสิ้น ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว เจ้าบัณฑิตกุมารลิจฉวีได้กล่าวกับเจ้า อภัยดังนี้ว่า “อภัยเพื่อนรัก ทำไมท่านจึงไม่ชื่นชมคำที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ดีโดย ความเป็นคำสุภาษิตเล่า” เจ้าอภัยตอบว่า “บัณฑิตกุมารเพื่อนรัก ไฉนเราจักไม่ชื่นชมคำที่ท่านพระ อานนท์กล่าวไว้ดีโดยความเป็นคำสุภาษิตเล่า ความคิดของผู้ที่ไม่ชื่นชมคำที่ท่าน พระอานนท์กล่าวไว้ดีโดยความเป็นคำสุภาษิต พึงเสื่อมแน่นอน”
นิคัณฐสูตรที่ ๔ จบ
๕. นิเวสกสูตร
ว่าด้วยการชักชวนให้ตั้งมั่นในฐานะ
[๗๖] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๙๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๕. นิเวสกสูตร

อานนท์ เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิต๑- ก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลายพึง ชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในฐานะ ๓ ประการ ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พึงชักชวนให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค” ๒. พึงชักชวนให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า “พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” ๓. พึงชักชวนให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติ ถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอด เยี่ยมของโลก” มหาภูต ๔ คือ ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน) อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) และ วาโยธาตุ(ธาตุลม) อาจกลายเป็นอย่างอื่นได้ แต่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ไม่พึงแปรเป็นอย่างอื่นได้เลย ในเรื่องนั้น เป็น ไปไม่ได้เลยที่จะแปรเป็นอย่างอื่น คือพระอริยสาวกนั้นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าจักถือกำเนิดในนรก สัตว์เดรัจฉาน หรือแดนเปรต @เชิงอรรถ : @ สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว เป็นต้น @(องฺ.ติก.อ. ๒/๗๖/๒๒๗) หรือญาติฝ่ายมารดา (องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๗๖/๒๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๙๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๖. ปฐมภวสูตร

มหาภูต ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ อาจกลายเป็น อย่างอื่นได้ แต่พระอริยสาวกผู้เพียบพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ ธรรม ฯลฯ แต่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ไม่พึงแปรเป็นอย่างอื่นได้เลย ในเรื่องนั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่จะแปรเป็นอย่างอื่น คือ พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์จักถือกำเนิดในนรก สัตว์เดรัจฉาน หรือแดนเปรต อานนท์ เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลายพึง ชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในฐานะ ๓ ประการนี้แล
นิเวสกสูตรที่ ๕ จบ
๖. ปฐมภวสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งภพ สูตรที่ ๑
[๗๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระองค์ตรัสเรียกว่า ‘ภพ ภพ’ ด้วยเหตุเพียงไร ภพจึงมีได้ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุ จักไม่มีแล้ว กามภพพึงปรากฏได้บ้างไหม” พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรม๑- จึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณ๒- จึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้ เพราะธาตุอย่างหยาบ๓- ของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้” @เชิงอรรถ : @ กรรม หมายถึงกุศลกรรมและอกุศลธรรม (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๗/๒๒๘) @ วิญญาณ หมายถึงอภิสังขารวิญญาณที่เกิดร่วม คือเกิดพร้อมกับกรรม (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๗/๒๒๘, @องฺ.ติก.ฎีกา ๒/๗๗/๒๓๐) @ ธาตุอย่างหยาบ หมายถึงกามธาตุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๗/๒๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๗. ทุติยภวสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ใน รูปธาตุจักไม่มีแล้ว รูปภพพึงปรากฏบ้างไหม” พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหา จึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้ เพราะธาตุอย่างกลาง๑- ของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ใน อรูปธาตุจักไม่มีแล้ว อรูปภพพึงปรากฏบ้างไหม” พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้เพราะ ธาตุอย่างประณีต๒- ของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้ อานนท์ ภพมีได้ด้วยเหตุดังกล่าว มานี้แล”
ปฐมภวสูตรที่ ๖ จบ
๗. ทุติยภวสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งภพ สูตรที่ ๒
[๗๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลกับพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระองค์ตรัสเรียกว่า ‘ภพ ภพ’ ด้วยเหตุเพียงไร ภพจึงมีได้ พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ ธาตุอย่างกลาง หมายถึงรูปธาตุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๗/๒๒๘) @ ธาตุอย่างประณีต ในที่นี้หมายถึงอรูปธาตุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๗/๒๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๗. ทุติยภวสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุจัก ไม่มีแล้ว กามภพพึงปรากฏบ้างไหม” พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว เจตนาแน่วแน่ ความ ปรารถนาดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างหยาบของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ใน รูปธาตุจักไม่มีแล้ว รูปภพพึงปรากฏบ้างไหม” พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว เจตนาแน่วแน่ ความ ปรารถนาดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างกลางของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ใน อรูปธาตุจักไม่มีแล้ว อรูปภพพึงปรากฏบ้างไหม” พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว เจตนาแน่วแน่ ความ ปรารถนาดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างประณีตของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้ อานนท์ ภพมีได้ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล”
ทุติยภวสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๙. คันธชาตสูตร

๘. สีลัพพตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งศีลและวัตร
[๗๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์ ศีลวัตร ชีวิต๑- พรหมจรรย์ และการบำบวง๒- มีผลทุกอย่างหรือ” พระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในปัญหาเรื่องนี้ไม่พึงตอบ โดยแง่เดียว” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงจำแนก” พระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลนั้นเสพ(รักษา) ศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงใด อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรม กลับเสื่อมไป ศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงนั้นชื่อว่าไม่มีผล ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลนั้นเสพศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงใด อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมกลับเจริญยิ่งขึ้น ศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการ บำบวงนั้นชื่อว่ามีผล” ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า “พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา” จึงลุกจากที่นั่งถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้นพอท่านพระอานนท์หลีกไปได้ไม่นาน พระผู้มีพระ ภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานนท์ยังเป็นพระเสขะ แต่ผู้ที่เสมอกับอานนท์ทางปัญญามิใช่หาได้ง่าย”
สีลัพพตสูตรที่ ๘ จบ
๙. คันธชาตสูตร
ว่าด้วยกลิ่นหอม
[๘๐] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ชีวิต ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญทุกกรกิริยา (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๙/๒๒๘, ขุ.อุ.อ. ๕๘/๓๗๖) @ การบำบวง หมายถึงการบนบาน, เซ่นสรวง, บูชา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๙. คันธชาตสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กลิ่นหอม ๓ อย่าง ลอยไปตามลมเท่านั้น ลอยไปทวนลมไม่ได้ กลิ่นหอม ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. กลิ่นที่เกิดจากราก ๒. กลิ่นที่เกิดจากแก่น ๓. กลิ่นที่เกิดจากดอก กลิ่นหอม ๓ อย่างนี้แล ลอยไปตามลมเท่านั้น ลอยไปทวนลมไม่ได้ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ กลิ่นหอมที่ลอยไปตามลมก็ได้ ลอยไปทวนลมก็ได้ ลอยไปตามลม และทวนลมก็ได้ มีอยู่หรือ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อานนท์ กลิ่นหอมที่ลอยไปตามลมก็ได้ ลอยไป ทวนลมก็ได้ ลอยไปทั้งตามลมและทวนลมก็ได้ มีอยู่ ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กลิ่นหอมที่ลอยไปตามลมก็ได้ ลอยไปทวนลมก็ได้ ลอยไปทั้งตามลมและทวนลมก็ได้ เป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อานนท์ ในโลกนี้สตรีหรือบุรุษในบ้านหรือใน ตำบลใดถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิด ในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม มีใจปราศจากความตระหนี่ อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดี ในการให้ทานและการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน สมณพราหมณ์ในทิศทั้งหลายต่างกล่าวสรรเสริญคุณของเขาว่า “สตรีหรือ บุรุษในบ้านหรือในตำบลโน้นถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึง พระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจาก การประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม มีใจปราศ จากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทานและการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๑๐. จูฬนิกาสูตร

แม้พวกเทวดาก็กล่าวสรรเสริญคุณของเขาว่า “สตรีหรือบุรุษในบ้านหรือใน ตำบลโน้น ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทานและ การจำแนกทาน อยู่ครองเรือน” อานนท์ กลิ่นหอมนี้แล ลอยไปตามลมก็ได้ ลอยไป ทวนลมก็ได้ ลอยไปทั้งตามลมและทวนลมก็ได้ กลิ่นดอกไม้ลอยไปทวนลมไม่ได้ กลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา หรือกลิ่นกะลำพัก ลอยไปทวนลมไม่ได้ ส่วนกลิ่นของสัตบุรุษลอยไปทวนลมได้ เพราะสัตบุรุษขจรไปทั่วทุกทิศ(ด้วยกลิ่นแห่งคุณมีศีลเป็นต้น)
คันธชาตสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. จูฬนิกาสูตร
ว่าด้วยโลกธาตุขนาดเล็ก
[๘๑] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้รับฟังเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคว่า ‘อานนท์ สาวกชื่อว่าอภิภูของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ใน พรหมโลก ใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุรู้เรื่องได้๑-’ ส่วนพระผู้มีพระภาคอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้เรื่องได้ไกลเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ นั้นเป็นเพียงสาวก ส่วนตถาคตทั้งหลาย ประมาณไม่ได้” @เชิงอรรถ : @ ใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุรู้เรื่องได้ ในที่นี้หมายถึงแสดงธรรมให้ได้ยินเสียง พร้อมกับเปล่งรัศมี @จากสรีระกำจัดความมืดเกิดแสงสว่างได้ไกลถึง ๑,๐๐๐ จักรวาล (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๑/๒๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๑๐. จูฬนิกาสูตร

แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้รับฟังเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคว่า ‘อานนท์ สาวกชื่อว่าอภิภูของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ใน พรหมโลก ใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุรู้เรื่องได้’ ส่วนพระผู้มีพระภาคอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้เรื่องได้ไกลเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ นั้นเป็นเพียงสาวก ส่วนตถาคตทั้งหลาย ประมาณไม่ได้” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้รับฟังเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคว่า ‘อานนท์ สาวกชื่อว่าอภิภูของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ใน พรหมโลก ใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุรู้เรื่องได้’ ส่วนพระผู้มีพระภาคอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้เรื่องได้ไกลเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เธอได้ฟังเพียงเรื่องสหัสสีโลกธาตุขนาดเล็ก๑- เท่านั้น” พระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นเวลา ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นเวลาแห่งเทศนาที่พระองค์จะพึงตรัส ภิกษุทั้งหลายได้สดับพระธรรมเทศนาของ พระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า อานนท์ สหัสสีโลกธาตุเท่าโอกาสที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรส่องทิศทั้ง หลายให้สว่างรุ่งโรจน์ ในสหัสสีโลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ ๑,๐๐๐ ดวง มีดวงอาทิตย์ ๑,๐๐๐ ดวง มีขุนเขาสิเนรุ ๑,๐๐๐ ลูก มีชมพูทวีป ๑,๐๐๐ มีอปรโคยานทวีป @เชิงอรรถ : @ สหัสสีโลกธาตุขนาดเล็ก หมายถึงโลกธาตุที่มี ๑,๐๐๐ จักรวาล (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๑/๒๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๑๐. จูฬนิกาสูตร

๑,๐๐๐ มีอุตตรกุรุทวีป ๑,๐๐๐ มีปุพพวิเทหทวีป ๑,๐๐๐ มีมหาสมุทร ๔,๐๐๐ มีท้าวมหาราช ๔,๐๐๐๑- มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราช ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์ ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นยามา ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นดุสิต ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นนิมมานรดี ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๑,๐๐๐ มีพรหมโลก ๑,๐๐๐ นี้เรียกว่า สหัสสีโลกธาตุขนาดเล็ก โลก ๑,๐๐๐ คูณด้วยโลกธาตุขนาดเล็กนั้น นี้เรียกว่า สหัสสีโลกธาตุขนาด กลาง๒- โลก ๑,๐๐๐ คูณด้วยสหัสสีโลกธาตุขนาดกลางนั้น นี้เรียกว่า สหัสสีโลกธาตุ ขนาดใหญ่๓- อานนท์ ตถาคตเมื่อมุ่งหมายพึงใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่ รู้เรื่องได้ หรือใช้เสียงประกาศให้รู้เรื่องได้เท่าที่มุ่งหมาย พระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคพึงใช้พระ สุรเสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่รู้เรื่องได้หรือใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้ เรื่องได้เท่าที่มุ่งหมาย อย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ พระตถาคตในโลกนี้พึงแผ่รัศมีไปทั่ว สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่ได้ เมื่อใด หมู่สัตว์พึงจำแสงสว่างนั้นได้ เมื่อนั้น พระ ตถาคตพึงเปล่งพระสุรเสียงให้สัตว์เหล่านั้นได้ยิน อานนท์ พระตถาคตพึงใช้ พระสุรเสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่รู้เรื่องได้หรือใช้พระสุรเสียง ประกาศให้รู้เรื่องได้เท่าที่มุ่งหมายอย่างนี้แล” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กราบทูลคำนี้ว่า “เป็นลาภของข้าพระองค์หนอ เป็นโชคของข้าพระองค์หนอที่ข้าพระองค์มีพระศาสดา ผู้ทรงมีฤทธิ์อย่างนี้ มีอานุภาพอย่างนี้” @เชิงอรรถ : @ มีท้าวมหาราช ๔,๐๐๐ ในที่นี้หมายถึงในโลกธาตุที่มี ๑,๐๐๐ จักรวาลนั้น แต่ละจักรวาลมีท้าวมหาราช @อยู่ ๔ องค์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๑/๒๓๔) @ สหัสสีโลกธาตุขนาดกลาง หมายถึงโลกธาตุที่มี ๑,๐๐๐,๐๐๐ จักรวาล (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๑/๒๓๔) @ สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่ หมายถึงโลกธาตุที่มี ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิจักรวาล (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๑/๒๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๑. สมณสูตร

เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีจึงได้กล่าวกับท่าน พระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ถ้าพระศาสดาของท่านทรงมีฤทธิ์อย่างนี้ มีอานุภาพอย่างนี้ ในข้อนี้ท่านได้ประโยชน์อะไร” เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านพระอุทายี ดังนี้ว่า “อุทายี เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้นๆ ถ้าอานนท์ยังไม่หมดราคะมรณภาพไป อย่างนี้ไซร้ เพราะจิตที่เลื่อมใสนั้น เธอจะครอบครองความเป็นเจ้าแห่งเทวดาในหมู่ เทวดา ๗ ครั้ง จะครอบครองความเป็นมหาราชในชมพูทวีปนี้แล ๗ ครั้ง อุทายี แต่อานนท์จักปรินิพพานในปัจจุบันชาตินี้แล”
จูฬนิกาสูตรที่ ๑๐ จบ
อานันทวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ฉันนสูตร ๒. อาชีวกสูตร ๓. มหานามสักกสูตร ๔. นิคัณฐสูตร ๕. นิเวสกสูตร ๖. ปฐมภวสูตร ๗. ทุติยภวสูตร ๘. สีลัพพตสูตร ๙. คันธชาตสูตร ๑๐. จูฬนิกาสูตร
๔. สมณวรรค
หมวดว่าด้วยสมณะ
๑. สมณสูตร
ว่าด้วยกิจของสมณะ
[๘๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กิจที่สมณะควรทำ เป็นของสมณะ ๓ ประการนี้ กิจที่สมณะควรทำ เป็นของสมณะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๒. คัทรภสูตร

๑. การสมาทานอธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง) ๒. การสมาทานอธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง) ๓. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง) กิจที่สมณะควรทำ เป็นของสมณะ ๓ ประการนี้แล เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมีความพอใจ อย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิจิตต- สิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
สมณสูตรที่ ๑ จบ
๒. คัทรภสูตร
ว่าด้วยภิกษุที่ไม่มีไตรสิกขาเปรียบเหมือนลาในฝูงโค
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ลาติดตามฝูงโคไปข้างหลังร้องว่า “แม้ตัวเราก็เป็นโค แม้ตัวเราก็เป็นโค” แต่มันไม่มีสีเหมือนโค ไม่มีเสียงเหมือนโค ไม่มีรอยเท้าเหมือนโค มันเพียงแต่ติดตามไปข้างหลังเท่านั้น ร้องว่า “แม้ตัวเราก็เป็นโค แม้ตัวเราก็เป็นโค” แม้ฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ติดตามไปข้างหลังหมู่ภิกษุ ประกาศ ตนว่า “แม้เราก็เป็นภิกษุ แม้เราก็เป็นภิกษุ” แต่เธอไม่มีความพอใจในการสมาทาน อธิสีลสิกขาเหมือนภิกษุอื่น ไม่มีความพอใจในการสมาทานอธิจิตตสิกขาเหมือนภิกษุอื่น ไม่มีความพอใจในการสมาทานอธิปัญญาสิกขาเหมือนภิกษุอื่น ภิกษุนั้นเพียงแต่ติด ตามไปข้างหลังหมู่ภิกษุ ประกาศตนว่า “แม้เราก็เป็นภิกษุ แม้เราก็เป็นภิกษุ” เท่านั้น เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมีความพอใจ อย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทาน อธิจิตตสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
คัทรภสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๔. วัชชีปุตตสูตร

๓. เขตตสูตร
ว่าด้วยกิจเบื้องต้นที่ควรทำในนา
[๘๔] ภิกษุทั้งหลาย คหบดีชาวนามีกิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการนี้ กิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ คหบดีชาวนาในโลกนี้ ในเบื้องต้น ๑. ต้องไถคราดนาให้เรียบร้อย ๒. ต้องเพาะพืชลงไปตามกาลที่ควร ๓. ต้องไขน้ำเข้าบ้าง ระบายน้ำออกบ้างตามกาลที่ควร คหบดีชาวนามีกิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการนี้แล ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีกิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการนี้ กิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การสมาทานอธิสีลสิกขา ๒. การสมาทานอธิจิตตสิกขา ๓. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา ภิกษุมีกิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการนี้แล เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมีความพอใจ อย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทาน อธิจิตตสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เขตตสูตรที่ ๓ จบ
๔. วัชชีปุตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุวัชชีบุตร
[๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตร๑- รูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ วัชชีบุตร หมายถึงเป็นบุตรของวัชชีราชสกุล (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๕/๒๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๑๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๕. เสกขสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีก๑- นี้มาถึงวาระที่จะ ยกขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถศึกษาในสิกขาบทนี้ได้” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ ก็เธอจักสามารถศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาหรือ” ภิกษุวัชชีบุตรนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถ ศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาได้” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อใด เธอศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อนั้น เธอผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็จักละราคะ โทสะ และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้ เธอจักไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล จักไม่ประพฤติสิ่งที่เลวทรามอีก ครั้นต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อเธอผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็ละราคะ โทสะ และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เธอจึงไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล ไม่ประพฤติสิ่งที่เลวทรามอีก
วัชชีปุตตสูตรที่ ๔ จบ
๕. เสกขสูตร
ว่าด้วยเสกขบุคคล
[๘๖] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ สมัยที่พระวัชชีบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาคนั้น สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้มีเพียง ๑๕๐ ข้อ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๕/๒๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๑๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๖. ปฐมสิกขาสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า “เสขะ เสขะ” บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ที่เรียกว่า “เสขะ” เพราะยังต้องศึกษา ศึกษาอะไร คือ ศึกษาอธิสีลสิกขาบ้าง อธิจิตตสิกขาบ้าง อธิปัญญาสิกขาบ้าง ภิกษุ ที่เรียกว่า เสขะ เพราะยังต้องศึกษาแล ญาณ๑- ในความสิ้นกิเลสย่อมเกิดขึ้นแก่พระเสขะ ผู้กำลังศึกษาและปฏิบัติตามทางสายตรง๒- ก่อน ลำดับต่อจากนั้นอรหัตตผลจึงเกิด ต่อจากนั้น ญาณ๓- ในความสิ้นไปแห่งภวสังโยชน์ ว่า “วิมุตติของเราไม่กำเริบ” ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านผู้หลุดพ้นด้วยอรหัตตผล
เสกขสูตรที่ ๕ จบ
๖. ปฐมสิกขาสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ ๑
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีกนี้ที่กุลบุตรผู้ปรารถนา ประโยชน์ศึกษาอยู่ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน สิกขา ๓ ประการนี้เป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา สิกขา ๓ ประการนี้แลเป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด @เชิงอรรถ : @ ญาณ ในที่นี้หมายถึงมรรคญาณ (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๖/๒๔๐-๒๔๑) @ ทางสายตรง ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๖/๒๔๐) @ ญาณ ในที่นี้หมายถึงปัจจเวกขณญาณ (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๖/๒๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๑๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๖.ปฐมสิกขาสูตร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิพอประมาณ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อย๑- บ้าง ออกจาก อาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติ เล็กน้อยนี้ เราไม่กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสม(แก่มรรคผล)ไว้ แต่สิกขาบท๒- เหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัว และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น ศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์๓- ๓ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นโสดาบัน๔- ไม่มีทางตกต่ำ๕- มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ สัมโพธิ๖- ในวันข้างหน้า ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิพอประมาณ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจาก อาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็ก น้อยนี้ เราไม่กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงใน สิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์ ๓ ประการ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เธอจึงเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีก เพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ @เชิงอรรถ : @ สิกขาบทเล็กน้อย หมายถึงอาบัติที่เหลือทั้งหมดเว้นปาราชิก ๔ (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๑) @ สิกขาบท ในที่นี้หมายถึงปาราชิก ๔ (องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๔) @ สังโยชน์ หมายถึงกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ, @วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, กามฉันทะหรือกามราคะ พยาบาทหรือปฏิฆะ, รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ, @อุทธัจจะ, อวิชชา (ตามนัย องฺ.ทสก. ๒๔/๑๓/๑๔) @ โสดาบัน หมายถึงผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะคำว่า โสตะ เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓ ดูประกอบใน สํ.ม. ๑๙/๑๐๐๑/๓๐๐) @ ไม่มีทางตกต่ำ หมายถึงไม่ตกไปในอบาย ๔ คือ นรก กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน แดนเปรต และพวกอสูร @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๒) @ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึง มรรค ๓ เบื้องสูง (สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๑๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๗. ทุติยสิกขาสูตร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติ ทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่ กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอ จึงเป็นโอปปาติกะ๑- ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติ ทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่ กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วนย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน ผู้ทำได้ บริบูรณ์ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล เรากล่าวว่าสิกขาบททั้งหลาย ไม่เป็นหมันเลย
ปฐมสิกขาสูตรที่ ๖ จบ
๗. ทุติยสิกขาสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ ๒
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีกนี้ที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษาอยู่ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน สิกขา ๓ ประการนี้เป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด @เชิงอรรถ : @ โอปปาติกะ ในที่นี้หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย)ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ @เช่น เทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (เทียบ ที.สี.อ. ๑๗๑/๑๔๙) แต่ในที่นี้หมายถึงพระอนาคามีที่เกิดใน @สุทธาวาส(ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) ๕ ชั้น มีชั้นอวิหาเป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้นนั้นๆ ปรินิพพาน @สิ้นกิเลสในสุทธาวาสนั่นเองไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗-๘๘/๒๔๒-๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๑๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๗. ทุติยสิกขาสูตร

สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา สิกขา ๓ ประการนี้แลเป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิพอประมาณ มีปกติ ทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่ กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็น สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน๑- ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อย่างมาก ๗ ครั้งแล้วทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นโกลังโกลโสดาบัน๒- ท่องเที่ยวไปสู่ตระกูล๓- ๒ หรือ ๓ ตระกูล แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นเอกพีชีโสดาบัน๔- เกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงภพเดียว ก็จะทำที่ สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไปและเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เธอจึงเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติ ทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง @เชิงอรรถ : @ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน หมายถึงพระโสดาบันผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการได้แล้ว เป็นผู้ไม่ตกไปใน @อบาย ๔ มีความแน่นอนที่จะตรัสรู้มรรค ๓ เบื้องสูง (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๒) เมื่อจะเกิดในภพใหม่เป็น @เทวดาหรือมนุษย์ก็เกิดได้ไม่เกิน ๗ ครั้ง (อภิ.ปุ. ๓๖/๓๑/๑๒๒, อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓) @ โกลังโกลโสดาบัน หมายถึงพระโสดาบันผู้เมื่อจะเกิดในภพใหม่เป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็เกิดได้ ๒ หรือ ๓ @ภพ และถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็ไม่เกิดในตระกูลต่ำ คือเกิดในตระกูลที่มีโภคสมบัติมากเท่านั้น @(อภิ.ปุ. ๓๖/๓๑/๑๒๒-๑๒๓, อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓) @ ตระกูล ในที่นี้หมายถึงภพเทวดาหรือมนุษย์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๒, อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๔) @ เอกพีชโสดาบันี หมายถึงผู้มีพืชคืออัตภาพเดียว คือเกิดอีกครั้งเดียวก็จะบรรลุพระอรหัต @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๘/๒๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๑๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๗. ทุติยสิกขาสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่ กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น ถือปฏิบัติศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอ จึงเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี๑- เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี๒- เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอสังขาร- ปรินิพพายี๓- เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี๔- เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี๕- อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติทำปัญญาให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจาก อาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็ก น้อยนี้ เราไม่กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบท เหล่านั้น สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน @เชิงอรรถ : @ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หมายถึงพระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ คือเกิดในสุทธาวาส @ภพใดภพหนึ่งแล้วก็จะเกิดเลื่อนต่อไปจนถึงอกนิฏฐภพแล้วจึงปรินิพพานในภพนั้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๒) @ สสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วปรินิพพานโดยต้องใช้ @ความเพียรมาก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ อสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ อุปหัจจปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วจวนจะถึงปรินิพพาน คือ @อายุพ้นกึ่งแล้วจวนจะถึงสิ้นอายุจึงปรินิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ อันตราปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือเกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว @อายุยังไม่ถึงกึ่งก็ปรินิพพาน มี ๓ จำพวก คือ พวกที่ ๑ เกิดในสุทธาวาสชั้นอวิหาซึ่งมีอายุ ๑,๐๐๐ กัป @แต่ก็บรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิด ถ้าไม่บรรลุในวันที่เกิดได้ก็บรรลุไม่เกินภายใน ๑๐๐ กัป พวกที่ ๒ @เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิดได้ก็บรรลุไม่เกินภายใน ๒๐๐ กัป พวกที่ ๓ บรรลุพระ @อรหัตตผลไม่เกินภายใน ๔๐๐ กัป (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๑๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๘.ตติยสิกขาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วนย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน ผู้ทำได้ บริบูรณ์ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล เรากล่าวว่าสิกขาบททั้งหลาย ไม่เป็นหมันเลย
ทุติยสิกขาสูตรที่ ๗ จบ
๘. ตติยสิกขาสูตร
ว่าด้วยการบำเพ็ญไตรสิกขา สูตรที่ ๓
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีกนี้ที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษาอยู่ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน สิกขา ๓ ประการนี้ เป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา สิกขา ๓ ประการนี้แลเป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติ ทำปัญญาให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่ ได้กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน หรือเมื่อยังไม่ บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็น อันตราปรินิพพายี หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้ง อรหัตนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๑๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๙. ปฐมสิกขัตตยสูตร

หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายี หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือเมื่อยัง ไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เธอจึงเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์ ๓ ประการ สิ้นไป เธอจึงเป็นเอกพีชีโสดาบัน เกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงภพเดียว ก็จะทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์ ๓ ประการ สิ้นไป เธอจึงเป็นโกลังโกลโสดาบัน ท่องเที่ยวไปสู่ตระกูล ๒ หรือ ๓ ตระกูล ก็จะ ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ อย่างมาก ๗ ครั้ง ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้บริบูรณ์ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ผู้ทำได้เพียงบาง ส่วนย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน ด้วยประการฉะนี้แล เรากล่าวว่าสิกขาบททั้งหลาย ไม่เป็นหมันเลย
ตติยสิกขาสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปฐมสิกขัตตยสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ ๑
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ ประการนี้ สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิสีลสิกขา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๑๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๑๐. ทุติยสิกขัตยสูตร

อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มี ทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา” นี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ ประการนี้แล
ปฐมสิกขัตตยสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุติยสิกขัตตยสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ ๒
[๙๑] ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ ประการนี้ สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มี ทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ ประการนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๑๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๑๑. ปังกธาสูตร

ภิกษุผู้มีความเพียร มีความเข้มแข็ง มีปัญญา เพ่งพินิจ มีสติ คุ้มครองอินทรีย์ ครอบงำทุกทิศด้วยอัปปมาณสมาธิ๑- ประพฤติอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น ภายหลังฉันใด เมื่อก่อนก็ฉันนั้น เบื้องต่ำฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องต่ำก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่าเป็นนักศึกษา เป็นนักปฏิบัติ และมีความประพฤติบริสุทธิ์ ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้ตรัสรู้ชอบ๒- เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้ถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติในโลก ท่านผู้ประกอบด้วยวิมุตติอันเป็นที่สิ้นตัณหา ย่อมมีจิตหลุดพ้นจากสังขารธรรมเพราะวิญญาณดับสนิท เหมือนความดับแห่งประทีปฉะนั้น
ทุติยสิกขัตตยสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. ปังกธาสูตร
ว่าด้วยตำบลปังกธา
[๙๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงตำบลของแคว้นโกศลชื่อปังกธา ทราบว่า พระผู้มีพระ ภาคประทับอยู่ ณ ตำบลปังกธาของชาวโกศลนั้น @เชิงอรรถ : @ อัปปมาณสมาธิ หมายถึงสมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตมรรค (องฺ.ติก.อ. ๒/๙๑/๒๔๕) @ ตรัสรู้ชอบ ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้อริยสัจ ๔ (องฺ.ติก.อ. ๒/๙๑/๒๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๑๑. ปังกธาสูตร

สมัยนั้น ภิกษุชื่อกัสสปโคตร เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่ตำบลปังกธา ทราบมาว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วย สิกขาบท เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไป ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ ประกอบด้วยสิกขาบทอยู่ ภิกษุกัสสปโคตรได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลปังกธาตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริก ไปทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ ภูเขา คิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์นั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ภิกษุกัสสปโคตรได้มีความรำคาญ เดือดร้อนใจว่า “ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราได้ ไม่ดีแล้วหนอ ที่เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับ เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ที่ประกอบด้วยสิกขาบท ได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ จะเป็นการดี ถ้าเราจะพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วแสดงโทษโดย ความเป็นโทษในสำนักพระผู้มีพระภาค” ลำดับนั้น ภิกษุกัสสปโคตรเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวร หลีกไปทางกรุง ราชคฤห์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบล ปังกธาของชาวโกศล ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวน ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบท เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุ เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้ สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบทอยู่ ข้าพระองค์นั้นได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๑๑. ปังกธาสูตร

ปังกธาตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จหลีกไปไม่นาน ข้าพระองค์นั้นได้มีความรำคาญเดือดร้อนใจว่า ‘ไม่ใช่ลาภของ เราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราไม่ได้ดีแล้วหนอ ที่เมื่อพระผู้มี พระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้ อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบท เรากลับมีความขัดใจไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ จะเป็นการดี ถ้าเรา จะพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วแสดงโทษโดยความเป็นโทษในสำนัก พระผู้มีพระภาค’ โทษได้ถึงตัวข้าพระองค์ผู้โง่เขลา งมงาย ไม่ฉลาด เมื่อพระผู้มีพระ ภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบทอยู่ ข้าพระองค์ได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับทราบโทษของข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมระวังต่อไปเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เอาละ กัสสปะ โทษได้ถึงตัวเธอผู้โง่เขลา งมงาย ไม่ฉลาด เมื่อเราให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจ หาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบท ก็เพราะเธอมีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ ได้เห็นโทษโดย ความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ฉะนั้นเราจึงรับทราบโทษนั้นของเธอ ก็การที่ บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมระวังต่อไป นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย ถ้าภิกษุผู้เป็นเถระไม่ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการเอาใจใส่การศึกษา เธอย่อมไม่ชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษาให้ใคร่ต่อการศึกษา และไม่สรรเสริญ คุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการศึกษาตามโอกาสอันสมควร เราไม่ สรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกภิกษุอื่นพึง คบหาเธอโดยเห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญคุณของท่าน” ภิกษุพวกที่คบหา เธอพึงพากันตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ภิกษุพวกที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๑๑. ปังกธาสูตร

พากันตามอย่างเธอตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่สรรเสริญคุณของภิกษุ ผู้เป็นเถระเช่นนี้ ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นนวกะไม่ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการเอาใจใส่การศึกษา เธอย่อมไม่ชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษา ให้ใคร่ต่อการศึกษา และไม่สรรเสริญคุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการ ศึกษาตามโอกาสอันสมควร เราไม่สรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นนวกะเช่นนี้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะภิกษุอื่นพึงคบหาเธอโดยเห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญ คุณของท่าน” ภิกษุพวกที่คบหาเธอพึงพากันตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่ เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ภิกษุพวกที่พากันตามอย่างเธอตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่สรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นนวกะเช่นนี้ ถ้าภิกษุผู้เป็นเถระใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญการเอาใจใส่การศึกษา เธอ ย่อมชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษาให้ใคร่ต่อการศึกษา และสรรเสริญคุณที่มี จริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการศึกษาตามโอกาสอันสมควร เราสรรเสริญคุณ ของภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกภิกษุอื่นพึงคบหาเธอโดย เห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญคุณของท่าน” ภิกษุพวกที่คบหาเธอพึงพากัน ตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ภิกษุพวกที่พากันตามอย่างเธอ ตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงสรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้ ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นนวกะใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญ การเอาใจใส่การศึกษา เธอย่อมชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษาให้ใคร่ต่อการ ศึกษา และสรรเสริญคุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการศึกษาตามโอกาส อันสมควร เราสรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นนวกะเช่นนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ภิกษุอื่นพึงคบหาเธอโดยเห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญคุณของท่าน” ภิกษุ พวกที่คบหาเธอพึงพากันตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ภิกษุ พวกที่พากันตามอย่างเธอตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงสรรเสริญคุณของ ภิกษุผู้เป็นนวกะเช่นนี้
ปังกธาสูตรที่ ๑๑ จบ
สมณวรรคที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๑. อัจจายิกสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สมณสูตร ๒. คัทรภสูตร ๓. เขตตสูตร ๔. วัชชีปุตตสูตร ๕. เสกขสูตร ๖. ปฐมสิกขาสูตร ๗. ทุติยสิกขาสูตร ๘. ตติยสิกขาสูตร ๙. ปฐมสิกขัตตยสูตร ๑๐. ทุติยสิกขัตตยสูตร ๑๑. ปังกธาสูตร
๕. โลณผลวรรค
หมวดว่าด้วยก้อนเกลือ
๑. อัจจายิกสูตร
ว่าด้วยกิจรีบด่วนของชาวนาและของภิกษุ
[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ ๓ ประการนี้ กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ คหบดีชาวนาในโลกนี้ ๑. ต้องเร่งรีบไถคราดนา ให้เรียบร้อย ๒. ต้องเร่งรีบเพาะพืชลงไปตามกาลที่ควร ๓. ต้องเร่งรีบไขน้ำเข้าบ้าง ระบายน้ำออกบ้าง กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ ๓ ประการนี้แล คหบดีชาวนานั้นไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า “วันนี้แลข้าวเปลือก ของเราจงเกิด พรุ่งนี้จงออกรวง มะรืนนี้จงหุงได้” แท้ที่จริง ข้าวเปลือกของคหบดี ชาวนานั้น มีระยะเวลาของฤดูที่จะเกิดขึ้น ออกรวง และหุงได้ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ ๓ ประการนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๒. ปวิเวกสูตร

กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การสมาทานอธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง) ๒. การสมาทานอธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง) ๓. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง) กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ ๓ ประการนี้แล ภิกษุนั้นไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า “วันนี้แล พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้ จิตของเราจงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น” ภิกษุทั้งหลาย แท้ที่จริง จิตของ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา มีระยะเวลาที่จะ หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมี ความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการ สมาทานอธิจิตตสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
อัจจายิกสูตรที่ ๑ จบ
๒. ปวิเวกสูตร
ว่าด้วยความสงัดจากกิเลส
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก บัญญัติความสงัดจากกิเลส ไว้ ๓ ประการนี้ ความสงัดจากกิเลส ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยจีวร ๒. ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยบิณฑบาต ๓. ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยเสนาสนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๒. ปวิเวกสูตร

บรรดาความสงัดจากกิเลสทั้ง ๓ ประการนั้น ในความสงัดจากกิเลสเพราะ อาศัยจีวร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้ คือ นุ่งห่มผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้า แกมกันบ้าง นุ่งห่มผ้าห่อศพบ้าง นุ่งห่มผ้าบังสุกุลบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้บ้าง นุ่งห่มหนังเสือบ้าง นุ่งห่มหนังเสือที่มีเล็บติดอยู่บ้าง นุ่งห่มผ้าคากรองบ้าง นุ่งห่ม ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง นุ่งห่มผ้าผลไม้กรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง นุ่งห่มผ้าทำด้วยปีกนกเค้าบ้าง ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติเรื่องนี้แล ในความสงัดจาก กิเลสเพราะอาศัยจีวร บรรดาความสงัดจากกิเลสทั้ง ๓ นั้น ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยบิณฑบาต ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้คือกินผักดองเป็นอาหารบ้าง กินข้าวฟ่างบ้าง อาหารบ้าง กินลูกเดือยเป็นอาหารบ้าง กินกากข้าวเป็นอาหารบ้าง กินยาง๑- เป็น อาหารบ้าง กินรำบ้าง กินข้าวตังบ้าง กินกำยานบ้าง กินหญ้าบ้าง กินโคมัยบ้าง กิน รากและผลไม้ในป่าบ้าง กินผลไม้ที่หล่นเลี้ยงชีพอยู่ ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ ปริพาชกบัญญัติเรื่องนี้แลไว้ในความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยบิณฑบาต บรรดาความสงัดจากกิเลสทั้ง ๓ นั้น ในความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัย เสนาสนะ พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้ คือ ป่า โคนไม้ ป่าช้า ป่าทึบ ที่แจ้ง ลอมฟาง โรงลาน พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติเรื่องนี้แลไว้ในความสงัด จากกิเลสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลาย อัญเดียรถีย์ปริพาชก บัญญัติความสงัดจากกิเลสไว้ ๓ ประการนี้แล ส่วนความสงัดจากกิเลส ๓ ประการ ของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ความสงัดจากกิเลส ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ @เชิงอรรถ : @ คำว่า ยาง (หฏะ) หมายรวมถึงสาหร่ายและยางไม้ด้วย (องฺ.ติก.อ. ๒/๙๔/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๒. ปวิเวกสูตร

๑. มีศีล๑- ละความเป็นคนทุศีล๒- และปราศจากโทษเครื่องทุศีลนั้น ๒. เป็นสัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิและปราศจากมิจฉาทิฏฐินั้น ๓. เป็นขีณาสพ ละอาสวะทั้งหลาย๓- และปราศจากอาสวะเหล่านั้น เพราะภิกษุเป็นผู้มีศีล ละความเป็นคนทุศีลและปราศจากความเป็นคนทุศีลนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิและปราศจากมิจฉาทิฏฐินั้น และเป็นขีณาสพ ละอาสวะ ทั้งหลายและปราศจากอาสวะเหล่านั้น ฉะนั้นภิกษุนี้จึงเรียกว่า “ผู้เลิศด้วยศีล ถึงธรรมที่เป็นสาระ บริสุทธิ์ ดำรงอยู่ในธรรมที่เป็นสาระ๔-” เปรียบเหมือนนาข้าวสาลีของคหบดีชาวนา สมบูรณ์แล้ว คหบดีชาวนาพึงใช้ คนให้รีบเก็บเกี่ยวข้าวสาลีนั้น ให้รีบรวบรวมไว้ ให้รีบขนเอาไปเข้าลาน ให้รีบทำเป็น ลอมไว้ ให้รีบนวด ให้รีบเอาฟางออก ให้รีบเอาข้าวลีบออก ให้รีบฝัดข้าว ให้รีบขนไป ให้รีบซ้อม ให้รีบเอาแกลบออก ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าวเปลือกเหล่านั้น ของคหบดีชาวนานั้นพึงถึงความเป็นส่วนอันเลิศ เป็นข้าวสารสะอาด คงอยู่ในความ เป็นข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะเป็นผู้มีศีล ละความเป็นคนทุศีลและปราศ จากความเป็นคนทุศีลนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิและปราศจากมิจฉาทิฏฐินั้น และเป็นขีณาสพ ละอาสวะทั้งหลายและปราศจากอาสวะเหล่านั้น ฉะนั้นภิกษุนี้จึง เรียกว่า “ผู้เลิศด้วยศีล ถึงธรรมที่เป็นสาระ บริสุทธิ์ ดำรงอยู่ในธรรมที่เป็นสาระ”
ปวิเวกสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ มีศีล ในที่นี้หมายถึงประกอบกิจด้วยปาริสุทธิศีล ๔ ประการ คือ (๑) ปาติโมกขสังวรศีล ศีลคือความ @สำรวมในพระปาติโมกข์ (๒) อินทรียสังวรศีล ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ (๓) อาชีวปาริสุทธิศีล @ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ (๔) ปัจจยสันนิสสิตศีล ศีลที่เกี่ยวกับการพิจารณาในการใช้สอยปัจจัย ๔ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๙๔/๒๔๘) @ ความเป็นคนทุศีล ในที่นี้หมายถึงการประพฤติล่วงละเมิดเบญจศีลมีปาณาติบาตเป็นต้น @(องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๙๔/๒๔๘) @ อาสวะ หมายถึงอาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และอวิชชาสวะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๙๔/๒๘๔) @ ธรรมที่เป็นสาระ ในที่นี้หมายถึงศีล สมาธิ และปัญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๙๔/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๔. ปริสาสูตร

๓. สรทสูตร
ว่าด้วยธรรมจักษุกับท้องฟ้าในสารทกาล
[๙๕] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้องฟ้าแจ่มใสปราศจากเมฆหมอกในสารทกาล๑- ดวงอาทิตย์ส่องแสงไปทั่วท้องฟ้า ขจัดความมืดมัวที่อยู่ในอากาศทั้งหมด ส่องแสง แผดแสงและส่องสว่างอยู่ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อธรรมจักษุ๒- ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินเกิดแก่ อริยสาวก พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งทัสสนะ อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) และ สีลัพพตปรามาส(ความถือมั่นศีลพรต) ลำดับต่อมา อริยสาวกออกจากธรรม ๒ ประการ คือ อภิชฌา(ความเพ่งเล็ง อยากได้ของเขา) และพยาบาท(ความคิดร้าย) อริยสาวกนั้นสงัดจากกามและอกุศล- ธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอริยสาวกพึงตายลงในขณะนั้น เธอไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเหตุ ให้ต้องกลับมาสู่โลกนี้อีก
สรทสูตรที่ ๓ จบ
๔. ปริสาสูตร
ว่าด้วยบริษัท
[๙๖] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้ บริษัท ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม ๒. บริษัทที่แตกแยกกัน ๓. บริษัทที่สามัคคีกัน @เชิงอรรถ : @ สารทกาล หมายถึงฤดูใบไม้ร่วง @ ธรรมจักษุ ในที่นี้หมายถึงดวงตาเห็นธรรม คือการบรรลุโสดาปัตติมรรคที่กำหนดรู้อริยสัจ ๔ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๙๕/๒๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๔. ปริสาสูตร

บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุผู้เป็นเถระ ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม๑- เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คน รุ่นหลังต่างพากันตามอย่างภิกษุผู้เถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อ ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำ ให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม บริษัทที่แตกแยกกัน เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บริษัทที่แตกแยกกัน บริษัทที่สามัคคีกัน เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บริษัทที่สามัคคีกัน ในสมัยใด พวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ในสมัยนั้น พวกภิกษุย่อม ประสพบุญเป็นอันมาก ในสมัยนั้น พวกภิกษุอยู่กันเหมือนพรหม คืออยู่กันด้วย มุทิตาเจโตวิมุตติ ผู้มีความบันเทิงใจย่อมเกิดความอิ่มใจ กายของผู้มีความอิ่มใจ ย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนยอดเขา น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ทำให้ ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยม ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยมแล้วทำให้ หนองเต็ม หนองเต็มแล้วทำให้บึงเต็ม บึงเต็มแล้วทำให้แม่น้ำน้อยเต็ม แม่น้ำน้อย เต็มแล้วทำให้แม่น้ำใหญ่เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้วก็ทำให้มหาสมุทรเต็ม ฉันใด @เชิงอรรถ : @ โอกกมนธรรม หมายถึงนิวรณ์ ๕ (องฺ.ติก.อ. ๒/๙๖/๒๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๕. ปฐมอาชานียสูตร

ในสมัยใด พวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ในสมัยนั้น พวกภิกษุย่อม ประสพบุญเป็นอันมาก ในสมัยนั้น พวกภิกษุอยู่กันเหมือนพรหม คือ อยู่กันด้วย มุทิตาเจโตวิมุตติ ผู้มีความบันเทิงใจย่อมเกิดความอิ่มใจ กายของผู้มีความอิ่มใจ ย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้แล
ปริสาสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๑
[๙๗] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนย๑- พันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๓ ประการย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้ ๑. สมบูรณ์ด้วยสี ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๓. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้าเร็ว ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แลย่อมเป็นม้า ควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการย่อมเป็นผู้ควร แก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ @เชิงอรรถ : @ ม้าอาชาไนย หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๑๒) @หรือม้ารู้เหตุที่ควรแลไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๓๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๖. ทุติยอาชานียสูตร

๑. สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๓. สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล สำรวมด้วยความสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อม ด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุผู้ สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างนี้แล ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่ ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ปฐมอาชานียสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทุติยอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๒
[๙๘] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๓ ประการย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้ ๑. สมบูรณ์ด้วยสี ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๓. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้าเร็ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๓๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๗. ตติยอาชานียสูตร

ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็น ม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมเป็นผู้ควร แก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๓. สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรอยู่ ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างนี้แล ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จึงเป็น โอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับจากโลกนั้นอย่างแน่นอน ภิกษุผู้ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่ ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ทุติยอาชานียสูตรที่ ๖ จบ
๗. ตติยอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ปประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๓
[๙๙] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๓ ประการย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๓๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๗. ตติยอาชานียสูตร

องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้ ๑. สมบูรณ์ด้วยสี ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๓. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้าเร็ว ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็น ม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมเป็นผู้ควร แก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๓. สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรอยู่ ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างนี้แล ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ตติยอาชานียสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๓๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๘. โปตถกสูตร

๘. โปตถกสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่เปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้
[๑๐๐] ภิกษุทั้งหลาย ผ้าเปลือกไม้แม้ยังใหม่แต่ก็มีสีไม่สวย มีสัมผัสไม่สบาย และมีราคาถูก ผ้าเปลือกไม้แม้กลางเก่ากลางใหม่ก็มีสีไม่สวย มีสัมผัสไม่สบาย และมี ราคาถูก ผ้าเปลือกไม้ที่เก่า มีสีไม่สวย มีสัมผัสไม่สบาย และมีราคาถูก คนทั้งหลาย ย่อมทำผ้าเปลือกไม้ที่เก่าให้เป็นผ้าเช็ดหม้อข้าวหรือทิ้งมันที่กองหยากเยื่อ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าภิกษุผู้เป็นนวกะ๑- แต่เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม เรากล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นมีชื่อเสียงไม่ดี เราเรียกบุคคลเช่นนี้ ว่าเป็นเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสีไม่สวย ก็คนเหล่าใดคบหาใกล้ชิดพากันตามอย่าง เธอ การคบหาเป็นต้นนั้นย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่คนเหล่านั้นตลอด กาลนาน เรากล่าวอย่างนี้เพราะภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดทุกข์ เราเรียกบุคคล เช่นนี้ว่าเป็น เหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสัมผัสไม่สบาย ก็ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของคนเหล่าใด การรับของเธอนั้นไม่มีผล มาก ไม่มีอานิสงส์มากแก่คนเหล่านั้น เรากล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นเป็นคนมีค่า น้อย เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีราคาถูก ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ ถ้าภิกษุแม้ผู้เป็นเถระ แต่เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลว ทราม เรากล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นมีชื่อเสียงไม่ดี เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็น เหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสีไม่สวย ก็คนเหล่าใดคบหาใกล้ชิดพากันตามอย่างเธอ การ คบหาเป็นต้นนั้นย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่คนเหล่านั้นตลอดกาลนาน เรากล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดทุกข์ เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า เป็นเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสัมผัสไม่สบาย ก็ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของคนเหล่าใด การรับของเธอนั้นไม่มีผลมาก ไม่มี อานิสงส์มากแก่คนเหล่านั้น เรากล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้มีค่าน้อย เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีราคาถูก @เชิงอรรถ : @ คำว่า “พระนวกะ พระมัชฌิมะ และพระเถระ” ดูเชิงอรรถข้อ ๖๓ ทุกนิบาต หน้า ๑๐๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๓๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๘. โปตถกสูตร

อนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้จะต้องกล่าวในท่ามกลางสงฆ์ พวกภิกษุได้กล่าว กับเธออย่างนี้ว่า “จะมีประโยชน์อะไรด้วยคำที่คนพาลไม่ฉลาดกล่าวออกไป แม้ตัว ท่านก็เข้าใจคำที่ควรกล่าว” เธอโกรธ ไม่พอใจ เปล่งวาจาที่เป็นเหตุให้สงฆ์ ยกวัตรตนเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่เขาทิ้งที่กองหยากเยื่อ ผ้าแคว้นกาสีที่ยังใหม่ มีสีสวย มีสัมผัสสบาย และมีราคาแพง ผ้าแคว้น กาสีแม้กลางเก่ากลางใหม่แต่ก็มีสีสวย มีสัมผัสสบาย และมีราคาแพง ผ้าแคว้น กาสีแม้เก่า แต่ก็มีสีสวย มีสัมผัสสบาย และมีราคาแพง คนทั้งหลายย่อมทำผ้า แคว้นกาสีแม้ที่เก่าให้เป็นผ้าห่อแก้ว หรือเอาใส่ไว้ในหีบของหอม ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุผู้เป็นนวกะ แต่มีศีล มีธรรมงาม เรา กล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นมีชื่อเสียงดี เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าแคว้น กาสีที่มีสีสวย ก็คนเหล่าใดคบหาใกล้ชิดพากันตามอย่างเธอ การคบหาเป็นต้นนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนเหล่านั้นตลอดกาลนาน เรากล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดสุข เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าแคว้น กาสีที่มีสัมผัสสบาย ก็ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย- เภสัชชบริขารของคนเหล่าใด การรับของเธอนั้นย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่คน เหล่านั้น เรากล่าวอย่างนี้เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้มีค่ามาก เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็น เหมือนผ้าแคว้นกาสีที่มีราคาแพง ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ ถ้าภิกษุแม้ผู้เป็นเถระ แต่มีศีล มีธรรมงาม เรา กล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นมีชื่อเสียงดี เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าแคว้น กาสีที่มีสีสวย ก็คนเหล่าใดคบหาใกล้ชิดพากันตามอย่างเธอ การคบหาเป็นต้นนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนเหล่านั้นตลอดกาลนาน เรากล่าวอย่างนี้เพราะ ภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดสุข เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าแคว้นกาสีที่มี สัมผัสสบาย ก็ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ของคนเหล่าใด การรับของเธอนั้นย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่คนเหล่านั้น เรา กล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้มีค่ามาก เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้า แคว้นกาสีที่มีราคาแพง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๓๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๙. โลณผลสูตร

อนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้จะต้องกล่าวในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายได้กล่าว กับเธออย่างนี้ว่า “ขอให้ท่านทั้งหลายจงสงบเถิด ภิกษุที่เป็นเถระจะกล่าวธรรมและวินัย” เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นเหมือนผ้า แคว้นกาสี จักไม่เป็นเหมือนผ้าเปลือกไม้” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
โปตถกสูตรที่ ๘ จบ
๙. โลณผลสูตร
ว่าด้วยผลกรรมกับก้อนเกลือ
[๑๐๑] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมไว้อย่างใดๆ เขาต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อม มีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้ใดพึงกล่าว อย่างนี้ ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมที่ต้องเสวยผลไว้อย่างใดๆ เขาต้องเสวยผลของกรรมนั้น อย่าง นั้นๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ โอกาสที่จะทำที่สุด แห่งทุกข์โดยชอบย่อมปรากฏ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย เช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ (ชาติหน้า)๑- ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือบุคคลเช่นไร @เชิงอรรถ : @ ดูประกอบใน องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๑/๒๕๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๓๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๙. โลณผลสูตร

คือ บุคคล๑- บางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย๒- ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ ปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคล เช่นนี้ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคลเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญา๓- แล้ว มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่๔- เป็นอัปปมาณวิหารี๕- บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน อัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษใส่ก้อนเกลือลงในขันใบน้อย เธอทั้งหลาย เข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร น้ำในขันเล็กน้อยนั้นเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้นใช่ หรือไม่ “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อนั้นเพราะเหตุไร” “เพราะในขันน้ำมีน้ำนิดหน่อย น้ำนั้นจึงเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้น พระพุทธเจ้าข้า” “บุคคลใส่ก้อนเกลือลงในแม่น้ำคงคา เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร แม่น้ำ คงคานั้นเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้นใช่หรือไม่” @เชิงอรรถ : @ บุคคล ในที่นี้หมายถึงปุถุชนผู้ตกอยู่ในวงจรแห่งวัฏฏะ @ เจริญกาย ในที่นี้หมายถึงเจริญกายานุปัสสนา คือการพิจารณาอาการที่ไม่สวยไม่งาม และไม่เที่ยงแห่ง @กายเป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๑/๒๕๓, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๑๐๑/๒๔๘) @ บุคคลผู้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญา ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพผู้สิ้นอาสวะ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๑/๒๕๓) @ มีอัตภาพใหญ่ ในที่นี้หมายถึงมีคุณมาก (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๑/๒๕๓) @ อัปปมาณวิหารี หมายถึงผู้มีปกติอยู่อย่างไม่มีราคะ โทสะ และโมหะซึ่งเป็นกิเลสที่แสดงลักษณะหรือจริต @ของบุคคล คำนี้เป็นชื่อของพระขีณาสพ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๑/๒๕๓, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๑๐๑/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๓๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๙. โลณผลสูตร

“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อนั้นเพราะเหตุไร” “เพราะในแม่น้ำคงคานั้นมีห้วงน้ำใหญ่ น้ำนั้นจึงไม่เค็ม ดื่มกินได้เพราะก้อน เกลือโน้น พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือน กันแล ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคล บางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก” บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือบุคคลเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้ทำ บาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคลเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพ ที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก (๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะ ทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง ส่วนบุคคลบาง คนในโลกนี้ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่ง กหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๓๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๙. โลณผลสูตร

บุคคลที่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่ง กหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง คือบุคคลเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ขัดสน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย บุคคลเช่นนี้ ย่อมถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ บ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง บุคคลที่ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ หนึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะบ้าง คือบุคคลเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก บุคคลเช่นนี้ ย่อมไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ บ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะบ้าง ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย เช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือบุคคลเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้แล ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคลเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน อัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๓๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญ ปัญญาแล้ว มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำ บาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผล แม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนสามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือทำตามที่ตนปรารถนา แต่บางคนไม่สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือทำตามที่ตนปรารถนาได้ เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะที่สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือ ทำตามที่ตนปรารถนาได้ คือเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร คือ เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้ขัดสน มีสมบัติน้อย มีโภคะ น้อย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือทำตามที่ตนปรารถนาได้ เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะที่ไม่สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือ ทำตามที่ตนปรารถนาได้ คือเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร คือ เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เป็นพระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เจ้าของแกะหรือคนฆ่า แกะเช่นนี้ ไม่สามารถที่จะฆ่าจองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือทำตามที่ตนปรารถนา ได้ แท้ที่จริง คนที่ประนมมือย่อมขอเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะได้ว่า “ขอท่านจง ให้แกะหรือทรัพย์ที่มีมูลค่าเท่ากับแกะแก่ฉันด้วยเถิด” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อยเช่น นั้นแล บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรม เพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อย ในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือบุคคลเช่นไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้แล ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคลเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน อัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก (๓) ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมไว้อย่างใดๆ เขา จะต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมมีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้ใดพึงกล่าว อย่างนี้ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมที่ต้องเสวยผลไว้อย่างใดๆ เขาต้องเสวยผลของกรรม นั้นอย่างนั้นๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ โอกาสที่ จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมปรากฏ
โลณผลสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ปังสุโธวกสูตร
ว่าด้วยคนล้างฝุ่นล้างทอง
[๑๐๒] ภิกษุทั้งหลาย ทองมีสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างหยาบ คือ ดินร่วน ทราย ก้อนกรวด และกระเบื้อง คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ร่อนทอง นั้นในรางน้ำแล้ว ล้างซ้ำหลายๆ ครั้ง เมื่อสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างหยาบนั้นถูก ทำให้หมดไป สิ้นไปแล้ว ทองยังคงมีสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างกลาง คือ ก้อนกรวด อย่างละเอียด ทรายอย่างหยาบ คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ล้างทองนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร

ซ้ำหลายๆ ครั้ง เมื่อสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างกลางนั้นถูกทำให้หมดไป สิ้นไปแล้ว ทองยังมีสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างละเอียด คือ ทรายอย่างละเอียด และสะเก็ด กะลำพัก คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ล้างทองนั้นซ้ำหลายๆ ครั้ง เมื่อ สิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างละเอียดนั้นถูกทำให้หมดไป สิ้นไปแล้ว ก็ยังคงเหลือเขม่า ทองอยู่อีก ช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง ใส่ทองลงในเบ้าหลอม เป่าทองนั้น เป่าแล้วเป่าอีก เป่าจนได้ที่ ทองนั้นก็ยังไม่ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน ยังไม่หาย กระด้าง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่ายและใช้งานได้ไม่ดี ช่างทอง หรือลูกมือของช่างทองเป่าทองนั้น เป่าแล้วเป่าอีก เป่าจนได้ที่ในสมัยใด สมัยนั้น ทองนั้นถูกเป่า ถูกเป่าแล้วเป่าอีก ถูกเป่าจนได้ที่ ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน หมดความกระด้าง เป็นของอ่อน ใช้การได้ ผุดผ่อง ไม่แตกง่าย ใช้งานได้ดี เขามุ่ง หมายจะทำเครื่องประดับชนิดใดๆ คือ แผ่นทอง ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง เครื่องประดับชนิดนั้น ย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสอย่างหยาบ คือ กายทุจริต(ความประพฤติชั่ว ด้วยกาย) วจีทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) มโนทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วย ใจ)ของภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีความคิด เป็นคนฉลาด ละบรรเทา อุปกิเลสอย่างหยาบนั้น ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี เมื่อละได้เด็ดขาดทำให้สิ้นไป แล้ว อุปกิเลสอย่างกลาง คือ กามวิตก(ความตรึกในทางกาม) พยาบาทวิตก(ความ ตรึกในทางพยาบาท) วิหิงสาวิตก(ความตรึกในความเบียดเบียน)ของภิกษุผู้บำเพ็ญ อธิจิตยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีความคิด เป็นคนฉลาด ละ บรรเทาอุปกิเลสอย่างกลางนั้น ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี เมื่อละได้เด็ดขาด ทำให้สิ้นไปแล้ว อุปกิเลสอย่าง ละเอียด คือ ความนึกคิดถึงชาติ ความนึกคิดถึงชนบท และความนึกคิดที่ประกอบ ด้วยความไม่ดูหมิ่นของภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีความคิด เป็นคนฉลาด ละ บรรเทาอุปกิเลสอย่างละเอียดนั้น ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี เมื่อละได้เด็ดขาด ทำให้สิ้นไปแล้ว ก็ยังมีธรรมวิตกเหลืออยู่ สมาธินั้นยังไม่สงบ ไม่ประณีต ไม่ได้ ความสงบระงับ ยังไม่บรรลุภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ยังมีการข่มห้ามกิเลสด้วย ธรรมเครื่องปรุงแต่งอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย มีสมัย๑- ที่จิตตั้งมั่นอยู่ภายใน สงบนิ่งอยู่ มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง ผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ สมาธินั้นเป็นธรรมสงบ ประณีต ได้ความสงบระงับ ถึงภาวะที่จิต เป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีการข่มห้ามกิเลสด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง และภิกษุนั้นจะน้อม จิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ เมื่อ มีเหตุแห่งสติ๒- เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง และภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงใน แผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวง อาทิตย์อันมีฤทธ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้” เมื่อมีเหตุแห่งสติ๒- เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อม บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ ว่ามีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือ ปราศจากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ๓- ก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า หลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุความ เป็นผู้เหมาะที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ @เชิงอรรถ : @ สมัย ในที่นี้หมายถึงกาลที่ได้รับสัปปายะ (ความเหมาะสม) ๕ ประการ คือ อุตุสัปปายะ อาหารสัปปายะ @เสนาสนะสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ และธัมมัสสวนสัปปายะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๒/๒๕๔) @ เหตุแห่งสติ ในที่นี้คือฌานที่เป็นบาท (ปุพพเหตุ) แห่งอภิญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๒/๑๕๔) @ มหัคคตะ แปลว่า ถึงความเป็นใหญ่ หมายถึงจิตที่ถึงฌานสมาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติ บ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่า “ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุข ทุกข์ และ มีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลาย ชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุ ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(เคลื่อน) กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและ ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึง รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และ มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ เห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็น ชอบ ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิด ในสุคติโลกสวรรค์ เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึงรู้ชัดถึงหมู่ สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้ เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ
ปังสุโธวกสูตรที่ ๑๐ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๑๑. นิมิตตสูตร

๑๑. นิมิตตสูตร
ว่าด้วยนิมิต
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิต๑- พึงมนสิการนิมิต ๓ ประการ ตามสมควรแก่เวลา คือ ๑. พึงมนสิการสมาธินิมิต๒- ตามสมควรแก่เวลา ๒. พึงมนสิการปัคคหนิมิต๓- ตามสมควรแก่เวลา ๓. พึงมนสิการอุเบกขานิมิต๔- ตามสมควรแก่เวลา ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะสมาธินิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิต นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะ ปัคคหนิมิตอย่างเดียว เป็นได้ที่จิตนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้ บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะอุเบกขานิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะไม่พึง ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ แต่เมื่อใดที่ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตมนสิการสมาธินิมิต ตามสมควรแก่เวลา มนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา และมนสิการ อุเบกขานิมิตตามสมควรแก่เวลา เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ผุดผ่อง และไม่เสียหาย ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทองตระเตรียมเบ้า เอาคีมคีบทองใส่ ลงที่ปากเบ้า แล้วสูบลมตามสมควรแก่เวลา เอาน้ำประพรมตามสมควรแก่เวลา เพ่ง ดูตามสมควรแก่เวลา ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงสูบลมทองนั้นอย่างเดียว เป็นไปได้ที่ทองนั้นพึงไหม้ ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงเอาน้ำประพรมทอง นั้นอย่างเดียว เป็นไปได้ที่ทองนั้นพึงเย็น ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงเพ่งดู ทองนั้นอย่างเดียว เป็นไปได้ที่ทองนั้นไม่สุกทั่วถึง แต่เมื่อใด ช่างทองหรือลูกมือ @เชิงอรรถ : @ อธิจิต ในที่นี้หมายถึงสมถวิปัสสนาจิต (จิตในสมถะและวิปัสสนา) (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๓/๒๕๕) @ สมาธินิมิต หมายถึงสภาวะที่จิตแน่วแน่มีอารมณ์เดียว (เอกัคคตา) เป็นเหตุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๓/๒๕๕) @ ปัคคหนิมิต หมายถึงความเพียรที่เป็นเหตุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๓/๒๕๕) @ อุเบกขานิมิต หมายถึงสภาวะเป็นกลางๆ (มัชฌัตตภาวะ) ที่เป็นเหตุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๓/๒๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๑๑. นิมิตตสูตร

ของช่างทองสูบลมทองนั้นตามสมควรแก่เวลา เอาน้ำประพรมตามสมควรแก่เวลา เพ่งดูตามสมควรแก่เวลา ทองนั้นย่อมอ่อน ใช้การได้ ผุดผ่องและไม่แตกง่าย ใช้งาน ได้ดี และช่างทองหรือลูกมือของช่างทองมุ่งหมายจะทำเครื่องประดับชนิดใดๆ คือ แผ่นทอง ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง ทองนั้น ย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้ แม้ฉันใด ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงมนสิการนิมิต ๓ ประการ ตาม สมควรแก่เวลา คือ ๑. พึงมนสิการสมาธินิมิตตามสมควรแก่เวลา ๒. พึงมนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา ๓. พึงมนสิการอุเบกขานิมิตตามสมควรแก่เวลา ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะสมาธินิมิตอย่างเดียว เป็นได้ที่จิตนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะ ปัคคห นิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญ อธิจิตพึงมนสิการเฉพาะอุเบกขานิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะไม่พึงตั้งมั่น ด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ แต่เมื่อใดที่ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตมนสิการสมาธินิมิตตาม สมควรแก่เวลา มนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา และมนสิการอุเบกขา- นิมิตตามสมควรแก่เวลา เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ผุดผ่อง และไม่เสียหาย ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ และภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปเพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญายิ่งใดๆ เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุ ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ๑- พึงทำให้แจ้ง ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะ ประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ
นิมิตตสูตรที่ ๑๑ จบ
โลณผลวรรคที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๑๐๒ (ปังสุโธวกสูตร) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัจจายิกสูตร ๒. ปวิเวกสูตร ๓. สรทสูตร ๔. ปริสาสูตร ๕. ปฐมอาชานียสูตร ๖. ทุติยอาชานียสูตร ๗. ตติยอาชานียสูตร ๘. โปตถกสูตร ๙. โลณผลสูตร ๑๐. ปังสุโธวกสูตร ๑๑. นิมิตตสูตร
ทุติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. สัมโพธวรรค ๑. ปุพเพวสัมโพธสูตร

๓. ตติยปัณณาสก์
๑. สัมโพธวรรค
หมวดว่าด้วยการตรัสรู้
๑. ปุพเพวสัมโพธสูตร
ว่าด้วยความดำริก่อนตรัสรู้
[๑๐๔] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นพระโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความ คิดดังนี้ว่า “ในโลก อะไรหนอเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก” เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยโลกเกิดขึ้นนี้เป็นคุณในโลก สภาพที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เป็นโทษในโลก ธรรมเป็น ที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ๑- เป็นเครื่องสลัดออกไปในโลก” ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด เรายังไม่รู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษโดยความ เป็นโทษ และเครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความเป็นจริง ตราบนั้น เราจะยังไม่ปฏิญญาตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย แต่เมื่อใด เรารู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และ เครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไป เมื่อนั้นเราจึงปฏิญญาตนว่าเป็น ผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ก็แลญาณทัสสนะ๒- เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า “วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็น ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ปุพเพวสัมโพธสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ หมายถึงนิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๔/๒๕๗) @ ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือสำรวจรู้มรรคผล @กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่) @(องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๔/๒๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. สัมโพธวรรค ๓. ทุติยอัสสาทสูตร

๒. ปฐมอัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของโลก สูตรที่ ๑
[๑๐๕] ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของโลก ได้พบคุณในโลกแล้ว คุณในโลกมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของโลก ได้พบโทษในโลกแล้ว โทษในโลกมีประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดโลกออกไป ได้พบเครื่องสลัดโลกออกไป เครื่องสลัดออกไปในโลกมีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดโลกออกไปประมาณ เท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา ตราบใด เรายังไม่รู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และ เครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความเป็นจริง ตราบนั้น เรา จะยังไม่ปฏิญญาตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย แต่เมื่อใด เรารู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่อง สลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึง ปฏิญญาตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็แลญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า “วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุด ท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ปฐมอัสสาทสูตรที่ ๒ จบ
๓. ทุติยอัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของโลก สูตรที่ ๒
[๑๐๖] ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าคุณในโลกนี้จักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึง ติดใจในโลก แต่เพราะคุณในโลกมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. สัมโพธวรรค ๔. สมณพราหมณสูตร

ถ้าโทษในโลกจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในโลก แต่เพราะโทษ ในโลกมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในโลก ก็ถ้าเครื่องสลัดออกไปในโลกจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกไปจากโลก แต่เพราะเครื่องสลัดออกไปในโลกมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกไปจากโลก ตราบใด สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษของโลกโดย ความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความเป็นจริง ตราบนั้น สัตว์ทั้งหลายจะออกไป หลุดไป พ้นไปจากโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย มีใจ ปราศจากขีดคั่นอยู่ไม่ได้เลย แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายรู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษของโลกโดย ความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความเป็นจริง เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อมออกไป หลุดไป พ้นไปจากโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย มีใจ ปราศจากขีดคั่นอยู่ได้
ทุติยอัสสาทสูตรที่ ๓ จบ
๔. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยผู้ควรยกย่องว่าเป็นสมณะและพราหมณ์
[๑๐๗] ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่รู้คุณของโลกโดยความเป็น คุณ โทษของโลกโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัด ออกไปตามความเป็นจริง เราไม่ยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือเป็นพราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นไม่ชื่อว่าทำให้แจ้งคุณของความเป็นสมณะและ คุณของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แต่สมณะหรือพราหมณ์ผู้รู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณของโลก โทษของโลก โดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๕๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. สัมโพธวรรค ๖. อติตติสูตร

เป็นจริง เรายกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นชื่อว่าทำให้แจ้งคุณของความเป็นสมณะและคุณของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
สมณพราหมณสูตรที่ ๔ จบ
๕. รุณณสูตร
ว่าด้วยการขับร้องคือการร้องไห้ในอริยวินัย
[๑๐๘] ภิกษุทั้งหลาย การขับร้องคือการร้องไห้ในอริยวินัย การฟ้อนรำคือ ความเป็นบ้าในอริยวินัย การหัวเราะจนเห็นฟันมากเกินไปคือความเป็นเด็กในอริยวินัย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายจงละโดยเด็ดขาดในการขับร้องและการฟ้อนรำ เมื่อเธอทั้งหลายมีความเบิกบานในธรรม เพียงแค่ยิ้มแย้มก็เพียงพอแล้ว
รุณณสูตรที่ ๕ จบ
๖. อติตติสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เสพไม่รู้จักอิ่ม
[๑๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ ประการ ย่อมไม่มี ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความอิ่มในการนอนหลับ ๒. ความอิ่มในการเสพเครื่องดื่มคือสุราและเมรัย ๓. ความอิ่มในการเสพเมถุนธรรม ภิกษุทั้งหลาย ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ ประการนี้แลย่อมไม่มี
อติตติสูตรที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๕๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. สัมโพธวรรค ๗. อรักขิตสูตร

๗. อรักขิตสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่รักษาจิต
[๑๑๐] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า คหบดี เมื่อบุคคลไม่รักษาจิต ชื่อว่าไม่รักษากายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เขาผู้ไม่รักษากายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ย่อมมีกายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรมเปียกชุ่ม เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมเปียกชุ่ม ย่อมมี กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมเสียหาย เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เสียหาย ย่อมมีการตายที่ไม่ดี กาลกิริยา(การตาย)ก็ไม่งาม เมื่อเรือนยอดมุงไว้ไม่ดี ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนชื่อว่าไม่ได้รับการ รักษา ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนชื่อว่าถูกฝนรั่วรด ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนก็ผุพัง แม้ฉันใด เมื่อบุคคลไม่รักษาจิต ฯลฯ ย่อมมีการตายที่ไม่ดี กาลกิริยาก็ไม่งาม ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เมื่อบุคคลรักษาจิต ชื่อว่ารักษากายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เขา ผู้รักษากายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ย่อมมีกายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรมที่ไม่เปียกชุ่ม เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมที่ไม่เปียกชุ่ม ย่อมมีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมที่ไม่เสียหาย เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมไม่เสียหาย ย่อมมีการตายที่ดี กาลกิริยาก็งาม เมื่อเรือนยอดมุงไว้ดี ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนชื่อว่าได้รับการรักษา ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนชื่อว่าไม่ถูกฝนรั่วรด ยอดเรือน ไม้กลอน ฝาเรือนก็ไม่ผุพัง แม้ฉันใด คหบดี เมื่อบุคคลรักษาจิต ฯลฯ ย่อมมีการตายที่ดี กาลกิริยาก็งาม ก็ฉันนั้น เหมือนกัน
อรักขิตสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๕๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. สัมโพธวรรค ๙. ปฐมนิทานสูตร

๘. พยาปันนสูตร
ว่าด้วยจิตถึงความผิดปกติ
[๑๑๑] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า คหบดี เมื่อจิตถึงความผิดปกติ แม้กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมก็ถึง ความผิดปกติ เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมถึงความผิดปกติ ย่อมมี การตายที่ไม่ดี กาลกิริยาก็ไม่งาม เมื่อเรือนยอดมุงไว้ไม่ดี ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนย่อมถึงความผิด ปกติแม้ฉันใด เมื่อจิตถึงความผิดปกติ ฯลฯ ย่อมมีการตายที่ไม่ดี กาลกิริยาก็ไม่งาม ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจิตไม่ถึงความผิดปกติ แม้กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมก็ไม่ถึง ความผิดปกติ เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมไม่ถึงความผิดปกติ ย่อม มีการตายที่ดี กาลกิริยาก็งาม เมื่อเรือนยอดมุงไว้ดี แม้ยอดเรือน ไม้กลอน ฝาเรือนก็ไม่ถึงความผิดปกติ แม้ฉันใด คหบดี เมื่อจิตไม่ถึงความผิดปกติ ฯลฯ ย่อมมีการตายที่ดี กาลกิริยาก็งาม ฉันนั้นเหมือนกัน
พยาปันนสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปฐมนิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดกรรม สูตรที่ ๑
[๑๑๒] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการนี้ เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. โลภะ (ความอยากได้) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ๓. โมหะ (ความหลง) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๕๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. สัมโพธวรรค ๙. ปฐมนิทานสูตร

กรรมใดที่บุคคลทำด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็น แดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์ กรรมนั้น เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมใดที่บุคคลทำด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็น แดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์ กรรมนั้น เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมใดที่บุคคลทำด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็น แดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์ กรรมนั้น เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการนี้ เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อโลภะ (ความไม่อยากได้) ๒. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย) ๓. อโมหะ (ความไม่หลง) กรรมใดที่บุคคลทำด้วยอโลภะ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะ เป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรม นั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมใดที่บุคคลทำด้วยอโทสะ เกิดจากอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ มีอโทสะ เป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรม นั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมใดที่บุคคลทำด้วยอโมหะ เกิดจากอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะ เป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรม นั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการนี้แล
ปฐมนิทานสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๕๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. สัมโพธวรรค ๑๐. ทุติยนิทานสูตร

๑๐. ทุติยนิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดกรรม สูตรที่ ๒
[๑๑๓] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการนี้ เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ฉันทะ๑- เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ๒. ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต ๓. ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างไร คือ บุคคลอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรอง พิจารณาด้วยใจ เมื่อเขาอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรอง พิจารณาด้วยใจ ย่อม เกิดฉันทะ เขาผู้เกิดฉันทะ ย่อมถูกธรรมเหล่านั้นร้อยรัด เราเรียกความกำหนัดแห่ง ใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะใน อดีต เป็นอย่างนี้แล ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต เป็นอย่างไร คือ บุคคลอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรอง พิจารณา ด้วยใจ เมื่อเขาอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรอง พิจารณา ด้วยใจ ย่อมเกิดฉันทะ เขาผู้เกิดฉันทะ ย่อมถูกธรรมเหล่านั้นร้อยรัด เราเรียกความ กำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะ ในอนาคต เป็นอย่างนี้แล ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือ บุคคลอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรอง พิจารณา ด้วยใจ เมื่อเขาอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรอง พิจารณา ด้วยใจ ย่อมเกิดฉันทะ เขาผู้เกิดฉันทะ ย่อมถูกธรรมเหล่านั้นร้อยรัด เราเรียกความ @เชิงอรรถ : @ ฉันทะ ในที่นี้หมายถึงตัณหา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๑๓/๒๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๕๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. สัมโพธวรรค ๑๐. ทุติยนิทานสูตร

กำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะ ในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการนี้ เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ๒. ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต ๓. ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างไร คือ บุคคลรู้ชัดผลที่จะเกิดต่อไปแห่งธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ครั้นรู้แล้วจึงละเว้นผลนั้นเสียแล้วรู้แจ้งด้วยใจ เห็นชัดด้วยปัญญา ฉันทะไม่เกิดเพราะ อาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างนี้แล ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต เป็นอย่างไร คือ บุคคลรู้ชัดผลที่จะเกิดต่อไปแห่งธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต ครั้นรู้แล้วจึงละเว้นผลนั้นเสียแล้วรู้แจ้งด้วยใจ เห็นชัดด้วยปัญญา ฉันทะไม่เกิดเพราะ อาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต เป็นอย่างนี้แล ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือ บุคคลรู้ชัดผลที่จะเกิดต่อไปแห่งธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ครั้นรู้แล้วจึงละเว้นผลนั้นเสียแล้วรู้แจ้งด้วยใจ เห็นชัดด้วยปัญญา ฉันทะไม่เกิดเพราะ อาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการนี้แล
ทุติยนิทานสูตรที่ ๑๐ จบ
สัมโพธวรรคที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๕๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๑. อาปายิกสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปุพเพวสัมโพธสูตร ๒. ปฐมอัสสาทสูตร ๓. ทุติยอัสสาทสูตร ๔. สมณพราหมณสูตร ๕. รุณณสูตร ๖. อติตติสูตร ๗. อรักขิตสูตร ๘. พยาปันนสูตร ๙. ปฐมนิทานสูตร ๑๐. ทุติยนิทานสูตร
๒. อาปายิกวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคลผู้ต้องไปสู่อบายภูมิ
๑. อาปายิกสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ต้องไปสู่อบายภูมิ
[๑๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ ไม่ละบาปกรรม ๓ ประการนี้ ต้องไปอบายภูมิ ต้องไปนรก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลที่ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาตนว่าเป็นพรหมจารี ๒. บุคคลที่ตามกำจัดท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ด้วยกรรมที่ไม่มี มูลอันเป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์ ๓. บุคคลที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ๑- อย่างนี้ว่า “โทษในกามไม่มี” แล้ว ถึงความเป็นเหยื่อในกามทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล ไม่ละบาปกรรม ๓ ประการนี้ ต้องไป อบายภูมิ ต้องไปนรก
อาปายิกสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ วาทะและทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงลัทธิความเชื่อถือ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๖/๒๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๕๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๓. อัปปเมยยสูตร

๒. ทุลลภสูตร
ว่าด้วยบุคคลหาได้ยาก
[๑๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏของบุคคล ๓ จำพวกหาได้ยากในโลก ความปรากฏของบุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ ๓. กตัญญูกตเวทีบุคคล๑- ภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏของบุคคล ๓ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก
ทุลลภสูตรที่ ๒ จบ
๓. อัปปเมยยสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ประมาณไม่ได้
[๑๑๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. สุปปเมยยบุคคล (บุคคลที่ประมาณได้ง่าย) ๒. ทุปปเมยยบุคคล (บุคคลที่ประมาณได้ยาก) ๓. อัปปเมยยบุคคล (บุคคลที่ประมาณไม่ได้) สุปปเมยยบุคคล เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ นี้เรียกว่า สุปปเมยยบุคคล ทุปปเมยยบุคคล เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ กตัญญูกตเวทีบุคคล หมายถึงบุคคลที่รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแก่ตนแล้วกระทำปฏิการคุณตอบแทน @พร้อมทั้งประกาศเกียรติคุณให้ปรากฏ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๑๕/๒๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๕๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๔. อาเนญชสูตร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูด พร่ำเพรื่อ มีสติมั่นคง มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ สำรวมอินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุปปเมยยบุคคล อัปปเมยยบุคคล เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ นี้เรียกว่า อัปปเมยยบุคคล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
อัปปเมยยสูตรที่ ๓ จบ
๔. อาเนญชสูตร
ว่าด้วยธรรมอันไม่หวั่นไหว
[๑๑๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “อากาศไม่มีที่สุด” อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เขาชอบใจฌานนั้น ติดใจฌาน นั้นและถึงความปลื้มใจกับฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในฌานนั้น น้อมใจ ไปในฌานนั้น ชอบอยู่กับฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม หลังจากตายแล้ว เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาพวกที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ พวกเทวดาที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ มีอายุประมาณ ๒๐,๐๐๐ กัป คนที่เป็นปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอากาสานัญจายตนะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่ นรกบ้าง ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวก ของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นอากาสานัญจายตนะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพาน ในภพนั้นแล นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็น เหตุทำให้ต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติ(การตาย)และอุบัติ(การเกิด)ยังมีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๕๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๔. อาเนญชสูตร

๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” อยู่ เขาชอบใจฌานนั้น ติดใจฌานนั้น และถึงความปลื้มใจกับฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในฌานนั้น น้อมใจไปในฌานนั้น ชอบอยู่กับฌานนั้น โดยมาก ไม่เสื่อม หลังจากตายแล้วเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ เทวดาพวกที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ เทวดาพวกที่เข้าถึงชั้น วิญญาณัญจายตนะมีอายุประมาณ ๔๐,๐๐๐ กัป คนที่เป็นปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นวิญญาณัญจายตนะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็น กำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง ไปสู่กำเนิด สัตว์ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นวิญญาณัญจายตนะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็น กำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพานในภพนั้นแล นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่าง กันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติและอุบัติ ยังมีอยู่ ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” อยู่ เขา ชอบใจฌานนั้น ติดใจฌานนั้น และถึงความปลื้มใจกับฌานนั้น เขา ดำรงอยู่ในฌานนั้น น้อมใจไปในฌานนั้น ชอบอยู่กับฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม หลังจากตายแล้วเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาพวก ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ เทวดาทั้งหลายพวกที่เข้าถึงชั้น อากิญจัญญายตนะ มีอายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ กัป คนที่เป็นปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็น กำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง ไปสู่กำเนิดสัตว์ ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรง อยู่ในชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนด อายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพานในภพนั้นแล นี้แลเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๕. วิปัตติสัมปทาสูตร

ความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่าง อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
อาเนญชสูตรที่ ๔ จบ
๕. วิปัตติสัมปทาสูตร
ว่าด้วยวิบัติ และสัมปทา
[๑๑๘] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้ วิบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล) ๒. จิตตวิบัติ (ความวิบัตแห่งจิต) ๓. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ) สีลวิบัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สีลวิบัติ จิตตวิบัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท นี้เรียกว่า จิตตวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า “ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ ชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอัน ยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก” นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๕. วิปัตติสัมปทาสูตร

เพราะสีลวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต๑- นรก เพราะจิตตวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือเพราะทิฏฐิวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจาก ตายแล้วจึงไปเกิดอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้แล สัมปทา ๓ ประการนี้ สัมปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๒. จิตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจิต) ๓. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ) สีลสัมปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ ผิดในกาม การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สีลสัมปทา จิตตสัมปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่มีจิตพยาบาท นี้เรียกว่า จิตตสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) มีความเห็นไม่วิปริตว่า “ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ ทำไว้ดีและชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง เองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก” นี้เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา @เชิงอรรถ : @ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๖. อปัณณกสูตร

เพราะสีลสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลก สวรรค์ เพราะจิตตสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน สุคติโลกสวรรค์ หรือเพราะทิฏฐิสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึง ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้แล
วิปัตติสัมปทาสูตรที่ ๕ จบ
๖. อปัณณกสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด
[๑๑๙] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้ วิบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล) ๒. จิตตวิบัติ (ความวิบัติแห่งจิต) ๓. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ) สีลวิบัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สีลวิบัติ จิตตวิบัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท นี้เรียกว่า จิตตวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า “ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้ แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก” นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๖. อปัณณกสูตร

เพราะสีลวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะจิตตวิบัติเป็นเหตุ ฯลฯ หรือเพราะทิฏฐิวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ภิกษุทั้งหลาย เพราะสีลวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไป เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เปรียบเหมือนแก้วมณีหกเหลี่ยมถูกโยนขึ้นสูงก็ กลับลงมาตั้งอยู่ด้วยดีตามปกติฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้แล สัมปทา ๓ ประการนี้ สัมปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๒. จิตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจิต) ๓. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ) สีลสัมปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สีลสัมปทา จิตตสัมปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่มีจิตพยาบาท นี้เรียกว่า จิตตสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า “ทานที่ ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้ แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก” นี้เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา เพราะสีลสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลก สวรรค์ เพราะจิตตสัมปทาเป็นเหตุ ฯลฯ หรือเพราะทิฏฐิสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๗. กัมมันตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะสีลสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึง ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เปรียบเหมือนแก้วมณีหกเหลี่ยมถูกโยนขึ้นสูงก็กลับลงมา ตั้งอยู่ด้วยดีตามปกติฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้แล
อปัณณกสูตรที่ ๖ จบ
๗. กัมมันตสูตร
ว่าด้วยความวิบัติแห่งการงาน
[๑๒๐] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้ วิบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กัมมันตวิบัติ (ความวิบัติแห่งการงาน) ๒. อาชีววิบัติ (ความวิบัติแห่งอาชีพ) ๓. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ) กัมมันตวิบัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า กัมมันตวิบัติ อาชีววิบัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีอาชีพผิด เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาอาชีวะ(เลี้ยงชีพผิด) นี้เรียกว่า อาชีววิบัติ ทิฏฐิวิบัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า “ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้ แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก” นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๘. ปฐมโสเจยยสูตร

สัมปทา ๓ ประการนี้ สัมปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กัมมันตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการงาน) ๒. อาชีวสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยอาชีพ) ๓. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ) กัมมันตสัมปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า กัมมันตสัมปทา อาชีวสัมปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีอาชีพชอบ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพ ชอบ) นี้เรียกว่า อาชีวสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า “ทานที่ให้ แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้ง โลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก” นี้เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้แล
กัมมันตสูตรที่ ๗ จบ
๘. ปฐมโสเจยยสูตร
ว่าด้วยความสะอาด สูตรที่ ๑
[๑๒๑] ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด ๓ ประการนี้ ความสะอาด ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความสะอาดกาย ๒. ความสะอาดวาจา ๓. ความสะอาดใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๙. ทุติยโสเจยยสูตร

ความสะอาดกาย เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ ผิดในกาม นี้เรียกว่า ความสะอาดกาย ความสะอาดวาจา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูด คำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า ความสะอาดวาจา ความสะอาดใจ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เป็นผู้โลภมาก มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า ความสะอาดใจ ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด ๓ ประการนี้แล
ปฐมโสเจยยสูตรที่ ๘ จบ
๙. ทุติยโสเจยยสูตร
ว่าด้วยความสะอาด สูตรที่ ๒
[๑๒๒] ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด ๓ ประการนี้ ความสะอาด ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความสะอาดกาย ๒. ความสะอาดวาจา ๓. ความสะอาดใจ ความสะอาดกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ ไม่ประเสริฐ นี้เรียกว่า ความสะอาดกาย ความสะอาดวาจา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูด คำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า ความสะอาดวาจา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๙. ทุติยโสเจยยสูตร

ความสะอาดใจ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดกามฉันทะ(ความพอใจในกาม)ที่มีในภายในว่า “กามฉันทะมีในภายในของเรา” หรือรู้ชัดกามฉันทะที่ไม่มีในภายในว่า “กามฉันทะ ไม่มีในภายในของเรา” รู้ชัดถึงการเกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดถึงการ ละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดถึงการไม่เกิดขึ้นต่อไปของกามฉันทะที่ละได้แล้ว รู้ชัดพยาบาท(ความคิดร้าย)ที่มีในภายในว่า “พยาบาทมีในภายในของเรา” หรือรู้ชัด พยาบาทที่ไม่มีในภายในก็รู้ชัดว่า “พยาบาทไม่มีในภายในของเรา” รู้ชัดถึงการเกิด ขึ้นแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดถึงการละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดถึง การไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งพยาบาทที่ละได้แล้ว รู้ชัดถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) ที่มีในภายในว่า “ถีนมิทธะมีในภายในของเรา” หรือรู้ชัดถีนมิทธะไม่มีในภายในว่า “ถีนมิทธะไม่มีในภายในของเรา” รู้ชัดถึงการเกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขี้น รู้ชัด ถึงการละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดถึงการไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งถีนมิทธะที่ละได้ แล้ว รู้ชัดอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)ที่มีในภายในว่า “อุทธัจจกุกกุจจะ มีในภายในของเรา” หรือรู้ชัดอุทธัจจกุกกุจจะที่ไม่มีในภายในว่า “อุทธัจจกุกกุจจะ ไม่มีในภายใน” รู้ชัดถึงการเกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดถึงการละ อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดถึงการไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ ละได้แล้ว รู้ชัดวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) มีในภายในว่า “วิจิกิจฉามีในภายในของ เรา” หรือรู้ชัดวิจิกิจฉาที่ไม่มีในภายในว่า “วิจิกิจฉาไม่มีในภายในของเรา” รู้ชัดถึง การเกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดถึงการละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัด ถึงการไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งวิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว นี้เรียกว่า ความสะอาดใจ ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด ๓ ประการนี้แล ผู้มีกายสะอาด มีวาจาสะอาด มีใจสะอาด ไม่มีอาสวะ เป็นผู้สะอาด ถึงพร้อมด้วยความสะอาด บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่าเป็นผู้ล้างบาปได้แล้ว
ทุติยโสเจยยสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๑๐. โมเนยยสูตร

๑๐. โมเนยยสูตร
ว่าด้วยความเป็นมุนี
[๑๒๓] ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมุนี ๓ ประการนี้ ความเป็นมุนี ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นมุนีทางกาย ๒. ความเป็นมุนีทางวาจา ๓. ความเป็นมุนีทางใจ ความเป็นมุนีทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ ไม่ประเสริฐ นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางกาย ความเป็นมุนีทางวาจา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูด คำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางวาจา ความเป็นมุนีทางใจ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางใจ ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมุนี ๓ ประการนี้แล ผู้ที่เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ไม่มีอาสวะ เป็นมุนี ถึงพร้อมด้วยความเป็นมุนี บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่าเป็นผู้ละได้ทุกอย่าง
โมเนยยสูตรที่ ๑๐ จบ
อาปายิกวรรคที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๑. กุสินารสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาปายิกสูตร ๒. ทุลลภสูตร ๓. อัปปเมยยสูตร ๔. อาเนญชสูตร ๕. วิปัตติสัมปทาสูตร ๖. อปัณณกสูตร ๗. กัมมันตสูตร ๘. ปฐมโสเจยยสูตร ๙. ทุติยโสเจยยสูตร ๑๐. โมเนยยสูตร
๓. กุสินารวรรค
หมวดว่าด้วยกรุงกุสินารา
๑. กุสินารสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่กรุงกุสินารา
[๑๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าชื่อพลิหรณะ เขต กรุงกุสินารา ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส เรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลแห่งใดแห่ง หนึ่งอยู่ คหบดีหรือบุตรของคหบดีเข้าไปหาภิกษุนั้น นิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น ภิกษุ เมื่อประสงค์ก็รับนิมนต์ ภิกษุนั้นพอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดี นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ คหบดีหรือบุตรของคหบดีนั้น ถวายอาหารให้ภิกษุนั้นอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉัน ที่ประณีตด้วยมือตนเอง ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “ดีจริง คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้ถวายอาหาร ให้เราอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเอง” เธอยังมีความคิดอย่างนี้ อีกว่า “โอหนอ คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้พึงถวายอาหารให้เราอิ่มหนำด้วยของ เคี้ยวของฉันที่ประณีตอย่างนี้ด้วยมือตนเองแม้ต่อๆ ไป” เธอติดใจ ลุ่มหลง หมกมุ่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๒. ภัณฑนสูตร

มองไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ฉันบิณฑบาตนั้น เธอตรึกถึง กามวิตก(ความตรึกในทางกาม)บ้าง ตรึกถึงพยาบาทวิตก(ความตรึกในทาง พยาบาท)บ้าง ตรึกถึงวิหิงสาวิตก(ความตรึกในทางเบียดเบียน)บ้าง ภิกษุทั้งหลาย บิณฑบาตที่ถวายแก่ภิกษุเช่นนี้ เราไม่กล่าวว่ามีผลมาก ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะภิกษุเป็นผู้ประมาทอยู่ ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้านหรือตำบลแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ คหบดี หรือบุตรของคหบดีเข้าไปหาภิกษุนั้น นิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น ภิกษุเมื่อประสงค์ก็รับ นิมนต์ ภิกษุนั้นพอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้า ไปยังนิเวศน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดีนั้น นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ คหบดีหรือ บุตรของคหบดีนั้นถวายอาหารให้ภิกษุนั้นอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วย มือตนเอง ภิกษุนั้นไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า “ดีจริง คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้ถวาย อาหารให้เราอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเอง” และเธอไม่มีความ คิดอย่างนี้ว่า “โอหนอ คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้พึงถวายอาหารให้เราอิ่มหนำ ด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเองแม้ต่อๆ ไป” เธอไม่ติดใจ ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกฉันบิณฑบาตนั้น เธอตรึกถึง เนกขัมมวิตก(ความตรึกปลอดจากกาม)บ้าง ตรึกถึงอพยาบาทวิตก(ความตรึก ปลอดจากพยาบาท)บ้าง ตรึกถึงอวิหิงสาวิตก(ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน) บ้าง ภิกษุทั้งหลายบิณฑบาตที่ถวายแก่ภิกษุเช่นนี้ เราเรียกว่ามีผลมาก ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่
กุสินารสูตรที่ ๑ จบ
๒. ภัณฑนสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งความบาดหมาง
[๑๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ทิศนี้ แม้เพียงคิดก็ไม่เป็นที่สำราญแก่เรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๒. ภัณฑนสูตร

ไม่จำเป็นต้องพูดถึงการไป ในเรื่องนี้เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการอย่างแน่นอน ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม) ๒. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท) ๓. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน) ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการนี้ ท่านเหล่านั้นคลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม) ๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท) ๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน) ท่านเหล่านั้นคลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ทิศนี้ แม้เพียงคิดก็ไม่เป็นที่สำราญแก่เรา ไม่จำเป็น ต้องพูดถึงการไป ในเรื่องนี้ เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการอย่างแน่นอน ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ทิศนี้ แม้ไปเยือนก็เป็น ที่สำราญแก่เรา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงการคิด ในเรื่องนี้ เราสันนิษฐานได้ว่า ท่าน เหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการอย่างแน่นอน ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามวิตก ๒. พยาบาทวิตก ๓. วิหิงสาวิตก ท่านเหล่านั้นคลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เนกขัมมวิตก ๒. อพยาบาทวิตก ๓. อวิหิงสาวิตก ท่านเหล่านั้นคลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๓. โคตมกเจติยสูตร

ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ทิศนี้ แม้ไปเยือนก็เป็นที่ สำราญแก่เรา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงการคิด ในเรื่องนี้ เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านเหล่านั้น ได้ละธรรม ๓ ประการนี้ คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการนี้อย่างแน่นอน
ภัณฑนสูตรที่ ๒ จบ
๓. โคตมกเจติยสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่โคตมกเจดีย์
[๑๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์๑- เขตกรุงเวสาลี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรารู้ยิ่งแล้ว๒- จึงแสดงธรรม ไม่รู้ยิ่งแล้ว ไม่แสดงธรรม เราแสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุ เราแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่ แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ เมื่อเรานั้นรู้ยิ่งแล้วจึงแสดงธรรม ไม่รู้ยิ่งแล้วไม่แสดง ธรรม แสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่ แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ เธอทั้งหลายควรทำตามคำสั่งสอน ควรทำตามคำ พร่ำสอน ก็แลเธอทั้งหลายควรที่จะยินดี ควรที่จะชื่นชม ควรที่จะโสมนัสว่า “พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มี พระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ สหัสสีโลกธาตุ๓- ได้หวั่นไหวสั่นสะเทือนแล้ว
โคตมกเจติยสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ โคตมกเจดีย์ หมายถึงที่อยู่ของยักษ์ชื่อว่าโคตมกะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๖/๒๖๕) @ รู้ยิ่งแล้ว ในที่นี้หมายถึงทรงรู้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ เหตุ ๙ ผัสสะ ๗ @เวทนา ๗ เจตนา ๗ สัญญา ๗ จิต ๗ และสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๖/๒๖๕) @ สหัสสีโลกธาตุ ในที่นี้หมายถึงโลกธาตุที่มี ๑,๐๐๐ จักรวาล (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๑/๒๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๔. ภรัณฑุกาลามสูตร

๔. ภรัณฑุกาลามสูตร
ว่าด้วยภรัณฑุดาบสกาลามโคตร
[๑๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล เสด็จถึงกรุง กบิลพัสดุ์ เจ้ามหานามศากยะได้ทราบข่าวว่า ‘พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ โดยลำดับแล้ว’ ครั้งนั้น เจ้ามหานามศากยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะ ดังนี้ว่า มหานามะ ไปเถิด เธอจงพิจารณาดูสถานที่พักในกรุงกบิลพัสดุ์ที่เราจะอยู่ ได้สักคืนหนึ่งในวันนี้ เจ้ามหานามศากยะทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปกรุงกบิลพัสดุ์ เที่ยวไปจนทั่วกรุงกบิลพัสดุ์ ไม่เห็นสถานที่พักที่พระผู้มีพระภาคพอจะประทับได้ สักคืนหนึ่ง ลำดับนั้น เจ้ามหานามศากยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกรุงกบิลพัสดุ์ ไม่มี สถานที่พักที่พระผู้มีพระภาคพอจะประทับได้สักคืนหนึ่งในวันนี้ ภรัณฑุดาบส กาลามโคตรนี้เป็นเพื่อนพรหมจารีเก่าของพระผู้มีพระภาค ในวันนี้ขอพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ในอาศรมของภรัณฑุดาบสนั้นสักคืนหนึ่ง” พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “จงไปปูเครื่องปูลาดเถิด มหานามะ” เจ้ามหานามศากยะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปยังอาศรมของภรัณฑุ- ดาบสกาลามโคตร ปูเครื่องลาด จัดน้ำสำหรับล้างเท้าไว้ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าพระองค์ได้ปูเครื่องลาดแล้ว ได้จัดตั้งน้ำ สำหรับล้างพระบาทแล้ว บัดนี้ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงทราบกาลอันควรเถิด พระพุทธเจ้าข้า” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอาศรมของภรัณฑุดาบสกาลามโคตร ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วทรงล้างพระบาททั้งสอง ลำดับนั้น เจ้ามหานาม- ศากยะคิดว่า “วันนี้ไม่ใช่เวลาเหมาะที่จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ทรงเหน็ดเหนื่อย ในวันพรุ่งนี้เราจักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค” จึงถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วหลีกไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๔. ภรัณฑุกาลามสูตร

ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป เจ้ามหานามศากยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะ นั้นดังนี้ว่า มหานามะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ศาสดา ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ศาสดาบางท่านในโลกนี้บัญญัติการกำหนดรู้กาม ไม่บัญญัติการกำหนด รู้รูป ไม่บัญญัติการกำหนดรู้เวทนา ๒. ศาสดาบางท่านในโลกนี้บัญญัติการกำหนดรู้กามและบัญญัติการ กำหนดรู้รูป ไม่บัญญัติการกำหนดรู้เวทนา ๓. ศาสดาบางท่านในโลกนี้บัญญัติการกำหนดรู้กาม บัญญัติการกำหนด รู้รูป และบัญญัติการกำหนดรู้เวทนา มหานามะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก จุดมุ่งหมายของศาสดา ๓ จำพวกนี้เป็นอย่างเดียวกันหรือต่างกัน เมื่อพระ ผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรได้กล่าวกับเจ้ามหานามศากยะว่า “มหานามะ ท่านจงกราบทูลว่า ‘จุดมุ่งหมายของศาสดา ๓ จำพวกเป็นอย่างเดียว กัน” เมื่อภรัณฑุดาบสกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะ ว่า “มหานามะ เธอจงกล่าวว่า ‘(จุดมุ่งหมายของศาสดา ๓ จำพวก)ต่างกัน” แม้ในครั้งที่ ๒ ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรได้กล่าวกับเจ้ามหานามศากยะว่า “มหานามะ ท่านจงกราบทูลว่า ‘เป็นอย่างเดียวกัน” แม้ในครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระ ภาคก็ได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะว่า “มหานามะ เธอจงกล่าวว่า ‘ต่างกัน” แม้ ในครั้งที่ ๓ ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรได้กล่าวกับเจ้ามหานามศากยะว่า “มหานามะ ท่านจงกราบทูลว่า ‘เป็นอย่างเดียวกัน” แม้ในครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะว่า “มหานามะ เธอจงกล่าวว่า ‘ต่างกัน” ลำดับนั้น ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรคิดว่า “เราถูกพระสมณโคดมรุกรานแล้ว ถึง ๓ ครั้งต่อหน้าเจ้ามหานามศากยะผู้มีศักดิ์ใหญ่ ทางที่ดี เราพึงหลีกไปเสียจาก กรุงกบิลพัสดุ์” ทีนั้น ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรไปจากกรุงกบิลพัสดุ์ หนีห่างจาก กรุงกบิลพัสดุ์ ไม่หวนกลับมาอีกเลย
ภรัณฑุกาลามสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๕. หัตถกสูตร

๕. หัตถกสูตร
ว่าด้วยหัตถกเทพบุตร
[๑๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น หัตถกเทพบุตรเมื่อปฐมยามผ่านไป มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ คิดว่าจักยืนตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค กลับทรุดลงนั่งตรงพระ พักตร์ของพระผู้มีพระภาค ไม่สามารถยืนอยู่ได้ เปรียบเหมือนเนยใสหรือน้ำมันที่ เขาเทลงบนทรายย่อมซึมลง ไม่ขังอยู่ หัตถกเทพบุตรคิดว่า จักยืนตรงพระพักตร์ ของพระผู้มีพระภาค กลับทรุดลงนั่งตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ไม่สามารถ ยืนอยู่ได้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับหัตถกเทพบุตรว่า “หัตถกะ ท่านจง เนรมิตร่างอย่างหยาบๆ” หัตถกเทพบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เนรมิตร่าง อย่างหยาบๆ ถวายอภิวาทแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส เรื่องนี้กับหัตถกเทพบุตรดังนี้ว่า “หัตถกะ ธรรมประจำตัวของท่านเมื่อครั้งที่เป็น มนุษย์ในกาลก่อน บัดนี้ยังมีอยู่ประจำตัวท่านบ้างไหม” หัตถกเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรมประจำตัวของข้าพระ องค์เมื่อครั้งที่เป็นมนุษย์ในกาลก่อน มาบัดนี้ยังมีอยู่ประจำตัวของข้าพระองค์ และ ธรรมที่ไม่ได้มีอยู่ประจำตัวข้าพระองค์เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ในกาลก่อน มาบัดนี้กลับ มีอยู่ประจำตัวข้าพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในปัจจุบันนี้พระผู้มีพระภาคประทับ อยู่รายล้อมไปด้วยเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ ของพระราชา พวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือน กัน รายล้อมไปด้วยเทพบุตรทั้งหลายอยู่ พวกเทพบุตรพากันมาจากถิ่นไกลด้วยตั้งใจ ว่าจักฟังธรรมในสำนักของหัตถกเทพบุตร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อธรรม ๓ ประการก็จุติเสียก่อน ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๖. กฏุวิยสูตร

๑. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคก็จุติเสียแล้ว ๒. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการฟังสัทธรรมก็จุติเสียแล้ว ๓. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการบำรุงพระสงฆ์ก็จุติเสียแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อธรรม ๓ ประการนี้แล ก็จุติเสียแล้ว หัตถกเทพบุตรได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ความอิ่มในการเฝ้าพระผู้มีพระภาค (การฟังสัทธรรม) การบำรุงพระสงฆ์ จักมีในกาลไหนๆ เป็นแน่แท้ หัตถกอุบาสกยังศึกษาอธิศีล๑- อยู่ ยินดีแล้วในการฟังสัทธรรม ยังไม่อิ่มธรรม ๓ ประการ ก็ไปพรหมโลกชั้นอวิหาเสียแล้ว
หัตถกสูตรที่ ๕ จบ
๖. กฏุวิยสูตร
ว่าด้วยความมักใหญ่
[๑๒๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขต กรุงพาราณสี ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เสด็จเข้าไปสู่กรุงพาราณสีเพื่อบิณฑบาต พระผู้มีพระภาคกำลังเที่ยวบิณฑบาตใน สำนักของพวกมิลักขะที่ชุมนุมกันอยู่ในที่ซื้อขายโค ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ไม่มีความแช่มชื่น๒- มีแต่ความแช่มชื่นภายนอก๓- หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิต @เชิงอรรถ : @ อธิศีล ในที่นี้หมายถึงศีล ๑๐ ซึ่งเรียกว่าอธิศีลเพราะเทียบศีล ๕ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๘/๒๖๙) @ ไม่มีความแช่มชื่น ในที่นี้หมายถึงปราศจากความสุขที่เกิดจากฌาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๙/๒๗๐) @ มีแต่ความแช่มชื่นภายนอก ในที่นี้หมายถึงมีความสุขที่เกิดจากกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส @โผฏฐัพพะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๙/๒๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๖. กฏุวิยสูตร

ไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ครั้นแล้วได้ตรัสกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ภิกษุ เธออย่าได้ทำตนให้เป็นผู้มักใหญ่ เป็นไปไม่ได้เลยที่แมลงวันจักไม่ตอม ไม่กัดตนที่มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ” ครั้นภิกษุนั้นได้รับพระโอวาทนี้จากพระผู้มีพระภาคแล้วก็ถึงความสังเวช๑- ลำดับ นั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงพาราณสี ในเวลาภายหลังภัต เสด็จ กลับจากเที่ยวบิณฑบาตได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ในเช้าวันนี้ เรานุ่ง อันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่กรุงพาราณสีเพื่อบิณฑบาต เรากำลังเที่ยว บิณฑบาตในสำนักของพวกมิลักขะที่ชุมนุมกันอยู่ในที่ซื้อขายโค ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ไม่มีความแช่มชื่น มีแต่ความแช่มชื่นภายนอก หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มี จิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ครั้นแล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ภิกษุ เธออย่าได้ทำตนให้เป็นผู้มักใหญ่ เป็นไปไม่ได้เลยที่แมลงวันจักไม่ตอม ไม่กัด ตนที่มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบนั้น” ครั้นเรากล่าวสอนด้วยโอวาทนี้แล้วภิกษุนั้นก็ถึง ความสังเวช” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมักใหญ่คืออะไร กลิ่นดิบคืออะไร แมลงวัน คืออะไร” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุ ความมักใหญ่คืออภิชฌา กลิ่นดิบคือ พยาบาท แมลงวันคือบาปอกุศลวิตก ภิกษุ เป็นไปไม่ได้เลยที่แมลงวันจักไม่ตอม ไม่กัดตนที่มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ แมลงวันคือความดำริที่อิงราคะ จักไต่ตอมบุคคลที่ไม่คุ้มครองในจักขุทวารและโสตทวาร ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ภิกษุทำตนให้เป็นผู้มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ ย่อมอยู่ห่างไกลจากนิพพาน มีแต่ความคับแค้นเท่านั้น @เชิงอรรถ : @ ถึงความสังเวช ในที่นี้หมายถึงเป็นพระโสดาบันเข้าสู่กระแสอริยมรรค (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๙/๒๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๗. ปฐมอนุรุทธสูตร

คนพาลมีปัญญาทราม ถูกแมลงวันไต่ตอม ไม่ได้เพื่อนที่เสมอตน พึงเที่ยวไปในบ้านบ้าง ในป่าบ้าง ส่วนพวกที่สมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีในธรรมที่สงบด้วยปัญญา เป็นผู้สงบระงับอยู่เป็นสุข แมลงวันย่อมไม่รบกวนเขา
กฏุวิยสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมอนุรุทธสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธ สูตรที่ ๑
[๑๓๐] ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระ องค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ข้าพระองค์ เห็นแต่มาตุคาม(สตรี) โดยมากหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มาตุคามประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ มาตุคามในโลกนี้ ๑. ในเวลาเช้า ถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุมจิตอยู่ครองเรือน ๒. ในเวลาเที่ยง ถูกความริษยากลุ้มรุมจิตอยู่ครองเรือน ๓. ในเวลาเย็น ถูกกามราคะกลุ้มรุมจิตอยู่ครองเรือน อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลหลังจากตายแล้วจะ ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ปฐมอนุรุทธสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๘. ทุติยอนุรุทธสูตร

๘. ทุติยอนุรุทธสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธ สูตรที่ ๒
[๑๓๑] ครั้งนั้น พระอนุรุทธะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ได้สนทนา ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตรพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า “ท่านสารีบุตร ขอโอกาส ผมตรวจดูทั่วโลก ๑,๐๐๐ โลกด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ก็ผมเองบำเพ็ญเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติ ไม่หลงลืม กายก็สงบระงับ ไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง แต่เพราะ เหตุไรเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอนุรุทธะ การที่ท่านคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘เรา ตรวจดูโลก ๑,๐๐๐ โลกด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ นี้เป็นเพราะมานะ ของท่านเอง การที่ท่านคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ก็เราบำเพ็ญเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่ หลงลืม กายก็สงบระงับ ไม่ระสำระสาย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง’ นี้เป็นเพราะ ความฟุ้งซ่านของท่านเอง การที่ท่านคิดเห็นอย่างนี้ว่า “เพราะเหตุไรเล่า จิตของเรา จึงยังไม่พ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น” นี้เป็นเพราะความรำคาญของท่านเอง ท่าน อนุรุทธะ เอาเถอะ ท่านจงละธรรม ๓ ประการนี้ ไม่มนสิการถึงธรรม ๓ ประการนี้ แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุ๑-” ครั้นต่อมา ท่านพระอนุรุทธะละธรรม ๓ ประการนี้ ไม่มนสิการถึงธรรม ๓ ประการนี้ น้อมจิตไปในอมตธาตุ หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท๒- มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งที่สุดซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๓- อันเป็นที่สุด แห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญา อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำ กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” ท่านพระอนุรุทธะ ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ทุติยอนุรุทธสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ อมตธาตุ หมายถึงนิพพาน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๖๐๐-๖๑๑/๔๘๐; องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๘/๓๔๖) @ ไม่ประมาท ในที่นี้หมายถึงไม่ละสติในกัมมัฏฐาน (ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐) @ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลหรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมัคคพรหมจรรย์ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๑๐. เลขสูตร

๙. ปฏิจฉันนสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ปิดดี เปิดไม่ดี
[๑๓๒] ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้ ปิดบังไว้จึงดี เปิดเผยไม่ดี สิ่ง ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. มาตุคาม(สตรี)ปิดบังไว้จึงงดงาม เปิดเผยไม่งดงาม ๒. มนตร์ของพราหมณ์ปิดบังไว้จึงขลัง เปิดเผยไม่ขลัง ๓. มิจฉาทิฏฐิปิดบังไว้จึงดี เปิดเผยไม่ดี ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล ปิดบังไว้จึงดี เปิดเผยไม่ดี สิ่ง ๓ อย่างนี้ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง สิ่ง ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ดวงจันทร์เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง ๒. ดวงอาทิตย์เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง ๓. ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง
ปฏิจฉันนสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. เลขสูตร
ว่าด้วยบุคคลกับรอยขีด
[๑๓๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน ๒. บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นดิน ๓. บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธเป็นประจำ และความโกรธนั้นของเขาก็หมักหมม อยู่นาน รอยขีดบนแผ่นหิน ไม่ลบเลือนเร็วเพราะลมหรือน้ำ ย่อมติดอยู่นานแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน โกรธเป็นประจำ และความโกรธนั้นของเขา ก็หมักหมมอยู่นาน นี้เรียกว่า บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นดิน เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธเป็นประจำ แต่ความโกรธนั้นของเขาไม่หมักหมม อยู่นาน รอยขีดที่แผ่นดิน ย่อมลบเลือนเร็วเพราะลมหรือน้ำ ไม่ปรากฏอยู่นานแม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน โกรธเป็นประจำ แต่ความโกรธนั้น ของเขาไม่หมักหมมอยู่นาน นี้เรียกว่า บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีที่แผ่นดิน บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้แม้จะถูกว่าด้วยคำหนักๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบ แม้จะถูกว่าด้วยคำที่ไม่น่าพอใจ ก็ยังสมานไมตรีกลมเกลียวอยู่ ปรองดองกันอยู่ รอยขีดที่น้ำย่อมขาดหายไปเร็ว ไม่ปรากฏอยู่นานแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะถูกว่าด้วยคำหนักๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบ แม้จะถูกว่า ด้วยคำที่ไม่น่าพอใจก็ยังสมานไมตรีกลมเกลียวอยู่ ปรองดองกันอยู่ได้ นี้เรียกว่า บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
เลขสูตรที่ ๑๐ จบ
กุสินารวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กุสินารสูตร ๒. ภัณฑนสูตร ๓. โคตมกเจติยสูตร ๔. ภรัณฑุกาลามสูตร ๕. หัตถกสูตร ๖. กฏุวิยสูตร ๗. ปฐมอนุรุทธสูตร ๘. ทุติยอนุรุทธสูตร ๙. ปฏิจฉันนสูตร ๑๐. เลขสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๑. โยธาชีวสูตร

๔. โยธาชีววรรค
หมวดว่าด้วยนักรบอาชีพ
๑. โยธาชีวสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของนักรบ
[๑๓๔] นักรบอาชีพประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ย่อมคู่ควรแก่พระราชา เหมาะแก่พระราชา ถึงการนับว่าเป็นราชองครักษ์โดยแท้ องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ นักรบอาชีพในโลกนี้ ๑. ยิงลูกศรได้ไกล ๒. ยิงไม่พลาด ๓. ทำลายกายขนาดใหญ่ได้ นักรบอาชีพประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้ ย่อมคู่ควรแก่พระราชา เหมาะ แก่พระราชา ถึงการนับว่าเป็นราชองครักษ์โดยแท้ ฉันใด ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของ ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ยิงลูกศรได้ไกล ๒. ยิงไม่พลาด ๓. ทำลายกายขนาดใหญ่ได้ ภิกษุยิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” พิจารณาเห็นเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือ ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๒. ปริสาสูตร

ไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” พิจารณาเห็นสัญญาอย่างใด อย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” พิจารณาเห็น สังขารอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ ใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” พิจารณาเห็นวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่ เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ ประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ ใช่ตัวตนของเรา” ภิกษุชื่อว่ายิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างนี้แล ภิกษุยิงลูกศรไม่พลาด เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย(เหตุ เกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับทุกข์)” ภิกษุชื่อว่ายิงลูกศรไม่พลาด เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทำลายกายขนาดใหญ่ได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้ ภิกษุชื่อว่าทำลายกาย ขนาดใหญ่ได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่ เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
โยธาชีวสูตรที่ ๑ จบ
๒. ปริสาสูตร
ว่าด้วยบริษัท
[๑๓๕] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้ บริษัท ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๔. อุปปาทาสูตร

๑. บริษัทที่แนะนำยาก ๒. บริษัทที่แนะนำง่าย ๓. บริษัทที่แนะนำแต่พอประมาณก็รู้ได้ ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้แล
ปริสาสูตรที่ ๒ จบ
๓. มิตตสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของมิตรแท้
[๑๓๖] ภิกษุทั้งหลาย มิตรผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการควรคบหาได้ องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ให้สิ่งที่ให้ได้ยาก ๒. ช่วยทำสิ่งที่ทำได้ยาก ๓. อดทนต่อสิ่งที่ทนได้ยาก ภิกษุทั้งหลาย มิตรผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แลควรคบหาได้
มิตตสูตรที่ ๓ จบ
๔. อุปปาทาสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งพระตถาคต
[๑๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นคือความ ตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดาก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุ นั้นว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ครั้นรู้ บรรลุแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิด ขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นคือความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่ อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์” ครั้นรู้ บรรลุแล้วจึง บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายว่า “สังขารทั้งปวงเป็น ทุกข์” ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นคือความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดาก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า “ธรรม ทั้งปวงเป็นอนัตตา” ครั้นรู้ บรรลุแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา”
อุปปาทาสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๕. เกสกัมพลสูตร

๕. เกสกัมพลสูตร
ว่าด้วยวาทะของมักขลิเปรียบเหมือนผ้ากัมพลทอด้วยผมคน
[๑๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ผ้ากัมพลทอด้วยผมคน บัณฑิตเรียกว่า เลวกว่าผ้า ที่ช่างหูกทอแล้วทุกชนิด ผ้ากัมพลทอด้วยผมคน ในฤดูหนาวก็เย็น ในฤดูร้อนก็ร้อน สีไม่สวย มีกลิ่นเหม็น เนื้อผ้าไม่อ่อนนุ่ม แม้ฉันใด วาทะ๑- ของเจ้าลัทธิชื่อมักขลิก็ ฉันนั้นเหมือนกัน บัณฑิตกล่าวว่าเลวกว่าวาทะของสมณะทุกจำพวก มักขลิเป็นโมฆบุรุษ(คนไร้ค่า)มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “กรรมไม่มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี” ตลอดอดีตกาลอันยาวนาน แม้พระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสเรื่องกรรม ตรัสเรื่องกิริยา และตรัสเรื่องความเพียร โมฆ บุรุษชื่อมักขลิกลับคัดค้านพระผู้มีพระภาคแม้เหล่านั้นว่า “กรรมไม่มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี” แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จักมีในอนาคตก็จัก ตรัสเรื่องกรรม ตรัสเรื่องกิริยา และตรัสเรื่องความเพียร โมฆบุรุษชื่อมักขลิกลับ คัดค้านพระผู้มีพระภาคแม้เหล่านั้นว่า “กรรมไม่มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี” แม้เราที่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ยังกล่าวเรื่องกรรม กล่าวเรื่อง กิริยา กล่าวเรื่องความเพียร โมฆบุรุษชื่อมักขลิก็คัดค้านแม้เราว่า “กรรมไม่มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี” ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษชื่อมักขลิเป็นเหมือนไซดักมนุษย์ เกิดขึ้นมาในโลก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความฉิบหาย เพื่อความพินาศของสัตว์เป็นจำนวนมาก เปรียบเหมือนบุคคลพึงวางไซดักปลาไว้ที่ปากอ่าว เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความฉิบหาย เพื่อความพินาศของปลาเป็นจำนวนมาก
เกสกัมพลสูตรที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ วาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ(ความเชื่อถือ)ของตน ลัทธิของครูมักขลิโคสาลจัดอยู่ในประเภทนัตถิกวาทะ คือ @เห็นว่าไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย คือจะบริสุทธิ์ก็บริสุทธิ์เอง จะเศร้าหมองก็เศร้าหมองเอง (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๖/๒๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๘. อัสสขลุงกสูตร

๖. สัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา
[๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้ สัมปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ๒. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๓. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา) ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้แล
สัมปทาสูตรที่ ๖ จบ
๗. วุฑฒิสูตร
ว่าด้วยวุฑฒิ
[๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย วุฑฒิ ๓ ประการนี้ วุฑฒิ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาวุฑฒิ (ความเจริญด้วยศรัทธา) ๒. สีลวุฑฒิ (ความเจริญด้วยศีล) ๓. ปัญญาวุฑฒิ (ความเจริญด้วยปัญญา) ภิกษุทั้งหลาย วุฒิ ๓ ประการนี้แล
วุฑฒิสูตรที่ ๗ จบ
๘. อัสสขลุงกสูตร
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก
[๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๓ จำพวก และคนกระจอก ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๘. อัสสขลุงกสูตร

ม้ากระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยสีสัน ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๒. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่งและสมบูรณ์ด้วยสีสัน แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๓. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง สมบูรณ์ด้วยสีสัน และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก ๓ จำพวกนี้แล คนกระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์๑- แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย วรรณะ๒- ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๒. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๓. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา” เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา แต่เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็จนปัญญาตอบไม่ได้ เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่วรรณะของเขา และเขาไม่ได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูง และความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ เชาวน์ ในที่นี้หมายถึงญาณ คือความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๑/๒๗๓) @ วรรณะ ในที่นี้หมายถึงคุณ คือความมีปฏิภาณในการโต้ตอบแก้ปัญหาในเรื่องอภิธรรม อภิวินัย @ไม่จนปัญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๑/๒๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๙. อัสสสทัสสสูตร

คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา” เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา และเขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นวรรณะของเขา แต่เขาไม่ได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูง และความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วย ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา” เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย เภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๓ จำพวกนี้แล
อัสสขลุงกสูตรที่ ๘ จบ
๙. อัสสสทัสสสูตร
ว่าด้วยม้าดีและคนดี
[๑๔๒] เราจักแสดงม้าดี ๓ จำพวก และคนดี ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๙. อัสสสทัสสสูตร

ม้าดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ม้าดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยสีสัน ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๒. ม้าดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่งและสมบูรณ์ด้วยสีสัน แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๓. ม้าดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง สมบูรณ์ด้วยสีสัน และ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย ม้าดี ๓ จำพวกนี้แล คนดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนดีบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๒. คนดีบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๓. คนดีบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความ สูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จักเป็น โอปปาติกะ๑- ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นแน่นอน เรากล่าวว่านี้ เป็นเชาวน์ของเขา แต่เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็จนปัญญาตอบ ไม่ได้ เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่วรรณะของเขา และเขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูงและความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๘๗ ติกนิบาต หน้า ๓๑๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๑๐. อัสสาชานียสูตร

คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความ สูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จักเป็น โอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นแน่นอน เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาวน์ของเขาและเขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จน ปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นวรรณะของเขา แต่เขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูงและความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูง และความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จักเป็น โอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นแน่นอน เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาวน์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จน ปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นวรรณะของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ จำพวกนี้แล
อัสสสทัสสสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อัสสาชานียสูตร
ว่าด้วยม้าอาชาไนยและบุรุษอาชาไนย
[๑๔๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวก และบุรุษ อาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๑๐. อัสสาชานียสูตร

ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ๑- ๓. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง สมบูรณ์ด้วย สีสัน และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกนี้แล บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ๓. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วย วรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ฯลฯ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็น วรรณะของเขา เขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกนี้แล
อัสสาชานียสูตรที่ ๑๐ จบ
@เชิงอรรถ : @ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรนี้พึงดูเนื้อความเต็มในติกนิบาต ข้อ ๑๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๑๒. ทุติยโมรนิวาปสูตร

๑๑. ปฐมโมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยอารามปริพาชกชื่อโมรนิวาปะ สูตรที่ ๑
[๑๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปริพาชการาม ชื่อ โมรนิวาปะ เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการย่อมมีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุดแห่งที่สุด ประเสริฐ กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สีลขันธ์(กองศีล)ที่เป็นของพระอเสขะ ๒. สมาธิขันธ์(กองสมาธิ)ที่เป็นของพระอเสขะ ๓. ปัญญาขันธ์(กองปัญญา)ที่เป็นของพระอเสขะ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลย่อมมีความสำเร็จสูงสุด มีความ เกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุดแห่งที่สุด ประเสริฐกว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ปฐมโมรนิวาปสูตรที่ ๑๑ จบ
๑๒. ทุติยโมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยอารามปริพาชกชื่อโมรนิวาปะ สูตรที่ ๒
[๑๔๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการย่อมมีความสำเร็จ สูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุดแห่งที่สุด ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์) ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ) ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนี) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลย่อมมีความสำเร็จสูงสุด มีความ เกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุดแห่งที่สุด ประเสริฐกว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ทุติยโมรนิวาปสูตรที่ ๑๒ จบ
๑๓. ตติยโมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยอารามปริพาชกชื่อโมรนิวาปะ สูตรที่ ๓
[๑๔๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการย่อมมีความ สำเร็จสูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุด แห่งที่สุด ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ) ๓. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ) ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลย่อมมีความสำเร็จสูงสุด มีความ เกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุดแห่งที่สุด ประเสริฐกว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ตติยโมรนิวาปสูตรที่ ๑๓ จบ
โยธาชีววรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โยธาชีวสูตร ๒. ปริสาสูตร ๓. มิตตสูตร ๔. อุปปาทาสูตร ๕. เกสกัมพลสูตร ๖. สัมปทาสูตร ๗. วุฑฒิสูตร ๘. อัสสขลุงกสูตร ๙. อัสสสทัสสสูตร ๑๐. อัสสาชานียสูตร ๑๑. ปฐมโมรนิวาปสูตร ๑๒. ทุติยโมรนิวาปสูตร ๑๓. ตติยโมรนิวาปสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. มังคลวรรค ๒. สาวัชชสูตร

๕. มังคลวรรค
หมวดว่าด้วยมงคล
๑. อกุสลสูตร
ว่าด้วยอกุศลกรรมเป็นเหตุให้ตกนรก
[๑๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายกรรม (การกระทำทางกาย) ฝ่ายอกุศล ๒. วจีกรรม (การกระทำทางวาจา) ฝ่ายอกุศล ๓. มโนกรรม (การกระทำทางใจ) ฝ่ายอกุศล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับ อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายกรรมฝ่ายกุศล ๒. วจีกรรมฝ่ายกุศล ๓. มโนกรรมฝ่ายกุศล บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือน ได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
อกุสลสูตรที่ ๑ จบ
๒. สาวัชชสูตร
ว่าด้วยกรรมที่มีโทษเป็นเหตุให้ตกนรก
[๑๔๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. มังคลวรรค ๔. อสุจิสูตร

๑. กายกรรมที่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่มีโทษ ๓. มโนกรรมที่มีโทษ ฯลฯ ๑. กายกรรมที่ไม่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่ไม่มีโทษ ๓. มโนกรรมที่ไม่มีโทษ ฯลฯ
สาวัชชสูตรที่ ๒ จบ
๓. วิสมสูตร
ว่าด้วยกรรมที่ไม่สม่ำเสมอเป็นเหตุให้ตกนรก
[๑๔๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ ๑. กายกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ๒. วจีกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ๓. มโนกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ฯลฯ ๑. กายกรรมที่สม่ำเสมอ ๒. วจีกรรมที่สม่ำเสมอ ๓. มโนกรรมที่สม่ำเสมอ ฯลฯ
วิสมสูตรที่ ๓ จบ
๔. อสุจิสูตร
ว่าด้วยกรรมที่ไม่สะอาดเป็นเหตุให้ตกนรก
[๑๕๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ ๑. กายกรรมที่ไม่สะอาด ๒. วจีกรรมที่ไม่สะอาด ๓. มโนกรรมที่ไม่สะอาด ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. มังคลวรรค ๕. ปฐมขตสูตร

๑. กายกรรมที่สะอาด ๒. วจีกรรมที่สะอาด ๓. มโนกรรมที่สะอาด บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือน ได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
อสุจิสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ ๑
[๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วย ธรรม ๓ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายกรรมฝ่ายอกุศล ๒. วจีกรรมฝ่ายอกุศล ๓. มโนกรรมฝ่ายอกุศล คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อม บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อม บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ ประสพบุญเป็นอันมาก ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายกรรมฝ่ายกุศล ๒. วจีกรรมฝ่ายกุศล ๓. มโนกรรมฝ่ายกุศล ฯลฯ
ปฐมขตสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. มังคลวรรค ๘. จตุตถขตสูตร

๖. ทุติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ ๒
[๑๕๒] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ ๑. กายกรรมที่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่มีโทษ ๓. มโนกรรมที่มีโทษ ฯลฯ ๑ กายกรรมที่ไม่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่ไม่มีโทษ ๓. มโนกรรมที่ไม่มีโทษ ฯลฯ
ทุติยขตสูตรที่ ๖ จบ
๗. ตติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ ๓
[๑๕๓] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ ๑. กายกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ๒. วจีกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ๓. มโนกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ฯลฯ ๑. กายกรรมที่สม่ำเสมอ ๒. วจีกรรมที่สม่ำเสมอ ๓. มโนกรรมที่สม่ำเสมอ ฯลฯ
ตติยขตสูตรที่ ๗ จบ
๘. จตุตถขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ ๔
[๑๕๔] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. มังคลวรรค ๑๐. ปุพพัณหสูตร

๑. กายกรรมที่ไม่สะอาด ๒. วจีกรรมที่ไม่สะอาด ๓. มโนกรรมที่ไม่สะอาด ฯลฯ ๑. กายกรรมที่สะอาด ๒. วจีกรรมที่สะอาด ๓. มโนกรรมที่สะอาด บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
จตุตถขตสูตรที่ ๘ จบ
๙. วันทนาสูตร
ว่าด้วยการไหว้
[๑๕๕] ภิกษุทั้งหลาย การไหว้ ๓ ประการนี้ การไหว้ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การไหว้ทางกาย ๒. การไหว้ทางวาจา ๓. การไหว้ทางใจ ภิกษุทั้งหลาย การไหว้ ๓ ประการนี้แล
วันทนาสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ปุพพัณหสูตร
ว่าด้วยเวลาเช้าเป็นฤกษ์ดีเป็นต้น
[๑๕๖] ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต(ความประพฤติชอบ ด้วยกาย) วจีสุจริต(ความประพฤติชอบด้วยวาจา) และมโนสุจริต(ความประพฤติชอบ ด้วยใจ) ในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. มังคลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี และบูชาดีในพรหมจารีบุคคล กายกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา๑- วจีกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา มโนกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา ความปรารถนาของท่านเป็นส่วนเบื้องขวา สัตว์ทั้งหลายทำกรรมอันเป็นส่วนเบื้องขวาแล้ว ย่อมได้ประโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องขวา ท่านเหล่านั้นได้ประโยชน์แล้ว จงได้รับความสุข งอกงามในพุทธศาสนา จงไม่มีโรค ถึงความสุขพร้อมด้วยญาติทั้งมวล
ปุพพัณหสูตรที่ ๑๐ จบ
มังคลวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อกุสลสูตร ๒. สาวัชชสูตร ๓. วิสมสูตร ๔. อสุจิสูตร ๕. ปฐมขตสูตร ๖. ทุติยขตสูตร ๗. ตติยขตสูตร ๘. จตุตถขตสูตร ๙. วันทนาสูตร ๑๐. ปุพพัณหสูตร
ตติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
@เชิงอรรถ : @ เบื้องขวา ในที่นี้หมายถึงความเจริญหรือพฤติกรรมฝ่ายดี (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๕๖/๒๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๖. อเจลกวรรค

๖. อเจลกวรรค
หมวดว่าด้วยคนเปลือย
ว่าด้วยปฏิปทา ๓ อย่าง
[๑๕๗-๑๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ ประการ ปฏิปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ปฏิปทาอย่างหยาบ ๒. ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ ๓. ปฏิปทาอย่างกลาง ปฏิปทาอย่างหยาบ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “โทษในกามทั้งหลาย ไม่มี” เขาย่อมตกเป็นเหยื่อในกามทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างหยาบ ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ เป็นอย่างไร คือ คนเปลือยบางคนในโลกนี้ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษา๑- ก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาที่เขาเจาะจงทำไว้ ไม่ยินดีกิจนิมนต์ ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากกระเช้า ไม่รับภิกษาคร่อม ธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่รับภิกษาที่คนสอง คนบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงที่กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงที่คลอเคลียคน ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ ที่รับเลี้ยงดูลูกสุนัข ไม่รับภิกษาในที่แมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดอง เขารับภิกษาเฉพาะที่เรือนหลังเดียว เยียว ยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียว รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยา อัตภาพด้วยข้าว ๒ คำ ฯลฯ หรือรับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำ เยียวยาอัตภาพ ด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย ๒ ใบบ้าง @เชิงอรรถ : @ ภิกษา คืออาหาร ของขบเคี้ยว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๖. อเจลกวรรค (๑. สติปัฏฐานสูตร)

ฯลฯ เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วัน เดียวบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้ ๒ วันบ้าง ฯลฯ กินอาหารที่เก็บค้างไว้เจ็ดวันบ้าง เขาหมั่นประกอบในการบริโภคที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้อยู่ คนเปลือยนั้นกินผักดองเป็นอาหารบ้าง กินข้าวฟ่างเป็นอาหารบ้าง กินลูก เดือยเป็นอาหารบ้าง กินกากข้าวเป็นอาหารบ้าง กินยาง๑- เป็นอาหารบ้าง กินรำ เป็นอาหารบ้าง กินข้าวตังเป็นอาหารบ้าง กินกำยานเป็นอาหารบ้าง กินหญ้าเป็น อาหารบ้าง กินมูลโคเป็นอาหารบ้าง กินเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง กิน ผลไม้ที่หล่นเยียวยาอัตภาพ เขานุ่งห่มผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้าแกมกันบ้าง นุ่งห่มผ้า ห่อศพบ้าง นุ่งห่มผ้าบังสุกุลบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้บ้าง นุ่งห่มหนังเสือบ้าง นุ่งห่ม หนังเสือที่มีเล็บติดอยู่บ้าง นุ่งห่มคากรองบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรองบ้าง นุ่งห่ม ผ้าผลไม้กรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขน สัตว์ร้ายบ้าง นุ่งห่มผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง ถอนผมและหนวด หมั่นประกอบ การถอนผมและหนวดบ้าง ยืนอย่างเดียวปฏิเสธการนั่งบ้าง นั่งกระโหย่ง ประกอบ ความเพียรด้วยการนั่งกระโหย่งบ้าง นอนบนหนาม สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง หมั่นประกอบการลงน้ำบ้าง เขาหมั่นประกอบการทำร่างกาย ให้เดือดร้อนหลายวิธีดังกล่าวมานี้อยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ
(๑. สติปัฏฐานสูตร)
ปฏิปทาอย่างกลาง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ พิจารณา เห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างกลาง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ ประการนี้แล @เชิงอรรถ : @ คำว่า ยาง (หฏะ) หมายรวมถึงสาหร่ายและยางไม้ด้วย (องฺ.ติก.อ. ๒/๙๔/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๖. อเจลกวรรค (๓. อิทธิปาทสูตร)

(๒. สัมมัปปธานสูตร)
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ ประการนี้ ปฏิปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ปฏิปทาอย่างหยาบ ๒. ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ ๓. ปฏิปทาอย่างกลาง ปฏิปทาอย่างหยาบ เป็นอย่างไร ฯลฯ นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างหยาบ ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ เป็นอย่างไร ฯลฯ นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ ปฏิปทาอย่างกลาง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น๑- เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
(๓. อิทธิปาทสูตร)
ภิกษุนั้นเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก ฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิปธาน- สังขาร(สมาธิที่เกิดจากวิริยะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญอิทธิบาทที่ประกอบ ด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจากจิตตะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญ อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจากวีมังสาและความ เพียรสร้างสรรค์) ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๙๔-๓๙๗ เอกกนิบาต หน้า ๔๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๖. อเจลกวรรค (๗. มัคคสูตร)

(๔. อินทริยสูตร)
เจริญสัทธินทรีย์ เจริญวีริยินทรีย์ เจริญสตินทรีย์ เจริญสมาธินทรีย์ เจริญ ปัญญินทรีย์ ฯลฯ
(๕. พลสูตร)
เจริญสัทธาพละ เจริญวีริยพละ เจริญสติพละ เจริญสมาธิพละ เจริญ ปัญญาพละ ฯลฯ
(๖. สัมโพชฌังคสูตร)
เจริญสติสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้) เจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเฟ้นธรรม) เจริญวีริย- สัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) เจริญปีติสัมโพชฌงค์(ธรรม เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่ง การตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการ ตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ ความวางใจเป็นกลาง) ฯลฯ
(๗. มัคคสูตร)
เจริญสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) เจริญสัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ) เจริญสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) เจริญสัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ) เจริญสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) เจริญสัมมาวายามะ(พยายามชอบ) เจริญสัมมาสติ(ระลึกชอบ) เจริญสัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างกลาง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ ประการนี้แล
อเจลกวรรคที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๗. กัมมปถเปยยาล (๑. ปาณ - อปาณสูตร)

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สติปัฏฐานสูตร ๒. สัมมัปปธานสูตร ๓. อิทธิปาทสูตร ๔. อินทริยสูตร ๕. พลสูตร ๖. สัมโพชฌังคสูตร ๗. มัคคสูตร
๗. กัมมปถเปยยาล
ว่าด้วยธรรม ๓ ประการมีหลายนัย
(๑. ปาณ - อปาณสูตร)
[๑๖๔-๑๘๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วย ธรรม ๓ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ๓. เป็นผู้พอใจการฆ่าสัตว์ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือน ได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๗. กัมมปถเปยยาล (๔. มุสาวาที - อมุสาวาทีสูตร)

(๒. อทินนาทาน - อนทินนาทานสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้พอใจการลักทรัพย์ ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
(๓. มิจฉา - สัมมาสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม ๓. เป็นผู้พอใจการประพฤติผิดในกาม ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
(๔. มุสาวาที - อมุสาวาทีสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ ๓. เป็นผู้พอใจการพูดเท็จ ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเท็จ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๗. กัมมปถเปยยาล (๗. สัมผัปปลาป - อสัมผัปปลาปสูตร)

(๕. ปิสุณา - อปิสุณาสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด ๓. เป็นผู้พอใจการพูดส่อเสียด ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ฯลฯ
(๖. ผรุส - อผรุสสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ ๓. เป็นผู้พอใจการพูดคำหยาบ ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ฯลฯ
(๗. สัมผัปปลาป - อสัมผัปปลาปสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ ๓. เป็นผู้พอใจการพูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๗. กัมมปถเปยยาล (๑๐. มิจฉาทิฏฐิ - สัมมาทิฏฐิสูตร)

(๘. อภิชฌา - อนภิชฌาสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๒. ชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๓. เป็นผู้พอใจความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๓. เป็นผู้พอใจความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ฯลฯ
(๙. พยาปาท - อัพยาปาทสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท ๒. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท ๓. เป็นผู้พอใจความมีจิตพยาบาท ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ๒. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตไม่พยาบาท ๓. เป็นผู้พอใจความมีจิตไม่พยาบาท ฯลฯ
(๑๐. มิจฉาทิฏฐิ - สัมมาทิฏฐิสูตร)
๑. ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๓. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ๓. เป็นผู้พอใจความเป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
กัมมปถเปยยาลที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๘. ราคเปยยาล

รวมพระสูตรที่มีในเปยยาลนี้ คือ

๑. ปาณ-อปาณสูตร ๒. อทินนาทาน-อนทินนาทานสูตร ๓. มิจฉา-สัมมาสูตร ๔. มุสาวาที-อมุสาวาทีสูตร ๕. ปิสุณา-อปิสุณาสูตร ๖. ผรุส-อผรุสสูตร ๗. สัมผัปปลาป-อสัมผัปปลาปสูตร ๘. อภิชฌา-อนภิชฌาสูตร ๙. พยาปาท-อพยาปาทสูตร ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ-สัมมาทิฏฐิสูตร
๘. ราคเปยยาล
[๑๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ(ความกำหนัด) ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สุญญตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นความว่าง) ๒. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต) ๓. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา) บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้แล เพื่อรู้ยิ่งราคะ [บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการเพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สวิตักกสวิจารสมาธิ(สมาธิที่มีวิตกวิจาร) ๒. อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ(สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร) ๓. อวิตักกอวิจารสมาธิ(สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร) บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้แลเพื่อรู้ยิ่งราคะ]๑- @เชิงอรรถ : @ เนื้อความที่ปรากฏใน [ ] นี้ ฉบับฉัฏฐสังคีติและฉบับพม่ามีปรากฏ แต่ในอรรถกถาไม่มี @(องฺ.ติก. ๒๐/๑๘๔/๒๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

รวมธรรมที่มีในราคเปยยาล

เพื่อกำหนดรู้ราคะ ... เพื่อความสิ้นราคะ ... เพื่อละราคะ ... เพื่อความสิ้น ไปแห่งราคะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ ... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ ... เพื่อ ความดับไปแห่งราคะ ... เพื่อสละราคะ ... เพื่อสละคืนราคะ บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งโทสะ(ความคิดประทุษร้าย) ... เพื่อกำหนดรู้โทสะ ... เพื่อความสิ้นโทสะ ... เพื่อละโทสะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ ... เพื่อความ คลายไปแห่งโทสะ ... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ ... เพื่อความสละโทสะ ... เพื่อความ สละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ... อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปลาสะ(ความตีเสมอ) ... อิสสา (ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเถยยะ(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว) ... อติมานะ (ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความประมาท) ... บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ [เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค]
ราคเปยยาลที่ ๘ จบ
รวมธรรมที่มีในเปยยาลนี้ คือ
๑. ราคะ ๒. โทสะ ๓. โมหะ ๔. โกธะ ๕. อุปนาหะ ๖. มักขะ ๗. ปลาสะ ๘. อิสสา ๙. มัจฉริยะ ๑๐. มายา ๑๑. สาเถยยะ ๑๒. ถัมภะ ๑๓. สารัมภะ ๑๔. มานะ ๑๕. อติมานะ ๑๖. มทะ ๑๗. ปมาทะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๑๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

รวมธรรมที่มีในราคเปยยาล

ธรรมเหล่านี้อยู่ในราคเปยยาล พระผู้มีพระภาคตรัสโดยเทียบเคียงกับ โอปัมมสูตร ทรงประสงค์ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ คือ อภิญญา(รู้ยิ่ง) ปริญญา(การกำหนดรู้) ปริกขยา(ความสิ้น) ปหานะ(การละ) ขยะ(ความสิ้นไป) วยะ(ความเสื่อมไป) วิราคะ(ความคลายไป) นิโรธะ(ความดับไป) จาคะ(ความสละ) ปฏินิสสัคคะ(ความสละคืน) และทรงกำหนดธรรม ๓ ประการ คือ (๑) สุญญตะ (ความว่าง) (๒) อนิมิตตะ(ธรรมไม่มีนิมิต) (๓) อัปปณิหิตะ(ธรรมไม่มีความ ตั้งปรารถนา) มีสมาธิเป็นมูล แม้ในเปยยาลทั้งหมดแล
ติกนิบาต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๑๑}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑-๔๑๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=28เธฟ              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18], [19], [20], [21], [22], [23], [24], [25], [26], [27], [28], [29], [30], [31], [32], [33], [34], [35], [36], [37], [38], [39], [40], [41], [42], [43], [44], [45], [46], [47], [48], [49], [50], [51], [52], [53], [54], [55], [56], [57], [58], [59], [60], [61], [62], [63], [64], [65], [66], [67], [68], [69], [70], [71], [72], [73], [74], [75], [76], [77], [78], [79], [80], [81], [82], [83], [84], [85], [86], [87], [88], [89], [90], [91], [92], [93], [94], [95], [96], [97], [98], [99], [max100].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=1&Z=1266                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=0              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=1&items=246              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=14&A=10418              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=1&items=246              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=14&A=10418                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :